ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฐานข้อมูลก่อการร้ายสากล"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 8: บรรทัดที่ 8:
=== '''บทนำ''' ===
=== '''บทนำ''' ===


          '''ฐานข้อมูลก่อการร้ายสากล (Global Terrorism Database) หรือ GTD''' เป็นแหล่งข้อมูลเปิดที่รวบรวมข้อมูลเหตุการณ์ความรุนแรงและเหตุก่อการร้ายจากทั่วโลก เริ่มดำเนินการในปี ค.ศ. 2001 และเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 2007 โดยทีมนักวิจัยและนักศึกษามหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา GTD ถือเป็นแหล่งข้อมูลการก่อการร้ายทั้งที่เกิดขึ้นภายในประเทศและระหว่างประเทศที่มีข้อมูลครอบคลุมมากที่สุดกว่า 200,000 เหตุการณ์ (ทั้งที่ระบุตัวผู้ก่อเหตุได้และไม่ได้) ระหว่างปี ค.ศ. 1970- 2019 โดยสามารถระบุถึงวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ อาวุธที่ใช้ในการก่อเหตุ กลุ่มเป้าหมาย จำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ รวมถึงตัวตนของผู้ก่อเหตุในกรณีที่สามารถระบุได้ ทั้งนี้ บนเว็ปไซต์ที่พัฒนาขึ้นโดย '''National Consortium for the Study of Terrorism and Responses to Terrorism''' หรือที่รู้จักกันในชื่อ '''START''' ผู้ใช้งานส่วนบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัยและการศึกษาการก่อการร้ายสามารถเข้าถึงได้ผ่านเว็บไซต์ [https://www.start.umd.edu/gtd/ https://www.start.umd.edu/gtd/] โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
          '''ฐานข้อมูลก่อการร้ายสากล (Global Terrorism Database) หรือ GTD''' เป็นแหล่งข้อมูลเปิดที่รวบรวมข้อมูลเหตุการณ์ความรุนแรงและเหตุก่อการร้ายจากทั่วโลก เริ่มดำเนินการในปี ค.ศ. 2001 และเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 2007 โดยทีมนักวิจัยและนักศึกษามหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา GTD ถือเป็นแหล่งข้อมูลการก่อการร้ายทั้งที่เกิดขึ้นภายในประเทศและระหว่างประเทศที่มีข้อมูลครอบคลุมมากที่สุดกว่า 200,000 เหตุการณ์ (ทั้งที่ระบุตัวผู้ก่อเหตุได้และไม่ได้) ระหว่างปี ค.ศ. 1970- 2019 โดยสามารถระบุถึงวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ อาวุธที่ใช้ในการก่อเหตุ กลุ่มเป้าหมาย จำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ รวมถึงตัวตนของผู้ก่อเหตุในกรณีที่สามารถระบุได้ ทั้งนี้บนเว็ปไซต์ที่พัฒนาขึ้นโดย National Consortium for the Study of Terrorism and Responses to Terrorism หรือที่รู้จักกันในชื่อ START ผู้ใช้งานส่วนบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัยและการศึกษาการก่อการร้ายสามารถเข้าถึงได้ผ่านเว็บไซต์ [https://www.start.umd.edu/gtd/ https://www.start.umd.edu/gtd/] โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ


 
 
บรรทัดที่ 14: บรรทัดที่ 14:
=== '''การก่อตั้งฐานข้อมูลก่อการร้ายสากล (GTD)''' ===
=== '''การก่อตั้งฐานข้อมูลก่อการร้ายสากล (GTD)''' ===


          การรวบรวมข้อมูลเหตุก่อการร้ายย้อนหลังหลายทศวรรษและจัดวางระบบเพื่อนำเข้าข้อมูลในอนาคตไม่ได้เป็นกระบวนการที่เสร็จสิ้นในครั้งเดียว โดยที่ GTD มีจุดกำเนิดในปี ค.ศ. 2001 เมื่อ Dr. Garry LaFree ได้ประสานขอรับข้อมูลจาก '''Pinkerton Global Intelligence Services (PGIS) (หน่วยข่าวกรองเอกชนที่บริการข้อมูลแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน)''' ให้แก่มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ ในสหรัฐฯ ต่อมา Dr. LaFree และ Dr. Laura Dugan และทีมนักศึกษา นักวิจัย มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ ได้ใช้เวลาหลายปีในการจัดระบบข้อมูลระหว่างปี ค.ศ. 1970-1997 ที่ได้รับจาก PGIS เพื่อนำเข้าสู่ระบบดิจิทัล จนกระทั่งปี ค.ศ. 2006 กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ สหรัฐฯ ได้มอบทุนวิจัยสนับสนุนแก่ทีมวิจัยการศึกษาก่อการร้ายและการตอบโต้ก่อการร้าย ภายใต้ชื่อโครงการ '''National Consortium for the Study of Terrorism and Responses to Terrorism (START)''' และร่วมมือกับศูนย์ศึกษาการก่อการร้ายและการข่าว (Center for Terrorism and Intelligence Studies: CETIS) จัดเก็บและจัดทำข้อมูลเหตุการณ์ภายหลังปี ค.ศ. 1997 และประสบความสำเร็จในการสร้างฐานข้อมูลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1998-2007[[#_ftn1|[1]]] ทั้งนี้ GTD เปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.2007 เมื่อ Dr. LaFree และ Dr. Dugan ตีพิมพ์บทความสำคัญที่ชื่อ '''“Introducing Global Terrorism Database”''' ลงในวารสาร '''Terrorism and Political Violence'''[[#_ftn2|[2]]] กล่าวได้ว่าข้อมูลชั้นหลังนี้เมื่อผนวกรวมเข้ากับข้อมูลที่ได้รับจาก PGIS ทำให้ GTD มีฐานข้อมูลก่อการร้ายขนาดใหญ่ระหว่างปี ค.ศ. 1970-2007 โดยมีเพียงข้อมูลในปี ค.ศ. 1993 เท่านั้นที่ยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากตกหล่นไประหว่างการย้ายสำนักงานของ PGIS
          การรวบรวมข้อมูลเหตุก่อการร้ายย้อนหลังหลายทศวรรษและจัดวางระบบเพื่อนำเข้าข้อมูลในอนาคตไม่ได้เป็นกระบวนการที่เสร็จสิ้นในครั้งเดียว โดยที่ GTD มีจุดกำเนิดในปี ค.ศ. 2001 เมื่อ Dr. Garry LaFree ได้ประสานขอรับข้อมูลจาก Pinkerton Global Intelligence Services (PGIS) (หน่วยข่าวกรองเอกชนที่บริการข้อมูลแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน) ให้แก่มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ ในสหรัฐฯ ต่อมา Dr. LaFree และ Dr. Laura Dugan และทีมนักศึกษา นักวิจัย มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ ได้ใช้เวลาหลายปีในการจัดระบบข้อมูลระหว่างปี ค.ศ. 1970-1997 ที่ได้รับจาก PGIS เพื่อนำเข้าสู่ระบบดิจิทัล จนกระทั่งปี ค.ศ. 2006 กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ สหรัฐฯ ได้มอบทุนวิจัยสนับสนุนแก่ทีมวิจัยการศึกษาก่อการร้ายและการตอบโต้ก่อการร้าย ภายใต้ชื่อโครงการ National Consortium for the Study of Terrorism and Responses to Terrorism (START) และร่วมมือกับศูนย์ศึกษาการก่อการร้ายและการข่าว (Center for Terrorism and Intelligence Studies: CETIS) จัดเก็บและจัดทำข้อมูลเหตุการณ์ภายหลังปี ค.ศ. 1997 และประสบความสำเร็จในการสร้างฐานข้อมูลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1998-2007[[#_ftn1|[1]]] ทั้งนี้ GTD เปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.2007 เมื่อ Dr. LaFree และ Dr. Dugan ตีพิมพ์บทความสำคัญที่ชื่อ “Introducing Global Terrorism Database” ลงในวารสาร Terrorism and Political Violence[[#_ftn2|[2]]] กล่าวได้ว่าข้อมูลชั้นหลังนี้เมื่อผนวกรวมเข้ากับข้อมูลที่ได้รับจาก PGIS ทำให้ GTD มีฐานข้อมูลก่อการร้ายขนาดใหญ่ระหว่างปี ค.ศ. 1970-2007 โดยมีเพียงข้อมูลในปี ค.ศ. 1993 เท่านั้นที่ยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากตกหล่นไประหว่างการย้ายสำนักงานของ PGIS


          ในปี ค.ศ. 2008 นักวิชาการจาก'''สถาบันศึกษากลุ่มก่อความรุนแรง (Institute for the Study of Violent Groups: ISVG)''' ได้เก็บข้อมูลเพื่อประมวลผลเข้าสู่ฐานข้อมูลก่อการร้ายของ GTD ซึ่งเป็นข้อมูลเหตุการณ์ระหว่างเดือนเมษายนปี ค.ศ. 2008 ถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 2011[[#_ftn3|[3]]] หลังจากนั้นทีมวิจัย GTD ได้อัพเดทข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งใส่ข้อมูลเพิ่มเติมเหตุการณ์ในอดีตให้เกิดความถูกต้องและแม่นยำย้อนหลังไปจนถึงปี ค.ศ. 1970 สำหรับการเก็บข้อมูลในปัจจุบันนั้น GTD ได้ออกแบบวิธีการประมวลข้อมูลแบบใหม่โดย Dr. Erin Miller ที่ใช้ทั้งปัญญาประดิษฐ์ (AI: Artificial Intelligence) และทีมงานตรวจจับคำจากสื่อสิ่งพิมพ์ทั่วโลกเพื่อระบุเหตุการณ์และจัดเก็บข้อมูลกว่า 2,000,000 ข่าวต่อวัน[[#_ftn4|[4]]] อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 2018 GTD ประสบปัญหาด้านแหล่งทุนสนับสนุนจึงเป็นเหตุให้การอัพเดทฐานข้อมูลหยุดชะงัก ถึงแม้ว่าจะได้รับทุนสนับสนุนระยะสั้นจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ และกระทรวงการต่างประเทศสหพันธรัฐเยอรมนี[[#_ftn5|[5]]] ดังนั้นในปี ค.ศ. 2019 GTD จึงประกาศนโยบายใหม่ในการจัดเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้ใช้ข้อมูลในนามองค์กรเพื่อการพาณิชย์ ทว่ายังคงให้บริการข้อมูลแก่บุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อเข้าถึงข้อมูลได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ[[#_ftn6|[6]]]
          ในปี ค.ศ. 2008 นักวิชาการจากสถาบันศึกษากลุ่มก่อความรุนแรง (Institute for the Study of Violent Groups: ISVG) ได้เก็บข้อมูลเพื่อประมวลผลเข้าสู่ฐานข้อมูลก่อการร้ายของ GTD ซึ่งเป็นข้อมูลเหตุการณ์ระหว่างเดือนเมษายนปี ค.ศ. 2008 ถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 2011[[#_ftn3|[3]]] หลังจากนั้นทีมวิจัย GTD ได้อัพเดทข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งใส่ข้อมูลเพิ่มเติมเหตุการณ์ในอดีตให้เกิดความถูกต้องและแม่นยำย้อนหลังไปจนถึงปี ค.ศ. 1970 สำหรับการเก็บข้อมูลในปัจจุบันนั้น GTD ได้ออกแบบวิธีการประมวลข้อมูลแบบใหม่โดย Dr. Erin Miller ที่ใช้ทั้งปัญญาประดิษฐ์ (AI: Artificial Intelligence) และทีมงานตรวจจับคำจากสื่อสิ่งพิมพ์ทั่วโลกเพื่อระบุเหตุการณ์และจัดเก็บข้อมูลกว่า 2,000,000 ข่าวต่อวัน[[#_ftn4|[4]]] อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 2018 GTD ประสบปัญหาด้านแหล่งทุนสนับสนุนจึงเป็นเหตุให้การอัพเดทฐานข้อมูลหยุดชะงัก ถึงแม้ว่าจะได้รับทุนสนับสนุนระยะสั้นจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ และกระทรวงการต่างประเทศสหพันธรัฐเยอรมนี[[#_ftn5|[5]]] ดังนั้นในปี ค.ศ. 2019 GTD จึงประกาศนโยบายใหม่ในการจัดเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้ใช้ข้อมูลในนามองค์กรเพื่อการพาณิชย์ ทว่ายังคงให้บริการข้อมูลแก่บุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อเข้าถึงข้อมูลได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ[[#_ftn6|[6]]]


 
 
บรรทัดที่ 22: บรรทัดที่ 22:
=== '''นิยาม “การก่อการร้าย” ของ GTD''' ===
=== '''นิยาม “การก่อการร้าย” ของ GTD''' ===


          นิยามศัพท์ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ GTD เก็บรวบรวมข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูลการก่อการร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยในการคัดกรองเหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ ทั้งนี้ GTD ได้ให้ความหมายของ '''“การก่อการร้าย” (terrorism)''' '''ว่าหมายถึง “การใช้หรือขู่ว่าจะใช้กำลังและความรุนแรงนอกกฎหมายโดยตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมือง เศรษฐกิจ ศาสนาหรือสังคม ผ่านการสร้างความกลัว กำลังบังคับ หรือการขู่เข็ญ”'''[[#_ftn7|[7]]] นิยามนี้แสดงให้เห็นความหมายอย่างกว้างของ '''“การก่อการร้าย”''' ซึ่งตัวผู้กระทำแสดงออกอย่างเด่นชัดว่าจะคุกคามด้วยการใช้ความรุนแรงทางกายภาพอย่างมีเป้าหมายโดยเล็งเห็นผลให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่กลุ่มเป้าหมาย อย่างไรก็ตามนิยามนี้กลับสร้างความคลุมเครือบางประการ อาทิ การที่ไม่ได้ระบุชัดเจนว่ากลุ่มเป้าหมายที่ถูกโจมตีนั้นเป็นปัจเจกบุคคล กลุ่มคนหรือ สาธารณะชนโดยทั่วไป ทำให้เหตุการณ์อย่างการก่อความรุนแรงในหมู่สมาชิกแก๊งค์ค้ายาอาจถูกนับรวมเข้าไว้ในฐานข้อมูลด้วยเช่นกัน อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ ตัวผู้กระทำการก่อเหตุซึ่งไม่ใช่รัฐ (non-state actors) นั้นอาจขัดแย้งกับข้อมูลการขึ้นทะเบียนประเทศที่ให้การสนับสนุนการก่อการร้ายสากลโดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ที่ปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 4 ประเทศได้แก่ ซีเรีย (ขึ้นทะเบียนเมื่อ 29 ธันวาคม ค.ศ.1979) อิหร่าน (ขึ้นทะเบียนเมื่อ 19 มกราคม ค.ศ. 1984) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (ขึ้นทะเบียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017) และคิวบา (ขึ้นทะเบียนเมื่อ 12 มกราคม ค.ศ. 2021)[[#_ftn8|[8]]]
          นิยามศัพท์ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ GTD เก็บรวบรวมข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูลการก่อการร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยในการคัดกรองเหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ ทั้งนี้ GTD ได้ให้ความหมายของ '''“การก่อการร้าย” (terrorism)''' ว่าหมายถึง “การใช้หรือขู่ว่าจะใช้กำลังและความรุนแรงนอกกฎหมายโดยตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมือง เศรษฐกิจ ศาสนาหรือสังคม ผ่านการสร้างความกลัว กำลังบังคับ หรือการขู่เข็ญ”[[#_ftn7|[7]]] นิยามนี้แสดงให้เห็นความหมายอย่างกว้างของ “การก่อการร้าย” ซึ่งตัวผู้กระทำแสดงออกอย่างเด่นชัดว่าจะคุกคามด้วยการใช้ความรุนแรงทางกายภาพอย่างมีเป้าหมายโดยเล็งเห็นผลให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่กลุ่มเป้าหมาย อย่างไรก็ตามนิยามนี้กลับสร้างความคลุมเครือบางประการ อาทิ การที่ไม่ได้ระบุชัดเจนว่ากลุ่มเป้าหมายที่ถูกโจมตีนั้นเป็นปัจเจกบุคคล กลุ่มคนหรือ สาธารณะชนโดยทั่วไป ทำให้เหตุการณ์อย่างการก่อความรุนแรงในหมู่สมาชิกแก๊งค์ค้ายาอาจถูกนับรวมเข้าไว้ในฐานข้อมูลด้วยเช่นกัน อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ ตัวผู้กระทำการก่อเหตุซึ่งไม่ใช่รัฐ (non-state actors) นั้นอาจขัดแย้งกับข้อมูลการขึ้นทะเบียนประเทศที่ให้การสนับสนุนการก่อการร้ายสากลโดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ที่ปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 4 ประเทศได้แก่ ซีเรีย (ขึ้นทะเบียนเมื่อ 29 ธันวาคม ค.ศ.1979) อิหร่าน (ขึ้นทะเบียนเมื่อ 19 มกราคม ค.ศ. 1984) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (ขึ้นทะเบียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017) และคิวบา (ขึ้นทะเบียนเมื่อ 12 มกราคม ค.ศ. 2021)[[#_ftn8|[8]]]


          ในการค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล GTD บนเว็ปไซต์ [https://www.start.umd.edu/gtd/ https://www.start.umd.edu/gtd/] ผู้ใช้งานสามารถกำหนดการค้นหาโดยระบุช่วงเวลา เขตพื้นที่การก่อเหตุ กลุ่มผู้ก่อเหตุ ชนิดของอาวุธ ประเภทของการโจมตี และกลุ่มเป้าหมายได้ ยิ่งไปกว่านั้น ยังสามารถกำหนดเกณฑ์การค้นหาเพื่อให้นิยามของ '''“การก่อการร้าย”''' มีความหมายเฉพาะเจาะจงหรือครอบคลุมความหมายกว้างๆ ได้ด้วย 3 เกณฑ์ อันได้แก่[[#_ftn9|[9]]] การกำหนดเกณฑ์โดยระบุให้
          ในการค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล GTD บนเว็ปไซต์ [https://www.start.umd.edu/gtd/ https://www.start.umd.edu/gtd/] ผู้ใช้งานสามารถกำหนดการค้นหาโดยระบุช่วงเวลา เขตพื้นที่การก่อเหตุ กลุ่มผู้ก่อเหตุ ชนิดของอาวุธ ประเภทของการโจมตี และกลุ่มเป้าหมายได้ ยิ่งไปกว่านั้น ยังสามารถกำหนดเกณฑ์การค้นหาเพื่อให้นิยามของ '''“การก่อการร้าย”''' มีความหมายเฉพาะเจาะจงหรือครอบคลุมความหมายกว้างๆ ได้ด้วย 3 เกณฑ์ อันได้แก่[[#_ftn9|[9]]] การกำหนดเกณฑ์โดยระบุให้
บรรทัดที่ 38: บรรทัดที่ 38:
=== '''คุณูปการต่อการศึกษาการก่อการร้าย''' ===
=== '''คุณูปการต่อการศึกษาการก่อการร้าย''' ===


          GTD ถือเป็นฐานข้อมูลเปิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายสากลที่ครอบคลุมกว้างขวางที่สุดเท่าที่มีในปัจจุบันโดยครอบคลุมเหตุการณ์การโจมตีมากกว่า 200,000 เหตุการณ์ทั่วโลกนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970-2019 ซึ่งรวมถึงเหตุระเบิดกว่า 95,000 ครั้ง การลอบสังหารกว่า 20,000 ครั้ง และการลักพาตัวและจี้ตัวประกันกว่า 15,000 ครั้ง ทำให้ GTD มักถูกใช้งานเป็นฐานข้อมูลสำหรับนักศึกษา/นักวิจัย นักวิชาการ สื่อมวลชน องค์กรภาครัฐและเอกชน เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มการเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงโดยผู้ก่อการร้ายทั่วโลกในช่วงเวลาต่างๆ หนึ่งในองค์กรสำคัญที่ใช้ข้อมูลของ GTD ก็คือ'''สถาบันเพื่อเศรษฐกิจและสันติภาพ (Institute for Economics and Peace: IEP)''' ที่สร้างดัชนีชี้วัดการก่อการร้ายสากล (Global Terrorism Index: GTI) เพื่อวัดระดับความเสี่ยงการเกิดเหตุการณ์ในประเทศต่างๆ[[#_ftn10|[10]]] อย่างไรก็ตาม ด้วยการสนับสนุนงบประมาณโดยหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ และการที่สถาบันวิจัยตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา ทำให้ GTD ถูกวิจารณ์ว่าใช้กรอบความคิดที่มีอเมริกันเป็นศูนย์กลาง (American-centrism) รวมถึงข้อมูลที่แสดงก็หยาบคร่าวเกินไปที่นักวิจัยภาคสนามจะใช้ประโยชน์ได้มากนัก[[#_ftn11|[11]]] แม้ GTD ดูเหมือนจะไม่สามารถหนีพ้นจากคำวิจารณ์ดังกล่าวได้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าการเกิดขึ้นของ GTD ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการศึกษาและเพิ่มโอกาสใหม่ๆ ในการศึกษาการก่อการร้ายให้กับนักวิจัยจำนวนมากหลังเหตุการณ์ 9/11
          GTD ถือเป็นฐานข้อมูลเปิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายสากลที่ครอบคลุมกว้างขวางที่สุดเท่าที่มีในปัจจุบันโดยครอบคลุมเหตุการณ์การโจมตีมากกว่า 200,000 เหตุการณ์ทั่วโลกนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970-2019 ซึ่งรวมถึงเหตุระเบิดกว่า 95,000 ครั้ง การลอบสังหารกว่า 20,000 ครั้ง และการลักพาตัวและจี้ตัวประกันกว่า 15,000 ครั้ง ทำให้ GTD มักถูกใช้งานเป็นฐานข้อมูลสำหรับนักศึกษา/นักวิจัย นักวิชาการ สื่อมวลชน องค์กรภาครัฐและเอกชน เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มการเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงโดยผู้ก่อการร้ายทั่วโลกในช่วงเวลาต่าง ๆ หนึ่งในองค์กรสำคัญที่ใช้ข้อมูลของ GTD ก็คือ'''สถาบันเพื่อเศรษฐกิจและสันติภาพ (Institute for Economics and Peace: IEP)''' ที่สร้างดัชนีชี้วัดการก่อการร้ายสากล (Global Terrorism Index: GTI) เพื่อวัดระดับความเสี่ยงการเกิดเหตุการณ์ในประเทศต่างๆ[[#_ftn10|[10]]] อย่างไรก็ตาม ด้วยการสนับสนุนงบประมาณโดยหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ และการที่สถาบันวิจัยตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา ทำให้ GTD ถูกวิจารณ์ว่าใช้กรอบความคิดที่มีอเมริกันเป็นศูนย์กลาง (American-centrism) รวมถึงข้อมูลที่แสดงก็หยาบคร่าวเกินไปที่นักวิจัยภาคสนามจะใช้ประโยชน์ได้มากนัก[[#_ftn11|[11]]] แม้ GTD ดูเหมือนจะไม่สามารถหนีพ้นจากคำวิจารณ์ดังกล่าวได้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าการเกิดขึ้นของ GTD ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการศึกษาและเพิ่มโอกาสใหม่ ๆ ในการศึกษาการก่อการร้ายให้กับนักวิจัยจำนวนมากหลังเหตุการณ์ 9/11


 
 

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:05, 18 กุมภาพันธ์ 2565

ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู

 

บทนำ

          ฐานข้อมูลก่อการร้ายสากล (Global Terrorism Database) หรือ GTD เป็นแหล่งข้อมูลเปิดที่รวบรวมข้อมูลเหตุการณ์ความรุนแรงและเหตุก่อการร้ายจากทั่วโลก เริ่มดำเนินการในปี ค.ศ. 2001 และเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 2007 โดยทีมนักวิจัยและนักศึกษามหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา GTD ถือเป็นแหล่งข้อมูลการก่อการร้ายทั้งที่เกิดขึ้นภายในประเทศและระหว่างประเทศที่มีข้อมูลครอบคลุมมากที่สุดกว่า 200,000 เหตุการณ์ (ทั้งที่ระบุตัวผู้ก่อเหตุได้และไม่ได้) ระหว่างปี ค.ศ. 1970- 2019 โดยสามารถระบุถึงวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ อาวุธที่ใช้ในการก่อเหตุ กลุ่มเป้าหมาย จำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ รวมถึงตัวตนของผู้ก่อเหตุในกรณีที่สามารถระบุได้ ทั้งนี้บนเว็ปไซต์ที่พัฒนาขึ้นโดย National Consortium for the Study of Terrorism and Responses to Terrorism หรือที่รู้จักกันในชื่อ START ผู้ใช้งานส่วนบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัยและการศึกษาการก่อการร้ายสามารถเข้าถึงได้ผ่านเว็บไซต์ https://www.start.umd.edu/gtd/ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ

 

การก่อตั้งฐานข้อมูลก่อการร้ายสากล (GTD)

          การรวบรวมข้อมูลเหตุก่อการร้ายย้อนหลังหลายทศวรรษและจัดวางระบบเพื่อนำเข้าข้อมูลในอนาคตไม่ได้เป็นกระบวนการที่เสร็จสิ้นในครั้งเดียว โดยที่ GTD มีจุดกำเนิดในปี ค.ศ. 2001 เมื่อ Dr. Garry LaFree ได้ประสานขอรับข้อมูลจาก Pinkerton Global Intelligence Services (PGIS) (หน่วยข่าวกรองเอกชนที่บริการข้อมูลแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน) ให้แก่มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ ในสหรัฐฯ ต่อมา Dr. LaFree และ Dr. Laura Dugan และทีมนักศึกษา นักวิจัย มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ ได้ใช้เวลาหลายปีในการจัดระบบข้อมูลระหว่างปี ค.ศ. 1970-1997 ที่ได้รับจาก PGIS เพื่อนำเข้าสู่ระบบดิจิทัล จนกระทั่งปี ค.ศ. 2006 กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ สหรัฐฯ ได้มอบทุนวิจัยสนับสนุนแก่ทีมวิจัยการศึกษาก่อการร้ายและการตอบโต้ก่อการร้าย ภายใต้ชื่อโครงการ National Consortium for the Study of Terrorism and Responses to Terrorism (START) และร่วมมือกับศูนย์ศึกษาการก่อการร้ายและการข่าว (Center for Terrorism and Intelligence Studies: CETIS) จัดเก็บและจัดทำข้อมูลเหตุการณ์ภายหลังปี ค.ศ. 1997 และประสบความสำเร็จในการสร้างฐานข้อมูลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1998-2007[1] ทั้งนี้ GTD เปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.2007 เมื่อ Dr. LaFree และ Dr. Dugan ตีพิมพ์บทความสำคัญที่ชื่อ “Introducing Global Terrorism Database” ลงในวารสาร Terrorism and Political Violence[2] กล่าวได้ว่าข้อมูลชั้นหลังนี้เมื่อผนวกรวมเข้ากับข้อมูลที่ได้รับจาก PGIS ทำให้ GTD มีฐานข้อมูลก่อการร้ายขนาดใหญ่ระหว่างปี ค.ศ. 1970-2007 โดยมีเพียงข้อมูลในปี ค.ศ. 1993 เท่านั้นที่ยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากตกหล่นไประหว่างการย้ายสำนักงานของ PGIS

          ในปี ค.ศ. 2008 นักวิชาการจากสถาบันศึกษากลุ่มก่อความรุนแรง (Institute for the Study of Violent Groups: ISVG) ได้เก็บข้อมูลเพื่อประมวลผลเข้าสู่ฐานข้อมูลก่อการร้ายของ GTD ซึ่งเป็นข้อมูลเหตุการณ์ระหว่างเดือนเมษายนปี ค.ศ. 2008 ถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 2011[3] หลังจากนั้นทีมวิจัย GTD ได้อัพเดทข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งใส่ข้อมูลเพิ่มเติมเหตุการณ์ในอดีตให้เกิดความถูกต้องและแม่นยำย้อนหลังไปจนถึงปี ค.ศ. 1970 สำหรับการเก็บข้อมูลในปัจจุบันนั้น GTD ได้ออกแบบวิธีการประมวลข้อมูลแบบใหม่โดย Dr. Erin Miller ที่ใช้ทั้งปัญญาประดิษฐ์ (AI: Artificial Intelligence) และทีมงานตรวจจับคำจากสื่อสิ่งพิมพ์ทั่วโลกเพื่อระบุเหตุการณ์และจัดเก็บข้อมูลกว่า 2,000,000 ข่าวต่อวัน[4] อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 2018 GTD ประสบปัญหาด้านแหล่งทุนสนับสนุนจึงเป็นเหตุให้การอัพเดทฐานข้อมูลหยุดชะงัก ถึงแม้ว่าจะได้รับทุนสนับสนุนระยะสั้นจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ และกระทรวงการต่างประเทศสหพันธรัฐเยอรมนี[5] ดังนั้นในปี ค.ศ. 2019 GTD จึงประกาศนโยบายใหม่ในการจัดเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้ใช้ข้อมูลในนามองค์กรเพื่อการพาณิชย์ ทว่ายังคงให้บริการข้อมูลแก่บุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อเข้าถึงข้อมูลได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ[6]

 

นิยาม “การก่อการร้าย” ของ GTD

          นิยามศัพท์ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ GTD เก็บรวบรวมข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูลการก่อการร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยในการคัดกรองเหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ ทั้งนี้ GTD ได้ให้ความหมายของ “การก่อการร้าย” (terrorism) ว่าหมายถึง “การใช้หรือขู่ว่าจะใช้กำลังและความรุนแรงนอกกฎหมายโดยตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมือง เศรษฐกิจ ศาสนาหรือสังคม ผ่านการสร้างความกลัว กำลังบังคับ หรือการขู่เข็ญ”[7] นิยามนี้แสดงให้เห็นความหมายอย่างกว้างของ “การก่อการร้าย” ซึ่งตัวผู้กระทำแสดงออกอย่างเด่นชัดว่าจะคุกคามด้วยการใช้ความรุนแรงทางกายภาพอย่างมีเป้าหมายโดยเล็งเห็นผลให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่กลุ่มเป้าหมาย อย่างไรก็ตามนิยามนี้กลับสร้างความคลุมเครือบางประการ อาทิ การที่ไม่ได้ระบุชัดเจนว่ากลุ่มเป้าหมายที่ถูกโจมตีนั้นเป็นปัจเจกบุคคล กลุ่มคนหรือ สาธารณะชนโดยทั่วไป ทำให้เหตุการณ์อย่างการก่อความรุนแรงในหมู่สมาชิกแก๊งค์ค้ายาอาจถูกนับรวมเข้าไว้ในฐานข้อมูลด้วยเช่นกัน อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ ตัวผู้กระทำการก่อเหตุซึ่งไม่ใช่รัฐ (non-state actors) นั้นอาจขัดแย้งกับข้อมูลการขึ้นทะเบียนประเทศที่ให้การสนับสนุนการก่อการร้ายสากลโดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ที่ปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 4 ประเทศได้แก่ ซีเรีย (ขึ้นทะเบียนเมื่อ 29 ธันวาคม ค.ศ.1979) อิหร่าน (ขึ้นทะเบียนเมื่อ 19 มกราคม ค.ศ. 1984) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (ขึ้นทะเบียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017) และคิวบา (ขึ้นทะเบียนเมื่อ 12 มกราคม ค.ศ. 2021)[8]

          ในการค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล GTD บนเว็ปไซต์ https://www.start.umd.edu/gtd/ ผู้ใช้งานสามารถกำหนดการค้นหาโดยระบุช่วงเวลา เขตพื้นที่การก่อเหตุ กลุ่มผู้ก่อเหตุ ชนิดของอาวุธ ประเภทของการโจมตี และกลุ่มเป้าหมายได้ ยิ่งไปกว่านั้น ยังสามารถกำหนดเกณฑ์การค้นหาเพื่อให้นิยามของ “การก่อการร้าย” มีความหมายเฉพาะเจาะจงหรือครอบคลุมความหมายกว้างๆ ได้ด้วย 3 เกณฑ์ อันได้แก่[9] การกำหนดเกณฑ์โดยระบุให้

          1) เหตุการณ์ความรุนแรงที่ค้นหานั้นมี หรือ ไม่มีเป้าหมายหวังผลทางการเมือง เศรษฐกิจ ศาสนา หรือสังคม

          2) เหตุการณ์ความรุนแรงนั้นมี หรือ ไม่มีเจตนาใช้กำลังบีบบังคับ ข่มขู่ หรือส่งสารแห่งความกลัวไปยังผู้รับสารในวงกว้างมากกว่าแค่เหยื่อในเหตุการณ์ และ/หรือ

          3) ความรุนแรงนั้นอยู่ใน หรือนอกขอบเขตของการทำสงครามที่ได้รับการรับรองจากกฎหมายระหว่างประเทศ

          อย่างไรก็ตามฐานข้อมูล GTD ไม่ได้รวมเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดแม้จะได้รับการวางแผนไว้แล้ว หรือแม้แต่เหตุการณ์โจมตีที่ล้มเหลว เช่น เหตุระเบิดไม่ทำงาน ผู้ลอบวางเพลิงถูกจับกุมได้ก่อนก่อเหตุ หรือเหตุลอบสังหารพลาดเป้าก็จะไม่ถูกนับรวมอยู่ในฐานของมูลเช่นกัน

 

คุณูปการต่อการศึกษาการก่อการร้าย

          GTD ถือเป็นฐานข้อมูลเปิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายสากลที่ครอบคลุมกว้างขวางที่สุดเท่าที่มีในปัจจุบันโดยครอบคลุมเหตุการณ์การโจมตีมากกว่า 200,000 เหตุการณ์ทั่วโลกนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970-2019 ซึ่งรวมถึงเหตุระเบิดกว่า 95,000 ครั้ง การลอบสังหารกว่า 20,000 ครั้ง และการลักพาตัวและจี้ตัวประกันกว่า 15,000 ครั้ง ทำให้ GTD มักถูกใช้งานเป็นฐานข้อมูลสำหรับนักศึกษา/นักวิจัย นักวิชาการ สื่อมวลชน องค์กรภาครัฐและเอกชน เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มการเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงโดยผู้ก่อการร้ายทั่วโลกในช่วงเวลาต่าง ๆ หนึ่งในองค์กรสำคัญที่ใช้ข้อมูลของ GTD ก็คือสถาบันเพื่อเศรษฐกิจและสันติภาพ (Institute for Economics and Peace: IEP) ที่สร้างดัชนีชี้วัดการก่อการร้ายสากล (Global Terrorism Index: GTI) เพื่อวัดระดับความเสี่ยงการเกิดเหตุการณ์ในประเทศต่างๆ[10] อย่างไรก็ตาม ด้วยการสนับสนุนงบประมาณโดยหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ และการที่สถาบันวิจัยตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา ทำให้ GTD ถูกวิจารณ์ว่าใช้กรอบความคิดที่มีอเมริกันเป็นศูนย์กลาง (American-centrism) รวมถึงข้อมูลที่แสดงก็หยาบคร่าวเกินไปที่นักวิจัยภาคสนามจะใช้ประโยชน์ได้มากนัก[11] แม้ GTD ดูเหมือนจะไม่สามารถหนีพ้นจากคำวิจารณ์ดังกล่าวได้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าการเกิดขึ้นของ GTD ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการศึกษาและเพิ่มโอกาสใหม่ ๆ ในการศึกษาการก่อการร้ายให้กับนักวิจัยจำนวนมากหลังเหตุการณ์ 9/11

 

บรรณานุกรม

“Accessing the GTD." START. Available <https://www.start.umd.edu/gtd/access/>. Accessed September 1, 2021.

“Data Collection Methodology." START. Available <https://www.start.umd.edu/gtd/about/>. Accessed September 1, 2021.

English, Richard (2016). "The Future Study of Terrorism." European Journal of International Security. 1(2): 135–149.

“Global Terrorism Index." Vision of Humanity. Available <https://www.visionofhumanity.org/maps/global-terrorism-index/#/>. Accessed September 2, 2021.

“History of the GTD." START. Available <https://www.start.umd.edu/gtd/about/>. Accessed September 1, 2021.

LaFree, Gary and Laura Dugan (2007). “Introducing Global Terrorism Database.” Terrorism and Political Violence. 9(2) 2007: 181-204.

“Message from the Global Terrorism Database Manager." START (August 15, 2018). Available <https://www.start.umd.edu/news/message-global-terrorism-database-manager>. Accessed September 1, 2021.

START. Global Terrorism Database Codebook. University of Maryland (August 2021). Available <https://www.start.umd.edu/gtd/wp-content/uploads/2021/09/GTD-Codebook-August-21.pdf>. Accessed September 3, 2021.

“State Sponsors of Terrorism." Bureau of Counterterrorism, The US Department of State. Available <https://www.state.gov/state-sponsors-of-terrorism/>. Accessed September 2, 2021.

 

อ้างอิง

[1] "History of the GTD," START. Available <https://www.start.umd.edu/gtd/about/>. Accessed September 1, 2021.

[2] Gary LaFree and Laura Dugan, “Introducing Global Terrorism Database,” Terrorism and Political Violence, 9(2) 2007: 181-204.

[3] "History of the GTD," START. Available <https://www.start.umd.edu/gtd/about/>. Accessed September 1, 2021.

[4] "Data Collection Methodology," START. Available <https://www.start.umd.edu/gtd/about/>. Accessed September 1, 2021.

[5] "Message from the Global Terrorism Database Manager," START (August 15, 2018). Available <https://www.start.umd.edu/news/message-global-terrorism-database-manager>. Accessed September 1, 2021.

[6] "Accessing the GTD," START. Available <https://www.start.umd.edu/gtd/access/>. Accessed September 1, 2021.

[7] START, Global Terrorism Database Codebook, University of Maryland (August 2021), <https://www.start.umd.edu/gtd/wp-content/uploads/2021/09/GTD-Codebook-August-21.pdf>. p. 11.

[8] "State Sponsors of Terrorism", Bureau of Counterterrorism, The US Department of State. Available <https://www.state.gov/state-sponsors-of-terrorism/>. Accessed September 2, 2021.

[9] START, Global Terrorism Database Codebook, University of Maryland (August 2021), <https://www.start.umd.edu/gtd/wp-content/uploads/2021/09/GTD-Codebook-August-21.pdf>. p. 12.

[10] "Global Terrorism Index," Vision of Humanity. Available <https://www.visionofhumanity.org/maps/global-terrorism-index/#/>. Accessed September 2, 2021.

[11] Richard English, "The Future Study of Terrorism," European Journal of International Security, 1(2) 2016: 142-144.