ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาลทหาร"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 12: | บรรทัดที่ 12: | ||
หากพิจารณาความเป็นมาของศาลทหารในรัฐธรรมนูญ พบว่าถูกนำมาบัญญัติไว้ครั้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (มาตรา 211) นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ในทุกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรได้บัญญัติจัดตั้งศาลทหารขึ้นในทำนองเดียวกันในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ เพื่อกำหนดอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี และการดำเนินการต่าง ๆ ของศาลทหาร โดยกำหนดให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่ผู้กระทำความผิดเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารและคดีอื่น | หากพิจารณาความเป็นมาของศาลทหารในรัฐธรรมนูญ พบว่าถูกนำมาบัญญัติไว้ครั้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (มาตรา 211) นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ในทุกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรได้บัญญัติจัดตั้งศาลทหารขึ้นในทำนองเดียวกันในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ เพื่อกำหนดอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี และการดำเนินการต่าง ๆ ของศาลทหาร โดยกำหนดให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่ผู้กระทำความผิดเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารและคดีอื่น | ||
สำหรับ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2560]] ได้เพิ่มเติมความในเรื่องของการจัดตั้งวิธีพิจารณาคดีและการดําเนินงานของศาลทหาร ตลอดจนการแต่งตั้งและการให้ตุลาการศาลทหารพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ทั้งนี้ กฎหมายที่นำมาใช้ในการพิจารณาคดีของศาลทหารให้เป็นไปตาม '''“พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498”''' โดยกำหนดให้ศาลทหารสังกัดกระทรวงกลาโหม ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้รับผิดชอบในงานธุรการของศาลทหารให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย แต่การพิจารณาคดีตลอดถึงการที่จะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาบังคับคดีนั้น ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลทหารโดยเฉพาะ[[#_ftn2|[2]]] งานธุรการของศาลทหารจึงแตกต่างจากศาลอื่น ๆ ในประเทศไทยที่มีกฎหมายจัดตั้งหน่วนงานที่รับผิดชอบงานธุรการที่มีความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น โดยให้มีหัวหน้าหน่วยงานคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานของแต่ละศาล[[#_ftn3|[3]]] | สำหรับ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2560|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2560]] ได้เพิ่มเติมความในเรื่องของการจัดตั้งวิธีพิจารณาคดีและการดําเนินงานของศาลทหาร ตลอดจนการแต่งตั้งและการให้ตุลาการศาลทหารพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ทั้งนี้ กฎหมายที่นำมาใช้ในการพิจารณาคดีของศาลทหารให้เป็นไปตาม '''“พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498”''' โดยกำหนดให้ศาลทหารสังกัดกระทรวงกลาโหม ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้รับผิดชอบในงานธุรการของศาลทหารให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย แต่การพิจารณาคดีตลอดถึงการที่จะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาบังคับคดีนั้น ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลทหารโดยเฉพาะ[[#_ftn2|[2]]] งานธุรการของศาลทหารจึงแตกต่างจากศาลอื่น ๆ ในประเทศไทยที่มีกฎหมายจัดตั้งหน่วนงานที่รับผิดชอบงานธุรการที่มีความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น โดยให้มีหัวหน้าหน่วยงานคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานของแต่ละศาล[[#_ftn3|[3]]] | ||
| | ||
บรรทัดที่ 108: | บรรทัดที่ 108: | ||
[[#_ftnref16|[16]]] มาตรา 30 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 | [[#_ftnref16|[16]]] มาตรา 30 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:สถาบันตุลาการ]] [[Category:ทหาร]] [[Category:กฎหมายอาญา]] | | ||
[[Category:สถาบันตุลาการ]][[Category:ทหาร]][[Category:กฎหมายอาญา]][[Category:กฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:52, 15 มีนาคม 2566
ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
ความเป็นมาของศาลทหาร
ในปี พ.ศ. 2474 ในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้จัดตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้นเพื่อรวบรวมศาลซึ่งกระจัดกระจายสังกัดกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ให้เข้ามาสังกัดกระทรวงยุติธรรมทั้งหมด ยกเว้นแต่ศาลทหารเพียงศาลเดียวที่ยังคงสังกัดกระทรวงกลาโหม ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระธรรมนูญศาลทหารบก ร.ศ. 126 และพระธรรมนูญศาลทหารเรือ ร.ศ. 127 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2477 ได้มีการรวมพระธรรมนูญศาลทหารบกกับศาลทหารเรือเข้าเป็นฉบับเดียวกัน โดยพระราชบัญญัติศาลทหาร พุทธศักราช 2477[1] จนกระทั่งได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 บังคับใช้จนถึงปัจจุบัน
หากพิจารณาความเป็นมาของศาลทหารในรัฐธรรมนูญ พบว่าถูกนำมาบัญญัติไว้ครั้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (มาตรา 211) นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ในทุกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรได้บัญญัติจัดตั้งศาลทหารขึ้นในทำนองเดียวกันในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ เพื่อกำหนดอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี และการดำเนินการต่าง ๆ ของศาลทหาร โดยกำหนดให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่ผู้กระทำความผิดเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารและคดีอื่น
สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2560 ได้เพิ่มเติมความในเรื่องของการจัดตั้งวิธีพิจารณาคดีและการดําเนินงานของศาลทหาร ตลอดจนการแต่งตั้งและการให้ตุลาการศาลทหารพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ทั้งนี้ กฎหมายที่นำมาใช้ในการพิจารณาคดีของศาลทหารให้เป็นไปตาม “พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498” โดยกำหนดให้ศาลทหารสังกัดกระทรวงกลาโหม ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้รับผิดชอบในงานธุรการของศาลทหารให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย แต่การพิจารณาคดีตลอดถึงการที่จะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาบังคับคดีนั้น ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลทหารโดยเฉพาะ[2] งานธุรการของศาลทหารจึงแตกต่างจากศาลอื่น ๆ ในประเทศไทยที่มีกฎหมายจัดตั้งหน่วนงานที่รับผิดชอบงานธุรการที่มีความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น โดยให้มีหัวหน้าหน่วยงานคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานของแต่ละศาล[3]
ประเภทและลำดับชั้นศาลทหาร
ศาลทหารแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ ศาลทหารชั้นต้น ศาลทหารกลาง และศาลทหารสูงสุด[4] ประเทศไทยจัดแบ่งประเภทของศาลทหารออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1) ศาลทหารในเวลาปกติ
2) ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ คือ ในเวลาที่มีการรบหรือสถานะสงคราม หรือได้ประกาศใช้กฎอัยการศึก ศาลทหารซึ่งมีอยู่แล้วในเวลาปกติคงพิจารณาพิพากษาคดีอาญาได้ตามอำนาจ แต่ถ้าผู้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ประกาศ หรือผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้สั่งตามกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก ให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาใด ๆ อีก ก็ให้ศาลทหารพิจารณาพิพากษาคดีอาญาตามประกาศหรือคำสั่งนั้นได้ด้วย[5]
3) ศาลอาญาศึกก่อตั้งขึ้นโดยหน่วยทหารหรือเรือรบที่อยู่ในยุทธบริเวณ[6] ศาลอาญาศึกมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวง ซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตอำนาจได้ทุกบทกฎหมายและไม่จำกัดตัวบุคคล[7]
คดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลทหาร
คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร ได้แก่ คดีผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิด และมีอำนาจสั่งลงโทษบุคคลใด ๆ ที่กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง[8] คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารให้ดำเนินคดีในศาลพลเรือน คือ[9]
(1) คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน
(2) คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน
(3) คดีที่ต้องดำเนินในศาลเยาวชนและครอบครัว
(4) คดีที่ศาลทหารเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
การสอบสวน การวิธีพิจารณาคดี และการพิพากษาของศาลทหาร
การสอบสวนบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร กระทำโดยนายทหารพระธรรมนูญหรืออัยการทหารมีอำนาจทำการสอบสวนคดีอาญาทั้งปวงซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหาร แต่ถ้ามีเหตุอันสมควรผู้บังคับบัญชาจะสั่งให้นายทหารชั้นสัญญาบัตรทำการสอบสวนก็ได้[10] โดยในกระบวนการพิจารณาคดีของศาลทหารในเวลาปกติจำเลยมีสิทธิแต่งทนายได้ แต่ในศาลอาญาศึกจำเลยไม่มีสิทธิแต่งทนาย[11] ศาลทหารใช้วิธีพิจารณาความอาญาทหาร โดยให้นำกฎหมาย กฎและข้อบังคับ ซึ่งออกตามกฎหมายฝ่ายทหารมาใช้บังคับ ถ้าไม่มีกฎหมาย กฎและข้อบังคับฝ่ายทหารก็ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม ถ้าวิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่จะใช้ได้[12]
ห้ามศาลทหารพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง[13] ทั้งนี้คู่ความในคดีมีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทหารในเสลาปกติได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้จำเลยฟัง อนึ่ง คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทหารในเวลาไม่ปกติ และศาลอาญาศึกหรือศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีแทนศาลอาญาศึกห้ามอุทธรณ์หรือฎีกา[14]
ตุลาการศาลทหาร
การแต่งตั้งและถอดถอนตุลาการศาลทหารสูงสุดและศาลทหารกลางให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งและถอดถอน ส่วนการแต่งตั้งและถอดถอนตุลาการศาลทหารอื่น ๆ พระมหากษัตริย์อาจทรงมอบพระราชอำนาจแก่ผู้บังคับบัญชาทหารและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนตามพระราชบัญญัตินี้ว่าด้วยการแต่งตั้งตุลาการ[15] ดังนี้ ตุลาการศาลทหารจึงไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย และจะแต่งตั้งนายทหารนอกประจำการเป็นตุลาการก็ได้ โดยผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการ คือ[16]
(1) ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาจังหวัดทหาร เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งนายทหารชั้นสัญญาบัตร ซึ่งรับราชการประจำอยู่ในพื้นที่จังหวัดทหารนั้น ๆ เป็นตุลาการศาลจังหวัดทหาร
(2) ผู้มีอำนาจบังคับบัญชามณฑลทหาร เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งนายทหารชั้นสัญญาบัตร ซึ่งรับราชการประจำอยู่ในพื้นที่มณฑลทหารนั้น ๆ เป็นตุลาการศาลมณฑลทหาร
(3) ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาหน่วยทหาร เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งนายทหารชั้นสัญญาบัตร ซึ่งรับราชการประจำอยู่ในหน่วยทหารนั้น ๆ เป็นตุลาการศาลประจำหน่วยทหาร
(4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลทหารกรุงเทพ
บรรณานุกรม
ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 51/หน้า 906/ 11 พฤศจิกายน 2477. พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พุทธศักราช 2477
ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 72/ตอนที่ 83/หน้า 1415/18 ตุลาคม 2498. พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498
ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 134/ตอนที่ 40 ก/ 6 เมษายน 2560. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
อ้างอิง
[1] พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พุทธศักราช 2477
[2] มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498
[3] มาตรา 193 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560
[4] มาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560
[5] มาตรา 36 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560
[6] มาตรา 39 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560
[7] มาตรา 42 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560
[8] มาตรา 13 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560
[9] มาตรา 14 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560
[10] มาตรา 47 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560
[11] มาตรา 55 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560
[12] มาตรา 45 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560
[13] มาตรา 60 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560
[14] มาตรา 61 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560
[15] มาตรา 10 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560
[16] มาตรา 30 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560