ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขบวนการเสื้อกั๊กเหลือง (ฝรั่งเศส)"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 2: | บรรทัดที่ 2: | ||
'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุทธิกานต์ มีจั่น | '''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุทธิกานต์ มีจั่น | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ | '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ''':''' ดร.สติธร ธนานิธิโชติ | ||
| | ||
บรรทัดที่ 8: | บรรทัดที่ 8: | ||
'''ขบวนการเสื้อกั๊กเหลือง''' หรือ '''Mouvement des Gilets jaunes''' คือ กลุ่มผู้ชุมนุมในฝรั่งเศส ที่ได้รวมตัวกันเคลื่อนไหวและออกมาประท้วงเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาปากท้องและค่าครองชีพที่สูงขึ้นภาษี โดยเฉพาะการต่อต้านนโยบายขึ้นภาษีน้ำมันหรือที่เรียกว่า Carbon Tax โดยเก็บภาษีจากผู้ที่ใช้น้ำมันดีเซล ทำให้ผู้ใช้รถยนต์และเกษตรกรต้องแบกรับภาระราคาน้ำมันสูงขึ้นซึ่งถือเป็นราคาที่แพงที่สุดนับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา โดยรัฐบาลตั้งใจจะใช้มาตรการนี้เพื่อลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงจากซากฟอสซิล และระดมทุนเพื่อสนับสนุนพลังงานสะอาดที่จะทำให้นโยบายห้ามขายรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากซากฟอสซิลในฝรั่งเศสภายใน ปี ค.ศ. 2040 โดยจะอนุญาตให้ขายได้แต่เฉพาะรถยนต์ที่ใช้พลังงานสะอาด เช่น รถยนต์ไฟฟ้า เท่านั้น ตลอดจนมีแผนปิดโรงไฟฟ้าถ่านหิน ลดการใช้พลังงานนิวเคลียร์และจะปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทุกที่ก่อน ปี ค.ศ. 2035 รวมทั้งจัดทำแผนให้ฝรั่งเศสเป็นประเทศปลอดคาร์บอนภายใน ปี ค.ศ. 2050[[#_ftn1|[1]]] ทั้งนี้ ถือได้ว่านโยบายสิ่งแวดล้อมเป็นจุดยืนของประธานาธิบดีมาครงมาตั้งแต่หาเสียงเลือกตั้ง แต่ผลของการดำเนินนโยบายดังกล่าวกลับส่งผลให้ประชาชนเป็นจำนวนมากไม่พอใจอย่างรุนแรง | '''ขบวนการเสื้อกั๊กเหลือง''' หรือ '''Mouvement des Gilets jaunes''' คือ กลุ่มผู้ชุมนุมในฝรั่งเศส ที่ได้รวมตัวกันเคลื่อนไหวและออกมาประท้วงเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาปากท้องและค่าครองชีพที่สูงขึ้นภาษี โดยเฉพาะการต่อต้านนโยบายขึ้นภาษีน้ำมันหรือที่เรียกว่า Carbon Tax โดยเก็บภาษีจากผู้ที่ใช้น้ำมันดีเซล ทำให้ผู้ใช้รถยนต์และเกษตรกรต้องแบกรับภาระราคาน้ำมันสูงขึ้นซึ่งถือเป็นราคาที่แพงที่สุดนับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา โดยรัฐบาลตั้งใจจะใช้มาตรการนี้เพื่อลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงจากซากฟอสซิล และระดมทุนเพื่อสนับสนุนพลังงานสะอาดที่จะทำให้นโยบายห้ามขายรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากซากฟอสซิลในฝรั่งเศสภายใน ปี ค.ศ. 2040 โดยจะอนุญาตให้ขายได้แต่เฉพาะรถยนต์ที่ใช้พลังงานสะอาด เช่น รถยนต์ไฟฟ้า เท่านั้น ตลอดจนมีแผนปิดโรงไฟฟ้าถ่านหิน ลดการใช้พลังงานนิวเคลียร์และจะปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทุกที่ก่อน ปี ค.ศ. 2035 รวมทั้งจัดทำแผนให้ฝรั่งเศสเป็นประเทศปลอดคาร์บอนภายใน ปี ค.ศ. 2050[[#_ftn1|[1]]] ทั้งนี้ ถือได้ว่านโยบายสิ่งแวดล้อมเป็นจุดยืนของประธานาธิบดีมาครงมาตั้งแต่หาเสียงเลือกตั้ง แต่ผลของการดำเนินนโยบายดังกล่าวกลับส่งผลให้ประชาชนเป็นจำนวนมากไม่พอใจอย่างรุนแรง | ||
ขบวนการเสื้อกั๊กเหลือง เป็นการชุมนุมที่ไม่ได้เกิดจากผู้นำแรงงานหรือฝ่ายค้าน แต่เกิดจากประเด็นถกเถียง การสื่อสารและนัดรวมตัวกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เริ่มจาก อิริค ดูเอ (Éric Drouet) | ขบวนการเสื้อกั๊กเหลือง เป็นการชุมนุมที่ไม่ได้เกิดจากผู้นำแรงงานหรือฝ่ายค้าน แต่เกิดจากประเด็นถกเถียง การสื่อสารและนัดรวมตัวกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เริ่มจาก '''อิริค ดูเอ''' (Éric Drouet) และ '''เพรสซิลา ลูดอสกี้''' (Priscillia Ludosky) ได้ยื่นคำร้องบน เว็บไซต์ change.org ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2018 ต่อกรณีการขึ้นราคาน้ำมันที่สูงเกินไป ซึ่งมีผู้ลงนามเห็นด้วยต่อปัญหาดังกล่าวเกือบถึง 1 ล้านคน ในหนึ่งเดือนพฤศจิกายน ในขณะที่ได้มีผู้เปิดตัวกิจกรรมบนเฟสบุ๊คเพื่อ '''“ปิดถนนทุกสาย”''' ในวันที่ 17 พฤศจิกายน ซึ่งหนึ่งในผู้ใช้เฟสบุ๊คในกลุ่มนี้ได้เสนอแนวคิดให้ใช้เสื้อกั๊กสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ เพื่อนัดหมายกันปฏิบัติการบนท้องถนน | ||
กล่าวได้ว่า '''“เสื้อกั๊กสีเหลือง”''' เป็นสัญลักษณ์สำคัญของการเคลื่อนไหวเพื่อสื่อถึงคนขับรถที่เป็นผู้ประท้วงแรกเริ่ม รวมทั้งให้ความหมายต่อภาวะฉุกเฉินที่ต้องการการแก้ไข ซึ่งเสื้อสะท้อนแสงสีเหลืองนี้เป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่รถทุกคันในฝรั่งเศสต้องมีไว้ในรถของตน ตามกฎหมายของประเทศ ที่เริ่มบังคับใช้เมื่อ ปี ค.ศ. 2008 ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น รถเสียกลางทางผู้ขับขี่ก็จะต้องสวมเสื้อกั๊กนี้ให้ผู้ขับขี่รถยนต์คันอื่น ๆ เห็นได้ชัดเจน ทั้งนี้ | กล่าวได้ว่า '''“เสื้อกั๊กสีเหลือง”''' เป็นสัญลักษณ์สำคัญของการเคลื่อนไหวเพื่อสื่อถึงคนขับรถที่เป็นผู้ประท้วงแรกเริ่ม รวมทั้งให้ความหมายต่อภาวะฉุกเฉินที่ต้องการการแก้ไข ซึ่งเสื้อสะท้อนแสงสีเหลืองนี้เป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่รถทุกคันในฝรั่งเศสต้องมีไว้ในรถของตน ตามกฎหมายของประเทศ ที่เริ่มบังคับใช้เมื่อ ปี ค.ศ. 2008 ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น รถเสียกลางทางผู้ขับขี่ก็จะต้องสวมเสื้อกั๊กนี้ให้ผู้ขับขี่รถยนต์คันอื่น ๆ เห็นได้ชัดเจน ทั้งนี้ หากผู้ขับขี่รถคันใดไม่มีเสื้อกั๊กสีเหลืองก็จะถูกปรับเป็นเงิน 135 ยูโร หรือ ประมาณ 5,200 บาท[[#_ftn2|[2]]] และเมื่อเกิดการชุมนุมประท้วงรัฐบาลทางกลุ่มผู้ชุมนุมจึงสามารถนำเสื้อกั๊กสีเหลืองที่มีอยู่ภายในรถออกมาสวมใส่ในการเคลื่อนไหว ซึ่งการชุมนุมในช่วงแรกเป็นแบบป่าล้อมเมืองที่ผู้คนในท้องถิ่นต่าง ๆ ออกมาปิดถนนในพื้นที่ของตัวเอง โดยได้รับแรงหนุนจากมวลชนในเขตชนบทและเมืองเล็ก ๆ ของฝรั่งเศส ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางและชนชั้นล่างที่ไม่พอใจต่อนโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาคร็อง ที่ถูกกล่าวหาว่าเพิกเฉยต่อความเดือดร้อนของคนจนและชนชั้นกลาง | ||
| | ||
'''ภาพ''' การชุมนุมประท้วงของขบวนการเสื้อกั๊กเหลืองในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [[#_ftn3|[3]]] | '''ภาพ :''' การชุมนุมประท้วงของขบวนการเสื้อกั๊กเหลืองในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [[#_ftn3|[3]]] | ||
{| align="center" border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="height: 100px; width: 600px;" | {| align="center" border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="height: 100px; width: 600px;" | ||
บรรทัดที่ 24: | บรรทัดที่ 24: | ||
| | ||
| มาก็ได้มีการนัดให้ปิดถนนใหญ่พร้อมกันใน วันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประท้วงกว่า 300,000 คน ในการร่วมปิดถนน 200 จุดทั่วประเทศซึ่งบรรยากาศส่วนใหญ่ดำเนินไปอย่างเงียบสงบ ต่อมาตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018 และต่อเนื่องใน วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2018 ขบวนการเสื้อกั๊กเหลืองใช้พื้นที่ใจกลางกรุงปารีส เมืองหลวงของฝรั่งเศส เป็นจุดเริ่มต้นและเป็นศูนย์กลางของการชุมนุม ปิดถนนบริเวณฌองป์-เซลีเซ ปิดกั้นถนนสำคัญหลายเส้นทางทั่วประเทศ สกัดการเข้าถึงโรงกลั่นและโกดังเก็บน้ำมัน และทำให้เกิดการจราจรติดขัดในหลายเมืองใหญ่ เช่นเมืองมาร์เซย์ทางเหนือ และเมืองลีลล์ทางใต้ของประเทศ ถือเป็นการประท้วงที่รุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี[[#_ftn4|[4]]] มีการใช้แก๊สน้ำตาและกระบองในการสลายการชุมนุม นอกจากนี้การชุมนุมยังขยายไปในเมืองสำคัญต่าง ๆ เช่น เมืองมาร์แซลล์และเมืองปองต์เดอโบวัวแซง ซึ่งในนอกจากม็อบเสื้อกั๊กเหลืองปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจลแล้ว ขบวนการเสื้อกั๊กเหลืองยังต้องเผชิญกับการต่อต้านจากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล โดยตำรวจปราบจลาจลได้เข้าระงับการประท้วงที่มีความรุนแรงเพิ่มมากยิ่งขึ้นและบานปลาย กลายเป็นการจลาจลในหลายจุดโดยเฉพาะใจกลางกรุงปารีส[[#_ftn5|[5]]] ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและมีผู้ถูกจับกุมเป็นจำนวนมาก รวมทั้งอาคารทรัพย์สินต่าง ๆ ได้รับความเสียหายหลายแห่ง[[#_ftn6|[6]]] โดยมีผู้เข้าร่วมประท้วงมากกว่า 136,000 คน และมีตัวเลขผู้จับกุมกลับสูงถึง 1,220 คน ในขณะที่ข้อเรียกร้องของผู้ประท้วงนั้นไม่ใช่แค่ต้องการต่อต้านภาษีน้ำมัน แต่ยังขยายไปที่การยกเลิกนโยบายลดภาษีสำหรับภาคธุรกิจ การเรียกร้องให้ประธานาธิบดีมาคร็องลาออกและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ เป็นต้น[[#_ftn7|[7]]] | ||
ผลของการประท้วง นำไปสู่การที่รัฐบาลฝรั่งเศสได้ประกาศชะลอการขึ้นภาษีเชื้อเพลิงเป็นเวลา 6 เดือน การเสนอมาตรการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำอีก 100 ยูโรต่อเดือน หรือ ประมาณ 3,000 บาท โดยรัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบแทนผู้ประกอบการ รวมทั้งยกเว้นภาษีในกลุ่มผู้รับเงินบำนาญและผู้มีรายได้ต่ำ ตลอดจนผลักดันให้แรงงานได้เงินที่พิเศษหรือโบนัส โดยไม่เก็บภาษีจากโบนัสและเงินที่ได้จากการทำงานล่วงเวลาด้วย โดยเฉพาะท่าทีของประธานาธิปดีที่พร้อมจะเจรจาพูดคุยให้ทุกภาคส่วนพอใจอย่างเร่งด่วน | ผลของการประท้วง นำไปสู่การที่รัฐบาลฝรั่งเศสได้ประกาศชะลอการขึ้นภาษีเชื้อเพลิงเป็นเวลา 6 เดือน การเสนอมาตรการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำอีก 100 ยูโรต่อเดือน หรือ ประมาณ 3,000 บาท โดยรัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบแทนผู้ประกอบการ รวมทั้งยกเว้นภาษีในกลุ่มผู้รับเงินบำนาญและผู้มีรายได้ต่ำ ตลอดจนผลักดันให้แรงงานได้เงินที่พิเศษหรือโบนัส โดยไม่เก็บภาษีจากโบนัสและเงินที่ได้จากการทำงานล่วงเวลาด้วย โดยเฉพาะท่าทีของประธานาธิปดีที่พร้อมจะเจรจาพูดคุยให้ทุกภาคส่วนพอใจอย่างเร่งด่วน | ||
บรรทัดที่ 52: | บรรทัดที่ 52: | ||
| | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]] | | ||
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]][[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:04, 15 มิถุนายน 2565
ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุทธิกานต์ มีจั่น
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ
ขบวนการเสื้อกั๊กเหลือง หรือ Mouvement des Gilets jaunes คือ กลุ่มผู้ชุมนุมในฝรั่งเศส ที่ได้รวมตัวกันเคลื่อนไหวและออกมาประท้วงเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาปากท้องและค่าครองชีพที่สูงขึ้นภาษี โดยเฉพาะการต่อต้านนโยบายขึ้นภาษีน้ำมันหรือที่เรียกว่า Carbon Tax โดยเก็บภาษีจากผู้ที่ใช้น้ำมันดีเซล ทำให้ผู้ใช้รถยนต์และเกษตรกรต้องแบกรับภาระราคาน้ำมันสูงขึ้นซึ่งถือเป็นราคาที่แพงที่สุดนับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา โดยรัฐบาลตั้งใจจะใช้มาตรการนี้เพื่อลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงจากซากฟอสซิล และระดมทุนเพื่อสนับสนุนพลังงานสะอาดที่จะทำให้นโยบายห้ามขายรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากซากฟอสซิลในฝรั่งเศสภายใน ปี ค.ศ. 2040 โดยจะอนุญาตให้ขายได้แต่เฉพาะรถยนต์ที่ใช้พลังงานสะอาด เช่น รถยนต์ไฟฟ้า เท่านั้น ตลอดจนมีแผนปิดโรงไฟฟ้าถ่านหิน ลดการใช้พลังงานนิวเคลียร์และจะปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทุกที่ก่อน ปี ค.ศ. 2035 รวมทั้งจัดทำแผนให้ฝรั่งเศสเป็นประเทศปลอดคาร์บอนภายใน ปี ค.ศ. 2050[1] ทั้งนี้ ถือได้ว่านโยบายสิ่งแวดล้อมเป็นจุดยืนของประธานาธิบดีมาครงมาตั้งแต่หาเสียงเลือกตั้ง แต่ผลของการดำเนินนโยบายดังกล่าวกลับส่งผลให้ประชาชนเป็นจำนวนมากไม่พอใจอย่างรุนแรง
ขบวนการเสื้อกั๊กเหลือง เป็นการชุมนุมที่ไม่ได้เกิดจากผู้นำแรงงานหรือฝ่ายค้าน แต่เกิดจากประเด็นถกเถียง การสื่อสารและนัดรวมตัวกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เริ่มจาก อิริค ดูเอ (Éric Drouet) และ เพรสซิลา ลูดอสกี้ (Priscillia Ludosky) ได้ยื่นคำร้องบน เว็บไซต์ change.org ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2018 ต่อกรณีการขึ้นราคาน้ำมันที่สูงเกินไป ซึ่งมีผู้ลงนามเห็นด้วยต่อปัญหาดังกล่าวเกือบถึง 1 ล้านคน ในหนึ่งเดือนพฤศจิกายน ในขณะที่ได้มีผู้เปิดตัวกิจกรรมบนเฟสบุ๊คเพื่อ “ปิดถนนทุกสาย” ในวันที่ 17 พฤศจิกายน ซึ่งหนึ่งในผู้ใช้เฟสบุ๊คในกลุ่มนี้ได้เสนอแนวคิดให้ใช้เสื้อกั๊กสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ เพื่อนัดหมายกันปฏิบัติการบนท้องถนน
กล่าวได้ว่า “เสื้อกั๊กสีเหลือง” เป็นสัญลักษณ์สำคัญของการเคลื่อนไหวเพื่อสื่อถึงคนขับรถที่เป็นผู้ประท้วงแรกเริ่ม รวมทั้งให้ความหมายต่อภาวะฉุกเฉินที่ต้องการการแก้ไข ซึ่งเสื้อสะท้อนแสงสีเหลืองนี้เป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่รถทุกคันในฝรั่งเศสต้องมีไว้ในรถของตน ตามกฎหมายของประเทศ ที่เริ่มบังคับใช้เมื่อ ปี ค.ศ. 2008 ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น รถเสียกลางทางผู้ขับขี่ก็จะต้องสวมเสื้อกั๊กนี้ให้ผู้ขับขี่รถยนต์คันอื่น ๆ เห็นได้ชัดเจน ทั้งนี้ หากผู้ขับขี่รถคันใดไม่มีเสื้อกั๊กสีเหลืองก็จะถูกปรับเป็นเงิน 135 ยูโร หรือ ประมาณ 5,200 บาท[2] และเมื่อเกิดการชุมนุมประท้วงรัฐบาลทางกลุ่มผู้ชุมนุมจึงสามารถนำเสื้อกั๊กสีเหลืองที่มีอยู่ภายในรถออกมาสวมใส่ในการเคลื่อนไหว ซึ่งการชุมนุมในช่วงแรกเป็นแบบป่าล้อมเมืองที่ผู้คนในท้องถิ่นต่าง ๆ ออกมาปิดถนนในพื้นที่ของตัวเอง โดยได้รับแรงหนุนจากมวลชนในเขตชนบทและเมืองเล็ก ๆ ของฝรั่งเศส ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางและชนชั้นล่างที่ไม่พอใจต่อนโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาคร็อง ที่ถูกกล่าวหาว่าเพิกเฉยต่อความเดือดร้อนของคนจนและชนชั้นกลาง
ภาพ : การชุมนุมประท้วงของขบวนการเสื้อกั๊กเหลืองในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [3]
![]() |
![]() |
มาก็ได้มีการนัดให้ปิดถนนใหญ่พร้อมกันใน วันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประท้วงกว่า 300,000 คน ในการร่วมปิดถนน 200 จุดทั่วประเทศซึ่งบรรยากาศส่วนใหญ่ดำเนินไปอย่างเงียบสงบ ต่อมาตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018 และต่อเนื่องใน วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2018 ขบวนการเสื้อกั๊กเหลืองใช้พื้นที่ใจกลางกรุงปารีส เมืองหลวงของฝรั่งเศส เป็นจุดเริ่มต้นและเป็นศูนย์กลางของการชุมนุม ปิดถนนบริเวณฌองป์-เซลีเซ ปิดกั้นถนนสำคัญหลายเส้นทางทั่วประเทศ สกัดการเข้าถึงโรงกลั่นและโกดังเก็บน้ำมัน และทำให้เกิดการจราจรติดขัดในหลายเมืองใหญ่ เช่นเมืองมาร์เซย์ทางเหนือ และเมืองลีลล์ทางใต้ของประเทศ ถือเป็นการประท้วงที่รุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี[4] มีการใช้แก๊สน้ำตาและกระบองในการสลายการชุมนุม นอกจากนี้การชุมนุมยังขยายไปในเมืองสำคัญต่าง ๆ เช่น เมืองมาร์แซลล์และเมืองปองต์เดอโบวัวแซง ซึ่งในนอกจากม็อบเสื้อกั๊กเหลืองปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจลแล้ว ขบวนการเสื้อกั๊กเหลืองยังต้องเผชิญกับการต่อต้านจากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล โดยตำรวจปราบจลาจลได้เข้าระงับการประท้วงที่มีความรุนแรงเพิ่มมากยิ่งขึ้นและบานปลาย กลายเป็นการจลาจลในหลายจุดโดยเฉพาะใจกลางกรุงปารีส[5] ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและมีผู้ถูกจับกุมเป็นจำนวนมาก รวมทั้งอาคารทรัพย์สินต่าง ๆ ได้รับความเสียหายหลายแห่ง[6] โดยมีผู้เข้าร่วมประท้วงมากกว่า 136,000 คน และมีตัวเลขผู้จับกุมกลับสูงถึง 1,220 คน ในขณะที่ข้อเรียกร้องของผู้ประท้วงนั้นไม่ใช่แค่ต้องการต่อต้านภาษีน้ำมัน แต่ยังขยายไปที่การยกเลิกนโยบายลดภาษีสำหรับภาคธุรกิจ การเรียกร้องให้ประธานาธิบดีมาคร็องลาออกและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ เป็นต้น[7]
ผลของการประท้วง นำไปสู่การที่รัฐบาลฝรั่งเศสได้ประกาศชะลอการขึ้นภาษีเชื้อเพลิงเป็นเวลา 6 เดือน การเสนอมาตรการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำอีก 100 ยูโรต่อเดือน หรือ ประมาณ 3,000 บาท โดยรัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบแทนผู้ประกอบการ รวมทั้งยกเว้นภาษีในกลุ่มผู้รับเงินบำนาญและผู้มีรายได้ต่ำ ตลอดจนผลักดันให้แรงงานได้เงินที่พิเศษหรือโบนัส โดยไม่เก็บภาษีจากโบนัสและเงินที่ได้จากการทำงานล่วงเวลาด้วย โดยเฉพาะท่าทีของประธานาธิปดีที่พร้อมจะเจรจาพูดคุยให้ทุกภาคส่วนพอใจอย่างเร่งด่วน
อย่างไรก็ดีขบวนการเสื่อกั๊กสีเหลืองในฐานะขบวนการชุมนุมประท้วง ได้กลายเป็นปรากฏการณ์แพร่ไปหลายประเทศ เช่น เบลเยียมเริ่มมีคนใส่เสื้อกั๊กเหลืองออกมาเดินบนท้องถนนประท้วงมาตรการภาษี ในขณะที่เนเธอร์แลนด์มีการใส่เสื้อกั๊กสีเหลืองเพื่อประท้วงค่าครองชีพ[8] และที่ประเทศอิหร่านมีการก็ใส่เสื้อกั๊กเหลืองเพื่อประท้วงปัญหาการว่างงาน โดยที่รัฐบาลอียิปต์ดำเนินการเร่งเก็บเสื้อกั๊กเหลืองตามท้องตลาด เนื่องจากกังวลว่าประชาชนจะนำมาเลียนแบบเพื่อใช้ในการประท้วง เป็นต้น
อ้างอิง
[1] “เริ่มต้นอย่างไร รุนแรงขนาดไหน บทสรุปเสื้อกั๊กเหลืองประท้วงผู้นำฝรั่งเศส”, สืบค้นจาก https://workpointtoday. com/เริ่มต้นอย่างไร-รุนแรงข/(25 กรกฎาคม 2564).
[2] “เสื้อกั๊กเหลือง”ปรากฏการณ์ม็อบสะเทือนยุโรป”, สืบค้นจาก https://siamrath.co.th/n/55569(24 กรกฎาคม 2564) และ “Who Are France's Yellow Vest Protesters, And What Do They Want?”, Retrieved from URL https://www.npr.org/2018/12/03/672862353/ who-are-frances-yellow-vest-protesters-and-what-do-they-want (25 July 2021).
[3] "Gilets jaunes" : ce qu’il faut retenir de "l'acte 14" de la mobilisation”, Retrieved from URL https://www.europe1.fr/ societe/gilets-jaunes-ce-quil-faut-retenir-de-lacte-14-de-la-mobilisation-3859079(25 July 2021).
[4] วิเคราะห์ทิศทางการประท้วง 'เสื้อกั๊กเหลือง' กับการตัดสินใจของผู้นำฝรั่งเศส”, สืบค้นจาก https://www.voathai.com/a/france-yellow-vest-protest-analysis/4686870.html(24 กรกฎาคม 2564)
[5] “การประท้วงรัฐบาลโดยกลุ่มเสื้อกั๊กเหลือง (Gilets Jaunes) ในฝรั่งเศส”, สืบค้นจาก https://www.ocsc.go.th/blog/ /2018/12/การประท้วงรัฐบาลโดยกลุ่มเสื้อกั๊กเหลือง-gilets-jaunes-ในฝรั่งเศส(25 กรกฎาคม 2564).
[6] “เสื้อกั๊กเหลือง”ปรากฏการณ์ม็อบสะเทือนยุโรป”, สืบค้นจาก https://siamrath.co.th/n/55569(25 กรกฎาคม 2564).
[7] “วิเคราะห์ทิศทางการประท้วง 'เสื้อกั๊กเหลือง' กับการตัดสินใจของผู้นำฝรั่งเศส”, สืบค้นจาก https://www.voathai.com/a/france-yellow-vest-protest-analysis/4686870.html(25 กรกฎาคม 2564).
[8] “เสื้อกั๊กเหลือง”ปรากฏการณ์ม็อบสะเทือนยุโรป”, สืบค้นจาก https://siamrath.co.th/n/55569(25 กรกฎาคม 2564).