ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บัตรที่ไม่สามารถนับคะแนนได้"
สร้างหน้าด้วย " '''บัตรที่ไม่สามารถนับคะแนนได้''' '''(กรณีบัตรเลือกตั้งนอ..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
<p style="text-align: center;">'''บัตรที่ไม่สามารถนับคะแนนได้'''</p> <p style="text-align: center;">'''(กรณีบัตรเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรจากนิวซีแลนด์มาถึงล่าช้า)'''</p> <p style="text-align: center;"> </p> | |||
'''บัตรที่ไม่สามารถนับคะแนนได้''' | |||
'''(กรณีบัตรเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรจากนิวซีแลนด์มาถึงล่าช้า)''' | |||
| |||
'''ผู้เรียบเรียง''' | '''ผู้เรียบเรียง''' | ||
บรรทัดที่ 34: | บรรทัดที่ 28: | ||
การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรไทยสำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ถูกกำหนดขึ้นอย่างกว้างๆ ระหว่างวันที่ 4-16 มีนาคม พ.ศ. 2563 โดยรายละเอียดของวันเวลา ขั้นตอน วิธีการ และสถานที่ในการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ในภาพรวมมีผู้ออกเสียง คิดเป็นร้อยละ 84.71 (101,003 คน) จากจำนวนผู้ลงทะเบียนทั้งหมด 119,232 คน[[#_ftn4|[4]]] ตลอดช่วงระยะเวลาในกระบวนการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรพบปัญหามากมาย อาทิ การไม่ได้รับบัตรลงคะแนนเสียงล่วงหน้าในประเทศจีน การได้รับจดหมายตอบรับล่าช้าหรือไม่ได้รับเลยสำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา ความล่าช้าในการใช้สิทธิเลือกตั้งที่สถานทูตในมาเลเซีย และปัญหาเรื่องการจัดพิมพ์เอกสารแสดงข้อมูลของผู้สมัครและพรรคการเมืองที่สร้างความสับสนได้ เป็นต้น | การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรไทยสำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ถูกกำหนดขึ้นอย่างกว้างๆ ระหว่างวันที่ 4-16 มีนาคม พ.ศ. 2563 โดยรายละเอียดของวันเวลา ขั้นตอน วิธีการ และสถานที่ในการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ในภาพรวมมีผู้ออกเสียง คิดเป็นร้อยละ 84.71 (101,003 คน) จากจำนวนผู้ลงทะเบียนทั้งหมด 119,232 คน[[#_ftn4|[4]]] ตลอดช่วงระยะเวลาในกระบวนการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรพบปัญหามากมาย อาทิ การไม่ได้รับบัตรลงคะแนนเสียงล่วงหน้าในประเทศจีน การได้รับจดหมายตอบรับล่าช้าหรือไม่ได้รับเลยสำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา ความล่าช้าในการใช้สิทธิเลือกตั้งที่สถานทูตในมาเลเซีย และปัญหาเรื่องการจัดพิมพ์เอกสารแสดงข้อมูลของผู้สมัครและพรรคการเมืองที่สร้างความสับสนได้ เป็นต้น | ||
ข้อกังขาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในความโปร่งใสเป็นธรรมของการเลือกตั้งครั้งนี้ ได้แก่ เหตุการณ์การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรในนิวซีแลนด์ เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้มีมติเอกฉันท์ให้บัตรเลือกตั้งจากนิวซีแลนด์ที่ส่งมานับคะแนนในประเทศไทยเป็น “บัตรเสีย” เนื่องจากการขนส่งบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนแล้ว 1,542 ใบ เดินทางมาถึงสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเลยกำหนดในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 17.00 น. โดยอ้างเหตุผลจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 114[[#_ftn5|[5]]] ซึ่งต่อมาเป็นมูลเหตุให้สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย นำโดย นายศรีสุวรรณ จรรยา ได้ออกมาเคลื่อนไหวจะดำเนินการรวบรวมรายชื่อประชาชน 20,000 คน เพื่อยื่นถอดถอนและเอาผิดคณะกรรมการเลือกตั้งทั้งชุด เนื่องจาก ''“…บัตรเลือกตั้งจากประเทศนิวซีแลนด์ส่งบัตรเลือกตั้งมาถึงประเทศไทยแล้วในวันที่ ''''23 มีนาคม พ.ศ. 2562 ก่อนวันเลือกตั้ง แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศและหรือเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องไม่ได้ไปรับบัตรดังกล่าวจากสายการบินที่จัดส่งมาให้เพื่อจัดส่งไปยังสถานที่นับคะแนนต่างๆ ตามเขตเลือกตั้งในเวลาก่อนนับคะแนน”[[#_ftn6|'''[6]''']]'' | ข้อกังขาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในความโปร่งใสเป็นธรรมของการเลือกตั้งครั้งนี้ ได้แก่ เหตุการณ์การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรในนิวซีแลนด์ เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้มีมติเอกฉันท์ให้บัตรเลือกตั้งจากนิวซีแลนด์ที่ส่งมานับคะแนนในประเทศไทยเป็น “บัตรเสีย” เนื่องจากการขนส่งบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนแล้ว 1,542 ใบ เดินทางมาถึงสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเลยกำหนดในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 17.00 น. โดยอ้างเหตุผลจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 114[[#_ftn5|[5]]] ซึ่งต่อมาเป็นมูลเหตุให้สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย นำโดย นายศรีสุวรรณ จรรยา ได้ออกมาเคลื่อนไหวจะดำเนินการรวบรวมรายชื่อประชาชน 20,000 คน เพื่อยื่นถอดถอนและเอาผิดคณะกรรมการเลือกตั้งทั้งชุด เนื่องจาก ''“…บัตรเลือกตั้งจากประเทศนิวซีแลนด์ส่งบัตรเลือกตั้งมาถึงประเทศไทยแล้วในวันที่ ''''23 มีนาคม พ.ศ. 2562 ก่อนวันเลือกตั้ง แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศและหรือเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องไม่ได้ไปรับบัตรดังกล่าวจากสายการบินที่จัดส่งมาให้เพื่อจัดส่งไปยังสถานที่นับคะแนนต่างๆ ตามเขตเลือกตั้งในเวลาก่อนนับคะแนน”[[#_ftn6|'''[6]''']]''''' | ||
ความไม่พอใจของภาคประชาชนและสังคมได้แพร่กระจายเป็นวงกว้างต่อความผิดพลาดในการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ กกต. มีการตั้งโต๊ะรวบรวมรายชื่อของนักศึกษาและประชาชนทั่วไปในมหาวิทยาลัยหลายแห่งทั่วประเทศ[[#_ftn7|[7]]] เพื่อเสนอถอดถอน กกต. โดยเฉพาะการออกแถลงการณ์ของนิสิตนักศึกษาร่วมตำหนิและประณามการกระทำของ กกต. ที่ขาดความโปร่งใสเป็นธรรมและบกพร่องในหน้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการเลือกตั้งและระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม สถานทูตนิวซีแลนด์ได้ออกประกาศชี้แจงขั้นตอนการทำงาน “กรณีซองบัตรเลือกตั้งของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในนิวซีแลนด์ถึงประเทศไทยล่าช้ากว่ากำหนด” โดยแสดงความเข้าใจในความผิดหวังและเสียใจของผู้มาลงคะแนนเสียงล่วงหน้านอกราชอาณาจักรในนิวซีแลนด์ ซึ่งการลงคะแนนเสียงในส่วนนี้อาจไม่ได้รับการนับรวมในผลการเลือกตั้งเนื่องจากการวินิจฉัยตัดสินของ กกต. แต่ได้เน้นย้ำในข้อเท็จจริงที่ว่ากระบวนการคัดแยกซองบัตรเลือกตั้งทั้งหมดแล้วเสร็จตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2562 และได้ส่งซองบัตรเลือกตั้งทั้งหมดโดยการขนส่งทางอากาศ (Air Cargo) ซึ่งมีกำหนดถึงประเทศไทยในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2562 ดังนั้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็น “กระบวนการจัดส่งนี้อยู่เหนือการควบคุมของสถานเอกอัครราชทูต”[[#_ftn8|[8]]] ส่วนการตรวจสอบโดยฝ่ายของกกต. นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ชี้แจงว่าถึงแม้สถานเอกอัครราชทูตฯ จะดำเนินการจัดส่งตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม แต่ถุงแอร์เมล์การทูตบรรจุซองบัตรเลือกตั้งมาถึงคลังสินค้าของการบินไทยในประเทศไทยราวช่วงค่ำของวันที่ 23 มีนาคม ทำให้ไม่สามารถส่งทันการคัดแยกเพื่อส่งต่อให้ทันการเริ่มนับคะแนนที่ กกต. ได้ตามกำหนดเวลา[[#_ftn9|[9]]] | ความไม่พอใจของภาคประชาชนและสังคมได้แพร่กระจายเป็นวงกว้างต่อความผิดพลาดในการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ กกต. มีการตั้งโต๊ะรวบรวมรายชื่อของนักศึกษาและประชาชนทั่วไปในมหาวิทยาลัยหลายแห่งทั่วประเทศ[[#_ftn7|[7]]] เพื่อเสนอถอดถอน กกต. โดยเฉพาะการออกแถลงการณ์ของนิสิตนักศึกษาร่วมตำหนิและประณามการกระทำของ กกต. ที่ขาดความโปร่งใสเป็นธรรมและบกพร่องในหน้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการเลือกตั้งและระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม สถานทูตนิวซีแลนด์ได้ออกประกาศชี้แจงขั้นตอนการทำงาน “กรณีซองบัตรเลือกตั้งของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในนิวซีแลนด์ถึงประเทศไทยล่าช้ากว่ากำหนด” โดยแสดงความเข้าใจในความผิดหวังและเสียใจของผู้มาลงคะแนนเสียงล่วงหน้านอกราชอาณาจักรในนิวซีแลนด์ ซึ่งการลงคะแนนเสียงในส่วนนี้อาจไม่ได้รับการนับรวมในผลการเลือกตั้งเนื่องจากการวินิจฉัยตัดสินของ กกต. แต่ได้เน้นย้ำในข้อเท็จจริงที่ว่ากระบวนการคัดแยกซองบัตรเลือกตั้งทั้งหมดแล้วเสร็จตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2562 และได้ส่งซองบัตรเลือกตั้งทั้งหมดโดยการขนส่งทางอากาศ (Air Cargo) ซึ่งมีกำหนดถึงประเทศไทยในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2562 ดังนั้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็น “กระบวนการจัดส่งนี้อยู่เหนือการควบคุมของสถานเอกอัครราชทูต”[[#_ftn8|[8]]] ส่วนการตรวจสอบโดยฝ่ายของกกต. นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ชี้แจงว่าถึงแม้สถานเอกอัครราชทูตฯ จะดำเนินการจัดส่งตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม แต่ถุงแอร์เมล์การทูตบรรจุซองบัตรเลือกตั้งมาถึงคลังสินค้าของการบินไทยในประเทศไทยราวช่วงค่ำของวันที่ 23 มีนาคม ทำให้ไม่สามารถส่งทันการคัดแยกเพื่อส่งต่อให้ทันการเริ่มนับคะแนนที่ กกต. ได้ตามกำหนดเวลา[[#_ftn9|[9]]] | ||
บรรทัดที่ 52: | บรรทัดที่ 46: | ||
“การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร,” '''กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ''' (12 มิถุนายน 2563), | “การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร,” '''กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ''' (12 มิถุนายน 2563), | ||
เข้าถึงจาก <http://www.consular.go.th/main/th/services/1314/19874.การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรคืออะไร.html> | เข้าถึงจาก <[http://www.consular.go.th/main/th/services/1314/19874.การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรคืออะไร.html http://www.consular.go.th/main/th/services/1314/19874.การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรคืออะไร.html]> | ||
“การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร,” '''สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน''' (12 มิถุนายน 2563), | “การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร,” '''สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน''' (12 มิถุนายน 2563), | ||
เข้าถึงจาก <https://thaiembdc.org/th/การเลือกตั้งนอกราชอาณาจัก/> | เข้าถึงจาก <[https://thaiembdc.org/th/การเลือกตั้งนอกราชอาณาจัก/ https://thaiembdc.org/th/การเลือกตั้งนอกราชอาณาจัก/]> | ||
“ข่าวสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง กกต. พิจารณาซองใส่บัตรเลือกตั้งของการลงคะแนน | “ข่าวสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง กกต. พิจารณาซองใส่บัตรเลือกตั้งของการลงคะแนน | ||
บรรทัดที่ 68: | บรรทัดที่ 62: | ||
“ผลการดำเนินการจัดการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร,” '''กระทรวงการต่างประเทศ''' (24 มีนาคม 2562), | “ผลการดำเนินการจัดการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร,” '''กระทรวงการต่างประเทศ''' (24 มีนาคม 2562), | ||
เข้าถึงจาก <https://thaiembdc.org/th/การเลือกตั้งนอกราชอาณาจัก/>, สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2563. | เข้าถึงจาก <[https://thaiembdc.org/th/การเลือกตั้งนอกราชอาณาจัก/ https://thaiembdc.org/th/การเลือกตั้งนอกราชอาณาจัก/]>, สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2563. | ||
“พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561,” '''ราช-''' | “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561,” '''ราช-''' | ||
บรรทัดที่ 74: | บรรทัดที่ 68: | ||
'''กิจจานุเบกษา''', เล่มที่ 135 ตอนที่ 68 ก, วันที่ 12 กันยายน 2561. | '''กิจจานุเบกษา''', เล่มที่ 135 ตอนที่ 68 ก, วันที่ 12 กันยายน 2561. | ||
“เลือกตั้ง2562 : นศ. 9 มหาวิทยาลัย ตั้งโต๊ะล่าชื่อถอดถอน กกต.,” '''ThaiPBS''' (28 มีนาคม 2562), | “เลือกตั้ง2562 : นศ. 9 มหาวิทยาลัย ตั้งโต๊ะล่าชื่อถอดถอน กกต.,” '''ThaiPBS''' (28 มีนาคม 2562), | ||
เข้าถึงจาก <https://news.thaipbs.or.th/content/278807>, สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563. | เข้าถึงจาก <[https://news.thaipbs.or.th/content/278807 https://news.thaipbs.or.th/content/278807]>, สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563. | ||
“สถานเอกอัครราชทูตฯ แจงบัตรเลือกตั้งล่าช้า อยู่เหนือการควบคุม,” '''VOICE Online''' (25 มีนาคม | “สถานเอกอัครราชทูตฯ แจงบัตรเลือกตั้งล่าช้า อยู่เหนือการควบคุม,” '''VOICE Online''' (25 มีนาคม | ||
2562), เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1425763>, สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563. | 2562), เข้าถึงจาก <[https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1425763 https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1425763]>, สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563. | ||
“ศรีสุวรรณ’ เตรียมล่า 2 หมื่นชื่อถอดถอน กกต. หลังวินิจฉัยบัตรเลือกตั้งจากนิวซีแลนด์เป็นบัตรเสีย,” | “ศรีสุวรรณ’ เตรียมล่า 2 หมื่นชื่อถอดถอน กกต. หลังวินิจฉัยบัตรเลือกตั้งจากนิวซีแลนด์เป็นบัตรเสีย,” | ||
'''มติชนออนไลน์''' (27 มีนาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1425763>, สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2563. | '''มติชนออนไลน์''' (27 มีนาคม 2562), เข้าถึงจาก <[https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1425763 https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1425763]>, สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2563. | ||
| | ||
บรรทัดที่ 90: | บรรทัดที่ 84: | ||
---- | ---- | ||
<div id="ftn1"> | <div id="ftn1"> | ||
[1] “การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร,” '''กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ''' (12 มิถุนายน 2563), เข้าถึงจาก <http://www.consular.go.th/main/th/services/1314/19874.การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรคืออะไร.html> | [1] “การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร,” '''กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ''' (12 มิถุนายน 2563), เข้าถึงจาก <[http://www.consular.go.th/main/th/services/1314/19874.การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรคืออะไร.html http://www.consular.go.th/main/th/services/1314/19874.การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรคืออะไร.html]> | ||
</div> <div id="ftn2"> | </div> <div id="ftn2"> | ||
[2] นอกจากนี้ยังมีการใช้วิธี “คูหาเคลื่อนที่” ในหลายพื้นที่ เช่น นครอ๊อกแลนด์ และเมือง Blenheim ในนิวซีแลนด์, เสียมราฐในกัมพูชา และมาเลเซีย เป็นต้น | [2] นอกจากนี้ยังมีการใช้วิธี “คูหาเคลื่อนที่” ในหลายพื้นที่ เช่น นครอ๊อกแลนด์ และเมือง Blenheim ในนิวซีแลนด์, เสียมราฐในกัมพูชา และมาเลเซีย เป็นต้น | ||
</div> <div id="ftn3"> | </div> <div id="ftn3"> | ||
[3] “การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร,” '''สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน''' (12 มิถุนายน 2563), เข้าถึงจาก <https://thaiembdc.org/th/การเลือกตั้งนอกราชอาณาจัก/> | [3] “การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร,” '''สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน''' (12 มิถุนายน 2563), เข้าถึงจาก <[https://thaiembdc.org/th/การเลือกตั้งนอกราชอาณาจัก/ https://thaiembdc.org/th/การเลือกตั้งนอกราชอาณาจัก/]> | ||
</div> <div id="ftn4"> | </div> <div id="ftn4"> | ||
[4] “ผลการดำเนินการจัดการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร,” '''กระทรวงการต่างประเทศ '''(24 มีนาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://thaiembdc.org/th/การเลือกตั้งนอกราชอาณาจัก/>, สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2563. | [4] “ผลการดำเนินการจัดการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร,” '''กระทรวงการต่างประเทศ '''(24 มีนาคม 2562), เข้าถึงจาก <[https://thaiembdc.org/th/การเลือกตั้งนอกราชอาณาจัก/ https://thaiembdc.org/th/การเลือกตั้งนอกราชอาณาจัก/]>, สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2563. | ||
</div> <div id="ftn5"> | </div> <div id="ftn5"> | ||
[5] “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561,” '''ราชกิจจา-นุเบกษา''', เล่มที่ 135 ตอนที่ 68 ก, วันที่ 12 กันยายน 2561. | [5] “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561,” '''ราชกิจจา-นุเบกษา''', เล่มที่ 135 ตอนที่ 68 ก, วันที่ 12 กันยายน 2561. | ||
</div> <div id="ftn6"> | </div> <div id="ftn6"> | ||
[6] “ศรีสุวรรณ’ เตรียมล่า 2 หมื่นชื่อถอดถอน กกต. หลังวินิจฉัยบัตรเลือกตั้งจากนิวซีแลนด์เป็นบัตรเสีย,” '''มติชนออนไลน์ '''(27 มีนาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1425763>, สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2563. | [6] “ศรีสุวรรณ’ เตรียมล่า 2 หมื่นชื่อถอดถอน กกต. หลังวินิจฉัยบัตรเลือกตั้งจากนิวซีแลนด์เป็นบัตรเสีย,” '''มติชนออนไลน์ '''(27 มีนาคม 2562), เข้าถึงจาก <[https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1425763 https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1425763]>, สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2563. | ||
</div> <div id="ftn7"> | </div> <div id="ftn7"> | ||
[7] เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิตและศูนย์ลำปาง) มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, จาก “เลือกตั้ง2562 : นศ. 9 มหาวิทยาลัย ตั้งโต๊ะล่าชื่อถอดถอน กกต.,” '''ThaiPBS '''(28 มีนาคม 2562), | [7] เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิตและศูนย์ลำปาง) มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, จาก “เลือกตั้ง2562 : นศ. 9 มหาวิทยาลัย ตั้งโต๊ะล่าชื่อถอดถอน กกต.,” '''ThaiPBS '''(28 มีนาคม 2562), | ||
เข้าถึงจาก <https://news.thaipbs.or.th/content/278807>, สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563. | เข้าถึงจาก <[https://news.thaipbs.or.th/content/278807 https://news.thaipbs.or.th/content/278807]>, สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563. | ||
</div> <div id="ftn8"> | </div> <div id="ftn8"> | ||
[8] “ประกาศ เรื่อง กรณีซองบัตรเลือกตั้งของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในนิวซีแลนด์ถึงประเทศไทยล่าช้ากว่ากำหนด,” '''สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน,''' เลขที่ 5/2562, วันที่ 25 มีนาคม 2562. | [8] “ประกาศ เรื่อง กรณีซองบัตรเลือกตั้งของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในนิวซีแลนด์ถึงประเทศไทยล่าช้ากว่ากำหนด,” '''สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน,''' เลขที่ 5/2562, วันที่ 25 มีนาคม 2562. | ||
</div> <div id="ftn9"> | </div> <div id="ftn9"> | ||
[9] “สถานเอกอัครราชทูตฯ แจงบัตรเลือกตั้งล่าช้า อยู่เหนือการควบคุม,” '''VOICE Online''' (25 มีนาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1425763>, สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563. | [9] “สถานเอกอัครราชทูตฯ แจงบัตรเลือกตั้งล่าช้า อยู่เหนือการควบคุม,” '''VOICE Online''' (25 มีนาคม 2562), เข้าถึงจาก <[https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1425763 https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1425763]>, สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563. | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:การเลือกตั้ง]] | [[Category:การเลือกตั้ง]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:55, 11 มกราคม 2564
บัตรที่ไม่สามารถนับคะแนนได้
(กรณีบัตรเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรจากนิวซีแลนด์มาถึงล่าช้า)
ผู้เรียบเรียง
1.รองศาสตราจารย์ ดร.กตัญญู แก้วหานาม
2.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม
3.นายจักรกฤษ กมุทมาศ
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ดร.สติธร ธนานิธิโชติ
1. ความนำ
การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นการเลือกตั้งครั้งล่าสุดของประเทศไทยภายหลังการทิ้งช่วงกว่า 5 ปี จากการเลือกตั้งครั้งก่อนหน้า (พ.ศ. 2557) ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกตั้งดังกล่าว “ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ” และตามมาด้วยเหตุการณ์รัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
การเลือกตั้งครั้งล่าสุดนี้เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 โดยใช้ระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 500 คน และในท้ายที่สุดรัฐสภาได้มีมติให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 5 มิถุนายน 2562 ทั้งนี้ ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ช่วงก่อนการเลือกตั้งจนกระทั่งการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีประชาธิปไตยครั้งแรกภายหลังรัฐประหาร ได้เกิดข้อพิพาทและความไม่ลงรอยระหว่างขั้วตรงข้ามทางการเมืองหลากหลายกลุ่มที่มีต่อระบบการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญปัจจุบันที่ขาดความชัดเจนและดูเอื้อประโยชน์ให้แก่การสืบทอดอำนาจของรัฐบาลทหารและ คสช. ทำให้สังคมทั้งในและระหว่างประเทศต่างจับตาดูการดำเนินการเลือกตั้งของประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง อาทิ มีการระดมมวลชนทั้งฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลเดิมและฝ่ายผู้ไม่เห็นด้วยติดตามการเลือกตั้งรายเขต ตลอดจนมีการตัวแทนขององค์กรระหว่างประเทศเข้าร่วมสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อตรวจสอบและกดดันให้การเลือกตั้งมีความโปร่งใสเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย อย่างไรก็ตาม พบว่าหนึ่งในเหตุการณ์ที่ประชาชนมีข้อกังขามากที่สุดในกระบวนการเลือกตั้งครั้งนี้ คือ กรณีบัตรเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรจากประเทศนิวซีแลนด์
2.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร
การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร คือ การเลือกตั้งทั่วไป ทั้งการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในช่วงเวลาเดียวกันกับการเลือกตั้งทั่วไปที่จัดขึ้นในประเทศไทย เพียงแต่เป็นการจัดการเลือกตั้งนอกประเทศไทย โดยมีสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่เป็นผู้จัดการเลือกตั้งให้คนไทยทุกคนที่มีสิทธิเลือกตั้งในประเทศไทย สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรได้ตามที่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ หรือสำนักทะเบียนอำเภอ/สำนักทะเบียนท้องถิ่นได้กำหนดจัดหาวิธีการเลือกตั้งไว้ให้[1] หรือใช้วิธีการลงคะแนนทางไปรษณีย์[2] โดยคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรประกอบไปด้วย (1) เป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือมีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี (2) เป็นผู้มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง และ (3) เป็นผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง
ในส่วนของการลงทะเบียนเพื่อเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องดำเนินการก่อนการเลือกตั้งอย่างน้อย 30 วัน ในกรณีที่พำนักอยู่ในต่างประเทศ ลงทะเบียนได้ที่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ และในกรณีที่ยังอยู่ในประเทศไทย (แต่จะเดินทางไปต่างประเทศในช่วงการเลือกตั้ง) ลงทะเบียนได้ที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นหรือสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัด (กกต. จังหวัด) โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องกรอกแบบคำร้องลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรไว้ก่อน[3] นอกจากนี้ ในการเลือกตั้งครั้งนี้ได้เพิ่มช่องทางการตรวจสอบสิทธิการเลือกตั้งและลงทะเบียนออนไลน์ผ่าน www.konthai.com ไว้อีกช่องทางด้วย
'3.การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรในประเทศนิวซีแลนด์ พ.ศ. '2562
การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรไทยสำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ถูกกำหนดขึ้นอย่างกว้างๆ ระหว่างวันที่ 4-16 มีนาคม พ.ศ. 2563 โดยรายละเอียดของวันเวลา ขั้นตอน วิธีการ และสถานที่ในการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ในภาพรวมมีผู้ออกเสียง คิดเป็นร้อยละ 84.71 (101,003 คน) จากจำนวนผู้ลงทะเบียนทั้งหมด 119,232 คน[4] ตลอดช่วงระยะเวลาในกระบวนการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรพบปัญหามากมาย อาทิ การไม่ได้รับบัตรลงคะแนนเสียงล่วงหน้าในประเทศจีน การได้รับจดหมายตอบรับล่าช้าหรือไม่ได้รับเลยสำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา ความล่าช้าในการใช้สิทธิเลือกตั้งที่สถานทูตในมาเลเซีย และปัญหาเรื่องการจัดพิมพ์เอกสารแสดงข้อมูลของผู้สมัครและพรรคการเมืองที่สร้างความสับสนได้ เป็นต้น
ข้อกังขาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในความโปร่งใสเป็นธรรมของการเลือกตั้งครั้งนี้ ได้แก่ เหตุการณ์การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรในนิวซีแลนด์ เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้มีมติเอกฉันท์ให้บัตรเลือกตั้งจากนิวซีแลนด์ที่ส่งมานับคะแนนในประเทศไทยเป็น “บัตรเสีย” เนื่องจากการขนส่งบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนแล้ว 1,542 ใบ เดินทางมาถึงสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเลยกำหนดในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 17.00 น. โดยอ้างเหตุผลจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 114[5] ซึ่งต่อมาเป็นมูลเหตุให้สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย นำโดย นายศรีสุวรรณ จรรยา ได้ออกมาเคลื่อนไหวจะดำเนินการรวบรวมรายชื่อประชาชน 20,000 คน เพื่อยื่นถอดถอนและเอาผิดคณะกรรมการเลือกตั้งทั้งชุด เนื่องจาก “…บัตรเลือกตั้งจากประเทศนิวซีแลนด์ส่งบัตรเลือกตั้งมาถึงประเทศไทยแล้วในวันที่ '23 มีนาคม พ.ศ. 2562 ก่อนวันเลือกตั้ง แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศและหรือเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องไม่ได้ไปรับบัตรดังกล่าวจากสายการบินที่จัดส่งมาให้เพื่อจัดส่งไปยังสถานที่นับคะแนนต่างๆ ตามเขตเลือกตั้งในเวลาก่อนนับคะแนน”[6]
ความไม่พอใจของภาคประชาชนและสังคมได้แพร่กระจายเป็นวงกว้างต่อความผิดพลาดในการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ กกต. มีการตั้งโต๊ะรวบรวมรายชื่อของนักศึกษาและประชาชนทั่วไปในมหาวิทยาลัยหลายแห่งทั่วประเทศ[7] เพื่อเสนอถอดถอน กกต. โดยเฉพาะการออกแถลงการณ์ของนิสิตนักศึกษาร่วมตำหนิและประณามการกระทำของ กกต. ที่ขาดความโปร่งใสเป็นธรรมและบกพร่องในหน้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการเลือกตั้งและระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม สถานทูตนิวซีแลนด์ได้ออกประกาศชี้แจงขั้นตอนการทำงาน “กรณีซองบัตรเลือกตั้งของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในนิวซีแลนด์ถึงประเทศไทยล่าช้ากว่ากำหนด” โดยแสดงความเข้าใจในความผิดหวังและเสียใจของผู้มาลงคะแนนเสียงล่วงหน้านอกราชอาณาจักรในนิวซีแลนด์ ซึ่งการลงคะแนนเสียงในส่วนนี้อาจไม่ได้รับการนับรวมในผลการเลือกตั้งเนื่องจากการวินิจฉัยตัดสินของ กกต. แต่ได้เน้นย้ำในข้อเท็จจริงที่ว่ากระบวนการคัดแยกซองบัตรเลือกตั้งทั้งหมดแล้วเสร็จตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2562 และได้ส่งซองบัตรเลือกตั้งทั้งหมดโดยการขนส่งทางอากาศ (Air Cargo) ซึ่งมีกำหนดถึงประเทศไทยในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2562 ดังนั้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็น “กระบวนการจัดส่งนี้อยู่เหนือการควบคุมของสถานเอกอัครราชทูต”[8] ส่วนการตรวจสอบโดยฝ่ายของกกต. นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ชี้แจงว่าถึงแม้สถานเอกอัครราชทูตฯ จะดำเนินการจัดส่งตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม แต่ถุงแอร์เมล์การทูตบรรจุซองบัตรเลือกตั้งมาถึงคลังสินค้าของการบินไทยในประเทศไทยราวช่วงค่ำของวันที่ 23 มีนาคม ทำให้ไม่สามารถส่งทันการคัดแยกเพื่อส่งต่อให้ทันการเริ่มนับคะแนนที่ กกต. ได้ตามกำหนดเวลา[9]
4.บทสรุป: บัตรที่ไม่สามารถนับคะแนนได้
จากการวินิจฉัยตัดสินของ กกต. ให้บัตรเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรจากนิวซีแลนด์เป็นบัตรเสียเป็น “บัตรที่ไม่สามารถนับคะแนนได้” ก่อให้เกิดความผิดหวังเสียใจต่อประชาชนผู้มีสิทธิลงคะแนนเป็นอย่างมาก เนื่องจากเสียงของพวกเขากลายเป็นเสียงที่ไร้ค่าไม่ถูกนับรวมในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ซึ่งการเลือกตั้งเป็นเครื่องมือทางการเมืองขั้นพื้นฐานในการยืนยันสิทธิในเสียงของตนเองตามกระบวนการทางรัฐสภาในสังคมประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ลงคะแนนบางบางคนที่คาดหวังจะได้ใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในรอบเกือบทศวรรษหากนับย้อนกลับไปถึงการเลือกตั้งทั่วไปครั้งสุดท้ายที่ประสบผลสำเร็จในประเทศไทย (3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) เหตุการณ์เช่นนี้ย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงผลกระทบเชิงลบต่อความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในระบอบทางการเมืองของประชาชน เมื่อพวกเขาไม่สามารถแสดงอำนาจทางการเมืองของตนผ่านการใช้สิทธิทางการเมืองได้ ในระยะยาวอาจนำไปสู่การลดลงของอัตราการออกไปใช้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง (Voting Turnout) ของกลุ่มประชาชนผู้เสียประโยชน์โดยตรงจากเหตุการณ์นี้ อันเนื่องมาจากความเบื่อหน่ายและการขาดความเชื่อมั่นทางการเมือง (Political Trust) ต่อระบอบการเมืองที่ตนสังกัดอยู่ในท้ายที่สุด ในอีกด้านหากพิจารณาว่าการเลือกตั้งเป็นวิธีการทางการเมืองสำหรับลดความตึงเครียดทางการเมือง เป็นการระบายความขุ่นเคืองไม่พึงพอใจสะสมของประชาชนในสังคมที่มีต่อรัฐบาล การที่เสียงของคนกลุ่มหนึ่งถูกละเลยไปจากสมการทางการเมืองในการได้มาซึ่งผู้แทนเพื่อทำหน้าที่ตอบสนองปัญหาและความต้องการของตนผ่านกลไกและสถาบันทางการในระบอบการเมือง อาจนำไปสู่การใช้รูปแบบอื่นในการแก้ไขปัญหาซึ่งมีความโน้มเอียงไปสู่ความรุนแรง เช่น การชุมนุมประท้วงเพื่อโค่นล้มรัฐบาล การก่อความไม่สงบและการจลาจล เป็นต้น ดังนั้นแล้ว กระบวนการเลือกตั้งที่มีความโปร่งใสเป็นธรรมร่วมกับการทำหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่มีความรับผิดรับชอบต่อหน้าที่ของตนอย่างเป็นมืออาชีพ (Accountability & Professionalization of the
Institution) จึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะสร้างความชอบธรรมให้แก่กระบวนการเลือกตั้งในฐานะเครื่องมือและช่องทางในการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองที่มีความชอบธรรมและได้รับฉันทามติร่วมจากสมาชิกทุกฝ่ายในสังคม ในทางตรงข้าม หากคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่อาจดำรงฐานะความเป็นกลางในฐานะองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองไว้ได้ ปล่อยให้เกิดการแทรกแซงโดยอำนาจทางการเมืองหรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับพันธกิจทางการเมืองเฉพาะกรณี ภาวะความเป็นสถานบันข้างต้นซึ่งเกี่ยวพันกับเจตนารมย์ในการจัดตั้งและดำเนินงานขององค์กรย่อมผิดเพี้ยนไป “บัตรที่ไม่สามารถนับคะแนน” ที่ไม่อาจหาเหตุผลที่เป็นรูปธรรมเพื่อชี้แจงและสร้างการยอมรับในความเป็นเหตุเป็นผลของการวินิจฉัยตัดสินตามบทบัญญัติของข้อกฎหมายต่อสาธารณชนได้ ย่อมนำมาซึ่งความสงสัยต่อบทบาทในการดำเนินงานและอาจเป็นเหตุของการเสื่อมถอยในศักดิ์และสิทธิ์ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งความเชื่อมั่นยอมรับเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรอิสระในฐานะหน่วยงานผู้รักษาระเบียบเฉพาะทางสถาบันที่คอยกำกับกำหนดความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างสถาบันทางการเมือง (Gatekeepers of ‘Rules of the Game’)
บรรณานุกรม
“การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร,” กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ (12 มิถุนายน 2563),
เข้าถึงจาก <http://www.consular.go.th/main/th/services/1314/19874.การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรคืออะไร.html>
“การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร,” สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน (12 มิถุนายน 2563),
เข้าถึงจาก <https://thaiembdc.org/th/การเลือกตั้งนอกราชอาณาจัก/>
“ข่าวสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง กกต. พิจารณาซองใส่บัตรเลือกตั้งของการลงคะแนน
เลือกตั้งนอกราชอาณาจักรของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์ ถึงล่าช้ากว่ากำหนด,” สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, เลขที่ 42/2562, วันที่ 26 มีนาคม 2562.
“ประกาศ เรื่อง กรณีซองบัตรเลือกตั้งของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในนิวซีแลนด์ถึงประเทศไทยล่าช้ากว่ากำหนด
,” สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน, เลขที่ 5/2562, วันที่ 25 มีนาคม 2562.
“ผลการดำเนินการจัดการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร,” กระทรวงการต่างประเทศ (24 มีนาคม 2562),
เข้าถึงจาก <https://thaiembdc.org/th/การเลือกตั้งนอกราชอาณาจัก/>, สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2563.
“พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561,” ราช-
กิจจานุเบกษา, เล่มที่ 135 ตอนที่ 68 ก, วันที่ 12 กันยายน 2561.
“เลือกตั้ง2562 : นศ. 9 มหาวิทยาลัย ตั้งโต๊ะล่าชื่อถอดถอน กกต.,” ThaiPBS (28 มีนาคม 2562),
เข้าถึงจาก <https://news.thaipbs.or.th/content/278807>, สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563.
“สถานเอกอัครราชทูตฯ แจงบัตรเลือกตั้งล่าช้า อยู่เหนือการควบคุม,” VOICE Online (25 มีนาคม
2562), เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1425763>, สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563.
“ศรีสุวรรณ’ เตรียมล่า 2 หมื่นชื่อถอดถอน กกต. หลังวินิจฉัยบัตรเลือกตั้งจากนิวซีแลนด์เป็นบัตรเสีย,”
มติชนออนไลน์ (27 มีนาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1425763>, สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2563.
[1] “การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร,” กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ (12 มิถุนายน 2563), เข้าถึงจาก <http://www.consular.go.th/main/th/services/1314/19874.การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรคืออะไร.html>
[2] นอกจากนี้ยังมีการใช้วิธี “คูหาเคลื่อนที่” ในหลายพื้นที่ เช่น นครอ๊อกแลนด์ และเมือง Blenheim ในนิวซีแลนด์, เสียมราฐในกัมพูชา และมาเลเซีย เป็นต้น
[3] “การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร,” สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน (12 มิถุนายน 2563), เข้าถึงจาก <https://thaiembdc.org/th/การเลือกตั้งนอกราชอาณาจัก/>
[4] “ผลการดำเนินการจัดการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร,” กระทรวงการต่างประเทศ (24 มีนาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://thaiembdc.org/th/การเลือกตั้งนอกราชอาณาจัก/>, สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2563.
[5] “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561,” ราชกิจจา-นุเบกษา, เล่มที่ 135 ตอนที่ 68 ก, วันที่ 12 กันยายน 2561.
[6] “ศรีสุวรรณ’ เตรียมล่า 2 หมื่นชื่อถอดถอน กกต. หลังวินิจฉัยบัตรเลือกตั้งจากนิวซีแลนด์เป็นบัตรเสีย,” มติชนออนไลน์ (27 มีนาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1425763>, สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2563.
[7] เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิตและศูนย์ลำปาง) มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, จาก “เลือกตั้ง2562 : นศ. 9 มหาวิทยาลัย ตั้งโต๊ะล่าชื่อถอดถอน กกต.,” ThaiPBS (28 มีนาคม 2562),
เข้าถึงจาก <https://news.thaipbs.or.th/content/278807>, สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563.
[8] “ประกาศ เรื่อง กรณีซองบัตรเลือกตั้งของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในนิวซีแลนด์ถึงประเทศไทยล่าช้ากว่ากำหนด,” สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน, เลขที่ 5/2562, วันที่ 25 มีนาคม 2562.
[9] “สถานเอกอัครราชทูตฯ แจงบัตรเลือกตั้งล่าช้า อยู่เหนือการควบคุม,” VOICE Online (25 มีนาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1425763>, สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563.