ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประชา-อธิปัตย์นิยม"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 7: | บรรทัดที่ 7: | ||
'''ประชา-อธิปัตย์นิยม (Populist-Sovereignism)''' | '''ประชา-อธิปัตย์นิยม (Populist-Sovereignism)''' | ||
= '''บทนำ''' = | |||
'''ประชา-อธิปัตย์นิยม (Populist-Sovereignism)''' เป็นกระแสเคลื่อนไหวทางความคิดและการเมืองในประเทศประชาธิปไตยตะวันตกที่เรียกร้องให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในระบบประชาธิปไตยเรียกคืนอำนาจอธิปไตยบางส่วนที่ถูกแบ่งปันไปโดยองค์กรเหนือชาติอย่าง สหภาพยุโรป (European Union) สหประชาชาติ (United Nations) องค์กรการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 2010 มีสาเหตุหลักมาจากการที่รัฐบาลอธิปไตยยึดถือคุณค่าเสรีนิยมและประชาธิปไตยอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากล (เช่น สิทธิมนุษยชน ความหลากหลายทางวัฒนธรรม นโยบายเปิดเสรีทางการค้า และการอพยพแรงงานเสรี) ซึ่งส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และความมั่นคงต่อพลเมืองภายในรัฐอธิปไตย ทว่ารัฐบาลของประเทศภายใต้การบูรณาการเข้าสู่ประชาคมเหนือชาติต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์บางอย่างร่วมกัน จึงทำให้ถูกเหนี่ยวรั้งในอันที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับประเด็นภายในประเทศบางประเด็น ดังนั้นประชาชนและผู้นำทางการเมืองส่วนหนึ่งจึงมองว่ารัฐควรเรียกคืนอำนาจอธิปไตยกลับคืนมาเพื่อให้มีสิทธิสมบูรณ์อีกครั้งในการตัดสินใจทางการเมืองในประเทศของตนเอง แนวคิดประชา-อธิปัตย์นิยม จึงเป็นการรวมกันของประชานิยมทางการเมืองและแนวคิดทางกฎหมายว่าด้วยอำนาจอธิปไตยของรัฐ | '''ประชา-อธิปัตย์นิยม (Populist-Sovereignism)''' เป็นกระแสเคลื่อนไหวทางความคิดและการเมืองในประเทศประชาธิปไตยตะวันตกที่เรียกร้องให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในระบบประชาธิปไตยเรียกคืนอำนาจอธิปไตยบางส่วนที่ถูกแบ่งปันไปโดยองค์กรเหนือชาติอย่าง สหภาพยุโรป (European Union) สหประชาชาติ (United Nations) องค์กรการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 2010 มีสาเหตุหลักมาจากการที่รัฐบาลอธิปไตยยึดถือคุณค่าเสรีนิยมและประชาธิปไตยอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากล (เช่น สิทธิมนุษยชน ความหลากหลายทางวัฒนธรรม นโยบายเปิดเสรีทางการค้า และการอพยพแรงงานเสรี) ซึ่งส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และความมั่นคงต่อพลเมืองภายในรัฐอธิปไตย ทว่ารัฐบาลของประเทศภายใต้การบูรณาการเข้าสู่ประชาคมเหนือชาติต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์บางอย่างร่วมกัน จึงทำให้ถูกเหนี่ยวรั้งในอันที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับประเด็นภายในประเทศบางประเด็น ดังนั้นประชาชนและผู้นำทางการเมืองส่วนหนึ่งจึงมองว่ารัฐควรเรียกคืนอำนาจอธิปไตยกลับคืนมาเพื่อให้มีสิทธิสมบูรณ์อีกครั้งในการตัดสินใจทางการเมืองในประเทศของตนเอง แนวคิดประชา-อธิปัตย์นิยม จึงเป็นการรวมกันของประชานิยมทางการเมืองและแนวคิดทางกฎหมายว่าด้วยอำนาจอธิปไตยของรัฐ | ||
บรรทัดที่ 12: | บรรทัดที่ 14: | ||
| | ||
'''แนวคิด “ประชา-อธิปัตย์นิยม”''' | = '''แนวคิด “ประชา-อธิปัตย์นิยม”''' = | ||
'''เหตุการณ์ชุมนุมประท้วง''' '''“Occupy Wall Street”''' ในสหรัฐในปี ค.ศ. 2011 เหตุการณ์การลงประชามติเพื่อให้สหราชอาณาจักรถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป หรือ Brexit ด้วยแคมเปญ '''“Let's Take Back Control”''' ในปี ค.ศ. 2016 และการขึ้นมาของประธานาธิบดี '''โดนัล ทรัมป์''' ในปีเดียวกันแคมเปญ '''“Make America Great Again”''' สร้างความเห็นที่ไม่ลงรอยกันไม่น้อยในหมู่นักวิชาการซึ่งพยายามอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าว แต่ลักษณะร่วมกันอย่างหนึ่งก็คือ ขบวนการเคลื่อนไหวเหล่านี้พุ่งเป้าโจมตีชนชั้นนำที่ฉ้อฉล (corrupt elites) ในฐานะที่เป็นแหล่งที่มาของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความไม่พอใจทางวัฒนธรรมและความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตของผู้คน ผลที่สุดก็คือ เกิดการเคลื่อนไหวต่อต้านระบบสถาบันที่ดำรงอยู่ (anti-establishment) ไปทั่วโลกเสรี ทั้งตัดข้ามเส้นแบ่งอุดมการซ้าย-ขวาอย่างที่เคยเข้าใจกันงานวิชาการจำนวนหนึ่งมองว่าปรากฏการณ์นี้ควรถูกเข้าใจว่าเป็นกระแส[[ประชานิยม|'''ประชานิยม (Populism)''']] ที่วางอยู่บนความเชื่อเรื่องการต่อสู้ระหว่างฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว (Manichean consmology) ซึ่งประชาชนที่เป็นเอกภาพ (homogeneous people) ต่อสู้ตอบโต้ชนชั้นนำที่ฉ้อฉลซึ่งร่วมมือกับชนชั้นนำระดับสากล[[#_ftn1|[1]]] | '''เหตุการณ์ชุมนุมประท้วง''' '''“Occupy Wall Street”''' ในสหรัฐในปี ค.ศ. 2011 เหตุการณ์การลงประชามติเพื่อให้สหราชอาณาจักรถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป หรือ Brexit ด้วยแคมเปญ '''“Let's Take Back Control”''' ในปี ค.ศ. 2016 และการขึ้นมาของประธานาธิบดี '''โดนัล ทรัมป์''' ในปีเดียวกันแคมเปญ '''“Make America Great Again”''' สร้างความเห็นที่ไม่ลงรอยกันไม่น้อยในหมู่นักวิชาการซึ่งพยายามอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าว แต่ลักษณะร่วมกันอย่างหนึ่งก็คือ ขบวนการเคลื่อนไหวเหล่านี้พุ่งเป้าโจมตีชนชั้นนำที่ฉ้อฉล (corrupt elites) ในฐานะที่เป็นแหล่งที่มาของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความไม่พอใจทางวัฒนธรรมและความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตของผู้คน ผลที่สุดก็คือ เกิดการเคลื่อนไหวต่อต้านระบบสถาบันที่ดำรงอยู่ (anti-establishment) ไปทั่วโลกเสรี ทั้งตัดข้ามเส้นแบ่งอุดมการซ้าย-ขวาอย่างที่เคยเข้าใจกันงานวิชาการจำนวนหนึ่งมองว่าปรากฏการณ์นี้ควรถูกเข้าใจว่าเป็นกระแส[[ประชานิยม|'''ประชานิยม (Populism)''']] ที่วางอยู่บนความเชื่อเรื่องการต่อสู้ระหว่างฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว (Manichean consmology) ซึ่งประชาชนที่เป็นเอกภาพ (homogeneous people) ต่อสู้ตอบโต้ชนชั้นนำที่ฉ้อฉลซึ่งร่วมมือกับชนชั้นนำระดับสากล[[#_ftn1|[1]]] | ||
บรรทัดที่ 22: | บรรทัดที่ 24: | ||
| | ||
'''แหล่งที่มาของกระแสประชา-อธิปัตย์นิยม''' | = '''แหล่งที่มาของกระแสประชา-อธิปัตย์นิยม''' = | ||
การต่อสู้ทางอุดมการณ์ในโลกยุคสงครามเย็นจบลงด้วยชัยชนะของโลกเสรีซึ่งถูกทำนายว่าเป็นจุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์การต่อสู้ขัดแย้งทางอุดมการณ์ของมนุษยชาติ โดยที่ค่านิยม และวัฒนธรรมเสรีระบบการปกครองเสรีประชาธิปไตย และเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่กลายเป็นบรรทัดฐานหนึ่งเดียวที่นานาประเทศยึดถือ[[#_ftn5|[5]]] อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ประชา-อธิปปัตนิยมกลับแสดงให้เห็นปฏิกิริยาตอบโต้อุดมการณ์นำดังกล่าว โดยมีแหล่งที่มาจากความรู้สึกของผู้คนที่ต้องประเชิญหน้ากับภัยความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจการสูญเสียตัวตนเชิงอัตลักษณ์ และความหวาดกลัวภัยคุกคามก่อการร้าย โดยทั้งสามปัจจัยผสมเข้ากับการขาดการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนจากพรรคการเมืองและนักการเมืองกระแสหลักที่บังเอิญมีฉันทามติร่วมกันในอุดมการณ์เสรีนิยมนับแต่สิ้นสุดสงครามเย็น | การต่อสู้ทางอุดมการณ์ในโลกยุคสงครามเย็นจบลงด้วยชัยชนะของโลกเสรีซึ่งถูกทำนายว่าเป็นจุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์การต่อสู้ขัดแย้งทางอุดมการณ์ของมนุษยชาติ โดยที่ค่านิยม และวัฒนธรรมเสรีระบบการปกครองเสรีประชาธิปไตย และเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่กลายเป็นบรรทัดฐานหนึ่งเดียวที่นานาประเทศยึดถือ[[#_ftn5|[5]]] อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ประชา-อธิปปัตนิยมกลับแสดงให้เห็นปฏิกิริยาตอบโต้อุดมการณ์นำดังกล่าว โดยมีแหล่งที่มาจากความรู้สึกของผู้คนที่ต้องประเชิญหน้ากับภัยความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจการสูญเสียตัวตนเชิงอัตลักษณ์ และความหวาดกลัวภัยคุกคามก่อการร้าย โดยทั้งสามปัจจัยผสมเข้ากับการขาดการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนจากพรรคการเมืองและนักการเมืองกระแสหลักที่บังเอิญมีฉันทามติร่วมกันในอุดมการณ์เสรีนิยมนับแต่สิ้นสุดสงครามเย็น | ||
บรรทัดที่ 32: | บรรทัดที่ 34: | ||
| | ||
'''บทสรุป''' | = '''บทสรุป''' = | ||
แนวคิดประชา-อธิปัตย์นิยมอธิบายปรากฏการณ์ความไม่พอใจของประชาชนในสังคมตะวันตกที่มีต่ออุดมการณ์เสรีนิยมในช่วงขณะที่เสรีนิยมได้กลายเป็นบรรทัดฐานหลักทั้งทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมืองการปกครอง กระบวนการโลกาภิวัตน์และการขยายตัวขององค์กรเหนือชาติทะลุทะลวงกำแพงของรัฐชาติจนประชาชนตระหนักได้ว่าอำนาจของรัฐบาลที่เคยถูกตั้งความหวังไว้ว่าจะปกป้องคุ้มครองพลเมืองภายในประเทศถูกจำกัดลงโดยสถาบันทางการเมืองเหนือรัฐ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใดที่ประชากรในโลกตะวันตกส่วนใหญ่จะไม่เชื่อใจในองค์การสหประชาชาติและสหภาพยุโรป เป็นต้น[[#_ftn10|[10]]] อย่างไรก็ตามแม้ขบวนการเคลื่อนไหวประชา-อธิปัตย์นิยมทั้งซ้ายและขวาจะว่างอยู่บนแนวคิดเกี่ยวกับเขตแดนว่าด้วยเรื่องอำนาจอธิปไตยของปวงชนร่วมกัน แต่กลับให้ความสำคัญกับเป้าหมายปลายทางที่แตกต่างกันออกไป กล่าวคือ ประชานิยมฝ่ายขวาตอกย้ำอธิปัตย์นิยม เพื่อที่จะขีดเส้นเขตแดนซ้ำลงบนอธิปไตยของรัฐชาติโดยการทำให้เขตแดนกลายเป็นตัวกรองผู้ที่จะเข้ามาสู่ชุมชนของตนในอนาคต ในทางกลับกัน ประชานิยมฝ่ายซ้ายเห็นว่าเขตแดนเป็นกำแพงป้องกันผลกระทบของเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ ดังนั้นเขตแดนของรัฐชาติจึงเป็นจุดยืนทางยุทธศาสตร์ชั่วคราวที่จะบรรเทาเบาบางผลกระทบทางเศรษฐกิจในเส้นทางที่จะเดินไปสู่การเพิ่มอำนาจให้กับประชาชนในระยะยาว[[#_ftn11|[11]]] ด้วยเหตุนี้ การพิจารณาถึงประชา-อธิปัตย์นิยม ทั้งในแง่ขบวนการเคลื่อนไหวและกรอบแนวคิดในการอธิบาย จึงจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงความแตกต่างทางยุทธศาสตร์ การปรับตัว และการต่อรองอำนาจกันเองภายใต้กระบวนการโลกาภิวัตน์ที่กำลังดำเนินอยู่ต่อไป | แนวคิดประชา-อธิปัตย์นิยมอธิบายปรากฏการณ์ความไม่พอใจของประชาชนในสังคมตะวันตกที่มีต่ออุดมการณ์เสรีนิยมในช่วงขณะที่เสรีนิยมได้กลายเป็นบรรทัดฐานหลักทั้งทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมืองการปกครอง กระบวนการโลกาภิวัตน์และการขยายตัวขององค์กรเหนือชาติทะลุทะลวงกำแพงของรัฐชาติจนประชาชนตระหนักได้ว่าอำนาจของรัฐบาลที่เคยถูกตั้งความหวังไว้ว่าจะปกป้องคุ้มครองพลเมืองภายในประเทศถูกจำกัดลงโดยสถาบันทางการเมืองเหนือรัฐ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใดที่ประชากรในโลกตะวันตกส่วนใหญ่จะไม่เชื่อใจในองค์การสหประชาชาติและสหภาพยุโรป เป็นต้น[[#_ftn10|[10]]] อย่างไรก็ตามแม้ขบวนการเคลื่อนไหวประชา-อธิปัตย์นิยมทั้งซ้ายและขวาจะว่างอยู่บนแนวคิดเกี่ยวกับเขตแดนว่าด้วยเรื่องอำนาจอธิปไตยของปวงชนร่วมกัน แต่กลับให้ความสำคัญกับเป้าหมายปลายทางที่แตกต่างกันออกไป กล่าวคือ ประชานิยมฝ่ายขวาตอกย้ำอธิปัตย์นิยม เพื่อที่จะขีดเส้นเขตแดนซ้ำลงบนอธิปไตยของรัฐชาติโดยการทำให้เขตแดนกลายเป็นตัวกรองผู้ที่จะเข้ามาสู่ชุมชนของตนในอนาคต ในทางกลับกัน ประชานิยมฝ่ายซ้ายเห็นว่าเขตแดนเป็นกำแพงป้องกันผลกระทบของเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ ดังนั้นเขตแดนของรัฐชาติจึงเป็นจุดยืนทางยุทธศาสตร์ชั่วคราวที่จะบรรเทาเบาบางผลกระทบทางเศรษฐกิจในเส้นทางที่จะเดินไปสู่การเพิ่มอำนาจให้กับประชาชนในระยะยาว[[#_ftn11|[11]]] ด้วยเหตุนี้ การพิจารณาถึงประชา-อธิปัตย์นิยม ทั้งในแง่ขบวนการเคลื่อนไหวและกรอบแนวคิดในการอธิบาย จึงจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงความแตกต่างทางยุทธศาสตร์ การปรับตัว และการต่อรองอำนาจกันเองภายใต้กระบวนการโลกาภิวัตน์ที่กำลังดำเนินอยู่ต่อไป | ||
บรรทัดที่ 38: | บรรทัดที่ 40: | ||
| | ||
'''บรรณานุกรม''' | = '''บรรณานุกรม''' = | ||
Fukuyama, Francis (2006). '''The End of History and the Last Man'''. New York: Free Press. | Fukuyama, Francis (2006). '''The End of History and the Last Man'''. New York: Free Press. | ||
บรรทัดที่ 54: | บรรทัดที่ 56: | ||
| | ||
'''อ้างอิง''' | = '''อ้างอิง''' = | ||
<div id="ftn1"> | <div id="ftn1"> | ||
[[#_ftnref1|[1]]] Kirk A. Hawkins and Cristóbal Rovira Kaltwasser, "Introduction: The Ideational Approach," in Kirk A. Hawkins et al. (eds), '''The Ideational Approach to Populism''' (New York: Routledge, 2019), p. 3. | [[#_ftnref1|[1]]] Kirk A. Hawkins and Cristóbal Rovira Kaltwasser, "Introduction: The Ideational Approach," in Kirk A. Hawkins et al. (eds), '''The Ideational Approach to Populism''' (New York: Routledge, 2019), p. 3. | ||
บรรทัดที่ 78: | บรรทัดที่ 80: | ||
[[#_ftnref11|[11]]] Aristotle Kallis, "Populism, Sovereigntism, and the Unlikely Re-Emergence of the Territorial Nation-State," '''Fudan Journal of the Humanities and Social Sciences''', 11 (2018): 285–302. | [[#_ftnref11|[11]]] Aristotle Kallis, "Populism, Sovereigntism, and the Unlikely Re-Emergence of the Territorial Nation-State," '''Fudan Journal of the Humanities and Social Sciences''', 11 (2018): 285–302. | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
|
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:57, 12 กุมภาพันธ์ 2565
ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
ประชา-อธิปัตย์นิยม (Populist-Sovereignism)
บทนำ
ประชา-อธิปัตย์นิยม (Populist-Sovereignism) เป็นกระแสเคลื่อนไหวทางความคิดและการเมืองในประเทศประชาธิปไตยตะวันตกที่เรียกร้องให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในระบบประชาธิปไตยเรียกคืนอำนาจอธิปไตยบางส่วนที่ถูกแบ่งปันไปโดยองค์กรเหนือชาติอย่าง สหภาพยุโรป (European Union) สหประชาชาติ (United Nations) องค์กรการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 2010 มีสาเหตุหลักมาจากการที่รัฐบาลอธิปไตยยึดถือคุณค่าเสรีนิยมและประชาธิปไตยอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากล (เช่น สิทธิมนุษยชน ความหลากหลายทางวัฒนธรรม นโยบายเปิดเสรีทางการค้า และการอพยพแรงงานเสรี) ซึ่งส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และความมั่นคงต่อพลเมืองภายในรัฐอธิปไตย ทว่ารัฐบาลของประเทศภายใต้การบูรณาการเข้าสู่ประชาคมเหนือชาติต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์บางอย่างร่วมกัน จึงทำให้ถูกเหนี่ยวรั้งในอันที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับประเด็นภายในประเทศบางประเด็น ดังนั้นประชาชนและผู้นำทางการเมืองส่วนหนึ่งจึงมองว่ารัฐควรเรียกคืนอำนาจอธิปไตยกลับคืนมาเพื่อให้มีสิทธิสมบูรณ์อีกครั้งในการตัดสินใจทางการเมืองในประเทศของตนเอง แนวคิดประชา-อธิปัตย์นิยม จึงเป็นการรวมกันของประชานิยมทางการเมืองและแนวคิดทางกฎหมายว่าด้วยอำนาจอธิปไตยของรัฐ
แนวคิด “ประชา-อธิปัตย์นิยม”
เหตุการณ์ชุมนุมประท้วง “Occupy Wall Street” ในสหรัฐในปี ค.ศ. 2011 เหตุการณ์การลงประชามติเพื่อให้สหราชอาณาจักรถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป หรือ Brexit ด้วยแคมเปญ “Let's Take Back Control” ในปี ค.ศ. 2016 และการขึ้นมาของประธานาธิบดี โดนัล ทรัมป์ ในปีเดียวกันแคมเปญ “Make America Great Again” สร้างความเห็นที่ไม่ลงรอยกันไม่น้อยในหมู่นักวิชาการซึ่งพยายามอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าว แต่ลักษณะร่วมกันอย่างหนึ่งก็คือ ขบวนการเคลื่อนไหวเหล่านี้พุ่งเป้าโจมตีชนชั้นนำที่ฉ้อฉล (corrupt elites) ในฐานะที่เป็นแหล่งที่มาของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความไม่พอใจทางวัฒนธรรมและความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตของผู้คน ผลที่สุดก็คือ เกิดการเคลื่อนไหวต่อต้านระบบสถาบันที่ดำรงอยู่ (anti-establishment) ไปทั่วโลกเสรี ทั้งตัดข้ามเส้นแบ่งอุดมการซ้าย-ขวาอย่างที่เคยเข้าใจกันงานวิชาการจำนวนหนึ่งมองว่าปรากฏการณ์นี้ควรถูกเข้าใจว่าเป็นกระแสประชานิยม (Populism) ที่วางอยู่บนความเชื่อเรื่องการต่อสู้ระหว่างฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว (Manichean consmology) ซึ่งประชาชนที่เป็นเอกภาพ (homogeneous people) ต่อสู้ตอบโต้ชนชั้นนำที่ฉ้อฉลซึ่งร่วมมือกับชนชั้นนำระดับสากล[1]
อย่างไรก็ตามกลับมีข้อโต้แย้งว่ากรอบความเข้าใจประชานิยมเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะจับภาพความเคลื่อนไหวที่กำลังดำเนินอยู่ในสังคมตะวันตก แต่กรอบคิดที่ครอบคลุมยิ่งกว่าและจับประเด็นได้ครบถ้วนมากกว่าก็คือ “ประชา-อธิปัตย์นิยม” (Populist-Sovereignism) ซึ่งเป็นการผสานรวมกันระหว่างการเคลื่อนไหวแบบประชานิยมและอธิปัตย์นิยม โดยธรรมชาติของการเคลื่อนไหวแล้วเป็น “การตอกย้ำเจตจำนงของประชาชน (หรือก็คือ อธิปไตยของปวงชน) โดยการเรียกคืนอำนาจควบคุมเหนือประเทศชาติจากอิทธิพลต่างชาติ และตอกตรึงความสำคัญลำดับแรกของรัฐชาติในขอบเขตระหว่างประเทศ (หรือก็คือ อธิปไตยของรัฐ)”[2]
ในด้านหนึ่งประชานิยมเป็นรูปแบบหนึ่งของโวหารที่ฉายภาพให้เห็นว่าประชาชนซึ่งเป็นนามธรรมต่อต้านชนชั้นนำ (ทั้งในและระหว่างประเทศ) และคนนอก (ผู้อพยพและคนต่างชาติ) อันปรากฏอยู่ในรูปแบบที่ผสมผสานกันระหว่างขบวนการเคลื่อนไหว ยุทธศาสตร์การเมือง และอุดมการณ์ในอีกด้านหนึ่ง อธิปัตย์นิยมเป็นความคิดที่ยึดถือกันมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ว่าเป็นรากฐานของรัฐสมัยใหม่ ซึ่งเน้นย้ำถึงอำนาจควบคุมภายใน (อธิปไตยภายใน) และการปฏิเสธอำนาจจากภายนอก (อธิปไตยทางการศาลและกฎหมายระหว่างประเทศ) ดังนั้น รัฐอธิปไตยจึงมีสิทธิอำนาจอันชอบธรรมในการควบคุมเหนือดินแดนของตนผ่านการตราและบังคับใช้กฎหมายกับพลเมืองภายในรัฐ[3] อย่างไรก็ตาม การเกิดขึ้นของอุดมการณ์บรรทัดฐานแบบเสรีนิยมกลับเรียกร้องให้รัฐอธิปไตยจำเป็นต้องยอมถ่ายโอนอำนาจของตนส่วนหนึ่งไปสู่องค์กรระหว่างประเทศ ขณะเดียวกัน ก็ยินยอมให้รัฐอื่นสามารถแทรกแซงก้าวก่ายกิจการภายในของรัฐอธิปไตยได้ หากเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น (ตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 2015 สหภาพยุโรปได้กำหนดโควต้าให้รัฐสมาชิกรับผู้อพยพและผู้ลี้ภัยสงครามจากซีเรีย อัฟกานิสถาน และอิรัก เป็นจำนวนมากถึง 1.3 ล้านคน ซึ่งผู้นำอย่าง วิคเตอร์ โอบานของฮังการี ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์และไม่ยอมรับแผนการดังกล่าว)[4] ขณะเดียวกันประชา-อธิปัตย์นิยมก็แตกต่างจากชาตินิยมตรงที่ชาตินิยมเรียกร้องให้เกิดชุมชนจินตกรรมของเพื่อนร่วมชาติที่เป็นเอกภาพโดยการสร้างรัฐสมัยใหม่ขึ้นมา แต่ประชา-อธิปัตย์นิยม เรียกคืนอำนาจอธิปไตยสมบูรณ์ของรัฐชาติที่มีตัวตนอยู่แล้วคืนให้กลับมาสู่จุดแรกเริ่ม เนื่องจากความกังวลและตระหนักว่าอำนาจนั้นกำลังถูกเจือจางลง
แหล่งที่มาของกระแสประชา-อธิปัตย์นิยม
การต่อสู้ทางอุดมการณ์ในโลกยุคสงครามเย็นจบลงด้วยชัยชนะของโลกเสรีซึ่งถูกทำนายว่าเป็นจุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์การต่อสู้ขัดแย้งทางอุดมการณ์ของมนุษยชาติ โดยที่ค่านิยม และวัฒนธรรมเสรีระบบการปกครองเสรีประชาธิปไตย และเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่กลายเป็นบรรทัดฐานหนึ่งเดียวที่นานาประเทศยึดถือ[5] อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ประชา-อธิปปัตนิยมกลับแสดงให้เห็นปฏิกิริยาตอบโต้อุดมการณ์นำดังกล่าว โดยมีแหล่งที่มาจากความรู้สึกของผู้คนที่ต้องประเชิญหน้ากับภัยความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจการสูญเสียตัวตนเชิงอัตลักษณ์ และความหวาดกลัวภัยคุกคามก่อการร้าย โดยทั้งสามปัจจัยผสมเข้ากับการขาดการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนจากพรรคการเมืองและนักการเมืองกระแสหลักที่บังเอิญมีฉันทามติร่วมกันในอุดมการณ์เสรีนิยมนับแต่สิ้นสุดสงครามเย็น
หากพิจารณาในด้านอุปสงค์ หรือความต้องจากการฟากประชาชนและสังคมแล้ว กระบวนการโลกาภิวัตน์และเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ได้สร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจขนานใหญ่ภายในประเทศ ส่งผลให้ผู้คนจำนวนมากถูกทอดทิ้งไว้เบื้องหลังภายใต้ฉากหน้าของการบูรณาการทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ดังเห็นได้ว่านับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 ถึง ค.ศ. 2015 อัตราการว่างงานของแรงงานไร้ฝีมือในประเทศยุโรป (European OECD countries) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากประมาณร้อยละ 10 ไปเป็นประมาณร้อยละ 17 ซึ่งสัมพันธ์กับสัดส่วนรายได้ต่อ GDP ที่ลดลงจากร้อยละ 65 ในปี ค.ศ.1960 ไปสู่ประมาณร้อยละ 52 ในปี ค.ศ. 2015[6] ยิ่งไปกว่านั้นค่านิยมแบบเสรีและก้าวหน้าได้กลายเป็นบรรทัดฐานหลักของสังคมตะวันตกนับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 ที่เน้นย้ำถึงความอดกลั้นต่อวิถีชีวิตที่แตกต่างหลากหลาย ความหลากหลายทางศาสนาและพหุวัฒนธรรม การปกครองแบบประชาธิปไตย การปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานและสิทธิมนุษยชน เป็นต้น ค่านิยมเหล่านี้ได้รับการยึดถือในระดับสากลจากสหประชาชาติ และด้วยการเข้ามาทดแทนค่านิยมดั้งเดิม (อาทิ อภิสิทธิ์ของคนผิวขาว และการนับถือคริสตศาสนาอย่างเคร่งครัด เป็นต้น) ที่เคยยึดถือโดยการผลัดเปลี่ยนช่วงวัย ลัทธิเสรีนิยมจึงเพิกถอนอภิสิทธิ์ต่างๆ ที่คนรุ่นก่อนเคยได้รับ และจบลงด้วยปฏิกิริยาตอบโต้รุนแรงทางวัฒนธรรมของคนรุ่นปัจจุบัน นอกเหนือจากปัญหาทางวัฒนธรรมแล้ว ชาวต่างชาติและคนนอกที่ไหลบ่าเข้าสู่สังคมตะวันตกมักถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อความปลอดภัยของประชากรภายในประเทศจนอาจไปไกลถึงขั้นมองว่าผู้คนเหล่านั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุก่อการร้ายที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคมตะวันตก[7]
ทั้งที่พลเมืองภายในประเทศเกิดความรู้สึกถึงภัยคุกคามแต่รัฐบาลระดับชาติกลับถูกเหนี่ยวรั้งไม่ให้ทำอะไรได้มากนักเพราะมีพันธะผูกพันในข้อตกลงระหว่างประเทศ ในด้านอุปทาน หรือการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและสังคมนั้น นับตั้งแต่สงครามเย็นสิ้นสุดลง ชนชั้นนำในระบบต่างมีฉันทามติร่วมกันในอันที่จะยอมรับการบูรณาการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจระดับโลก หรือ ประชาคมเหนือชาติอย่างสภาพยุโรป ความคิดพหุวัฒนธรรม และเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ ให้เป็นนโยบายและหลักการหลักของประเทศ แต่ละเลยประเด็นละเอียดอ่อน อาทิ การอพยพ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และปฏิกิริยารุนแรงทางวัฒนธรรม เหล่านี้เป็นการเร่งเร้าให้พลเมืองโกรธแค้นไม่พอใจต่อระบบสถาปนา[8] นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมอัตราการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งและพรรคการเมืองในสังคมตะวันตกจึงลดลงอย่างต่อเนื่อง[9] การมาบรรจบกันทางอุดมการณ์ดังกล่าวจึงเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้กระแสประชา-อธิปัตย์นิยมเกิดขึ้นทั่วทั้งโลกเสรี และด้วยการเห็นโอกาสดังกล่าว พรรคการเมืองและผู้นำแบบประชานิยมบางคนจึงใช้โอกาสนี้ปลุกคลื่นแห่งความไม่พอใจของประชาชนจนกระทั่งได้ขึ้นสู่อำนาจในที่สุด
บทสรุป
แนวคิดประชา-อธิปัตย์นิยมอธิบายปรากฏการณ์ความไม่พอใจของประชาชนในสังคมตะวันตกที่มีต่ออุดมการณ์เสรีนิยมในช่วงขณะที่เสรีนิยมได้กลายเป็นบรรทัดฐานหลักทั้งทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมืองการปกครอง กระบวนการโลกาภิวัตน์และการขยายตัวขององค์กรเหนือชาติทะลุทะลวงกำแพงของรัฐชาติจนประชาชนตระหนักได้ว่าอำนาจของรัฐบาลที่เคยถูกตั้งความหวังไว้ว่าจะปกป้องคุ้มครองพลเมืองภายในประเทศถูกจำกัดลงโดยสถาบันทางการเมืองเหนือรัฐ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใดที่ประชากรในโลกตะวันตกส่วนใหญ่จะไม่เชื่อใจในองค์การสหประชาชาติและสหภาพยุโรป เป็นต้น[10] อย่างไรก็ตามแม้ขบวนการเคลื่อนไหวประชา-อธิปัตย์นิยมทั้งซ้ายและขวาจะว่างอยู่บนแนวคิดเกี่ยวกับเขตแดนว่าด้วยเรื่องอำนาจอธิปไตยของปวงชนร่วมกัน แต่กลับให้ความสำคัญกับเป้าหมายปลายทางที่แตกต่างกันออกไป กล่าวคือ ประชานิยมฝ่ายขวาตอกย้ำอธิปัตย์นิยม เพื่อที่จะขีดเส้นเขตแดนซ้ำลงบนอธิปไตยของรัฐชาติโดยการทำให้เขตแดนกลายเป็นตัวกรองผู้ที่จะเข้ามาสู่ชุมชนของตนในอนาคต ในทางกลับกัน ประชานิยมฝ่ายซ้ายเห็นว่าเขตแดนเป็นกำแพงป้องกันผลกระทบของเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ ดังนั้นเขตแดนของรัฐชาติจึงเป็นจุดยืนทางยุทธศาสตร์ชั่วคราวที่จะบรรเทาเบาบางผลกระทบทางเศรษฐกิจในเส้นทางที่จะเดินไปสู่การเพิ่มอำนาจให้กับประชาชนในระยะยาว[11] ด้วยเหตุนี้ การพิจารณาถึงประชา-อธิปัตย์นิยม ทั้งในแง่ขบวนการเคลื่อนไหวและกรอบแนวคิดในการอธิบาย จึงจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงความแตกต่างทางยุทธศาสตร์ การปรับตัว และการต่อรองอำนาจกันเองภายใต้กระบวนการโลกาภิวัตน์ที่กำลังดำเนินอยู่ต่อไป
บรรณานุกรม
Fukuyama, Francis (2006). The End of History and the Last Man. New York: Free Press.
Hague Center for Strategic Studies. (2017). The Rise of Populist Sovereignism. Hague: HCSS.
Hawkins, Kirk A. and Cristóbal Rovira Kaltwasser (2019). "Introduction: The Ideational Approach," in Kirk A. Hawkins, Ryan E. Carlin, Levente Littvay, and Cristóbal Rovira Kaltwasser (eds). The Ideational Approach to Populism. New York: Routledge.
Kallis, Aristotle (2018). "Populism, Sovereigntism, and the Unlikely Re-Emergence of the Territorial Nation-State." Fudan Journal of the Humanities and Social Sciences. 11: 285-302.
Rankin, Jennifer. "EU proposes to ditch refugee quotas for member states." The Guardian (September 23, 2020). Available <https://www.theguardian.com/world/2020/sep
/23/eu-proposes-to-ditch-refugee-quotas-for-member-states>. Accessed September 10, 2021.
Solijonov, Abdurashid (2016). Voter Turnout Trends Around the World. Stockholm: International IDEA.
อ้างอิง
[1] Kirk A. Hawkins and Cristóbal Rovira Kaltwasser, "Introduction: The Ideational Approach," in Kirk A. Hawkins et al. (eds), The Ideational Approach to Populism (New York: Routledge, 2019), p. 3.
[2] Hague Center for Strategic Studies, The Rise of Populist Sovereignism (Hague: HCSS, 2017), p. 39.
[3] Hague Center for Strategic Studies, The Rise of Populist Sovereignism, p. 33.
[4] Jennifer Rankin, "EU proposes to ditch refugee quotas for member states," The Guardian (September 23, 2020). Available <https://www.theguardian.com/world/2020/sep/23/eu-proposes-to-ditch-refugee-quotas-for-member-states>. Accessed September 10, 2021.
[5] Francis Fukuyama, The End of History and the Last Man. (New York: Free Press, 2006).
[6] Hague Center for Strategic Studies, The Rise of Populist Sovereignism, pp. 45-46
[7] Hague Center for Strategic Studies, The Rise of Populist Sovereignism, p. 48.
[8] Hague Center for Strategic Studies, The Rise of Populist Sovereignism, p. 53.
[9] Abdurashid Solijonov, Voter Turnout Trends Around the World (Stockholm: International IDEA, 2016), p. 25.
[10] Hague Center for Strategic Studies, The Rise of Populist Sovereignism, p. 51.
[11] Aristotle Kallis, "Populism, Sovereigntism, and the Unlikely Re-Emergence of the Territorial Nation-State," Fudan Journal of the Humanities and Social Sciences, 11 (2018): 285–302.