ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 22: | บรรทัดที่ 22: | ||
สำหรับกระบวนการยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะเริ่มต้นจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผ่านอัยการสูงสุด และยื่นฟ้องไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง | สำหรับกระบวนการยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะเริ่มต้นจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผ่านอัยการสูงสุด และยื่นฟ้องไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง | ||
<span style="font-size:x-large;">'''เขตอำนาจศาลของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง'''</span> | = <span style="font-size:x-large;">'''เขตอำนาจศาลของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง'''</span> = | ||
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจไต่สวนและพิพากษาบุคคลผู้กระทำผิดในข้อกล่าวหาดังต่อไปนี้ | ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจไต่สวนและพิพากษาบุคคลผู้กระทำผิดในข้อกล่าวหาดังต่อไปนี้ | ||
บรรทัดที่ 52: | บรรทัดที่ 52: | ||
[[#_ftnref2|[2]]] ศาลฎีกา, 2021. “เกี่ยวกับแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง.” สืบค้นเมื่อ 20 Sep 2021<br/> จาก [http://www.supremecourt.or.th/division/แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง/เกี่ยวกับแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง http://www.supremecourt.or.th/division/แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง/เกี่ยวกับแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง] | [[#_ftnref2|[2]]] ศาลฎีกา, 2021. “เกี่ยวกับแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง.” สืบค้นเมื่อ 20 Sep 2021<br/> จาก [http://www.supremecourt.or.th/division/แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง/เกี่ยวกับแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง http://www.supremecourt.or.th/division/แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง/เกี่ยวกับแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง] | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:ศาลฎีกา]][[Category:นักการเมือง]][[Category:สถาบันตุลาการ]] | [[Category:ศาลฎีกา]] [[Category:นักการเมือง]] [[Category:สถาบันตุลาการ]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:04, 31 มีนาคม 2565
ผู้เรียบเรียง : รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธพร อิสรชัย
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นแผนกหนึ่งในศาลฎีกาซึ่งก่อตั้งขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นศาลที่เป็นส่วนหนึ่งของศาลยุติธรรม ที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีบางประเภทและผู้ที่จะถูกดำเนินคดีในศาลจำกัดเฉพาะบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งอื่นตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดเท่านั้น[1] ปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยังคงบัญญัติให้มีแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา โดยได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหลักการสำคัญบางประการ
แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็น 1 ใน 11 แผนกของศาลฎีกา เปิดทำการครั้งแรกเมื่อ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 บัญญัติในมาตรา 194 ว่าให้มีแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา
ความเป็นมาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
การปฏิรูปการเมืองที่นำมาสู่การร่างรัฐธรรมนูญใน พ.ศ. 2540 ได้มีการหยิบยกประเด็นการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือการคอร์รัปชั่นของนักการเมืองและการประพฤติมิชอบในวงราชการมีมากขึ้น แต่การดำเนินคดีอาญาตามปกติไม่อาจแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องตั้งแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองขึ้นในศาลฎีกา เพื่อให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาศาลฎีกาเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีโดยมีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นผู้สอบสวนและส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดฟ้องหรือ ป.ป.ช. สามารถฟ้องคดีเอง
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และกระบวนการยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
การพิจารณาพิพากษาคดี มีกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญาฃองผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใช้บังคับโดยเฉพาะเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญมีซื่อว่า “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารพาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560” หากไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้บังคับ ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมการพิจารณาคดีใช้ระบบไต่สวนซึ่งต่างจากคดีทั่วไปที่ใช้ระบบกล่าวหา
สำหรับกระบวนการยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะเริ่มต้นจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผ่านอัยการสูงสุด และยื่นฟ้องไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
เขตอำนาจศาลของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจไต่สวนและพิพากษาบุคคลผู้กระทำผิดในข้อกล่าวหาดังต่อไปนี้
1. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ถูกกล่าวหาว่าทุจริตต่อหน้าที่ จงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือขัดต่อกฎหมาย หรือรํ่ารวยผิดปกติ
2. กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ซ.) ถูกกล่าวหาว่าทุจริตต่อหน้าที่จงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือขัดต่อกฎหมาย หรือร่ำรวยผิดปกติ
3. บุคคลธรรมดาที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ผู้ให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่นักการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ซ.) ถูกกล่าวหาว่าจูงใจให้บุคคลเหล่านี้กระทำการ ไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่
4. นักการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ถูกกล่าวหาว่าจงใจไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและ หนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินอันเป็นเท็จ
องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
องค์คณะผู้พิพากษาในคดีประกอบด้วยผู้พิพากษาหรือผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกาจำนวน 9 คน ซี่งได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา การพิจารณาพิพากษาคดีอาศัยเสียงข้างมากขององค์คณะ นอกจากองค์คณะจะต้องทำคำพิพากษากลางแล้ว องค์คณะแต่ละคนยังต้องทำคำวินิจฉัยส่วนตนเปิดเผยต่อสาธารณะหลังจากได้อ่านคำพิพากษากลางแล้วด้วย[2]
การอุทธรณ์คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
คำพิพากษาในคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้อุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ภายใน 30 วัน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาองค์คณะผู้พิพากษาในชั้นอุทธรณ์คือ ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสไม่ต่ำกว่าหัวหน้าคณะในศาลฎีกา หรือผู้พิพากษาอาวุโสผู้เคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าหัวหน้าคณะในศาลฎีกาผู้ซึ่งไม่เคยเป็นองค์คณะเดิมจำนวน 9 คน ที่ได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา
ภาพที่ 1 กระบวนการพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ที่มา : ศาลฎีกา, 2021. “เกี่ยวกับแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง.” สืบค้นเมื่อ 20 Sep 2021 จาก http://www.supremecourt.or.th/division/แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง/เกี่ยวกับแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
อ้างอิง
[1] บรรหาร กำลา, 2553. “ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง: อำนาจพิจารณาพิพากษาในการดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง.” วารสารจุลนิติ. (พ.ย. - ธ.ค. 2553), หน้า 177.
[2] ศาลฎีกา, 2021. “เกี่ยวกับแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง.” สืบค้นเมื่อ 20 Sep 2021
จาก http://www.supremecourt.or.th/division/แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง/เกี่ยวกับแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง