ผลต่างระหว่างรุ่นของ "The German Party of Democratic Socialism"
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง''' ''':''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิต..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 11: | บรรทัดที่ 11: | ||
ในปี ค.ศ. 2007 พรรค Party of Democratic Socialism ได้ตัดสินใจควบรวมพรรคกับพรรค The Electoral Alternative for Labour and Social Justice (พรรคทางเลือกสำหรับแรงงานและความยุติธรรมทางสังคม) หรือ WASG และก่อตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่ที่ชื่อว่า Die Linke หรือ The Left ในภาษาอังกฤษ[[#_ftn2|[2]]] | ในปี ค.ศ. 2007 พรรค Party of Democratic Socialism ได้ตัดสินใจควบรวมพรรคกับพรรค The Electoral Alternative for Labour and Social Justice (พรรคทางเลือกสำหรับแรงงานและความยุติธรรมทางสังคม) หรือ WASG และก่อตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่ที่ชื่อว่า Die Linke หรือ The Left ในภาษาอังกฤษ[[#_ftn2|[2]]] | ||
= <span style="font-size:x-large;">'''ที่มาและการก่อตั้ง'''</span> = | = <span style="font-size:x-large;">'''ที่มาและการก่อตั้ง'''</span> = | ||
บรรทัดที่ 21: | บรรทัดที่ 19: | ||
อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 1994 ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกพรรค PDS ในฝั่งตะวันออกนั้นมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเป็น 19.8% และในการเลือกตั้งระดับมลรัฐก็ได้คะแนนเสียงเพิ่มขึ้นในมลรัฐฝั่งตะวันออกที่เคยเป็นเขตแดนของเยอรมันตะวันออก[[#_ftn6|[6]]] โดยในการเลือกตั้งครั้งดังกล่าว PDS ได้เสียงในพื้นที่เบอร์ลินฝั่งตะวันออก เพิ่มขึ้นจากที่เคยได้ประมาณ 20% ในการเลือกตั้งเมื่อปี 1990 เป็นประมาณ 35% ขณะที่การเลือกตั้งในระดับชาติคะแนนเสียงของคนที่เลือกพรรค PDS เพิ่มขึ้นเป็น 4.4% ของผู้มาใช้สิทธิทั้งหมด[[#_ftn7|[7]]] | อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 1994 ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกพรรค PDS ในฝั่งตะวันออกนั้นมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเป็น 19.8% และในการเลือกตั้งระดับมลรัฐก็ได้คะแนนเสียงเพิ่มขึ้นในมลรัฐฝั่งตะวันออกที่เคยเป็นเขตแดนของเยอรมันตะวันออก[[#_ftn6|[6]]] โดยในการเลือกตั้งครั้งดังกล่าว PDS ได้เสียงในพื้นที่เบอร์ลินฝั่งตะวันออก เพิ่มขึ้นจากที่เคยได้ประมาณ 20% ในการเลือกตั้งเมื่อปี 1990 เป็นประมาณ 35% ขณะที่การเลือกตั้งในระดับชาติคะแนนเสียงของคนที่เลือกพรรค PDS เพิ่มขึ้นเป็น 4.4% ของผู้มาใช้สิทธิทั้งหมด[[#_ftn7|[7]]] | ||
= <span style="font-size:x-large;">'''การเลือกตั้งช่วง ค.ศ. 1998 - 2002'''</span> = | = <span style="font-size:x-large;">'''การเลือกตั้งช่วง ค.ศ. 1998 - 2002'''</span> = | ||
บรรทัดที่ 33: | บรรทัดที่ 29: | ||
ส่วนหนึ่งที่ทำให้พรรค PDS มีจำนวนผู้ลงคะแนนให้ลดลง เป็นเพราะ PDS มีท่าทีการหาเสียงที่ดูจะนิ่งเฉยมากขึ้น และไม่สามารถสร้างจุดแข็งเพื่อชักจูงให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมองเห็นว่าทำไมจึงควรเลือกพรรค PDS | ส่วนหนึ่งที่ทำให้พรรค PDS มีจำนวนผู้ลงคะแนนให้ลดลง เป็นเพราะ PDS มีท่าทีการหาเสียงที่ดูจะนิ่งเฉยมากขึ้น และไม่สามารถสร้างจุดแข็งเพื่อชักจูงให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมองเห็นว่าทำไมจึงควรเลือกพรรค PDS | ||
= <span style="font-size:x-large;">'''การเลือกตั้งเมื่อปี ค.ศ. 2005 และการรวมพรรค'''</span> = | = <span style="font-size:x-large;">'''การเลือกตั้งเมื่อปี ค.ศ. 2005 และการรวมพรรค'''</span> = | ||
บรรทัดที่ 46: | บรรทัดที่ 40: | ||
อย่างไรก็ตาม การควบรวมพรรคระหว่าง PDS และ WASG เป็นพรรค Die Linke ดูเหมือนจะทำให้พรรคการเมืองในชื่อใหม่นี้ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียงแค่ช่วงแรก ๆ เท่านั้น แต่ในการเลือกตั้งตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 เป็นต้นมา พรรค Die Linke ได้คะแนนนิยมรวมทั่วประเทศต่ำกว่า 10% มาโดยตลอด และยังไม่เคยมีโอกาสเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเลยแม้แต่ครั้งเดียว | อย่างไรก็ตาม การควบรวมพรรคระหว่าง PDS และ WASG เป็นพรรค Die Linke ดูเหมือนจะทำให้พรรคการเมืองในชื่อใหม่นี้ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียงแค่ช่วงแรก ๆ เท่านั้น แต่ในการเลือกตั้งตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 เป็นต้นมา พรรค Die Linke ได้คะแนนนิยมรวมทั่วประเทศต่ำกว่า 10% มาโดยตลอด และยังไม่เคยมีโอกาสเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเลยแม้แต่ครั้งเดียว | ||
| = <span style="font-size:x-large;">'''อุดมการณ์'''</span> = | ||
PDS เป็นพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายที่พัฒนามาจากพรรค SED ของเยอรมนีตะวันออก ทำให้ PDS มีรากฐานของความเป็นพรรคคอมมิวนิสต์และค่อนข้างแตกต่างจากพรรคการเมืองที่อยู่ในระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตยโดยทั่วไปพอสมควร หากแต่ในช่วงระยะเวลาหลังจากที่เยอรมนีได้มีการรวมประเทศกันและ SED ได้เปลี่ยนมาเป็นพรรค PDS นโยบายของพรรคก็ได้ลดความสุดโต่งลงไปค่อนข้างมาก และอุดมการณ์ในการโค่นล้ม[[ทุนนิยม]]ก็ลดกำลังลง[[#_ftn15|[15]]] และหันไปต่อต้านแนวคิดเสรีนิยมใหม่เป็นหลักแทน[[#_ftn16|[16]]] | PDS เป็นพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายที่พัฒนามาจากพรรค SED ของเยอรมนีตะวันออก ทำให้ PDS มีรากฐานของความเป็นพรรคคอมมิวนิสต์และค่อนข้างแตกต่างจากพรรคการเมืองที่อยู่ในระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตยโดยทั่วไปพอสมควร หากแต่ในช่วงระยะเวลาหลังจากที่เยอรมนีได้มีการรวมประเทศกันและ SED ได้เปลี่ยนมาเป็นพรรค PDS นโยบายของพรรคก็ได้ลดความสุดโต่งลงไปค่อนข้างมาก และอุดมการณ์ในการโค่นล้ม[[ทุนนิยม|ทุนนิยม]]ก็ลดกำลังลง[[#_ftn15|[15]]] และหันไปต่อต้านแนวคิดเสรีนิยมใหม่เป็นหลักแทน[[#_ftn16|[16]]] | ||
นอกจากอุดมการณ์ในทางเศรษฐกิจแบบฝ่ายซ้ายแล้ว ส่วนสำคัญที่ทำให้ PDS สามารถได้ที่นั่งในสภามาจากแนวคิดความเป็นตัวแทนของคนฝั่งตะวันออกซึ่งพัฒนาจากท่าทีและโวหารทางการเมืองที่ค่อนข้างมีลักษณะ[[ประชานิยม]] โดยการโจมตีพรรคการเมืองใหญ่อื่น ๆ เพราะว่าหลังจากการรวมชาติเยอรมัน ฝั่งตะวันออกได้ผจญกับปัญหาเรื่องของการที่ตัวเองด้อยพัฒนาทางเศรษฐกิจกว่าฝั่งตะวันตก ทำให้ PDS กลายเป็นพรรคตัวแทนของคนเยอรมันฝั่งตะวันออกด้วย[[#_ftn17|[17]]] อย่างไรก็ตาม เมื่อ PDS ได้ควบรวมพรรคกับ WASG เป็นพรรค Die Linke แล้ว ดูเหมือนว่าภาพลักษณ์การเป็นตัวแทนของคนฝั่งตะวันออกจะคลายลง และถูกแทนที่ด้วยภาพของการเป็นพรรคการเมืองแนวประชานิยมฝ่ายซ้าย (left-wing populist) ที่เด่นชัดมากขึ้น[[#_ftn18|[18]]] | นอกจากอุดมการณ์ในทางเศรษฐกิจแบบฝ่ายซ้ายแล้ว ส่วนสำคัญที่ทำให้ PDS สามารถได้ที่นั่งในสภามาจากแนวคิดความเป็นตัวแทนของคนฝั่งตะวันออกซึ่งพัฒนาจากท่าทีและโวหารทางการเมืองที่ค่อนข้างมีลักษณะ[[ประชานิยม|ประชานิยม]] โดยการโจมตีพรรคการเมืองใหญ่อื่น ๆ เพราะว่าหลังจากการรวมชาติเยอรมัน ฝั่งตะวันออกได้ผจญกับปัญหาเรื่องของการที่ตัวเองด้อยพัฒนาทางเศรษฐกิจกว่าฝั่งตะวันตก ทำให้ PDS กลายเป็นพรรคตัวแทนของคนเยอรมันฝั่งตะวันออกด้วย[[#_ftn17|[17]]] อย่างไรก็ตาม เมื่อ PDS ได้ควบรวมพรรคกับ WASG เป็นพรรค Die Linke แล้ว ดูเหมือนว่าภาพลักษณ์การเป็นตัวแทนของคนฝั่งตะวันออกจะคลายลง และถูกแทนที่ด้วยภาพของการเป็นพรรคการเมืองแนวประชานิยมฝ่ายซ้าย (left-wing populist) ที่เด่นชัดมากขึ้น[[#_ftn18|[18]]] | ||
| | ||
บรรทัดที่ 58: | บรรทัดที่ 50: | ||
= '''<span style="font-size:x-large;">อ้างอิง</span>''' = | = '''<span style="font-size:x-large;">อ้างอิง</span>''' = | ||
<div><div id="ftn1"> | <div><div id="ftn1"> | ||
[[#_ftnref1|[1]]] DW, 2022. “Things to know about Germany's socialist Left Party” Retrieved from https://www.dw.com/en/things-to-know-about-germanys-socialist-left-party/a-40013805 | [[#_ftnref1|[1]]] DW, 2022. “Things to know about Germany's socialist Left Party” Retrieved from [https://www.dw.com/en/things-to-know-about-germanys-socialist-left-party/a-40013805 https://www.dw.com/en/things-to-know-about-germanys-socialist-left-party/a-40013805] | ||
</div> <div id="ftn2"> | </div> <div id="ftn2"> | ||
[[#_ftnref2|[2]]] Ibid. | [[#_ftnref2|[2]]] Ibid. | ||
บรรทัดที่ 78: | บรรทัดที่ 70: | ||
[[#_ftnref10|[10]]]Ibid. p.41 | [[#_ftnref10|[10]]]Ibid. p.41 | ||
</div> <div id="ftn11"> | </div> <div id="ftn11"> | ||
[[#_ftnref11|[11]]] DW, 2022. “Things to know about Germany's socialist Left Party” Retrieved from https://www.dw.com/en/things-to-know-about-germanys-socialist-left-party/a-40013805 | [[#_ftnref11|[11]]] DW, 2022. “Things to know about Germany's socialist Left Party” Retrieved from [https://www.dw.com/en/things-to-know-about-germanys-socialist-left-party/a-40013805 https://www.dw.com/en/things-to-know-about-germanys-socialist-left-party/a-40013805] | ||
</div> <div id="ftn12"> | </div> <div id="ftn12"> | ||
[[#_ftnref12|[12]]] Dan Hough, Michael Koß and Jonathan Olsen, 2007. The Left Party in Contemporary German Politics. Palgrave Macmillan. P.139 | [[#_ftnref12|[12]]] Dan Hough, Michael Koß and Jonathan Olsen, 2007. The Left Party in Contemporary German Politics. Palgrave Macmillan. P.139 |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:49, 18 กุมภาพันธ์ 2566
ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิตพร และ ธีทัต จันทราพิชิต
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
The German Party of Democratic Socialism
Party of Democratic Socialism (PDS) หรือ พรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมเยอรมัน เป็นพรรคการเมืองของประเทศเยอรมนีที่เกิดขึ้นในช่วงที่เกิดการพังทะลายของกำแพงเบอร์ลินในปี ค.ศ. 1989 โดยมีฐานะเป็นพรรคทายาทของพรรค Socialist Unity Party of Germany หรือ SED ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เคยปกครองเยอรมนีตะวันออกตั้งแต่ก่อตั้งประเทศ[1]
ในปี ค.ศ. 2007 พรรค Party of Democratic Socialism ได้ตัดสินใจควบรวมพรรคกับพรรค The Electoral Alternative for Labour and Social Justice (พรรคทางเลือกสำหรับแรงงานและความยุติธรรมทางสังคม) หรือ WASG และก่อตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่ที่ชื่อว่า Die Linke หรือ The Left ในภาษาอังกฤษ[2]
ที่มาและการก่อตั้ง
การรวมชาติเยอรมันในช่วงปี ค.ศ. 1989 - 1990 ทำให้พรรค SED ต้องทำการปรับตัวเพื่อเอาตัวรอด เนื่องจากชื่อพรรค SED ถูกมองว่ามีลักษณะต่อต้านระบอบประชาธิปไตย[3] ทำให้สมาชิกพรรคเลือกชื่อพรรคการเมืองใหม่ว่า พรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมเยอรมัน หรือ PDS[4]
ในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1990 PDS แม้จะไม่ประสบความสำเร็จในการได้คะแนนนิยมจากประชาชนในพื้นที่เยอรมนีตะวันตก คือ ได้คะแนนเสียงคิดเป็นเพียง 0.3% ของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเท่านั้น แต่ก็ได้รับเสียงจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งจากผู้อยู่อาศัยในบริเวณเยอรมนีตะวันออกมากพอสมควร คิดเป็น 11% ของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ซึ่งเมื่อรวมคะแนนกันทั้งประเทศแล้ว คิดเป็น 2.4% ของคะแนนเสียงในการเลือกตั้งระดับชาติทั้งหมด[5]
อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 1994 ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกพรรค PDS ในฝั่งตะวันออกนั้นมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเป็น 19.8% และในการเลือกตั้งระดับมลรัฐก็ได้คะแนนเสียงเพิ่มขึ้นในมลรัฐฝั่งตะวันออกที่เคยเป็นเขตแดนของเยอรมันตะวันออก[6] โดยในการเลือกตั้งครั้งดังกล่าว PDS ได้เสียงในพื้นที่เบอร์ลินฝั่งตะวันออก เพิ่มขึ้นจากที่เคยได้ประมาณ 20% ในการเลือกตั้งเมื่อปี 1990 เป็นประมาณ 35% ขณะที่การเลือกตั้งในระดับชาติคะแนนเสียงของคนที่เลือกพรรค PDS เพิ่มขึ้นเป็น 4.4% ของผู้มาใช้สิทธิทั้งหมด[7]
การเลือกตั้งช่วง ค.ศ. 1998 - 2002
ในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1998 PDS ได้คะแนนเสียงเพิ่มขึ้น โดยมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งถึง 2.5 ล้านคน ที่เลือกพรรค PDS ในจำนวนนี้เป็นเสียงของคนที่มาจากเยอรมนีตะวันออก ประมาณ 2 ล้านคน คิดเป็น 21.6% ของผู้มาใช้สิทธิในเยอรมนีตะวันออก ขณะที่ฝั่งตะวันตกมีผู้เลือกพรรค PDS ประมาณ 4 แสนคน คิดเป็น 1.2% ของผู้มาใช้สิทธิในเยอรมนีฝั่งตะวันตก ขณะที่สัดส่วนทั่วประเทศของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ลงคะแนนให้พรรค PDS มีประมาณ 5%[8]
ความสำเร็จของ PDS ตั้งแต่การเลือกตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1994 นั้นส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ PDS พยายามกีดกันกลุ่มแนวคิดคอมมิวนิสต์สุดโต่งไม่ให้มีอิทธิพลในพรรค พร้อมกันนั้น PDS ก็ยังมีแนวทางการหาเสียงที่เน้นไปที่การโจมตีคู่แข่งทางการเมือง พร้อมกระตุ้นความไม่พอใจซึ่งเกิดขึ้นจากการรวมชาติเยอรมัน ทำให้ PDS สามารถเสนอตัวเป็นตัวแทนของคนเยอรมันที่เคยเป็นเยอรมันตะวันออกได้[9]
อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้งระดับชาติของเยอรมนีเมื่อปี ค.ศ. 2002 PDS ได้คะแนนเสียงจากผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งลดลงเหลือ ประมาณ 17% ในเขตพื้นที่ฝั่งเยอรมนีตะวันออกซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำกว่าสมัยการเลือกตั้ง เมื่อปี ค.ศ. 1994 หรือคิดเป็นจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ลงคะแนนให้พรรคลดลงเกือบหกแสนเสียง[10]
ส่วนหนึ่งที่ทำให้พรรค PDS มีจำนวนผู้ลงคะแนนให้ลดลง เป็นเพราะ PDS มีท่าทีการหาเสียงที่ดูจะนิ่งเฉยมากขึ้น และไม่สามารถสร้างจุดแข็งเพื่อชักจูงให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมองเห็นว่าทำไมจึงควรเลือกพรรค PDS
การเลือกตั้งเมื่อปี ค.ศ. 2005 และการรวมพรรค
ในการเลือกตั้ง ค.ศ. 2005 พรรค PDS ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับพรรค WASG โดยพรรค WASG นั้นเป็นพรรคการเมืองที่เกิดจากกลุ่มการเมืองฝั่งสหภาพแรงงานที่ไม่พอใจกับนโยบายของ พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย หรือ SPD ที่มีแนวโน้มไปทางเสรีนิยมใหม่มากขึ้น[11] โดยการเป็นพันธมิตรระหว่างสองพรรคเกิดขึ้นเนื่องจาก WASG มีฐานเสียงอยู่ในฝั่งเยอรมนีตะวันตก PDS ซึ่งมีฐานเสียงอยู่ในฝั่งเยอรมนีตะวันออก และการรวมกันของสองพรรคทำให้สามารถข้ามกำแพงเกณฑ์ขั้นต่ำผู้มาใช้สิทธิ 5% สำหรับการได้รับการจัดสรรตำแหน่งผู้แทนแบบบัญชีรายชื่อ[12]
ผลของการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 2005 ทำให้กลุ่มพันธมิตร PDS และ WASG ได้คะแนนเสียงจากผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ จำนวน 8.7%[13]
จากความสำเร็จของการเลือกตั้งในปี 2005 ที่พันธมิตร PDS และ WASG สามารถได้คะแนนเสียงมากกว่าที่ PDS พรรคเดียวเคยทำได้ ทำให้ทางพรรค PDS และ WASG ได้เริ่มการพูดคุยเพื่อรวมพรรคอย่างเป็นทางการ จนเกิดเป็นพรรค Die Linke ในปี ค.ศ. 2007[14] และนับเป็นการสิ้นสุดการใช้ชื่อ PDS ลงแข่งขันในการเลือกตั้งทุกระดับการปกครองของเยอรมนี
อย่างไรก็ตาม การควบรวมพรรคระหว่าง PDS และ WASG เป็นพรรค Die Linke ดูเหมือนจะทำให้พรรคการเมืองในชื่อใหม่นี้ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียงแค่ช่วงแรก ๆ เท่านั้น แต่ในการเลือกตั้งตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 เป็นต้นมา พรรค Die Linke ได้คะแนนนิยมรวมทั่วประเทศต่ำกว่า 10% มาโดยตลอด และยังไม่เคยมีโอกาสเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเลยแม้แต่ครั้งเดียว
อุดมการณ์
PDS เป็นพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายที่พัฒนามาจากพรรค SED ของเยอรมนีตะวันออก ทำให้ PDS มีรากฐานของความเป็นพรรคคอมมิวนิสต์และค่อนข้างแตกต่างจากพรรคการเมืองที่อยู่ในระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตยโดยทั่วไปพอสมควร หากแต่ในช่วงระยะเวลาหลังจากที่เยอรมนีได้มีการรวมประเทศกันและ SED ได้เปลี่ยนมาเป็นพรรค PDS นโยบายของพรรคก็ได้ลดความสุดโต่งลงไปค่อนข้างมาก และอุดมการณ์ในการโค่นล้มทุนนิยมก็ลดกำลังลง[15] และหันไปต่อต้านแนวคิดเสรีนิยมใหม่เป็นหลักแทน[16]
นอกจากอุดมการณ์ในทางเศรษฐกิจแบบฝ่ายซ้ายแล้ว ส่วนสำคัญที่ทำให้ PDS สามารถได้ที่นั่งในสภามาจากแนวคิดความเป็นตัวแทนของคนฝั่งตะวันออกซึ่งพัฒนาจากท่าทีและโวหารทางการเมืองที่ค่อนข้างมีลักษณะประชานิยม โดยการโจมตีพรรคการเมืองใหญ่อื่น ๆ เพราะว่าหลังจากการรวมชาติเยอรมัน ฝั่งตะวันออกได้ผจญกับปัญหาเรื่องของการที่ตัวเองด้อยพัฒนาทางเศรษฐกิจกว่าฝั่งตะวันตก ทำให้ PDS กลายเป็นพรรคตัวแทนของคนเยอรมันฝั่งตะวันออกด้วย[17] อย่างไรก็ตาม เมื่อ PDS ได้ควบรวมพรรคกับ WASG เป็นพรรค Die Linke แล้ว ดูเหมือนว่าภาพลักษณ์การเป็นตัวแทนของคนฝั่งตะวันออกจะคลายลง และถูกแทนที่ด้วยภาพของการเป็นพรรคการเมืองแนวประชานิยมฝ่ายซ้าย (left-wing populist) ที่เด่นชัดมากขึ้น[18]
อ้างอิง
[1] DW, 2022. “Things to know about Germany's socialist Left Party” Retrieved from https://www.dw.com/en/things-to-know-about-germanys-socialist-left-party/a-40013805
[2] Ibid.
[3] Dan Hough, Michael Koß and Jonathan Olsen, 2007. The Left Party in Contemporary German Politics. Palgrave Macmillan. p. 13
[4] Ibid p.14-15
[5] Wayne C. Thompson, 1996. The Party of Democratic Socialism in the New Germany. Communist and Post-Communist Studies, 29(4), 435–452. http://www.jstor.org/stable/45301992. P.436
[6] David Patton, 2000. The rise of Germany's Party of Democratic Socialism: ‘Regionalised pluralism’ in the federal republic?, West European Politics, 23:1, 144-160, DOI: 10.1080/01402380008425356. p.144
[7] Wayne C. Thompson, 1996. The Party of Democratic Socialism in the New Germany. Communist and Post-Communist Studies, 29(4), 435–452. http://www.jstor.org/stable/45301992. P.436
[8] Dan Hough, Michael Koß and Jonathan Olsen, 2007. The Left Party in Contemporary German Politics. Palgrave Macmillan. P.31
[9] Ibid. p.32-33
[10]Ibid. p.41
[11] DW, 2022. “Things to know about Germany's socialist Left Party” Retrieved from https://www.dw.com/en/things-to-know-about-germanys-socialist-left-party/a-40013805
[12] Dan Hough, Michael Koß and Jonathan Olsen, 2007. The Left Party in Contemporary German Politics. Palgrave Macmillan. P.139
[13] Ibid. p.141
[14] Ibid. p.147
[15] Ibid. p.51
[16] Ibid. p.146
[17] Ibid. p.33
[18] Cas Mudde: Radical Parties in Europe. In: From Politics and Contemporary History 45 (2008) 47, p. 12–18.