ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การยืนอ่านหนังสือ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุทธิกานต์ มีจั่น..."
 
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:


'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุทธิกานต์ มีจั่น
'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุทธิกานต์ มีจั่น


'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ


 
 
บรรทัดที่ 16: บรรทัดที่ 16:
'''ภาพ''' การยืนอ่านหนังสือของผู้ประท้วงที่จัตุรัสทักซิม ประเทศตุรกี[[#_ftn2|[2]]]
'''ภาพ''' การยืนอ่านหนังสือของผู้ประท้วงที่จัตุรัสทักซิม ประเทศตุรกี[[#_ftn2|[2]]]


{| align="center" border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="width: 500px; height: 300px;"
{| align="center" border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="width: 500px; height: 100px;"
|-
|-
| [[File:Reading a book (1).jpg|center|500x300px]]
| [[File:Reading a book (1).jpg|center|500x300px|Reading a book (1).jpg]]
| [[File:Reading a book (2).jpg|center|500x300px]]
| [[File:Reading a book (2).jpg|center|500x300px|Reading a book (2).jpg]]
| [[File:Reading a book (3).jpg|center|500x300px]]
| [[File:Reading a book (3).jpg|center|500x300px|Reading a book (3).jpg]]
|}
|}


บรรทัดที่ 33: บรรทัดที่ 33:
{| align="center" border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="width: 500px; height: 100px;"
{| align="center" border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="width: 500px; height: 100px;"
|-
|-
| [[File:Reading a book (4).jpg|center|500x300px]]
| [[File:Reading a book (4).jpg|center|500x300px|Reading a book (4).jpg]]
| [[File:Reading a book (5).jpg|center|500x300px]]
| [[File:Reading a book (5).jpg|center|500x300px|Reading a book (5).jpg]]
|}
|}
         


          กล่าวได้ว่า หนังสือที่นิยมนำมาใช้ในการยืนอ่านหนังสือ ได้แก่ หนังสือชื่อ '''“1984”''' ซึ่งเป็นนวนิยายที่เขียนโดย George Orwell (จอร์จ ออร์เวลล์) นักเขียนชาวอังกฤษ เป็นนวนิยายว่าด้วยเรื่องราวของชายคนหนึ่งที่ทำงานใน '''“กระทรวงความจริง”''' ในรัฐบาลเผด็จการ ที่มี '''“พี่เบิ้ม”''' หรือ '''“Big Brother”''' จับตาดูพฤติกรรมของประชาชน สร้างโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับรัฐ การร้องเพลง การสร้างศัตรูของชาติ การลบเลือนบิดเบือนทำลายประวัติศาสตร์ สร้างคำใหม่ ๆ ขึ้นมา เพื่อบิดเบือนความหมายและเรียกการคิดอย่างเสรีว่าเป็น '''“อาชญากรรมทางความคิด”''' เป็นต้น ขณะเดียวกันก็เป็นนวนิยายคลาสสิกที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก สามารถใช้สื่อสารแนวคิดไปยังคนในประเทศอื่น ๆ ได้[[#_ftn10|[10]]]
          กล่าวได้ว่า หนังสือที่นิยมนำมาใช้ในการยืนอ่านหนังสือ ได้แก่ หนังสือชื่อ '''“1984”''' ซึ่งเป็นนวนิยายที่เขียนโดย George Orwell (จอร์จ ออร์เวลล์) นักเขียนชาวอังกฤษ เป็นนวนิยายว่าด้วยเรื่องราวของชายคนหนึ่งที่ทำงานใน '''“กระทรวงความจริง”''' ในรัฐบาลเผด็จการ ที่มี '''“พี่เบิ้ม”''' หรือ '''“Big Brother”''' จับตาดูพฤติกรรมของประชาชน สร้างโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับรัฐ การร้องเพลง การสร้างศัตรูของชาติ การลบเลือนบิดเบือนทำลายประวัติศาสตร์ สร้างคำใหม่ ๆ ขึ้นมา เพื่อบิดเบือนความหมายและเรียกการคิดอย่างเสรีว่าเป็น '''“อาชญากรรมทางความคิด”''' เป็นต้น ขณะเดียวกันก็เป็นนวนิยายคลาสสิกที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก สามารถใช้สื่อสารแนวคิดไปยังคนในประเทศอื่น ๆ ได้[[#_ftn10|[10]]]
บรรทัดที่ 43: บรรทัดที่ 45:
          ในด้านหนังสือภาษาไทยนั้น หนังสือที่ได้มีการนำมาใช้ในการยืนอ่าน ได้แก่ หนังสือ เรื่อง '''“1968 เชิงอรรถการปฏิวัติ”''' เขียนโดย ธเนศ วงศ์ยานนาวา ซึ่งได้วิเคราะห์ที่มาที่ไปและข้อถกเถียงรวมถึงเกร็ดต่าง ๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ เช่น การเสื่อมความนิยมของการเมืองแบบยึดอำนาจรัฐหรือมีพรรคคอมมิวนิสต์ชี้นำ การเฟื่องฟูของการเมืองบนท้องถนน ขบวนการทางสังคมแบบใหม่ หรือ '''“สังคมแห่งการประท้วง”''' รวมทั้งความคิดที่ว่า เรื่องการปฏิวัติที่ไม่ได้ผูกขาดโดยการต่อสู้ทางชนชั้นอีกต่อไป ตลอดจนการยกย่องให้ชีวิตประจำวันเป็นรากฐานของการต่อสู้ทางการเมือง เป็นต้น[[#_ftn12|[12]]]
          ในด้านหนังสือภาษาไทยนั้น หนังสือที่ได้มีการนำมาใช้ในการยืนอ่าน ได้แก่ หนังสือ เรื่อง '''“1968 เชิงอรรถการปฏิวัติ”''' เขียนโดย ธเนศ วงศ์ยานนาวา ซึ่งได้วิเคราะห์ที่มาที่ไปและข้อถกเถียงรวมถึงเกร็ดต่าง ๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ เช่น การเสื่อมความนิยมของการเมืองแบบยึดอำนาจรัฐหรือมีพรรคคอมมิวนิสต์ชี้นำ การเฟื่องฟูของการเมืองบนท้องถนน ขบวนการทางสังคมแบบใหม่ หรือ '''“สังคมแห่งการประท้วง”''' รวมทั้งความคิดที่ว่า เรื่องการปฏิวัติที่ไม่ได้ผูกขาดโดยการต่อสู้ทางชนชั้นอีกต่อไป ตลอดจนการยกย่องให้ชีวิตประจำวันเป็นรากฐานของการต่อสู้ทางการเมือง เป็นต้น[[#_ftn12|[12]]]


          หนังสือเล่มต่อมา คือ '''“เหตุใดต่อต้านด้วยสันติวิธีจึงได้ผล : ตรรกะเชิงยุทธศาสตร์ของความขัดแย้งแบบไม่ใช้ความรุนแรง”'''  แปลโดย จันจิรา สมบัติพูนศิริ จากต้นฉบับหนังสือที่ชื่อ Why civil resistance works ของ Erica Chenoweth และ Maria J. Stephen เป็นการตอบคำถามว่าทำไมขบวนการภาคประชาชน ใช้ปฏิบัติการไร้ความรุนแรงจึงประสบความสำเร็จในประเทศต่าง ๆ เช่น เซอร์เบีย มาดาร์กัสการ์ จอร์เจีย ยูเครน รวมถึงเลบานอน และเนปาล เหตุใดผู้คนจึงเลือกใช้ปฏิบัติการไร้ความรุนแรงในการต่อสู้สามารถท้าทายอำนาจชนชั้นนำ และเหตุใดปฏิบัติการดังกล่าวจึงช่วยให้ผู้บรรลุเป้าหมายทางการเมืองได้ ในขณะที่หนังสือชื่อ '''“Noli Me Tangere”''' เขียนโดย โอเซ ริซัล (Jose Rizal) หรือชื่อที่ได้รับการแปลโดย จิตราภรณ์ ตันรัตนกุล เป็นภาษาไทยว่า '''“อันล่วงละเมิดมิได้”''' ซึ่งผู้เขียนเป็นสมาชิกกลุ่มกบฏใต้ดินในฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นหนังสือเสียดสีสังคมที่เล่าถึงสมัยที่ฟิลิปปินส์ยังเป็นอาณานิคมของสเปน โดยมีระบบสังคมที่ถูกรัฐกุมไว้ด้วยการบริหารแบบแยกชนชั้น คือ ชนชั้นของชาวสเปนที่มาจากสเปน ชาวสเปนที่เกิดในฟิลิปปินส์ และชาวฟิลิปปินส์ และกดทับผู้คนผ่านศาสนา โดยบาทหลวงที่ใช้อำนาจโบสถ์ทำเรื่องเลวร้าย[[#_ftn13|[13]]] ต่อมาคือหนังสือชื่อ '''“ถอดรื้อมายาคติ (Deconstruct)”''' เป็นการรวมการบรรยายของนักวิชาการด้านต่าง ๆ ที่ได้บรรยายในโครงการโรงเรียนนักข่าวซึ่งจัดโดยศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง โดยกล่าวถึงมายาคติต่าง ๆ ในสังคมไทยไม่ว่าจะเป็นเรื่องชาติ ศาสนา สถาบันกษัตริย์ วิทยาศาสตร์ หรือแม้แต่กับวงการสื่อสารมวลชนเอง[[#_ftn14|[14]]] เป็นต้น
          หนังสือเล่มต่อมา คือ '''“เหตุใดต่อต้านด้วยสันติวิธีจึงได้ผล : ตรรกะเชิงยุทธศาสตร์ของความขัดแย้งแบบไม่ใช้ความรุนแรง”'''  แปลโดย จันจิรา สมบัติพูนศิริ จากต้นฉบับหนังสือที่ชื่อ Why civil resistance works ของ Erica Chenoweth และ Maria J. Stephen เป็นการตอบคำถามว่าทำไมขบวนการภาคประชาชน ใช้ปฏิบัติการไร้ความรุนแรงจึงประสบความสำเร็จในประเทศต่าง ๆ เช่น เซอร์เบีย มาดาร์กัสการ์ จอร์เจีย ยูเครน รวมถึงเลบานอน และเนปาล เหตุใดผู้คนจึงเลือกใช้ปฏิบัติการไร้ความรุนแรงในการต่อสู้สามารถท้าทายอำนาจชนชั้นนำ และเหตุใดปฏิบัติการดังกล่าวจึงช่วยให้ผู้บรรลุเป้าหมายทางการเมืองได้ ในขณะที่หนังสือชื่อ '''“Noli Me Tangere”''' เขียนโดย โอเซ ริซัล (Jose Rizal) หรือชื่อที่ได้รับการแปลโดย จิตราภรณ์ ตันรัตนกุล เป็นภาษาไทยว่า '''“อันล่วงละเมิดมิได้”''' ซึ่งผู้เขียนเป็นสมาชิกกลุ่มกบฏใต้ดินในฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นหนังสือเสียดสีสังคมที่เล่าถึงสมัยที่ฟิลิปปินส์ยังเป็นอาณานิคมของสเปน โดยมีระบบสังคมที่ถูกรัฐกุมไว้ด้วยการบริหารแบบแยกชนชั้น คือ ชนชั้นของชาวสเปนที่มาจากสเปน ชาวสเปนที่เกิดในฟิลิปปินส์ และชาวฟิลิปปินส์ และกดทับผู้คนผ่านศาสนา โดยบาทหลวงที่ใช้อำนาจโบสถ์ทำเรื่องเลวร้าย[[#_ftn13|[13]]] ต่อมาคือหนังสือชื่อ '''“ถอดรื้อมายาคติ (Deconstruct)”''' เป็นการรวมการบรรยายของนักวิชาการด้านต่าง ๆ ที่ได้บรรยายในโครงการโรงเรียนนักข่าวซึ่งจัดโดยศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง โดยกล่าวถึงมายาคติต่าง ๆ ในสังคมไทยไม่ว่าจะเป็นเรื่องชาติ ศาสนา สถาบันกษัตริย์ วิทยาศาสตร์ หรือแม้แต่กับวงการสื่อสารมวลชนเอง[[#_ftn14|[14]]] เป็นต้น


          นอกจากการยืนอ่านหนังสือเพื่อประท้วงทางการเมืองแล้ว การยืนอ่านหนังสือยังมีขึ้นเพื่อเป้าหมายในการตั้งคำถามและเรียกร้องในประเด็นเฉพาะกิจ เช่น กิจกรรม '''“ยืนอ่านกันเงียบ ๆ”''' ที่เป็นการสื่อสารเชิงสัญลักษณ์ของกลุ่มนักเขียนและคนในวงการวรรณกรรมหลายคนที่ตั้งข้อสงสัยถึงความคุ้มค่าและไม่เห็นด้วยกับโครงการ '''“อ่านกันสนั่นเมือง”''' ที่จัดโดยกรุงเทพมหานครใช้งบประมาณไปกว่า 100 ล้านบาท และใช้งบประมาณไปกับโครงการกรุงเทพเมืองหนังสือโลกไปราว 1,400 ล้านบาท เพื่อแสดงพลังผ่านแนวคิดว่าการอ่านที่มีคุณภาพไม่จำเป็นต้องใช้กิจกรรมประชาสัมพันธ์มากมายและไม่เกิดประโยชน์ เพราะการอ่านสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ หากได้รับการสนับสนุนอย่างทั่วถึงให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการอ่านให้ง่ายขึ้น และมีการสนับสนุนให้มีการจัดพิมพ์หนังสือดีๆ เพื่อให้เกิดการอ่านที่มีคุณภาพแท้จริง[[#_ftn15|[15]]]
          นอกจากการยืนอ่านหนังสือเพื่อประท้วงทางการเมืองแล้ว การยืนอ่านหนังสือยังมีขึ้นเพื่อเป้าหมายในการตั้งคำถามและเรียกร้องในประเด็นเฉพาะกิจ เช่น กิจกรรม '''“ยืนอ่านกันเงียบ ๆ”''' ที่เป็นการสื่อสารเชิงสัญลักษณ์ของกลุ่มนักเขียนและคนในวงการวรรณกรรมหลายคนที่ตั้งข้อสงสัยถึงความคุ้มค่าและไม่เห็นด้วยกับโครงการ '''“อ่านกันสนั่นเมือง”''' ที่จัดโดยกรุงเทพมหานครใช้งบประมาณไปกว่า 100 ล้านบาท และใช้งบประมาณไปกับโครงการกรุงเทพเมืองหนังสือโลกไปราว 1,400 ล้านบาท เพื่อแสดงพลังผ่านแนวคิดว่าการอ่านที่มีคุณภาพไม่จำเป็นต้องใช้กิจกรรมประชาสัมพันธ์มากมายและไม่เกิดประโยชน์ เพราะการอ่านสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ หากได้รับการสนับสนุนอย่างทั่วถึงให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการอ่านให้ง่ายขึ้น และมีการสนับสนุนให้มีการจัดพิมพ์หนังสือดีๆ เพื่อให้เกิดการอ่านที่มีคุณภาพแท้จริง[[#_ftn15|[15]]]
บรรทัดที่ 51: บรรทัดที่ 53:
<span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span>
<span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span>
<div id="ftn1">
<div id="ftn1">
[[#_ftnref1|[1]]] “ขอบฟ้าความเป็นไปได้ 3 : เออร์เดม กุนดุซ “คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย”.สืบค้นจากhttps://progressivemovement.in.th/article/ 4221/ (25 กรกฎาคม 2564) และ “Book News: Turkish Protesters Form 'Taksim Square Book Club'”, Retrieved from URL https:// www.npr.org/sections/thetwo-way/2013/06/26/195810335/book-news-turkish-protesters-form-taksim-square-book-club(26 July 2021).
[[#_ftnref1|[1]]] “ขอบฟ้าความเป็นไปได้ 3&nbsp;: เออร์เดม กุนดุซ “คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย”.สืบค้นจากhttps://progressivemovement.in.th/article/ 4221/ (25 กรกฎาคม 2564) และ “Book News: Turkish Protesters Form 'Taksim Square Book Club'”, Retrieved from URL https:// www.npr.org/sections/thetwo-way/2013/06/26/195810335/book-news-turkish-protesters-form-taksim-square-book-club(26 July 2021).
</div> <div id="ftn2">
</div> <div id="ftn2">
[[#_ftnref2|[2]]] “In Pictures: The Taksim Square Book Club”, Retrieved from URL&nbsp;https://www.aljazeera.com/gallery/2013/6/24/in-pictures-the-taksim-square-book-club(26 July 2021).
[[#_ftnref2|[2]]] “In Pictures: The Taksim Square Book Club”, Retrieved from URL&nbsp;[https://www.aljazeera.com/gallery/2013/6/24/in-pictures-the-taksim-square-book-club(26 https://www.aljazeera.com/gallery/2013/6/24/in-pictures-the-taksim-square-book-club(26] July 2021).
</div> <div id="ftn3">
</div> <div id="ftn3">
[[#_ftnref3|[3]]] “สี่ปีคสช.: สัญลักษณ์และประดิษฐกรรมแห่งการท้าทายอำนาจรัฐทหาร”.สืบค้นจาก https://www.newmandala.org/sandwiches-1984-wristwatches-four-years-ncpo-four-years-creative-resistance-part-one/(25 กรกฎาคม 2564).
[[#_ftnref3|[3]]] “สี่ปีคสช.: สัญลักษณ์และประดิษฐกรรมแห่งการท้าทายอำนาจรัฐทหาร”.สืบค้นจาก [https://www.newmandala.org/sandwiches-1984-wristwatches-four-years-ncpo-four-years-creative-resistance-part-one/(25 https://www.newmandala.org/sandwiches-1984-wristwatches-four-years-ncpo-four-years-creative-resistance-part-one/(25] กรกฎาคม 2564).
</div> <div id="ftn4">
</div> <div id="ftn4">
[[#_ftnref4|[4]]] “ประท้วงรัฐประหารด้วยการยืนอ่านหนังสือ”.สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2014/05/53587(25 กรกฎาคม 2564).
[[#_ftnref4|[4]]] “ประท้วงรัฐประหารด้วยการยืนอ่านหนังสือ”.สืบค้นจาก [https://prachatai.com/journal/2014/05/53587(25 https://prachatai.com/journal/2014/05/53587(25] กรกฎาคม 2564).
</div> <div id="ftn5">
</div> <div id="ftn5">
[[#_ftnref5|[5]]] “7 สิ่งของธรรมดาที่กลายเป็น “สัญลักษณ์” ของการประท้วงไทย https://www.sanook.com/news/8235570/(25 กรกฎาคม 2564).
[[#_ftnref5|[5]]] “7 สิ่งของธรรมดาที่กลายเป็น “สัญลักษณ์” ของการประท้วงไทย [https://www.sanook.com/news/8235570/(25 https://www.sanook.com/news/8235570/(25] กรกฎาคม 2564).
</div> <div id="ftn6">
</div> <div id="ftn6">
[[#_ftnref6|[6]]] “ประมวลกิจกรรม การต้านคณะรัฐประหาร, รัฐบาลและนโยบาย”.สืบค้นจาก&nbsp; https://www.tcijthai.com/news/2016/05/scoop/ 6235(25 กรกฎาคม 2564).
[[#_ftnref6|[6]]] “ประมวลกิจกรรม การต้านคณะรัฐประหาร, รัฐบาลและนโยบาย”.สืบค้นจาก&nbsp; [https://www.tcijthai.com/news/2016/05/scoop/ https://www.tcijthai.com/news/2016/05/scoop/] 6235(25 กรกฎาคม 2564).
</div> <div id="ftn7">
</div> <div id="ftn7">
[[#_ftnref7|[7]]]“ คุยกับ ‘แชมป์ 1984’ นักศึกษาร่างใหญ่กินแซนด์วิชก่อนถูกลากตัว ในวันครบรอบ 1 เดือนรัฐประหาร”.สืบค้นจาก https://prachatai. com/journal/2014/08/55129(25 กรกฎาคม 2564).
[[#_ftnref7|[7]]]“ คุยกับ ‘แชมป์ 1984’ นักศึกษาร่างใหญ่กินแซนด์วิชก่อนถูกลากตัว ในวันครบรอบ 1 เดือนรัฐประหาร”.สืบค้นจาก [https://prachatai https://prachatai]. com/journal/2014/08/55129(25 กรกฎาคม 2564).
</div> <div id="ftn8">
</div> <div id="ftn8">
[[#_ftnref8|[8]]] “นักศึกษารวมตัวกินแซนด์วิช-อ่านหนังสือ 1984 หน้าสถานทูตสหรัฐฯ”.สืบค้นจาก https://www.5forcenews.com/?p=3093(25 กรกฎาคม 2564).
[[#_ftnref8|[8]]] “นักศึกษารวมตัวกินแซนด์วิช-อ่านหนังสือ 1984 หน้าสถานทูตสหรัฐฯ”.สืบค้นจาก [https://www.5forcenews.com/?p=3093(25 https://www.5forcenews.com/?p=3093(25] กรกฎาคม 2564).
</div> <div id="ftn9">
</div> <div id="ftn9">
[[#_ftnref9|[9]]] “คุยกับ ‘แชมป์ 1984’ นักศึกษาร่างใหญ่กินแซนด์วิชก่อนถูกลากตัว ในวันครบรอบ 1 เดือนรัฐประหาร”.สืบค้นจาก https://prachatai. com/journal/2014/08/55129(25 กรกฎาคม 2564).
[[#_ftnref9|[9]]] “คุยกับ ‘แชมป์ 1984’ นักศึกษาร่างใหญ่กินแซนด์วิชก่อนถูกลากตัว ในวันครบรอบ 1 เดือนรัฐประหาร”.สืบค้นจาก [https://prachatai https://prachatai]. com/journal/2014/08/55129(25 กรกฎาคม 2564).
</div> <div id="ftn10">
</div> <div id="ftn10">
[[#_ftnref10|[10]]] “คุยกับ ‘แชมป์ 1984’ นักศึกษาร่างใหญ่กินแซนด์วิชก่อนถูกลากตัว ในวันครบรอบ 1 เดือนรัฐประหาร”.สืบค้นจาก https://prachatai. com/ journal/2014/08/55129
[[#_ftnref10|[10]]] “คุยกับ ‘แชมป์ 1984’ นักศึกษาร่างใหญ่กินแซนด์วิชก่อนถูกลากตัว ในวันครบรอบ 1 เดือนรัฐประหาร”.สืบค้นจาก [https://prachatai https://prachatai]. com/ journal/2014/08/55129
</div> <div id="ftn11">
</div> <div id="ftn11">
[[#_ftnref11|[11]]] “อยู่รอดท่ามกลางความไร้แก่นสารของชีวิต กับ อัลแบร์ กามู”.สืบค้นจาก&nbsp;https://thematter.co/brief/happy-birthday-albert-camus/38722?fbclid=IwAR2e7PEssKPylVPzCv8feP4HhsSulwPTyjhdAxfcd04Z7DGw8K8EPS69aUw (25 กรกฎาคม 2564).
[[#_ftnref11|[11]]] “อยู่รอดท่ามกลางความไร้แก่นสารของชีวิต กับ อัลแบร์ กามู”.สืบค้นจาก&nbsp;[https://thematter.co/brief/happy-birthday-albert-camus/38722?fbclid=IwAR2e7PEssKPylVPzCv8feP4HhsSulwPTyjhdAxfcd04Z7DGw8K8EPS69aUw https://thematter.co/brief/happy-birthday-albert-camus/38722?fbclid=IwAR2e7PEssKPylVPzCv8feP4HhsSulwPTyjhdAxfcd04Z7DGw8K8EPS69aUw] (25 กรกฎาคม 2564).
</div> <div id="ftn12">
</div> <div id="ftn12">
[[#_ftnref12|[12]]] “1968 เชิงอรรถการปฏิวัติ”.สืบค้นจาก https://www.goodreads.com/book/show/23619323-1968(25 กรกฎาคม 2564).
[[#_ftnref12|[12]]] “1968 เชิงอรรถการปฏิวัติ”.สืบค้นจาก [https://www.goodreads.com/book/show/23619323-1968(25 https://www.goodreads.com/book/show/23619323-1968(25] กรกฎาคม 2564).
</div> <div id="ftn13">
</div> <div id="ftn13">
[[#_ftnref13|[13]]] “ปชช.นัดยืนอ่านหนังสือต้านรัฐประหาร วันที่ 2 หวังเลี่ยงเผชิญหน้า จนท.ทหาร”.สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2014/ 05/ 53648(25 กรกฎาคม 2564).
[[#_ftnref13|[13]]] “ปชช.นัดยืนอ่านหนังสือต้านรัฐประหาร วันที่ 2 หวังเลี่ยงเผชิญหน้า จนท.ทหาร”.สืบค้นจาก [https://prachatai.com/journal/2014/ https://prachatai.com/journal/2014/] 05/ 53648(25 กรกฎาคม 2564).
</div> <div id="ftn14">
</div> <div id="ftn14">
[[#_ftnref14|[14]]] “อดรื้อมายาคติ DECONSTRUCT”.สืบค้นจาก https://www.tcijthai.com/news/2017/2/ebook/6779(25 กรกฎาคม 2564).
[[#_ftnref14|[14]]] “อดรื้อมายาคติ DECONSTRUCT”.สืบค้นจาก [https://www.tcijthai.com/news/2017/2/ebook/6779(25 https://www.tcijthai.com/news/2017/2/ebook/6779(25] กรกฎาคม 2564).
</div> <div id="ftn15">
</div> <div id="ftn15">
[[#_ftnref15|[15]]] “อ่านอย่างมีคุณภาพ ในกิจกรรม"ยืนอ่านกันเงียบๆ”.สืบค้นจาก "https://news.thaipbs.or.th/content/184417(25 กรกฎาคม 2564).
[[#_ftnref15|[15]]] “อ่านอย่างมีคุณภาพ ในกิจกรรม"ยืนอ่านกันเงียบๆ”.สืบค้นจาก "[https://news.thaipbs.or.th/content/184417(25 https://news.thaipbs.or.th/content/184417(25] กรกฎาคม 2564).


&nbsp;
&nbsp;
</div> </div>
</div> </div>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:07, 6 มิถุนายน 2565

ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุทธิกานต์ มีจั่น

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ

 

การยืนอ่านหนังสือ

          การยืนอ่านหนังสือ เป็นหนึ่งในรูปแบบของการประท้วงเชิงสัญลักษณ์ โดยผู้ชุมนุมไม่ต้องพูดคุยหรือมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน แต่ทุกคนเลือกหยิบหนังสือของตัวเองมาจากบ้านเพื่อมายืนอ่านอย่างตั้งใจ ซึ่งเป็นรูปแบบของการต่อต้านอำนาจที่เหนือกว่าที่ไม่ได้มีลักษณะเป็นการเผชิญหน้า ในขณะเดียวกันหนังสือที่ผู้ชุมนุมเลือกมาก็สามารถสื่อนัยถึงกิจกรรมได้อย่างชัดเจนผ่านเนื้อหาของหนังสือที่นำมาอ่าน

          จุดเริ่มต้นของการประท้วงรูปแบบนี้เกิดขึ้น เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 ที่ ประเทศตุรกี ซึ่งมีการประท้วงทั่วประเทศเพื่อต่อต้านรัฐบาล โดยมีการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้ชุมนุมหลายครั้ง ต่อมาศิลปินชื่อ เออร์เดม กุนดุซ (Erdem Gunduz) เริ่มปฏิบัติการต่อสู้ของเขาด้วยการยืนหน้าเสาธงใหญ่กลางจัตุรัสทักซิมและยืนหันหน้าเข้าหาอาคารศูนย์วัฒนธรรมอาตาเติร์ก ซึ่งมีภาพวาดของ มุสตาฟา เคมาล อาตาเติร์ก ผู้ก่อตั้งและประธานาธิบดีคนแรกของตุรกีติดอยู่ เพื่อสื่อสารว่ายังมีประชาชนคนธรรมดาคนหนึ่งที่ไม่ยอมให้กับอำนาจรัฐมากดขี่อย่างเด็ดขาด จนทำให้การเคลื่อนไหวของเขาได้รับการเรียกในสื่อภาษาอังกฤษ​ว่า “standing man” หรือ “คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย” หลังจากเรื่องราวของเขาถูกนำเสนอฝ่ายโลกสังคมออนไลน์จนทำให้มีผู้มาเข้าร่วมยืนกับเขาเป็นจำนวนมากขึ้นโดยไม่มีการพูดคุย หรือ ส่งข้อความใด ๆ แต่เป็นเพียง “ยืนเฉยๆ” ในรูปแบบของตัวเอง ซึ่งการยืนอ่านหนังสือได้เริ่มต้นนำมาใช้ในการแสดงพลังและได้มีการจัดตั้งกลุ่ม “Taksim Square Book Club” ซึ่งเป็นกลุ่มของผู้ประท้วงที่ยืนอย่างอ่านหนังสืออย่างสงบด้วย[1]

 

ภาพ การยืนอ่านหนังสือของผู้ประท้วงที่จัตุรัสทักซิม ประเทศตุรกี[2]

Reading a book (1).jpg
Reading a book (1).jpg
Reading a book (2).jpg
Reading a book (2).jpg
Reading a book (3).jpg
Reading a book (3).jpg

 

          ทั้งนี้ การยืนอ่านหนังสือได้กลายเป็นรูปแบบในการประท้วงหลังจากการรัฐประหาร ปี พ.ศ. 2557 อันเป็นผลจากการสร้างบรรยากาศแห่งความกลัวผ่านการจับตัวผู้ออกมาประท้วงในลักษณะ “ปะทะตรง” จึงได้เกิดการทำกิจกรรมที่หลีกเลี่ยงการแสดงออกโดยตรงเพื่อลดเงื่อนไขการใช้อำนาจจับกุมของเจ้าหน้าที่ หากใครเห็นด้วยก็สามารถที่จะริเริ่มกิจกรรมลักษณะนี้กันได้ทันที แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นกิจกรรมที่สามารถสื่อถึงการคัดค้านได้อย่างมีพลังด้วย[3] การยืนอ่านหนังสือในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 มีกลุ่มผู้ทำกิจกรรม จำนวน 4 คน นัดกันมายืนอ่านหนังสือบนสกายวอล์ก แยกปทุมวัน โดยได้แรงบันดาลใจจากการยืนอ่านหนังสือประท้วงรัฐบาลในประเทศตุรกี[4] และในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ก็มีประชาชน จำนวน 10 คน มายืนอ่านหนังสือบนทางเชื่อมบีทีเอส บีอาร์ที สกายบริดจ์ ซึ่งการชุมนุมเป็นไปอย่างสงบ ไม่มีเหตุรุนแรง[5] ต่อมาเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ประชาชน 9 คน นัดมานั่งอ่านหนังสือภายใต้ชื่อกิจกรรมนักอ่านต้านรัฐประหาร ครั้งที่ 3 ที่สกายวอล์คบีทีเอสช่วงหน้าวัดปทุมวนาราม เป็นเวลาราว 1 ชั่วโมง เพื่อแสดงออกถึงการต้านรัฐประหาร[6] นอกจากนี้ยังเกิดกลุ่มการอ่านในฐานะการต่อต้าน (Reading As Resistance – RAR) จัดกิจกรรมการประท้วงด้วยการอ่านหนังสือ เช่น อ่านบนรถไฟฟ้าหรือสถานีรถไฟฟ้า เป็นต้น[7]

          อย่างไรก็ดี การประท้วงด้วยการยืนอ่านหนังสือได้รับความสนใจอย่างมาก เมื่อมีการจัดกิจกรรมขึ้นในวันครบรอบ 1 เดือนการทำรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557 โดยกลุ่มนักศึกษาศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย (ศนปท.) ซึ่งเตรียมทำกิจกรรม “ไม่มีอะไรมว๊าก แค่อยากกินแซนด์วิช” ซึ่งนอกจากจะมีการนัดหมายจับกลุ่มในการยืนอ่านหนังสือแล้ว ยังได้เกิดเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ทหารตำรวจนอกเครื่องแบบเข้ามาควบคุมตัวผู้เข้าร่วมกิจกรรมซึ่งแต่งกายคล้ายชุดนักศึกษา สวมเสื้อสีขาว กางเกงสีกรมท่า เนกไทแดง สวมแว่นตาดำ มานั่งกินแซนด์วิช อ่านหนังสือชื่อ “1984” และเปิดเพลงชาติฝรั่งเศส ที่ลานน้ำพุ สยาม และถูกปล่อยตัวที่สนามกีฬากองทัพบก ถนนวิภาวดี ในเวลาต่อมาหลังจากนั้นแล้ว ยังได้มีการจัดกิจกรรมในพื้นที่อื่น ๆ อีก ได้แก่ กลุ่มนักศึกษาศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย ศนปท. รวมกลุ่มกันยืนกินแซนด์วิชและอ่านหนังสือ 1984 เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ต้านรัฐประหารหน้าสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้น[8]

ภาพ การยืนอ่านหนังสือต้านรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557 [9]

Reading a book (4).jpg
Reading a book (4).jpg
Reading a book (5).jpg
Reading a book (5).jpg

         

          กล่าวได้ว่า หนังสือที่นิยมนำมาใช้ในการยืนอ่านหนังสือ ได้แก่ หนังสือชื่อ “1984” ซึ่งเป็นนวนิยายที่เขียนโดย George Orwell (จอร์จ ออร์เวลล์) นักเขียนชาวอังกฤษ เป็นนวนิยายว่าด้วยเรื่องราวของชายคนหนึ่งที่ทำงานใน “กระทรวงความจริง” ในรัฐบาลเผด็จการ ที่มี “พี่เบิ้ม” หรือ “Big Brother” จับตาดูพฤติกรรมของประชาชน สร้างโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับรัฐ การร้องเพลง การสร้างศัตรูของชาติ การลบเลือนบิดเบือนทำลายประวัติศาสตร์ สร้างคำใหม่ ๆ ขึ้นมา เพื่อบิดเบือนความหมายและเรียกการคิดอย่างเสรีว่าเป็น “อาชญากรรมทางความคิด” เป็นต้น ขณะเดียวกันก็เป็นนวนิยายคลาสสิกที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก สามารถใช้สื่อสารแนวคิดไปยังคนในประเทศอื่น ๆ ได้[10]

          เล่มต่อมา คือ หนังสือ ชื่อ “The Myth Of Sisyphus” เขียนโดยอัลแบร์ กามู (Albert Camus) นักเขียนชาวฝรั่งเศส ซึ่งว่าด้วยตำนานของซิซีฟัส ชายที่ต้องเข็นหินขึ้นเขาวนไปซ้ำ ๆ เพื่อให้เห็นว่า ชีวิตคนเราก็เป็นแบบนี้แหละ ทำสิ่งเดิม ๆ ไปตลอดชีวิต เป็นการชวนตั้งคำถามเชิงปรัชญาถึงการมีชีวิตอยู่ในโลกที่ไร้ความหมายและไร้แก่นสาร[11] รวมไปถึงหนังสือ ชื่อ “A Speech” ที่รวบรวมสุนทรพจน์ของ มุสตาฟา เคมาล อาตาเติร์ก (Mustafa Kemal Atatürk) ประธานาธิบดีคนแรกของตุรกี

          ในด้านหนังสือภาษาไทยนั้น หนังสือที่ได้มีการนำมาใช้ในการยืนอ่าน ได้แก่ หนังสือ เรื่อง “1968 เชิงอรรถการปฏิวัติ” เขียนโดย ธเนศ วงศ์ยานนาวา ซึ่งได้วิเคราะห์ที่มาที่ไปและข้อถกเถียงรวมถึงเกร็ดต่าง ๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ เช่น การเสื่อมความนิยมของการเมืองแบบยึดอำนาจรัฐหรือมีพรรคคอมมิวนิสต์ชี้นำ การเฟื่องฟูของการเมืองบนท้องถนน ขบวนการทางสังคมแบบใหม่ หรือ “สังคมแห่งการประท้วง” รวมทั้งความคิดที่ว่า เรื่องการปฏิวัติที่ไม่ได้ผูกขาดโดยการต่อสู้ทางชนชั้นอีกต่อไป ตลอดจนการยกย่องให้ชีวิตประจำวันเป็นรากฐานของการต่อสู้ทางการเมือง เป็นต้น[12]

          หนังสือเล่มต่อมา คือ “เหตุใดต่อต้านด้วยสันติวิธีจึงได้ผล : ตรรกะเชิงยุทธศาสตร์ของความขัดแย้งแบบไม่ใช้ความรุนแรง”  แปลโดย จันจิรา สมบัติพูนศิริ จากต้นฉบับหนังสือที่ชื่อ Why civil resistance works ของ Erica Chenoweth และ Maria J. Stephen เป็นการตอบคำถามว่าทำไมขบวนการภาคประชาชน ใช้ปฏิบัติการไร้ความรุนแรงจึงประสบความสำเร็จในประเทศต่าง ๆ เช่น เซอร์เบีย มาดาร์กัสการ์ จอร์เจีย ยูเครน รวมถึงเลบานอน และเนปาล เหตุใดผู้คนจึงเลือกใช้ปฏิบัติการไร้ความรุนแรงในการต่อสู้สามารถท้าทายอำนาจชนชั้นนำ และเหตุใดปฏิบัติการดังกล่าวจึงช่วยให้ผู้บรรลุเป้าหมายทางการเมืองได้ ในขณะที่หนังสือชื่อ “Noli Me Tangere” เขียนโดย โอเซ ริซัล (Jose Rizal) หรือชื่อที่ได้รับการแปลโดย จิตราภรณ์ ตันรัตนกุล เป็นภาษาไทยว่า “อันล่วงละเมิดมิได้” ซึ่งผู้เขียนเป็นสมาชิกกลุ่มกบฏใต้ดินในฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นหนังสือเสียดสีสังคมที่เล่าถึงสมัยที่ฟิลิปปินส์ยังเป็นอาณานิคมของสเปน โดยมีระบบสังคมที่ถูกรัฐกุมไว้ด้วยการบริหารแบบแยกชนชั้น คือ ชนชั้นของชาวสเปนที่มาจากสเปน ชาวสเปนที่เกิดในฟิลิปปินส์ และชาวฟิลิปปินส์ และกดทับผู้คนผ่านศาสนา โดยบาทหลวงที่ใช้อำนาจโบสถ์ทำเรื่องเลวร้าย[13] ต่อมาคือหนังสือชื่อ “ถอดรื้อมายาคติ (Deconstruct)” เป็นการรวมการบรรยายของนักวิชาการด้านต่าง ๆ ที่ได้บรรยายในโครงการโรงเรียนนักข่าวซึ่งจัดโดยศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง โดยกล่าวถึงมายาคติต่าง ๆ ในสังคมไทยไม่ว่าจะเป็นเรื่องชาติ ศาสนา สถาบันกษัตริย์ วิทยาศาสตร์ หรือแม้แต่กับวงการสื่อสารมวลชนเอง[14] เป็นต้น

          นอกจากการยืนอ่านหนังสือเพื่อประท้วงทางการเมืองแล้ว การยืนอ่านหนังสือยังมีขึ้นเพื่อเป้าหมายในการตั้งคำถามและเรียกร้องในประเด็นเฉพาะกิจ เช่น กิจกรรม “ยืนอ่านกันเงียบ ๆ” ที่เป็นการสื่อสารเชิงสัญลักษณ์ของกลุ่มนักเขียนและคนในวงการวรรณกรรมหลายคนที่ตั้งข้อสงสัยถึงความคุ้มค่าและไม่เห็นด้วยกับโครงการ “อ่านกันสนั่นเมือง” ที่จัดโดยกรุงเทพมหานครใช้งบประมาณไปกว่า 100 ล้านบาท และใช้งบประมาณไปกับโครงการกรุงเทพเมืองหนังสือโลกไปราว 1,400 ล้านบาท เพื่อแสดงพลังผ่านแนวคิดว่าการอ่านที่มีคุณภาพไม่จำเป็นต้องใช้กิจกรรมประชาสัมพันธ์มากมายและไม่เกิดประโยชน์ เพราะการอ่านสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ หากได้รับการสนับสนุนอย่างทั่วถึงให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการอ่านให้ง่ายขึ้น และมีการสนับสนุนให้มีการจัดพิมพ์หนังสือดีๆ เพื่อให้เกิดการอ่านที่มีคุณภาพแท้จริง[15]

 

อ้างอิง

[1] “ขอบฟ้าความเป็นไปได้ 3 : เออร์เดม กุนดุซ “คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย”.สืบค้นจากhttps://progressivemovement.in.th/article/ 4221/ (25 กรกฎาคม 2564) และ “Book News: Turkish Protesters Form 'Taksim Square Book Club'”, Retrieved from URL https:// www.npr.org/sections/thetwo-way/2013/06/26/195810335/book-news-turkish-protesters-form-taksim-square-book-club(26 July 2021).

[2] “In Pictures: The Taksim Square Book Club”, Retrieved from URL https://www.aljazeera.com/gallery/2013/6/24/in-pictures-the-taksim-square-book-club(26 July 2021).

[3] “สี่ปีคสช.: สัญลักษณ์และประดิษฐกรรมแห่งการท้าทายอำนาจรัฐทหาร”.สืบค้นจาก https://www.newmandala.org/sandwiches-1984-wristwatches-four-years-ncpo-four-years-creative-resistance-part-one/(25 กรกฎาคม 2564).

[4] “ประท้วงรัฐประหารด้วยการยืนอ่านหนังสือ”.สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2014/05/53587(25 กรกฎาคม 2564).

[5] “7 สิ่งของธรรมดาที่กลายเป็น “สัญลักษณ์” ของการประท้วงไทย https://www.sanook.com/news/8235570/(25 กรกฎาคม 2564).

[6] “ประมวลกิจกรรม การต้านคณะรัฐประหาร, รัฐบาลและนโยบาย”.สืบค้นจาก  https://www.tcijthai.com/news/2016/05/scoop/ 6235(25 กรกฎาคม 2564).

[7]“ คุยกับ ‘แชมป์ 1984’ นักศึกษาร่างใหญ่กินแซนด์วิชก่อนถูกลากตัว ในวันครบรอบ 1 เดือนรัฐประหาร”.สืบค้นจาก https://prachatai. com/journal/2014/08/55129(25 กรกฎาคม 2564).

[8] “นักศึกษารวมตัวกินแซนด์วิช-อ่านหนังสือ 1984 หน้าสถานทูตสหรัฐฯ”.สืบค้นจาก https://www.5forcenews.com/?p=3093(25 กรกฎาคม 2564).

[9] “คุยกับ ‘แชมป์ 1984’ นักศึกษาร่างใหญ่กินแซนด์วิชก่อนถูกลากตัว ในวันครบรอบ 1 เดือนรัฐประหาร”.สืบค้นจาก https://prachatai. com/journal/2014/08/55129(25 กรกฎาคม 2564).

[10] “คุยกับ ‘แชมป์ 1984’ นักศึกษาร่างใหญ่กินแซนด์วิชก่อนถูกลากตัว ในวันครบรอบ 1 เดือนรัฐประหาร”.สืบค้นจาก https://prachatai. com/ journal/2014/08/55129

[11] “อยู่รอดท่ามกลางความไร้แก่นสารของชีวิต กับ อัลแบร์ กามู”.สืบค้นจาก https://thematter.co/brief/happy-birthday-albert-camus/38722?fbclid=IwAR2e7PEssKPylVPzCv8feP4HhsSulwPTyjhdAxfcd04Z7DGw8K8EPS69aUw (25 กรกฎาคม 2564).

[12] “1968 เชิงอรรถการปฏิวัติ”.สืบค้นจาก https://www.goodreads.com/book/show/23619323-1968(25 กรกฎาคม 2564).

[13] “ปชช.นัดยืนอ่านหนังสือต้านรัฐประหาร วันที่ 2 หวังเลี่ยงเผชิญหน้า จนท.ทหาร”.สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2014/ 05/ 53648(25 กรกฎาคม 2564).

[14] “อดรื้อมายาคติ DECONSTRUCT”.สืบค้นจาก https://www.tcijthai.com/news/2017/2/ebook/6779(25 กรกฎาคม 2564).

[15] “อ่านอย่างมีคุณภาพ ในกิจกรรม"ยืนอ่านกันเงียบๆ”.สืบค้นจาก "https://news.thaipbs.or.th/content/184417(25 กรกฎาคม 2564).