ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขัน"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง''' รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว ''..."
 
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 18: บรรทัดที่ 18:
          อย่างไรก็ตาม หลายประเทศกลับต้องเผชิญกับปัญหา ทั้งการทุจริตของรัฐบาล ความโปร่งใสในการเลือกตั้ง และการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน ไปจนถึงการครองอำนาจโดยรัฐบาลพรรคเดียวนับตั้งแต่ก้าวออกจากระบบอำนาจนิยมเต็มรูป ส่งผลให้นักวิชาการต่างมองว่าระบอบการปกครองเหล่านั้นเป็น'''รูปแบบที่ถดถอยของประชาธิปไตย (a diminished form of democracy)''' ซึ่งแม้จะมีการเลือกตั้งอยู่สม่ำเสมอแต่ผลการเลือกตั้งก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลงจนนำไปสู่การให้คำนิยามกำกับระบอบเหล่านั้นแตกต่างกันออกไปไม่ว่าจะเป็น'''ประชาธิปไตยครึ่งใบ (semidemocracy)''' '''ประชาธิปไตยเสมือน (virtual democracy) ประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง (electoral democracy) และประชาธิปไตยไม่เสรี (illiberal democracy)'''[[#_ftn2|[2]]] ทว่าการพิจารณาระบอบการปกครองแบบกลายพันธุ์ว่าเป็นประชาธิปไตยที่บกพร่องนั้นอาศัยเป้าหมายปลายทางของการเป็นประชาธิปไตยเป็นตัวตั้ง จึงทำให้ละเลยความแตกต่างและพลวัตรของระบอบการปกครองเหล่านั้น
          อย่างไรก็ตาม หลายประเทศกลับต้องเผชิญกับปัญหา ทั้งการทุจริตของรัฐบาล ความโปร่งใสในการเลือกตั้ง และการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน ไปจนถึงการครองอำนาจโดยรัฐบาลพรรคเดียวนับตั้งแต่ก้าวออกจากระบบอำนาจนิยมเต็มรูป ส่งผลให้นักวิชาการต่างมองว่าระบอบการปกครองเหล่านั้นเป็น'''รูปแบบที่ถดถอยของประชาธิปไตย (a diminished form of democracy)''' ซึ่งแม้จะมีการเลือกตั้งอยู่สม่ำเสมอแต่ผลการเลือกตั้งก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลงจนนำไปสู่การให้คำนิยามกำกับระบอบเหล่านั้นแตกต่างกันออกไปไม่ว่าจะเป็น'''ประชาธิปไตยครึ่งใบ (semidemocracy)''' '''ประชาธิปไตยเสมือน (virtual democracy) ประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง (electoral democracy) และประชาธิปไตยไม่เสรี (illiberal democracy)'''[[#_ftn2|[2]]] ทว่าการพิจารณาระบอบการปกครองแบบกลายพันธุ์ว่าเป็นประชาธิปไตยที่บกพร่องนั้นอาศัยเป้าหมายปลายทางของการเป็นประชาธิปไตยเป็นตัวตั้ง จึงทำให้ละเลยความแตกต่างและพลวัตรของระบอบการปกครองเหล่านั้น


          ดังนั้น เพื่อที่จะเข้าใจธรรมชาติของระบอบการเมืองเหล่านั้น '''Steven Levitsky''' และ '''Lucan Way''' เสนอว่า แทนการเข้าใจว่าระบอบเหล่านั้นอยู่ในเส้นทางเดินจากอำนาจนิยมเต็มรูปไปสู่ประชาธิปไตยเต็มใบควรถูกพิจารณาว่าระบอบเหล่านั้นเป็นรูปแบบหนึ่งของระบอบกลายพันธุ์ ที่เรียกว่า '''“ระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขัน” (competitive authoritarianism)''' ซึ่ง '''“สถาบันประชาธิปไตยที่เป็นกลางได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีการหลักในการได้มาและการใช้อำนาจอันชอบธรรมทางการเมือง ทว่า ผู้อยู่ในอำนาจกลับละเมิดกฎกติกาบ่อยครั้งเสียจนกระทั่งตัวระบอบเองไม่เข้าเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของประชาธิปไตยที่ยึดถือกัน”'''[[#_ftn3|[3]]]
          ดังนั้น เพื่อที่จะเข้าใจธรรมชาติของระบอบการเมืองเหล่านั้น '''Steven Levitsky''' และ '''Lucan Way''' เสนอว่า แทนการเข้าใจว่าระบอบเหล่านั้นอยู่ในเส้นทางเดินจากอำนาจนิยมเต็มรูปไปสู่ประชาธิปไตยเต็มใบควรถูกพิจารณาว่าระบอบเหล่านั้นเป็นรูปแบบหนึ่งของระบอบกลายพันธุ์ ที่เรียกว่า '''“ระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขัน” (competitive authoritarianism)''' ซึ่ง '''“สถาบันประชาธิปไตยที่เป็นกลางได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีการหลักในการได้มาและการใช้อำนาจอันชอบธรรมทางการเมือง ทว่า ผู้อยู่ในอำนาจกลับละเมิดกฎกติกาบ่อยครั้งเสียจนกระทั่งตัวระบอบเองไม่เข้าเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของประชาธิปไตยที่ยึดถือกัน”'''[[#_ftn3|[3]]] โดยมาตรฐานขั้นต่ำของประชาธิปไตยนั้นประกอบด้วย


'''''โดยมาตรฐานขั้นต่ำของประชาธิปไตยนั้นประกอบด้วย'''''
''          1) การเลือกตั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติที่เสรี เปิดกว้าง และเป็นธรรม''


'''''          1) การเลือกตั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติที่เสรี เปิดกว้าง และเป็นธรรม'''''
''          2) พลเมืองที่บรรลุนิติภาวะทุกคนต้องมีสิทธิ์ในการเลือกตั้ง''


'''''          2) พลเมืองที่บรรลุนิติภาวะทุกคนต้องมีสิทธิ์ในการเลือกตั้ง'''''
''          3) มีการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของพลเมือง รวมถึงเสรีภาพในการวิจารณ์รัฐบาลโดยไม่ถูกคุกคามจากอำนาจรัฐ''


'''''          3) มีการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของพลเมือง รวมถึงเสรีภาพในการวิจารณ์รัฐบาลโดยไม่ถูกคุกคามจากอำนาจรัฐ'''''
''          4) รัฐบาลและผู้ปกครองที่มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจอันชอบธรรมในการปกครองโดยปราศจากการแทรกแซงของกองทัพ หรือ องค์กรทางศาสนา''
 
'''''          4) รัฐบาลและผู้ปกครองที่มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจอันชอบธรรมในการปกครองโดยปราศจากการแทรกแซงของกองทัพ หรือ องค์กรทางศาสนา'''''


          ทั้งนี้ ใน'''ระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขัน'''นั้น รัฐบาลที่อยู่ในอำนาจมักละเมิดเกณฑ์ประชาธิปไตยเหล่านี้อย่างเป็นระบบเพื่อสร้างสนามการเมืองที่เอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายตนเอง (uneven playing field) ทั้งโดยการทุจริตเลือกตั้ง การใช้ทรัพยากรของรัฐเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง การกลั่นแกล้ง หรือ กีดกันไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองเข้าถึงช่องทางการสื่อสารกับประชาชน อาจไปถึงขั้นจับกุมคุมขังพรรคฝ่ายค้านและสื่อมวลชนฝ่ายตรงข้าม[[#_ftn4|[4]]] ตัวอย่าง เช่น '''โครเอเชียภายใต้รัฐบาลฟรานโจ ทุจมัน''', '''เซอร์เบียร์ภายใต้รัฐบาล สโลโบดาน มิโลเซวิช, รัฐเซียภายใต้วลาดิเมีย ปูติน, เปรูภายใต้อัลเบร์โต ฟูจิโมริ''' นอกจากนั้นยังรวมถึงกาน่า เคนย่า มาเลเซีย และเม็กซิโก ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 อย่างไรก็ตาม สิ่งที่แยกระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขันออกจากอำนาจนิยมเต็มรูปแบบ ก็คือ การเปิดพื้นที่ให้ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองเข้าไปขับเขี้ยวแข่งขันจนบางครั้งอาจนำมาซึ่งความล่มสลายของระบอบในที่สุด
          ทั้งนี้ ใน'''ระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขัน'''นั้น รัฐบาลที่อยู่ในอำนาจมักละเมิดเกณฑ์ประชาธิปไตยเหล่านี้อย่างเป็นระบบเพื่อสร้างสนามการเมืองที่เอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายตนเอง (uneven playing field) ทั้งโดยการทุจริตเลือกตั้ง การใช้ทรัพยากรของรัฐเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง การกลั่นแกล้ง หรือ กีดกันไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองเข้าถึงช่องทางการสื่อสารกับประชาชน อาจไปถึงขั้นจับกุมคุมขังพรรคฝ่ายค้านและสื่อมวลชนฝ่ายตรงข้าม[[#_ftn4|[4]]] ตัวอย่าง เช่น '''โครเอเชียภายใต้รัฐบาลฟรานโจ ทุจมัน''', '''เซอร์เบียร์ภายใต้รัฐบาล สโลโบดาน มิโลเซวิช, รัฐเซียภายใต้วลาดิเมีย ปูติน, เปรูภายใต้อัลเบร์โต ฟูจิโมริ''' นอกจากนั้นยังรวมถึงกาน่า เคนย่า มาเลเซีย และเม็กซิโก ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 อย่างไรก็ตาม สิ่งที่แยกระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขันออกจากอำนาจนิยมเต็มรูปแบบ ก็คือ การเปิดพื้นที่ให้ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองเข้าไปขับเขี้ยวแข่งขันจนบางครั้งอาจนำมาซึ่งความล่มสลายของระบอบในที่สุด


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ถึงแม้ว่า'''ระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขัน'''จะมีลักษณะร่วมกันบางประการ '''แต่การเกิดขึ้นของระบอบนี้มีที่มาจาก 3 แหล่ง'''[[#_ftn5|[5]]]'''''รูปแบบแรก''''' มาจากการผุกร่อนของระบอบอำนาจนิยมเต็มรูป เช่น การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจภายในประเทศ จนแรงกกดดันจากนานาชาติและภายในประเทศบีบให้ชนชั้นนำต้องยอมรับปรับเอาสถาบันการเมืองแบบประชาธิปไตยที่เป็นทางการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบอบ แต่เนื่องจากฝ่ายต่อต้านภายในประเทศเหล่านี้อ่อนแอจึงไม่สามารถผลักดันไปสู่ประชาธิปไตยเต็มใบได้ '''(เช่น ประเทศในแถบแอฟริกา<br/> ที่อยู่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา) ''รูปแบบที่สอง'' '''มาจากการล่มสลายของระบอบอำนาจนิยมเต็มใบซึ่งถูกแทนที่ในทันทีด้วยระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขัน ในรูปแบบนี้มักเกิดขึ้นในประเทศที่แทบจะไม่มีประสบการณ์ประชาธิปไตยมาก่อนและภาคประชาสังคมอ่อนแอ และถึงแม้จะมีการเลือกตั้งแต่จะถูกนำเสนอให้ใช้วิธีการขึ้นสู่อำนาจของผู้นำแบบอำนาจนิยม แต่บรรดาผู้นำเหล่านั้นก็ไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะปกครองแบบอำนาจนิยมเข้มข้นได้ '''(เช่น อดีตประเทศคอมมิวนิสต์แถบยุโรปตะวันออก)''' '''''รูปแบบสุดท้าย'''&nbsp;''เกิดขึ้นจากการผุกร่อนของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเกิดในบริบทที่รัฐบาลที่อยู่ประชาธิปไตยต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งรัฐบาลในอำนาจลดทอนความเป็นประชาธิปไตยไปเสียเองแต่ไม่ถึงขั้นล้มเลิกประชาธิปไตยไปทั้งหมด '''( เช่น เปรู ช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990)'''
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ถึงแม้ว่า'''ระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขัน'''จะมีลักษณะร่วมกันบางประการ แต่การเกิดขึ้นของระบอบนี้มีที่มาจาก 3 แหล่ง[[#_ftn5|[5]]]&nbsp;'''รูปแบบแรก''' มาจากการผุกร่อนของระบอบอำนาจนิยมเต็มรูป เช่น การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจภายในประเทศ จนแรงกกดดันจากนานาชาติและภายในประเทศบีบให้ชนชั้นนำต้องยอมรับปรับเอาสถาบันการเมืองแบบประชาธิปไตยที่เป็นทางการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบอบ แต่เนื่องจากฝ่ายต่อต้านภายในประเทศเหล่านี้อ่อนแอจึงไม่สามารถผลักดันไปสู่ประชาธิปไตยเต็มใบได้ '''(เช่น ประเทศในแถบแอฟริกา<br/> ที่อยู่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา) รูปแบบที่สอง '''มาจากการล่มสลายของระบอบอำนาจนิยมเต็มใบซึ่งถูกแทนที่ในทันทีด้วยระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขัน ในรูปแบบนี้มักเกิดขึ้นในประเทศที่แทบจะไม่มีประสบการณ์ประชาธิปไตยมาก่อนและภาคประชาสังคมอ่อนแอ และถึงแม้จะมีการเลือกตั้งแต่จะถูกนำเสนอให้ใช้วิธีการขึ้นสู่อำนาจของผู้นำแบบอำนาจนิยม แต่บรรดาผู้นำเหล่านั้นก็ไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะปกครองแบบอำนาจนิยมเข้มข้นได้ '''(เช่น อดีตประเทศคอมมิวนิสต์แถบยุโรปตะวันออก)''' '''รูปแบบสุดท้าย'''''&nbsp;''เกิดขึ้นจากการผุกร่อนของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเกิดในบริบทที่รัฐบาลที่อยู่ประชาธิปไตยต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งรัฐบาลในอำนาจลดทอนความเป็นประชาธิปไตยไปเสียเองแต่ไม่ถึงขั้นล้มเลิกประชาธิปไตยไปทั้งหมด '''( เช่น เปรู ช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990)'''


&nbsp;
&nbsp;
บรรทัดที่ 38: บรรทัดที่ 36:
'''ความท้าทายของระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขัน'''
'''ความท้าทายของระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขัน'''


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; แม้'''ระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขัน'''จะละเมิดหลักการประชาธิปไตยเพื่อประกันความอยู่รอดของรัฐบาล แต่ตัวของระบอบเองนั้นกลับเปราะบางและค่อนข้างไร้เสถียรภาพเนื่องจากชนชั้นนำในระบอบจำเป็นที่จะต้องเปิดพื้นที่ให้เกิดการแข่งขันโดยเฉพาะในการเลือกตั้งที่มักจะยินยอมให้ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย ดังนั้นจึงทำให้รัฐบาลเผชิญกับความเสี่ยงที่จะพ่ายแพ้การเลือกตั้ง นอกจากนั้นแล้วการยินยอมให้มีองค์กรสังเกตการณ์จากภายนอกและการนับคะแนนแบบคู่ขนาน ก็ยังเป็นปัจจัยที่สร้างอุปสรรคไม่ให้รัฐบาลโกงการเลือกตั้งได้อย่างโจ่งแจ้ง อย่างไรก็ตามหากรัฐบาลจัดการเลือกตั้งโดยปราศจากฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองและผู้สังเกตการณ์จากภายนอกรัฐบาลอำนาจนิยมก็อาจจะเผชิญกับความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับการยอมรับผลการเลือกตั้งจากประชาชน พื้นที่ต่อมาก็คือ ในปริมณฑลนิติบัญญัติซึ่งรัฐบาลมักจะยินยอมให้มีฝ่ายนิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ฝ่ายนิติบัญญัติก็อ่อนแอเกินกว่าที่จะท้าทายอำนาจของฝ่ายบริหารได้ ในทางกลับกันรัฐสภาได้กลายเป็นสนามให้ฝ่ายค้านใช้ในการอภิปรายวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและเปิดโปงการทุจริตคอร์รัปชั่นของผู้อยู่ในอำนาจ[[#_ftn6|[6]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; แม้ระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขันจะละเมิดหลักการประชาธิปไตยเพื่อประกันความอยู่รอดของรัฐบาล แต่ตัวของระบอบเองนั้นกลับเปราะบางและค่อนข้างไร้เสถียรภาพเนื่องจากชนชั้นนำในระบอบจำเป็นที่จะต้องเปิดพื้นที่ให้เกิดการแข่งขันโดยเฉพาะในการเลือกตั้งที่มักจะยินยอมให้ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย ดังนั้นจึงทำให้รัฐบาลเผชิญกับความเสี่ยงที่จะพ่ายแพ้การเลือกตั้ง นอกจากนั้นแล้วการยินยอมให้มีองค์กรสังเกตการณ์จากภายนอกและการนับคะแนนแบบคู่ขนาน ก็ยังเป็นปัจจัยที่สร้างอุปสรรคไม่ให้รัฐบาลโกงการเลือกตั้งได้อย่างโจ่งแจ้ง อย่างไรก็ตามหากรัฐบาลจัดการเลือกตั้งโดยปราศจากฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองและผู้สังเกตการณ์จากภายนอกรัฐบาลอำนาจนิยมก็อาจจะเผชิญกับความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับการยอมรับผลการเลือกตั้งจากประชาชน พื้นที่ต่อมาก็คือ ในปริมณฑลนิติบัญญัติซึ่งรัฐบาลมักจะยินยอมให้มีฝ่ายนิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ฝ่ายนิติบัญญัติก็อ่อนแอเกินกว่าที่จะท้าทายอำนาจของฝ่ายบริหารได้ ในทางกลับกันรัฐสภาได้กลายเป็นสนามให้ฝ่ายค้านใช้ในการอภิปรายวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและเปิดโปงการทุจริตคอร์รัปชั่นของผู้อยู่ในอำนาจ[[#_ftn6|[6]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; พื้นที่ที่สาม ก็คือ ฝ่ายตุลาการ ซึ่งรัฐบาลภายใต้ระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขันมักจะใช้ความพยายามในการทำให้ฝ่ายตุลาการอยู่ภายใต้อำนาจของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอน การติดสินบน หรือความร่วมมือกันในรูปแบบต่างๆ ในทางกลับกัน องค์กรตุลาการซึ่งยังคงมีความเป็นอิสระและการถูกครอบงำโดยรัฐบาลก็ไม่สามารถทำได้อย่างสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ ความพยายามในการมีอิทธิพลเหนือฝ่ายตุลาการจึงเพิ่มความเสี่ยงที่รัฐบาลจะถูกลดทอนความชอบธรรมทั้งจากประชาชนภายในประเทศและจากประชาคมนานาชาติ พื้นที่สุดท้าย ก็คือ สื่อมวลชน รัฐบาลภายใต้ระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขันมักยินยอมให้มีสื่ออิสระที่สามารถมีอิทธิพลต่อประชาชนได้ ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็จะเข้าไปมีอิทธิพลเหนือสื่อมวลชนเหล่านั้นอีกต่อหนึ่ง ผ่านการติดสินบน การให้เงินสนับสนุนโดยวัตถุประสงค์การโฆษณา การบังคับใช้กฎหมายด้านภาษีและหนี้สินแก่องค์กรสื่อ เป็นต้น การปิดกั้นและมีอิทธิพลต่อสื่อสารมวลชนที่ชัดแจ้งและเข้มข้นมากเกินไปอาจนำมาซึ่งการชุมนุมประท้วงของประชาชน หรือ การประนามโดยชาติตะวันตกได้[[#_ftn7|[7]]] ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลภายใต้ระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขันจึงจำเป็นต้องบริหารความเสี่ยงและภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่เปิดทั้งสี่ นั่นเท่ากับเป็นการเรียกร้องให้ระบบมีความเป็นพลวัตในการปรับตัวสูงเพื่อประกันความอยู่รอดของระบอบและตัวรัฐบาลเองด้วย โดยการสร้างดุลยภาพไม่ให้เปิดกว้างมีความเป็นประชาธิปไตยมากเกินไปและต้องไม่กดขี่ประชาชนจนกระทั่งความไม่พอใจระเบิดออกมา
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; พื้นที่ที่สาม ก็คือ ฝ่ายตุลาการ ซึ่งรัฐบาลภายใต้ระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขันมักจะใช้ความพยายามในการทำให้ฝ่ายตุลาการอยู่ภายใต้อำนาจของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอน การติดสินบน หรือความร่วมมือกันในรูปแบบต่างๆ ในทางกลับกัน องค์กรตุลาการซึ่งยังคงมีความเป็นอิสระและการถูกครอบงำโดยรัฐบาลก็ไม่สามารถทำได้อย่างสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ ความพยายามในการมีอิทธิพลเหนือฝ่ายตุลาการจึงเพิ่มความเสี่ยงที่รัฐบาลจะถูกลดทอนความชอบธรรมทั้งจากประชาชนภายในประเทศและจากประชาคมนานาชาติ พื้นที่สุดท้าย ก็คือ สื่อมวลชน รัฐบาลภายใต้ระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขันมักยินยอมให้มีสื่ออิสระที่สามารถมีอิทธิพลต่อประชาชนได้ ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็จะเข้าไปมีอิทธิพลเหนือสื่อมวลชนเหล่านั้นอีกต่อหนึ่ง ผ่านการติดสินบน การให้เงินสนับสนุนโดยวัตถุประสงค์การโฆษณา การบังคับใช้กฎหมายด้านภาษีและหนี้สินแก่องค์กรสื่อ เป็นต้น การปิดกั้นและมีอิทธิพลต่อสื่อสารมวลชนที่ชัดแจ้งและเข้มข้นมากเกินไปอาจนำมาซึ่งการชุมนุมประท้วงของประชาชน หรือ การประนามโดยชาติตะวันตกได้[[#_ftn7|[7]]] ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลภายใต้ระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขันจึงจำเป็นต้องบริหารความเสี่ยงและภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่เปิดทั้งสี่ นั่นเท่ากับเป็นการเรียกร้องให้ระบบมีความเป็นพลวัตในการปรับตัวสูงเพื่อประกันความอยู่รอดของระบอบและตัวรัฐบาลเองด้วย โดยการสร้างดุลยภาพไม่ให้เปิดกว้างมีความเป็นประชาธิปไตยมากเกินไปและต้องไม่กดขี่ประชาชนจนกระทั่งความไม่พอใจระเบิดออกมา

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:15, 12 กุมภาพันธ์ 2565

ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต

 

ระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขัน (Competitive Authoritarianism)

          ระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขัน (competitive authoritarianism) เป็นแนวคิดในการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบที่นำเสนอโดย Steven Levitsky และ Lucan Way เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ของระบบการปกครองกลายพันธุ์ (hybrid regime) ซึ่งไม่ได้พัฒนาไปสู่ประชาธิปไตยเต็มใบและก็ไม่ได้ถดถอยกลับไปเป็นระบบอำนาจนิยมเต็มรูป ระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขันแพร่หลายในประเทศที่เพิ่งหลุดพ้นจากอำนาจเผด็จการในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ไม่ว่าจะเป็นในแถบยุโรปตะวันออก แอฟริกา หรือเอเชีย โดยประเทศที่อยู่ภายใต้ระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขันอาศัยกลไกประชาธิปไตยอย่างการเลือกตั้ง การมีส่วนร่วมทางการเมืองหรือมาตรการอื่นๆ เพื่อใช้เป็นฐานในการอ้างความชอบธรรมทางการเมือง แต่ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็มักใช้อำนาจเกินขอบเขตในการลิดรอนสิทธิเสรีภาพด้านต่างๆ ของประชาชนในประเทศจนไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นประชาธิปไตยเต็มใบ หรือไม่เช่นนั้น อำนาจของรัฐบาลก็ตกอยู่ภายใต้การชี้นำหรือกำกับของกองทัพหรือองค์กรทางศาสนา ทั้งนี้ระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขันถือเป็นระบอบการเมืองที่แยกตัวเองออกมาเป็นระบอบที่มีลักษณะเฉพาะ และไม่ควรถูกเข้าใจว่าเป็นประชาธิปไตยที่บกพร่องที่กำลังอยู่ในเส้นทางเดินที่จะไปสู่ประชาธิปไตยเต็มใบ

 

แนวคิดระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขัน

          ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 นักวิชาการและนักทฤษฎีประชาธิปไตยต่างทำนายว่าประเทศที่เคยตกอยู่ภายใต้ระบอบอำนาจนิยมและเผด็จการเต็มรูปในยุโรปตะวันออก แอฟริกา และบางประเทศในเอเชียจะมีเป้าหมายปลายทางอยู่ที่การสถาปนาระบอบเสรีประชาธิปไตยในที่สุด วิธีคิดแนวนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศเหล่านั้นถูกเรียกว่า “คลื่นลูกที่สามของการเป็นประชาธิปไตย” (the third wave of democratization) โดยเป็นระบบการปกครองที่อยู่ระหว่างเส้นทางของการเดินไปสู่ประชาธิปไตยเต็มใบและถูกเรียกว่า “ประชาธิปไตยเปลี่ยนผ่าน” (transitional democracies)[1]

          อย่างไรก็ตาม หลายประเทศกลับต้องเผชิญกับปัญหา ทั้งการทุจริตของรัฐบาล ความโปร่งใสในการเลือกตั้ง และการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน ไปจนถึงการครองอำนาจโดยรัฐบาลพรรคเดียวนับตั้งแต่ก้าวออกจากระบบอำนาจนิยมเต็มรูป ส่งผลให้นักวิชาการต่างมองว่าระบอบการปกครองเหล่านั้นเป็นรูปแบบที่ถดถอยของประชาธิปไตย (a diminished form of democracy) ซึ่งแม้จะมีการเลือกตั้งอยู่สม่ำเสมอแต่ผลการเลือกตั้งก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลงจนนำไปสู่การให้คำนิยามกำกับระบอบเหล่านั้นแตกต่างกันออกไปไม่ว่าจะเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ (semidemocracy) ประชาธิปไตยเสมือน (virtual democracy) ประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง (electoral democracy) และประชาธิปไตยไม่เสรี (illiberal democracy)[2] ทว่าการพิจารณาระบอบการปกครองแบบกลายพันธุ์ว่าเป็นประชาธิปไตยที่บกพร่องนั้นอาศัยเป้าหมายปลายทางของการเป็นประชาธิปไตยเป็นตัวตั้ง จึงทำให้ละเลยความแตกต่างและพลวัตรของระบอบการปกครองเหล่านั้น

          ดังนั้น เพื่อที่จะเข้าใจธรรมชาติของระบอบการเมืองเหล่านั้น Steven Levitsky และ Lucan Way เสนอว่า แทนการเข้าใจว่าระบอบเหล่านั้นอยู่ในเส้นทางเดินจากอำนาจนิยมเต็มรูปไปสู่ประชาธิปไตยเต็มใบควรถูกพิจารณาว่าระบอบเหล่านั้นเป็นรูปแบบหนึ่งของระบอบกลายพันธุ์ ที่เรียกว่า “ระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขัน” (competitive authoritarianism) ซึ่ง “สถาบันประชาธิปไตยที่เป็นกลางได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีการหลักในการได้มาและการใช้อำนาจอันชอบธรรมทางการเมือง ทว่า ผู้อยู่ในอำนาจกลับละเมิดกฎกติกาบ่อยครั้งเสียจนกระทั่งตัวระบอบเองไม่เข้าเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของประชาธิปไตยที่ยึดถือกัน”[3] โดยมาตรฐานขั้นต่ำของประชาธิปไตยนั้นประกอบด้วย

          1) การเลือกตั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติที่เสรี เปิดกว้าง และเป็นธรรม

          2) พลเมืองที่บรรลุนิติภาวะทุกคนต้องมีสิทธิ์ในการเลือกตั้ง

          3) มีการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของพลเมือง รวมถึงเสรีภาพในการวิจารณ์รัฐบาลโดยไม่ถูกคุกคามจากอำนาจรัฐ

          4) รัฐบาลและผู้ปกครองที่มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจอันชอบธรรมในการปกครองโดยปราศจากการแทรกแซงของกองทัพ หรือ องค์กรทางศาสนา

          ทั้งนี้ ในระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขันนั้น รัฐบาลที่อยู่ในอำนาจมักละเมิดเกณฑ์ประชาธิปไตยเหล่านี้อย่างเป็นระบบเพื่อสร้างสนามการเมืองที่เอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายตนเอง (uneven playing field) ทั้งโดยการทุจริตเลือกตั้ง การใช้ทรัพยากรของรัฐเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง การกลั่นแกล้ง หรือ กีดกันไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองเข้าถึงช่องทางการสื่อสารกับประชาชน อาจไปถึงขั้นจับกุมคุมขังพรรคฝ่ายค้านและสื่อมวลชนฝ่ายตรงข้าม[4] ตัวอย่าง เช่น โครเอเชียภายใต้รัฐบาลฟรานโจ ทุจมัน, เซอร์เบียร์ภายใต้รัฐบาล สโลโบดาน มิโลเซวิช, รัฐเซียภายใต้วลาดิเมีย ปูติน, เปรูภายใต้อัลเบร์โต ฟูจิโมริ นอกจากนั้นยังรวมถึงกาน่า เคนย่า มาเลเซีย และเม็กซิโก ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 อย่างไรก็ตาม สิ่งที่แยกระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขันออกจากอำนาจนิยมเต็มรูปแบบ ก็คือ การเปิดพื้นที่ให้ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองเข้าไปขับเขี้ยวแข่งขันจนบางครั้งอาจนำมาซึ่งความล่มสลายของระบอบในที่สุด

          ถึงแม้ว่าระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขันจะมีลักษณะร่วมกันบางประการ แต่การเกิดขึ้นของระบอบนี้มีที่มาจาก 3 แหล่ง[5] รูปแบบแรก มาจากการผุกร่อนของระบอบอำนาจนิยมเต็มรูป เช่น การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจภายในประเทศ จนแรงกกดดันจากนานาชาติและภายในประเทศบีบให้ชนชั้นนำต้องยอมรับปรับเอาสถาบันการเมืองแบบประชาธิปไตยที่เป็นทางการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบอบ แต่เนื่องจากฝ่ายต่อต้านภายในประเทศเหล่านี้อ่อนแอจึงไม่สามารถผลักดันไปสู่ประชาธิปไตยเต็มใบได้ (เช่น ประเทศในแถบแอฟริกา
ที่อยู่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา) รูปแบบที่สอง
มาจากการล่มสลายของระบอบอำนาจนิยมเต็มใบซึ่งถูกแทนที่ในทันทีด้วยระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขัน ในรูปแบบนี้มักเกิดขึ้นในประเทศที่แทบจะไม่มีประสบการณ์ประชาธิปไตยมาก่อนและภาคประชาสังคมอ่อนแอ และถึงแม้จะมีการเลือกตั้งแต่จะถูกนำเสนอให้ใช้วิธีการขึ้นสู่อำนาจของผู้นำแบบอำนาจนิยม แต่บรรดาผู้นำเหล่านั้นก็ไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะปกครองแบบอำนาจนิยมเข้มข้นได้ (เช่น อดีตประเทศคอมมิวนิสต์แถบยุโรปตะวันออก) รูปแบบสุดท้าย เกิดขึ้นจากการผุกร่อนของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเกิดในบริบทที่รัฐบาลที่อยู่ประชาธิปไตยต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งรัฐบาลในอำนาจลดทอนความเป็นประชาธิปไตยไปเสียเองแต่ไม่ถึงขั้นล้มเลิกประชาธิปไตยไปทั้งหมด ( เช่น เปรู ช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990)

 

ความท้าทายของระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขัน

          แม้ระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขันจะละเมิดหลักการประชาธิปไตยเพื่อประกันความอยู่รอดของรัฐบาล แต่ตัวของระบอบเองนั้นกลับเปราะบางและค่อนข้างไร้เสถียรภาพเนื่องจากชนชั้นนำในระบอบจำเป็นที่จะต้องเปิดพื้นที่ให้เกิดการแข่งขันโดยเฉพาะในการเลือกตั้งที่มักจะยินยอมให้ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย ดังนั้นจึงทำให้รัฐบาลเผชิญกับความเสี่ยงที่จะพ่ายแพ้การเลือกตั้ง นอกจากนั้นแล้วการยินยอมให้มีองค์กรสังเกตการณ์จากภายนอกและการนับคะแนนแบบคู่ขนาน ก็ยังเป็นปัจจัยที่สร้างอุปสรรคไม่ให้รัฐบาลโกงการเลือกตั้งได้อย่างโจ่งแจ้ง อย่างไรก็ตามหากรัฐบาลจัดการเลือกตั้งโดยปราศจากฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองและผู้สังเกตการณ์จากภายนอกรัฐบาลอำนาจนิยมก็อาจจะเผชิญกับความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับการยอมรับผลการเลือกตั้งจากประชาชน พื้นที่ต่อมาก็คือ ในปริมณฑลนิติบัญญัติซึ่งรัฐบาลมักจะยินยอมให้มีฝ่ายนิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ฝ่ายนิติบัญญัติก็อ่อนแอเกินกว่าที่จะท้าทายอำนาจของฝ่ายบริหารได้ ในทางกลับกันรัฐสภาได้กลายเป็นสนามให้ฝ่ายค้านใช้ในการอภิปรายวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและเปิดโปงการทุจริตคอร์รัปชั่นของผู้อยู่ในอำนาจ[6]

          พื้นที่ที่สาม ก็คือ ฝ่ายตุลาการ ซึ่งรัฐบาลภายใต้ระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขันมักจะใช้ความพยายามในการทำให้ฝ่ายตุลาการอยู่ภายใต้อำนาจของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอน การติดสินบน หรือความร่วมมือกันในรูปแบบต่างๆ ในทางกลับกัน องค์กรตุลาการซึ่งยังคงมีความเป็นอิสระและการถูกครอบงำโดยรัฐบาลก็ไม่สามารถทำได้อย่างสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ ความพยายามในการมีอิทธิพลเหนือฝ่ายตุลาการจึงเพิ่มความเสี่ยงที่รัฐบาลจะถูกลดทอนความชอบธรรมทั้งจากประชาชนภายในประเทศและจากประชาคมนานาชาติ พื้นที่สุดท้าย ก็คือ สื่อมวลชน รัฐบาลภายใต้ระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขันมักยินยอมให้มีสื่ออิสระที่สามารถมีอิทธิพลต่อประชาชนได้ ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็จะเข้าไปมีอิทธิพลเหนือสื่อมวลชนเหล่านั้นอีกต่อหนึ่ง ผ่านการติดสินบน การให้เงินสนับสนุนโดยวัตถุประสงค์การโฆษณา การบังคับใช้กฎหมายด้านภาษีและหนี้สินแก่องค์กรสื่อ เป็นต้น การปิดกั้นและมีอิทธิพลต่อสื่อสารมวลชนที่ชัดแจ้งและเข้มข้นมากเกินไปอาจนำมาซึ่งการชุมนุมประท้วงของประชาชน หรือ การประนามโดยชาติตะวันตกได้[7] ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลภายใต้ระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขันจึงจำเป็นต้องบริหารความเสี่ยงและภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่เปิดทั้งสี่ นั่นเท่ากับเป็นการเรียกร้องให้ระบบมีความเป็นพลวัตในการปรับตัวสูงเพื่อประกันความอยู่รอดของระบอบและตัวรัฐบาลเองด้วย โดยการสร้างดุลยภาพไม่ให้เปิดกว้างมีความเป็นประชาธิปไตยมากเกินไปและต้องไม่กดขี่ประชาชนจนกระทั่งความไม่พอใจระเบิดออกมา

 

นัยสำคัญต่อพัฒนาการประชาธิปไตย

          การกลายพันธุ์ของระบบการเมืองแบบอำนาจนิยมแบบแข่งขันเป็นปรากฏการณ์ที่แพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในสภาวะที่เสรีประชาธิปไตยกำลังประสบกับวิกฤตการณ์ความชอบธรรมอันเป็นผลมาจากประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมืองที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขันสร้างการยอมรับจากประชาคมนานาชาติโดยอาศัยกระบวนการการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย ขณะเดียวกันก็ปราศจากกลไกในการตรวจสอบถ่วงดุลแนวตั้งจากประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง และการตรวจสอบแนวระนาบจากสถาบันของรัฐด้วยกันเอง เงื่อนไขเหล่านี้เอื้อให้เกิดผู้นำอำนาจนิยม (autocrats) ที่อาศัยเสียงสนับสนุนจากการเลือกตั้งเป็นฐานความชอบธรรมให้กับตนเองในการอยู่ในอำนาจและใช้อำนาจนั้นละเมิดสิทธิเสรีภาพของฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ในแง่นี้ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนในระบบดังกล่าวมีตั้งแต่การบ่มเพาะวัฒนธรรมทางการเมืองให้กับประชาชนจนรู้สึกเบื่อหน่ายการเมือง เพราะมองว่าการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองไม่ได้มีผลเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์แต่อย่างใด หรือในบางกรณีหากประชาชนถูกกดขี่ปราบปรามมากเกินไปก็อาจนำมาซึ่งความไม่พอใจและการชุมนุมประท้วงขับไล่รัฐบาลในที่สุด เช่น การปฏิวัติหลากสี หรือ “Color Revolution” ในประเทศอดีตคอมมิวนิสต์แถบยูเรเชีย ระหว่างปี ค.ศ. 1996 - 2005[8]

          อย่างไรก็ตาม เนื่องจากระบบอำนาจนิยมแบบแข่งขันมีธรรมชาติที่ไร้เสถียรภาพ จึงยังมีความเป็นไปได้ที่ในระยะยาวนั้นรัฐบาลที่อยู่ในอำนาจจะไม่สามารถสร้างดุลยภาพระหว่างการไม่เป็นประชาธิปไตยมากเกินไปและการไม่ไถลไปสู่เผด็จการเต็มรูปได้ จนนำไปสู่ความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง (เช่น สโลวาเกียในปี ค.ศ. 1998, อินโดนีเซียในปี ค.ศ.1999, เม็กซิโกในปี ค.ศ. 2000, และยูเครนในปี ค.ศ.2004)[9] หรือไม่ก็อาจถูกชนชั้นนำกลุ่มอื่นยึดอำนาจ หรือ กดดันให้ออกจากอำนาจเพื่อเข้าแทนที่รัฐบาลเดิม แต่สิ่งหนึ่งที่สามารถคาดคะเนได้อย่างแน่ชัด ก็คือ เมื่อถูกแรงกดดันจากประชาคมนานาชาติมากขึ้นหรือถูกท้าทายจากความไม่พอใจของประชาชนภายในประเทศสูงขึ้น รัฐบาลภายใต้ระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขันก็จะแบกรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นด้วยในการที่จะทำให้ตนเองต้องพ้นจากอำนาจเร็วขึ้น

 

บรรณานุกรม

Bunce, Valerie J. and Sharon l. Wolchik. (2010). "Defeating Dictators: Electoral Change and Stability in Competitive Authoritarian Regimes." World Politics. 62(1): 43-86.

Levitsky, Steven and Lucan A. Way, (2010). Competitive Authoritarianism: Hybrid Regimes after the Cold War. Cambridge: Cambridge University Press.

Levitsky, Steven and Lucan A. Way. (2002). "The Rise of Competitive Authoritarianism." Journal of Democracy. 13(2) (2002): 51-65.

Schmitter, Philippe C. (1995). “Transitology: The Science or the Art of Democratization?.” in Joseph S. Tulchin. (ed.). The Consolidation of Democracy in Latin America, pp. 11 - 41. Boulder: Lynne Rienner.

Way, Lucan (2008). "The Real Courses of the Color Revolutions." Journal of Democracy. 19(3): 55-69.

 

อ้างอิง

[1] Philippe C. Schmitter, “Transitology: The Science or the Art of Democratization?,” in Joseph S. Tulchin, (ed.), The Consolidation of Democracy in Latin America (Boulder: Lynne Rienner, 1995), pp. 11 - 41.

[2] Steven Levitsky and Lucan A. Way, "The Rise of Competitive Authoritarianism," Journal of Democracy, 13(2) (2002): 51.

[3] Steven Levitsky and Lucan A. Way, "The Rise of Competitive Authoritarianism," 52. ทั้งนี้ Steven Levitsky และ Lucan Way นำเสนอแนวคิดนี้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 2002 โดยการตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Democracy ต่อมาจึงจัดพิมพ์เป็นเล่มสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2010 โปรดดูฉบับเต็มได้ใน Steven Levitsky and Lucan A. Way, Competitive Authoritarianism: Hybrid Regimes after the Cold War (Cambridge: Cambridge University Press, 2010)

[4] Steven Levitsky and Lucan A. Way, "The Rise of Competitive Authoritarianism," 53.

[5] Steven Levitsky and Lucan A. Way, "The Rise of Competitive Authoritarianism," 60-61.

[6] Steven Levitsky and Lucan A. Way, "The Rise of Competitive Authoritarianism," 54-56.

[7] Steven Levitsky and Lucan A. Way, "The Rise of Competitive Authoritarianism," 56-58.

[8] Valerie J. Bunce and Sharon l. Wolchik, "Defeating Dictators: Electoral Change and Stability in Competitive Authoritarian Regimes," World Politics, 62(1) (2010): 43-86.

[9] Lucan Way, "The Real Courses of the Color Revolutions," Journal of Democracy, 19(3) (2008): 55-69.