ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรุงเทพมหานคร"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 8: | บรรทัดที่ 8: | ||
สารบัญ : | สารบัญ : | ||
1. ประวัติและพัฒนาการของกรุงเทพมหานคร | |||
โครงสร้างของกรุงเทพมหานคร | |||
3. อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร | 3. อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร | ||
5. การบริหารงานบุคคลของกรุงเทพมหานคร | 5. การบริหารงานบุคคลของกรุงเทพมหานคร | ||
บรรทัดที่ 16: | บรรทัดที่ 17: | ||
8. ปัญหา โอกาส และข้อเสนอแนะต่อกรุงเทพมหานคร | 8. ปัญหา โอกาส และข้อเสนอแนะต่อกรุงเทพมหานคร | ||
กรุงเทพมหานครมีบทบาทและความสำคัญทั้งในฐานะเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยและเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศ ความเป็นรูปแบบพิเศษของกรุงเทพมหานคร ดังเห็นจากการมีพระราชบัญญัติเฉพาะองค์การ นั่นคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 นอกจากนี้รูปแบบการบริหารกรุงเทพมหานครยังเป็นระบบชั้นเดียว หมายถึง กรุงเทพมหานครเป็นองค์กรเดียวที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้งหมด ในขณะที่พื้นที่จังหวัดอื่น ๆ มีระบบการปกครองท้องถิ่นเป็นสองชั้น คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดในระดับบน ส่วนเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในระดับล่าง | |||
กรุงเทพมหานครได้รับการสถาปนาเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2325 และมีการเปลี่ยนแปลงจากชุมชนขนาดเล็กริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามาเป็นมหานครที่ครอบคลุมพื้นที่ 1,568.74 ตารางกิโลเมตร มีประชากรตามทะเบียนราษฎร 5,710,883 คน<ref>ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฏรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฏร ณ วันที่ 31 ธัีนวาคม 2551 </ref> (พ.ศ. 2551) และมีลักษณะเป็นเมือง[[เอกนคร]] หรือ [[เมืองโตเดี่ยว]] (Primate City) ซึ่งหมายถึง เมืองที่เป็นศูนย์กลางการพัฒนาจนทำให้มีการเติบโตเหนือเมืองอื่น ๆ คาดการณ์ว่ารวมประชากรแฝงของกรุงเทพมหานครมีประชากรราว 10 ล้านคน การขยายตัวอย่างรวดเร็วและความสำคัญของกรุงเทพมหานครในฐานะเมืองหลวงส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารกรุงเทพมหานครอยู่ตลอดเวลา จากเดิมการบริหารกรุงเทพมหานครอยู่ในความรับผิดชอบของกรมเวียง ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นกระทรวงเมืองและกระทรวงนครบาล ตามลำดับ และต่อมามีการจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพในสมัยรัชกาลที่ 5 ในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 ทำให้มีการจัดตั้งเทศบาลนครกรุงเทพขึ้น และได้พัฒนาเป็นเทศบาลนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และสุดท้ายจัดตั้งเป็นกรุงเทพมหานครในฐานะ[[องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ]] | |||
== ประวัติและพัฒนาการของกรุงเทพมาหนคร == | |||
1) กรุงเทพมหานครช่วง พ.ศ. 2325 - 2514 | 1) กรุงเทพมหานครช่วง พ.ศ. 2325 - 2514 |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:43, 24 มีนาคม 2553
กรุงเทพมหานคร
ชื่อหน้าเนื้อหา : กรุงเทพมหานคร
รายชื่อผู้เขียน : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรทัย ก๊กผล
รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิฯ : รองศาสตราจารย์ วุฒิสาร ตันไชย
สารบัญ :
1. ประวัติและพัฒนาการของกรุงเทพมหานคร
โครงสร้างของกรุงเทพมหานคร 3. อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร 5. การบริหารงานบุคคลของกรุงเทพมหานคร 6. รายได้ของกรุงเทพมหานคร 7. การกำกับดูแลกรุงเทพมหานคร 8. ปัญหา โอกาส และข้อเสนอแนะต่อกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานครมีบทบาทและความสำคัญทั้งในฐานะเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยและเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศ ความเป็นรูปแบบพิเศษของกรุงเทพมหานคร ดังเห็นจากการมีพระราชบัญญัติเฉพาะองค์การ นั่นคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 นอกจากนี้รูปแบบการบริหารกรุงเทพมหานครยังเป็นระบบชั้นเดียว หมายถึง กรุงเทพมหานครเป็นองค์กรเดียวที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้งหมด ในขณะที่พื้นที่จังหวัดอื่น ๆ มีระบบการปกครองท้องถิ่นเป็นสองชั้น คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดในระดับบน ส่วนเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในระดับล่าง
กรุงเทพมหานครได้รับการสถาปนาเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2325 และมีการเปลี่ยนแปลงจากชุมชนขนาดเล็กริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามาเป็นมหานครที่ครอบคลุมพื้นที่ 1,568.74 ตารางกิโลเมตร มีประชากรตามทะเบียนราษฎร 5,710,883 คน[1] (พ.ศ. 2551) และมีลักษณะเป็นเมืองเอกนคร หรือ เมืองโตเดี่ยว (Primate City) ซึ่งหมายถึง เมืองที่เป็นศูนย์กลางการพัฒนาจนทำให้มีการเติบโตเหนือเมืองอื่น ๆ คาดการณ์ว่ารวมประชากรแฝงของกรุงเทพมหานครมีประชากรราว 10 ล้านคน การขยายตัวอย่างรวดเร็วและความสำคัญของกรุงเทพมหานครในฐานะเมืองหลวงส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารกรุงเทพมหานครอยู่ตลอดเวลา จากเดิมการบริหารกรุงเทพมหานครอยู่ในความรับผิดชอบของกรมเวียง ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นกระทรวงเมืองและกระทรวงนครบาล ตามลำดับ และต่อมามีการจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพในสมัยรัชกาลที่ 5 ในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 ทำให้มีการจัดตั้งเทศบาลนครกรุงเทพขึ้น และได้พัฒนาเป็นเทศบาลนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และสุดท้ายจัดตั้งเป็นกรุงเทพมหานครในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
ประวัติและพัฒนาการของกรุงเทพมาหนคร
1) กรุงเทพมหานครช่วง พ.ศ. 2325 - 2514 กรุงเทพมหานครเดิมเรียกว่า “เมืองบางกอก” ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ซึ่งพระองค์ท่านได้ทรงมีพระราชดำริว่ากรุงธนบุรีตั้งอยู่ในที่คับแคบ ไม่ต้องด้วยหลักพิชัยสงคราม ต่างกับกรุงเทพมหานคร ที่มีลักษณะพื้นที่อันเป็นที่เหมาะสมด้วยจุดยุทธศาสตร์ จึงทรงตัดสินพระทัยโปรดเกล้าฯ สถาปนากรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงของประเทศ พระราชทานนามว่า “กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยา มหาดิลก ภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์ มหาสถาน อมรพิมาน อวตารสถิต สักกะ ทัตติยะ วิษณุกรรมประสิทธิ์” เพื่อเป็นมงคลนามนับแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งแต่เดิมนั้น ใช้คำว่า “บวรรัตนโกสินทร์” แต่มาเปลี่ยนนามพระนครในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็น “อมรรัตนโกสินทร์” แทน รูปแบบการปกครองในสมัยแรกนั้น กรุงเทพมหานครมีฐานะเป็นเมืองหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกรมเวียง มีเสนาบดีกรมเวียงเป็นหัวหน้า ดูแลรับผิดชอบ พอมาถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อารยธรรมตะวันตกเริ่มแพร่เข้ามาในราชอาณาจักรมากขึ้น พระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการปกครอง จึงทรงให้ทดลองนำเอาระบบคณะกรรมการมาใช้กับรูปแบบการปกครองเมืองหลวงอยู่ชั่วขณะหนึ่ง แต่ขณะนั้นประชาชนของพระองค์ยังไม่พร้อมและสุดท้ายไม่ประสบความสำเร็จ จึงโปรดให้ยกเลิกและเปลี่ยนฐานะของกรมเวียงมาเป็นกระทรวงเมืองแทน ต่อมาได้เปลี่ยนจากกระทรวงเมืองมาเป็นกระทรวงนครบาล ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงนครบาลมารวมกับกระทรวงมหาดไทย และมีการแต่งตั้งตำแหน่งสมุหพระนครบาล โดยมีหน้าที่ปกครองดูแลรับผิดชอบมณฑลกรุงเทพโดยเฉพาะ และมณฑลกรุงเทพขณะนั้นประกอบด้วยจังหวัดพระนคร ธนบุรี นนทบุรี และสมุทรปราการ ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ทรงให้มีการวมมณฑลหลาย ๆ มณฑลเข้าเป็นภาค มีอุปราชทำหน้าที่ตรวจตราเหนือสมุหเทศาภิบาล เป็นตำแหน่งที่ขึ้นตรงกับกษัตริย์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศยกเลิกตำแหน่งอุปราช เมื่อปี พ.ศ. 2468 ทำให้มีผลยกเลิกการแบ่งภาคไปโดยอัตโนมัติ และได้ทรงประกาศยุบและรวมการปกครองมณฑลต่างๆ ระบบการปกครองของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี มีฐานะเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาค นับตั้งแต่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2476 และการจัดรูปแบบการปกครองภายในจังหวัดพระนคร และจังหวัดธนบุรี ได้จัดขึ้นตามความในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2476 กล่าวคือ มีอำเภอเป็นหน่วยการปกครองย่อยของจังหวัด หลังมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 ต่อมาได้มีการจัดตั้งเทศบาลนครกรุงเทพมหานครในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2480 และเปิดดำเนินงานในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 เช่นเดียวกับจังหวัดธนบุรีก็มีการจัดตั้งเทศบาลนครธนบุรี เทศบาลนครกรุงเทพฯ ขณะนั้นมีฐานะเป็นนิติบุคคล หลังจากมีการขยายพื้นที่ในปี พ.ศ. 2497 และในปี พ.ศ. 2514 ก่อนที่จะมีการรวมจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกัน สิ่งที่เป็นลักษณะเด่นให้จังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีแตกต่างจากจังหวัดอื่น ๆ คือ เป็นที่ตั้งของราชการส่วนกลาง และประชาชนทั้งสองจังหวัดมีความผูกพันต่อกันในการใช้ชีวิตประจำวันเหมือนอยู่ในจังหวัดเดียวกันตลอดมา จึงทำให้มีผลต่อการรวมทั้งสองจังหวัดในเวลาต่อมา 2) กรุงเทพมหานครช่วงประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 (พ.ศ. 2514 - 2515) เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ในระหว่างที่คณะปฏิวัติทำหน้าที่บริหารประเทศ ได้มีประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 24 และ 25 ให้ปรับปรุงระบบการปกครองจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี โดยสาระสำคัญของประกาศคณะปฏิวัติดังกล่าว คือ มีการรวมจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีเข้าเป็นจังหวัดเดียวกัน เรียกว่า “จังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี” และเมื่อรวมกันแล้วสภาพของนครหลวงกรุงเทพธนบุรียังคงมีรูปแบบการปกครองและการบริหารราชการส่วนภูมิภาคอยู่เช่นเดิม มีผู้ว่าราชการจังหวัด เรียกว่า “ผู้ว่าราชการจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี” มีรองผู้ว่าราชการจังหวัด 2 คน และรวมองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2 องค์การเข้าด้วยกันเป็น “องค์การบริหารนครหลวงกรุงเทพธนบุรี” มีสภาจังหวัดเรียกว่า “สภานครหลวงกรุงเทพธนบุรี” และรวมเทศบาลทั้งสองเข้าด้วยกัน เป็น “เทศบาลนครหลวง” ประกอบด้วย “สภาเทศบาลนครหลวง” และ “เทศมนตรี” ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้ง มีจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลนครหลวงไม่เกิน 36 คน และมีเทศมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 8 คน โดยมีผู้ว่าราชการนครหลวงกรุงเทพธนบุรีเป็นนายกเทศมนตรีนครหลวงโดยตำแหน่งและเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงาน อีก 1 ปีต่อมา คือปี พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ปรับปรุงการบริหารนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเทศบาลนครหลวงใหม่กลายเป็นรูปแบบการบริหารและการปกครองที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากจังหวัดอื่น ๆ ของประเทศไทย จากเทศบาลเป็นองค์การบริหารใหม่เรียกว่า “กรุงเทพมหานคร” โดยให้เป็นชื่อเดียวกันกับนครหลวง และให้สามารถบริหารจัดการภายในพื้นที่ทั้งจังหวัดได้ด้วยตนเอง มีผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการแต่งตั้ง อีกทั้งให้มีสภากรุงเทพมหานคร สภาเขต มาจากการแต่งตั้งเช่นเดียวกัน เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจระหว่างกัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถือเป็นการรวมราชการบริหารส่วนภูมิภาค คือ จังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น คือ เทศบาลนครหลวง องค์การบริหารนครหลวงกรุงเทพธนบุรี สุขาภิบาลในเขตนครหลวง กรุงเทพธนบุรี รวมเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดียวกัน ดังนั้น ตามผลของประกาศคณะปฏิวัติที่ 335 จึงมีผลให้กรุงเทพมหานครมีความชัดเจนของการเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ที่มีลักษณะเป็นสากลมากยิ่งขึ้นในการบริหารเมืองหลวง และมีการกระจายอำนาจการบริหารออกไปยังระดับต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร อย่างกรณีของสำนักงานเขต รวมทั้งการมีสภากรุงเทพมหานครเป็นฝ่ายนิติบัญญัติทำหน้าที่ตรวจสอบกรวมทั้งทำงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพร้อมกันไปด้วย อย่างไรก็ดี ต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนกลาง 3) กรุงเทพมหานครช่วงพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 หลังจากที่มีการรวมเป็นเขตการบริหารราชการรูปแบบเดียว คือ กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2515 แล้ว รูปแบบการบริหารกรุงเทพมหานครยังมีการปรับเปลี่ยนอีกครั้ง ด้วยเหตุการณ์อันไม่สงบเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ส่งผลให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 ประกาศขึ้นใช้โดยมี มาตรา 16 บัญญัติว่า การปกครองท้องถิ่นทุกระดับ รวมทั้งนครหลวง ให้มีสภาท้องถิ่น และผู้บริหาร หรือคณะผู้บริหารปกครองท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในท้องถิ่นนั้น นั่นคือ ทำให้กรุงเทพมหานครจะต้องเปลี่ยนแปลงตามคำสั่งดังกล่าวด้วย การตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ได้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานครขึ้นมาครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ทำให้ได้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกตั้งคนแรก คือ นายธรรมนูญ เทียนเงิน แต่การเลือกตั้งครั้งนั้น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและคณะไม่ได้อยู่ในตำแหน่งจนครบวาระ 4 ปี ทั้งนี้เพราะเกิดการขัดแย้งกันอย่างรุนแรง จึงทำให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสภากรุงเทพมหานคร ต้องพ้นจากตำแหน่ง และต่อมาได้มีการแบ่งส่วนราชการตามพื้นที่ออกเป็น 24 เขต ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ฉบับนี้ ได้กำหนดฐานะและรูปการปกครองการบริหารของกรุงเทพมหานคร แตกต่างไปจากประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 หลายประการ กล่าวคือ กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้กรุงเทพมหานครเป็นทบวงการเมือง มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นนครหลวง ฉะนั้น กรุงเทพมหานครจึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น 4. กรุงเทพมหานครช่วงพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 หลังจากกรุงเทพมหานครมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยตรงจากประชาชนตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 และบริหารงานได้เพียงปีเศษ ได้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงทั้งในฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายแก่ราชการกรุงเทพมหานคร นายกรัฐมนตรี นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้มีคำสั่งตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2519 ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งและให้ยุบสภากรุงเทพมหานคร และแต่งตั้งบุคคลภายนอกเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานครแทนเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2528 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2528 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 โดยยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ซึ่งทำให้กรุงเทพมหานครมีอิสระในการบริหารมากขึ้น และสาระสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงตามพระราชบัญญัติฉบับใหม่ที่แตกต่างไปจากฉบับเดิมในบางประการมีดังต่อไปนี้ - ให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและให้ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานคร ไปพิจารณาแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ 4 คน แทนการเลือกตั้ง - ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นคณะ เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในคณะผู้บริหารดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว - ไม่มีการลงประชามติให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่ง - การยุบสภากรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจยุบสภากรุงเทพมหานครได้ เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครยื่นข้อเสนอพร้อมเหตุผลให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยยุบสภา - ถ้ามีการยุบสภากรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องพ้นจากตำแหน่งด้วย - มีสภาเขตทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาผู้อำนวยการเขต - กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเกี่ยวกับการคลังและการรักษาทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครแทนการใช้ระเบียบของกระทรวงมหาดไทย รวมถึงการมีอำนาจสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ที่ค้างชำระภาษีไม่ต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง เป็นต้น - ให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครบางตำแหน่ง และข้าราชการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับปฏิบัติหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา - มีกิจการในอำนาจหน้าที่เพิ่มขึ้น เช่น การทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนด การผังเมือง การขนส่ง การควบคุมอาคาร การควบคุมความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและอนามัยในสาธารณสถานอื่น ๆ เป็นต้น - สามารถตั้งสหการ เพื่อดำเนินกิจการในอำนาจหน้าที่ได้ ในเนื้อหาสาระของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 กับ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มีส่วนที่คล้ายคลึงกัน แต่ได้ปรับปรุงถ้อยคำและเพิ่มแนวความคิดใหม่ ๆ ในสาระสำคัญหลายประการ เพื่อให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นสากลมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเพื่อแก้ไขอุปสรรคข้อขัดข้องในการบริหารราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น พระราชบัญญัติฉบับนี้ เป็นพระราชบัญญัติที่กรุงเทพมหานครยังคงยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ณ ปัจจุบัน ซึ่งได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรวมทั้งสิ้น 5 ฉบับด้วยกัน คือ - พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 - พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 - พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539 - พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2542 - พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2550 เนื่องด้วย สภาพการณ์ในแต่ละช่วงเวลานั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลงจึงทำให้ต้องปรับเปลี่ยนข้อกฎหมายบางประการให้สอดรับการสภาพความเป็นจริงของเหตุการณ์ ณ ช่วงเวลานั้น ๆ ด้วยสภาพการเป็นศูนย์กลางและศูนย์รวมของความเจริญในด้านต่าง ๆ และทำให้การมองภาพของประเทศไทย นั่นคือ กรุงเทพมหานคร ที่ทำให้เกิดการหลั่งไหลความเจริญต่าง ๆ ให้เข้ามาสู่กรุงเทพมหานคร รวมถึงทางด้านการเมืองที่ให้ความสำคัญกับพื้นที่การเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครกับระดับประเทศ รวมถึงการบริหารงานของรัฐบาลเป็นอย่างมาก จึงทำให้กรุงเทพมหานครมีลักษณะโดดเด่นกว่าการบริหารงานในรูปแบบอื่นของประเทศ
แหล่งที่มาของข้อมูล :
ท สถาบันพระปกเกล้า. สารานุกรมการปกครองท้องถิ่น หมวดที่ 3 พัฒนาการและรูปแบบการปกครองท้องถิ่นไทย ลำดับที่ 5 เรื่อง กรุงเทพมหานคร. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า, 2547. ท โกวิทย์ พวงงาม. การปกครองท้องถิ่นไทย : หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2543. ท ชูวิทย์ ฉายะบุตร. การปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539. ท วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. การบริหารเมืองหลวงและการบริหารท้องถิ่น เปรียบเทรียบ :อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่นและไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2541. ท สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร ปีที่ 27, 2542. ท สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร. จากเทศบาลสู่กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร, 2542. ท พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ท พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 ท พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539 ท พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2542 ท กรุงเทพมหานคร <www.bma.go.th>
โครงสร้างของกรุงเทพมหานคร
ชื่อหน้าเนื้อหา : โครงสร้างของกรุงเทพมหานคร
รายชื่อผู้เขียน : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรทัย ก๊กผล
รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิฯ : รองศาสตราจารย์ วุฒิสาร ตันไชย
สารบัญ : 1. บทนำ 2. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 3. สภากรุงเทพมาหนคร 4. สำนัก สำนักงานเขตและสภาเขต
เนื้อหา : 1. บทนำ กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีฐานะเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย และเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีฐานะเป็นทบวงการเมืองนิติบุคคล มีระเบียบการปกครองตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ให้มีหน้าที่จัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็นเขต มีสำนักงานใหญ่เรียกว่า ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร มีโครงสร้างการบริหารในปัจจุบันดังนี้ 1. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้บริหารสูงสุดของกรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีวาระ 4 ปี ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รวมทั้งคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้อีกด้วย
2. สภากรุงเทพมหานคร สภากรุงเทพมหานครทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติของกรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานครมาจากการเลือกตั้งมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
3. สำนัก และสำนักงานเขต การบริหารของกรุงเทพมหานครมีการแบ่งโครงสร้างการบริหารประกอบด้วยสำนักและสำนักงานเขต สำนักงานเป็นการแบ่งการบริหารงานกรุงเทพมหานครตามหน้าที่ความรับผิดชอบ ปัจจุบันประกอบด้วย 17 สำนัก อาทิ เช่น สำนักสิ่งแวดล้อม สำนักการช่าง สำนักระบายน้ำ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล บทบาทของสำนักนี้จะดูงานภาพรวมและระดับนโยบายของกรุงเทพมหานคร ส่วนสำนักงานเขตเป็นการแบ่งการบริหารงานตามพื้นที่ และมีบทบาทความรับผิดชอบในการจัดบริการสาธารณะให้ประชาชนโดยตรง ผู้บังคับบัญชาหรือ ผู้บริหารของสำนักงานเขต คือ ผู้อำนวยการเขต ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร
1. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
1) การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครมี “ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร” เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ซึ่งราษฎรเป็นผู้ลงคะแนนเลือกตั้งโดยตรงและลับ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ตั้งแต่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ซึ่งกรุงเทพมหานครมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยตรงจนถึงปัจจุบัน 7 ครั้ง
ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจากการเลือกตั้ง พรรค คะแนนที่ได้รับ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2518 นายธรรมนูญ เทียนเงิน ประชาธิปัตย์ 99,247 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 พลตรี จำลอง ศรีเมือง พลังธรรม 480,233 7 มกราคม พ.ศ. 2533 พลตรี จำลอง ศรีเมือง พลังธรรม 703,671 19 เมษายน พ.ศ. 2535 ร.อ.กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา อิสระ 363,668 2 มิถุนายน พ.ศ. 2539 นายพิจิตต รัตนกุล กลุ่มมดงาน 768,944 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 นายสมัคร สุนทรเวช ประชากรไทย 1,016,096 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547 นายอภิรักษ์ โกษาโยธิน ประชาธิปัตย์ 911,411
2) อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ทั่วไปตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ดังนี้ (1) เร่งกำหนดนโยบาย และบริหารราชการเขตกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมาย (2) สั่ง อนุญาต อนุมัติเกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร (3) แต่งตั้งและถอดถอนรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งตามมาตรา 55 ได้กำหนดให้มีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เกิน 4 คน ตามลำดับที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจัดไว้ ทำหน้าที่ช่วยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย คำสั่งแต่งตั้ง รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉะนั้น จะเห็นได้ว่ารองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มิได้เป็นตำแหน่งที่มาจากการเลือกตั้งเหมือนกับดังที่เคยบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ที่ถูกยกเลิกไป นอกจากรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแล้ว ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครยังมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และแต่งตั้งถอดถอนผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใด ๆ ได้อีกด้วย (4) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย (5) วางระเบียบเพื่อปรับปรุงงานของกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย (6) รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร (7) อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 และกฎหมายอื่น ๆ (8) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร และมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายอื่นได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด นายกรัฐมนตรี หรือคณะเทศมนตรี แล้วแต่กรณีโดยอนุโลม ทั้งนี้ เว้นแต่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครจะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายประจำของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานคร และข้าราชการสามัญ รวมทั้งลูกจ้างกรุงเทพมหานคร มีปลัดกรุงเทพมหานครเป็นหัวหน้ารับผิดชอบควบคุมดูแล และดำเนินงานราชการประจำของกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดและตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร กำกับเร่งรัด ติดตามผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกรุงเทพมหานคร รวมทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และลูกจ้างของกรุงเทพมหานคร รองจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 3) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานคร โครงสร้างการบริหารของกรุงเทพมหานครมีสภากรุงเทพมหานครซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ และมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นฝ่ายบริหาร ที่มาจากการเลือกตั้ง มีอำนาจหน้าที่แยกกันโดยเด็ดขาด และมีความสัมพันธ์กันในลักษณะของการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน คือ ต่างมีสิทธิที่จะเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งการยุบสภาและถอดถอนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้เท่ากัน ตามหลักการดังนี้ (1) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งการให้ยุบสภาเมื่อการดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสภากรุงเทพมหานครมีความขัดแย้งกันจนอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร หรือแก่ราชการโดยส่วนรวม (2) สภากรุงเทพมหานคร มีอำนาจเสนอมติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาถอดถอนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้โดยมติคณะรัฐมนตรี กรณีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้กระทำการอันเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหรือปฏิบัติการอันเป็นเหตุให้เสียหายอย่างร้ายแรงแก่กรุงเทพมหานคร หรือแก่ราชการส่วนรวมหรือแก่การรักษาความสงบเรียบร้อย หรือสวัสดิภาพของประชาชน นอกจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานครยังมีความสัมพันธ์กันในเรื่องการปฏิบัติราชการอื่น ๆ อีก คือ (1) มีสิทธิเสนอร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครได้เหมือนกัน ยกเว้นร่างข้อบัญญัติงบประมาณ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องเป็นผู้เสนอ และร่างข้อบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่สมาชิกสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้เสนอจะต้องได้คำรับรองของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (2) สมาชิกสภากรุงเทพมหานครมีสิทธิตั้งกระทู้ถามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก็มีสิทธิที่จะไม่ตอบกระทู้ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เมื่อเห็นว่าเรื่องนั้นๆ ยังไม่สมควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับประโยชน์สำคัญของกรุงเทพมหานคร (3) สมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมดมีสิทธิเข้าชื่อเสนอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแถลงข้อเท็จจริงในปัญหาการบริหารราชการภายใน 15 วัน โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่มีสิทธิยับยั้งการอภิปราย (4) สภากรุงเทพมหานครมีอำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการสามัญของสภากรุงเทพมหานคร ให้เลือกจากสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และแต่งตั้งคณะกรรมการวิสามัญของสภากรุงเทพมหานคร โดยเลือกจากสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหรือผู้มิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (5) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร หรือบุคคลที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครให้สภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการวิสามัญได้ตามจำนวนที่สภากำหนด (6) สภากรุงเทพมหานครมีอำนาจให้ความเห็นชอบในการดำเนินการของกรุงเทพมหานครในเรื่องต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
2. สภากรุงเทพมหานคร
1) การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร มีสภากรุงเทพมหานครที่มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี
2) ประธานสภากรุงเทพมหานคร และรองประธานสภากรุงเทพมหานคร ให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เลือกประธานสภากรุงเทพมหานครได้ 1 คน และเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเป็นรองประธานสภากรุงเทพมหานครได้ไม่เกิน 2 คน ซึ่งประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครดำรงตำแหน่งทันทีที่ได้รับเลือก และมีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี ทั้งประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครอาจพ้นตำแหน่งก่อนคราวละ 2 ปี ได้ในกรณี ขาดจากสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ลาออก หรือ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด เข้าชื่อเสนอญัตติให้สภากรุงเทพมหานคร เลือกตั้งประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานครใหม่ และสภากรุงเทพมหานครมีมติตามนั้น ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด โดยให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อได้มีการเลือกตั้งประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานครคนใหม่แล้วแต่กรณี และให้ผู้ได้รับเลือกตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ซึ่งตายแทน 3) อำนาจหน้าที่ของประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภากรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการของสภากรุงเทพมหานคร ตามข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร ในขณะที่รองประธานสภากรุงเทพมหานคร มีอำนาจทำการแทนประธานสภากรุงเทพมหานคร เมื่อประธานสภากรุงเทพมหานครไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือตามที่ประธานสภากรุงเทพมหานครมอบหมาย ถ้าประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานคร ไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครคนหนึ่งทำหน้าที่แทนเฉพาะคราวประชุมครั้งนั้น 4) การประชุมสภากรุงเทพมหานคร (1) การประชุมครั้งแรกของสภากรุงเทพมหานคร นับแต่วันเลือกตั้งทั่วไปสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้เรียกประชุมภายใน 15 วัน และในการประชุมครั้งต่อๆ ไป ประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้เรียกประชุม (2) ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญไม่น้อยกว่า 2 สมัย แต่ไม่เกิน 4 สมัย โดยสภากรุงเทพมหานครจะเป็นผู้กำหนดจำนวนสมัยและวันประชุมสภากรุงเทพมหานครในแต่ละสมัย โดยกำหนดสมัยละ 30 วัน แต่ในกรณีจำเป็นประธานสภากรุงเทพมหานครอาจมีคำสั่งให้ขยายเวลาการประชุมออกไปได้ตามความจำเป็น ครั้งละไม่เกิน 15 วัน (3) การปิดสมัยประชุมก่อนกำหนด ทำได้ต่อเมื่อสภากรุงเทพมหานครเห็นชอบ (4) ในกรณีมีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อประโยชน์กรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด อาจทำคำร้องยื่นต่อประธานสภากรุงเทพมหานครขอให้เรียกประชุมวิสามัญได้ ในกรณีนี้ประธานสภากรุงเทพมหานครต้องกำหนดสมัยประชุม และเรียกประชุมภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับคำร้อง โดยในสมัยประชุมวิสามัญจะมีกำหนดสับเปลี่ยนวัน และประธานสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจสั่งขยายเวลาการประชุมออกไปได้อีกครั้งละไม่เกิน 15 วันตามความจำเป็น เช่นเดียวกับการประชุมสภาสามัญและการปิดสมัยประชุมก่อน 30 วัน จะทำได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร 5) อำนาจหน้าที่ของสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) สภากรุงเทพมหานครเป็นองค์กรนิติบัญญัติของกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับกิจการในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ได้รับความเห็นชอบจากกรุงเทพมหานคร ให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) เสนอและพิจารณาให้ความเห็นชอบในการตราข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร (2) พิจารณาและให้ความเห็นชอบในร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีซึ่งเป็นการพิจารณางบประมาณทุกหน่วยงานของกรุงเทพมหานครที่ฝ่ายบริหารตั้งมาว่ามีเหตุผลเหมาะสมอย่างไร และจะเพิ่มหรือลดให้เป็นไปตามกระบวนการของการออกข้อบัญญัติ (3) ควบคุมการบริหารงานของฝ่ายบริหาร ซึ่งมีวิธีการควบคุมได้ 4 ประการ คือ - โดยการตั้งกระทู้ถามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ถือได้ว่าเป็นมาตรการที่ใช้ในการควบคุมได้ทางหนึ่ง - โดยการเสนอญัตติ เพื่อให้กรุงเทพมหานครดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร หากที่ประชุมสภาเห็นชอบในญัตติของสมาชิกสภา จะส่งญัตติในเรื่องนั้นๆ ให้ฝ่ายบริหารพิจารณาดำเนินการต่อไป - โดยการเปิดอภิปรายทั่วไป จะกระทำได้โดยสมาชิกสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เข้าชื่อเพื่อเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาอันเกี่ยวกับการบริหารราชการกรุงเทพมหานครได้ - โดยการเป็นกรรมการสภา ซึ่งถือได้ว่าเป็นบทบาทอันสำคัญของสมาชิกที่จะควบคุมติดตามผลการบริหารงานของฝ่ายบริหารได้ เพราะคณะกรรมการของสภามีอำนาจกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครได้ แล้วรายงานต่อสภากรุงเทพมหานคร ถ้าสภากรุงเทพมหานครเห็นชอบกับรายงานของคณะกรรมการฯ ดังกล่าว ประธานสภาก็จะส่งเรื่องให้ฝ่ายบริหารพิจารณาดำเนินการตามมติของสภาต่อไป (4) อำนาจในการพิจารณาให้ความเห็นชอบในกิจการที่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องขอความเห็นชอบจากสภา หรือต้องรายงานให้สภาทราบ ในกรณีดังต่อไปนี้ - การดำเนินกิจการนอกเขตกรุงเทพมหานคร - การทำกิจการร่วมกับบุคคลอื่นโดยก่อตั้งบริษัท หรือการถือหุ้นในบริษัท รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้นที่กรุงเทพมหานครถืออยู่ต้องได้รับความอนุมัติจากสภากรุงเทพมหานคร - การให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ด้วยการเรียกเก็บค่าบริการซึ่งกรุงเทพมหานครจะดำเนินการได้โดยการตราเป็นข้อบัญญัติ ซึ่งเท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบของสภาไปโดยปริยาย หากได้รับความเห็นชอบในร่างข้อบัญญัติดังกล่าว - การมอบให้เอกชนดำเนินกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร และเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือค่าตอบแทนที่เกี่ยวข้องแทนกรุงเทพมหานคร หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้กระทำกิจกรรมดังกล่าวข้างต้นให้เป็นไปตามกฎระเบียบกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย - การยืมเงินสะสมเกินกว่า 10 ล้านบาท และการขอใช้เงินสะสมจ่ายขาด - การขอขยายเวลาเบิกจ่ายเงินเหลื่อมปีงบประมาณเกินปีงบประมาณถัดไป - การก่อหนี้ผูกพันงบประมาณข้ามปี (ยกเว้นโครงการซึ่งได้ระบุไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือโครงการที่ใช้เงินยืมสะสม ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานครแล้ว) - การกู้เงินจากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ หรือนิติบุคคลต่าง ๆ - การกู้เงินจากต่างประเทศ องค์การต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ - รับทราบรายงานการรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว (5) อำนาจในการอนุมัติ มีดังนี้ - การอนุมัติข้อกำหนดกรุงเทพมหานคร - การอนุมัติให้ขยายเวลาในการพิจารณาของคณะกรรมการที่สภาแต่งตั้งออกไป ในกรณีที่ดำเนินการไม่แล้วเสร็จภายในกำหนด (6) อำนาจในการวินิจฉัย มีดังนี้ - ให้สมาชิกสภาภายนอก เพราะเห็นว่าได้กระทำการอันเป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่ง มติของสภาต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนของสมาชิกทั้งหมดของสภา - ให้สมาชิกสภาลาประชุมในสมัยประชุมหนึ่งเกินกว่า 3 วัน ที่มีการประชุม - กรณีมีปัญหาที่ต้องตีความข้อบังคับ ให้เป็นอำนาจของสภาที่จะวินิจฉัย (7) ร่วมกับฝ่ายบริหารในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน 6) คณะกรรมการสามัญและวิสามัญประจำสภากรุงเทพมหานคร (1) คณะกรรมการสามัญ คือ คณะกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครแต่งตั้งจากสมาชิกสภา คณะหนึ่งมีจำนวนอย่างน้อย 5 คน อย่างมากไม่เกิน 9 คน คณะกรรมการสามัญมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารในแต่ละด้านมีทั้งหมด 11 คณะได้แก่ - คณะกรรมการตรวจรายงานการประชุมและพิจารณาเปิดเผยรายงานการประชุมลับ - คณะกรรมการการศึกษาและวัฒนธรรม - คณะกรรมการการโยธาและผังเมือง - คณะกรรมการการสาธารณสุข - คณะกรรมการการรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อม - คณะกรรมการการเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง และติดตามงบประมาณ - คณะกรรมการการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย - คณะกรรมการพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม - คณะกรรมการการท่องเที่ยวและการกีฬา - คระกรรมการการจราจร ขนส่งและ การระบายน้ำ - คณะกรรมการกิจการสภากรุงเทพมหานคร (2) คณะกรรมการวิสามัญ สภากรุงเทพมหานคร คือ กรรมการที่สภากรุงเทพมหานครเลือกจากผู้ที่เป็นสมาชิกสภา หรือผู้ที่มิได้เป็นสมาชิกสภา และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีสิทธิเสนอชื่อผู้เป็นสมาชิกสภาหรือผู้ที่มิได้เป็นสมาชิกสภา เพื่อให้สภากรุงเทพมหานครแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการวิสามัญ ส่วนจำนวนกรรมการให้เป็นไปตามที่สภากรุงเทพมหานครกำหนด คณะกรรมการวิสามัญ มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ หรือพิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร แล้วรายงานต่อสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งจะมีการตั้งขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 เมื่อสภาพิจารณาลงมติรับหลักการร่างข้อบัญญัติที่สมาชิกสภาหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้เสนอสภาต้องแต่งตั้งคณะกรรมการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างข้อบัญญัติ แล้วจึงรายงานผลการพิจารณาต่อสภา ถ้าสภาเห็นชอบก็จะส่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามเพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป กรณีที่ 2 ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาศึกษารายละเอียดก่อนรับหลักการหรือก่อนให้ความเห็นชอบในญัตติใดๆ ซึ่งที่ประชุมเห็นว่ายังไม่ชัดเจนเพียงพอแล้วให้นำผลการพิจารณาเสนอต่อสภาว่าสมควรจะรับหลักการหรือให้ความเห็นชอบในญัตตินั้น ๆ หรือไม่ ประการใด
3. สำนัก สำนักงานเขตและสภาเขต
การจัดการบริหารงานภายในกรุงเทพมหานครมีองค์ประกอบสำคัญ คือ สำนัก สำนักงาน เขต และสภาเขต
1) สำนัก กรุงเทพมหานครแบ่งงานตามอำนาจหน้าที่ออกเป็น 17 สำนัก สำนักนี้ถือเป็นหน่วยงานดูแลระดับยุทธศาสตร์ ได้แก่ สำนักคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร สำนักปลัดกรุงเทพมหาคร สำนักงานการศึกษา สำนักการโยธา สำนักระบายน้ำ สำนักยุทธศาสตร์และการประเมินผล สำนักการแพทย์ สำนักสิ่งแวดล้อม สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว สำนักเทศกิจ สำนักอนามัย สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักการคลัง สำนักพัฒนาสังคม สำนักจารจร และขนส่ง สำนักผังเมือง และสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้กรุงเทพมหานครยังมีหน่วยงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร อันประกอบด้วย สำนักงานการตลาด สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร บริษัทกรุงเทพธนาคม และตลาดกรุงเทพมหานคร 2) สำนักงานเขต สำนักเขตมีบทบาทสำคัญในการบริการแก่ประชาชนในเขตต่างๆ ในปัจจุบันมี 50 เขต อยู่ภายใต้การบริหารงาน ผู้อำนวยการเขต โดยมีสภาเขตที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นที่ปรึกษา สำนักงานเขตประกอบด้วย 1. สำนักงานเขตคลองสาน 26. สำนักงานเขตบึงกุ่ม 2. สำนักงานเขตคลองเตย 27. สำนักงานเขตปทุมวัน 3. สำนักงานเขตคลองสามวา 28. สำนักงานเขตประเวศ 4. สำนักงานเขตคันนายาว 29. สำนักงานเขตป้อมปราบฯ 5. สำนักงานเขตจตุจักร 30. สำนักงานเขตพญาไท 6. สำนักงานเขตจอมทอง 31. สำนักงานเขตพระนคร 7. สำนักงานเขตดอนเมือง 32. สำนักงานเขตพระโขนง 8. สำนักเขตดินแดง 33. สำนักงานเขตภาษีเจริญ 9. สำนักงานเขตดุสิต 34. สำนักงานเขตมีนบุรี 10. สำนักงานเขตตลิ่งชัน 35. สำนักงานเขตยานนาวา 11. สำนักงานเขตทวีวัฒนา 36. สำนักงานเขตราชเทวี 12. สำนักงานเขตทุ่งครุ 37. สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ 13. สำนักงานเขตธนบุรี 38. สำนักงานเขตลาดกระบุง 14. สำนักงานเขตบางกะปิ 39. สำนักงานเขตลาดพร้าว 15. สำนักงานเขตบางกอกน้อย 40. สำนักงานเขตวังทองหลาง 16. สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ 41. สำนักงานเขตวัฒนา 17. สำนักงานเขตบางขุนเทียน 42. สำนักงานเขตสะพานสูง 18. สำนักงานเขตบางเขน 43. สำนักงานเขตสาธร 19. สำนักงานเขตบางคอแหลม 44. สำนักงานเขตสายไหม 20. สำนักงานเขตบางแค 45. สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ 21. สำนักงานเขตบางซื่อ 46. สำนักงานเขตสวนหลวง 22. สำนักงานเขตบางนา 47. สำนักงานเขตหนองจอก 23. สำนักงานเขตบางบอน 48. สำนักงานเขตหนองแขม 24. สำนักงานเขตบางพลัด 49. สำนักงานเขตหลักสี่ 25. สำนักงานเขตบางรัก 50. สำนักงานห้วยขวาง ได้มีการจัดกลุ่มเขตของกรุงเทพมหานครออกเป็น 4 ลักษณะ ตามวัตถุประสงค์เพื่อการปฏิบัติงาน ดังนี้ (1) การแบ่งเขตตามการบริหารงาน 6 กลุ่มโซน คือ กลุ่มรัตนโกสินทร์ กลุ่มบูรพา กลุ่มศรีนครินทร์ กลุ่มเจ้าพระยา กลุ่มกรุงธนเหนือ กลุ่มกรุงธนใต้ (2) การแบ่งเขตตามที่ตั้งของพื้นที่ 3 เขต คือ เขตชั้นใน เขตชั้นกลาง เขตชั้นนอก (3) การแบ่งเขตตามการตั้งถิ่นฐานชุมชน 5 โซน คือ เขตเมืองชั้นใน (Inner City) เขตชั้นกลางหรือเขตต่อเมือง (Urban Fringe) และเขตชั้นนอกหรือเขตชานเมือง (Suburb) (4) การแบ่งเขตตามการลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน (ผังเมือง) 13 บริเวณ (1) การแบ่งส่วนราชการของสำนักงานเขต สำนักงานเขตเป็นองค์การบริหารของเขต มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานการปกครองท้องที่การพัฒนาชุมชน การส่งเสริมอาชีพ การทะเบียน การโยธา การรักษาที่สาธารณะ การพัฒนาผังเมืองเขต การระบายน้ำ การสาธารณสุข การจัดเก็บรายได้ การรักษาความสะอาด การดูแลบำรุงรักษาต้นไม้ การดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษา การควบคุมดูแลโรงเรียนประถมศึกษา การดูแลและรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือที่กฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งส่วนราชการ ประกอบด้วย ฝ่ายปกครอง ฝ่ายทะเบียน ฝ่ายโยธา ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล ฝ่ายรายได้ ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ ฝ่ายการศึกษา ฝ่ายการคลัง ฝ่ายเทศกิจ ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม (2) ผู้อำนวยการเขต สำนักงานเขตมีผู้อำนวยการเขตซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และลูกจ้างกรุงเทพมหานครรับผิดชอบการปฏิบัติราชการภายในเขต และจะให้มีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตคนหนึ่งหรือหลายคนสำหรับช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตก็ได้ ผู้อำนวยการเขตมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ - อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอในแต่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น - อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้อำนวยการเขต - อำนาจหน้าที่ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย ในกรณีที่เป็นการสมควร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอาจสั่งให้สำนักงานเขตใดปฏิบัติหน้าที่แทนสำนักงานเขตอื่นทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ และจะให้ผู้อำนวยการเขตใดเป็น ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่นั้นก็ได้ แต่ต้องประกาศสั่งการดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษา 3) สภาเขต การกำหนดให้มี “สภาเขต” เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ทำหน้าที่เสมือนที่ปรึกษาผู้อำนวยการเขตในแต่ละเขตที่สภาเขตนั้นได้รับการเลือกตั้งขึ้นมา เนื่องจากอำนาจที่แท้จริงยังอยู่ที่ผู้อำนวยการเขตเป็นผู้บังคับบัญชาในระดับเขต จึงทำให้สภาเขตมีบทบาทไม่มากเท่าที่ควร โดยมีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้ (1) ในเขตหนึ่ง ๆ ให้มีสภาเขต ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งมีจำนวนอย่างน้อย เขตละ 7 คน ถ้าเขตใดมีราษฎรเกิน 100,000 คน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตในเขตนั้นเพิ่มขึ้นอีก 1 คนต่อจำนวนราษฎรทุก 100,000 คน เศษของ 100,000 คนถ้าถึง 50,000 คน หรือกว่านั้นให้นับเป็น 100,000 คน โดยกำหนดอายุของสภาเขตคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง (2) กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขต เช่นเดียวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (3) หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตให้ตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร อำนาจหน้าที่ของ “สภาเขต” มีดังนี้ - ให้ข้อคิดเห็นและข้อสังเกตเกี่ยวกับแผนพัฒนาเขตต่อผู้อำนวยการเขตและสภากรุงเทพมหานคร และเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาเขต - สอดส่องและติดตามดูแลการดำเนินการของสำนักงานเขต - ให้คำแนะนำหรือข้อสังเกตต่อผู้อำนวยการเขตเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขการบริการประชาชนภายในเขต หากผู้อำนวยการเขตไม่ดำเนินการใด ๆ โดยไม่แจ้งเหตุผลให้ทราบ ให้สภาเขตแจ้งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาดำเนินการต่อไป - ให้คำปรึกษาตามที่ผู้อำนวยการเขตร้องขอ - แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกระทำกิจการ หรือพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ เกี่ยวกับการงานของสภาเขต ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการนั้น - ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่กำหนดในกฎหมายหรือที่สภากรุงเทพมหานครมอบหมาย - สภาเขตต้องมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ตามวันเวลาที่สภาเขตกำหนดสมาชิกสภาเขตมาประชุมกันเป็นครั้งแรก ในการประชุมสภาเขตต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด จึงจะถือเป็นองค์ประชุม และในการประชุมสภาเขตจะพิจารณาเรื่องอื่นที่อยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ไม่ได้ ในการประชุมสภาเขต ผู้อำนวยการเขต ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต และ/หรือผู้ที่ผู้อำนวยการเขตมอบหมายมีหน้าที่เข้าร่วมประชุมสภาเขต และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริง แสดงความเห็นเกี่ยวกับกิจการในหน้าที่ได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
แหล่งที่มาของข้อมูล :
ท สถาบันพระปกเกล้า. สารานุกรมการปกครองท้องถิ่น หมวดที่ 3 พัฒนาการและรูปแบบการปกครองท้องถิ่นไทย ลำดับที่ 5 เรื่อง กรุงเทพมหานคร. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า, 2547. ท โกวิทย์ พวงงาม. การปกครองท้องถิ่นไทย : หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2543. ท ชูวิทย์ ฉายะบุตร. การปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539. ท วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. การบริหารเมืองหลวงและการบริหารท้องถิ่น เปรียบเทรียบ :อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่นและไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2541. ท สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร ปีที่ 27, 2542. ท สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร. จากเทศบาลสู่กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร, 2542. ท พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ท พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 ท พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539 ท พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2542 ท พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 ท กรุงเทพมหานคร www.bma.go.th ท http://bangkokcouncil.bma.go.th
อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
ชื่อหน้าเนื้อหา : อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
รายชื่อผู้เขียน : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรทัย ก๊กผล
รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิฯ : รองศาสตราจารย์ วุฒิสาร ตันไชย
สารบัญ : 1. อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 2. อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2542
เนื้อหา :
อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครในปัจจุบันมาจาก 2 ส่วนคือ 1) อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 2) อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2542 อำนาจหน้าที่ในการบริหารของกรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 89 ได้กำหนดไว้ทั้งสิ้น 27 เรื่อง และได้มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเป็น 44 เรื่อง ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
1. อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ตามมาตรา 89 มีดังนี้
ประเภท อำนาจหน้าที่
กรุงเทพมหานคร(กำหนดไว้ในมาตรา 89) 1) การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน2) การทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนด3) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย4) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง5) การผังเมือง6) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก หรือทางน้ำ และทางระบายน้ำ7) การวิศวกรรมจราจร8) การขนส่ง9) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้ามและที่จอดรถ10) การดูแลรักษาที่สาธารณะ11) การควบคุมอาคาร12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย14) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ15) การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม16) การสาธารณูปโภค17) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล18) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน19) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์20) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์21) การควบคุมความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัยในโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆการจัดการศึกษา22) การสาธารณูปการ23) การสังคมสงเคราะห์24) การส่งเสริมการกีฬา25) การส่งเสริมการประกอบอาชีพ26) การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร27) หน้าที่อื่น ๆ ตามที่กฎหมายระบุให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด อำเภอ เทศบาลนคร หรือตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมายหรือที่กฎหมายระบุให้เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
บรรดาอำนาจหน้าที่ใดซึ่งเป็นของราชการบริหารส่วนกลาง หรือราชการบริหารส่วนภูมิภาค จะมอบให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติก็ได้ โดยให้ทำเป็นพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ข้อบังคับ หรือประกาศแล้วแต่กรณี หากได้ทำเป็นข้อบังคับหรือประกาศต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กิจการดังกล่าวข้างต้นนี้ กรุงเทพมหานครต้องจัดทำในเขตกรุงเทพมหานคร ถ้าจะจัดทำออกไปนอกเขตก็ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ กล่าวคือ 1. หากการนั้นจำเป็นต้องกระทำและเป็นการที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร หรือเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 2. ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร 3. ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ว่าราชการจังหวัด ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี กรุงเทพมหานครอาจทำกิจกรรมร่วมกับบุคคลอื่นได้ โดยก่อตั้งบริษัทถือหุ้นในบริษัทได้เมื่อ 1. บริษัทนั้นมีวัตถุประสงค์เฉพาะกิจการอันเป็นสาธารณูปโภค แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่กรุงเทพมหานครได้กระทำอยู่แล้ว ก่อนวันที่พระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ใช้บังคับ และ 2. กรุงเทพมหานครต้องถือหุ้นเป็นมูลค่าเกินกว่าร้อยละ 50 ของทุนที่บริษัทนั้น จดทะเบียนไว้ ในกรณีที่มีกรุงเทพมหานคร ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการบริหารส่วนท้องถิ่นถือหุ้นอยู่ในบริษัทเดียวกันให้นับหุ้นที่ถือนั้นรวมกัน และ 3. สภากรุงเทพมหานครมีมติให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด และ 4. ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย การเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้นที่กรุงเทพมหานครถืออยู่ต้องได้รับอนุมัติจากสภากรุงเทพมหานคร 2. อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 องค์กรที่มีอำนาจหน้าที่จัดการบริการสาธารณะ ครอบคลุมทั้งเขตจังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเต็มพื้นที่จังหวัด ให้มีอำนาจหน้าที่ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรา 16 และมาตรา 17 รวมกัน สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่น จะแยกอำนาจหน้าที่กันออกไปองค์กรละมาตรา แต่กรณีของกรุงเทพมหานครกฎหมายบัญญัติไว้ให้นำทั้งสองมาตรามารวมกัน และให้ถือเป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครโดยอนุโลม ดังนี้
มาตรา 16 มาตรา 17 1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง 2) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ 3) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ 4) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ 5) การสาธารณูปการ 6) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ 7) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน 8) การส่งเสริมการท่องเที่ยว 9) การจัดการศึกษา 10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรีคนชรา และผู้ด้อยโอกาส 11) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่ 13) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ 14) การส่งเสริมกีฬา 15) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน 16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น 17) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 18) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย 19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล 20) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน 21) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ 22) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ 23) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ 24) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 25) การผังเมือง 26) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร 27) การดูแลรักษาที่สาธารณะ 28) การควบคุมอาคาร 29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 30) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 31) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด 1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเองและประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด 2) การสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น 3) การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4) การแบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น 5) การคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 6) การจัดการศึกษา 7) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน 8) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น 9) การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม 10) การจัดตั้งและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียรวม 11) การจำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลรวม 12) การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ 13) การจัดการและดูแลสถานีขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ 14) การส่งเสริมการท่องเที่ยว 15) การพาณิชย์ การส่งเสริมการลงทุน และการทำกิจการไม่ว่าจะดำเนินการเองหรือร่วมกับบุคคลอื่นหรือจากสหการ 16) การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำ ที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17) การจัดตั้งและดูแลตลาดกลาง 18) การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น 19) การจัดให้มีโรงพยาบาลจังหวัด การรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุม โรคติดต่อ 20) การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ 21) การขนส่งมวลชนและการวิศวกรรมจราจร 22) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 23) การจัดให้มีระบบรักษาความสงบเรียบร้อยในจังหวัด 24) จัดทำกิจกรรมใดอันเป็นอำนาจและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ในเขต และกิจการนั้นเป็นการสมควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ร่วมกันดำเนินการหรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ ทั้งนี้ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด 25) สนับสนุนหรือช่วยเหลือส่วนราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น 26) การให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น 27) การสังคมสงเคราะห์ละการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส 28) จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด 29) กิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
แหล่งที่มาของข้อมูล :
ท สถาบันพระปกเกล้า. สารานุกรมการปกครองท้องถิ่น หมวดที่ 3 พัฒนาการและรูปแบบการปกครองท้องถิ่นไทย ลำดับที่ 5 เรื่อง กรุงเทพมหานคร. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า, 2547. ท โกวิทย์ พวงงาม. การปกครองท้องถิ่นไทย : หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2543. ท ชูวิทย์ ฉายะบุตร. การปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539. ท สมคิด เลิศไพฑูรย์. การกระจายอำนาจตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543. ท วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. การบริหารเมืองหลวงและการบริหารท้องถิ่น เปรียบเทรียบ :อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่นและไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2541. ท สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร ปีที่ 27, 2542. ท พัชรี สิโรรส และอรทัย ก๊กผล บรรณาธิการ. การบริหารเมือง : กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543. ท สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร. จากเทศบาลสู่กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร, 2542. ท พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ท พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 ท พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539 ท พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2542 ท พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ท พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 ท สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย 2545 The Registration Administration Bureau, Department of Local Administration, Ministry of Interior 2002. ท สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร 2545 The City Planning Department, Bangkok Metropolitan Administration. 2002. ท กรุงเทพมหานคร <www.bma.go.th>
การบริหารงานบุคคลของกรุงเทพมหานคร
ชื่อหน้าเนื้อหา : การบริหารงานบุคคลของกรุงเทพมาหนคร
รายชื่อผู้เขียน : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรทัย ก๊กผล
รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิฯ : รองศาสตราจารย์ วุฒิสาร ตันไชย
สารบัญ: 1. ที่มาและองค์ประกอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร 2. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
เนื้อหา : 1. ที่มาและองค์ประกอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการแต่ละประเภทตามองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ ให้มีอิสระจากกันและมีสถานะเท่า ๆ กัน เป็นคณะกรรมการข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีอยู่ 3 ระดับด้วยกัน คือ 1) คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.) 2) คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น (ก.กลาง) 3) คณะกรรมการข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นระดับจังหวัด (ก.ระดับจังหวัด) ในรูปแบบของคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.) มีผู้แทนคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครจำนวน 1 คนเข้าไปเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ ในฐานะตัวแทนส่วนราชการ เนื่องจากกรุงเทพมหานครเป็นรูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีองค์กรเดียว ซึ่งมีจำนวนเทียบเท่ากับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งมีจำนวนองค์กรมากกกว่าก็ตาม ตามพระราชบัญญัติบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ในหมวด 4 ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลในกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา 27 ให้การบริหารงานบุคคลของกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ซึ่งได้ระบุองค์กรที่รับผิดชอบการบริหารงานบุคคลของกรุงเทพมหานครได้แก่ คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร (ก.ก.) อนุกรรมการสามัญ (อ.ก.ก. สามัญ) และอนุกรรมการวิสามัญ (อ.ก.ก.วิสามัญ) คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นองค์กรกลางของการบริหารงานบุคคล ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยที่รัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย 1 คน ปลัดกรุงเทพมหานคร เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือผู้แทน เลขาธิการ ก.ค. หรือผู้แทน และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ด้านวิชาการหรือการบริหารงานบุคคลอีกจำนวน 4 คน เป็นกรรมการ โดยมีหัวหน้าสำนักงาน ก.ก. เป็นกรรมการและเลขานุการ
2. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครนี้จะมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของกรุงเทพมหานคร เช่น การโอนย้าย บรรจุ สอบแข่งขัน และการจัดทำมาตรฐานของตำแหน่ง เป็นต้น กรุงเทพมหานครเป็นองค์การที่มีข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นข้าราชการประจำ มีปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้บังคับบัญชาซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กฎหมายกำหนดให้กรุงเทพมหานครบรรจุแต่งตั้งข้าราชการประจำดังกล่าว โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานครหรือจากเงินประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่กรุงเทพมหานคร
แหล่งที่มาของข้อมูล :
สถาบันพระปกเกล้า. สารานุกรมการปกครองท้องถิ่น หมวดที่ 3 พัฒนาการและรูปแบบการปกครองท้องถิ่นไทย ลำดับที่ 5 เรื่อง กรุงเทพมหานคร. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า, 2547.
โกวิทย์ พวงงาม. การปกครองท้องถิ่นไทย : หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2543.
ชูวิทย์ ฉายะบุตร. การปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. การกระจายอำนาจตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. การบริหารเมืองหลวงและการบริหารท้องถิ่น เปรียบเทรียบ :อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่นและไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2541.
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร ปีที่ 27, 2542.
พัชรี สิโรรส และอรทัย ก๊กผล บรรณาธิการ. การบริหารเมือง : กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.
สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร. จากเทศบาลสู่กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร, 2542.
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
กรุงเทพมหานคร <www.bma.go.th>
รายได้ของกรุงเทพมหานคร
ชื่อหน้าเนื้อหา : รายได้กรุงเทพมหานคร
รายชื่อผู้เขียน : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรทัย ก๊กผล
รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิฯ : รองศาสตราจารย์ วุฒิสาร ตันไชย
สารบัญ : 1. แหล่งรายได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 2. แหล่งรายได้ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
เนื้อหา :
1. แหล่งรายได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
ในส่วนของรายได้ของกรุงเทพมหานคร มีทั้งประเภทรายได้ประจำและรายได้พิเศษซึ่งในรายได้ประจำ คือ รายได้จากภาษีอากร รายได้จากค่าธรรมเนียม รายได้จากทรัพย์สิน รายได้จากสาธารณูปโภคและการพาณิชย์ และรายได้เบ็ดเตล็ด ในขณะที่รายได้พิเศษ คือ รายได้จากสะสมจ่ายขาด และเงินกู้ ทั้งกรุงเทพมหานครจัดเก็บเองและส่วนราชการอื่นเก็บให้ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้กรุงเทพมหานครอาจมีรายได้ดังต่อไปนี้ 1) รายได้จากทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร 2) รายได้จากสาธารณูปโภคของกรุงเทพมหานคร 3) รายได้จากการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร การทำกิจการร่วมกับบุคคลอื่นหรือจากสหการ 4) ภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมตามที่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นของเทศบาลหรือมีกฎหมายบัญญัติให้เป็นของกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะ 5) ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับตามที่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้ 6) ค่าบริการเอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น โดยตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร 7) รายได้จากการจำหน่ายพันธบัตร เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร 8) เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ หรือนิติบุคคลต่าง ๆ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร 9) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ส่วนราชการ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นและเงินสมทบจากรัฐบาล 10) เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ องค์การต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ 11) เงินกู้จากต่างประเทศ องค์การต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร 12) เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีผู้อุทิศให้ 13) เงินช่วยเหลือหรือเงินค่าตอบแทน 14) รายได้จากทรัพย์สินของแผ่นดิน หรือรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการเพื่อมุ่งแสวงหากำไรในกรุงเทพมหานครตามที่จะมีกฎหมายกำหนด 15) รายได้จากการเก็บภาษีทรัพย์สินหรือค่าธรรมเนียมพิเศษตามที่จะมีกฎหมายกำหนด 16) รายได้อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นของกรุงเทพมหานคร
2. แหล่งรายได้ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ให้กรุงเทพมหานครอาจมีรายได้จากภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และเงินรายได้ดังต่อไปนี้ 1) ภาษีโรงเรือนและที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน 2) ภาษีบำรุงท้องที่ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ 3) ภาษีป้ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีป้าย 4) ภาษีบำรุงกรุงเทพมหานครสำหรับน้ำมันเบนซินและน้ำมันที่คล้ายกัน น้ำมันดีเซลและน้ำมันที่คล้ายกัน ก๊าซปิโตรเลียมที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ ซึ่งเก็บจากการค้าในเขตกรุงเทพมหานครโดยออกข้อบัญญัติจัดเก็บเพิ่มได้ไม่เกินลิตรละสิบสตางค์สำหรับน้ำมัน และไม่เกินกิโลกรัมละ สิบสตางค์สำหรับก๊าซปิโตรเลียม 5) ภาษีบำรุงกรุงเทพมหานครสำหรับยาสูบซึ่งเก็บจากการค้าในเขตกรุงเทพมหานคร โดยออกข้อบัญญัติจัดเก็บเพิ่มได้ไม่เกินมวนละสิบสตางค์ 6) ภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรที่ได้รับการจัดสรร ในอัตราซึ่งเมื่อรวมกับอัตราภาษีป้ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีป้าย และ ภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรที่ได้รับการจัดสรรในอัตราซึ่งเมื่อรวมอัตราดังกล่าวแล้วไม่เกินร้อยละ 30 ของภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้หักส่วนที่ต้องจ่ายคืนแล้ว โดยเป็นหน้าที่ของกรมสรรพากรที่จะจัดเก็บ 7) ภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร โดยออกข้อบัญญัติจัดเก็บเพิ่มขึ้นในอัตราไม่เกินร้อยละ 30 ของอัตราภาษีที่จัดเก็บตามประมวลรัษฎากร โดยเป็นหน้าที่ของกรมสรรพากรที่จะจัดเก็บ 8) ภาษีสรรพาสามิตตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต ภาษีสุรา ตามกฎหมายว่าด้วยสุราและค่าแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ซึ่งเก็บจากการค้าในเขตกรุงเทพมหานคร โดยออกข้อบัญญัติจัดเก็บเพิ่มขึ้นในอัตราไม่เกินร้อยละ 30 ของอัตราภาษีที่กรมสรรพสามิตจัดเก็บ และให้ถือเป็นภาษีและค่าแสตมป์ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นโดยเป็นหน้าที่ของกรมสรรพสามิตที่จะจัดเก็บ 9) ภาษีเพื่อการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ 10) ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์ รวมทั้งเงินเพิ่มตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และค่าธรรมเนียม ล้อเลื่อนตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน 11) ภาษีการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน 12) ค่าภาคหลวงแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ที่จัดเก็บภายในเขตของกรุงเทพมหานคร ในอัตราร้อยละ 40 ของค่าภาคหลวงแร่ที่กรมทรัพยากรธรณีจัดเก็บได้จริง 13) ค่าภาคหลวงปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมที่จัดเก็บภายในเขตของกรุงเทพมหานครในอัตราร้อยละ 40 ของค่าภาคหลวงปิโตรเลียมที่กรมทรัพยากรธรณีจัดเก็บได้จริง 14) อากรการฆ่าสัตว์ และผลประโยชน์อื่นอันเกิดจากการฆ่าสัตว์ตาม กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ 15) ค่าธรรมเนียมบำรุงกรุงเทพมหานคร โดยออกข้อบัญญัติเรียกเก็บจากผู้พักในโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม 16) ค่าธรรมเนียมสนามบินตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามอัตราและวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด 17) ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่มีทุนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดินและกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด 18) ค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้ โดยออกข้อบัญญัติจัดเก็บเพิ่มขึ้นในอัตราไม่เกินร้อยละ 30 ของค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น (ก) ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา (ข) ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเล่นการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน (19) ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับในกิจการที่กฎหมายมอบหมายหน้าที่ให้กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการภายในเขตของกรุงเทพมหานคร และให้ตกเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร (20) ค่าธรรมเนียมใด ๆ ที่เรียกเก็บจากผู้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากบริการสาธารณะที่กรุงเทพมหานครจัดให้มีขึ้น (21) รายได้อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นของกรุงเทพมหานคร
แหล่งที่มาของข้อมูล :
สถาบันพระปกเกล้า. สารานุกรมการปกครองท้องถิ่น หมวดที่ 3 พัฒนาการและรูปแบบการปกครองท้องถิ่นไทย ลำดับที่ 5 เรื่อง กรุงเทพมหานคร. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า, 2547.
โกวิทย์ พวงงาม. การปกครองท้องถิ่นไทย : หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2543.
ชูวิทย์ ฉายะบุตร. การปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. การกระจายอำนาจตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. การบริหารเมืองหลวงและการบริหารท้องถิ่น เปรียบเทรียบ :อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่นและไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2541.
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร ปีที่ 27, 2542.
พัชรี สิโรรส และอรทัย ก๊กผล บรรณาธิการ. การบริหารเมือง : กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.
สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร. จากเทศบาลสู่กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร, 2542.
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
กรุงเทพมหานคร <www.bma.go.th>
การกำกับดูแลกรุงเทพมหานคร
ชื่อหน้าเนื้อหา : การกำกับดูแลกรุงเทพมหานคร
รายชื่อผู้เขียน : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรทัย ก๊กผล
รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิฯ : รองศาสตราจารย์ วุฒิสาร ตันไชย
สารบัญ : 1. การกำกับดูแลการกระทำของกรุงเทพมหาคร 2. การกำกับดูแลองค์กรและบุคคล
เนื้อหา :
การกำกับดูแลกรุงเทพมหานคร ถือเป็นความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น เป็นความสัมพันธ์ในลักษณะการกำกับดูแลกรุงเทพมหานคร หรือเรียกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรภายในกรุงเทพมหานครและระหว่างกรุงเทพมหานครกับส่วนกลางมี 2 ลักษณะคือ
1. การกำกับดูแลการกระทำของกรุงเทพมหานคร
กระทำใน 2 ลักษณะ คือ 1) การกำกับดูแลภายในกรุงเทพมหานคร เป็นการกำกับดูแลผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ ดังนี้ (1) การตั้งกระทู้ถาม เพื่อกำกับดูแลให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกระทำการใด ๆ ด้วยเหตุผล และอยู่ในกรอบของกฎหมาย กฎ หรือ ระเบียบข้อบังคับซึ่งออกภายใต้บังคับของกฎหมาย โดยให้สิทธิสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตั้งกระทู้ถามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในเรื่องที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร แต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีสิทธิที่จะไม่ตอบ เมื่อเห็นว่าเรื่องนั้น ๆ ยังไม่ควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับประโยชน์สำคัญของกรุงเทพมหานคร (2) การเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อกำกับดูแลให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาเกี่ยวกับการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร การเปิดอภิปรายทั่วไปกระทำได้โดยสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไป ซึ่งเป็นการเปิดอภิปรายโดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจ (3) การให้ความเห็นชอบ เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้สภากรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบในการตราข้อบัญญัติ เพื่อกำกับดูแลการดำเนินการพาณิชย์ การคลัง การงบประมาณ การเงิน การทรัพย์สิน การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน การจ้าง และการพัสดุ โดยไม่ต้องใช้ระเบียบกระทรวงมหาดไทยดังเช่นท้องถิ่นรูปแบบอื่น 2) การกำกับดูแลโดยองค์กรภายนอกกรุงเทพมหานคร เป็นการกำกับดูแลกรุงเทพมหานครโดยองค์กรส่วนกลาง ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย คณะรัฐมนตรี และองค์กรส่วนกลางอื่น ๆ เช่น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นต้น ซึ่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้ใช้มาตรการกำกับดูแลกรุงเทพมหานคร ดังนี้ (1) มาตรการทั่วไป - เรื่องที่กรุงเทพมหานครต้องขอความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อนกระทำการ หรือมีผลใช้บังคับ (1) การร่วมกับบุคคลอื่นก่อตั้งบริษัทหรือถือหุ้นในบริษัท หรือเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ (2) การออกข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ จากผู้ซึ่งใช้ หรือได้รับประโยชน์จากบริการสาธารณะที่กรุงเทพมหานครจัดขึ้น (3) การมอบกิจการในอำนาจหน้าที่ให้เอกชนดำเนินการ โดยผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือค่าตอบแทนที่เกี่ยวข้อง (4) ออกระเบียบว่าด้วยการมอบให้เอกชนกระทำกิจการ (5) การออกข้อบังคับเพื่อให้ส่วนราชการส่วนกลางหรือส่วนราชการส่วนภูมิภาคมอบอำนาจหน้าที่ของตนให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติ (6) การทำประกาศเพื่อให้ส่วนราชการส่วนกลางหรือส่วนราชการส่วนภูมิภาคมอบอำนาจหน้าที่ของตนให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติ - การอนุมัติ เป็นเรื่องที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ต้องขออนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้แก่ การตราข้อกำหนดกรุงเทพมหานครใช้บังคับเช่นเดียวกับข้อบัญญัติ ในกรณีที่ไม่มีสภากรุงเทพมหานคร หรือในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งมีความจำเป็นรีบด่วนในอันที่จะรักษาความปลอดภัยสาธารณะ หรือป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ และจะเรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครไม่ได้ทันท่วงที - การยับยั้งการกระทำ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจยับยั้งการกระทำของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หากเห็นว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายมติคณะรัฐมนตรี หรือเป็นไปในทางที่อาจทำให้เสียประโยชน์ของกรุงเทพมหานคร - การสั่งการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจสั่งการตามที่เห็นสมควรต่อการกระทำที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกระทำไปโดยขัดต่อกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี หรือเป็นไปในทางที่จะทำให้เสียประโยชน์แก่กรุงเทพมหานคร (2) มาตรการด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบ และประกาศ - มาตรการด้านกฤษฎีกา เรื่องที่กรุงเทพมหานคร ต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีตราพระราชกฤษฎีกาก่อนกระทำการ ได้แก่ (1) การให้ข้าราชการการเมือง และคณะกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ได้รับเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น ๆ อนึ่ง ข้าราชการการเมืองดังกล่าวข้างต้น ได้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (2) การให้ประธานสภาเขตและสมาชิกสภาเขตได้รับเงินประจำตำแหน่งเงินค่าเบี้ยประชุม และเงินค่าตอบแทนอื่น ๆ (3) การมอบอำนาจหน้าที่ใดซึ่งเป็นของส่วนราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติในบางกรณี (4) การตั้งและยุบเลิกสหการ - มาตรการด้านกฎกระทรวง ได้แก่ กรณีที่ส่วนราชการส่วนกลาง หรือส่วนราชการส่วนภูมิภาคจะมอบอำนาจหน้าที่ของตนให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติ ต้องออกเป็นกฎกระทรวง - มาตรการด้านระเบียบ ได้แก่ กรณีที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกระเบียบกำหนดการใช้จ่ายเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดให้แก่กรุงเทพมหานคร - มาตรการด้านประกาศ (1) เรื่องที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะต้องออกประกาศ ได้แก่ - การประกาศจำนวนสมาชิกสภาเขตที่จะทำการเลือกตั้งในแต่ละเขต - การกำหนดเขตเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (2) เรื่องที่ต้องทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่ การยุบหรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขต - มาตรการตรวจสอบการเงินและทรัพย์สิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจตรวจสอบการรับเงิน การจ่ายเงิน การบัญชีการเงินและทรัพย์สินอื่นของกรุงเทพมหานคร สำหรับการรับเงินและการจ่ายเงินนั้น เมื่อสิ้นปีงบประมาณผู้ว่าราชการกรุงเพทมหานครเป็นผู้ประกาศรายการรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณที่สิ้นสุดลงในราชกิจจานุเบกษา และเมื่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้วจะทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อเสนอสภากรุงเทพมหานครต่อไป
2. การกำกับดูแลองค์กรและบุคคล
เพื่อแก้ไขความขัดแย้งระหว่างผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกับสภากรุงเทพมหานคร และกำกับดูแลความประพฤติและคุณสมบัติของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร กระทำใน 2 ลักษณะ คือ 1) การกำกับดูแลภายในองค์กรกรุงเทพมหานคร เป็นกรณีที่สภากรุงเทพมหานครวินิจฉัยให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครออกจากตำแหน่ง เพราะเห็นว่าได้กระทำการอันเป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่งโดยมีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเข้าชื่อเสนอเป็นญัตติ หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขอให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณา และสภากรุงเทพมหานครลงมติด้วยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภา ให้สมาชิกผู้นั้นออกจากตำแหน่ง ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครลงมติ 2) การกำกับดูแลโดยองค์กรภายนอกกรุงเทพมหานคร เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรส่วนกลางมีอำนาจใช้มาตรการกำกับดูแล ได้แก่ (1) การยุบสภากรุงเทพมหานคร องค์กรส่วนกลางมีอำนาจกระทำได้ในกรณีต่าง ๆ ดังนี้ - การดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานครขัดแย้งกัน จนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจยุบสภาตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเสนอ - การดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานครขัดแย้งกัน หรือเป็นไปในทางที่ไม่ถูกต้องจนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร หรือแก่ราชการ และไม่อาจแก้ไขด้วยวิธีการอื่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีอำนาจยุบสภา - กรณีที่สภากรุงเทพมหานครไม่เห็นด้วยกับร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายและผลการพิจารณาของคณะกรรมการร่วม ด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภา ซึ่งทำให้ร่างข้อบัญญัติงบประมาณนั้นตกไป (2) การให้สมาชิกสภาออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจสั่งการสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินการสอบสวนแล้วพบว่า - ขาดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร - เป็นผู้ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในหน่วยงานของภาครัฐหรือภาคเอกชนที่มีกฎหมายห้าม - ขาดการประชุมสภากรุงเทพมหานครตลอดสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภา (3) การให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครออกจากตำแหน่ง องค์กรส่วนกลางมีอำนาจกระทำได้ในกรณีดังนี้ - กรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแสดงให้เห็นว่าได้กระทำการอันเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่ง หรือปฏิบัติการ หรือละเลยไม่ปฏิบัติการอันควรปฏิบัติ ในลักษณะที่เห็นได้ว่าจะเป็นเหตุให้เสียหายอย่างร้ายแรงแก่กรุงเทพมหานคร หรือแก่ราชการโดยส่วนรวม หรือแก่การรักษาความสงบเรียบร้อย หรือสวัสดิภาพของราษฎร สภากรุงเทพมหานครมีอำนาจลงมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภา ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาลงมติให้ออกจากตำแหน่ง ซึ่งรัฐมนตรีก็จะสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครออกจากตำแหน่งต่อไป - กรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้ขาดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนที่มีกฎหมายห้าม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่ง (4) การลงคะแนนเสียงถอดถอน โดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ลงคะแนนเสียงให้พ้นจากตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียง เพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น และถ้าสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลงพร้อมกันทั้งหมดเพราะเหตุดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นการยุบสภากรุงเทพมหานคร
แหล่งที่มาของข้อมูล :
สถาบันพระปกเกล้า. สารานุกรมการปกครองท้องถิ่น หมวดที่ 3 พัฒนาการและรูปแบบการปกครองท้องถิ่นไทย ลำดับที่ 5 เรื่อง กรุงเทพมหานคร. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า, 2547.
โกวิทย์ พวงงาม. การปกครองท้องถิ่นไทย : หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2543.
ชูวิทย์ ฉายะบุตร. การปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. การกระจายอำนาจตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. การบริหารเมืองหลวงและการบริหารท้องถิ่น เปรียบเทรียบ :อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่นและไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2541.
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร ปีที่ 27, 2542.
พัชรี สิโรรส และอรทัย ก๊กผล บรรณาธิการ. การบริหารเมือง : กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.
สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร. จากเทศบาลสู่กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร, 2542.
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
กรุงเทพมหานคร <www.bma.go.th>
ปัญหาและข้อเสนอแนะต่อกรุงเทพมหานคร
ชื่อหน้าเนื้อหา : ปัญหาและข้อเสนอแนะต่อกรุงเทพมหานคร
รายชื่อผู้เขียน : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรทัย ก๊กผล
รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิฯ : รองศาสตราจารย์ วุฒิสาร ตันไชย
สารบัญ : 1. ปัญหาของกรุงเทพมหานคร 2. โอกาสและข้อเสนอแนะต่อกรุงเทพมหานคร
เนื้อหา : 1. ปัญหาของกรุงเทพมหานคร ด้วยสภาพการบริหารที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง และในฐานะเป็นแหล่งศูนย์รวมความเจริญหรือเป็นเมืองเอกนคร ทำให้กรุงเทพมหานครถูกรุมเร้าด้วยปัญหาต่าง ๆ มากมาย เช่น ปัญหาจราจร ปัญหามลพิษ ปัญหาการจัดการขยะ ปัญหาผังเมือง และอื่น ๆ ปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งสะท้อนจุดอ่อน หรือข้อจำกัดของรูปแบบกรุงเทพมหานครในการบริหารงานดังนี้
1) ปัญหาการรวมศูนย์อำนาจ
กรุงเทพมหานครมีพื้นที่กว้างใหญ่กว่า 1,500 ตารางกิโลเมตร หากแต่โครงสร้างการบริหารที่เป็นอยู่มีลักษณะรวมศูนย์อยู่ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและปลัดกรุงเทพมหานคร การขาดการมอบอำนาจอย่างเหมาะสมและพอเพียงในระดับเขตส่งผลให้การบริการและการแก้ปัญหาแก่ประชาชนในระดับพื้นที่ไม่ทันต่อเหตุการณ์
2) ปัญหาความไม่เพียงพอของอำนาจหน้าที่
ถึงแม้กรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายจำนวนมาก หากแต่ให้อำนาจไว้น้อยไม่เพียงพอให้สามารถแก้ไขปัญหา ประกอบกับกรุงเทพมหานครมีลักษณะความเป็นเมืองสูง ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งประชาชนมีมาตรฐานและความต้องการบริการสาธารณะที่ซับซ้อนขึ้น ส่งผลให้อำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ไม่เพียงพอในการจัดบริการสนองความต้องการแก่ประชาชน เช่น บริการสาธารณูปโภค ไฟฟ้า น้ำประปา ขนส่งมวลชน อยู่นอกขอบเขตอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร นอกจากนั้นความสามารถในการจัดการปัญหาของกรุงเทพมหานครยังมีข้อจำกัดจากการขาดบูรณาการของอำนาจหน้าที่ ด้วยเหตุที่กรุงเทพมหานครไม่มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการจัดการ อำนาจในการจัดการปัญหาหนึ่ง ๆ ถูกแบ่งไว้หลายหน่วยงาน (Functional fragmentation) จนทำให้กรุงเทพมหานครไม่สามารถจัดการปัญหาได้เพียงลำพัง เช่น การจราจร มีหน่วยงานรับผิดชอบจำนวนมาก เช่น องค์การขนส่งมวลชน ดูแลระบบขนส่งมวลชน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดูแลระบบจราจร กรมการขนส่งทางบก ดูแลการจดทะเบียนรถ กรุงเทพมหานครทำหน้าที่เพียงด้านวิศวกรรมจราจร ขีดเส้น ป้ายและสัญญาณต่าง ๆ
3) ปัญหาความสัมพันธ์กับประชาชน
เนื่องจากกรุงเทพมหานครมีพื้นที่รับผิดชอบกว้างขวางมาก องค์กรมีขนาดใหญ่โต ประกอบกับสภาพความเป็นสังคมเมือง ส่งผลให้ขาดความใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารกับประชาชน โดยเฉพาะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร การบริหารกรุงเทพมหานครในรูปแบบปัจจุบันยังให้ความสำคัญกับการเลือกตั้ง ยังขาดกลไกอย่างเป็นระบบที่เปิดโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานโดยตรง ซึ่งส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกรุงเทพมหานครและประชาชนในการตัดสินใจที่มีผลกระทบต่อประชาชน
4) ปัญหาทางด้านการเมือง
ด้วยเหตุผลและความจำเป็นที่กรุงเทพมหานครมีฐานะเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย และการที่รัฐบาลมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ทำให้การทำงานของกรุงเทพมหานครและรัฐบาลเกี่ยวพันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมทั้งการเมืองในระดับท้องถิ่นอย่างกรุงเทพมหานครมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการเมืองระดับชาติ การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเป็นสนามแข่งขันที่ได้รับความสนใจ มีพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ร่วมในการเลือกตั้ง ลักษณะดังกล่าวส่งผลให้เกิดการก้าวก่ายการทำงานระหว่างกรุงเทพมหานครและรัฐบาล ดังจะเห็นว่า ในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีโครงการจำนวนมากซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครดำเนินการโดยรัฐบาล การบริหารงานของกรุงเทพมหานครขาดความอิสระ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากต้องได้รับความสนับสนุนจากรัฐบาล ซึ่งหากผู้บริหารกรุงเทพมหานครและรัฐบาลมาจากต่างพรรคการเมืองอาจมีปัญหาในการสนับสนุนและประสานงาน
5) ปัญหาโครงสร้างการบริหารงานของกรุงเทพมหานคร
ปัญหาด้านโครงสร้างถือเป็นปัญหาใหญ่สำหรับกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีพื้นที่การบริหารงานครอบคลุมทั้งหมดของกรุงเทพมหานคร ทำให้สะท้อนภาพปัญหาในอีกหลาย ๆ ด้วยกัน เช่น ปัญหาโครงสร้างของระบบราชการ ที่มีข้าราชการและลูกจ้างเป็นจำนวนมาก แต่อัตราค่าตอบแทนและสวัสดิการไม่ได้เทียบเท่ากับภาคเอกชน ในขณะที่ความเจริญและค่าครองชีพในกรุงเทพมหานครมีอัตราที่สูง เนื่องจากเป็นศูนย์รวมความเจริญและทันสมัยต่างๆ จึงทำให้การทำงานไม่เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเท่าที่ควร แต่ค่าตอบแทนยังคงอิงระบบราชการอยู่เช่นเดิม นอกจากนี้ ปัญหาทางด้านโครงสร้างของกรุงเทพมหานครยังเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานครที่ดูเหมือนกับมีการคานอำนาจซึ่งกันและกัน แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ไม่อาจสามารถทำได้อย่างแท้จริง เช่น ประธานสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของสภากรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานครเท่านั้น ไม่มีสิทธิ์ให้คุณให้โทษแก่ข้าราชการประจำเหมือนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในขณะที่เลขานุการสภากรุงเทพมหานครก็เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร ดังนั้น โครงสร้างของสภากรุงเทพมหานคร จึงมีแต่รูปแบบตามกฎหมายเข้ามาคานอำนาจฝ่ายบริหารของสภากรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาอนุมัติข้อบัญญัติ และการตั้งกระทู้ถามเพื่อถามฝ่ายบริหารและเสนอญัตติต่อสภากรุงเทพมหานครเพื่อลงมติให้ฝ่ายบริหารปฏิบัติเท่านั้น แม้แต่กระทู้ถามที่ให้ฝ่ายบริหารตอบ ฝ่ายบริหารอาจจะไม่ตอบตามที่มีกระทู้ถามก็ได้ หรือญัตติของสภากรุงเทพมหานครที่ให้ฝ่ายบริหารปฏิบัติ ฝ่ายบริหารอาจไม่ปฏิบัติก็ได้เช่นกัน โครงสร้างของสภากรุงเทพมหานครจึงไม่มีอำนาจเด็ดขาดในการคานอำนาจกับฝ่ายบริหาร เพื่อตรวจสอบการบริหารได้อย่างแท้จริง จึงเชื่อมโยงกับข้อกฎหมายที่ทำให้เป็นข้อจำกัดในการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติเท่าที่ควรจะเป็น พร้อมกันนี้ กฎหมายยังจำกัดอำนาจการบริหารงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เช่น กรณีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 49 (4) ระบุให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครบริหารงานตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย เช่น มีมติคณะรัฐมนตรีหรือมีคำสั่งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครดำเนินการทำระบบน้ำเสียเป็นระบบรวมทั่วกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก็ต้องสนองนโยบายมติของคณะรัฐมนตรีหรือคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยที่มอบมาให้ เป็นต้น เมื่อโครงสร้างของกฎหมายโดยรัฐบาลไม่ได้มอบกิจการให้กรุงเทพมหานครดูแลรับผิดชอบให้ครบวงจร ในเขตกรุงเทพมหานครย่อมก่อปัญหาการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร อีกทั้งการมีศูนย์รวมหน่วยงานราชการต่าง ๆ ในระดับกระทรวง ทบวง กรม อยู่ในกรุงเทพมหานครจำนวนมาก จึงยิ่งทำให้โครงสร้างการบริหารของกรุงเทพมหานคร ไม่ได้กระทำได้อย่างเต็มที่เท่าที่ควร ถึงแม้ว่าจะมีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีอิสระในการบริหารราชการของตนเองก็ตาม แต่ในความเป็นจริงมิได้กระทำได้มากเท่าใดนัก
2. โอกาสและข้อเสนอแนะ
ถึงแม้กรุงเทพมหานครในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความก้าวหน้าและมีการพัฒนาองค์กรให้มีความเข้มแข็งในระดับหนึ่ง หากแต่ด้วยสภาพของกรุงเทพมหานครที่เป็นนครหลวงของประเทศ และมีความเป็นเอกนคร ทำให้ความเจริญกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานคร ส่งผลให้เกิดการย้ายถิ่นของประชาชนทั้งชั่วคราวและถาวร การที่กรุงเทพมหานครขยายตัวอย่างรวดเร็ว เกิดความท้าทายของกรุงเทพมหานคร นอกจากจัดการกับการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วแล้ว ยังต้องปรับตัวเองให้สอดคล้องกับระบบโลกาภิวัตน์ ที่มีการแข่งขันระหว่างประเทศเป็นอย่างมากอยู่ที่ “เมือง” ดังนั้น กรุงเทพมหานครจึงต้องเร่งสร้างศักยภาพการแข่งขันเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ นอกเหนือจากภารกิจในระดับท้องถิ่น ด้วยข้อจำกัดและความท้าทายดังกล่าว จึงควรมีทิศทางการปรับปรุงรูปแบบการบริหารกรุงเทพมหานครมี 2 ลักษณะ คือ 1) การบริหารกรุงเทพมหานครในระบบ 2 ชั้น รูปแบบนี้เกิดจากความเห็นว่ากรุงเทพมหานครปัจจุบันมีพื้นที่กว้างขวาง ขอบเขตความรับผิดชอบมากมาย การมีเพียงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานครจึงไม่เพียงพอในการจัดบริการและตอบสนองความต้องการของประชาชน ดังนั้น จึงเสนอให้มีการแบ่งกรุงเทพมหานครเป็น 2 ระดับ คือ ระดับกรุงเทพมหานคร และระดับนคร หรือเขต ซึ่งทั้ง 2 ระดับ มีผู้บริหารมาจากการเลือกตั้งทางตรง สภากรุงเทพมหานคร และนคร มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีแหล่งรายได้และหน้าที่ชัดเจน ทิศทางดังกล่าวนี้จะทำให้การบริหารกรุงเทพมหานครมีลักษณะคล้ายคลึงกับการปกครองท้องถิ่นในพื้นที่อื่น ๆ 2) การบริหารกรุงเทพมหานครในระบบชั้นเดียว ทิศทางนี้เกิดจากการพิจารณาข้อจำกัดของทิศทางแรก ในกรณีที่ผู้บริหารกรุงเทพมหานครและนครมาจากคนละกลุ่มหรือพรรคการเมือง อาจมีความขัดแย้ง นอกจากนั้นการแบ่งกรุงเทพมหานครเป็นนครเล็กมีปัญหาในการร่วมมือกันทำงาน จึงเสนอให้กรุงเทพมหานครเป็นระบบชั้นเดียว หากแต่มีการแบ่งภายในด้วยการให้แบ่งพื้นที่เป็นนคร โดยให้กรุงเทพมหานครดูแลงานภาพรวมของกรุงเทพมหานคร ในขณะที่นครดูแลทางด้านการจัดบริการแก่ประชาชนในพื้นที่ การบริหารงานอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้บริหารงานนครตามความเห็นชอบของสภานคร
แหล่งที่มาของข้อมูล :
สถาบันพระปกเกล้า. สารานุกรมการปกครองท้องถิ่น หมวดที่ 3 พัฒนาการและรูปแบบการปกครองท้องถิ่นไทย ลำดับที่ 5 เรื่อง กรุงเทพมหานคร. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า, 2547.
โกวิทย์ พวงงาม. การปกครองท้องถิ่นไทย : หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2543.
ชูวิทย์ ฉายะบุตร. การปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. การกระจายอำนาจตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. การบริหารเมืองหลวงและการบริหารท้องถิ่น เปรียบเทรียบ :อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่นและไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2541.
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร ปีที่ 27, 2542.
พัชรี สิโรรส และอรทัย ก๊กผล บรรณาธิการ. การบริหารเมือง : กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.
สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร. จากเทศบาลสู่กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร, 2542.
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545
กรุงเทพมหานคร <www.bma.go.th>
- ↑ ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฏรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฏร ณ วันที่ 31 ธัีนวาคม 2551