ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สภาผู้แทนราษฎร"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้เรียบเรียง''' ตวงรัตน์ เลาหัตถพงษ์ภูริ '''ผู้ทรงคุณวุฒ...
 
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัดที่ 98: บรรทัดที่ 98:


{|
{|
!ชุดที่ !ประเภท !ที่มา !จำนวนสมาชิก (คน) !ระยะเวลา !สาเหตุของการสิ้นสุด
!ชุดที่  
!ประเภท  
!ที่มา  
!จำนวนสมาชิก (คน)  
!ระยะเวลา  
!สาเหตุของการสิ้นสุด
|-
|1
|สภาผู้แทนราษฎร
|แต่งตั้ง
|70
|๒๘ มิ.ย. ๒๔๗๕ – ๑๕ พ.ย. ๒๔๗๖
|มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕
|}
|}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:36, 14 ตุลาคม 2552

ผู้เรียบเรียง ตวงรัตน์ เลาหัตถพงษ์ภูริ

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


เมื่อใดที่มีการกล่าวถึง “สภาผู้แทนราษฎร” เป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นสถานที่มีผู้แทนราษฎรมาร่วมชุมนุมกันกระทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อประโยชน์ของประเทศ[๑] แต่เนื่องจากการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยนั้น การที่จะให้ประชาชนของประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองทั้งหมดเป็นสิ่งที่ไม่อาจเป็นไปได้ในทุกกรณี จึงจำเป็นต้องใช้ระบบผู้แทนโดยประชาชนจะมอบหมายให้ผู้แทนที่ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งเข้าไปใช้อำนาจอธิปไตยแทนในด้านต่าง ๆ โดยรัฐสภาเป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยด้านนิติบัญญัติ เมื่อสภาผู้แทนราษฎรเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎรจึงเป็นสถาบันการเมืองที่เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยด้านนิติบัญญัติ ซึ่งถือว่าเป็นสถาบันการเมืองที่สำคัญยิ่งในการออกกฎหมายมาให้ประชาชนต้องปฏิบัติตาม

ที่มาของสภาผู้แทนราษฎร

การปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาโดยหลักการแล้วสภาผู้แทนราษฎรจะประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งประเทศ แต่วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอาจจะเป็นการเลือกตั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ได้สุดแล้วแต่รัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศจะกำหนดไว้

การเลือกตั้งโดยตรง หมายถึง การเลือกตั้งที่ให้ประชาชนเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งให้ไปปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนโดยตรง[๒]

การเลือกตั้งโดยอ้อม หมายถึง การเลือกตั้งที่ให้ประชาชนไปเลือกตั้งผู้ที่จะไปทำการเลือกตั้งแทนตนในภายหลัง[๓]

สำหรับสภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทยตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบันสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีทั้งที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงและโดยอ้อมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะกำหนดไว้ ยกเว้นสภาผู้แทนราษฎรชุดแรกที่มาจากการแต่งตั้งตามพระธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ รัฐธรรมนูญที่กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งโดยตรงได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๔๙๐ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๙๒ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๗ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๒๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ส่วนรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๙๕ โดยให้ราษฎรเลือกผู้แทนตำบลก่อนแล้วให้ผู้แทนตำบลไปเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกทีหนึ่ง

จำนวนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนจะมีจำนวนเท่าใดขึ้นอยู่กับรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะกำหนดไว้ รัฐธรรมนูญที่ไม่ได้กำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไว้ตายตัวแต่ให้คำนวณจากจำนวนราษฎรเป็นเกณฑ์ โดยถือเกณฑ์ราษฎรจำนวนหนึ่งแสนห้าหมื่นคนให้เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ ๑ คน ถ้าเศษที่เหลือเกินเจ็ดหมื่นห้าพันคนให้มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มได้อีก ๑ คน ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๙๒ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พทุธศักราช ๒๕๒๑

ส่วนรัฐธรรมนูญที่มีการกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไว้ตายตัว เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๗ กำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าสองร้อยสี่สิบคนแต่ไม่เกินสามร้อยคน และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ กำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนสามร้อยหกสิบคน

นอกจากนี้ในรัฐธรรมนูญบางฉบับยังมีการแบ่งประเภทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งด้วยนับจากที่ประเทศไทยได้มีการปฏิรูปทางการเมืองเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐ มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ กำหนดประเภทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งไว้ ๒ ประเภท คือ ประเภทที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเขตละหนึ่งคนจำนวนสี่ร้อยคน และประเภทที่มาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวนหนึ่งร้อยคน และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ฉบับปัจจุบันกำหนดประเภทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไว้ ๒ ประเภทเช่นกัน คือ ประเภทที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเขตละไม่เกินสามคนจำนวนสี่ร้อยคน และประเภทที่มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจำนวนแปดสิบคน

อำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร

รัฐธรรมนูญของประเทศไทยตั้งแต่ฉบับแรกเป็นต้นมาได้กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจหน้าที่ในการตราพระราชบัญญัติออกใช้บังคับและมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล เว้นแต่ในบางช่วงที่ใช้ธรรมนูญการปกครองประเทศ จะไม่มีการกำหนดให้สถาบันการเมืองที่ธรรมนูญการปกครองประเทศในช่วงนั้นกำหนดให้เป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติมีหน้าที่ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลเหมือนที่กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในช่วงที่ใช้รัฐธรรมนูญ

อำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนุญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ฉบับปัจจุบัน พอสรุปได้ดังต่อไปนี้[๔]

๑. อำนาจหน้าที่ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติซึ่งต้องเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน ถ้าสภาผู้แทนราษฎรไม่ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัตินั้นก็จะตกไป แต่ถ้าสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบจึงเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปได้[๕]

๒. อำนาจหน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน โดยการตั้งกระทู้ถามทั่วไป กระทู้ถามสด การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล การตั้งคณะกรรมาธิการ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี

๓. อำนาจหน้าที่ในการตราข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภา รองประธานสภา เรื่องหรือกิจการอันเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการสามัญแต่ละชุด การปฏิบัติหน้าที่และองค์ประชุมของคณะกรรมาธิการ วิธีการประชุม การเสนอแนะและพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติ การเสนอญัตติ การปรึกษา การอภิปราย การลงมติ การบันทึกการลงมติ การเปิดเผยการลงมติ การตั้งกระทู้ถาม การเปิดอภิปรายทั่วไป การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย ประมวลจริยธรรมของสมาชิกและกรรมาธิการ และกิจการอื่นๆ เพื่อดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ[๖]

๔. อำนาจหน้าที่ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งต้องกระทำโดยการลงคะแนนโดยเปิดเผยในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรและมติที่เห็นชอบด้วยในการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร[๗]

๕. อำนาจหน้าที่ในการพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนดกรณีเพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ[๘] และพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนดกรณีมีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน ในระหว่างสมัยประชุม[๙]

๖. อำนาจหน้าที่ในการเข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรว่าพระราชกำหนดนั้นมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะหรือมิได้เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้[๑๐]

๗. อำนาจหน้าที่ในการประชุมร่วมกับวุฒิสภาเพื่อทำหน้าที่รัฐสภาในกรณีต่อไปนี้[๑๑]

๑) การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

๒) การปฏิญาณตนของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภา

๓) การรับทราบการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗

๔) การรับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติ

๕) การมีมติให้รัฐสภาพิจารณาเรื่องอื่นในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติได้

๖) การให้ความเห็นชอบในการปิดสมัยประชุม

๗) การเปิดประชุมรัฐสภา

๘) การตราข้อบังคับการประชุมรัฐสภา

๙) การให้ความเห็นชอบให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติ

๑๐) การปรึกษาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติใหม่

๑๑) การให้ความเห็นชอบให้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติต่อไป

๑๒) การแถลงนโยบายต่อรัฐสภา

๑๓) การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อฟังความคิดเห็นโดยไม่มีการลงมติ

๑๔) การให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม

๑๕) การรับฟังคำชี้แจงและการให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญา

๑๖) การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

อายุของสภาผู้แทนราษฎร

อายุของสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่มีกำหนดไว้คราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๑ กำหนดไว้คราวละสี่ปีเช่นกันแต่ให้นับแต่วันเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรก ยกเว้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๙๕ ที่กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ในตำแหน่งได้คราวละห้าปีนับแต่วันเลือกตั้งทั่วไป

ในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของประเทศไทยมีสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงที่อยู่ครบสี่ปีจำนวน ๒ ชุด คือ สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๘ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๕ และสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๒ ที่มาจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๔ ซึ่งสิ้นสุดเมื่อวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘

การสิ้นสุดของสภาผู้แทนราษฎร

สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงในกรณีต่อไปนี้

๑. เมื่ออายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง พระมหากษัตริย์จะได้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง[๑๒]

๒. เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรต้องกำหนดวันเลือกตั้งใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในเวลาไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันแต่ไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันยุบสภาผู้แทนราษฎรและวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร[๑๓]

๓) เมื่อมีการยึดอำนาจการปกครองประเทศ

สภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทย

นับแต่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ระบบรัฐสภา ตั้งแต่เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ มีสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ๒๔ ชุด ดังต่อไปนี้

ชุดที่ ประเภท ที่มา จำนวนสมาชิก (คน) ระยะเวลา สาเหตุของการสิ้นสุด
1 สภาผู้แทนราษฎร แต่งตั้ง 70 ๒๘ มิ.ย. ๒๔๗๕ – ๑๕ พ.ย. ๒๔๗๖ มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕

อ้างอิง


บรรณานุกรม

คณิน บุญสุวรรณ. ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์ตถาตา พับลิเคชั่น. ๒๕๔๘.

สถาบันพระปกเกล้า. สารานุกรม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.๒๕๔๐) หมวดองค์กร ทางการเมืองเรื่องสภาผู้แทนราษฎร. กรุงเทพมหานคร : องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๔๔.

สิริวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์. กฎหมายรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ๒๕๒๔.

สำนักงานเลขาธิการสภาผุ้แทนราษฎร. สำนักประชาสัมพันธ์. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ๒๕๕๑.

ดูเพิ่มเติม

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. “รัฐสภาไทยกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร.” กรุงเทพมหานคร : องค์การทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์, ๒๕๔๘. (หนังสือที่ระลึกในวโรกาสที่พลเอกหญิงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จทรงนำคณะอาจารย์และนักเรียน นายร้อยชั้นปีที่ ๔ และชั้นปีที่ ๕ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า วิชาหัวข้อพิเศษทางประวัติศาสตร์ : เปรียบเทียบพัฒนาการประชาธิปไตยในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทัศนศึกษารัฐสภา ห้องสมุดรัฐสภา และพิพิธภัณฑ์รัฐสภา วันอังคารที่ ๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๘).

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ กลุ่มงานบริการวิชาการ ๑. สรุปเหตุการณ์ทางการเมืองในประเทศและต่างประเทศ ๒, ๑. (มกราคม – มีนาคม ๒๕๔๘ (ฉบับพิเศษ))