ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว. พ.ศ. 2541"
สร้างหน้าใหม่: {{รอผู้ทรง}} ---- '''ผู้เรียบเรียง''' นพรัตน์ วงศ์วิทยาพาณิชย์ แ... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 11: | บรรทัดที่ 11: | ||
:(1) | :(1) จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบ[[เขตเดียวคนเดียว]] ''(One Man One Vote)'' และมีการจัด[[การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ]] ''(Party lists)'' โดยกำหนดให้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ได้นำเอาระบบเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อเข้มาใช้ | ||
:(2) จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาโดยใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง | :(2) จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาโดยใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง และ[[ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง]] 1 คนสามารถลงคะแนนเสียงได้เพียง 1 คะแนน และผู้สมัครห้ามหาเสียง | ||
บรรทัดที่ 20: | บรรทัดที่ 20: | ||
:(4) | :(4) ระบุให้[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]] (ก.ก.ต.) ในฐานะที่เป็นองค์การอิสระมาทำหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้ง เป็นครั้งแรกแทนกระทรวงมหาดไทย และจัดให้มีสถานที่นับคะแนนผลการเลือกตั้งกลาง | ||
:(5) ให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่แจ้งเหตุผลของการไม่ไปใช้สิทธิ | :(5) ให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่แจ้งเหตุผลของการไม่ไปใช้สิทธิ ผู้นั้นจำต้อง[[การเสียสิทธิทางการเมือง|เสียสิทธิทางการเมือง]] และยังมีการจัดให้มีการเลือกตั้งนอกเขตได้ และการเลือกตั้งในต่างประเทศ | ||
บรรทัดที่ 36: | บรรทัดที่ 36: | ||
:(1) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เป็นการลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นรายบุคคลตามการแบ่งเขตเลือกตั้งที่กำหนดเขตละหนึ่งคน และหากจังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคนให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง แต่ถ้าจังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกินหนึ่งคน ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งแบ่งแขตเลือกตั้งของจังหวัดให้เท่ากับจำนวน ส.ส.ที่มี (มาตรา 8) และภายหลังจากการเลือกตั้งถ้าผู้สมัครคนใดได้คะแนนเสียงมากที่สุดก็จะได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และหากเขตเลือกตั้งใดมีผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียง 1 คน ผู้สมัครนั้นจะต้องได้คะแนนเสียงมากกว่า 20% ขึ้นไป (มาตรา 74) | :(1) [[การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและรวมเขต|การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง]] เป็นการลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นรายบุคคลตามการแบ่งเขตเลือกตั้งที่กำหนดเขตละหนึ่งคน และหากจังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคนให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง แต่ถ้าจังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกินหนึ่งคน ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งแบ่งแขตเลือกตั้งของจังหวัดให้เท่ากับจำนวน ส.ส.ที่มี (มาตรา 8) และภายหลังจากการเลือกตั้งถ้าผู้สมัครคนใดได้คะแนนเสียงมากที่สุดก็จะได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และหากเขตเลือกตั้งใดมีผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียง 1 คน ผู้สมัครนั้นจะต้องได้คะแนนเสียงมากกว่า 20% ขึ้นไป (มาตรา 74) | ||
:(2) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรแบบบัญชีรายชื่อ เป็นการลงคะแนนเลือกบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น โดยเลือกจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเพียงพรรคการเมืองเดียว และใช้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง โดยให้จัดเรียงลำดับรายชื่อผู้สมัครตามลำดับหมายเลข ไม่เกินจำนวน 100 คน (มาตรา 35) และภายหลังจากการเลือกตั้งหากพรรคใดได้คะแนนเสียงต่ำกว่า 5% ของคะแนนทั้งหมดให้ตัดสิทธิพรรคนั้นออกจากการได้ ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ และนำคะแนนที่ได้มาหารกับพรรคที่ได้คะแนนเสียงมากกว่า 5% ใหม่ โดยหารจากคะแนนที่พรรคนั้น ๆ ได้ด้วย 100 และผลลัพธ์ที่ได้ให้ถือว่าเป็นคะแนนเสียงเฉลี่ยต่อส.ส. 1 คน ของพรรคนั้น ๆ โดยให้เรียงตามลำดับจากบัญชีรายชื่อของพรรคนั้น ๆ ตั้งแต่ลำดับที่ 1 จนถึงจำนวนที่พึ่งจะได้ที่นั่ง ส.ส. (มาตรา 76) | :(2) [[การเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อ|การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรแบบบัญชีรายชื่อ]] เป็นการลงคะแนนเลือกบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น โดยเลือกจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเพียงพรรคการเมืองเดียว และใช้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง โดยให้จัดเรียงลำดับรายชื่อผู้สมัครตามลำดับหมายเลข ไม่เกินจำนวน 100 คน (มาตรา 35) และภายหลังจากการเลือกตั้งหากพรรคใดได้คะแนนเสียงต่ำกว่า 5% ของคะแนนทั้งหมดให้ตัดสิทธิพรรคนั้นออกจากการได้ ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ และนำคะแนนที่ได้มาหารกับพรรคที่ได้คะแนนเสียงมากกว่า 5% ใหม่ โดยหารจากคะแนนที่พรรคนั้น ๆ ได้ด้วย 100 และผลลัพธ์ที่ได้ให้ถือว่าเป็นคะแนนเสียงเฉลี่ยต่อส.ส. 1 คน ของพรรคนั้น ๆ โดยให้เรียงตามลำดับจากบัญชีรายชื่อของพรรคนั้น ๆ ตั้งแต่ลำดับที่ 1 จนถึงจำนวนที่พึ่งจะได้ที่นั่ง ส.ส. (มาตรา 76) | ||
บรรทัดที่ 64: | บรรทัดที่ 64: | ||
พระราชบัญญัติฉบับนี้ | พระราชบัญญัติฉบับนี้ ยังกำหนดให้ผู้เลือกตั้งสามารถใ[[ช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขต]]ได้ โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้องแจ้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งของตน และจัดให้มายังสถานที่เลือกตั้งกลาง (มาตรา 81) และสำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยในต่างประเทศยังสามารถลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในประเทศที่ตนอาศัยอยู่ได้ (มาตรา 83) แต่ต้องเกิน 500 คน และหากน้อยกว่า 500 คน ให้ใช้วิธีการเลือกตั้งทางไปรษณีย์ | ||
;หมวด 2 การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา | ;หมวด 2 การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา | ||
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง | การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง แต่ละจังหวัดจะมี[[สมาชิกวุฒิสภา]]ได้เท่าใดขึ้นอยู่กับสัดส่วนของประชากรในจังหวัดนั้น ๆ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 1 คน สามารถลงคะแนนเสียงได้เพียง 1 คะแนน (มาตรา 88) อีกทั้งผู้สมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภาห้ามหาเสียงทำได้แต่เพียงการแนะนำตัวผู้สมัคร (มาตรา 91) | ||
รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:00, 11 มีนาคม 2552
บทความนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยโดยผู้ืทรงคุณวุฒิ
ผู้เรียบเรียง นพรัตน์ วงศ์วิทยาพาณิชย์ และ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
สาระความแตกต่างที่สำคัญ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 นี้ถูกบัญญัติขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 326 บทเฉพาะกาล เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2541 โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญที่แตกต่างจากกฎหมายการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฉบับอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ เช่น
- (1) จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบเขตเดียวคนเดียว (One Man One Vote) และมีการจัดการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ (Party lists) โดยกำหนดให้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ได้นำเอาระบบเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อเข้มาใช้
- (2) จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาโดยใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง และผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 1 คนสามารถลงคะแนนเสียงได้เพียง 1 คะแนน และผู้สมัครห้ามหาเสียง
- (3) ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาต้องจบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
- (4) ระบุให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.) ในฐานะที่เป็นองค์การอิสระมาทำหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้ง เป็นครั้งแรกแทนกระทรวงมหาดไทย และจัดให้มีสถานที่นับคะแนนผลการเลือกตั้งกลาง
- (5) ให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่แจ้งเหตุผลของการไม่ไปใช้สิทธิ ผู้นั้นจำต้องเสียสิทธิทางการเมือง และยังมีการจัดให้มีการเลือกตั้งนอกเขตได้ และการเลือกตั้งในต่างประเทศ
สาระสำคัญ
ดังนั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 จึงมีรายละเอียดสาระสำคัญ อันประกอบไปด้วยตามหมวดต่าง ๆ ดังนี้
- หมวด 1 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป โดยมีคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้จัดการเลือกตั้ง โดยมีการเลือกตั้ง 2 ลักษณะ ดังนี้ (มาตรา 6)
- (1) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เป็นการลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นรายบุคคลตามการแบ่งเขตเลือกตั้งที่กำหนดเขตละหนึ่งคน และหากจังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคนให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง แต่ถ้าจังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกินหนึ่งคน ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งแบ่งแขตเลือกตั้งของจังหวัดให้เท่ากับจำนวน ส.ส.ที่มี (มาตรา 8) และภายหลังจากการเลือกตั้งถ้าผู้สมัครคนใดได้คะแนนเสียงมากที่สุดก็จะได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และหากเขตเลือกตั้งใดมีผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียง 1 คน ผู้สมัครนั้นจะต้องได้คะแนนเสียงมากกว่า 20% ขึ้นไป (มาตรา 74)
- (2) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรแบบบัญชีรายชื่อ เป็นการลงคะแนนเลือกบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น โดยเลือกจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเพียงพรรคการเมืองเดียว และใช้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง โดยให้จัดเรียงลำดับรายชื่อผู้สมัครตามลำดับหมายเลข ไม่เกินจำนวน 100 คน (มาตรา 35) และภายหลังจากการเลือกตั้งหากพรรคใดได้คะแนนเสียงต่ำกว่า 5% ของคะแนนทั้งหมดให้ตัดสิทธิพรรคนั้นออกจากการได้ ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ และนำคะแนนที่ได้มาหารกับพรรคที่ได้คะแนนเสียงมากกว่า 5% ใหม่ โดยหารจากคะแนนที่พรรคนั้น ๆ ได้ด้วย 100 และผลลัพธ์ที่ได้ให้ถือว่าเป็นคะแนนเสียงเฉลี่ยต่อส.ส. 1 คน ของพรรคนั้น ๆ โดยให้เรียงตามลำดับจากบัญชีรายชื่อของพรรคนั้น ๆ ตั้งแต่ลำดับที่ 1 จนถึงจำนวนที่พึ่งจะได้ที่นั่ง ส.ส. (มาตรา 76)
- ทั้งนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลเป็นเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง (มาตรา 12) ดังต่อไปนี้
- (1) ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง 1 คน มีหน้าที่เกี่ยวกับการรับสมัครเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และดำเนินการที่จำเป็นเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
- (2) คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตไม่น้อยกว่า 9 คน มีหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดหน่วยเลือกตั้ง การเพิ่มชื่อและการถอนชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การเพิ่มชื่อและการถอนชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง รวมทั้งมีหน้าที่ในการกำกับดูแล การลงคะแนนเลือกตั้ง การนับคะแนนเลือกตั้ง และการประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้ง และคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตยังมีอำนาจในการแจ่งตั้งเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง อาทิ คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งไม่น้อยกว้า 7 คน และ คณะกรรมการนับคะแนนเลือกตั้งตามเห็นสมควร (มาตรา 13)
อีกทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งยังมีอำนาจในการกำหนดจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งทั้ง ค่าใช้จ่ายของผู้สมัครรายบุคคลในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต และค่าใช้จ่ายของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ (มาตรา 41) ตลอดจนมีหน้าที่สนับสนุนการเลือกตั้ง อาทิ การปิดป้ายหาเสียง การพิมพ์และการจัดส่งเอกสารการเลือกตั้งให้ประชาชน จัดหาเวลาการออกอากาสทางวิทยุและโทรทัศน์ในการหาเสียงให้แต่ละพรรคการเมือง เป็นต้น (มาตรา 49) และคณะกรรมการการเลือกตั้งยังสามารถสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครหากเห็นว่าการเลือกตั้งไม่สุจริต (มาตรา 85/1)
นอกจากนั้น ในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง หากผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ไปแจ้งเหตุอันสมควร อันที่ตนไม่สามารถไปเลือกตั้งได้ ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ก่อนวันเลือกตั้ง 7 วัน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งต้องเสียสิทธิตั้งแต่วันเลือกตั้งที่ผู้นั้นไม่ไปใช้สิทธิจนถึงวันเลือกตั้งครั้งที่ผู้นั้นไปใช้สิทธิเลือกตั้ง (มาตรา 23) ดังนี้
- (1) สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
- (2) สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
- (3) สิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมาย ตลอดจนการพิจาณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น
- (4) สิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนบุคคล ตลอดจนการถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
พระราชบัญญัติฉบับนี้ ยังกำหนดให้ผู้เลือกตั้งสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตได้ โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้องแจ้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งของตน และจัดให้มายังสถานที่เลือกตั้งกลาง (มาตรา 81) และสำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยในต่างประเทศยังสามารถลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในประเทศที่ตนอาศัยอยู่ได้ (มาตรา 83) แต่ต้องเกิน 500 คน และหากน้อยกว่า 500 คน ให้ใช้วิธีการเลือกตั้งทางไปรษณีย์
- หมวด 2 การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง แต่ละจังหวัดจะมีสมาชิกวุฒิสภาได้เท่าใดขึ้นอยู่กับสัดส่วนของประชากรในจังหวัดนั้น ๆ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 1 คน สามารถลงคะแนนเสียงได้เพียง 1 คะแนน (มาตรา 88) อีกทั้งผู้สมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภาห้ามหาเสียงทำได้แต่เพียงการแนะนำตัวผู้สมัคร (มาตรา 91)
- หมวด 3 การคัดค้านการเลือกตั้ง
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง พรรคการเมือง สามารถคัดค้านผลการเลือกตั้งกับคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ หากเห็นว่าการเลือกตั้งนั้น ไม่สุจริตและเที่ยงธรรม (มาตรา 94) และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่