ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรคใหม่"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 12: | บรรทัดที่ 12: | ||
| | ||
<p style="text-align: center;">'''ภาพ''' ''':''' ตราสัญลักษณ์ของพรรคใหม่</p> | <p style="text-align: center;">'''ภาพ''' ''':''' ตราสัญลักษณ์ของพรรคใหม่</p> | ||
[[File:NEW PARTY (1).png|center| | [[File:NEW PARTY (1).png|center|350px|NEW PARTY (1).png]] | ||
นอกจากนี้แล้ว พรรคใหม่ยังได้ประกาศอุดมการณ์ของพรรค ซึ่งมีเนื้อหาหลัก 6 ประการ ได้แก่ | นอกจากนี้แล้ว พรรคใหม่ยังได้ประกาศอุดมการณ์ของพรรค ซึ่งมีเนื้อหาหลัก 6 ประการ ได้แก่ | ||
บรรทัดที่ 38: | บรรทัดที่ 38: | ||
{| align="center" border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="width: 400px; height: 200px;" | {| align="center" border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="width: 400px; height: 200px;" | ||
|- | |- | ||
| [[File:NEW PARTY (2).jpg|center| | | [[File:NEW PARTY (2).jpg|center|500px|NEW PARTY (2).jpg]] | ||
| [[File:NEW PARTY (3).jpg|center| | | [[File:NEW PARTY (3).jpg|center|500px|NEW PARTY (3).jpg]] | ||
|} | |} | ||
บรรทัดที่ 146: | บรรทัดที่ 146: | ||
{| align="center" border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="width: 300px;" | {| align="center" border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="width: 300px;" | ||
|- | |- | ||
| [[File:NEW PARTY (4).png|center|300px]] | | [[File:NEW PARTY (4).png|center|300px|NEW PARTY (4).png]] | ||
|} | |} | ||
รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:48, 8 กันยายน 2566
ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุทธิกานต์ มีจั่น
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ
พรรคใหม่ (ม.) และใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า NEW PARTY (NZ) ได้รับการประกาศจัดตั้งเมื่อ วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 76/61 หมู่ 1 ซอยท่ออิฐ ถนนราชพฤกษ์ ปากเกร็ด จ.นนทบุรี มีนายกฤดิทัช แสงธนโยธิน เป็นหัวหน้าพรรค และมีนายสุปรีย์ แสงสว่าง เป็นเลขาธิการพรรค โดยนายกฤดิทัช แสงธนโยธิน หรือ “ทนายวุฒิ” เคยทำงานการเมืองโดยลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 27 สังกัดพรรคไทยศรีวิไลย์ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
พรรคใหม่ ใช้ตราสัญลักษณ์เป็นเครื่องหมายรูปกําปั้น มีสีน้ำเงิน สีขาว และสีแดงมีตัวอักษรสีขาวชื่อพรรคเป็นภาษาไทยว่า “พรรคใหม่” อยู่ในพื้นสีแดงสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีตัวอักษรชื่อพรรคเป็นภาษาอังกฤษว่า “NEW” อยู่ภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินเป็นพื้นหลัง โดยมีการให้ความหมายว่า สีน้ำเงิน หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นเสาหลักหนึ่งในสามของสถาบันชาติไทยที่ประชาชนเทิดทูนไว้ในฐานะเป็นพระประมุขศูนย์รวมแห่งจิตใจของชาติไทย สีขาว หมายถึง ศาสนา ที่ประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ต่างมีอิสระในการนับถือศาสนา ตามหลักความเชื่อของตน ส่วนสีแดง หมายถึง ความเป็นชาติไทยที่ประกอบไปด้วยประชาชนทุกหมู่เหล่าทุกสาขาอาชีพที่รวมกันเป็นชาติไทย การใช้สัญลักษณ์นี้ หมายถึง การรวมชาติไทยไว้โดยมีสามสถาบันหลักของชาติ ประชาชนทุกหมู่เหล่ารวมกันเป็นหนึ่งเดียวเป็นพลังอันบริสุทธิ์ร่วมแรงร่วมใจกันลุกขึ้นสู้ เพื่อผลักดันการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงให้ประเทศชาติมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนคนในชาติไทยอย่างเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย[1]
ภาพ : ตราสัญลักษณ์ของพรรคใหม่

นอกจากนี้แล้ว พรรคใหม่ยังได้ประกาศอุดมการณ์ของพรรค ซึ่งมีเนื้อหาหลัก 6 ประการ ได้แก่
(1) เทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ให้เป็นเสาหลักของชาติไทยสืบไป
(2) ยึดมั่นระบบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(3) สร้างพรรคการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของพรรคการเมืองอย่างแท้จริง
(4) มุ่งมั่นปฏิรูปเปลี่ยนแปลงประเทศชาติไปสู่ความยั่งยืนในทุกด้าน
(5) รักและเทิดทูนความเป็นชาติไทยให้ดํารงคงอยู่สืบต่อไป
(6) น้อมนําเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และศาสตร์พระราชาเป็นหลักชัยในการพัฒนาประเทศ
(7) มุ่งมั่นสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ประเทศไทย
ทั้งนี้ ยังรวมถึงนโยบายพรรคด้านต่าง ๆ ที่ครอบคลุมทั้งนโยบายด้านการเมือง ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ด้านการศึกษาและสังคม ด้านการเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณสุข ด้านพลังงานและระบบการคมนาคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านแรงงานและสวัสดิการสังคม ด้านสื่อสารมวลชนเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนด้านอื่น ๆ ได้แก่ การแก้ปัญหายาเสพติด และแก้ปัญหาความไม่สงบภายในประเทศ
ภาพ : งานเปิดตัวและสื่อหาเสียงของพรรคใหม่[2]
![]() |
![]() |
พรรคใหม่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2566 พรรคใหม่จับสลากได้ หมายเลข 1 โดยส่งผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต จำนวน 4 คน ในจังหวัดกำแพงเพชร เขต 3 และเขต 4 รวมทั้งในจังหวัดนครนายก เขต 1 และ เขต 2 รวมทั้งผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 10 คน โดยไม่มีการเสนอรายชื่อนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้การจับได้ หมายเลข 1 ทำให้พรรคใหม่มีความคาดหวังว่าจะได้รับคะแนนเสียงเป็นที่น่าพอใจเนื่องจากจดจำง่ายและอาจได้รับการลงคะแนนที่เกิดจากความไม่ตั้งใจของผู้ลงคะแนนที่จำหมายเลขของพรรคที่ตนเองต้องการไม่ได้[3]
ในการเลือกตั้ง พรรคใหม่ใช้คำขวัญในการหาเสียงว่า “กล้าทำ กล้าพูด กล้าลุย ล้างบางทุจริต ทุจริตต้องประหาร และ ปฏิรูปราชการ” โดยมีนโยบายที่พรรคใหม่ได้นำเสนอในการหาเสียงที่สำคัญ ได้แก่
(1) ล้างบางทุจริต ประเทศไทยโปร่งใส ตรวจสอบได้ ทุจริตเท่ากับประหาร
(2) ปฏิรูปราชการ ตรวจสอบหน่วยราชการ ข้าราชการต้องพร้อมดูแล และบริการประชาชนอย่างดี
(3) ยกเลิกเครดิตบูโร เศรษฐกิจประเทศเติบโตขึ้น ลดปัญหาหนี้สิน ประชาชนมีวินัยทางการเงิน
(4) คืนความเป็นธรรมให้สังคม จัดสรรที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย ค่ารักษาพยาบาล สวัสดิการที่ดีแก่ประชาชน
(5) กองทุนวัยรุ่นสร้างตัว เพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าการเกษตรของไทย
(6) ยกระดับการศึกษา เสมอภาค เท่าทัน หลากหลาย สื่อสารได้ ลดภาระ เพิ่มเงินเดือนครู มีคุณภาพ[4]
อย่างไรก็ดี ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคใหม่ไม่ได้รับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต ในขณะที่พรรคใหม่ได้รับคะแนนในระบบบัญชีรายชื่อ รวม 246,177 คะแนน หรือคิดเป็น ร้อยละ 0.63[5] ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ 1 ที่นั่ง ได้แก่ นายกฤดิทัช แสงธนโยธิน ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคใหม่
ตาราง : แสดงผลคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต สังกัดพรรคใหม่
ชื่อ-สกุลผู้สมัคร |
จังหวัด |
เขตเลือกตั้ง |
คะแนนที่ได้รับ (ร้อยละ) |
นางสาวพิชญา ตันประเสริฐ |
นครนายก |
เขต 1 |
289 (0.34) |
นายปรีชา คล่องจิตร์ |
นครนายก |
เขต 2 |
186 (0.21) |
นายธวัชชัย อาบทอง |
กำแพงเพชร |
เขต 3 |
513 (0.54) |
นายรุ่งเจริญ โชติมั่ง |
กำแพงเพชร |
เขต 4 |
164 (0.17) |
พรรคใหม่กับการถอนตัวร่วมรัฐบาลกับพรรคก้าวไกล
หลังจากการประกาศผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ "พรรคใหม่" เป็นหนึ่งในพรรคการเมืองที่พรรคก้าวไกลในฐานะแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลผสมทาบทามเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาล เพื่อทำให้ตัวเลขสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคแนวร่วมจัดตั้งรัฐบาลเพิ่มขึ้นเป็น 314 เสียง[6] เพื่อรวบรวมเสียงในการเข้าสู่กระบวนการสรรหานายกรัฐมนตรี แม้ว่าใน วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 พรรคใหม่ ได้ตอบรับร่วมรัฐบาลและสนับสนุน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี และแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลอย่างไม่มีเงื่อนไข เพื่อทำงานให้ประสบผล เพื่อ 1 เสียง ที่ประชาชนสนับสนุนพรรคใหม่ ตลอดจนการตอบรับภายใต้ความเห็นว่านโยบายของพรรคใหม่กับพรรคก้าวไกลมีความใกล้เคียงกัน ยกเว้นนโยบายเดียวที่เห็นต่างคือ มาตรา 112
ภาพ : แสดงแถลงการณ์พรรคใหม่ กรณีมาตรา 112[7]
![]() |
อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมาพรรคใหม่ได้ประกาศถอนตัวจากการเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคก้าวไกล เนื่องจากเกิดกระแสต่อต้านจากกลุ่มผู้สนับสนุนพรรคก้าวไกลในสื่อสังคมออนไลน์ เกิดอีกแฮชแท็ก #กูไม่เอาพรรคใหม่ ตั้งข้อสังเกตถึงจุดยืนแกนนำพรรคใหม่ เนื่องจากพบว่ามีคณะกรรมการบริหารพรรคใหม่บางคนเคยมีการเผยแพร่คลิปพูดถึงกรณียืนยันไม่แก้ไขและเพิ่มโทษในการกระทำผิดกฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย หรือกฎหมายอาญา มาตรา 112 แม้ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนตัว ซึ่งทางพรรคเองก็ไม่ได้เห็นด้วยก็ตาม[8] อย่างไรก็ตาม ในเวลานั้นหัวหน้าพรรคใหม่ยังยืนยันสนับสนุนพรรคก้าวไกลในการจัดตั้งรัฐบาล โดยจะยกมือเห็นชอบในการสนับสนุน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อให้เป็นไปตามกระบวนการของประชาธิปไตย[9]
อย่างไรก็ดี ในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งแรกใน วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 พรรคใหม่งดออกเสียงให้ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคก้าวไกลเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 3 ใน วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566 พรรคใหม่ได้ลงมติเห็นชอบเลือกผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย ได้แก่ นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี
อ้างอิง
[1] “ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคใหม่”, สืบค้นจาก https://ratchakitcha.soc.go.th/ documents/17216913.pdf (20 มิถุนายน 2566).
[2] “เปิดใจ ‘ทนายวุฒิ’ หัวหน้าพรรคใหม่ เบอร์ 1 ปาร์ตี้ลิสต์ เผย ‘เหมือนถูกหวยรางวัลที่ 1’”, สืบค้นจาก https://www.matichon.co. th/politics/news_3912709 (20 มิถุนายน 2566).
[3] “เปิดใจ ‘ทนายวุฒิ’ หัวหน้าพรรคใหม่ เบอร์ 1 ปาร์ตี้ลิสต์ เผย ‘เหมือนถูกหวยรางวัลที่ 1’”, สืบค้นจาก https://www.matichon.co. th/politics/news_3912709 (20 มิถุนายน 2566).
[4] “ใหม่”, สืบค้นจาก https://www.vote62.com/party/ใหม่/ (20 มิถุนายน 2566).
[5] “ผลการเลือกตั้งปี 2566 อย่างไม่เป็นทางการ”, สืบค้นจาก https://www2.ectreport.com/by-party (20 มิถุนายน 2566).
[6] “เลือกตั้ง2566 : รู้จัก "พรรคใหม่" เสียงที่ 314 ร่วมตั้งรัฐบาลก้าวไกล”, สืบค้นจาก https://www.thaipbs.or.th/news/ content/327977 (26 มิถุนายน 2566).
[7] “เลือกตั้ง 66 สรุปจัดตั้งรัฐบาล 313 เสียง 8 พรรค ไม่มี ‘ชาติพัฒนากล้า-พรรคใหม่’ ”, สืบค้นจาก https://workpointtoday.com/ election-form-a-government/ (26 มิถุนายน 2566).
[8] "พรรคใหม่” ถอนตัวร่วมรัฐบาลกับ "ก้าวไกล" หลังมีประเด็นในสื่อสังคมออนไลน์ กรณีกฎหมายอาญา ม.112 แต่ยืนยันจะยกมือโหวต "พิธา" เป็นนายกฯ”, สืบค้นจาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/328001 (26 มิถุนายน 2566).
[9] พรรคใหม่ ถอนร่วมรัฐบาล หลังมี #กูไม่เอาพรรคใหม่ แต่ยังโหวตให้ "พิธา" เป็นนายกฯ”, สืบค้นจาก https://www.sanook.com/ news/8852314/ (26 มิถุนายน 2566).