ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2541"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
|||
บรรทัดที่ 36: | บรรทัดที่ 36: | ||
บรรทัดที่ 42: | บรรทัดที่ 42: | ||
==ตัวอย่างเอกสาร== | ==ตัวอย่างเอกสาร== | ||
[[image:2551_draft_constitution_cover.JPG| | [[image:2551_draft_constitution_cover.JPG|90px|left|frame|เอกสารร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550]] | ||
ด้านขวามือเป็นเอกสารร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่สภาร่างรัฐธรรมนูฐ พ.ศ.2550 แจกให้ประชาชนครัวเรือนและ 1 เล่ม เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ตามวิธีการออกเสียงประชามติ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2541 | ด้านขวามือเป็นเอกสารร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่สภาร่างรัฐธรรมนูฐ พ.ศ.2550 แจกให้ประชาชนครัวเรือนและ 1 เล่ม เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ตามวิธีการออกเสียงประชามติ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2541 | ||
==ดูเพิ่มเติม== | ==ดูเพิ่มเติม== |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:20, 11 มีนาคม 2552
บทความนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยโดยผู้ืทรงคุณวุฒิ
ผู้เรียบเรียง นพรัตน์ วงศ์วิทยาพาณิชย์ และ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2541 ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2541 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ในมาตรา 329 วรรรค 5 บทเฉพาะกาล โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2541 มีสาระสำคัญต่าง ๆ ดังนี้
- (1) การทำประชามติต้องออกเป็นประกาศของนายกรัฐมนตรีในราชกิจจานุเบกษา โดยกำหนดวันออกเสียงประชามติ และกำหนดเรื่องในการจัดทำประชามติ ว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องที่จัดทำประชามติ (มาตรา 4)
- (2) ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดทำเอกสารเผยแพร่เกี่ยวกับเรื่องที่จัดทำประชามติให้ผู้มีสิทธิออกเสียงทราบ และจัดการลงคะแนนเสียงประชามติทั้งประเทศ (มาตรา 5) (ซึ่งหน่วยเลือกตั้งอาจคล้ายคลึงกันกับการเลือกตั้งทั่วไปของสมาชิภสภาผู้แทนราษฎร หากแต่คณะกรรมการการเลือกตั้งจะเห็นควร)
- (3) เมื่อทราบผลคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องประกาศผลการออกเสียงประชามติและจำนวนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงและแจ้งผลไปยังนายกรัฐมนตรีโดยเร็ว (มาตรา 22)
- (4) เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการออกเสียงประชามติแล้ว ผู้มีสิทธิออกเสียงสามารถคัดค้านเมื่อเห็นว่าการออกเสียงประชามตินั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ภายใน 30 วัน (มาตรา 23)
ทั้งนี้ นับตั้งแต่ที่มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2541 ได้มีการออกเสียงประชามติเพียงแค่ 1 ครั้ง แต่ก็นับว่าเป็นครั้งที่สำคัญมาก เพราะเป็นการออกเสียงประชามติเพื่อรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และยังนับได้ว่าเป็นการออกเสียงประชามติในการรับร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรกของไทยอีกด้วย
ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ได้เปิดให้ประชาชนออกเสียงประชามติเมื่อวันที่ 19สิงหาคม พ.ศ. 2550 ช่วงเวลา 8.00 น.ถึง 16.00 น. โดยใช้วิธีกากบาทลงบัตรเหมือนการเลือกตั้ง ในกรณีที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับแล้ว ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และเมื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว จะประกาศในราชกิจจานุเบกษาและใช้บังคับได้
ในกรณีที่เสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบให้ใช้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สภาร่างรัฐธรรมนูญจะสิ้นสุดลง คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ได้เคยประกาศใช้บังคับมาแล้วฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันออกเสียงประชามติ และนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญต่อไป
ผลการออกเสียง
ผลการออกเสียงตามรายงานผลอย่างเป็นทางการของคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ตัวอย่างเอกสาร
ด้านขวามือเป็นเอกสารร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่สภาร่างรัฐธรรมนูฐ พ.ศ.2550 แจกให้ประชาชนครัวเรือนและ 1 เล่ม เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ตามวิธีการออกเสียงประชามติ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2541