ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะกรรมการการเลือกตั้ง"
สร้างหน้าใหม่: '''กำลังดำเนินการ''' category:องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ |
| |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
''' | '''ผู้เรียบเรียง นารีลักษณ์ ศิริวรรณ''' | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง''' | |||
---- | |||
แต่เดิมการจัดการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของกองการเลือกตั้ง กรมการปกครอง กระทรวง มหาดไทย ต่อมาในการเลือกตั้งครั้งที่ ๑๖ เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐบาลของนายอานันท์ ปัณยารชุน ซึ่งรับผิดชอบดำเนินการเลือกตั้ง ได้ตระหนักถึงปัญหาการซื้อขายเสียงที่มีอยู่ทั่วไป จึงแต่งตั้ง “คณะกรรมการติดตามและสอดส่องดูแลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” หรือที่รู้จักกันในชื่อ องค์กรกลาง เป็นหน่วยงานอิสระไม่มีผลประโยชน์ใด ๆ กับการเลือกตั้ง ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจถึงความสำคัญของการเลือกตั้ง และตรวจสอบการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรม | |||
ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๘ มาตรา ๑๑๕ ได้บัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้มีคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ เพื่อกำกับดูแลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้บริสุทธิ์ยุติธรรม คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ พิธีการแต่งตั้ง และการให้กรรมการการเลือกตั้งจากตำแหน่งให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ | |||
ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้บัญญัติให้จัดตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งขึ้นเป็นองค์กรอิสระ และกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัด หรือจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม <ref>คณิน บุญสุวรรณ, '''ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทยฉบับสมบูรณ์,''' กรุงเทพฯ : บริษัทตถาตา พับลิเคชั่น, ๒๕๔๘, หน้า ๑๕ – ๑๖.</ref> | |||
==คณะกรรมการการเลือกตั้ง== | |||
คณะกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๓๖ ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกสี่คน รวมเป็นห้าคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฬิสภา โดยคณะกรรมการสรรหาและที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเสนอชื่อรวมสิบคนให้วุฒิสภาลงมติเลือกเหลือห้าคน และทั้งห้าคนทำการประชุมเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการการเลือกตั้ง แล้วประธานวุฒิสภาก็นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งและเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการด้วย<ref>คณิน บุญสุวรรณ, ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทยฉบับสมบูรณ์, กรุงเทพฯ : บริษัทตถาตา พับลิเคชั่น, ๒๕๔๘, หน้า ๑๕.</ref> | |||
==ขั้นตอนการได้มาซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง== | |||
ให้ดำเนินการดังนี้<ref>โคทม อารียา, '''สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๕๔๐).''' คณะกรรมการการเลือกตั้ง, กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา, ๒๕๔๔, หน้า ๙ – ๒๕.</ref> | |||
(๑) ให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้ง จำนวน ๑๐ คน ซึ่งประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลทุกแห่งซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ ๔ คน ผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรพรรคละ ๑ คน ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ ๔ คน ทำหน้าที่พิจารณาสรรหาผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๓๗ ซึ่งสมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้ง จำนวน ๕ คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น มติในการเสนอชื่อดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการสรรหาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ | |||
(๒) ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาสรรหาผู้สัมครเป็นกรรมการการเลือกตั้งจำนวน ๕ คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น | |||
(๓) การเสนอชื่อตาม (๑) และ (๒) ให้กระทำภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่มีเหตุที่ทำให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ในกรณีที่คณะกรรมการสรรหาตาม (๑) ไม่อาจเสนอชื่อได้ภายในเวลาที่กำหนด หรือไม่อาจเสนอชื่อได้ครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนด ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาเสนอชื่อแทนจนครบจำนวนภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ครบกำหนดต้องเสนอชื่อตาม (๑) | |||
(๔) ให้ประธานวุฒิสภาเรียกประชุมวุฒิสภา เพื่อมีมติเลือกผู้ได้รับการเสนอชื่อตาม (๑) (๒) และ (๓) ซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ ในการนี้ ให้ห้าคนแรกซึ่งได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา เป็นผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการการเลือกตั้ง แต่ถ้าจำนวนผู้ได้รับเลือกดังกล่าวมีไม่ครบ ๕ คน ให้นำรายชื่อผู้ไม่ได้รับเลือกในคราวแรกนั้นมาให้สมาชิกวุฒิสภาออกเสียงลงคะแนนเลือกอีกครั้งหนึ่งต่อเนื่องกันไป และในกรณีนี้ให้ถือว่าผู้ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเรียงลงไปตามลำดับจนครบห้าคน เป็นผู้ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการการเลือกตั้ง ในครั้งนี้ถ้ามีผู้ได้คะแนนเสียงเท่ากันในลำดับใด อันเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับเลือกเกินห้าคน ให้ประธานวุฒิสภาจับสลากว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือก | |||
(๕) ให้ผู้ได้รับเลือกตาม (๔) ประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการการเลือกตั้ง และแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบ และให้ประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป | |||
==คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการการเลือกตั้ง== | |||
'''กรรมการการเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้''' | |||
(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด | |||
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ในวันเสนอชื่อ | |||
(๓) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า | |||
'''กรรมการการเลือกตั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้''' | |||
(๑) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ | |||
(๒) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรค หรือนักบวช | |||
(๓) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย | |||
(๔) อยู่ในระหว่างถูกเพิกเฉยถอนสิทธิเลือกตั้ง | |||
(๕) ติดยาเสพติดให้โทษ | |||
(๖) เป็นบุคคลล้มละลายที่ศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี | |||
(๗) เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันได้รับการเสนอเชื่อโดยคณะกรรมการสรรหา เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท | |||
(๘) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่าการกระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ | |||
(๙) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ | |||
(๑๐) อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา ๒๙๕ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย | |||
(๑๑) เคยถูกวุฒิสภามีมติตามมาตรา ๓๐๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งและยังไม่พ้นกำหนดห้าปี นับแต่วันที่วุฒิสภามีมติจนถึงวันที่ได้รับการเสนอชื่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง | |||
(๑๒) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น | |||
(๑๓) เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมืองไทยในระยะห้าปี | |||
(๑๔) เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลากการศาลปกครอง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน | |||
==อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง== | |||
คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ | |||
(๑) ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติตามที่กำหนดให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม | |||
(๒) ออกประกาศกำหนดการทั้งหลายอันจำเป็นแก่การปฏิบัติตามกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง | |||
(๓) มีคำสั่งให้ข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงาน หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือข้าราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ปฏิบัติการทั้งหลายอันจำเป็นตามกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง | |||
(๔) ออกข้อกำหนดเป็นแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งหรือการอกเสียงประชามติ | |||
(๕) สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริง และวินิจฉัยชี้ขาดปัญหา หรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นตามกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง | |||
(๖) สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือออกเสียงประชามติใหม่ในหน่วยเลือกตั้งใดหน่วยเลือกตั้งหนึ่ง หรือทุกหน่วยเลือกตั้ง เมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งหรือการออกเสียงประชามติในหน่วยเลือกตั้งนั้น ๆ มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม | |||
(๗) ดำเนินการหรือประสานงานกับหน่วยราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือสนับสนุนองค์การเอกชนในการให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข | |||
(๘) ประกาศผลการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ | |||
(๙) จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีและข้อสังเกตเสนอต่อรัฐสภา | |||
(๑๐) ดำเนินการอื่นตามกฎหมายบัญญัติ | |||
กรรมการการเลือกตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่งเจ็ดปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว กรรมการการเลือกตั้งซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการการเลือกตั้งซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่กรรมการการเลือกตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา | |||
==วาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง== | |||
'''คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดแรก'''<ref>สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, '''คณะกรรมการการเลือกตั้ง,''' (ระบบออนไลน์) http://www.ect.go.th/newweb/th/ect (สืบค้น ณ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒)</ref> | |||
วาระการดำรงตำแหน่ง ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ – ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๔ | |||
{| | |||
|- | |||
|๑. | |||
|นายธีรศักดิ์ กรรณสูต | |||
|ประธานกรรมการการเลือกตั้ง | |||
|- | |||
|๒. | |||
|นายโคทม อารียา | |||
|กรรมการการเลือกตั้ง | |||
|- | |||
|๓. | |||
|นายยุวรัตน์ กมลเวชช | |||
|กรรมการการเลือกตั้ง | |||
|- | |||
|๔. | |||
|นายจิระ บุญพจนสุนทร | |||
|กรรมการการเลือกตั้ง (แทนนายวิสุทธิ์ โพธิแท่น) | |||
|- | |||
|๕. | |||
|นายสวัสดิ์ โชติพานิช | |||
|กรรมการการเลือกตั้ง | |||
|} | |||
'''คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดที่สอง''' | |||
(วาระการดำรงตำแหน่ง ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๔ – ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๕) | |||
{| | |||
|- | |||
|๑. | |||
|พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ | |||
|ประธานกรรมการการเลือกตั้ง | |||
|- | |||
|๒. | |||
|นายจรัล บูรณพันธุ์ศรี | |||
|กรรมการการเลือกตั้ง เสียชีวิตเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๘) | |||
|- | |||
|๓. | |||
|พลเอกจารุภัทร เรืองสุวรรณ | |||
|กรรมการการเลือกตั้ง(แทนพลเอกศิรินทร์ ธูปกล่ำ ที่พ้นจากตำแหน่งตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ) | |||
|- | |||
|๔. | |||
|นายวีระชัย แนวบุญเนียร | |||
|กรรมการการเลือกตั้ง | |||
|- | |||
|๕. | |||
|นายปริญญา นาคฉัตรีย์ | |||
|กรรมการการเลือกตั้ง | |||
|} | |||
ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ศาลอาญาได้ตัดสินตามคำฟ้องของโจทย์ คือ นายถาวร เสนเนียม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยการเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคไทยรักไทย ตามมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ มีโทษตามมาตรา ๔๒ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน (ไม่ได้ลงโทษตามมาตรา ๑๕๗ แห่งประมวลกฎหมายอาญา) ศาลได้มีคำตัดสินว่าให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ๓ คน ได้แก่ พลเอกวาสนา เพิ่มลาภ นายปริญญา นาคฉัตรีย์ และนายวีระชัย แนวบุญเนียร ต้องคำพิพากษาศาลอาญา ให้จำคุก ๔ ปี โดยไม่รอลงอาญา ส่งผลให้ต้องพ้นจากตำแหน่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ | |||
'''คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดที่สาม''' | |||
(วาระการดำรงตำแหน่ง ๒๐ กันยายน ๒๕๔๙ – ปัจจุบัน) | |||
{| | |||
|- | |||
|๑. | |||
|นายอภิชาติ สุชัคคานนท์ | |||
|ประธานกรรมการการเลือกตั้ง | |||
|- | |||
|๒. | |||
|นายประพันธ์ นัยโกวิท | |||
|กรรมการการเลือกตั้ง | |||
|- | |||
|๓. | |||
|นางสดศรี สัตยธรรม | |||
|กรรมการการเลือกตั้ง | |||
|- | |||
|๔. | |||
|นายสมชัย จึงประเสริฐ | |||
|กรรมการการเลือกตั้ง | |||
|- | |||
|๕. | |||
|นายสุเมธ อุปนิสากร | |||
|กรรมการการเลือกตั้ง | |||
|} | |||
ต่อมานายสุเมธ ได้หมดวาระไปเพราะอายุครบ ๗๐ ปี เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ในวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติคัดเลือกนายวิสุทธิ์ โพธิ์แท่น ดำรงตำแหน่งแทน | |||
==อ้างอิง== | |||
<references/> | |||
==บรรณานุกรม== | |||
คณิน บุญสุวรรณ, (๒๕๔๘) '''“ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทยฉบับสมบูรณ์”.''' กรุงเทพฯ : บริษัทตถาตา พับลิเคชั่น, หน้า ๑๕ – ๑๖. | |||
โคทม อารียา, (๒๕๔๔) '''“สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๕๔๐)”.''' คณะกรรมการการเลือกตั้ง, กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา, หน้า ๙ – ๒๕. | |||
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, (๒๕๔๗) '''“รัฐสภาไทย ปี ๒๕๔๓ – ๒๕๔๗ (หมวดองค์กรอิสระ)”.''' กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หน้า ๑ – ๔. | |||
'''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐.''' (หมวด ๖ รัฐสภา ส่วนที่ ๒ คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา ๑๓๖ – ๑๔๗) | |||
'''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐.''' (หมวด ๑๑ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ ๑ คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา ๒๒๙ – ๒๓๖) | |||
'''ระบบออนไลน์''' | |||
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, '''“คณะกรรมการการเลือกตั้ง”.''' (ระบบออนไลน์) | |||
http://www.ect.go.th/newweb/th/ect (สืบค้น ณ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒) | |||
สถาบันนโยบายศึกษา, '''“ติดตามประชาธิปไตย.”''' (ระบบออนไลน์) http://www.fpps.or.th/news-printversion.phd.news (สืบค้น ณ วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๒) | |||
==เอกสารแนะนำให้อ่านต่อ== | |||
กองบรรณาธิการ คุณธัม วศินเกษม, (๒๕๔๕) '''“องค์กรอิสระของประเทศไทยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง”.''' นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า. | |||
สถาบันพระปกเกล้า, (๒๕๔๕) '''“คณะกรรมการการเลือกตั้งกับการใช้อำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง”.''' เอกสารวิชาการส่วนบุคคล (หลักสูตรการบริหารงานภาครัฐ และกฎหมายมหาชน) รุ่นที่ ๓ (๒๕๔๒). | |||
[[category:ความรู้เกี่ยวกับรัฐสภาไทย]] | |||
[[category:องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ]] | [[category:องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:38, 17 กรกฎาคม 2552
ผู้เรียบเรียง นารีลักษณ์ ศิริวรรณ
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง
แต่เดิมการจัดการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของกองการเลือกตั้ง กรมการปกครอง กระทรวง มหาดไทย ต่อมาในการเลือกตั้งครั้งที่ ๑๖ เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐบาลของนายอานันท์ ปัณยารชุน ซึ่งรับผิดชอบดำเนินการเลือกตั้ง ได้ตระหนักถึงปัญหาการซื้อขายเสียงที่มีอยู่ทั่วไป จึงแต่งตั้ง “คณะกรรมการติดตามและสอดส่องดูแลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” หรือที่รู้จักกันในชื่อ องค์กรกลาง เป็นหน่วยงานอิสระไม่มีผลประโยชน์ใด ๆ กับการเลือกตั้ง ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจถึงความสำคัญของการเลือกตั้ง และตรวจสอบการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรม
ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๘ มาตรา ๑๑๕ ได้บัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้มีคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ เพื่อกำกับดูแลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้บริสุทธิ์ยุติธรรม คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ พิธีการแต่งตั้ง และการให้กรรมการการเลือกตั้งจากตำแหน่งให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้บัญญัติให้จัดตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งขึ้นเป็นองค์กรอิสระ และกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัด หรือจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม [1]
คณะกรรมการการเลือกตั้ง
คณะกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๓๖ ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกสี่คน รวมเป็นห้าคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฬิสภา โดยคณะกรรมการสรรหาและที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเสนอชื่อรวมสิบคนให้วุฒิสภาลงมติเลือกเหลือห้าคน และทั้งห้าคนทำการประชุมเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการการเลือกตั้ง แล้วประธานวุฒิสภาก็นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งและเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการด้วย[2]
ขั้นตอนการได้มาซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ให้ดำเนินการดังนี้[3]
(๑) ให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้ง จำนวน ๑๐ คน ซึ่งประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลทุกแห่งซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ ๔ คน ผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรพรรคละ ๑ คน ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ ๔ คน ทำหน้าที่พิจารณาสรรหาผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๓๗ ซึ่งสมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้ง จำนวน ๕ คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น มติในการเสนอชื่อดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการสรรหาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
(๒) ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาสรรหาผู้สัมครเป็นกรรมการการเลือกตั้งจำนวน ๕ คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น
(๓) การเสนอชื่อตาม (๑) และ (๒) ให้กระทำภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่มีเหตุที่ทำให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ในกรณีที่คณะกรรมการสรรหาตาม (๑) ไม่อาจเสนอชื่อได้ภายในเวลาที่กำหนด หรือไม่อาจเสนอชื่อได้ครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนด ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาเสนอชื่อแทนจนครบจำนวนภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ครบกำหนดต้องเสนอชื่อตาม (๑)
(๔) ให้ประธานวุฒิสภาเรียกประชุมวุฒิสภา เพื่อมีมติเลือกผู้ได้รับการเสนอชื่อตาม (๑) (๒) และ (๓) ซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ ในการนี้ ให้ห้าคนแรกซึ่งได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา เป็นผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการการเลือกตั้ง แต่ถ้าจำนวนผู้ได้รับเลือกดังกล่าวมีไม่ครบ ๕ คน ให้นำรายชื่อผู้ไม่ได้รับเลือกในคราวแรกนั้นมาให้สมาชิกวุฒิสภาออกเสียงลงคะแนนเลือกอีกครั้งหนึ่งต่อเนื่องกันไป และในกรณีนี้ให้ถือว่าผู้ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเรียงลงไปตามลำดับจนครบห้าคน เป็นผู้ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการการเลือกตั้ง ในครั้งนี้ถ้ามีผู้ได้คะแนนเสียงเท่ากันในลำดับใด อันเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับเลือกเกินห้าคน ให้ประธานวุฒิสภาจับสลากว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือก
(๕) ให้ผู้ได้รับเลือกตาม (๔) ประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการการเลือกตั้ง และแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบ และให้ประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการการเลือกตั้ง
กรรมการการเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ในวันเสนอชื่อ
(๓) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
กรรมการการเลือกตั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(๒) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรค หรือนักบวช
(๓) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
(๔) อยู่ในระหว่างถูกเพิกเฉยถอนสิทธิเลือกตั้ง
(๕) ติดยาเสพติดให้โทษ
(๖) เป็นบุคคลล้มละลายที่ศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี
(๗) เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันได้รับการเสนอเชื่อโดยคณะกรรมการสรรหา เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
(๘) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่าการกระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ
(๙) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
(๑๐) อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา ๒๙๕ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย
(๑๑) เคยถูกวุฒิสภามีมติตามมาตรา ๓๐๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งและยังไม่พ้นกำหนดห้าปี นับแต่วันที่วุฒิสภามีมติจนถึงวันที่ได้รับการเสนอชื่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(๑๒) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๑๓) เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมืองไทยในระยะห้าปี
(๑๔) เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลากการศาลปกครอง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติตามที่กำหนดให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
(๒) ออกประกาศกำหนดการทั้งหลายอันจำเป็นแก่การปฏิบัติตามกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง
(๓) มีคำสั่งให้ข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงาน หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือข้าราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ปฏิบัติการทั้งหลายอันจำเป็นตามกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง
(๔) ออกข้อกำหนดเป็นแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งหรือการอกเสียงประชามติ
(๕) สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริง และวินิจฉัยชี้ขาดปัญหา หรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นตามกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง
(๖) สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือออกเสียงประชามติใหม่ในหน่วยเลือกตั้งใดหน่วยเลือกตั้งหนึ่ง หรือทุกหน่วยเลือกตั้ง เมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งหรือการออกเสียงประชามติในหน่วยเลือกตั้งนั้น ๆ มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
(๗) ดำเนินการหรือประสานงานกับหน่วยราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือสนับสนุนองค์การเอกชนในการให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๘) ประกาศผลการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ
(๙) จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีและข้อสังเกตเสนอต่อรัฐสภา
(๑๐) ดำเนินการอื่นตามกฎหมายบัญญัติ
กรรมการการเลือกตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่งเจ็ดปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว กรรมการการเลือกตั้งซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการการเลือกตั้งซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่กรรมการการเลือกตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
วาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดแรก[4]
วาระการดำรงตำแหน่ง ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ – ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๔
๑. | นายธีรศักดิ์ กรรณสูต | ประธานกรรมการการเลือกตั้ง |
๒. | นายโคทม อารียา | กรรมการการเลือกตั้ง |
๓. | นายยุวรัตน์ กมลเวชช | กรรมการการเลือกตั้ง |
๔. | นายจิระ บุญพจนสุนทร | กรรมการการเลือกตั้ง (แทนนายวิสุทธิ์ โพธิแท่น) |
๕. | นายสวัสดิ์ โชติพานิช | กรรมการการเลือกตั้ง |
คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดที่สอง
(วาระการดำรงตำแหน่ง ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๔ – ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๕)
๑. | พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ | ประธานกรรมการการเลือกตั้ง |
๒. | นายจรัล บูรณพันธุ์ศรี | กรรมการการเลือกตั้ง เสียชีวิตเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๘) |
๓. | พลเอกจารุภัทร เรืองสุวรรณ | กรรมการการเลือกตั้ง(แทนพลเอกศิรินทร์ ธูปกล่ำ ที่พ้นจากตำแหน่งตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ) |
๔. | นายวีระชัย แนวบุญเนียร | กรรมการการเลือกตั้ง |
๕. | นายปริญญา นาคฉัตรีย์ | กรรมการการเลือกตั้ง |
ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ศาลอาญาได้ตัดสินตามคำฟ้องของโจทย์ คือ นายถาวร เสนเนียม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยการเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคไทยรักไทย ตามมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ มีโทษตามมาตรา ๔๒ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน (ไม่ได้ลงโทษตามมาตรา ๑๕๗ แห่งประมวลกฎหมายอาญา) ศาลได้มีคำตัดสินว่าให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ๓ คน ได้แก่ พลเอกวาสนา เพิ่มลาภ นายปริญญา นาคฉัตรีย์ และนายวีระชัย แนวบุญเนียร ต้องคำพิพากษาศาลอาญา ให้จำคุก ๔ ปี โดยไม่รอลงอาญา ส่งผลให้ต้องพ้นจากตำแหน่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ
คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดที่สาม
(วาระการดำรงตำแหน่ง ๒๐ กันยายน ๒๕๔๙ – ปัจจุบัน)
๑. | นายอภิชาติ สุชัคคานนท์ | ประธานกรรมการการเลือกตั้ง |
๒. | นายประพันธ์ นัยโกวิท | กรรมการการเลือกตั้ง |
๓. | นางสดศรี สัตยธรรม | กรรมการการเลือกตั้ง |
๔. | นายสมชัย จึงประเสริฐ | กรรมการการเลือกตั้ง |
๕. | นายสุเมธ อุปนิสากร | กรรมการการเลือกตั้ง |
ต่อมานายสุเมธ ได้หมดวาระไปเพราะอายุครบ ๗๐ ปี เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ในวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติคัดเลือกนายวิสุทธิ์ โพธิ์แท่น ดำรงตำแหน่งแทน
อ้างอิง
- ↑ คณิน บุญสุวรรณ, ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทยฉบับสมบูรณ์, กรุงเทพฯ : บริษัทตถาตา พับลิเคชั่น, ๒๕๔๘, หน้า ๑๕ – ๑๖.
- ↑ คณิน บุญสุวรรณ, ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทยฉบับสมบูรณ์, กรุงเทพฯ : บริษัทตถาตา พับลิเคชั่น, ๒๕๔๘, หน้า ๑๕.
- ↑ โคทม อารียา, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๕๔๐). คณะกรรมการการเลือกตั้ง, กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา, ๒๕๔๔, หน้า ๙ – ๒๕.
- ↑ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, คณะกรรมการการเลือกตั้ง, (ระบบออนไลน์) http://www.ect.go.th/newweb/th/ect (สืบค้น ณ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒)
บรรณานุกรม
คณิน บุญสุวรรณ, (๒๕๔๘) “ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทยฉบับสมบูรณ์”. กรุงเทพฯ : บริษัทตถาตา พับลิเคชั่น, หน้า ๑๕ – ๑๖.
โคทม อารียา, (๒๕๔๔) “สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๕๔๐)”. คณะกรรมการการเลือกตั้ง, กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา, หน้า ๙ – ๒๕.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, (๒๕๔๗) “รัฐสภาไทย ปี ๒๕๔๓ – ๒๕๔๗ (หมวดองค์กรอิสระ)”. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หน้า ๑ – ๔.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐. (หมวด ๖ รัฐสภา ส่วนที่ ๒ คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา ๑๓๖ – ๑๔๗)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐. (หมวด ๑๑ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ ๑ คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา ๒๒๙ – ๒๓๖)
ระบบออนไลน์
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, “คณะกรรมการการเลือกตั้ง”. (ระบบออนไลน์) http://www.ect.go.th/newweb/th/ect (สืบค้น ณ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒)
สถาบันนโยบายศึกษา, “ติดตามประชาธิปไตย.” (ระบบออนไลน์) http://www.fpps.or.th/news-printversion.phd.news (สืบค้น ณ วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๒)
เอกสารแนะนำให้อ่านต่อ
กองบรรณาธิการ คุณธัม วศินเกษม, (๒๕๔๕) “องค์กรอิสระของประเทศไทยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง”. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า.
สถาบันพระปกเกล้า, (๒๕๔๕) “คณะกรรมการการเลือกตั้งกับการใช้อำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง”. เอกสารวิชาการส่วนบุคคล (หลักสูตรการบริหารงานภาครัฐ และกฎหมายมหาชน) รุ่นที่ ๓ (๒๕๔๒).