ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เรื่องด่วน"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 109: | บรรทัดที่ 109: | ||
เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พร้อมทั้งรายงานความเห็นของคณะกรรมาธิการตามวรรคหนึ่ง ให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน”<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 142.</ref> | เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พร้อมทั้งรายงานความเห็นของคณะกรรมาธิการตามวรรคหนึ่ง ให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน”<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 142.</ref> | ||
“ข้อ 158 | “ข้อ 158 เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับ[[พระราชกำหนด]]จากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน”<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 144.</ref> | ||
“ข้อ 184 ในระหว่างสมัยประชุม ถ้ามีกรณีที่วุฒิสภาจะต้องพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้มีการจับคุมขัง หรือหมายเรียกตัวสมาชิกไปทำการสอบสวนในฐานะเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาตามมาตรา 131 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญ หรือมีกรณีที่วุฒิสภาจะต้องพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้มีการพิจารณาคดีอาญาที่สมาชิกถูกฟ้องตามมาตรา 131 วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญ ให้ประธานวุฒิสภาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน”<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 153.</ref> | “ข้อ 184 ในระหว่างสมัยประชุม ถ้ามีกรณีที่วุฒิสภาจะต้องพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้มีการจับคุมขัง หรือหมายเรียกตัวสมาชิกไปทำการสอบสวนในฐานะเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาตามมาตรา 131 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญ หรือมีกรณีที่วุฒิสภาจะต้องพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้มีการพิจารณาคดีอาญาที่สมาชิกถูกฟ้องตามมาตรา 131 วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญ ให้ประธานวุฒิสภาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน”<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 153.</ref> |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:41, 14 กันยายน 2552
ผู้เรียบเรียง พงษ์ศักดิ์ ปัตถา
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง
เหตุการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้นในแต่ละวันนั้น แม้ว่าฝ่ายบริหารบ้านเมืองจะสามารถคาดการณ์ในอนาคตอันใกล้หรือในอีกหลายๆ ปีข้างหน้าได้ แต่ก็เป็นเรื่องยากที่จะสามารถแก้ไขหรือเตรียมพร้อมรับมือปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเหตุบ้านการเมืองที่เกิดขึ้นนั้นมีความสำคัญเร่งด่วน ส่งผลกระทบต่อบ้านเมืองมากน้อยแตกต่างกันออกไป และคงเป็นไปไม่ได้ที่ภาครัฐจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมได้พร้อมๆ กัน ดังนั้น ในข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และประชุมรัฐสภา ประธานแห่งสภาสามารถสั่งให้บรรจุญัตติที่เป็น เรื่องด่วน ในระเบียบวาระการประชุมได้ เพื่อให้สภาพิจารณาเรื่องที่มีความสำคัญเร่งด่วน สำหรับแก้ไขปัญหาบ้านเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนั้นได้อย่างทันท่วงที
ความหมาย
เรื่องด่วน หมายถึง ญัตติที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ของสภาที่ประธานสภามีมติวินิจฉัยแล้วว่าเป็นเรื่องด่วน[1] ด้วยเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งต่อผลประโยชน์หรือความมั่นคงปลอดภัยของประเทศชาติ หรือเป็นเรื่องที่ต้องขออนุมัติการใช้เงินโดยด่วน เห็นสมควรที่จะนำขึ้นมาพิจารณาก่อน โดยจะจัดไว้ลำดับใดในระเบียบวาระการประชุมก็ได้ แต่ทั้งนี้จะจัดไว้ก่อนเรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้วไม่ได้ หรือหากคณะรัฐมนตรีขอให้บรรจุระเบียบวาระเรื่องใดเป็นเรื่องด่วน ประธานสภาจะต้องพิจารณาและอาจจัดให้ตามที่คณะรัฐมนตรีขอได้[2]
การบรรจุเรื่องด่วนเข้าในระเบียบวาระการประชุม
แม้ว่าระเบียบวาระการประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือการประชุมร่วมกันนั้นจะจัดลำดับเรื่องแตกต่างกันก็ตาม แต่หากประธานสภาวินิจฉัยว่าเรื่องใดเป็นเรื่องด่วน จะจัดเข้าระเบียบวาระการประชุมในลำดับใดก็ได้ดังได้กล่าวข้างต้น โดยการบรรจุเรื่องด่วนเข้าระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรจะสั่งให้บรรจุตามลำดับของเรื่องด่วนที่เสนอ แต่ในกรณีที่เป็นเรื่องด่วนที่มีความสำคัญมากๆ ประธานสภาผู้แทนราษฎรจะสั่งบรรจุระเบียบวาระการประชุมนัดพิเศษ เช่น การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือการพิจารณาญัตติเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ ซึ่งในการประชุมครั้งนั้นจะไม่มีการพิจารณาเรื่องอื่นนอกจากเรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุมกับเรื่องด่วนที่บรรจุระเบียบวาระเพียงเรื่องเดียวเท่านั้น
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจะบรรจุเรื่องด่วนเข้าระเบียบวาระการประชุมในโอกาสแรก และจะบรรจุเพิ่มเติมในระเบียบวาระการประชุมที่จัดไปแล้วก็ได้ ทำให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรต้องบรรจุเรื่องด่วนในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่จะมีขึ้นครั้งถัดไป ซึ่งในทางปฏิบัติประธานสภาผู้แทนราษฎรจะสั่งให้บรรจุเรื่องด่วนที่เป็นร่างพระราชบัญญัติ หรือเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติไว้ในระเบียบการประชุมวันพุธ และจะสั่งให้บรรจุเรื่องด่วนเป็นญัตติหรือเกี่ยวข้องกับญัตติและไม่เกี่ยวข้องกับร่างพระราชบัญญัติไว้ในระเบียบการประชุมวันพฤหัสบดี[3]
แต่เดิมนั้นข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2535 กำหนดให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจสั่งบรรจุเรื่องด่วนไว้ในลำดับใดของระเบียบวาระการประชุมก็ได้ ทำให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรในอดีตสั่งให้บรรจุเรื่องด่วนไว้ในระเบียบวาระลำดับก่อนเรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว เป็นผลให้เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของคณะกรรมาธิการที่สภามอบหมาย หรือเป็นรายงานของคณะกรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรตั้งขึ้นจากผลของการพิจารณาญัตติด่วนต้องเลื่อนการพิจารณาออกไป เมื่อมีการปรับปรุงข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรฉบับใหม่ จึงห้ามประธานสภาผู้แทนราษฎรบรรจุเรื่องด่วนก่อนเรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว[4]
ปัจจัยสำคัญของการพิจารณาญัตติเป็นเรื่องด่วน
อำนาจของประธานสภาผู้แทนราษฎรในการพิจารณาวินิจฉัยญัตติต่างๆ ว่าเรื่องใดเป็นเรื่องด่วนหรือไม่นั้น อาจเกิดความไม่แน่นอนและอาจเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นกับสมาชิกที่เสนอญัตติแต่ละคน อันจะส่งผลกระทบต่อการพิจารณาเรื่องอื่นๆ ของประธานสภาผู้แทนราษฎรด้วย นอกจากนี้ยังอาจจะส่งผลให้ร่างพระราชบัญญัติและญัตติที่เสนอเข้ามาก่อนต้องค้างการพิจารณาเป็นจำนวนมาก ดังนั้นประธานสภาผู้แทนราษฎรจะต้องพิจารณาญัตติต่างๆ จากปัจจัยสำคัญหลายอย่าง ดังนี้
1. พิจารณาจากญัตติที่สมาชิกเสนอว่าเป็นญัตติด่วนหรือไม่ โดยพิจารณาว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน หรือมีความจำเป็นเร่งด่วนในอันที่จะรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือความมั่นคงของประเทศไม่ว่าในทางเศรษฐกิจหรือในทางใดๆ ก็ตาม หรือในอันที่จะขจัดเหตุใดๆ ที่กระทบกระเทือนต่อเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง จะเสนอเป็นญัตติด่วนเพื่อให้สภาพิจารณาก็ได้
การพิจารณาญัตติที่สมาชิกเสนอประธานสภาผู้แทนราษฎร จะพิจารณาว่าเข้าลักษณะดังกล่าวหรือไม่ ถ้าเข้าจะมีคำสั่งว่าเป็นญัตติด่วนและให้บรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องด่วน
2. พิจารณาจากคำขอของรัฐมนตรี ถ้าคณะรัฐมนตรีขอให้จัดเรื่องที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอเรื่องใดเป็นเรื่องด่วนไว้ในลำดับใดของระเบียบวาระการประชุม ประธานสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาและอาจจัดให้เป็นเรื่องด่วนตามที่คะรัฐมนตรีขอก็ได้ ซึ่งกรณีนี้อยู่ที่ดุลพินิจของประธานสภาผู้แทนราษฎรที่จะพิจารณาว่าเรื่องที่คณะรัฐมนตรีเสนอนั้น เป็นเรื่องด่วนหรือไม่
3. ข้อบังคับการประชุมกำหนด ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรบรรจุระเบียบวาระการประชุมในโอกาสแรกที่กระทำได้ หรือให้บรรจุเป็นเรื่องด่วน กรณีนี้เป็นเรื่องที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอญัตติที่มีความสำคัญซึ่งรัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจไว้ ได้แก่ ญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัยให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนใดคนหนึ่งพ้นจากสมาชิกภาพ เพราะกระทำการหรือมีพฤติการณ์ อันเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือเป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 98 และญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 156[5]
เรื่องด่วนในข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551
ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 มีข้อบังคับที่เกี่ยวข้องให้บรรจุญัตติเรื่องหนึ่งเรื่องใดให้เป็นเรื่องด่วนในระเบียบวาระการประชุมหลายข้อหลายกรณี ดังต่อไปนี้
“ข้อ 16 การจัดระเบียบวาระการประชุมให้จัดลำดับดังต่อไปนี้
1. กระทู้ถาม
2. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
3. รับรองรายงานการประชุม
4. เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
5. เรื่องที่ค้างพิจารณา
6. เรื่องที่เสนอใหม่
7. เรื่องอื่นๆ
ในกรณีที่ประธานสภาเห็นว่าเรื่องใดเป็นเรื่องด่วนจะจัดไว้ในลำดับเรื่องใดเป็นเรื่องด่วน จะจัดไว้ในลำดับใดของระเบียบการประชุมก็ได้ แต่จะจัดไว้ก่อนเรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้วมิได้”[6]
“ข้อ 42 ในกรณีที่เกี่ยวกับประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน หรือมีความจำเป็นรีบด่วนในอันที่จะรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือความมั่นคงของประเทศไม่ว่าในทางเศรษฐกิจหรือในทางใดๆ ก็ตาม หรือในอันที่จะขจัดเหตุใดๆ ที่กระทบกระเทือนต่อเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง จะเสนอญัตติด่วนเพื่อให้สภาพิจารณาเป็นการด่วนก็ได้”
ญัตติด่วนต้องไม่มีลักษณะทำนองเดียวกับกระทู้ และต้องบอกวัตถุประสงค์ให้สภาดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย[7]
“ข้อ 43 ให้เป็นอำนาจของประธานสภาที่จะวินิจฉัยว่าญัตติใดเป็นญัตติด่วนหรือไม่ และเมื่อวินิจฉัยแล้วให้แจ้งผู้เสนอญัตติทราบพร้อมด้วยเหตุผลภายใน 5 วัน นับแต่วันที่ได้รับญัตตินั้น
ให้ประธานสภาบรรจุญัตติด่วนเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน
ญัตติที่ประธานสภาวินิจฉัยว่าไม่ได้เป็นญัตติด่วน ให้ประธานภาดำเนินการต่อไปตามข้อ 45”[8]
“ข้อ 168 การเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 158 วรรคหนึ่งหรือมาตรา 160 ของรัฐธรรมนูญ ต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อประธานสภา โดยระบุเรื่องที่จะขอเปิดอภิปรายและเสนอชื่อผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปซึ่งเป็นบุคคลตามมาตรา 171 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญไว้ในบัญญัติด้วย
กรณีเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 158 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ ต้องแสดงหลักฐานการยื่นคำร้องขอตามมาตรา 271 ของรัฐธรรมนูญ
ข้อ 169 เมื่อประธานสภาได้รับญัตติตามข้อ 168 แล้ว ให้ทำการตรวจสอบ หากมีข้อบกพร่องให้ประธานสภาแจ้งผู้เสนอทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับญัตติ
เมื่อประธานสภาได้ตรวจสอบความถูกต้องของญัตติแล้ว ให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วนและแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบ”[9]
“ข้อ 179 ในกรณีมีเรื่องที่สภาจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้มีการจับหรือคุมขังหรือหมายเรียกตัวสมาชิกไปทำการสอบสวนในฐานะเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาระหว่างสมัยประชุมตามมาตรา 131 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญ หรือในกรณีมีเรื่องที่สภาจะต้องพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้มีการพิจารณาคดีอาญาที่สมาชิกถูกฟ้องในระหว่างสมัยประชุมตามมาตรา 131 วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญ ให้ประธานสภาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน
การขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง หากประธานสภาเห็นว่าเหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ประธานสภาอาจสั่งให้นำออกจากระเบียบวาระการประชุมได้ แล้วแจ้งให้ที่ประชุมทราบ”[10]
เรื่องด่วนในข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551
ในขณะเดียวกันข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551 นั้น ก็มีข้อบังคับถึงการบรรจุญัตติใดญัตติหนึ่งให้เป็นเรื่องด่วนในระเบียบวาระการประชุม ดังต่อไปนี้
“ข้อ 18 การจัดระเบียบวาระการประชุมให้จัดลำดับดังต่อไปนี้
1. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
2. รับรองรายงานการประชุม
3. กระทู้ถาม
4. เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
5. เรื่องที่ค้างพิจารณา
6. เรื่องที่เสนอใหม่
7. เรื่องอื่นๆ
ในกรณีที่ประธานวุฒิสภาเห็นว่าเรื่องใดเป็นเรื่องด่วน จะจัดไว้ในลำดับใดของระเบียบวาระการประชุมก็ได้”[11]
“ข้อ 130 ในกรณีวุฒิสภาได้แก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งกรรมาธิการร่วมกันตามมาตรา 147(3) ประกอบกับมาตรา 140 ของรัฐธรรมนูญ เมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งจำนวนกรรมาธิการร่วมกันมาให้ทราบแล้ว ให้ประธานวุฒิสภาดำเนินการเพื่อให้วุฒิสภาตั้งกรรมาธิการร่วมกัน
เมื่อคณะกรรมาธิการร่วมกันได้เสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ได้พิจารณาแล้วพร้อมกับรายงานของคณะกรรมาธิการ ให้ประธานวุฒิสภาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน”[12]
“ข้อ 131 เมื่อประธานสภาได้รับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญจากสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 141 วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแล้ว ให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน”[13]
“ข้อ 134 เมื่อประธานสภาได้รับร่างพระราชบัญญัติจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน”[14]
“ข้อ 155 เมื่อวุฒิสภาได้รับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่ายจากสภาผู้แทนราษฎร ให้ประธานวุฒิสภาส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นไปยังคณะกรรมาธิการวิสามัญตามข้อ 154 เป็นการด่วน และให้คณะกรรมาธิการพิจารณาและรายงานความเห็นต่อประธานวุฒิสภา ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว การพิจารณาในขั้นคณะกรรมาธิการไม่มีการแปรญัตติ
เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พร้อมทั้งรายงานความเห็นของคณะกรรมาธิการตามวรรคหนึ่ง ให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน”[15]
“ข้อ 158 เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับพระราชกำหนดจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน”[16]
“ข้อ 184 ในระหว่างสมัยประชุม ถ้ามีกรณีที่วุฒิสภาจะต้องพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้มีการจับคุมขัง หรือหมายเรียกตัวสมาชิกไปทำการสอบสวนในฐานะเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาตามมาตรา 131 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญ หรือมีกรณีที่วุฒิสภาจะต้องพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้มีการพิจารณาคดีอาญาที่สมาชิกถูกฟ้องตามมาตรา 131 วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญ ให้ประธานวุฒิสภาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน”[17]
กรณีตัวอย่าง เรื่องด่วน
การประชุมร่วมกันของรัฐสภา การประชุมวุฒิสภา และการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในแต่ละครั้งนั้นมีเรื่องด่วนที่บรรจุในระเบียบวาระมากน้อยแตกต่างกันออกไป มากบ้างน้อยบ้าง หรือบางครั้งไม่มีการบรรจุเรื่องด่วนไว้ในระเบียบวาระการประชุมเลย ซึ่งเป็นเหตุมาจากสถานการณ์ของเหตุบ้านการเมืองในขณะนั้นๆ ว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนมากน้อยเพียงใดที่จะต้องให้ประธานสภาวินิจฉัยว่าญัตติใดสมควรเป็นเรื่องด่วนต่อไป ด้วยจำนวนเรื่องด่วนในระเบียบวาระการประชุมที่มีมากมายหลายกรณีตั้งแต่มีการประชุมรัฐสภาครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน จึงไม่สามารถจะยกมากล่าวได้ทั้งหมด จึงขอยกกรณีตัวอย่างเรื่องด่วนในการประชุมสภาข้างต้น ดังต่อไปนี้
(1) เรื่องด่วนในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา
(1.1) ระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 9 (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม 2552 เรื่องด่วน ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พุทธศักราช... (ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 71,543 คน เป็นผู้เสนอ)[18]
(1.2) ระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 1 (สมัยวิสามัญ) วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม 2551 เรื่องด่วน คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ตามมาตรา 176 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย[19]
(2) เรื่องด่วนในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
(2.1) ระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 3 (สมัยวิสามัญ) วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน 2552 เรื่องด่วน ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 (คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) (พิจารณาต่อจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 2 (สมัยวิสามัญ) เป็นพิเศษ วันพุธที่ 17 มิถุนายน 2552)[20]
(2.2) ระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 1 (สมัยวิสามัญ) วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน 2552 เรื่องด่วน 1. พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552(คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) 2. ร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ พ.ศ. ....(คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) (เรื่องด่วนที่ 1-2 ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 2 ครั้งที่ 29 (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม 2552)[21]
(3) เรื่องด่วนในการประชุมวุฒิสภา
(3.1) ระเบียบวาระการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 1 (สมัยวิสามัญ) วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2552 เรื่องด่วน
1. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552 (คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ)
2. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2552
3. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. ... ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว...[22]
(3.2) ระเบียบวาระการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 15 (สมัยสามัญทั่วไป) วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม 2552 เรื่องด่วน
1. ร่างพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่...) พ.ศ....ผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว
2. ร่างพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฉบับที่...) พ.ศ.... ผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว...[23]
สรุป
เรื่องด่วน นับว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของสภาที่ใช้สำหรับแก้ไขปัญหาเหตุการณ์บ้านเมืองที่กะทันหัน หรือมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสถาบันต่างๆ ของประเทศชาติ โดยประชาชน สมาชิกรัฐสภา หรือคณะรัฐมนตรีสามารถขอยื่นญัตติเรื่องราวต่างๆ ต่อประธานสภาให้พิจารณาเป็นเรื่องด่วนเข้าระเบียบวาระการประชุมได้ เพื่อให้เกิดกระบวนการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมขณะนั้นได้อย่างทันท่วงที อย่างไรก็ตามอำนาจของประธานสภาในการพิจารณาญัตติต่างๆ ว่าเรื่องใดเป็นเรื่องด่วนหรือไม่นั้น อาจเกิดความไม่แน่นอนและอาจเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นกับสมาชิกที่เสนอญัตติแต่ละคน อันจะส่งผลกระทบต่อการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องอื่นๆ ของประธานสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนี้ยังอาจจะส่งผลให้ร่างพระราชบัญญัติและญัตติที่เสนอเข้ามาก่อนต้องค้างการพิจารณาด้วย ซึ่งประธานสภาต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และข้อบังคับการประชุมมาประกอบการพิจารณาญัตติต่างๆ อย่างเคร่งครัด
อ้างอิง
- ↑ คณิน บุญสุววรณ, ภาษาการเมืองในระบอบรัฐสภา. (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์) 2535, หน้า 257
- ↑ คณิน บุญสุวรรณ, ศัพท์รัฐสภา. (กรุงเทพฯ : พิพิธการพิมพ์) 2520, หน้า 277.
- ↑ จเร พันธุ์เปรื่อง, การประชุมสภาผู้แทนราษฎร : การจัดทำระเบียบวาระการประชุมและการดำเนินการประชุม. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง), 2540, หน้า 158
- ↑ เรื่องเดียวกัน, หน้า 156.
- ↑ เรื่องเดียวกัน, หน้า 158.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ข้อบังคับการประชุม. (กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร) 2551, หน้า 9.
- ↑ เรื่องเดียวกัน, หน้า 16.
- ↑ เรื่องเดียวกัน, หน้า 16.
- ↑ เรื่องเดียวกัน, หน้า 67.
- ↑ เรื่องเดียวกัน, หน้า 70-71.
- ↑ เรื่องเดียวกัน, หน้า 83.
- ↑ เรื่องเดียวกัน, หน้า 134.
- ↑ เรื่องเดียวกัน, หน้า 135.
- ↑ เรื่องเดียวกัน, หน้า 135.
- ↑ เรื่องเดียวกัน, หน้า 142.
- ↑ เรื่องเดียวกัน, หน้า 144.
- ↑ เรื่องเดียวกัน, หน้า 153.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. การประชุม, [Online]. Accessed 22 June 2009. Available from http://edoc.parliament.go.th/public/output/result.asp?hidDocID=501189
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. การประชุม, [Online]. Accessed 22 June 2009. Available from http://edoc.parliament.go.th/public/output/result.asp?hidDocID=493024
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. การประชุม, [Online]. Accessed 22 June 2009. Available from http://edoc.parliament.go.th/public/output/result.asp?hidDocID=502587
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. การประชุม, [Online]. Accessed 22 June 2009. Available from http://edoc.parliament.go.th/public/output/result.asp?hidDocID=502585
- ↑ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. การประชุม [Online]. Accessed 22 June 2009. Available from http://www.senate.go.th/agenda/bk_data/43-1.pdf
- ↑ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. การประชุม[Online]. Accessed 22 June 2009. Available from http://www.senate.go.th/agenda/bk_data/42-1.pdf
หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ
คณิน บุญสุววรณ. ภาษาการเมืองในระบอบรัฐสภา. (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์), 2535.
คณิน บุญสุวรรณ. ศัพท์รัฐสภา. (กรุงเทพฯ : พิพิธการพิมพ์), 2520.
คณิน บุญสุววรณ. สาระที่น่ารู้เกี่ยวกับการประชุมสภา. (กรุงเทพฯ : การเวก), 2521.
จเร พันธุ์เปรื่อง. การประชุมสภาผู้แทนราษฎร : การจัดทำระเบียบวาระการประชุมและการดำเนินการประชุม. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง), 2540.
นีรนันท์ สังข์โต. ตารางเปรียบเทียบข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในภาพรวม. (สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร), ม.ป.ป.
มังกร ชัยชนะดารา. วิธีดำเนินการประชุมแบบรัฐสภา. (กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช), 2520.
บรรณานุกรม
คณิน บุญสุววรณ. ภาษาการเมืองในระบอบรัฐสภา. (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์), 2535.
คณิน บุญสุวรรณ. ศัพท์รัฐสภา. (กรุงเทพฯ : พิพิธการพิมพ์), 2520.
จเร พันธุ์เปรื่อง. การประชุมสภาผู้แทนราษฎร : การจัดทำระเบียบวาระการประชุมและการดำเนินการประชุม. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง), 2540.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ข้อบังคับการประชุม. (กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร), 2551.