ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การถอดถอนออกจากตำแหน่ง"
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้เรียบเรียง''' นิพัทธ์ สระฉันทพงษ์ '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจ... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 5: | บรรทัดที่ 5: | ||
---- | ---- | ||
การปกครองระบอบประชาธิปไตยมีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยออกไปให้องค์กรต่างๆ เป็นผู้ใช้ โดยแบ่งองค์กรออกเป็น | การปกครองระบอบประชาธิปไตยมีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยออกไปให้องค์กรต่างๆ เป็นผู้ใช้ โดยแบ่งองค์กรออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้ใช้อำนาจในการออกกฎหมาย ฝ่ายบริหารเป็นผู้ใช้อำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินตามกฎหมาย และฝ่ายตุลาการเป็นผู้ใช้อำนาจในการวินิจฉัยคดี | ||
รัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ ที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยและมีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยออกไปให้องค์กรต่างๆ เป็นผู้ใช้ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ต่างก็มีบทบัญญัติในการควบคุมมิให้อำนาจหนึ่งอยู่เหนืออีกอำนาจหนึ่ง และมีบทบัญญัติให้แต่ละอำนาจถ่วงดุลซึ่งกันและกัน แต่อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติแล้วหาได้เกิดความสมดุลไม่ เพราะฝ่ายบริหารซึ่งรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินมักจะมีอำนาจเหนือกว่าฝ่ายอื่น และนอกจากนี้ฝ่ายบริหารยังอยู่ในสถานะที่อาจกระทำนอกเหนือขอบเขตอำนาจที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบตามมาคือการทุจริตคอรัปชั่นได้ง่าย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารมากกว่าการควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายอื่น | รัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ ที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยและมีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยออกไปให้องค์กรต่างๆ เป็นผู้ใช้ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ต่างก็มีบทบัญญัติในการควบคุมมิให้อำนาจหนึ่งอยู่เหนืออีกอำนาจหนึ่ง และมีบทบัญญัติให้แต่ละอำนาจถ่วงดุลซึ่งกันและกัน แต่อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติแล้วหาได้เกิดความสมดุลไม่ เพราะฝ่ายบริหารซึ่งรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินมักจะมีอำนาจเหนือกว่าฝ่ายอื่น และนอกจากนี้ฝ่ายบริหารยังอยู่ในสถานะที่อาจกระทำนอกเหนือขอบเขตอำนาจที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบตามมาคือการทุจริตคอรัปชั่นได้ง่าย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารมากกว่าการควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายอื่น | ||
บรรทัดที่ 13: | บรรทัดที่ 13: | ||
การควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร นับได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อการบริหารประเทศ ซึ่งหลายๆ ประเทศต่างก็บัญญัติวิธีการที่คิดว่าเหมาะสมและใช้ได้ผลดีไว้ในรัฐธรรมนูญของตน การถอดถอนออกจากตำแหน่ง (Impeachment) เป็นวิธีการควบคุมฝ่ายบริหารวิธีหนึ่งซึ่งเป็นวิธีการควบคุมตัวบุคคล กล่าวคือหากบุคคลผู้มีตำแหน่งทางการเมืองไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือกระทำผิดร้ายแรงก็จะต้องถูกดำเนินการให้พ้นไปจากตำแหน่งนั้น | การควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร นับได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อการบริหารประเทศ ซึ่งหลายๆ ประเทศต่างก็บัญญัติวิธีการที่คิดว่าเหมาะสมและใช้ได้ผลดีไว้ในรัฐธรรมนูญของตน การถอดถอนออกจากตำแหน่ง (Impeachment) เป็นวิธีการควบคุมฝ่ายบริหารวิธีหนึ่งซึ่งเป็นวิธีการควบคุมตัวบุคคล กล่าวคือหากบุคคลผู้มีตำแหน่งทางการเมืองไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือกระทำผิดร้ายแรงก็จะต้องถูกดำเนินการให้พ้นไปจากตำแหน่งนั้น | ||
การถอดถอนจากตำแหน่งเป็นกลไกสำคัญอีกกลไกหนึ่งที่ใช้ในการควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารโดยเปิดโอกาสให้มีการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งกระทำผิดก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงในขณะดำรงตำแหน่งหน้าที่ให้พ้นจากตำแหน่งก่อนเวลาอันสมควร เนื่องจากหากปล่อยให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวต่อไป จะก่อให้เกิดความเสียหายหรืออันตรายต่อประเทศชาติและประชาชน<ref>นันทวัฒน์ บรมานันท์, '''สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. | การถอดถอนจากตำแหน่งเป็นกลไกสำคัญอีกกลไกหนึ่งที่ใช้ในการควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารโดยเปิดโอกาสให้มีการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งกระทำผิดก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงในขณะดำรงตำแหน่งหน้าที่ให้พ้นจากตำแหน่งก่อนเวลาอันสมควร เนื่องจากหากปล่อยให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวต่อไป จะก่อให้เกิดความเสียหายหรืออันตรายต่อประเทศชาติและประชาชน<ref>นันทวัฒน์ บรมานันท์, '''สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) หมวดการตรวจสอบเรื่องที่ 5 การถอดถอนจากตำแหน่ง,''' (กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2544), หน้า 1-2.</ref> | ||
นับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตย เมื่อปี พ.ศ. | นับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตย เมื่อปี พ.ศ. 2475 รัฐธรรมนูญของไทยหลายฉบับต่างก็ได้พยายามวางกลไกในการควบคุมการใช้อำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายบริหาร โดยกำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่ในการควบคุมดูแลการใช้อำนาจในการดำเนินงานของฝ่ายบริหาร ไม่ว่าจะเป็นการตั้งกระทู้ถาม การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ การตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นสอบสวนการกระทำของฝ่ายบริหาร และการถอดถอนจากสมาชิกภาพ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและรัฐมนตรี รวมทั้งกำหนดมาตรการในการตรวจสอบควบคุมสมาชิกรัฐสภาด้วยวิธีการควบคุมกันเองด้วย โดยรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย คือพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 9 ว่า สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจดูแลควบคุมกิจการของประเทศ และมีอำนาจประชุมกันถอดถอนกรรมการราษฎรหรือพนักงานรัฐบาลผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''การถอดถอนจากตำแหน่ง,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 10-11.</ref> | ||
รัฐธรรมนูญฉบับต่อมา คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช | รัฐธรรมนูญฉบับต่อมา คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกของไทยก็ได้กำหนดมาตรการในการตรวจสอบควบคุมสมาชิกรัฐสภาด้วยวิธีการควบคุมกันเองไว้ในบทบัญญัติมาตรา 21 ว่าสมาชิกภาพแห่งสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงเมื่อสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัยให้ออกจากตำแหน่งโดยเห็นว่ามีความประพฤติในทางจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่สภา<ref>นันทวัฒน์ บรมานันท์, '''สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 25401) หมวดการตรวจสอบเรื่องที่ 5 การถอดถอนจากตำแหน่ง,''' (กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2544), หน้า 3-4.</ref> | ||
สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ | สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2438 ได้มีการกำหนดกระบวนการให้สมาชิกรัฐสภาควบคุมกันเอง โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 98 ว่าในกรณีที่สมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ใดกระทำการหรือมีพฤติการณ์อันเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือมีลักษณะเป็นความผิดต่อเจ้าพนักงานในส่วนที่เกี่ยวกับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ หรือเป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของการเป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้วแต่กรณีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประชาชนแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกเพื่อให้วุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัยให้สมาชิกผู้นั้นพ้นจากสมาชิกภาพได้<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''การถอดถอนจากตำแหน่ง,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 13–16.</ref> | ||
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้พยายามแก้ไขข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีตเพื่อปฏิรูปการเมืองไทยให้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้บัญญัติให้มีการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ฝ่ายการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูงให้มีลักษณะของการตรวจสอบโดยองค์กรที่มีกลไกที่น่าเชื่อถือ ไม่หวั่นเกรงต่ออิทธิพลหรืออำนาจของผู้ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูง จึงนำแนวคิดและรูปแบบการควบคุมด้วยการถอดถอนออกจากตำแหน่งโดยองค์กรทางการเมืองมาปรับใช้กับระบบการตรวจสอบของไทยref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''การถอดถอนจากตำแหน่ง,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 13–16.</ref> โดยบัญญัติไว้ในหมวด 10 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ส่วนที่ 3 การถอดถอนจากตำแหน่ง มาตรา 303 ถึงมาตรา 307<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2540, หน้า 148.</ref> | ||
เมื่อมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช | เมื่อมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 โดยมาตรา 19 ของรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และเมื่อได้ดำเนินกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้วางหลักการในการคุ้มครองส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่ การลดการผูกขาดอำนาจรัฐ และขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม การทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรม และจริยธรรม รวมทั้งการทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็ง และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนใช้สิทธิทางการเมืองได้ง่ายขึ้นสำหรับบทบัญญัติเกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในส่วนของการถอดถอนจากตำแหน่งนั้น มีการบัญญัติไว้ในหมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ส่วนที่ 3 การถอดถอนจากตำแหน่ง มาตรา 270 ถึงมาตรา 274<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2550, หน้า 195.</ref> | ||
</ref> | |||
==ผู้ดำรงตำแหน่งที่อาจถูกถอนถอด== | ==ผู้ดำรงตำแหน่งที่อาจถูกถอนถอด== | ||
บรรทัดที่ 30: | บรรทัดที่ 29: | ||
ผู้ดำรงตำแหน่งที่อาจถูกร้องขอให้วุฒิสภาถอดถอนจากตำแหน่งได้ คือ | ผู้ดำรงตำแหน่งที่อาจถูกร้องขอให้วุฒิสภาถอดถอนจากตำแหน่งได้ คือ | ||
1. นายกรัฐมนตรี | |||
2. รัฐมนตรี | |||
3. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร | |||
4. สมาชิกวุฒิสภา | |||
5. ประธานศาลฎีกา | |||
6. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | |||
7. ประธานศาลปกครองสูงสุด | |||
8. อัยการสูงสุด | |||
9. กรรมการการเลือกตั้ง | |||
10. ผู้ตรวจการแผ่นดิน | |||
11. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ | |||
12. กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน | |||
13. ผู้พิพากษาหรือตุลาการ พนักงานอัยการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต<ref>ไพโรจน์ โพธิไสย, '''การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540,''' กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2546, หน้า 14–15.</ref> | |||
==มูลเหตุที่ถูกถอดถอน== | ==มูลเหตุที่ถูกถอดถอน== | ||
มูลเหตุที่จะถอดถอนมีอยู่ | มูลเหตุที่จะถอดถอนมีอยู่ 5 เหตุ ได้แก่ | ||
''' | '''1. มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ''' หมายความว่าการมีทรัพย์สินมากผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มมากผิดปกติหรือการมีหนี้สินลดลงมากผิดปกติ หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควรสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ | ||
''' | '''2. ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่''' หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ทั้งนี้เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น | ||
3. ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ | |||
4. ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม | |||
5. ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายหรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง [๘] | |||
==กระบวนการถอดถอน== | ==กระบวนการถอดถอน== | ||
สำหรับผู้มีสิทธิร้องขอให้ถอดถอนจากตำแหน่งไว้มี | สำหรับผู้มีสิทธิร้องขอให้ถอดถอนจากตำแหน่งไว้มี 2 กรณีด้วยกัน คือ | ||
1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนบุคคลดังกล่าวออกจากตำแหน่งใด คำร้องขอดังกล่าวต้องระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งกระทำความผิดเป็นข้อๆ ให้ชัดเจน | |||
2. สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภามีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนสมาชิกวุฒิสภาออกจากตำแหน่ง [๙] | |||
เมื่อได้รับคำร้องแล้วให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินการไต่สวนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เมื่อไต่สวนเสร็จแล้วให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทำรายงานเสนอต่อวุฒิสภาโดยในรายงานดังกล่าวต้องระบุให้ชัดเจนว่าข้อกล่าวหาตามคำร้องขอมีมูลหรือไม่เพียงใด มีพยานหลักฐานที่ควรเชื่อได้อย่างไร พร้อมทั้งระบุข้อยุติว่าจะให้ดำเนินการอย่างไรด้วย | เมื่อได้รับคำร้องแล้วให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินการไต่สวนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เมื่อไต่สวนเสร็จแล้วให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทำรายงานเสนอต่อวุฒิสภาโดยในรายงานดังกล่าวต้องระบุให้ชัดเจนว่าข้อกล่าวหาตามคำร้องขอมีมูลหรือไม่เพียงใด มีพยานหลักฐานที่ควรเชื่อได้อย่างไร พร้อมทั้งระบุข้อยุติว่าจะให้ดำเนินการอย่างไรด้วย | ||
บรรทัดที่ 84: | บรรทัดที่ 83: | ||
เมื่อวุฒิสภาได้รับรายงานจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติแล้ว ให้ประธานวุฒิสภาจัดให้มีการประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณากรณีดังกล่าวโดยเร็ว ซึ่งสมาชิกวุฒิสภามีอิสระในการออกเสียงลงคะแนนซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ มติที่ให้ถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่ง ให้ถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่อยู่ของวุฒิสภา | เมื่อวุฒิสภาได้รับรายงานจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติแล้ว ให้ประธานวุฒิสภาจัดให้มีการประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณากรณีดังกล่าวโดยเร็ว ซึ่งสมาชิกวุฒิสภามีอิสระในการออกเสียงลงคะแนนซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ มติที่ให้ถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่ง ให้ถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่อยู่ของวุฒิสภา | ||
ผู้ใดถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งหรือให้ออกจากราชการนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติให้ถอดถอน และให้ตัดสิทธิผู้นั้นในการดำรงตำแหน่งใดในทางการเมืองหรือในการรับราชการเป็นเวลา | ผู้ใดถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งหรือให้ออกจากราชการนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติให้ถอดถอน และให้ตัดสิทธิผู้นั้นในการดำรงตำแหน่งใดในทางการเมืองหรือในการรับราชการเป็นเวลา 5 ปี มติของวุฒิสถาให้เป็นที่สุดและจะมีการร้องขอให้ถอดถอนบุคคลดังกล่าวโดยอาศัยเหตุเดียวกันอีกมิได้ [๑๐] | ||
นับแต่วันที่รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. | นับแต่วันที่รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 มีผลบังคับใช้แล้วมีเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการ ป.ป.ช. และวุฒิสภาในการไต่สวนถอดถอนและมีมติ จำนวน 31 เรื่อง โดยดำเนินการแล้วเสร็จ 1 เรื่อง ดังรายละเอียดต่อไปนี้ | ||
- ผู้ริเริ่มฯ ไม่ยอมรับรองลายมือชื่อของประชาชนที่เข้าชื่อจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน จำนวน | - ผู้ริเริ่มฯ ไม่ยอมรับรองลายมือชื่อของประชาชนที่เข้าชื่อจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน จำนวน 1 เรื่อง | ||
- ครบ | - ครบ 180 วัน ผู้ริเริ่มฯ มิได้นำคำร้องขอพร้อมรายชื่อประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนมายื่นต่อประธานวุฒิสภา จำนวน 8 เรื่อง | ||
- ผู้ริเริ่มฯ นำคำร้องขอพร้อมรายชื่อประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนมายื่นต่อประธานวุฒิสภาแล้ว แต่ไม่ครบห้าหมื่นคน จำนวน | - ผู้ริเริ่มฯ นำคำร้องขอพร้อมรายชื่อประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนมายื่นต่อประธานวุฒิสภาแล้ว แต่ไม่ครบห้าหมื่นคน จำนวน 1 เรื่อง | ||
- ผู้ริเริ่มฯ มิได้แสดงหลักฐานใดที่จะสามารถตรวจสอบ หรือยืนยันได้ว่าตนเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน | - ผู้ริเริ่มฯ มิได้แสดงหลักฐานใดที่จะสามารถตรวจสอบ หรือยืนยันได้ว่าตนเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 1 เรื่อง | ||
- ผู้ที่ถูกยื่นถอดถอนพ้นจากตำแหน่งก่อนที่ผู้ริเริ่มฯ จะนำรายชื่อประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่า ห้าหมื่นคนมายื่นต่อประธานวุฒิสภา จำนวน | - ผู้ที่ถูกยื่นถอดถอนพ้นจากตำแหน่งก่อนที่ผู้ริเริ่มฯ จะนำรายชื่อประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่า ห้าหมื่นคนมายื่นต่อประธานวุฒิสภา จำนวน 5 เรื่อง | ||
- คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่าข้อกล่าวหาตามคำร้องขอไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไปจำนวน | - คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่าข้อกล่าวหาตามคำร้องขอไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไปจำนวน 14 เรื่อง | ||
ดำเนินการไม่แล้วเสร็จ (อยู่ระหว่างดำเนินการ) | ดำเนินการไม่แล้วเสร็จ (อยู่ระหว่างดำเนินการ) 1เรื่อง | ||
- อยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จำนวน | - อยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จำนวน 1 เรื่อง [๑๑] | ||
ต่อมารัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. | ต่อมารัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ได้ถูกยกเลิกไปเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มีเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการ ป.ป.ช. และวุฒิสภาในการไต่สวนถอดถอนและมีมติ จำนวน 12 เรื่อง โดยดำเนินการแล้วเสร็จ 2 เรื่อง ดังรายละเอียดต่อไปนี้ | ||
- ผู้ที่ถูกยื่นถอดถอนพ้นจากตำแหน่งก่อนที่ผู้ริเริ่มฯ จะนำรายชื่อประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่าสองหมื่นคนจำนวน | - ผู้ที่ถูกยื่นถอดถอนพ้นจากตำแหน่งก่อนที่ผู้ริเริ่มฯ จะนำรายชื่อประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่าสองหมื่นคนจำนวน 1 เรื่อง | ||
- คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่าข้อกล่าวหาตามคำร้องขอไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไปจำนวน | - คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่าข้อกล่าวหาตามคำร้องขอไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไปจำนวน 1 เรื่อง | ||
ดำเนินการไม่แล้วเสร็จ (อยู่ระหว่างดำเนินการ) | ดำเนินการไม่แล้วเสร็จ (อยู่ระหว่างดำเนินการ) 10 เรื่อง | ||
- อยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จำนวน | - อยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จำนวน 8 เรื่อง | ||
- อยู่ระหว่างผู้ริเริ่มฯ รวบรวมรายชื่อประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่าสองหมื่นคนมายื่นต่อประธานวุฒิสภา ภายใน | - อยู่ระหว่างผู้ริเริ่มฯ รวบรวมรายชื่อประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่าสองหมื่นคนมายื่นต่อประธานวุฒิสภา ภายใน 180 วันนับแต่วันที่ได้มาแสดงตนต่อประธานวุฒิสภา จำนวน 2 เรื่อง [๑๒] | ||
จากการบังคับใช้รัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี | จากการบังคับใช้รัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปัจจุบัน วุฒิสภายังไม่เคยมีมติถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่ง | ||
การถอดถอนจากตำแหน่งเป็นวิธีการควบคุมฝ่ายบริหารวิธีหนึ่งซึ่งควบคุม และตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงว่ามีความเหมาะสมหรือสมควรที่จะได้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวอยู่ต่อไปหรือไม่ ซึ่งนับเป็นมาตรการที่สำคัญอีกมาตรการหนึ่งที่สนับสนุนระบบการตรวจสอบการทุจริตของผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในประเทศไทย และควบคุมการใช้อำนาจรัฐของผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงให้อยู่ในกรอบของความชอบธรรม [๑๓] | การถอดถอนจากตำแหน่งเป็นวิธีการควบคุมฝ่ายบริหารวิธีหนึ่งซึ่งควบคุม และตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงว่ามีความเหมาะสมหรือสมควรที่จะได้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวอยู่ต่อไปหรือไม่ ซึ่งนับเป็นมาตรการที่สำคัญอีกมาตรการหนึ่งที่สนับสนุนระบบการตรวจสอบการทุจริตของผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในประเทศไทย และควบคุมการใช้อำนาจรัฐของผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงให้อยู่ในกรอบของความชอบธรรม [๑๓] | ||
บรรทัดที่ 126: | บรรทัดที่ 125: | ||
==บรรณานุกรม== | ==บรรณานุกรม== | ||
ธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์. [[ | ธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์. [[“ปัญหาเกี่ยวกับการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540.”]] วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2546. | ||
นันทวัฒน์ บรมานันท์. '''“สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( | นันทวัฒน์ บรมานันท์. '''“สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (2540) หมวดการตรวจสอบ เรื่อง 5 การถอดถอนจากตำแหน่ง”.''' สถาบันพระปกเกล้า. กรุงเทพฯ. 2544. | ||
นิยม รัฐอมฤต และคณะ. '''รายงานวิจัย “กระบวนการไต่สวนและการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งในระดับสูง : ในอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช.”.''' สถาบันพระปกเกล้า. กรุงเทพฯ. | นิยม รัฐอมฤต และคณะ. '''รายงานวิจัย “กระบวนการไต่สวนและการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งในระดับสูง : ในอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช.”.''' สถาบันพระปกเกล้า. กรุงเทพฯ. 2549. | ||
ไพโรจน์ โพธิไสย. '''“การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช | ไพโรจน์ โพธิไสย. '''“การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540”.''' สำนักการพิมพ์ สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. กรุงเทพฯ. 2546. | ||
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. สำนักกำกับและตรวจสอบ. ''' | สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. สำนักกำกับและตรวจสอบ. '''“สรุปผลการยื่นถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ 2540”.''' 25 พฤษภาคม 2552. | ||
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. สำนักกำกับและตรวจสอบ. '''“สรุปผลการยื่นถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ | สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. สำนักกำกับและตรวจสอบ. '''“สรุปผลการยื่นถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ 2550”.''' 25 พฤษภาคม 2552. | ||
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักประชาสัมพันธ์. '''“การถอดถอนจากตำแหน่ง”.''' สำนักการพิมพ์ | สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักประชาสัมพันธ์. '''“การถอดถอนจากตำแหน่ง”.''' สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. กรุงเทพฯ. 2551. | ||
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักประชาสัมพันธ์ '''“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช | สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักประชาสัมพันธ์ '''“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540”.''' สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. กรุงเทพฯ. 2543. | ||
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักประชาสัมพันธ์. '''“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช | สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักประชาสัมพันธ์. '''“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550”.''' สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. กรุงเทพฯ. 2551. | ||
[[category:ความรู้เกี่ยวกับรัฐสภาไทย]] | [[category:ความรู้เกี่ยวกับรัฐสภาไทย]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:30, 3 พฤศจิกายน 2552
ผู้เรียบเรียง นิพัทธ์ สระฉันทพงษ์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง
การปกครองระบอบประชาธิปไตยมีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยออกไปให้องค์กรต่างๆ เป็นผู้ใช้ โดยแบ่งองค์กรออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้ใช้อำนาจในการออกกฎหมาย ฝ่ายบริหารเป็นผู้ใช้อำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินตามกฎหมาย และฝ่ายตุลาการเป็นผู้ใช้อำนาจในการวินิจฉัยคดี
รัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ ที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยและมีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยออกไปให้องค์กรต่างๆ เป็นผู้ใช้ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ต่างก็มีบทบัญญัติในการควบคุมมิให้อำนาจหนึ่งอยู่เหนืออีกอำนาจหนึ่ง และมีบทบัญญัติให้แต่ละอำนาจถ่วงดุลซึ่งกันและกัน แต่อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติแล้วหาได้เกิดความสมดุลไม่ เพราะฝ่ายบริหารซึ่งรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินมักจะมีอำนาจเหนือกว่าฝ่ายอื่น และนอกจากนี้ฝ่ายบริหารยังอยู่ในสถานะที่อาจกระทำนอกเหนือขอบเขตอำนาจที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบตามมาคือการทุจริตคอรัปชั่นได้ง่าย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารมากกว่าการควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายอื่น
การควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร
การควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร นับได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อการบริหารประเทศ ซึ่งหลายๆ ประเทศต่างก็บัญญัติวิธีการที่คิดว่าเหมาะสมและใช้ได้ผลดีไว้ในรัฐธรรมนูญของตน การถอดถอนออกจากตำแหน่ง (Impeachment) เป็นวิธีการควบคุมฝ่ายบริหารวิธีหนึ่งซึ่งเป็นวิธีการควบคุมตัวบุคคล กล่าวคือหากบุคคลผู้มีตำแหน่งทางการเมืองไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือกระทำผิดร้ายแรงก็จะต้องถูกดำเนินการให้พ้นไปจากตำแหน่งนั้น
การถอดถอนจากตำแหน่งเป็นกลไกสำคัญอีกกลไกหนึ่งที่ใช้ในการควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารโดยเปิดโอกาสให้มีการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งกระทำผิดก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงในขณะดำรงตำแหน่งหน้าที่ให้พ้นจากตำแหน่งก่อนเวลาอันสมควร เนื่องจากหากปล่อยให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวต่อไป จะก่อให้เกิดความเสียหายหรืออันตรายต่อประเทศชาติและประชาชน[1]
นับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตย เมื่อปี พ.ศ. 2475 รัฐธรรมนูญของไทยหลายฉบับต่างก็ได้พยายามวางกลไกในการควบคุมการใช้อำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายบริหาร โดยกำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่ในการควบคุมดูแลการใช้อำนาจในการดำเนินงานของฝ่ายบริหาร ไม่ว่าจะเป็นการตั้งกระทู้ถาม การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ การตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นสอบสวนการกระทำของฝ่ายบริหาร และการถอดถอนจากสมาชิกภาพ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและรัฐมนตรี รวมทั้งกำหนดมาตรการในการตรวจสอบควบคุมสมาชิกรัฐสภาด้วยวิธีการควบคุมกันเองด้วย โดยรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย คือพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 9 ว่า สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจดูแลควบคุมกิจการของประเทศ และมีอำนาจประชุมกันถอดถอนกรรมการราษฎรหรือพนักงานรัฐบาลผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้[2]
รัฐธรรมนูญฉบับต่อมา คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกของไทยก็ได้กำหนดมาตรการในการตรวจสอบควบคุมสมาชิกรัฐสภาด้วยวิธีการควบคุมกันเองไว้ในบทบัญญัติมาตรา 21 ว่าสมาชิกภาพแห่งสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงเมื่อสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัยให้ออกจากตำแหน่งโดยเห็นว่ามีความประพฤติในทางจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่สภา[3]
สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2438 ได้มีการกำหนดกระบวนการให้สมาชิกรัฐสภาควบคุมกันเอง โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 98 ว่าในกรณีที่สมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ใดกระทำการหรือมีพฤติการณ์อันเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือมีลักษณะเป็นความผิดต่อเจ้าพนักงานในส่วนที่เกี่ยวกับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ หรือเป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของการเป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้วแต่กรณีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประชาชนแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกเพื่อให้วุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัยให้สมาชิกผู้นั้นพ้นจากสมาชิกภาพได้[4]
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้พยายามแก้ไขข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีตเพื่อปฏิรูปการเมืองไทยให้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้บัญญัติให้มีการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ฝ่ายการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูงให้มีลักษณะของการตรวจสอบโดยองค์กรที่มีกลไกที่น่าเชื่อถือ ไม่หวั่นเกรงต่ออิทธิพลหรืออำนาจของผู้ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูง จึงนำแนวคิดและรูปแบบการควบคุมด้วยการถอดถอนออกจากตำแหน่งโดยองค์กรทางการเมืองมาปรับใช้กับระบบการตรวจสอบของไทยref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, การถอดถอนจากตำแหน่ง, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 13–16.</ref> โดยบัญญัติไว้ในหมวด 10 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ส่วนที่ 3 การถอดถอนจากตำแหน่ง มาตรา 303 ถึงมาตรา 307[5]
เมื่อมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 โดยมาตรา 19 ของรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และเมื่อได้ดำเนินกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้วางหลักการในการคุ้มครองส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่ การลดการผูกขาดอำนาจรัฐ และขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม การทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรม และจริยธรรม รวมทั้งการทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็ง และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนใช้สิทธิทางการเมืองได้ง่ายขึ้นสำหรับบทบัญญัติเกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในส่วนของการถอดถอนจากตำแหน่งนั้น มีการบัญญัติไว้ในหมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ส่วนที่ 3 การถอดถอนจากตำแหน่ง มาตรา 270 ถึงมาตรา 274[6]
ผู้ดำรงตำแหน่งที่อาจถูกถอนถอด
ผู้ดำรงตำแหน่งที่อาจถูกร้องขอให้วุฒิสภาถอดถอนจากตำแหน่งได้ คือ
1. นายกรัฐมนตรี
2. รัฐมนตรี
3. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
4. สมาชิกวุฒิสภา
5. ประธานศาลฎีกา
6. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
7. ประธานศาลปกครองสูงสุด
8. อัยการสูงสุด
9. กรรมการการเลือกตั้ง
10. ผู้ตรวจการแผ่นดิน
11. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
12. กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
13. ผู้พิพากษาหรือตุลาการ พนักงานอัยการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต[7]
มูลเหตุที่ถูกถอดถอน
มูลเหตุที่จะถอดถอนมีอยู่ 5 เหตุ ได้แก่
1. มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ หมายความว่าการมีทรัพย์สินมากผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มมากผิดปกติหรือการมีหนี้สินลดลงมากผิดปกติ หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควรสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่
2. ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ทั้งนี้เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
3. ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
4. ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม
5. ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายหรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง [๘]
กระบวนการถอดถอน
สำหรับผู้มีสิทธิร้องขอให้ถอดถอนจากตำแหน่งไว้มี 2 กรณีด้วยกัน คือ
1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนบุคคลดังกล่าวออกจากตำแหน่งใด คำร้องขอดังกล่าวต้องระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งกระทำความผิดเป็นข้อๆ ให้ชัดเจน
2. สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภามีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนสมาชิกวุฒิสภาออกจากตำแหน่ง [๙]
เมื่อได้รับคำร้องแล้วให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินการไต่สวนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เมื่อไต่สวนเสร็จแล้วให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทำรายงานเสนอต่อวุฒิสภาโดยในรายงานดังกล่าวต้องระบุให้ชัดเจนว่าข้อกล่าวหาตามคำร้องขอมีมูลหรือไม่เพียงใด มีพยานหลักฐานที่ควรเชื่อได้อย่างไร พร้อมทั้งระบุข้อยุติว่าจะให้ดำเนินการอย่างไรด้วย
ถ้าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ว่าข้อกล่าวหาใดมีมูล นับแต่วันดังกล่าวผู้ดำรงตำแหน่งที่ถูกกล่าวหาจะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปมิได้จนกว่าวุฒิสภาจะมีมติ แต่ถ้าเห็นว่าข้อกล่าวหาใดไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหานั้นเป็นอันตกไป
เมื่อวุฒิสภาได้รับรายงานจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติแล้ว ให้ประธานวุฒิสภาจัดให้มีการประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณากรณีดังกล่าวโดยเร็ว ซึ่งสมาชิกวุฒิสภามีอิสระในการออกเสียงลงคะแนนซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ มติที่ให้ถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่ง ให้ถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่อยู่ของวุฒิสภา
ผู้ใดถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งหรือให้ออกจากราชการนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติให้ถอดถอน และให้ตัดสิทธิผู้นั้นในการดำรงตำแหน่งใดในทางการเมืองหรือในการรับราชการเป็นเวลา 5 ปี มติของวุฒิสถาให้เป็นที่สุดและจะมีการร้องขอให้ถอดถอนบุคคลดังกล่าวโดยอาศัยเหตุเดียวกันอีกมิได้ [๑๐]
นับแต่วันที่รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 มีผลบังคับใช้แล้วมีเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการ ป.ป.ช. และวุฒิสภาในการไต่สวนถอดถอนและมีมติ จำนวน 31 เรื่อง โดยดำเนินการแล้วเสร็จ 1 เรื่อง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
- ผู้ริเริ่มฯ ไม่ยอมรับรองลายมือชื่อของประชาชนที่เข้าชื่อจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน จำนวน 1 เรื่อง
- ครบ 180 วัน ผู้ริเริ่มฯ มิได้นำคำร้องขอพร้อมรายชื่อประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนมายื่นต่อประธานวุฒิสภา จำนวน 8 เรื่อง
- ผู้ริเริ่มฯ นำคำร้องขอพร้อมรายชื่อประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนมายื่นต่อประธานวุฒิสภาแล้ว แต่ไม่ครบห้าหมื่นคน จำนวน 1 เรื่อง
- ผู้ริเริ่มฯ มิได้แสดงหลักฐานใดที่จะสามารถตรวจสอบ หรือยืนยันได้ว่าตนเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 1 เรื่อง
- ผู้ที่ถูกยื่นถอดถอนพ้นจากตำแหน่งก่อนที่ผู้ริเริ่มฯ จะนำรายชื่อประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่า ห้าหมื่นคนมายื่นต่อประธานวุฒิสภา จำนวน 5 เรื่อง
- คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่าข้อกล่าวหาตามคำร้องขอไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไปจำนวน 14 เรื่อง
ดำเนินการไม่แล้วเสร็จ (อยู่ระหว่างดำเนินการ) 1เรื่อง
- อยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จำนวน 1 เรื่อง [๑๑]
ต่อมารัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ได้ถูกยกเลิกไปเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มีเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการ ป.ป.ช. และวุฒิสภาในการไต่สวนถอดถอนและมีมติ จำนวน 12 เรื่อง โดยดำเนินการแล้วเสร็จ 2 เรื่อง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
- ผู้ที่ถูกยื่นถอดถอนพ้นจากตำแหน่งก่อนที่ผู้ริเริ่มฯ จะนำรายชื่อประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่าสองหมื่นคนจำนวน 1 เรื่อง
- คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่าข้อกล่าวหาตามคำร้องขอไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไปจำนวน 1 เรื่อง
ดำเนินการไม่แล้วเสร็จ (อยู่ระหว่างดำเนินการ) 10 เรื่อง
- อยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จำนวน 8 เรื่อง
- อยู่ระหว่างผู้ริเริ่มฯ รวบรวมรายชื่อประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่าสองหมื่นคนมายื่นต่อประธานวุฒิสภา ภายใน 180 วันนับแต่วันที่ได้มาแสดงตนต่อประธานวุฒิสภา จำนวน 2 เรื่อง [๑๒]
จากการบังคับใช้รัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปัจจุบัน วุฒิสภายังไม่เคยมีมติถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่ง
การถอดถอนจากตำแหน่งเป็นวิธีการควบคุมฝ่ายบริหารวิธีหนึ่งซึ่งควบคุม และตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงว่ามีความเหมาะสมหรือสมควรที่จะได้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวอยู่ต่อไปหรือไม่ ซึ่งนับเป็นมาตรการที่สำคัญอีกมาตรการหนึ่งที่สนับสนุนระบบการตรวจสอบการทุจริตของผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในประเทศไทย และควบคุมการใช้อำนาจรัฐของผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงให้อยู่ในกรอบของความชอบธรรม [๑๓]
อ้างอิง
- ↑ นันทวัฒน์ บรมานันท์, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) หมวดการตรวจสอบเรื่องที่ 5 การถอดถอนจากตำแหน่ง, (กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2544), หน้า 1-2.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, การถอดถอนจากตำแหน่ง, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 10-11.
- ↑ นันทวัฒน์ บรมานันท์, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 25401) หมวดการตรวจสอบเรื่องที่ 5 การถอดถอนจากตำแหน่ง, (กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2544), หน้า 3-4.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, การถอดถอนจากตำแหน่ง, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 13–16.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2540, หน้า 148.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2550, หน้า 195.
- ↑ ไพโรจน์ โพธิไสย, การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2546, หน้า 14–15.
บรรณานุกรม
ธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์. [[“ปัญหาเกี่ยวกับการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540.”]] วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2546.
นันทวัฒน์ บรมานันท์. “สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (2540) หมวดการตรวจสอบ เรื่อง 5 การถอดถอนจากตำแหน่ง”. สถาบันพระปกเกล้า. กรุงเทพฯ. 2544.
นิยม รัฐอมฤต และคณะ. รายงานวิจัย “กระบวนการไต่สวนและการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งในระดับสูง : ในอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช.”. สถาบันพระปกเกล้า. กรุงเทพฯ. 2549.
ไพโรจน์ โพธิไสย. “การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540”. สำนักการพิมพ์ สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. กรุงเทพฯ. 2546.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. สำนักกำกับและตรวจสอบ. “สรุปผลการยื่นถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ 2540”. 25 พฤษภาคม 2552.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. สำนักกำกับและตรวจสอบ. “สรุปผลการยื่นถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ 2550”. 25 พฤษภาคม 2552.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักประชาสัมพันธ์. “การถอดถอนจากตำแหน่ง”. สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. กรุงเทพฯ. 2551.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักประชาสัมพันธ์ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540”. สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. กรุงเทพฯ. 2543.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักประชาสัมพันธ์. “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550”. สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. กรุงเทพฯ. 2551.