ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผู้เขียน พนารัตน์ มาศฉมาดล"
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉม..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล | '''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ | '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ | ||
| | ||
บรรทัดที่ 8: | บรรทัดที่ 8: | ||
<span style="font-size:x-large;">'''ความเป็นมาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง'''</span> | <span style="font-size:x-large;">'''ความเป็นมาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง'''</span> | ||
[[ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง]] ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกตาม[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2540]] ให้เป็นแผนกหนึ่งในศาลฎีกา มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ในกรณีถูกกล่าวหาว่ามีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น รวมทั้งบุคคลอื่นที่เป็นตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนในการกระทำผิดทางอาญาดังกล่าวด้วย ต่อมาใน[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2550]] ได้บัญญัติในทำนองเดียวกัน โดยแก้ไขเพิ่มเติมหลักการสำคัญบางประการ เช่น การแก้ไของค์กรตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่จงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญจากเดิมที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาด[[#_ftn1|[1]]] เป็นหน้าที่ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัย[[#_ftn2|[2]]] การกำหนดให้ศาลฎีกาแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระ รวมถึงการกำหนดจำนวนองค์คณะผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา 9 คน เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแต่ละคน ตลอดจนเพิ่มอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษา | [[ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง|ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง]] ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกตาม[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2540|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2540]] ให้เป็นแผนกหนึ่งในศาลฎีกา มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ในกรณีถูกกล่าวหาว่ามีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น รวมทั้งบุคคลอื่นที่เป็นตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนในการกระทำผิดทางอาญาดังกล่าวด้วย ต่อมาใน[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2550|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2550]] ได้บัญญัติในทำนองเดียวกัน โดยแก้ไขเพิ่มเติมหลักการสำคัญบางประการ เช่น การแก้ไของค์กรตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่จงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญจากเดิมที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาด[[#_ftn1|[1]]] เป็นหน้าที่ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัย[[#_ftn2|[2]]] การกำหนดให้ศาลฎีกาแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระ รวมถึงการกำหนดจำนวนองค์คณะผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา 9 คน เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแต่ละคน ตลอดจนเพิ่มอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษา | ||
ปัจจุบัน [[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2560]] กำหนดให้มีแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา การพิจารณาคดีเน้นความรวดเร็ว และเพิ่มเติมหลักการใหม่โดยเปิดโอกาสให้คู่ความสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกำหนดรูปแบบการพิจารณาอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมทั้งจัดตั้งองค์คณะของศาลฎีกาเพื่อทำหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอุทธรณ์แทนที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา | ปัจจุบัน [[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2560|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2560]] กำหนดให้มีแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา การพิจารณาคดีเน้นความรวดเร็ว และเพิ่มเติมหลักการใหม่โดยเปิดโอกาสให้คู่ความสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกำหนดรูปแบบการพิจารณาอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมทั้งจัดตั้งองค์คณะของศาลฎีกาเพื่อทำหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอุทธรณ์แทนที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา | ||
| | ||
บรรทัดที่ 20: | บรรทัดที่ 20: | ||
| | ||
'''<span style="font-size:x-large;">คดีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจพิจารณาพิพากษา มีดังนี้</span>''''''[[#_ftn4|'''[4]''']]''' | |||
(1) คดีที่มีมูลแห่งคดีเป็นการกล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ หรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย และรวมถึงการกระทำในฐานะตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว | (1) คดีที่มีมูลแห่งคดีเป็นการกล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ หรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย และรวมถึงการกระทำในฐานะตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว | ||
บรรทัดที่ 26: | บรรทัดที่ 26: | ||
(2) คดีที่คณะผู้ไต่สวนอิสระเห็นว่ากรรมการ ป.ป.ช. มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย | (2) คดีที่คณะผู้ไต่สวนอิสระเห็นว่ากรรมการ ป.ป.ช. มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย | ||
(3) คดีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง [[ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ]] ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ หรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน หรือกรรมการ ป.ป.ช. หรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริง ที่ควรแจ้งให้ทราบ และมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่ามีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สิน | (3) คดีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง [[ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ|ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ]] ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ หรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน หรือกรรมการ ป.ป.ช. หรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริง ที่ควรแจ้งให้ทราบ และมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่ามีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สิน | ||
| | ||
<span style="font-size:x-large;">''' | <span style="font-size:x-large;">'''วิธีพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง'''</span> | ||
กฎหมายกำหนดให้วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็น '''“ระบบไต่สวน”''' โดยให้ศาลค้นหาความจริงไม่ว่าจะเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานได้ การกำหนดให้ใช้ระบบไต่สวนเพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปโดยรวดเร็ว เพื่อให้เหมาะสมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเนื่องจากเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลมากกว่าบุคคลทั่วไป และเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริตมีประสิทธิภาพมาก ให้นําสํานวนการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือของคณะผู้ไต่สวนอิสระ แล้วแต่กรณี เป็นหลักในการพิจารณาและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ให้ศาลมีอำนาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้[[#_ftn5|[5]]] ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนพยานหลักฐานต่อเนื่องติดต่อกันไป จนกว่าจะเสร็จการพิจารณา เว้นแต่จะมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้[[#_ftn6|[6]]] | กฎหมายกำหนดให้วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็น '''“ระบบไต่สวน”''' โดยให้ศาลค้นหาความจริงไม่ว่าจะเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานได้ การกำหนดให้ใช้ระบบไต่สวนเพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปโดยรวดเร็ว เพื่อให้เหมาะสมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเนื่องจากเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลมากกว่าบุคคลทั่วไป และเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริตมีประสิทธิภาพมาก ให้นําสํานวนการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือของคณะผู้ไต่สวนอิสระ แล้วแต่กรณี เป็นหลักในการพิจารณาและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ให้ศาลมีอำนาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้[[#_ftn5|[5]]] ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนพยานหลักฐานต่อเนื่องติดต่อกันไป จนกว่าจะเสร็จการพิจารณา เว้นแต่จะมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้[[#_ftn6|[6]]] | ||
บรรทัดที่ 82: | บรรทัดที่ 82: | ||
[[#_ftnref10|[10]]] มาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 | [[#_ftnref10|[10]]] มาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:สถาบันตุลาการ]][[Category:นักการเมือง]] | [[Category:สถาบันตุลาการ]] [[Category:นักการเมือง]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:26, 9 มิถุนายน 2565
ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
ความเป็นมาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2540 ให้เป็นแผนกหนึ่งในศาลฎีกา มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ในกรณีถูกกล่าวหาว่ามีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น รวมทั้งบุคคลอื่นที่เป็นตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนในการกระทำผิดทางอาญาดังกล่าวด้วย ต่อมาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2550 ได้บัญญัติในทำนองเดียวกัน โดยแก้ไขเพิ่มเติมหลักการสำคัญบางประการ เช่น การแก้ไของค์กรตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่จงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญจากเดิมที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาด[1] เป็นหน้าที่ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัย[2] การกำหนดให้ศาลฎีกาแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระ รวมถึงการกำหนดจำนวนองค์คณะผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา 9 คน เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแต่ละคน ตลอดจนเพิ่มอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษา
ปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2560 กำหนดให้มีแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา การพิจารณาคดีเน้นความรวดเร็ว และเพิ่มเติมหลักการใหม่โดยเปิดโอกาสให้คู่ความสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกำหนดรูปแบบการพิจารณาอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมทั้งจัดตั้งองค์คณะของศาลฎีกาเพื่อทำหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอุทธรณ์แทนที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา
องค์คณะผู้พิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
องค์คณะผู้พิพากษาประกอบด้วยผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา หรือผู้พิพากษาอาวุโสซึ่งเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 9 คน การเลือกองค์คณะผู้พิพากษาเป็นรายคดี[3] เพื่อให้เกิดความโปร่งใส เป็นธรรม และอำนวยความสะดวกในการพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การคัดเลือกองค์คณะผู้พิพากษาให้เป็นดุลพินิจของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาในการคัดเลือก ทั้งนี้ บทบัญญัติในสัดส่วนจำนวนองค์คณะผู้พิพากษาได้มีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ ที่กำหนด จำนวนองค์คณะผู้พิพากษาไว้จำนวนแน่นอน 9 คน แต่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เปิดให้เป็นดุลพินิจในการกำหนดองค์คณะได้ตามความเหมาะสม ภายใต้กรอบจำนวนที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เพื่อให้สามารถกำหนดจำนวนองค์คณะให้เหมาะสมกับลักษณะแห่งคดีได้
'คดีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจพิจารณาพิพากษา มีดังนี้'[4]
(1) คดีที่มีมูลแห่งคดีเป็นการกล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ หรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย และรวมถึงการกระทำในฐานะตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว
(2) คดีที่คณะผู้ไต่สวนอิสระเห็นว่ากรรมการ ป.ป.ช. มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
(3) คดีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ หรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน หรือกรรมการ ป.ป.ช. หรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริง ที่ควรแจ้งให้ทราบ และมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่ามีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สิน
วิธีพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
กฎหมายกำหนดให้วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็น “ระบบไต่สวน” โดยให้ศาลค้นหาความจริงไม่ว่าจะเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานได้ การกำหนดให้ใช้ระบบไต่สวนเพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปโดยรวดเร็ว เพื่อให้เหมาะสมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเนื่องจากเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลมากกว่าบุคคลทั่วไป และเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริตมีประสิทธิภาพมาก ให้นําสํานวนการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือของคณะผู้ไต่สวนอิสระ แล้วแต่กรณี เป็นหลักในการพิจารณาและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ให้ศาลมีอำนาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้[5] ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนพยานหลักฐานต่อเนื่องติดต่อกันไป จนกว่าจะเสร็จการพิจารณา เว้นแต่จะมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้[6]
เมื่อศาลประทับรับฟ้อง ให้ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรรมการ ป.ป.ช. หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะมีคําพิพากษา เว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น[7] ในกรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคําพิพากษาให้ผู้ใด พ้นจากตำแหน่ง หรือคําพิพากษานั้นมีผลให้ผู้ใดพ้นจากตำแหน่ง ไม่ว่าจะมีการอุทธรณ์หรือไม่ ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคําพิพากษา[8]
หลักการอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
คู่ความสามารถอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคําพิพากษา[9]
หลักในการวินิจฉัยอุทธรณ์ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาให้ดำเนินการ โดยองค์คณะของศาลฎีกา จำนวน 9 คน เพื่อพิจารณาอุทธรณ์นั้น ซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจากผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา หรือผู้พิพากษาอาวุโสซึ่งเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่งไม่เคยพิจารณาคดีนั้นมาก่อน โดยให้เลือกเป็นรายคดี คําวินิจฉัยอุทธรณ์ขององค์คณะให้ถือว่าเป็นคําวินิจฉัยอุทธรณ์ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา[10]
สิทธิของคู่ความในการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้สิทธิคู่ความสามารถอุทธรณ์คำพิพากษาของพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ทั้งปัญหาข้อกฎหมายและปัญหาข้อเท็จจริง โดยไม่จำเป็นต้องมีพยานหลักฐานใหม่ซึ่งอาจทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ ซึ่งแตกต่างจากหลักการเดิมตามที่เคย บัญญัติไว้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
บรรณานุกรม
ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 114/ตอนที่ 55 ก/11 ตุลาคม 2540. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 124/ตอนที่ 47 ก/ 24 สิงหาคม 2550. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 134/ตอนที่ 40 ก/ 6 เมษายน 2560. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 134/ตอนที่ 99 ก/28 กันยายน 2560. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560
อ้างอิง
[1] มาตรา 295 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
[2] มาตรา 263 แห่งแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
[3] มาตรา 195 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
[4] มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560
[5] มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560
[6] มาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560
[7] มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560
[8] มาตรา 195 วรรคหก แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
[9] มาตรา 195 วรรคสี่ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
[10] มาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560