ผลต่างระหว่างรุ่นของ "Free youth"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''เรียบเรียงโดย''' : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิตพ..."
 
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 45: บรรทัดที่ 45:


 
 


=== '''ลักษณะการเคลื่อนไหวในช่วงแรก''' ===
=== '''ลักษณะการเคลื่อนไหวในช่วงแรก''' ===
บรรทัดที่ 52: บรรทัดที่ 53:
          อย่างไรก็ตาม '''กลุ่มเยาวชนปลดแอก'''ได้กลายมาเป็นกลุ่มการเมืองที่มีอิทธิพลเป็นอย่างมากในช่วงครึ่งปีหลังของการชุมนุมประท้วงในปี 2563 โดยกลุ่มเยาวชนปลดแอกอาศัยทักษะในการสื่อสารอย่างสั้นกระชับสนุกสนาน และสามารถทำงานกราฟฟิกได้อย่างสวยงาม การจับประเด็นในสังคมที่เก่ง ทำให้กลุ่มเยาวชนปลดแอกกลายเป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีอิทธิพลในการติดตามข่าวสารของการชุมนุมในช่วงเวลานั้น ขณะเดียวกันกลุ่มเยาวชนปลดแอกก็เริ่มที่จะแสดงตัวเป็นผู้จัดการชุมนุมมากยิ่งขึ้น
          อย่างไรก็ตาม '''กลุ่มเยาวชนปลดแอก'''ได้กลายมาเป็นกลุ่มการเมืองที่มีอิทธิพลเป็นอย่างมากในช่วงครึ่งปีหลังของการชุมนุมประท้วงในปี 2563 โดยกลุ่มเยาวชนปลดแอกอาศัยทักษะในการสื่อสารอย่างสั้นกระชับสนุกสนาน และสามารถทำงานกราฟฟิกได้อย่างสวยงาม การจับประเด็นในสังคมที่เก่ง ทำให้กลุ่มเยาวชนปลดแอกกลายเป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีอิทธิพลในการติดตามข่าวสารของการชุมนุมในช่วงเวลานั้น ขณะเดียวกันกลุ่มเยาวชนปลดแอกก็เริ่มที่จะแสดงตัวเป็นผู้จัดการชุมนุมมากยิ่งขึ้น


          ด้วยภาพลักษณ์การเคลื่อนไหวที่ดูจะบริสุทธิ์ และไม่มีพิษมีภัยทำให้กลุ่มเยาวชนปลดแอกสามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมชุมนุมได้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะหลังจากที่'''อานนท์ นำภา''' และ'''ภานุพงศ์ จาดนอก''' ถูกจับตัว ทางเยาวชนปลดแอกสามารถดึงดูดจนเกิดเป็นการชุมนุมที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในรอบหลายปีในวันที่ 16 สิงหาคม 2563[[#_ftn3|[3]]]
          ด้วยภาพลักษณ์การเคลื่อนไหวที่ดูจะบริสุทธิ์ และไม่มีพิษมีภัยทำให้กลุ่มเยาวชนปลดแอกสามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมชุมนุมได้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะหลังจากที่ '''อานนท์ นำภา''' และ '''ภานุพงศ์ จาดนอก''' ถูกจับตัว ทางเยาวชนปลดแอกสามารถดึงดูดจนเกิดเป็นการชุมนุมที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในรอบหลายปีในวันที่ 16 สิงหาคม 2563[[#_ftn3|[3]]]


          พร้อมๆ กับการเคลื่อนไหวของ'''กลุ่มเยาวชนปลดแอก'''ได้มี'''กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม''' ซึ่งเคลื่อนไหวในแนวทางที่ดูสุดโต่งมากยิ่งขึ้น ทำให้ขบวนการนักศึกษาแตกออกเป็นสองสายอย่างชัดเจน โดยกลุ่มเยาวชนปลดแอกนั้นจะมีภาพลักษณ์ ทีเล่นทีจริง มีความบริสุทธิ์แบบเด็กรุ่นใหม่มากกว่ากลุ่มอย่างธรรมศาสตร์และการชุมนุม
          พร้อมๆ กับการเคลื่อนไหวของ'''กลุ่มเยาวชนปลดแอก'''ได้มี'''กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม''' ซึ่งเคลื่อนไหวในแนวทางที่ดูสุดโต่งมากยิ่งขึ้น ทำให้ขบวนการนักศึกษาแตกออกเป็นสองสายอย่างชัดเจน โดยกลุ่มเยาวชนปลดแอกนั้นจะมีภาพลักษณ์ ทีเล่นทีจริง มีความบริสุทธิ์แบบเด็กรุ่นใหม่มากกว่ากลุ่มอย่างธรรมศาสตร์และการชุมนุม

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:05, 17 กุมภาพันธ์ 2565

เรียบเรียงโดย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิตพร และ ธีทัต จันทราพิชิต

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต

 

          กลุ่มเยาวชนปลดแอก หรือ Free Youth เป็นชื่อของหนึ่งในขบวนการนักศึกษาที่มีบทบาทต่อการชุมนุมในประเทศไทยปี 2563 โดยกลุ่มเยาวชนปลดแอกเป็นกลุ่มที่มีผู้ติดตามมากที่สุดในบรรดาขบวนการเคลื่อนไหวทั้งหมด โดยมีจำนวนผู้กดไลค์แฟนเพจเฟซบุ๊คในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2564 ทั้งสิ้นกว่าหนึ่งล้านห้าแสนคนมีผู้ติดตามในทวิตเตอร์ถึงสามแสนกว่าคน และมีสมาชิกในกลุ่มเทเรแกรมกว่าหนึ่งแสนบัญชี

          โดยตลอดระยะเวลาการชุมนุมในปี 2563 กลุ่มเยาวชนปลดแอกได้มีส่วนร่วมในการจัดการชุมนุมหลายต่อหลายครั้ง และร่วมเป็นภาคีเครือข่ายของขบวนการนักศึกษาอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก ด้วยการใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและกราฟฟิกที่สวยงาม ทำให้กลุ่มเยาวชนปลดแอกทำหน้าที่เป็นช่องทางหลักในการสื่อสารของกลุ่มผู้ชุมนุมกับกลุ่มขบวนการนักเรียน นิสิตนักศึกษาในช่วงหนึ่งของการชุมนุมในปี 2563 โดยกลุ่มเยาวชนปลดแอกได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 16 สิงหาคม 2563 การชุมนุมที่แยกราชประสงค์ในวันที่ 15 ตุลาคม 2563 การชุมนุมที่แยกปทุมวันในวันที่ 16 ตุลาคม 2563 การชุมนุมที่ห้าแยกลาดพร้าวในวันที่ 17 ตุลาคม 2563  การชุมนุมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิในวันที่ 18 ตุลาคม 2563 รวมไปถึงการชุมนุมที่สถานทูตเยอรมนีประจำประเทศไทยในวันที่ 26 ตุลาคม 2563

     

บทบาทของเยาวชนปลดแอก

          กลุ่มเยาวชนปลดแอกปรากฎตัวครั้งแรกในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2562 โดยมีความพยายามผลักดันประเด็นทางสังคมอย่างการเกณฑ์ทหาร ทว่าจากการไม่พอใจทางการเมืองที่เกิดขึ้นในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในการจัดกิจกรรมการชุมนุม “เมื่อเสียงที่พวกเราเลือกเข้าสภาไม่มีค่า ได้เวลาประชาชนออกมาส่งเสียงด้วยตัวเอง[1] เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2562 ซึ่งมีนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจและพรรคอนาคตใหม่เป็นผู้ริเริ่มจนมีการนัดรวมตัวกันที่สกายวอล์กหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ทางเพจกลุ่มเยาวชนปลดแอกก็ได้ลงรูปแสดงตัวว่ามีการเข้าร่วมชุมนุม แม้ว่าจะไม่ได้มีส่วนร่วมในการเป็นกลุ่มแกนนำจัดการชุมนุมที่ชัดเจนนัก

          ในเวลาต่อมา เมื่อเกิดการยุบพรรคอนาคตใหม่ กลุ่มเยาวชนปลดแอกก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของการชุมนุมขับไล่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ เหมือนกับกลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษาจำนวนมาก แต่ไม่ได้มีบทบาทโดดเด่นอะไรนักในช่วงแรก จนกระทั่งเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 และประเทศไทยต้องเข้าสู่มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมก็ยังไม่มีบทบาทนำอย่างแน่ชัด หากแต่ในช่วงนั้น เยาวชนปลดแอกได้ทำการเขียนบทความเป็นโพสต์ในเฟซบุ๊ค เรียกร้องประเด็นทางสังคมโดยเฉพาะด้านการศึกษาเป็นระยะ เช่น การเรียกร้องให้มีการคืนค่าเทอมสำหรับนิสิตนักศึกษา แต่กรณีที่ช่วยผลักดันกลุ่มเยาวชนปลดแอกให้มีชื่อเสียงได้มากที่สุดในระยะแรกคือ การเขียนโพสต์เรื่องการอุ้มหายซึ่งเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นในสังคมขณะนั้น

          กระทั่งเกิดเหตุการณ์ทหารจากประเทศอียิปต์เข้ามาในประเทศไทยโดยไม่ทำการกักตัว สร้างความไม่พอใจต่อประชาชนจำนวนมาก เพราะมองว่ามีกลุ่มคนที่มีอภิสิทธิ์ ขณะที่พวกตนได้รับความลำบากทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมากทำให้เกิดการชุมนุมขึ้นอีกครั้ง โดยครั้งนี้กลุ่มเยาวชนปลดแอกได้เป็นกลุ่มแรกที่นัดรวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อแสดงพลังในเย็นของวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 ส่งผลให้แฮชแท็คเยาวชนปลดแอกขึ้นอันดับหนึ่งของทวิตเตอร์ประเทศไทย และทำให้กลุ่มเยาวชนปลดแอกเป็นกลุ่มขบวนการนักศึกษาที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในช่วงหนึ่งของการชุมนุม

          โดยกลุ่มเยาวชนปลดแอกมีข้อเรียกร้องสามประการได้แก่[2]

          1. หยุดคุกคามประชาชน

          2. ร่างรัฐธรรมนูญใหม่

          3. ยุบสภาภายใต้กติกาที่เป็นประชาธิปไตย

 

แนวคิด อุดมการณ์ และวิธีการเคลื่อนไหวของกลุ่มเยาวชนปลดแอก

          กลุ่มเยาวชนปลดแอกมีแนวคิดอุดมการณ์ที่ค่อนข้างเป็นพลวัต ในช่วงแรกกลุ่มเยาวชนปลดแอกนับได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีความสุดโต่งทางการเมืองเห็นได้จากอิทธิพลความคิดแบบมาร์กซิสต์ได้จากการตั้งชื่อกลุ่มและในระยะแรกกลุ่มเยาวชนปลดแอกจะเน้นไปที่การวิพากษ์ทางสังคมแบบถอนรากถอนโคน กระทั่งเมื่อกลุ่มเยาวชนปลดแอกมีอำนาจนำในการชุมนุม กลุ่มเยาวชนปลดแอกจึงได้พลิกบทบาทโดยการแสดงตัวเป็นกลุ่ม การเคลื่อนไหวที่เปิดรับคนจากกลากหลายกลุ่มมากยิ่งขึ้น และกลายเป็นกลุ่มการเมืองที่เปิดกว้าง และไม่สุดโต้งที่สุดกลุ่มหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่งของการชุมนุมของขบวนการนิสิตนักศึกษาในปี 2563

          ทว่าในระยะหลังกลุ่มเยาวชนปลดแอกได้ขับเคี่ยวกับกลุ่มขบวนการนักศึกษากลุ่มอื่นเพื่อแย่งชิงการนำ จนสุดท้ายนำมาสู่การกลับไปมีความคิดสุดโต่งอีกครั้งหนึ่ง และกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในกลุ่มผู้เรียกร้องประชาธิปไตยเสียเอง

          “แฟลชม็อบ" (flash mob) เป็นวิธีการสำคัญที่กลุ่มเยาวชนปลดแอกใช้ในการเคลื่อนไหวจัดกิจกรรมในบริบทของต่างประเทศ แฟลชม็อบหมายถึงการรวมตัวกันอย่างฉับพลันโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อความบันเทิงในลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการร้องเพลง การเต้น หรือการเล่นปาหมอน แต่ในกรณีประเทศไทยแฟลชม็อบหมายถึงการชุมนุมประท้วงที่ไม่ได้ปักหลัก โดยจะเป็นแบบมาเร็วไปเร็ว

          บางช่วงกลุ่มเยาวชนปลดแอกจะใช้วิธีการประกาศชุมนุมพร้อมๆ กันหลายๆ ที่ แล้วบางครั้งจึงค่อยประกาศจุดชุมนุมจริงๆ อย่างเร่งด่วนเพื่อไม่ให้ตำรวจควบคุมฝูงชนสามารถมาได้ทันเวลา จนรัฐบาลต้องทำการขออนุญาตปิดการขนส่งระบบรางเกือบทั้งระบบในบางช่วงเวลาเพื่อทำให้การเข้าร่วมชุมนุมเป็นไปได้ยาก

          นอกจากนั้นการสื่อสารของกลุ่มเยาวชนปลดแอกก็เป็นจุดสำคัญที่ทำให้กลุ่มเยาวชนปลดแอกประสบความสำเร็จ โดยกลุ่มเยาวชนปลดแอกใช้วิธีการสื่อสารผ่านงานกราฟฟิกที่ง่ายๆ กระชับ มีอารมณ์ขัน และให้ความรู้สึกสนุกสนาน จนทำให้ภาพลักษณ์การเมืองที่อาจถูกมองเป็นเรื่องเคร่งเครียดหายไป

          อีกยุทธวิธีหนึ่งที่เยาวชนปลดแอกเลือกนำมาใช้ในการเคลื่อนไหวคือการแตกแบรนด์ กล่าวคือกลุ่มเยาวชนปลดแอกจะใช้วิธีการสร้างกลุ่มใหม่ของตัวเองขึ้นมา โดยที่มีแกนนำและสมาชิกเหมือนเดิม กลุ่มแรกที่เยาวชนปลดแอกสร้างคือ ประชาชนปลดแอก เพื่อให้รู้สึกว่าการชุมนุมไม่ใช่การชุมนุมของนักเรียน นิสิต นักศึกษาเท่านั้น แต่เป็นการชุมนุมของทุกคน อีกกลุ่มต่อมาคือ กลุ่ม RT ซึ่งเคลื่อนไหวด้วยโวหารแบบมาร์กซิสต์แต่ก็เป็นอันต้องยกเลิกไปและกลายเป็นกลุ่ม REDEM ในปัจจุบัน

 


ลักษณะการเคลื่อนไหวในช่วงแรก

          ช่วงแรกการเคลื่อนไหวของกลุ่มเยาวชนปลดแอกนั้นค่อนข้างจะมีลักษณะเป็นการให้ข้อมูลเสียมากกว่าที่จะเป็นกลุ่มสำหรับดำเนินการจัดการชุมนุมโดยเฉพาะ ช่วงแรกแฟนเพจเฟซบุ๊คเยาวชนปลดแอกได้พยายามให้ความรู้ผลักดันประเด็นทางสังคมเป็นเรื่องๆ ไป อาทิ การยกเลิกการเกณฑ์ทหาร หรือประเด็นเรื่องการทวงคืนค่าเทอมนักศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ถึงแม้ว่ากลุ่มเยาวชนปลดแอกจะมีส่วนร่วมในการช่วยประชาสัมพันธ์สำหรับการชุมนุมของนักศึกษาหลังจากการยุบพรรคอนาคตใหม่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 เยาวชนปลดแอกก็ไม่ได้เป็นกลุ่มที่มีบทบาทมากนัก

          อย่างไรก็ตาม กลุ่มเยาวชนปลดแอกได้กลายมาเป็นกลุ่มการเมืองที่มีอิทธิพลเป็นอย่างมากในช่วงครึ่งปีหลังของการชุมนุมประท้วงในปี 2563 โดยกลุ่มเยาวชนปลดแอกอาศัยทักษะในการสื่อสารอย่างสั้นกระชับสนุกสนาน และสามารถทำงานกราฟฟิกได้อย่างสวยงาม การจับประเด็นในสังคมที่เก่ง ทำให้กลุ่มเยาวชนปลดแอกกลายเป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีอิทธิพลในการติดตามข่าวสารของการชุมนุมในช่วงเวลานั้น ขณะเดียวกันกลุ่มเยาวชนปลดแอกก็เริ่มที่จะแสดงตัวเป็นผู้จัดการชุมนุมมากยิ่งขึ้น

          ด้วยภาพลักษณ์การเคลื่อนไหวที่ดูจะบริสุทธิ์ และไม่มีพิษมีภัยทำให้กลุ่มเยาวชนปลดแอกสามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมชุมนุมได้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะหลังจากที่ อานนท์ นำภา และ ภานุพงศ์ จาดนอก ถูกจับตัว ทางเยาวชนปลดแอกสามารถดึงดูดจนเกิดเป็นการชุมนุมที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในรอบหลายปีในวันที่ 16 สิงหาคม 2563[3]

          พร้อมๆ กับการเคลื่อนไหวของกลุ่มเยาวชนปลดแอกได้มีกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ซึ่งเคลื่อนไหวในแนวทางที่ดูสุดโต่งมากยิ่งขึ้น ทำให้ขบวนการนักศึกษาแตกออกเป็นสองสายอย่างชัดเจน โดยกลุ่มเยาวชนปลดแอกนั้นจะมีภาพลักษณ์ ทีเล่นทีจริง มีความบริสุทธิ์แบบเด็กรุ่นใหม่มากกว่ากลุ่มอย่างธรรมศาสตร์และการชุมนุม

 

การชุมนุมในวันที่ 16 ตุลาคม 2563 และหลังจากนั้น

          จากปัญหาหลายๆ ประการ ทำให้รัฐบาลพยายามทำให้การชุมนุมเป็นไปได้ยากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ โดยมีความพยายามจะปิดสถานที่ และการจราจร ซึ่งก็ได้ส่งผลกระทบให้กับกลุ่มผู้จัดการชุมนุมทุกกลุ่ม รวมถึงกลุ่มเยาวชนปลดแอก

          วิธีการที่กลุ่มเยาวชนปลดแอก รวมถึงขบวนการนักศึกษาใช้จึงเป็นการนัดรวมตัวตามแนวรถไฟฟ้าเพื่อให้สามารถไปชุมนุมได้ในทุกสถานที่ที่มีการนัดรวมตัว กระทั่งรัฐบาลสั่งปิดระบบขนส่ง bts เพื่อให้ยากต่อการเดินทางมากยิ่งขึ้น แต่ก็ไม่ได้ผลมากนัก ดังเช่นกรณีการนัดชุมนุมเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563 ที่ทางกลุ่มคณะราษฎร 2563 ได้นัดชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์ แต่ทางรัฐบาลได้ทำการปิดระบบขนส่งและส่งเจ้าหน้าที่เข้าควบคุมพื้นที่ไว้ก่อน ทำให้แกนนำกลุ่มตัดสินใจทำการย้ายการชุมนุมไปที่สี่แยกปทุมวันซึ่งอยู่ใกล้กับสี่แยกราชประสงค์และยังไม่โดน
ปิดการจราจร[4]

          ผลของการชุมนุมในวันนั้นตำราจควบคุมฝูงชนก็ได้ทำการสลายการชุมนุมที่แยกปทุมวัน ด้วยภาพลักษณ์ของความเป็นเยาวชน และการชุมนุมที่ค่อนข้างเป็นไปอย่างสันติ ทำให้เกิดความไม่พอใจในวงสังคมเป็นจำนวนมาก โดยในเวลานั้นกลุ่มเยาวชนปลดแอกเป็นกลุ่มที่มีบทบาทในการประชาสัมพันธ์เป็นอย่างมาก และช่วยจุดกระแสความไม่พอใจในตัวรัฐบาลได้เป็นอย่างดี

          หลังจากการชุมนุมในวันนั้นทางตำรวจ และรัฐบาลจึงได้เริ่มผ่อนคลายมาตรการในการรับมือกับผู้ชุมนุม ขณะเดียวกันกลุ่มผู้ชุมนุมก็มีการจัดการชุมนุมที่ยังคงความถี่ในระดับเดิม แต่กลับไม่มีผลพลอยได้เป็นรูปธรรม ส่งผลให้มวลชนเกิดความล้าทั้งในกลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุม และกลุ่มเยาวชนปลดแอก จนนำไปสู่การพยายามรีแบรนด์กลุ่มในช่วงปลายปี 2563

 

การพยายามรีแบรนด์ และปรับวิธีการเคลื่อนไหวหลังจากนั้น

          แม้อาจกล่าวได้ว่าจุดเด่นของกลุ่มเยาวชนปลดแอกคือ ภาพลักษณ์ของกลุ่มค่อนข้างกว้าง เป็นมิตรต่อทุกคน ทำให้มีคนติดตามเป็นจำนวนมาก ทั้งการสื่อสารก็สวยงาม และเรียบง่ายสบายตา แต่บทบาทของกลุ่มเสื่อมถอยลงไปเมื่อกลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุมได้ขึ้นมามีบทบาทนำผ่านข้อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ขณะเดียวกันด้วยการที่มวลชนค่อนข้างมีความล้าทำให้ในหลายครั้งการนัดชุมนุมจบลงด้วยการโดนสลายการชุมนุมอย่างง่ายดายเพราะไม่มีมวลชนมากเพียงพอ

          ด้วยการเล็งเห็นอย่างนั้นกลุ่มเยาวชนปลดแอกพยายามจะกลับมาแย่งบทบาทการนำขบวนอีกครั้งด้วยการรีแบรนด์กลุ่มและขยายประเด็นข้อเรียกร้อง หนึ่งในความพยายามดังกล่าวคือการที่กลุ่มเยาวชนปลดแอกได้ทำการแตกแบรนด์ออกเป็นกลุ่ม RT โดยใช้วิธีการสื่อสารแบบมาร์กซิสต์ ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์ในกลุ่มคนผู้สนับสนุนขบวนการ

          ช่วงแรกมีคนจำนวนมากเห็นว่าการเคลื่อนไหวเช่นนี้เป็นการเคลื่อนไหวที่ฉลาดและมองว่ากลุ่มนักศึกษาคงมีลูกเล่นอะไรมากมาย แต่ก็มีคนจำนวนมากที่มองว่านักศึกษาไม่ได้ทำการเล่น จนนำไปสู่ความขัดแย้งของกลุ่มมวลชน เวลาต่อมาทางเพจเยาวชนปลดแอกได้ทำการลงบทความ คอมมิวนิสต์ไม่เท่ากับเผด็จการ ทำให้เกิดกระแสลบในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ในหมู่ผู้สนับสนุนเป็นอย่างมาก โดยทางฝั่งผู้ชุมนุมกลุ่มเสรีนิยมมองว่าเป็นการจับปัญหาที่ผิดฝาผิดตัว ส่วนกลุ่มมาร์กซิสต์บางคนก็รู้สึกว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่ดูเก่าไม่พัฒนาไปจากสมัยเดิม ขณะที่กลุ่มคนทั่วไปก็รู้สึกว่าห่างไกลจากประเด็นที่พยายามเคลื่อนไหว

          ด้วยเหตุนั้น กลุ่มเยาวชนปลดแอกจึงทำการลดระดับความสุดโต่งทางการเมืองกลายเป็นกลุ่ม REDEM ในเวลาต่อมา โดยใช้วิธีการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า “ไม่มีแกนนำ” ซึ่งการชุมนุมในช่วงปี 2563 เป็นการชุมนุมที่ได้ชื่อว่าเป็นการชุมนุมที่ใครต่างก็เป็นแกนนำก็ได้ โดยความหมายนี้หมายถึงเมื่อแกนนำคนหนึ่งถูกจับก็สามารถสร้างแกนนำคนใหม่ขึ้นมาได้

          แต่สำหรับกลุ่มเยาวชนปลดแอกในช่วงนี้กลับรู้สึกว่าไม่พอและพยายามผลักดันกลุ่มที่มีชื่อว่า REDEM โดยใช้คำโปรยว่าไม่มีแกนนำในความหมายที่ ไม่มีแกนนำ และไม่มีการจัดตั้งที่เป็นรูปธรรม การชุมนุมของ REDEM จึงประสบปัญหาเป็นอย่างมาก ทุกครั้งที่เกิดการชุมนุมจะต้องมีการสลายการชุมนุม ขณะเดียวกันกลุ่ม REDEM ก็เกิดความรุนแรงขึ้นบ่อยครั้ง และยิ่งทำให้ขบวนการเคลื่อนไหวเบาบางลงมากขึ้นจนแทบจะหยุดนิ่งไปในช่วงต้นปี พ.ศ. 2564

 

อ้างอิง

[1]‘ธนาธร’ ถึงสกายวอล์ก ม็อบชูสามนิ้วพรึบตะโกนลั่น ‘ประยุทธ์ออกไป’. (14 ธ.ค. 2562). มติชน. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/politics/news_1814460 (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2564)

[2] เปิด 3 ข้อเรียกร้อง "เยาวชนปลดแอก" ก่อนนัดชุมนุมใหญ่ 18 ก.ค.นี้. (17 ก.ค. 2563). Amarin TV. สืบค้นจาก https://www.amarintv.com/news/detail/39008. (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มิ.ย.2564)

[3] ปรากฎการณ์ ’16 สิงหา’ ยกระดับ ‘ม็อบปลดแอก’. (18 ส.ค. 2563). เนชั่น. สืบค้นจากhttps://www.nationweekend.com/content/special_article/14724 (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มิ.ย.2564)

[4] ชุมนุม 16 ตุลา : ปฏิบัติการสลายพลังเยาวชนคนหนุ่มสาวหลังนายกฯถาม "ผมผิดอะไร". (16 ต.ค. 2562). BBC ไทย. สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-54568639 . (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มิ.ย.2564)