ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบบการเลือกตั้ง"
สร้างหน้าใหม่: ระบบการเลือกตั้ง โดย ร.ศ. อัษฎางค์ ปาณิกบุตร ประเทศท... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 3: | บรรทัดที่ 3: | ||
โดย ร.ศ. อัษฎางค์ ปาณิกบุตร | โดย ร.ศ. อัษฎางค์ ปาณิกบุตร | ||
ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยต้องมีการเลือกตั้ง ในประเทศเผด็จการคอมมิวนิสต์ก็ยังมีการเลือกตั้งแต่รูปแบบและวิธีการย่อมแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของแต่ละประเทศ | |||
ประเทศที่ด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนาก็จะเอาตัวอย่างหรือวิธีการเลือกตั้ง มาจากประเทศที่พัฒนา แล้วแทบทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับว่าวิธีการใดจะเหมาะสมกับประเทศของตน สำหรับประเทศไทยมีการเลือกตั้งมา 20 กว่าครั้ง ลองผิดลองถูกมาหลายแบบ ตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อ 15 พ.ย. 2476 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกของประเทศไทย ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตย เป็นการเลือกตั้งที่เรียกว่า เลือกตั้งโดยวิธีอ้อม ซึ่งเป็นครั้งเดียวของประเทศไทย นอกนั้นเป็นการเลือกตั้งโดยตรงทั้งหมด มีทั้งแบ่งเขต รวมเขต แบบผสมรวมเขตกับแบ่งเขต | |||
การกำหนดจำนวน สส. หรือผู้แทนราษฎรใช้จำนวนประชากรเป็นตัวคำนวณ ซึ่งบางประเทศใช้หลักของเขตแดนเป็นตัวคำนวณ ในทางทฤษฎีนั้นผู้แทนควรมาจากเขตที่แน่นอนจะมีความเหมาะสมกว่าเช่นเขตของอำเภอเป็นต้นถ้าใช้จำนวนประชากรทำให้เป็นปัญหาในการแบ่งเขต เพราะต้องไปตัดเอาพื้นที่ของอีกอำเภอหนึ่งมาปะกับอำเภอที่มีประชากรไม่ครบจำนวนที่กำหนดไว้ ทำให้ประชาชนมีความรู้สึกสับสน แต่ผู้มีอำนาจในการแบ่งเขตของประเทศไทยก็ไม่ให้ความใส่ใจในประเด็นนี้ เช่นอำเภอ ท่าศาลา ของนครศรีธรรมราชถูกตัดออกเป็น 3 ส่วน ทำให้ประชาชนไม่มีโอกาสเลือกผู้แทนที่ตนต้องการ เพราะต้องไปรวมกับเขตอื่น ทำให้ต้องไปเลือกคนท้องถิ่นอื่นเป็นผู้แทนของตน ยังไม่มีการศึกษาวิจัยที่ชัดเจนว่าวิธีการเลือกตั้งที่ไทยนำมาใช้นั้น แบบไหนดีที่สุดและเหมาะสมกับประเทศของเรา แต่นักวิชาการก็ได้มีการศึกษาแบบใหม่มากพอสมควรและนำมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2540 เรียกว่าการเลือกตั้งระบบสัดส่วนและเขตละ 1 คน(Proportional Representation and Single Member Constituency หรือ The first past the post | |||
คณะกรรมการวิสามัญศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นผู้ทำการศึกษารัฐธรรมนูญไทยว่ามีจุดอ่อนและข้อบกพร่องอะไรบ้าง ก่อนที่จะขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2534 ทั้งหมด 25 ประเด็นแต่ก็ยังไม่เป็นที่พอใจของสมาชิกรัฐสภา จึงได้เกิดคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองขึ้นในปี 2538 เพื่อศึกษาหาวิธีการในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้น ทำให้เกิดสภาร่างรัฐธรรมนูญในปี 2539 และได้ดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญในปี 2540 เสร็จและประกาศใช้เมื่อตุลาคม 2540 | |||
ระบบการเลือกตั้งที่ได้ศึกษาไว้ตั้งแต่ปี 2536 ได้ถูกนำมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2540 แต่ขาดการประชาสัมพันธ์ในหลักการและรายละเอียดของระบบนี้ให้นักการเมืองและประชาชนเข้าใจให้ลึกซึ้งพอ จึงถูกนำไปใช้ในทางที่เห็นแก่ตัว ทำให้สังคมเข้าใจผิดในหลักการและสาระสำคัญ และคิดไปในทำนองที่ว่าระบบการเลือกตั้งนี้ไม่ดี แม้แต่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปัจจุบันก็มีความคิดเห็นแตกต่างกันออกไป ยังไม่ทราบว่าจะลงเอยในรูปแบบใด | |||
ระบบเลือกตั้งนี้เชื่อว่าเยอรมันเป็นผู้คิดขึ้น และประเทศประชาธิปไตยทั่วโลกได้นำไปดัดแปลงใช้เพื่อให้เหมาะสมกับประเทศของตน ในทวีปเอเชียนั้นญี่ปุ่นได้นำมาใช้ก่อน สัดส่วนระหว่างผู้แทนฯ จากกระบบบัญชีรายชื่อกับผู้แทนเขตเลือกตั้งเป็น 2:3 ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ใช้อัตราส่วน 1:4 โดยไม่มีเหตุผลทางวิชาการรองรับ แต่ต้นตำหรับเขาใช้ครึ่งต่อครึ่งของจำนวน ส.ส. ทั้งหมด (มีข้อปลีกย่อยหลายอย่างของเยอรมันที่อาจทำให้จำนวน ส.ส.จากบัญชีรายชื่อไม่เท่ากับ ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งแต่จำนวนที่แตกต่างไม่มากนัก) | |||
ทำไม? ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้นำระบบเลือกตั้งนี้ไปใช้ โดยเฉพาะในยุโรปและเอเชีย ทุกระบบมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่โดยส่วนตัวเห็นว่ามีข้อดีมากกว่า จึงเสนอให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณา | |||
1. ประเทศประชาธิปไตยส่วนใหญ่ จะใช้วิธีการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนด้วยการแบ่งเป็นเขตละ 1 คน ซึ่งแต่ละเขตจะมีสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกันโดยเฉพาะสภาพทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากร เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประเพณี ฯลฯ ทำให้ผู้แทนราษฎรแต่ละเขตพยายามปกป้องและดูแลผลประโยชน์ของประชาชนในเขตตน ในสภาผู้แทนราษฎรจึงเกิดบรรยากาศของการปกป้องผลประโยชน์ของท้องถิ่น จนในบางครั้งลืมหรือละเลยผลประโยชน์ของชาติไป | |||
จึงเกิด ส.ส. หรือผู้แทนในระบบบัญชีรายชื่อขึ้นเพื่อให้เป็นผู้แทนของชาติ เข้าไปทำหน้าที่ในฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหาร จะได้ไปละลายความคิดของผู้แทนเขตให้ลดดีกรีลงไป เพราะผลประโยชน์ของชาติต้องมาก่อนสิ่งอื่นใด | |||
2. ระบบนี้มุ่งสนับสนุนความเข้มแข็งของพรรคการเมือง โดยพรรคการเมืองต้องคัดสรรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพต่างๆมาเสนอให้ประชาชนพิจารณา เรียกว่าพรรคเลือกคน ประชาชนเลือกพรรค จึงมีความจำเป็นที่นักการเมืองต้องไปเสาะหาคนที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสังคม มาประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบก่อนการเลือกตั้ง ประกอบกับนโยบายของพรรคที่มีต่อประชาชน เพื่อแสดงให้ประชาชนเห็นถึงความเป็นไปได้ของนโยบาย เพราะมีการเตรียมการในด้านบุคลากรไว้อย่างพร้อมเพรียบ | |||
3. ระบบการเลือกตั้งนี้ได้รับรองสิทธิของประชาชนในการเลือกตั้ง เพราะทำให้คะแนนเสียงมีความหมายทุกคะแนน เพราะถ้ามีแต่ ส.ส. ระบบเขต ผู้ชนะการเลือกตั้งเท่านั้นที่ได้เป็นผู้แทนราษฎร คะแนนของผู้ที่ได้ ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ไม่มีความหมายถูกทิ้งไปทั้งหมด แต่ในระบบนี้ เปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกได้ทั้ง ส.ส. เขตและ ส.ส. บัญชีรายชื่อของพรรค คะแนนของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจึงไม่สูญเปล่ามีความหมายทุกคะแนน เพราะเอาไปคำนวณรวมกันในระดับประเท | |||
4. ระบบเลือกตั้งแบบนี้ สามารถผลักคนดีเข้าสู่วงการเมืองได้ง่ายขึ้น ต้องยอมรับว่าการเลือกตั้งในอดีตของไทย ค่อนข้างสกปรกใช้อิทธิพลทุกรูปแบบเพื่อให้ได้ชัยชนะโดยไม่คำนึงว่าจะผิดกฎหมายหรือไม่ เราจึงได้ผู้แทนราษฎรที่แสวงหาประโยชน์ส่วนตนไม่คำนึงถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่ประชาชนมอบความไว้วางใจมา | |||
การเปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้งจากบัญชีรายชื่อจึงน่าเชื่อว่าจะได้คนดี มีความสามารถ เสียสละ และซื่อสัตย์ เข้าสู่วงจรการเมืองได้จำนวนหนึ่ง ขึ้นอยู่กับพรรคการเมืองจะมีแนวคิดและวิจารณาญาณอย่างไรในการคัดสรรคนที่มีความสามารถคนที่มีความสามารถมาช่วยสร้างประเทศ | การเปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้งจากบัญชีรายชื่อจึงน่าเชื่อว่าจะได้คนดี มีความสามารถ เสียสละ และซื่อสัตย์ เข้าสู่วงจรการเมืองได้จำนวนหนึ่ง ขึ้นอยู่กับพรรคการเมืองจะมีแนวคิดและวิจารณาญาณอย่างไรในการคัดสรรคนที่มีความสามารถคนที่มีความสามารถมาช่วยสร้างประเทศ | ||
5. เป็นการช่วยสนับสนุนการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติให้เข้มแข็ง และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากขึ้น การที่ได้ ส.ส.จำนวนหนึ่งจากระบบบัญชีรายชื่อซึ่งมีความรู้ความสามารถในวิชาชีพสาขาต่างๆมาทำงานในสภา จำทำให้การพิจารณากฎหมายต่างๆ มีความรอบคอบมากขึ้น โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพต่างๆ แต่เดิมสภาฯ ก็ฟังข้อมูลจากข้าราชการ ซึ่งเป็นการฟังความข้างเดียวเมื่อมีผู้เชี่ยวชาญอยู่ในฝ่ายนิติบัญญัติ ก็จะทำให้สมาชิกสภาได้ฟังข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจได้มากขึ้น ยังมีเหตุผลที่มีความสำคัญในการใช้ระบบเลือกตั้งนี้อีกหลายประการ แต่ขอเสนอเหตุผลหลักไว้เพียงเท่านี้ และขอเรียนเพิ่มเติมจากการนำไปใช้โดยเข้าใจผิด และศึกษาอย่างละเอียดทำให้เกิดผลเสียต่อระบบนี้คื | |||
ประเด็นแรก พรรคการเมืองได้นำบุคคลซึ่งจะเป็นรัฐมนตรีไปใส่ไว้ในบัญชีรายชื่อ ทั้งๆที่รัฐธรรมนูญ 40 ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นรัฐมนตรีต้องลาออก เป็นระบบการแบ่งแยกอำนาจเด็ดขาดระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ เพียงแต่ยังอนุญาตให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปเป็นที่ปรึกษาและเลขานุการรัฐมนตรีได้เท่านั | |||
ประเด็นที่สอง รัฐธรรมนูญกำหนดให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งเพราะกลัวทหาร แต่ให้นายกรัฐมนตรีเตรียมทีมคณะรัฐมนตรีไว้ให้พร้อม เพื่อโฆษณาหาเสียงไปพร้อมกับการเสนอนโยบายที่เรียกว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อนั้น ต้องการให้ไปสร้างความเข้มแข็งให้แก่ฝ่ายนิติบัญญัติ พรรคการเมืองต้องไปคัดสรรบุคคลให้สาขาวิชาชีพต่างๆ ซึ่งมีชื่อเสียงและประชาชนยอมรับ โดยหวังผลให้พรรคของตนได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด | |||
ประเด็นที่สาม พรรคการเมืองทั้งหมดที่เรามียังติดต่ออยู่กับระบบอุปถัมภ์ เอาคนที่เล่นการพนัน ผู้มีอิทธิพล คนที่มีประวัติไม่ดีมาใส่ไว้ในบัญชีรายชื่อ ทำให้หลักการที่สำคัญของระบบนี้เสียหายเพราะเจตนารมณ์ต้องการให้คนดี มีความสามารถ (ซึ่งไปไม่ได้กับวิธีการเลือกตั้งของไทย) มีโอกาสมารับใช้ประเทศชาติ | |||
ประเด็นที่สี่ ผู้อาวุโสและมีอิทธิพลในพรรคการเมืองต่างๆ เริ่มใช้อิทธิพลผลักดันลูกหลาน ญาติของตนเองขึ้นมาแทนตน โดยผันตนเองขึ้นไปอยู่ในบัญชีรายชื่อ ที่กล้าทำในลักษณะนี้เพราะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผูกขาดในเขตตน เป็นการเบียดบังที่นั่งของคนที่มีความรู้ความสามารถ เพราะโอกาสที่พรรคจะเลือกคนอื่นมากกว่าพรรคพวกเกิดได้ยาก | |||
ประเด็นที่ห้า พรรคการเมืองที่มีอยู่ในสังคมไทยขาดการพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมาตรฐาน ทั้งๆที่ได้รับเงินอุดหนุนจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเองก็ขาดการติดตามประเมินผล การใช้เงินของพรรคว่าเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างไร ต้องไม่ลืมว่า เงินอุดหนุนของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นภาษีของประชา | |||
อยากให้ผู้ร่างรัฐธรรมนูญเปิดใจให้กว้าง พิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ นึกถึงผลประโยชน์ที่ประชาชนควรได้รับมากที่สุด เขียนรัฐธรรมให้ดีอย่างไรก็แก้กิเลสคนไม่ได้ ทำได้ดีที่สุดคือ สร้างกลไกที่เหมาะสมขึ้นม | |||
ขอเรียนว่ารูปแบบใดก็ไม่สามารถแก้ปัญหาการใช้เงินซื้อเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ ผู้เขียนคิดว่าขึ้อยู่กับวิธีการจัดการการเลือกตั้งที่มีประสิทธิภาพจะช่วยได้มากที่ ต้องสร้างระบบอื่นๆไม่ให้คนเลวได้มีอำนาจ ขณะนี้วิธีการจัดการการเลือกตั้งที่มีอยู่ยังมีจุดอ่อนและข้อบกพร่อ ผู้ที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบต้องอุดช่องโหว่นี้ เพื่อให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรมที่สุดหรือเลวน้อยที่สุด |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:10, 12 ธันวาคม 2552
ระบบการเลือกตั้ง
โดย ร.ศ. อัษฎางค์ ปาณิกบุตร
ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยต้องมีการเลือกตั้ง ในประเทศเผด็จการคอมมิวนิสต์ก็ยังมีการเลือกตั้งแต่รูปแบบและวิธีการย่อมแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของแต่ละประเทศ
ประเทศที่ด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนาก็จะเอาตัวอย่างหรือวิธีการเลือกตั้ง มาจากประเทศที่พัฒนา แล้วแทบทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับว่าวิธีการใดจะเหมาะสมกับประเทศของตน สำหรับประเทศไทยมีการเลือกตั้งมา 20 กว่าครั้ง ลองผิดลองถูกมาหลายแบบ ตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อ 15 พ.ย. 2476 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกของประเทศไทย ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตย เป็นการเลือกตั้งที่เรียกว่า เลือกตั้งโดยวิธีอ้อม ซึ่งเป็นครั้งเดียวของประเทศไทย นอกนั้นเป็นการเลือกตั้งโดยตรงทั้งหมด มีทั้งแบ่งเขต รวมเขต แบบผสมรวมเขตกับแบ่งเขต
การกำหนดจำนวน สส. หรือผู้แทนราษฎรใช้จำนวนประชากรเป็นตัวคำนวณ ซึ่งบางประเทศใช้หลักของเขตแดนเป็นตัวคำนวณ ในทางทฤษฎีนั้นผู้แทนควรมาจากเขตที่แน่นอนจะมีความเหมาะสมกว่าเช่นเขตของอำเภอเป็นต้นถ้าใช้จำนวนประชากรทำให้เป็นปัญหาในการแบ่งเขต เพราะต้องไปตัดเอาพื้นที่ของอีกอำเภอหนึ่งมาปะกับอำเภอที่มีประชากรไม่ครบจำนวนที่กำหนดไว้ ทำให้ประชาชนมีความรู้สึกสับสน แต่ผู้มีอำนาจในการแบ่งเขตของประเทศไทยก็ไม่ให้ความใส่ใจในประเด็นนี้ เช่นอำเภอ ท่าศาลา ของนครศรีธรรมราชถูกตัดออกเป็น 3 ส่วน ทำให้ประชาชนไม่มีโอกาสเลือกผู้แทนที่ตนต้องการ เพราะต้องไปรวมกับเขตอื่น ทำให้ต้องไปเลือกคนท้องถิ่นอื่นเป็นผู้แทนของตน ยังไม่มีการศึกษาวิจัยที่ชัดเจนว่าวิธีการเลือกตั้งที่ไทยนำมาใช้นั้น แบบไหนดีที่สุดและเหมาะสมกับประเทศของเรา แต่นักวิชาการก็ได้มีการศึกษาแบบใหม่มากพอสมควรและนำมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2540 เรียกว่าการเลือกตั้งระบบสัดส่วนและเขตละ 1 คน(Proportional Representation and Single Member Constituency หรือ The first past the post
คณะกรรมการวิสามัญศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นผู้ทำการศึกษารัฐธรรมนูญไทยว่ามีจุดอ่อนและข้อบกพร่องอะไรบ้าง ก่อนที่จะขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2534 ทั้งหมด 25 ประเด็นแต่ก็ยังไม่เป็นที่พอใจของสมาชิกรัฐสภา จึงได้เกิดคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองขึ้นในปี 2538 เพื่อศึกษาหาวิธีการในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้น ทำให้เกิดสภาร่างรัฐธรรมนูญในปี 2539 และได้ดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญในปี 2540 เสร็จและประกาศใช้เมื่อตุลาคม 2540
ระบบการเลือกตั้งที่ได้ศึกษาไว้ตั้งแต่ปี 2536 ได้ถูกนำมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2540 แต่ขาดการประชาสัมพันธ์ในหลักการและรายละเอียดของระบบนี้ให้นักการเมืองและประชาชนเข้าใจให้ลึกซึ้งพอ จึงถูกนำไปใช้ในทางที่เห็นแก่ตัว ทำให้สังคมเข้าใจผิดในหลักการและสาระสำคัญ และคิดไปในทำนองที่ว่าระบบการเลือกตั้งนี้ไม่ดี แม้แต่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปัจจุบันก็มีความคิดเห็นแตกต่างกันออกไป ยังไม่ทราบว่าจะลงเอยในรูปแบบใด
ระบบเลือกตั้งนี้เชื่อว่าเยอรมันเป็นผู้คิดขึ้น และประเทศประชาธิปไตยทั่วโลกได้นำไปดัดแปลงใช้เพื่อให้เหมาะสมกับประเทศของตน ในทวีปเอเชียนั้นญี่ปุ่นได้นำมาใช้ก่อน สัดส่วนระหว่างผู้แทนฯ จากกระบบบัญชีรายชื่อกับผู้แทนเขตเลือกตั้งเป็น 2:3 ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ใช้อัตราส่วน 1:4 โดยไม่มีเหตุผลทางวิชาการรองรับ แต่ต้นตำหรับเขาใช้ครึ่งต่อครึ่งของจำนวน ส.ส. ทั้งหมด (มีข้อปลีกย่อยหลายอย่างของเยอรมันที่อาจทำให้จำนวน ส.ส.จากบัญชีรายชื่อไม่เท่ากับ ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งแต่จำนวนที่แตกต่างไม่มากนัก)
ทำไม? ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้นำระบบเลือกตั้งนี้ไปใช้ โดยเฉพาะในยุโรปและเอเชีย ทุกระบบมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่โดยส่วนตัวเห็นว่ามีข้อดีมากกว่า จึงเสนอให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณา
1. ประเทศประชาธิปไตยส่วนใหญ่ จะใช้วิธีการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนด้วยการแบ่งเป็นเขตละ 1 คน ซึ่งแต่ละเขตจะมีสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกันโดยเฉพาะสภาพทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากร เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประเพณี ฯลฯ ทำให้ผู้แทนราษฎรแต่ละเขตพยายามปกป้องและดูแลผลประโยชน์ของประชาชนในเขตตน ในสภาผู้แทนราษฎรจึงเกิดบรรยากาศของการปกป้องผลประโยชน์ของท้องถิ่น จนในบางครั้งลืมหรือละเลยผลประโยชน์ของชาติไป
จึงเกิด ส.ส. หรือผู้แทนในระบบบัญชีรายชื่อขึ้นเพื่อให้เป็นผู้แทนของชาติ เข้าไปทำหน้าที่ในฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหาร จะได้ไปละลายความคิดของผู้แทนเขตให้ลดดีกรีลงไป เพราะผลประโยชน์ของชาติต้องมาก่อนสิ่งอื่นใด
2. ระบบนี้มุ่งสนับสนุนความเข้มแข็งของพรรคการเมือง โดยพรรคการเมืองต้องคัดสรรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพต่างๆมาเสนอให้ประชาชนพิจารณา เรียกว่าพรรคเลือกคน ประชาชนเลือกพรรค จึงมีความจำเป็นที่นักการเมืองต้องไปเสาะหาคนที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสังคม มาประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบก่อนการเลือกตั้ง ประกอบกับนโยบายของพรรคที่มีต่อประชาชน เพื่อแสดงให้ประชาชนเห็นถึงความเป็นไปได้ของนโยบาย เพราะมีการเตรียมการในด้านบุคลากรไว้อย่างพร้อมเพรียบ
3. ระบบการเลือกตั้งนี้ได้รับรองสิทธิของประชาชนในการเลือกตั้ง เพราะทำให้คะแนนเสียงมีความหมายทุกคะแนน เพราะถ้ามีแต่ ส.ส. ระบบเขต ผู้ชนะการเลือกตั้งเท่านั้นที่ได้เป็นผู้แทนราษฎร คะแนนของผู้ที่ได้ ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ไม่มีความหมายถูกทิ้งไปทั้งหมด แต่ในระบบนี้ เปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกได้ทั้ง ส.ส. เขตและ ส.ส. บัญชีรายชื่อของพรรค คะแนนของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจึงไม่สูญเปล่ามีความหมายทุกคะแนน เพราะเอาไปคำนวณรวมกันในระดับประเท
4. ระบบเลือกตั้งแบบนี้ สามารถผลักคนดีเข้าสู่วงการเมืองได้ง่ายขึ้น ต้องยอมรับว่าการเลือกตั้งในอดีตของไทย ค่อนข้างสกปรกใช้อิทธิพลทุกรูปแบบเพื่อให้ได้ชัยชนะโดยไม่คำนึงว่าจะผิดกฎหมายหรือไม่ เราจึงได้ผู้แทนราษฎรที่แสวงหาประโยชน์ส่วนตนไม่คำนึงถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่ประชาชนมอบความไว้วางใจมา
การเปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้งจากบัญชีรายชื่อจึงน่าเชื่อว่าจะได้คนดี มีความสามารถ เสียสละ และซื่อสัตย์ เข้าสู่วงจรการเมืองได้จำนวนหนึ่ง ขึ้นอยู่กับพรรคการเมืองจะมีแนวคิดและวิจารณาญาณอย่างไรในการคัดสรรคนที่มีความสามารถคนที่มีความสามารถมาช่วยสร้างประเทศ
5. เป็นการช่วยสนับสนุนการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติให้เข้มแข็ง และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากขึ้น การที่ได้ ส.ส.จำนวนหนึ่งจากระบบบัญชีรายชื่อซึ่งมีความรู้ความสามารถในวิชาชีพสาขาต่างๆมาทำงานในสภา จำทำให้การพิจารณากฎหมายต่างๆ มีความรอบคอบมากขึ้น โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพต่างๆ แต่เดิมสภาฯ ก็ฟังข้อมูลจากข้าราชการ ซึ่งเป็นการฟังความข้างเดียวเมื่อมีผู้เชี่ยวชาญอยู่ในฝ่ายนิติบัญญัติ ก็จะทำให้สมาชิกสภาได้ฟังข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจได้มากขึ้น ยังมีเหตุผลที่มีความสำคัญในการใช้ระบบเลือกตั้งนี้อีกหลายประการ แต่ขอเสนอเหตุผลหลักไว้เพียงเท่านี้ และขอเรียนเพิ่มเติมจากการนำไปใช้โดยเข้าใจผิด และศึกษาอย่างละเอียดทำให้เกิดผลเสียต่อระบบนี้คื
ประเด็นแรก พรรคการเมืองได้นำบุคคลซึ่งจะเป็นรัฐมนตรีไปใส่ไว้ในบัญชีรายชื่อ ทั้งๆที่รัฐธรรมนูญ 40 ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นรัฐมนตรีต้องลาออก เป็นระบบการแบ่งแยกอำนาจเด็ดขาดระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ เพียงแต่ยังอนุญาตให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปเป็นที่ปรึกษาและเลขานุการรัฐมนตรีได้เท่านั
ประเด็นที่สอง รัฐธรรมนูญกำหนดให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งเพราะกลัวทหาร แต่ให้นายกรัฐมนตรีเตรียมทีมคณะรัฐมนตรีไว้ให้พร้อม เพื่อโฆษณาหาเสียงไปพร้อมกับการเสนอนโยบายที่เรียกว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อนั้น ต้องการให้ไปสร้างความเข้มแข็งให้แก่ฝ่ายนิติบัญญัติ พรรคการเมืองต้องไปคัดสรรบุคคลให้สาขาวิชาชีพต่างๆ ซึ่งมีชื่อเสียงและประชาชนยอมรับ โดยหวังผลให้พรรคของตนได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด
ประเด็นที่สาม พรรคการเมืองทั้งหมดที่เรามียังติดต่ออยู่กับระบบอุปถัมภ์ เอาคนที่เล่นการพนัน ผู้มีอิทธิพล คนที่มีประวัติไม่ดีมาใส่ไว้ในบัญชีรายชื่อ ทำให้หลักการที่สำคัญของระบบนี้เสียหายเพราะเจตนารมณ์ต้องการให้คนดี มีความสามารถ (ซึ่งไปไม่ได้กับวิธีการเลือกตั้งของไทย) มีโอกาสมารับใช้ประเทศชาติ
ประเด็นที่สี่ ผู้อาวุโสและมีอิทธิพลในพรรคการเมืองต่างๆ เริ่มใช้อิทธิพลผลักดันลูกหลาน ญาติของตนเองขึ้นมาแทนตน โดยผันตนเองขึ้นไปอยู่ในบัญชีรายชื่อ ที่กล้าทำในลักษณะนี้เพราะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผูกขาดในเขตตน เป็นการเบียดบังที่นั่งของคนที่มีความรู้ความสามารถ เพราะโอกาสที่พรรคจะเลือกคนอื่นมากกว่าพรรคพวกเกิดได้ยาก
ประเด็นที่ห้า พรรคการเมืองที่มีอยู่ในสังคมไทยขาดการพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมาตรฐาน ทั้งๆที่ได้รับเงินอุดหนุนจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเองก็ขาดการติดตามประเมินผล การใช้เงินของพรรคว่าเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างไร ต้องไม่ลืมว่า เงินอุดหนุนของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นภาษีของประชา
อยากให้ผู้ร่างรัฐธรรมนูญเปิดใจให้กว้าง พิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ นึกถึงผลประโยชน์ที่ประชาชนควรได้รับมากที่สุด เขียนรัฐธรรมให้ดีอย่างไรก็แก้กิเลสคนไม่ได้ ทำได้ดีที่สุดคือ สร้างกลไกที่เหมาะสมขึ้นม
ขอเรียนว่ารูปแบบใดก็ไม่สามารถแก้ปัญหาการใช้เงินซื้อเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ ผู้เขียนคิดว่าขึ้อยู่กับวิธีการจัดการการเลือกตั้งที่มีประสิทธิภาพจะช่วยได้มากที่ ต้องสร้างระบบอื่นๆไม่ให้คนเลวได้มีอำนาจ ขณะนี้วิธีการจัดการการเลือกตั้งที่มีอยู่ยังมีจุดอ่อนและข้อบกพร่อ ผู้ที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบต้องอุดช่องโหว่นี้ เพื่อให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรมที่สุดหรือเลวน้อยที่สุด