ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บรรหาร ศิลปอาชา (ปลาไหลใส่สเก็ต)"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้เรียบเรียง''' นิพัทธ์ สระฉันทพงษ์ '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจ...
 
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 4: บรรทัดที่ 4:


----
----
==ชาตะ==
นายบรรหาร ศิลปอาชา เกิดเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ปัจจุบันอายุ ๗๗ ปี เกิดที่จังหวัดสุพรรณบุรี ชื่อเดิมคือ “เต็กเซียง แซ่เบ๊” (马德祥) เป็นบุตรคนที่ ๔ ของนายเซ่งกิมและนางสายเอ็ง ศิลปอาชา แซ่เดิมคือ “แซ่เบ๊”[๑] มีพี่น้องทั้งหมด ๖ คน เป็นชาย ๔ คน หญิง ๒ คน คือ
๑. นายสมบูรณ์ ศิลปอาชา
๒. นายอุดม เกิดสินชัย (ถึงแก่กรรม)
๓. นางสายใจ ศิลปอาชา
๔. นายบรรหาร ศิลปอาชา
๕. นางดรุณี วายากูล
๖. นายชุมพล ศิลปอาชา[๒]
==การสมรส==
นายบรรหาร ศิลปอาชา สมรสกับคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา (เลขวัต) เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๕ มีบุตรธิดารวม ๓ คน เป็นชาย ๑ หญิง ๒ คือ
๑. นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา
๒. นางสาวปาริชาต ศิลปอาชา (ปัจจุบันสมรสแล้ว)
๓. นายวราวุธ ศิลปอาชา (ปัจจุบันสมรสกับคุณสุวรรณา ไรวินท์ (เก๋) ทายาทตระกูลไรวินท์ เจ้าของธุรกิจซุปไก่ก้อนรีวอง)[๓]
ปัจจุบันนางสาวกัญจนา ศิลปอาชา และนายวราวุธ ศิลปอาชาต่างดำเนินรอยตามผู้เป็นบิดาโดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี[๔]
==การศึกษา==
นายบรรหาร ศิลปอาชา เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนประทีปวิทยาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี เนื่องจากเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ จึงพักการเรียนไปชั่วขณะหนึ่ง โดยหันไปทำกิจการของตนเอง และได้เรียนภาษาจีนไปด้วย จากนั้นได้ไปศึกษาต่อที่กรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย และฝึกงานด้านส่งสินค้าและการก่อสร้างกับ นายสมบูรณ์ ศิลปอาชา ผู้เป็นพี่ชาย[๕] และเปิดบริษัทรับเหมาก่อสร้างเป็นของตัวเอง อีกทั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายคลอรีนให้กับการประปาส่วนภูมิภาค จนมีฐานะร่ำรวย[๖] ภายหลังเมื่อเป็นนักการเมืองได้เข้าศึกษาต่อคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ต่อมาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑
และศึกษาต่อจนสำเร็จนิติศาสตร์มหาบัณฑิต (กฎหมายมหาชน) จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง[๗] รวมทั้งได้รับปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา[๘]
==ประวัติการทำงาน==
• พ.ศ. ๒๕๑๗ นายบรรหาร ศิลปอาชา เข้าสู่วงการเมืองจากการชักชวนของนายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ตั้งแต่มีการก่อตั้งพรรคชาติไทย เมื่อ ปีพ.ศ. ๒๕๑๗ และต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[๙]
• พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นสมาชิกวุฒิสภา
• พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรีครั้งแรก
• พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สมัยรัฐบาล หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี (ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ๒๑ เมษายน ๒๕๑๙ – ๒๕ กันยายน ๒๕๑๙ และ ๕ ตุลาคม ๒๕๑๙ – ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙)[๑๐]
• พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
• พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นเลขาธิการพรรคชาติไทย[๑๑]
• พ.ศ. ๒๕๒๓ – ๒๕๒๔ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมัยรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี (ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ๑๒ มีนาคม ๒๕๒๓ – ๑๑ มีนาคม ๒๕๒๔)[๑๒]
• พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี
• พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี[๑๓]
• พ.ศ. ๒๕๒๙ – ๒๕๓๑ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สมัยรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี (ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ๑๑ สิงหาคม ๒๕๒๙ – ๔ สิงหาคม ๒๕๓๑)[๑๔]
• พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี[๑๕]
• พ.ศ. ๒๕๓๑ – ๒๕๓๓ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สมัยรัฐบาล พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี (ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ๙ สิงหาคม ๒๕๓๑ – ๙ มกราคม ๒๕๓๓)
• พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สมัยรัฐบาล พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี (ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ๙ มกราคม ๒๕๓๓ – ๙ ธันวาคม ๒๕๓๓)
• พ.ศ. ๒๕๓๓ – ๒๕๓๔ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมัยรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ (ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ๑๔ ธันวาคม ๒๕๓๓ – ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔)[๑๖]
• พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี[๑๗]
• พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สมัยรัฐบาล พลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี (ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ๑๗ เมษายน ๒๕๓๕ – ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕)[๑๘]
• พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี
• พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นหัวหน้าพรรคชาติไทย และเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สมัยรัฐบาล นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี และเมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฏร เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๘ และมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ นายบรรหาร ศิลปอาชา ในฐานะที่เป็นหัวหน้าพรรคชาติไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่มีสมาชิกของพรรคได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นจำนวนมากที่สุด ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล[๑๙]
• พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๑ ของประเทศไทย และควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘) โดยมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ - วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ (คณะรัฐมนตรีคณะที่ ๕๑) และมีการยุบสภา เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยรักษาการในตำแหน่งถึงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๙ อันเป็นวันแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ รวมระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ๑ ปี ๔ เดือน[๒๐]
• พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี
• พ.ศ. ๒๕๔๐ ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
• พ.ศ. ๒๕๔๒ ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
• พ.ศ. ๒๕๔๒ ประธานที่ปรึกษาโครงการส่งเสริมอาหารกลางวันให้เด็กนักเรียนอิ่มทุกคนทุกวัน
• พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็นนายกสภาประจำสถาบันราชภัฎสวนสุนันทา
• พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี เขต ๔
• พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี เขต ๔
• พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี ด้วยคะแนนสูงที่สุดในประเทศ[๒๑]
==สมญานามที่ได้รับ==
นายบรรหาร ศิลปอาชา มีสมญานามมากมาย จากลักษณะเด่นหลายประการ เช่น มีฐานเสียงหนาแน่นที่สุดในจังหวัดสุพรรณบุรี มีสถานะเป็นเจ้าถิ่นจนได้สมญาว่า “มังกรสุพรรณ” หรือ “มังกรการเมือง” และเนื่องจากมีลักษณะคล้าย “เติ้งเสี่ยวผิง” อดีตผู้นำจีน สื่อมวลชนจึงนิยมเรียก นายบรรหาร ศิลปอาชา สั้น ๆ ว่า “เติ้ง” หรือ “เติ้งเสี่ยวหาร”[๒๒]
==การพ้นสภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากคดียุบพรรคชาติไทย==
หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๐ คณะกรรมการการเลือกตั้งพบว่ามีการทุจริตการเลือกตั้ง โดยมีการให้ใบแดงและพิจารณาเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนายมณเฑียร สงฆ์ประชา ผู้สมัครรับเลือกตั้งและรองเลขาธิการพรรคชาติไทย กับนายสุนทร วิลาวัลย์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งและรองหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๑ โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติด้วยคะแนนเสียง ๔ ต่อ ๑ (มติเสียงข้างน้อย ๑ เสียงในทั้งสองกรณี คือ นายสมชัย จึงประเสริฐ กกต. ฝ่ายกิจการสืบสวนสอบสวน) เห็นชอบตามที่นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง เสนอความเห็นให้ส่งสำนวนเรื่องการยุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตยให้อัยการสูงสุดพิจารณา
แม้ว่าคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงได้สรุปก่อนหน้านั้นว่าหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนอื่นทั้งสองพรรค ไม่มีส่วนรู้เห็นต่อการกระทำผิดของนายมณเฑียร
สงฆ์ประชา และนายสุนทร วิลาวัลย์ แต่การที่ทั้งสองคนต่างก็เป็นกรรมการบริหารพรรค กกต. จึงพิจารณาตามมาตรา ๒๓๗ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และมาตรา ๑๐๓ วรรคสอง ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งบัญญัติไว้ตรงกันว่า ถ้าการกระทำดังกล่าวปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรคมีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือทราบแล้วไม่ได้ยับยั้งหรือแก้ไข เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการซึ่งให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ทำให้นายทะเบียนพรรคการเมือง (ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง) ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา ๙๕ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ ไม่อาจใช้ดุลยพินิจในการเลือกที่จะแจ้งหรือไม่แจ้งต่ออัยการสูงสุด[๒๓]
ต่อมาเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ด้วยมติเป็นเอกฉันท์ ๘ ต่อ ๑ สั่งยุบพรรคชาติไทย โดยศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่าพรรคมีความผิดตามมาตรา ๒๓๗ วรรค ๒ และมาตรา ๖๘ ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ และกฎหมายได้บัญญัติไว้เป็นเด็ดขาด แม้จะมีการโต้แย้งว่าหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนอื่นไม่มีส่วนรู้เห็นจึงฟังไม่ขึ้น จากการยุบพรรคในครั้งนี้ทำให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคชาติไทยและกรรมการบริหารพรรคชาติไทย จำนวน ๔๓ คน เป็นเวลา ๕ ปี[๒๔] โดยนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย รวมทั้งนายวราวุธ ศิลปอาชาและนางสาวกัญจนา ศิลปอาชากรรมการบริหารพรรคถูกเพิกถอนสิทธิในครั้งนี้ด้วย[๒๕]
==ผลงานที่สำคัญ==
นายบรรหาร ศิลปอาชา มีความตั้งใจในการอุทิศตัวและอุทิศเวลา เพื่อทำงานให้แก่ประเทศชาติบ้านเมือง เป็นนักบริหารที่รับฟังข้อเสนอแนะทั้งจากบุคคลรอบข้างและทีมนักวิชาการ นอกจากนั้นยังรู้จักประสานงานและติดตามงานตรวจสอบอยู่เสมอ ผลงานที่โดดเด่นเป็นการส่วนตัวคือ การสร้างสิ่งต่างๆ ภายในจังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ โรงเรียนต่างๆ อาทิ โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา รวมถึงการให้ทุนการศึกษา และโรงเรียนสารพัดช่างบรรหารแจ่มใส ตึกคนไข้ตามโรงพยาบาลต่างๆ วัด สวนดอกไม้ตามถนนต่างๆ หอนาฬิกา อาคารสาธารณประโยชน์ ฯลฯ ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ก่อนเล่นการเมืองระดับประเทศ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ จนถึงปัจจุบัน จังหวัดสุพรรณบุรีจึงมีนามเรียกกันอย่าง
ไม่เป็นทางการอีกชื่อหนึ่ง “จังหวัดบรรหารบุรี”[๒๖]
รวมทั้งการสร้างหอเกียรติยศ ที่กำเนิดขึ้นจากความร่วมแรงร่วมใจของพี่น้องประชาชนชาวสุพรรณบุรีร่วมกันบริจาคเงินในการก่อสร้าง โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ ดำเนินการออกแบบโดยกรมศิลปากร ภายในจัดแสดงประวัติและผลงานของนายบรรหาร ศิลปอาชา ตั้งแต่วัยเด็กจนกระทั่งได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมผลงานด้านต่างๆ หอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๑ ประกาศจัดตั้งเป็นหน่วยงานหนึ่งของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี กรมศิลปากร มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาด้านประวัติศาสตร์การเมืองไทย และเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตแก่เยาวชน โดยเฉพาะคุณธรรมที่ นายบรรหาร ศิลปอาชา ยึดถือ ได้แก่ สัจจะ และกตัญญู[๒๗]
การดำเนินงานที่สำคัญสมัยที่นายบรรหาร ศิลปอาชา ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ได้แก่
• การจัดพระราชพิธีกาญจนาภิเษก
• การนำประเทศเข้าสู่เวทีประชาคมโลก ในโอกาสสำคัญต่างๆ เช่น การเข้าร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษ ในโอกาสครบรอบ ๕๐ ปีสหประชาชาติ
• การที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๕
• การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป (ASEM)
• นอกจากนี้ยังมีการจัดงานแสดงเกษตรและอุตสาหกรรมโลก พ.ศ. ๒๕๓๘ (WORLDTECH’ 95 THAILAND)
• การเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ ๑๘ ที่จังหวัดเชียงใหม่[๒๘]
==เครื่องราชอิสริยาภรณ์==
• เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
• เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นมหาวชิรมงกุฏไทย
• เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)
• เครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้า
• เหรียญกาชาดชั้น ๑
• เหรียญราชการชายแดน[๒๙]
==อ้างอิง==
<references/>
==บรรณานุกรม==
ธนากิต. ประวัตินายกรัฐมนตรีไทย. กรุงเทพฯ : ปิระมิด, ๒๕๔๕. หน้า ๑.
พรรคชาติไทย, “ผู้บริหารพรรคชาติไทย : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.chartthai.or.th/index.php?option=com_ctpmember&task=view&id=1 (๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๒)
วิกีพีเดีย สารานุกรมเสรี “คำร้องให้ยุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตย” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki. (๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๒)
วิกีพีเดีย สารานุกรมเสรี “บรรหาร ศิลปอาชา” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki. (๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๒)
เรื่อง อัยการสูงสุดขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคชาติไทย, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ก ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๒.
ศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย “บรรหาร ศิลปะอาชา” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki. (๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๒)
ศูนย์วัฒนธรรมสุพรรณบุรี “การจัดแสดงภายในหอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี คนที่ ๒๑” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.thai-culture.net/suphanburi/ (๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๒)
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี “นายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๑” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.cabinet.thaigov.go.th/pm21htm (๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๒)
==ดูเพิ่มเติม==
จิรวัฒน์ รจนาวรรณ “ยอดนักการเมือง”, กรุงเทพฯ : วรรณสาส์น. ๒๕๔๗
ธนพล จาดใจดี “เรื่องราวง่ายๆ ของ ๒๓ นายกรัฐมนตรีไทย”, กรุงเทพฯ : ธนพลวิทยาการ. ๒๕๔๔
รุจน์ มัณฑิรา “เส้นทางสู่นายกฯ ของเติ้งเสี่ยวหาร บรรหาร ศิลปอาชา”, กรุงเทพฯ : น้ำฝน. ๒๕๓๘
สัญลักษณ์ เทียมถนอม “บรรหาร ศิลปอาชา”, กรุงเทพฯ : มิติใหม่. ๒๕๔๗
อ.อัครพร “เส้นทางสู่ทำเนียบของเติ้งเสี่ยวหาร”, กรุงเทพฯ : น้ำฝน. ๒๕๓๘


[[category:นายกรัฐมนตรี]]
[[category:นายกรัฐมนตรี]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:08, 12 พฤศจิกายน 2552

ผู้เรียบเรียง นิพัทธ์ สระฉันทพงษ์

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


ชาตะ

นายบรรหาร ศิลปอาชา เกิดเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ปัจจุบันอายุ ๗๗ ปี เกิดที่จังหวัดสุพรรณบุรี ชื่อเดิมคือ “เต็กเซียง แซ่เบ๊” (马德祥) เป็นบุตรคนที่ ๔ ของนายเซ่งกิมและนางสายเอ็ง ศิลปอาชา แซ่เดิมคือ “แซ่เบ๊”[๑] มีพี่น้องทั้งหมด ๖ คน เป็นชาย ๔ คน หญิง ๒ คน คือ

๑. นายสมบูรณ์ ศิลปอาชา

๒. นายอุดม เกิดสินชัย (ถึงแก่กรรม)

๓. นางสายใจ ศิลปอาชา

๔. นายบรรหาร ศิลปอาชา

๕. นางดรุณี วายากูล

๖. นายชุมพล ศิลปอาชา[๒]

การสมรส

นายบรรหาร ศิลปอาชา สมรสกับคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา (เลขวัต) เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๕ มีบุตรธิดารวม ๓ คน เป็นชาย ๑ หญิง ๒ คือ

๑. นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา

๒. นางสาวปาริชาต ศิลปอาชา (ปัจจุบันสมรสแล้ว)

๓. นายวราวุธ ศิลปอาชา (ปัจจุบันสมรสกับคุณสุวรรณา ไรวินท์ (เก๋) ทายาทตระกูลไรวินท์ เจ้าของธุรกิจซุปไก่ก้อนรีวอง)[๓]

ปัจจุบันนางสาวกัญจนา ศิลปอาชา และนายวราวุธ ศิลปอาชาต่างดำเนินรอยตามผู้เป็นบิดาโดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี[๔]

การศึกษา

นายบรรหาร ศิลปอาชา เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนประทีปวิทยาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี เนื่องจากเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ จึงพักการเรียนไปชั่วขณะหนึ่ง โดยหันไปทำกิจการของตนเอง และได้เรียนภาษาจีนไปด้วย จากนั้นได้ไปศึกษาต่อที่กรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย และฝึกงานด้านส่งสินค้าและการก่อสร้างกับ นายสมบูรณ์ ศิลปอาชา ผู้เป็นพี่ชาย[๕] และเปิดบริษัทรับเหมาก่อสร้างเป็นของตัวเอง อีกทั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายคลอรีนให้กับการประปาส่วนภูมิภาค จนมีฐานะร่ำรวย[๖] ภายหลังเมื่อเป็นนักการเมืองได้เข้าศึกษาต่อคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ต่อมาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑ และศึกษาต่อจนสำเร็จนิติศาสตร์มหาบัณฑิต (กฎหมายมหาชน) จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง[๗] รวมทั้งได้รับปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา[๘]

ประวัติการทำงาน

• พ.ศ. ๒๕๑๗ นายบรรหาร ศิลปอาชา เข้าสู่วงการเมืองจากการชักชวนของนายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ตั้งแต่มีการก่อตั้งพรรคชาติไทย เมื่อ ปีพ.ศ. ๒๕๑๗ และต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[๙]

• พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นสมาชิกวุฒิสภา

• พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรีครั้งแรก

• พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สมัยรัฐบาล หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี (ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ๒๑ เมษายน ๒๕๑๙ – ๒๕ กันยายน ๒๕๑๙ และ ๕ ตุลาคม ๒๕๑๙ – ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙)[๑๐]

• พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

• พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นเลขาธิการพรรคชาติไทย[๑๑]

• พ.ศ. ๒๕๒๓ – ๒๕๒๔ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมัยรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี (ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ๑๒ มีนาคม ๒๕๒๓ – ๑๑ มีนาคม ๒๕๒๔)[๑๒]

• พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี

• พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี[๑๓]

• พ.ศ. ๒๕๒๙ – ๒๕๓๑ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สมัยรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี (ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ๑๑ สิงหาคม ๒๕๒๙ – ๔ สิงหาคม ๒๕๓๑)[๑๔]

• พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี[๑๕]

• พ.ศ. ๒๕๓๑ – ๒๕๓๓ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สมัยรัฐบาล พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี (ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ๙ สิงหาคม ๒๕๓๑ – ๙ มกราคม ๒๕๓๓)

• พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สมัยรัฐบาล พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี (ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ๙ มกราคม ๒๕๓๓ – ๙ ธันวาคม ๒๕๓๓)

• พ.ศ. ๒๕๓๓ – ๒๕๓๔ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมัยรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ (ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ๑๔ ธันวาคม ๒๕๓๓ – ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔)[๑๖]

• พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี[๑๗]

• พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สมัยรัฐบาล พลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี (ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ๑๗ เมษายน ๒๕๓๕ – ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕)[๑๘]

• พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี

• พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นหัวหน้าพรรคชาติไทย และเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สมัยรัฐบาล นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี และเมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฏร เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๘ และมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ นายบรรหาร ศิลปอาชา ในฐานะที่เป็นหัวหน้าพรรคชาติไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่มีสมาชิกของพรรคได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นจำนวนมากที่สุด ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล[๑๙]

• พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๑ ของประเทศไทย และควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘) โดยมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ - วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ (คณะรัฐมนตรีคณะที่ ๕๑) และมีการยุบสภา เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยรักษาการในตำแหน่งถึงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๙ อันเป็นวันแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ รวมระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ๑ ปี ๔ เดือน[๒๐]

• พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี

• พ.ศ. ๒๕๔๐ ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

• พ.ศ. ๒๕๔๒ ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

• พ.ศ. ๒๕๔๒ ประธานที่ปรึกษาโครงการส่งเสริมอาหารกลางวันให้เด็กนักเรียนอิ่มทุกคนทุกวัน

• พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็นนายกสภาประจำสถาบันราชภัฎสวนสุนันทา

• พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี เขต ๔

• พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี เขต ๔

• พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี ด้วยคะแนนสูงที่สุดในประเทศ[๒๑]

สมญานามที่ได้รับ

นายบรรหาร ศิลปอาชา มีสมญานามมากมาย จากลักษณะเด่นหลายประการ เช่น มีฐานเสียงหนาแน่นที่สุดในจังหวัดสุพรรณบุรี มีสถานะเป็นเจ้าถิ่นจนได้สมญาว่า “มังกรสุพรรณ” หรือ “มังกรการเมือง” และเนื่องจากมีลักษณะคล้าย “เติ้งเสี่ยวผิง” อดีตผู้นำจีน สื่อมวลชนจึงนิยมเรียก นายบรรหาร ศิลปอาชา สั้น ๆ ว่า “เติ้ง” หรือ “เติ้งเสี่ยวหาร”[๒๒]

การพ้นสภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากคดียุบพรรคชาติไทย

หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๐ คณะกรรมการการเลือกตั้งพบว่ามีการทุจริตการเลือกตั้ง โดยมีการให้ใบแดงและพิจารณาเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนายมณเฑียร สงฆ์ประชา ผู้สมัครรับเลือกตั้งและรองเลขาธิการพรรคชาติไทย กับนายสุนทร วิลาวัลย์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งและรองหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๑ โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติด้วยคะแนนเสียง ๔ ต่อ ๑ (มติเสียงข้างน้อย ๑ เสียงในทั้งสองกรณี คือ นายสมชัย จึงประเสริฐ กกต. ฝ่ายกิจการสืบสวนสอบสวน) เห็นชอบตามที่นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง เสนอความเห็นให้ส่งสำนวนเรื่องการยุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตยให้อัยการสูงสุดพิจารณา

แม้ว่าคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงได้สรุปก่อนหน้านั้นว่าหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนอื่นทั้งสองพรรค ไม่มีส่วนรู้เห็นต่อการกระทำผิดของนายมณเฑียร สงฆ์ประชา และนายสุนทร วิลาวัลย์ แต่การที่ทั้งสองคนต่างก็เป็นกรรมการบริหารพรรค กกต. จึงพิจารณาตามมาตรา ๒๓๗ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และมาตรา ๑๐๓ วรรคสอง ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งบัญญัติไว้ตรงกันว่า ถ้าการกระทำดังกล่าวปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรคมีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือทราบแล้วไม่ได้ยับยั้งหรือแก้ไข เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการซึ่งให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ทำให้นายทะเบียนพรรคการเมือง (ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง) ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา ๙๕ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ ไม่อาจใช้ดุลยพินิจในการเลือกที่จะแจ้งหรือไม่แจ้งต่ออัยการสูงสุด[๒๓]

ต่อมาเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ด้วยมติเป็นเอกฉันท์ ๘ ต่อ ๑ สั่งยุบพรรคชาติไทย โดยศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่าพรรคมีความผิดตามมาตรา ๒๓๗ วรรค ๒ และมาตรา ๖๘ ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ และกฎหมายได้บัญญัติไว้เป็นเด็ดขาด แม้จะมีการโต้แย้งว่าหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนอื่นไม่มีส่วนรู้เห็นจึงฟังไม่ขึ้น จากการยุบพรรคในครั้งนี้ทำให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคชาติไทยและกรรมการบริหารพรรคชาติไทย จำนวน ๔๓ คน เป็นเวลา ๕ ปี[๒๔] โดยนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย รวมทั้งนายวราวุธ ศิลปอาชาและนางสาวกัญจนา ศิลปอาชากรรมการบริหารพรรคถูกเพิกถอนสิทธิในครั้งนี้ด้วย[๒๕]

ผลงานที่สำคัญ

นายบรรหาร ศิลปอาชา มีความตั้งใจในการอุทิศตัวและอุทิศเวลา เพื่อทำงานให้แก่ประเทศชาติบ้านเมือง เป็นนักบริหารที่รับฟังข้อเสนอแนะทั้งจากบุคคลรอบข้างและทีมนักวิชาการ นอกจากนั้นยังรู้จักประสานงานและติดตามงานตรวจสอบอยู่เสมอ ผลงานที่โดดเด่นเป็นการส่วนตัวคือ การสร้างสิ่งต่างๆ ภายในจังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ โรงเรียนต่างๆ อาทิ โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา รวมถึงการให้ทุนการศึกษา และโรงเรียนสารพัดช่างบรรหารแจ่มใส ตึกคนไข้ตามโรงพยาบาลต่างๆ วัด สวนดอกไม้ตามถนนต่างๆ หอนาฬิกา อาคารสาธารณประโยชน์ ฯลฯ ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ก่อนเล่นการเมืองระดับประเทศ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ จนถึงปัจจุบัน จังหวัดสุพรรณบุรีจึงมีนามเรียกกันอย่าง ไม่เป็นทางการอีกชื่อหนึ่ง “จังหวัดบรรหารบุรี”[๒๖]

รวมทั้งการสร้างหอเกียรติยศ ที่กำเนิดขึ้นจากความร่วมแรงร่วมใจของพี่น้องประชาชนชาวสุพรรณบุรีร่วมกันบริจาคเงินในการก่อสร้าง โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ ดำเนินการออกแบบโดยกรมศิลปากร ภายในจัดแสดงประวัติและผลงานของนายบรรหาร ศิลปอาชา ตั้งแต่วัยเด็กจนกระทั่งได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมผลงานด้านต่างๆ หอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๑ ประกาศจัดตั้งเป็นหน่วยงานหนึ่งของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี กรมศิลปากร มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาด้านประวัติศาสตร์การเมืองไทย และเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตแก่เยาวชน โดยเฉพาะคุณธรรมที่ นายบรรหาร ศิลปอาชา ยึดถือ ได้แก่ สัจจะ และกตัญญู[๒๗]

การดำเนินงานที่สำคัญสมัยที่นายบรรหาร ศิลปอาชา ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ได้แก่

• การจัดพระราชพิธีกาญจนาภิเษก

• การนำประเทศเข้าสู่เวทีประชาคมโลก ในโอกาสสำคัญต่างๆ เช่น การเข้าร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษ ในโอกาสครบรอบ ๕๐ ปีสหประชาชาติ

• การที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๕

• การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป (ASEM)

• นอกจากนี้ยังมีการจัดงานแสดงเกษตรและอุตสาหกรรมโลก พ.ศ. ๒๕๓๘ (WORLDTECH’ 95 THAILAND)

• การเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ ๑๘ ที่จังหวัดเชียงใหม่[๒๘]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

• เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

• เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นมหาวชิรมงกุฏไทย

• เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)

• เครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้า

• เหรียญกาชาดชั้น ๑

• เหรียญราชการชายแดน[๒๙]

อ้างอิง


บรรณานุกรม

ธนากิต. ประวัตินายกรัฐมนตรีไทย. กรุงเทพฯ : ปิระมิด, ๒๕๔๕. หน้า ๑.

พรรคชาติไทย, “ผู้บริหารพรรคชาติไทย : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.chartthai.or.th/index.php?option=com_ctpmember&task=view&id=1 (๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๒)

วิกีพีเดีย สารานุกรมเสรี “คำร้องให้ยุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตย” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki. (๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๒)

วิกีพีเดีย สารานุกรมเสรี “บรรหาร ศิลปอาชา” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki. (๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๒)

เรื่อง อัยการสูงสุดขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคชาติไทย, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ก ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๒.

ศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย “บรรหาร ศิลปะอาชา” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki. (๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๒)

ศูนย์วัฒนธรรมสุพรรณบุรี “การจัดแสดงภายในหอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี คนที่ ๒๑” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.thai-culture.net/suphanburi/ (๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๒)

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี “นายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๑” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.cabinet.thaigov.go.th/pm21htm (๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๒)

ดูเพิ่มเติม

จิรวัฒน์ รจนาวรรณ “ยอดนักการเมือง”, กรุงเทพฯ : วรรณสาส์น. ๒๕๔๗

ธนพล จาดใจดี “เรื่องราวง่ายๆ ของ ๒๓ นายกรัฐมนตรีไทย”, กรุงเทพฯ : ธนพลวิทยาการ. ๒๕๔๔

รุจน์ มัณฑิรา “เส้นทางสู่นายกฯ ของเติ้งเสี่ยวหาร บรรหาร ศิลปอาชา”, กรุงเทพฯ : น้ำฝน. ๒๕๓๘

สัญลักษณ์ เทียมถนอม “บรรหาร ศิลปอาชา”, กรุงเทพฯ : มิติใหม่. ๒๕๔๗

อ.อัครพร “เส้นทางสู่ทำเนียบของเติ้งเสี่ยวหาร”, กรุงเทพฯ : น้ำฝน. ๒๕๓๘