ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การสำรวจเศรษฐกิจชนบทสยาม การเกษตรและการสหกรณ์"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''การสำรวจเศรษฐกิจชนบทสยาม  การเกษตรและการสหกรณ์#_ftn1|'..."
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:


'''การสำรวจเศรษฐกิจชนบทสยาม  การเกษตรและการสหกรณ์[[#_ftn1|'''['''๑]]]'''
'''ผู้เรียบเรียง ': พอพันธ์ อุยยานนท์'''


 
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ': รองศาสตราจารย์ ดร.สนธิ เตชานันท์'''


 
----


''                                                              ผู้เรียบเรียง '''': พอพันธ์ อุยยานนท์''
'''การสำรวจเศรษฐกิจชนบทสยาม  การเกษตรและการสหกรณ์[[#_ftn1|'''['''๑]]]'''
 
''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ '''': รองศาสตราจารย์ ดร.สนธิ เตชานันท์''
 
                               
 
 
 
{| cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"
|-
| <div>
'''เนื้อหา'''
 
#ข้อสรุปที่สำคัญบางประการของงานสำรวจเศรษฐกิจชนบท
#การสหกรณ์
#บรรณานุกรม
#อ้างอิง
</div>
|}
 
&nbsp;
 
&nbsp;


&nbsp;
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เศรษฐกิจตกต่ำในทศวรรษ ๒๔๗๐ มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจชนบทไทยในวงกว้าง ราคาส่งออกข้าวได้ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลลบต่อฐานะความเป็นอยู่ของชาวนาและเศรษฐกิจของไทยโดยรวม &nbsp;รัฐบาลซึ่งมีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นหัวหน้าอยู่ในขณะนั้นได้เชิญศาสตราจารย์ &nbsp;คาร์ล&nbsp; ซี ซิมเมอร์แมน (Carle C. Zimmerman) &nbsp;แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด มาสำรวจเศรษฐกิจชนบทเพื่อศึกษาผลกระทบและสำรวจเศรษฐกิจในด้านต่างๆ นับว่าเป็นครั้งแรกที่มีการสำรวจเศรษฐกิจสยามอย่างเป็นระบบและรอบด้านในด้านชีวิตความเป็นอยู่ การลงทุน การผลิต หนี้สินของชาวนา และเป็นไปตามหลักการวิจัยเพื่อหาสภาพการณ์&nbsp; ปัญหาและให้ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ตลอดจนเสนอแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมชนบทไทย&nbsp; โดยได้ครอบคลุมจังหวัดต่างๆ รวม &nbsp;๓๒ จังหวัด คือ เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ น่าน เชียงราย อุบลราชธานี ขอนแก่น อุดรธานี สกลนคร หนองคาย นครพนม ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ตรัง ภูเก็ต ฉะเชิงเทรา พิษณุโลก ลพบุรี อยุธยา สระบุรี ธัญญบุรี จันทบุรี สุพรรณบุรี ขุขันธ์ ธนบุรี และพระนคร ครอบคลุม ๔๐ ตำบล ใช้เวลาสำรวจ ๑ ปี เมื่อทำการสำรวจเสร็จแล้ว ได้ทำรายงานต่อรัฐบาลและได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ Siam Rural Economic Survey, ๑๙๓๐-๓๑ (Bangkok&nbsp;: Bangkok Times Press, ๑๙๓๑) ใน พ.ศ.๒๔๗๔ &nbsp;โดยได้แบ่งเป็น ๑๓ บท คือ (๑) บทนำ (๒) ครอบครัวในชนบท และการกสิกรรม (๓) รายได้ รายจ่าย เงินสด (๔) รายจ่ายในการทำนา - ภาษี - เงินกำไร - เงินลงทุน (๕) ความมั่งคั่ง และความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ (๖) รายจ่ายเพื่อการกินอยู่ (๗) รายได้ของชาวชนบท (๘) การเกษตรของภาคต่าง ๆ (๙) ตลาดสินค้าเกษตรภายในประเทศ (๑๐) สินเชื่อเพื่อการเกษตร (๑๑) สุขภาพและการแพทย์ (๑๒) อาหารของชาวชนบท (๑๓) ปัญหาเศรษฐกิจของภาคต่าง ๆ และ (๑๔) แผนงานของประเทศสยาม


&nbsp;
&nbsp; &nbsp;
 
&nbsp;
 
&nbsp;
 
&nbsp;
 
&nbsp;
 
&nbsp;
 
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;
 
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เศรษฐกิจตกต่ำในทศวรรษ ๒๔๗๐ มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจชนบทไทยในวงกว้าง ราคาส่งออกข้าวได้ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลลบต่อฐานะความเป็นอยู่ของชาวนาและเศรษฐกิจของไทยโดยรวม &nbsp;รัฐบาลซึ่งมีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นหัวหน้าอยู่ในขณะนั้นได้เชิญศาสตราจารย์ &nbsp;คาร์ล&nbsp; ซี ซิมเมอร์แมน (Carle C. Zimmerman) &nbsp;แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด มาสำรวจเศรษฐกิจชนบทเพื่อศึกษาผลกระทบและสำรวจเศรษฐกิจในด้านต่างๆ นับว่าเป็นครั้งแรกที่มีการสำรวจเศรษฐกิจสยามอย่างเป็นระบบและรอบด้านในด้านชีวิตความเป็นอยู่ การลงทุน การผลิต หนี้สินของชาวนา และเป็นไปตามหลักการวิจัยเพื่อหาสภาพการณ์&nbsp; ปัญหาและให้ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ตลอดจนเสนอแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมชนบทไทย&nbsp; โดยได้ครอบคลุมจังหวัดต่างๆ รวม &nbsp;๓๒ จังหวัด คือ เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ น่าน เชียงราย อุบลราชธานี ขอนแก่น อุดรธานี สกลนคร หนองคาย นครพนม ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ตรัง ภูเก็ต ฉะเชิงเทรา พิษณุโลก ลพบุรี อยุธยา สระบุรี ธัญญบุรี จันทบุรี สุพรรณบุรี ขุขันธ์ ธนบุรี และพระนคร ครอบคลุม ๔๐ ตำบล ใช้เวลาสำรวจ ๑ ปี เมื่อทำการสำรวจเสร็จแล้ว ได้ทำรายงานต่อรัฐบาลและได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ Siam Rural Economic Survey, ๑๙๓๐-๓๑ (Bangkok : Bangkok Times Press, ๑๙๓๑) ใน พ.ศ.๒๔๗๔ &nbsp;โดยได้แบ่งเป็น ๑๓ บท คือ (๑) บทนำ (๒) ครอบครัวในชนบท และการกสิกรรม (๓) รายได้ รายจ่าย เงินสด (๔) รายจ่ายในการทำนา - ภาษี - เงินกำไร - เงินลงทุน (๕) ความมั่งคั่ง และความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ (๖) รายจ่ายเพื่อการกินอยู่ (๗) รายได้ของชาวชนบท (๘) การเกษตรของภาคต่าง ๆ (๙) ตลาดสินค้าเกษตรภายในประเทศ (๑๐) สินเชื่อเพื่อการเกษตร (๑๑) สุขภาพและการแพทย์ (๑๒) อาหารของชาวชนบท (๑๓) ปัญหาเศรษฐกิจของภาคต่าง ๆ และ (๑๔) แผนงานของประเทศสยาม
 
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;


#'''ข้อสรุปที่สำคัญบางประการของงานสำรวจเศรษฐกิจชนบท มีดังนี้'''  
#'''ข้อสรุปที่สำคัญบางประการของงานสำรวจเศรษฐกิจชนบท มีดังนี้'''  
&nbsp;


ภาคกลางเป็นภูมิภาคที่มีการผลิตเชิงพาณิชย์มากที่สุด รายได้ที่เป็นเงินสดของครัวเรือนเกษตรกรซึ่งส่วนใหญ่มาจากการทำนาของแต่ละภาคในปี ๒๔๗๓ มีดังนี้ ภาคกลาง ๒๗๙ บาท ภาคเหนือ ๑๗๖ บาท ภาคใต้ ๑๒๖ บาท ภาคอีสาน ๘๓ บาท โดยเฉลี่ยทั้งประเทศ ๑๖๘ บาท&nbsp; นอกจากนี้ ภาคกลางยังมีผลผลิตข้าวทั้งปริมาณผลผลิตข้าวและข้าวเชิงพาณิชย์สูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ อย่างไรก็ตามภาคกลางก็มีปัญหาการถือครองที่ดินและหนี้คงค้างต่อครัวเรือนก็สูงกว่าที่ภูมิภาคอื่นด้วยเช่นกัน
ภาคกลางเป็นภูมิภาคที่มีการผลิตเชิงพาณิชย์มากที่สุด รายได้ที่เป็นเงินสดของครัวเรือนเกษตรกรซึ่งส่วนใหญ่มาจากการทำนาของแต่ละภาคในปี ๒๔๗๓ มีดังนี้ ภาคกลาง ๒๗๙ บาท ภาคเหนือ ๑๗๖ บาท ภาคใต้ ๑๒๖ บาท ภาคอีสาน ๘๓ บาท โดยเฉลี่ยทั้งประเทศ ๑๖๘ บาท&nbsp; นอกจากนี้ ภาคกลางยังมีผลผลิตข้าวทั้งปริมาณผลผลิตข้าวและข้าวเชิงพาณิชย์สูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ อย่างไรก็ตามภาคกลางก็มีปัญหาการถือครองที่ดินและหนี้คงค้างต่อครัวเรือนก็สูงกว่าที่ภูมิภาคอื่นด้วยเช่นกัน
&nbsp;
&nbsp;


'''ตารางที่&nbsp; ๑ '''สถานภาพสังคมและเศรษฐกิจของชนบทไทย ปี ๒๔๗๓
'''ตารางที่&nbsp; ๑ '''สถานภาพสังคมและเศรษฐกิจของชนบทไทย ปี ๒๔๗๓
&nbsp;


{| border="1" cellpadding="0" cellspacing="0"
{| border="1" cellpadding="0" cellspacing="0"
บรรทัดที่ 203: บรรทัดที่ 157:


ที่มา: Zimmerman อ้างใน Larsson (๒๐๑๒: ๙๕)
ที่มา: Zimmerman อ้างใน Larsson (๒๐๑๒: ๙๕)
&nbsp;
&nbsp;


ซิมเมอร์แมนได้ระบุ ไว้ในรายงานจากการสำรวจดังต่อไปนี้:
ซิมเมอร์แมนได้ระบุ ไว้ในรายงานจากการสำรวจดังต่อไปนี้:
&nbsp;


''“ประเทศสยามแบ่งออกเป็น ๔ ภาค การเพาะปลูกของ ๓ ภาคอยู่ในสภาพที่พอเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง มีภาคกลางภาคเดียวอยู่ในสถานะแห่งการค้าขาย ถึงจังหวัดต่างๆ ซึ่งอยู่ในสถานที่พอเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ย่อมมีบางตำบลที่มีเนื้อที่เพาะปลูกมากพอจนถึงทำการค้าขายได้ คือ เป็นตำบลที่อยู่ในอำเภอเมืองใกล้กับตลาด และมีการคมนาคมเชื่อมกับจังหวัด ปัญหาสำคัญสำหรับภาคที่อยู่ในสถานะพอเลี้ยงปากเลี้ยงท้องจะต้องทำนุบำรุงให้มีรายได้เพิ่มพูนแก่พลเมืองยิ่งขึ้น ปัญหาสำคัญสำหรับภาคที่อยู่ในสถานะแห่งการค้าเข้า (ตัวสะกดตามต้นฉบับ&nbsp; "เข้า"="ข้าว") จะต้องจัดให้มีการเพาะปลูกพืชประเภทอื่นๆ เพิ่มขึ้นอีกและควรทำของที่เป็นอาหารและสิ่งอื่นๆ ใช้ในครอบครัวเองมากขึ้น ชาวนาที่อยู่ในสถานะพอเลี้ยงปากเลี้ยงท้องอาจคิดอ่านหารายได้เพิ่มเติม โดยไม่ต้องใช้จ่ายในการกินอยู่ให้เปลืองไปมากกว่าที่เป็นอยู่ทุกวัน เว้นแต่จะถูก และชาวนาที่อยู่ในสถานะแต่งการค้าขายอาจตัดทอนการใช้จ่ายในการอยู่กินน้อยลง โดยปลูกพืชบางอย่างเองเพื่อเอามาใช้เป็นอาหารโดยไม่ต้องดการทำนาและรายได้อื่นๆ ที่เป็นเงิน''
''“ประเทศสยามแบ่งออกเป็น ๔ ภาค การเพาะปลูกของ ๓ ภาคอยู่ในสภาพที่พอเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง มีภาคกลางภาคเดียวอยู่ในสถานะแห่งการค้าขาย ถึงจังหวัดต่างๆ ซึ่งอยู่ในสถานที่พอเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ย่อมมีบางตำบลที่มีเนื้อที่เพาะปลูกมากพอจนถึงทำการค้าขายได้ คือ เป็นตำบลที่อยู่ในอำเภอเมืองใกล้กับตลาด และมีการคมนาคมเชื่อมกับจังหวัด ปัญหาสำคัญสำหรับภาคที่อยู่ในสถานะพอเลี้ยงปากเลี้ยงท้องจะต้องทำนุบำรุงให้มีรายได้เพิ่มพูนแก่พลเมืองยิ่งขึ้น ปัญหาสำคัญสำหรับภาคที่อยู่ในสถานะแห่งการค้าเข้า (ตัวสะกดตามต้นฉบับ&nbsp; "เข้า"="ข้าว") จะต้องจัดให้มีการเพาะปลูกพืชประเภทอื่นๆ เพิ่มขึ้นอีกและควรทำของที่เป็นอาหารและสิ่งอื่นๆ ใช้ในครอบครัวเองมากขึ้น ชาวนาที่อยู่ในสถานะพอเลี้ยงปากเลี้ยงท้องอาจคิดอ่านหารายได้เพิ่มเติม โดยไม่ต้องใช้จ่ายในการกินอยู่ให้เปลืองไปมากกว่าที่เป็นอยู่ทุกวัน เว้นแต่จะถูก และชาวนาที่อยู่ในสถานะแต่งการค้าขายอาจตัดทอนการใช้จ่ายในการอยู่กินน้อยลง โดยปลูกพืชบางอย่างเองเพื่อเอามาใช้เป็นอาหารโดยไม่ต้องดการทำนาและรายได้อื่นๆ ที่เป็นเงิน''


''สดให้'''น้อยลง''' ถ้ารัฐบาลสยามดำริจะทำโครงการเกษตรกรรมให้มั่นคงจริงๆ แล้ว ก็ควรพิจารณาปัญหาเหล่านี้''''”[[#_ftn2|'''['''๒]]]''
''สดให้'''น้อยลง''' ถ้ารัฐบาลสยามดำริจะทำโครงการเกษตรกรรมให้มั่นคงจริงๆ แล้ว ก็ควรพิจารณาปัญหาเหล่านี้''''”[[#_ftn2|'''['''๒]]]'''''
 
&nbsp;


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ซิมเมอร์แมน ได้กล่าวถึงปัญหาสุขภาพของประชาชนในชนบทที่สำคัญ โดยเขาสรุปว่าในภาคเหนือโรคที่สำคัญคือ มาเลเรีย ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้คือโรคครุดทะราด และทุกหนทุกแห่งประชากรเป็นโรคบิดและเชื้อโรคต่าง ๆ เกี่ยวกับลำไส้และกระเพาะ รวมทั้งโรคพยาธิต่าง ๆ เขาสรุปว่า ''“ชาวชนบทของสยามใช้จ่ายเงินเพียง ๕๐ สตางค์ต่อปี เพื่อการรักษาสุขภาพ ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดไปหาซื้อยากินอง และร้อยละ ๙๙ ไม่มีความรู้เรื่องการรักษาสุขภาพ และไม่มีใครเลยเข้าใจการป้องกันสุขภาพ''”[[#_ftn3|[๓]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ซิมเมอร์แมน ได้กล่าวถึงปัญหาสุขภาพของประชาชนในชนบทที่สำคัญ โดยเขาสรุปว่าในภาคเหนือโรคที่สำคัญคือ มาเลเรีย ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้คือโรคครุดทะราด และทุกหนทุกแห่งประชากรเป็นโรคบิดและเชื้อโรคต่าง ๆ เกี่ยวกับลำไส้และกระเพาะ รวมทั้งโรคพยาธิต่าง ๆ เขาสรุปว่า ''“ชาวชนบทของสยามใช้จ่ายเงินเพียง ๕๐ สตางค์ต่อปี เพื่อการรักษาสุขภาพ ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดไปหาซื้อยากินอง และร้อยละ ๙๙ ไม่มีความรู้เรื่องการรักษาสุขภาพ และไม่มีใครเลยเข้าใจการป้องกันสุขภาพ''”[[#_ftn3|[๓]]]
บรรทัดที่ 223: บรรทัดที่ 169:


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; แม้ว่าข้อเสนอของซิมเมอร์แมนบางข้ออาจจะไม่ใช่เป็นสิ่งใหม่ แต่นับเป็นจุดเริ่มต้นของการนำเสนอนโยบายพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นระบบ โดยมีพื้นฐานจากการสำรวจสภาพเศรษฐกิจชนบท เพื่อให้ใจสภาพปัญหาและศักยภาพ และโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้องนั่นเอง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในทศวรรษ ๒๔๗๐ มีผลกระทบต่อฐานะทางการคลังของไทย ไม่สามารถนำข้อเสนอแนะมาใช้ประโยชน์ได้มากนัก จนกระทั่งภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี ๒๔๗๕ รัฐบาลได้เริ่มมีการนำข้อเสนอทางนโยบายมาใช้
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; แม้ว่าข้อเสนอของซิมเมอร์แมนบางข้ออาจจะไม่ใช่เป็นสิ่งใหม่ แต่นับเป็นจุดเริ่มต้นของการนำเสนอนโยบายพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นระบบ โดยมีพื้นฐานจากการสำรวจสภาพเศรษฐกิจชนบท เพื่อให้ใจสภาพปัญหาและศักยภาพ และโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้องนั่นเอง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในทศวรรษ ๒๔๗๐ มีผลกระทบต่อฐานะทางการคลังของไทย ไม่สามารถนำข้อเสนอแนะมาใช้ประโยชน์ได้มากนัก จนกระทั่งภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี ๒๔๗๕ รัฐบาลได้เริ่มมีการนำข้อเสนอทางนโยบายมาใช้
&nbsp;
&nbsp;


'''การสหกรณ์'''
'''การสหกรณ์'''
บรรทัดที่ 280: บรรทัดที่ 222:


อย่างไรก็ตาม สาเหตุสำคัญที่การขยายตัวของสหกรณ์เพิ่มขึ้นไม่บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ (๑) ขาดแคลนเงินทุนที่รัฐบาลจัดสรร เพราะฐานะการคลังของรัฐบาลรวมทั้งฐานะการเงินของธนาคารสยามกัมมาจล (๒) ขาดแคลนเจ้าพนักงานโดยเฉพาะพนักงานที่มีความรู้ ประสบการณ์และความชำนาญ&nbsp; (๓) เป็นนโยบายของรัฐบาลที่มีข้อจำกัดเฉพาะสมาชิกที่มีโฉนดเท่านั้น ซึ่งทำให้ชาวนาที่ไม่มีโฉนดไม่สามารถเข้าเป็นสมาชิกได้ และรัฐบาลมักจะเลือกพื้นที่ๆ มีโฉนดอยู่แล้ว (๔) สหกรณ์ถูกร้องเรียนหลายเรื่องโดยเฉพาะเรื่องทุจริต และการดำเนินการที่ผลประโยชน์ตกอยู่กับชาวนาที่ร่ำรวย ในบางกรณีสหกรณ์ทำให้ชาวนากลายเป็นเงินกู้เพราะกู้เงินจากสหกรณ์ แล้วนำไปปล่อยกู้คิดดอกเบี้ยที่แพงกว่า[[#_ftn16|[๑๖]]]&nbsp; ระหว่างปี ๒๔๖๘– ๒๔๗๗ กิจการสหกรณ์ก้าวหน้าตามลำดับ แม้จะไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเพิ่มขึ้นจาก ๗๗ แห่ง ในปี ๒๔๖๘ &nbsp;เป็น ๑๒๕ แห่งในปี ๒๔๗๒ แห่ง และ ๔๓๙ ในปี ๒๔๗๗ โดยกู้สหกรณ์ (ทั้งกู้เก่าและกู้ใหม่ (รวมดอกเบี้ย)&nbsp; รวมทั้ง ทรัพย์สินและเงินฝาก และ ผลกำไร (ยกเว้น ปี ๒๔๗๖) ก็เพิ่มขึ้นตามลำดับ (ตารางที่ ๒)
อย่างไรก็ตาม สาเหตุสำคัญที่การขยายตัวของสหกรณ์เพิ่มขึ้นไม่บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ (๑) ขาดแคลนเงินทุนที่รัฐบาลจัดสรร เพราะฐานะการคลังของรัฐบาลรวมทั้งฐานะการเงินของธนาคารสยามกัมมาจล (๒) ขาดแคลนเจ้าพนักงานโดยเฉพาะพนักงานที่มีความรู้ ประสบการณ์และความชำนาญ&nbsp; (๓) เป็นนโยบายของรัฐบาลที่มีข้อจำกัดเฉพาะสมาชิกที่มีโฉนดเท่านั้น ซึ่งทำให้ชาวนาที่ไม่มีโฉนดไม่สามารถเข้าเป็นสมาชิกได้ และรัฐบาลมักจะเลือกพื้นที่ๆ มีโฉนดอยู่แล้ว (๔) สหกรณ์ถูกร้องเรียนหลายเรื่องโดยเฉพาะเรื่องทุจริต และการดำเนินการที่ผลประโยชน์ตกอยู่กับชาวนาที่ร่ำรวย ในบางกรณีสหกรณ์ทำให้ชาวนากลายเป็นเงินกู้เพราะกู้เงินจากสหกรณ์ แล้วนำไปปล่อยกู้คิดดอกเบี้ยที่แพงกว่า[[#_ftn16|[๑๖]]]&nbsp; ระหว่างปี ๒๔๖๘– ๒๔๗๗ กิจการสหกรณ์ก้าวหน้าตามลำดับ แม้จะไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเพิ่มขึ้นจาก ๗๗ แห่ง ในปี ๒๔๖๘ &nbsp;เป็น ๑๒๕ แห่งในปี ๒๔๗๒ แห่ง และ ๔๓๙ ในปี ๒๔๗๗ โดยกู้สหกรณ์ (ทั้งกู้เก่าและกู้ใหม่ (รวมดอกเบี้ย)&nbsp; รวมทั้ง ทรัพย์สินและเงินฝาก และ ผลกำไร (ยกเว้น ปี ๒๔๗๖) ก็เพิ่มขึ้นตามลำดับ (ตารางที่ ๒)
&nbsp;
&nbsp;


'''ตารางที่ ๒'''&nbsp; ข้อมูลทางการเงินของสหกรณ์ปี ๒๔๖๘-๒๔๗๗
'''ตารางที่ ๒'''&nbsp; ข้อมูลทางการเงินของสหกรณ์ปี ๒๔๖๘-๒๔๗๗
&nbsp;


{| border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"
{| border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"
บรรทัดที่ 672: บรรทัดที่ 608:


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การเติบโตของกิจการสหกรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๗ &nbsp;ทั้งในแง่ชนิดและจำนวน&nbsp; มีผลให้รัฐบาลในยุคต่อมาได้ ให้ความสำคัญต่อการพัฒนากิจการสหกรณ์ &nbsp;เช่นงบประมาณประจำปี&nbsp;&nbsp; ๒๔๗๗ และ&nbsp; ๒๔๗๘&nbsp; ได้ให้งบประมาณเงินลงทุนใช้ในการตั้งสหกรณ์อีกปีละ ๗ แสนบาท เช่นเดียวกัน&nbsp; ในปี&nbsp; ๒๔๗๙ รัฐบาลได้เพิ่มเงินลงทุนจัดตั้งสหกรณ์ไว้ในงบประมาณเป็นจำนวน ๑.๔ ล้านบาท และในปี ๒๔๘๐ เป็นจำนวน ๑ ล้านบาท เงินที่จ่ายให้เป็นทุนจัดตั้งสหกรณ์เป็นรายปีตามงบประมาณนี้ แตกต่างกับเงินทุนทางธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกัน โดยเงินที่อนุมัติจ่ายตามงบประมาณเป็นรายปีโดยไม่ได้เป็นเงินทุนหมุนเวียนอย่างเงินทุนของธนาคารในอดีต[[#_ftn17|[๑๗]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การเติบโตของกิจการสหกรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๗ &nbsp;ทั้งในแง่ชนิดและจำนวน&nbsp; มีผลให้รัฐบาลในยุคต่อมาได้ ให้ความสำคัญต่อการพัฒนากิจการสหกรณ์ &nbsp;เช่นงบประมาณประจำปี&nbsp;&nbsp; ๒๔๗๗ และ&nbsp; ๒๔๗๘&nbsp; ได้ให้งบประมาณเงินลงทุนใช้ในการตั้งสหกรณ์อีกปีละ ๗ แสนบาท เช่นเดียวกัน&nbsp; ในปี&nbsp; ๒๔๗๙ รัฐบาลได้เพิ่มเงินลงทุนจัดตั้งสหกรณ์ไว้ในงบประมาณเป็นจำนวน ๑.๔ ล้านบาท และในปี ๒๔๘๐ เป็นจำนวน ๑ ล้านบาท เงินที่จ่ายให้เป็นทุนจัดตั้งสหกรณ์เป็นรายปีตามงบประมาณนี้ แตกต่างกับเงินทุนทางธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกัน โดยเงินที่อนุมัติจ่ายตามงบประมาณเป็นรายปีโดยไม่ได้เป็นเงินทุนหมุนเวียนอย่างเงินทุนของธนาคารในอดีต[[#_ftn17|[๑๗]]]
&nbsp;
&nbsp;


'''บรรณานุกรม'''
'''บรรณานุกรม'''
&nbsp;


'''เอกสารขั้นต้นจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ'''
'''เอกสารขั้นต้นจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ'''
บรรทัดที่ 686: บรรทัดที่ 616:


หจช. กค. ๐๓๐๑.๓๗/๗๒&nbsp; Economic Council (๒๔๗๖-๗๗) ('''กระทรวงการคลัง)'''
หจช. กค. ๐๓๐๑.๓๗/๗๒&nbsp; Economic Council (๒๔๗๖-๗๗) ('''กระทรวงการคลัง)'''
&nbsp;


'''หนังสือและสิ่งพิมพ์'''
'''หนังสือและสิ่งพิมพ์'''


ชูศรี&nbsp; มณีพฤกษ์.&nbsp; ๒๕๕๐. ''นโยบายเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.''&nbsp; กรุงเทพฯ : สถาบัน
ชูศรี&nbsp; มณีพฤกษ์.&nbsp; ๒๕๕๐. ''นโยบายเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.''&nbsp; กรุงเทพฯ&nbsp;: สถาบัน


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; พระปกเกล้า.
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; พระปกเกล้า.
บรรทัดที่ 707: บรรทัดที่ 635:
Department of the Secretary-General of the Council of Ministers, Central Service. ''Statistical Yearbook of the Kingdom of Siam, ๑๙๓๗/๓๘''
Department of the Secretary-General of the Council of Ministers, Central Service. ''Statistical Yearbook of the Kingdom of Siam, ๑๙๓๗/๓๘''


Larsson, Tomas''.&nbsp; ''๒๐๑๒. ''Land and loyalty : security and the development of property''
Larsson, Tomas''.&nbsp; ''๒๐๑๒. ''Land and loyalty&nbsp;: security and the development of property''


''&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; rights in Thailand''. Singapore: NUS Press.
''&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; rights in Thailand''. Singapore: NUS Press.


Ministry of Commerce and Communications. (๑๙๓๐). ''Siam : Nature and Industry'''''.''' Bangkok : Bangkok Times Press.
Ministry of Commerce and Communications. (๑๙๓๐). ''Siam&nbsp;: Nature and Industry'''''.''' Bangkok&nbsp;: Bangkok Times Press.


Public Record Office. ''Siam Annual Report''. ๑๙๓๑.
Public Record Office. ''Siam Annual Report''. ๑๙๓๑.
บรรทัดที่ 717: บรรทัดที่ 645:
Thompson, Virginia. &nbsp;''Thailand:&nbsp; The New Siam''.&nbsp; New York: Macmillan, ๑๙๖๗.
Thompson, Virginia. &nbsp;''Thailand:&nbsp; The New Siam''.&nbsp; New York: Macmillan, ๑๙๖๗.


&nbsp;
อ้างอิง
<div>&nbsp;
<div>
----
----
<div id="ftn1">
<div id="ftn1">
บรรทัดที่ 727: บรรทัดที่ 655:
[[#_ftnref3|[๓]]] Zimmerman อ้างใน Public Record Office. ''Siam Annual Report''. ๑๙๓๑. p. ๖.
[[#_ftnref3|[๓]]] Zimmerman อ้างใน Public Record Office. ''Siam Annual Report''. ๑๙๓๑. p. ๖.
</div> <div id="ftn4">
</div> <div id="ftn4">
[[#_ftnref4|[๔]]] ซิมเมอร์แมน, คาร์ล ซี. ๒๕๒๕''. ''''การสำรวจเศรษฐกิจในชนบทสยาม.''&nbsp; แปลและเรียบเรียงโดย นายซิม วีระไวทยะ.&nbsp; เอกสารวิชาการหมายเลข ๒/๐๑๓.&nbsp; มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
[[#_ftnref4|[๔]]] ซิมเมอร์แมน, คาร์ล ซี. ๒๕๒๕''. ''''การสำรวจเศรษฐกิจในชนบทสยาม.'''''<b>&nbsp; แปลและเรียบเรียงโดย นายซิม วีระไวทยะ.&nbsp; เอกสารวิชาการหมายเลข ๒/๐๑๓.&nbsp; มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.</b>
</div> <div id="ftn5">
</div> <div id="ftn5">
[[#_ftnref5|[๕]]] หจช. รฟท. ๒/๑๒&nbsp; จดหมายเหตุของสภาเผยแผ่พาณิชย์ (กรมรถไฟหลวง)
[[#_ftnref5|[๕]]] หจช. รฟท. ๒/๑๒&nbsp; จดหมายเหตุของสภาเผยแผ่พาณิชย์ (กรมรถไฟหลวง)
</div> <div id="ftn6">
</div> <div id="ftn6">
[[#_ftnref6|[๖]]] ชูศรี&nbsp; มณีพฤกษ์.&nbsp; ๒๕๕๐. ''นโยบายเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.''&nbsp; กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๑๒๙.
[[#_ftnref6|[๖]]] ชูศรี&nbsp; มณีพฤกษ์.&nbsp; ๒๕๕๐. ''นโยบายเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.''&nbsp; กรุงเทพฯ&nbsp;: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๑๒๙.
</div> <div id="ftn7">
</div> <div id="ftn7">
[[#_ftnref7|[๗]]] Ministry of Commerce and Communications. (๑๙๓๐). ''Siam : Nature and Industry''. Bangkok : Bangkok Times Press., pp. ๒๕๑-๒๖๑.
[[#_ftnref7|[๗]]] Ministry of Commerce and Communications. (๑๙๓๐). ''Siam&nbsp;: Nature and Industry''. Bangkok&nbsp;: Bangkok Times Press., pp. ๒๕๑-๒๖๑.
</div> <div id="ftn8">
</div> <div id="ftn8">
[[#_ftnref8|[๘]]] Ministry of Commerce and Communications. (๑๙๓๐). ''Siam : Nature and Industry''. Bangkok : Bangkok Times Press., p. ๒๕๔.
[[#_ftnref8|[๘]]] Ministry of Commerce and Communications. (๑๙๓๐). ''Siam&nbsp;: Nature and Industry''. Bangkok&nbsp;: Bangkok Times Press., p. ๒๕๔.
</div> <div id="ftn9">
</div> <div id="ftn9">
[[#_ftnref9|[๙]]] Ministry of Commerce and Communications. (๑๙๓๐). ''Siam : Nature and Industry''. Bangkok : Bangkok Times Press., p. ๒๕๔&nbsp; &nbsp;และ Department of the Secretary-General of the Council of Ministers, Central Service. ''Statistical Yearbook of the Kingdom of Siam, ๑๙๓๗/๓๘''
[[#_ftnref9|[๙]]] Ministry of Commerce and Communications. (๑๙๓๐). ''Siam&nbsp;: Nature and Industry''. Bangkok&nbsp;: Bangkok Times Press., p. ๒๕๔&nbsp; &nbsp;และ Department of the Secretary-General of the Council of Ministers, Central Service. ''Statistical Yearbook of the Kingdom of Siam, ๑๙๓๗/๓๘''
</div> <div id="ftn10">
</div> <div id="ftn10">
[[#_ftnref10|[๑๐]]] Department of the Secretary-General of the Council of Ministers, Central Service. ''Statistical Yearbook of the Kingdom of Siam, ๑๙๓๗/๓๘''
[[#_ftnref10|[๑๐]]] Department of the Secretary-General of the Council of Ministers, Central Service. ''Statistical Yearbook of the Kingdom of Siam, ๑๙๓๗/๓๘''
บรรทัดที่ 745: บรรทัดที่ 673:
[[#_ftnref12|[๑๒]]] Bangkok Times Weekly&nbsp; Mail&nbsp; [BTWM]. (๑๗ April ๑๙๓๓)
[[#_ftnref12|[๑๒]]] Bangkok Times Weekly&nbsp; Mail&nbsp; [BTWM]. (๑๗ April ๑๙๓๓)
</div> <div id="ftn13">
</div> <div id="ftn13">
[[#_ftnref13|[๑๓]]] Department of the Secretary-General of the Council of Ministers, Central Service. ''Statistical Yearbook of the Kingdom of Siam, ''''๑๙๓๗''''/''''๓๘''
[[#_ftnref13|[๑๓]]] Department of the Secretary-General of the Council of Ministers, Central Service. ''Statistical Yearbook of the Kingdom of Siam, ''''๑๙๓๗''''/''''๓๘'''''
</div> <div id="ftn14">
</div> <div id="ftn14">
[[#_ftnref14|[๑๔]]] หจช. กค. ๐๓๐๑.๓๗/๗๒&nbsp; Economic Council (๒๔๗๖-๗๗) (กระทรวงการคลัง)
[[#_ftnref14|[๑๔]]] หจช. กค. ๐๓๐๑.๓๗/๗๒&nbsp; Economic Council (๒๔๗๖-๗๗) (กระทรวงการคลัง)
บรรทัดที่ 751: บรรทัดที่ 679:
[[#_ftnref15|[๑๕]]] หจช. กค. ๐๓๐๑.๓๗/๗๒&nbsp; Economic Council (๒๔๗๖-๗๗) (กระทรวงการคลัง)
[[#_ftnref15|[๑๕]]] หจช. กค. ๐๓๐๑.๓๗/๗๒&nbsp; Economic Council (๒๔๗๖-๗๗) (กระทรวงการคลัง)
</div> <div id="ftn16">
</div> <div id="ftn16">
[[#_ftnref16|[๑๖]]] Andrews, J.M.&nbsp; (๑๙๓๖).&nbsp; ''๒<sup>nd</sup> Rural Economic Survey ๑๙๓๔-๑๙๓๕''.&nbsp; Bangkok: Bangkok Times &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; Press. และ ซิมเมอร์แมน, คาร์ล ซี. ๒๕๒๕''. การสำรวจเศรษฐกิจในชนบทสยาม.''&nbsp; แปลและเรียบเรียงโดย นายซิม วีระไวทยะ.&nbsp; เอกสารวิชาการหมายเลข ๒/๐๑๓.&nbsp; มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; มนุษยศาสตร์ และ Thompson, Virginia.&nbsp; ''Thailand:&nbsp; The New Siam''.&nbsp; New York: Macmillan, ๑๙๖๗. และ ชูศรี&nbsp; มณีพฤกษ์.&nbsp; ๒๕๕๐. ''นโยบายเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.''&nbsp; กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๑๓๓.
[[#_ftnref16|[๑๖]]] Andrews, J.M.&nbsp; (๑๙๓๖).&nbsp; ''๒<sup>nd</sup> Rural Economic Survey ๑๙๓๔-๑๙๓๕''.&nbsp; Bangkok: Bangkok Times &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; Press. และ ซิมเมอร์แมน, คาร์ล ซี. ๒๕๒๕''. การสำรวจเศรษฐกิจในชนบทสยาม.''&nbsp; แปลและเรียบเรียงโดย นายซิม วีระไวทยะ.&nbsp; เอกสารวิชาการหมายเลข ๒/๐๑๓.&nbsp; มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; มนุษยศาสตร์ และ Thompson, Virginia.&nbsp; ''Thailand:&nbsp; The New Siam''.&nbsp; New York: Macmillan, ๑๙๖๗. และ ชูศรี&nbsp; มณีพฤกษ์.&nbsp; ๒๕๕๐. ''นโยบายเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.''&nbsp; กรุงเทพฯ&nbsp;: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๑๓๓.
</div> <div id="ftn17">
</div> <div id="ftn17">
[[#_ftnref17|[๑๗]]] Department of the Secretary-General of the Council of Ministers, Central Service. ''Statistical Yearbook of the Kingdom of Siam, ๑๙๓๗/๓๘''
[[#_ftnref17|[๑๗]]] Department of the Secretary-General of the Council of Ministers, Central Service. ''Statistical Yearbook of the Kingdom of Siam, ๑๙๓๗/๓๘''
</div> </div>
</div> </div>  
[[หมวดหมู่:พระปกเกล้าศึกษา]]
[[Category:พระปกเกล้าศึกษา]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:10, 19 พฤษภาคม 2560

ผู้เรียบเรียง ': พอพันธ์ อุยยานนท์

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ': รองศาสตราจารย์ ดร.สนธิ เตชานันท์


การสำรวจเศรษฐกิจชนบทสยาม  การเกษตรและการสหกรณ์[๑]

          เศรษฐกิจตกต่ำในทศวรรษ ๒๔๗๐ มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจชนบทไทยในวงกว้าง ราคาส่งออกข้าวได้ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลลบต่อฐานะความเป็นอยู่ของชาวนาและเศรษฐกิจของไทยโดยรวม  รัฐบาลซึ่งมีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นหัวหน้าอยู่ในขณะนั้นได้เชิญศาสตราจารย์  คาร์ล  ซี ซิมเมอร์แมน (Carle C. Zimmerman)  แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด มาสำรวจเศรษฐกิจชนบทเพื่อศึกษาผลกระทบและสำรวจเศรษฐกิจในด้านต่างๆ นับว่าเป็นครั้งแรกที่มีการสำรวจเศรษฐกิจสยามอย่างเป็นระบบและรอบด้านในด้านชีวิตความเป็นอยู่ การลงทุน การผลิต หนี้สินของชาวนา และเป็นไปตามหลักการวิจัยเพื่อหาสภาพการณ์  ปัญหาและให้ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ตลอดจนเสนอแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมชนบทไทย  โดยได้ครอบคลุมจังหวัดต่างๆ รวม  ๓๒ จังหวัด คือ เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ น่าน เชียงราย อุบลราชธานี ขอนแก่น อุดรธานี สกลนคร หนองคาย นครพนม ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ตรัง ภูเก็ต ฉะเชิงเทรา พิษณุโลก ลพบุรี อยุธยา สระบุรี ธัญญบุรี จันทบุรี สุพรรณบุรี ขุขันธ์ ธนบุรี และพระนคร ครอบคลุม ๔๐ ตำบล ใช้เวลาสำรวจ ๑ ปี เมื่อทำการสำรวจเสร็จแล้ว ได้ทำรายงานต่อรัฐบาลและได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ Siam Rural Economic Survey, ๑๙๓๐-๓๑ (Bangkok : Bangkok Times Press, ๑๙๓๑) ใน พ.ศ.๒๔๗๔  โดยได้แบ่งเป็น ๑๓ บท คือ (๑) บทนำ (๒) ครอบครัวในชนบท และการกสิกรรม (๓) รายได้ รายจ่าย เงินสด (๔) รายจ่ายในการทำนา - ภาษี - เงินกำไร - เงินลงทุน (๕) ความมั่งคั่ง และความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ (๖) รายจ่ายเพื่อการกินอยู่ (๗) รายได้ของชาวชนบท (๘) การเกษตรของภาคต่าง ๆ (๙) ตลาดสินค้าเกษตรภายในประเทศ (๑๐) สินเชื่อเพื่อการเกษตร (๑๑) สุขภาพและการแพทย์ (๑๒) อาหารของชาวชนบท (๑๓) ปัญหาเศรษฐกิจของภาคต่าง ๆ และ (๑๔) แผนงานของประเทศสยาม

   

  1. ข้อสรุปที่สำคัญบางประการของงานสำรวจเศรษฐกิจชนบท มีดังนี้

ภาคกลางเป็นภูมิภาคที่มีการผลิตเชิงพาณิชย์มากที่สุด รายได้ที่เป็นเงินสดของครัวเรือนเกษตรกรซึ่งส่วนใหญ่มาจากการทำนาของแต่ละภาคในปี ๒๔๗๓ มีดังนี้ ภาคกลาง ๒๗๙ บาท ภาคเหนือ ๑๗๖ บาท ภาคใต้ ๑๒๖ บาท ภาคอีสาน ๘๓ บาท โดยเฉลี่ยทั้งประเทศ ๑๖๘ บาท  นอกจากนี้ ภาคกลางยังมีผลผลิตข้าวทั้งปริมาณผลผลิตข้าวและข้าวเชิงพาณิชย์สูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ อย่างไรก็ตามภาคกลางก็มีปัญหาการถือครองที่ดินและหนี้คงค้างต่อครัวเรือนก็สูงกว่าที่ภูมิภาคอื่นด้วยเช่นกัน

ตารางที่  ๑ สถานภาพสังคมและเศรษฐกิจของชนบทไทย ปี ๒๔๗๓

 

ภาค

 

กลาง

เหนือ

ใต้

อีสาน

การถือครองที่ดิน (ไร่/ครัวเรือน)

๒๘

๑๐

ครัวเรือนที่ไม่มีที่ดิน (ร้อยละ)

๓๖

๒๗

๑๕

๑๘

ผลผลิตข้าว (ลิตร/ครัวเรือน)

๘,๒๕๓

๖,๕๘๓

๒,๖๑๙

๓,๓๑๒

ผลผลิตข้าวเชิงพาณิชย์ (ร้อยละของพืช)

๖๑

๔๓

๑๕

๒๐

หนี้คงค้างต่อครัวเรือน (ณ สิ้นปี ๒๔๗๓)

๑๙๐

๓๐

๑๐

๑๔

รายได้เงินสดต่อครัวเรือน (บาท)

๒๗๙

๑๗๖

๑๒๕

๘๓

รายได้เงินสดจากพืช (ร้อยละ)

๕๕

๓๙

๓๑

๒๑

ที่มา: Zimmerman อ้างใน Larsson (๒๐๑๒: ๙๕)

ซิมเมอร์แมนได้ระบุ ไว้ในรายงานจากการสำรวจดังต่อไปนี้:

“ประเทศสยามแบ่งออกเป็น ๔ ภาค การเพาะปลูกของ ๓ ภาคอยู่ในสภาพที่พอเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง มีภาคกลางภาคเดียวอยู่ในสถานะแห่งการค้าขาย ถึงจังหวัดต่างๆ ซึ่งอยู่ในสถานที่พอเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ย่อมมีบางตำบลที่มีเนื้อที่เพาะปลูกมากพอจนถึงทำการค้าขายได้ คือ เป็นตำบลที่อยู่ในอำเภอเมืองใกล้กับตลาด และมีการคมนาคมเชื่อมกับจังหวัด ปัญหาสำคัญสำหรับภาคที่อยู่ในสถานะพอเลี้ยงปากเลี้ยงท้องจะต้องทำนุบำรุงให้มีรายได้เพิ่มพูนแก่พลเมืองยิ่งขึ้น ปัญหาสำคัญสำหรับภาคที่อยู่ในสถานะแห่งการค้าเข้า (ตัวสะกดตามต้นฉบับ  "เข้า"="ข้าว") จะต้องจัดให้มีการเพาะปลูกพืชประเภทอื่นๆ เพิ่มขึ้นอีกและควรทำของที่เป็นอาหารและสิ่งอื่นๆ ใช้ในครอบครัวเองมากขึ้น ชาวนาที่อยู่ในสถานะพอเลี้ยงปากเลี้ยงท้องอาจคิดอ่านหารายได้เพิ่มเติม โดยไม่ต้องใช้จ่ายในการกินอยู่ให้เปลืองไปมากกว่าที่เป็นอยู่ทุกวัน เว้นแต่จะถูก และชาวนาที่อยู่ในสถานะแต่งการค้าขายอาจตัดทอนการใช้จ่ายในการอยู่กินน้อยลง โดยปลูกพืชบางอย่างเองเพื่อเอามาใช้เป็นอาหารโดยไม่ต้องดการทำนาและรายได้อื่นๆ ที่เป็นเงิน

สดให้น้อยลง ถ้ารัฐบาลสยามดำริจะทำโครงการเกษตรกรรมให้มั่นคงจริงๆ แล้ว ก็ควรพิจารณาปัญหาเหล่านี้'[๒]

          ซิมเมอร์แมน ได้กล่าวถึงปัญหาสุขภาพของประชาชนในชนบทที่สำคัญ โดยเขาสรุปว่าในภาคเหนือโรคที่สำคัญคือ มาเลเรีย ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้คือโรคครุดทะราด และทุกหนทุกแห่งประชากรเป็นโรคบิดและเชื้อโรคต่าง ๆ เกี่ยวกับลำไส้และกระเพาะ รวมทั้งโรคพยาธิต่าง ๆ เขาสรุปว่า “ชาวชนบทของสยามใช้จ่ายเงินเพียง ๕๐ สตางค์ต่อปี เพื่อการรักษาสุขภาพ ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดไปหาซื้อยากินอง และร้อยละ ๙๙ ไม่มีความรู้เรื่องการรักษาสุขภาพ และไม่มีใครเลยเข้าใจการป้องกันสุขภาพ[๓]

ภายหลังจากการสำรวจ   ซิมเมอร์แมนได้มีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลได้หลายประการ อาทิเช่น ไทยไม่ควรพึ่งพาการผลิตข้าวแต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรกระจายการผลิตไปสู่พืชอื่น ๆ ทั้งการผลิตในที่ดอนและที่ลุ่ม โดยเขาเสนอแนะให้มีการปลูกยาสูบ ฝ้าย และถั่วต่าง ๆ ในขณะเดียวกัน ควรปรับปรุงการปลูกผลไม้ พริกไทย และให้ความสนใจเพิ่มขึ้นในการเลี้ยงวัว ควาย หมู และไก่ และเขาเห็นว่าวิธีการทำนาควรจะต้องแก้ไขปรับปรุง โดยควรให้การศึกษาและสาธิตและส่งเสริมการเกษตรแก่เกษตรกร รวมทั้งการตั้งวิทยาลัยการเกษตรเพื่อสอนแก่เกษตรกรคนหนุ่มสาว ซึ่งคนเหล่านี้จะกลับภูมิลำเนาของตนเอง และให้ความรู้แก่เพื่อนบ้านด้วย เขาเสนอด้วยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยควรที่จะสร้างผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเกษตร และได้เสนอแผนการพัฒนาทางการเกษตรระยะยาวเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายดังต่อไปนี้ (๑) พื้นที่การเพาะปลูกเพิ่มขึ้น ๓ เท่า (๒) กระจายการผลิตในภาคเกษตร (๓) ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ๒ เท่า (๔) ขยายพื้นที่การเกษตรในทางการเกษตรที่ราบลุ่ม (๕) ผลิตอาหารแก่ประชากร ๒๕ ล้านคน (๖) มีการส่งออกที่มีเสถียรภาพและมั่นคง (๗) เพิ่มมาตรฐานการครองชีพทางวัตถุของประชากรเป็น ๒ เท่า (๘) เพิ่มระดับรายได้เงินสดโดยเฉลี่ยของประชากรเป็น ๓ เท่า (๙) เพิ่มรายได้จากภาษี ๒ เท่าด้วยการเพิ่มประชากร โดยให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น ๓ เท่า[๔]     

               แม้ว่าข้อเสนอของซิมเมอร์แมนบางข้ออาจจะไม่ใช่เป็นสิ่งใหม่ แต่นับเป็นจุดเริ่มต้นของการนำเสนอนโยบายพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นระบบ โดยมีพื้นฐานจากการสำรวจสภาพเศรษฐกิจชนบท เพื่อให้ใจสภาพปัญหาและศักยภาพ และโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้องนั่นเอง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในทศวรรษ ๒๔๗๐ มีผลกระทบต่อฐานะทางการคลังของไทย ไม่สามารถนำข้อเสนอแนะมาใช้ประโยชน์ได้มากนัก จนกระทั่งภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี ๒๔๗๕ รัฐบาลได้เริ่มมีการนำข้อเสนอทางนโยบายมาใช้

การสหกรณ์

การสหกรณ์เป็นกิจกรรมที่รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ให้ความสำคัญมาโดยตลอด เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี ๒๔๖๘ มีสหกรณ์ (Co-operative Credit Societies) ทั้งสิ้น ๗๗ แห่ง โดยเป็นสหกรณ์ชาวนาผู้ปลูกข้าว ในจำนวนนี้ ๕๐ แห่งอยู่ที่พิษณุโลก ๒ แห่งอยู่ที่บางปะอิน อยุธยา[๕]  การก่อตั้งสหกรณ์ส่วนหนึ่งเพื่อให้เป็นแหล่งสินเชื่อที่สำคัญให้แก่เกษตรกร ผู้ที่เข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์จะต้องมีลักษณะ (๑) เป็นผู้ตั้งบ้านเรือนในหมู่เดียวกัน (๒) บรรดาสมาชิกต้องรู้จักกันดี (๓) เป็นผู้มีชื่อเสียงดี ไม่ทะเลาะวิวาทกัน และ (๔) สมาชิกบางคนต้องอ่านและเขียนหนังสือได้ เพื่อที่จะรักษาบัญชีและดำเนินกิจการ  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าทรงให้ความสำคัญกับกิจการสหกรณ์มาก ทรงเห็นว่า สหกรณ์เป็นเครื่องมือป้องกันมิให้ที่ดินตกอยู่ในมือของคน “มั่งมี”ที่ไม่ได้ทำนา และลดบทบาทของข้าราชการและนายทุนท้องถิ่น [๖]พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ได้รับสั่งแก่สมาชิกสหกรณ์บ้านดอนในจังหวัดพิษณุโลกโดยทรงเน้นว่า  สหกรณ์เป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของเกษตรกร เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยจิตวิญญาณของความเสียสละและไม่เห็นแก่ตัวของชุมชน ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสหกรณ์คือความร่วมมือโดยซื่อสัตย์สุจริตของหมู่สมาชิกนั่นเอง[๗] 

ในปี ๒๔๕๙  ซึ่งเป็นปีแรกของการก่อตั้งกิจการสหกรณ์  รัฐบาลในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ดำเนินการทดลองในจังหวัดพิษณุโลกก่อน ความคิดที่ใช้จังหวัดพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางดำเนินการสหกรณ์นั้น มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ราษฎรทำประโยชน์ในพื้นที่ซึ่งยังรกร้างว่างเปล่าอยู่อีกเป็นอันมาก เมื่อได้กู้ยืมเงินไปจากสหกรณ์เพื่อใช้เป็นทุนแล้วจะได้ขยายพื้นที่การทำกิน ทำให้ที่รกร้างว่างอยู่นั้นกลายเป็นพื้นที่เพาะปลูก  ในปีต่อมาได้จัดตั้งขึ้นอีกในจังหวัดลพบุรีอันเป็นทำเลอู่ข้าวอู่น้ำและอยู่ในภาคกลาง หมู่บ้านในพื้นที่จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ๆ มีประชากรหนาแน่น และมีการขยายตัวของปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ในระดับสูง และเป็นพื้นที่ซึ่งชาวนาถูกขูดรีดเอาเปรียบจากนายทุนพ่อค้าเงินกู้[๘]  การทดลองนี้ได้ทำเรื่อยมาระยะหนึ่ง และในทางควบคุมก็ได้อาศัยพระราชบัญญัติสมาคมแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๕๙ ประกาศใช้บังคับสำหรับการสหกรณ์ไว้ชั้นหนึ่งก่อน จนรัฐบาลเห็นว่าพร้อมที่จะนำวิธีสหกรณ์ประเภทหาเงินทุนให้กสิกรชาวนาได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง ทั้งเป็นนโยบายที่รัฐบาลหวังผลจากการมีสหกรณ์แพร่หลายเป็นเครื่องช่วยเหลือการปกครองด้วย ในเรื่องเงินทุนที่ใช้จัดตั้งสหกรณ์ในระยะทดลอง  ได้อาศัยเงินทุนธนาคารสยามกัมมาจล   เป็นวงเงินจำกัดไว้ในชั้นแรกเพียง ๓๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีรัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกันอีกชั้นหนึ่ง ข้อตกลงในเรื่องเงินทุนจำนวนนี้มีว่า สหกรณ์จะเบิกจ่ายได้เสมอไปภายในวงเงินนี้ซึ่งอยู่ในลักษณะเป็นทุนหมุนเวียน[๙]

ใน ปี  ๒๔๗๑  รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสหกรณ์พุทธศักราช ๒๔๗๑ เพื่อเป็นเครื่องมือดำเนินการจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นอย่างแท้จริง  ต่อมาได้ขยายออกไปในบางจังหวัดที่ใกล้เคียงอีกบ้าง เป็นต้น ในภาคเหนือมีจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดพิจิตร ในภาคกลางมีจังหวัดอ่างทองและจังหวัดสระบุรี และในปีต่อๆ มาก็ได้จัดตั้งสหกรณ์ขยายออกไปในจังหวัดต่างๆ ทั้งทางภาคตะวันออกและภาคใต้ มีการออกพระราชบัญญัติสหกรณ์โดยได้ขยายกิจการสหกรณ์ไปหลายประเภท เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์การขาย ชุมนุมสหกรณ์ สหกรณ์ประเภทเช่าซื้อที่ดิน สหกรณ์นิคมกสิกรรม ร้านสหกรณ์ สหกรณ์บำรุงที่ดินและสหกรณ์ขายข้าวและพืชผล[๑๐] ในปลายปี ๒๔๗๑ ใน ๒๒ จังหวัดที่ได้จัดตั้งสหกรณ์ขึ้นมีจำนวนสหกรณ์ชนิดไม่จำกัดสินใช้ประเภทหาทุน ๑,๒๑๔ สมาคม มีราษฎรชาวนาเป็นสมาชิก ๑๘,๑๐๗ คน ประเภทเช่าซื้อที่ดิน ๔ สมาคม ประเภทสหกรณ์นิคมกสิกรรม ๔ สมาคมและชนิดจำกัดสินใช้ประเภทร้านสหกรณ์ ๘ สมาคม ประเภทสหกรณ์บำรุงที่ดิน ๕ สมาคม และสหกรณ์ขายข้าวและพืชผล ๕ สมาคม[๑๑]

รัฐบาลได้ขยายการค้ำประกันวงเงินใช้เป็นทุนจัดตั้งสหกรณ์เพิ่มขึ้นจากจำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาทเป็นลำดับมาจนมีจำนวนรวมทั้งสิ้น ๒,๐๐๐,๐๐ บาท ในการให้กู้เงินนี้ธนาคารคิดดอกเบี้ยจากสหกรณ์ในอัตราร้อยละ ๖ ต่อปี และสหกรณ์ให้สมาชิกกู้โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๑๒ ต่อปี ผลกำไรที่ได้จากดอกเบี้ยนี้ได้สะสมไว้เป็นทุนสำรอง ทุนนี้ปรากฏว่าได้ให้ประโยชน์มาก   

รัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ในปี ๒๔๗๖ ได้ใช้สหกรณ์เป็นแนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำด้วย โดยยอมรับว่า “เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกมีผลกระทบกับเศรษฐกิจข้าวมาก เพราะราคาตกต่ำมาก มีผลให้ชาวนาอยู่ในภาวะเดือดร้อนในนโยบายของรัฐบาลเห็นว่า มาตรการช่วยเหลือโดยตรงที่สามารถช่วยเหลือได้ คือ โดยผ่านระบบสินเชื่อของกิจการสหกรณ์ [๑๒]

ในปี   ๒๔๗๖ ได้ปรับปรุงฐานะของสหกรณ์ โดยทำการประนอมหนี้ระหว่างสหกรณ์กับสมาชิกให้อยู่ในมาตรฐานอันควรแก่สภาพซึ่งสมาชิกได้รับการกระทบกระเทือนจากเศรษฐกิจของโลกตกต่ำนั้น เป็นเหตุให้สหกรณ์หลายสมาคมต้องใช้เงินสำรองนี้ช่วยในการประนอมหนี้สินซึ่งผูกพันกับสมาชิกเป็นจำนวนมาก และนอกจากเงินทุนทางธนาคารไทยพาณิชย์จำกัดแล้ว เมื่อ ปี ๒๔๗๖ รัฐบาลยังได้จ่ายเงินให้สหกรณ์ใช้เป็นทุนอีกทางหนึ่ง โดยกำหนดวงเงินไว้เป็นจำนวน ๗๐๐,๐๐๐ บาท[๑๓]

กลางทศวรรษ ๒๔๗๐ ได้มีการพิจารณาผลการสำรวจและข้อเสนอแนะของงานสำรวจเศรษฐกิจสยามของ ซิมเมอร์แมนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยในที่ประชุมคณะอนุกรรมการในหน่วยงานสหกรณ์ซึ่งสังกัดกระทรวงเศรษฐการ ระบุว่าสภาพปัญหาเศรษฐกิจการเกษตรของไทยในภาคกลางซึ่งเป็นภาคที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจตกต่ำมีความคล้ายคลึงกับในประเทศอียิปต์ กล่าวคือ “ร้อยละ ๗ ของเจ้าของที่ดิน  มีสัดส่วนในการถือครองที่ดินถึงร้อยละ ๖๗ ของการถือครองที่ดินทั้งหมด.....ร้อยละ ๙๓ ของเกษตรกร (โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย) มีสัดส่วนเพียงร้อยละ ๓๓ โดยเกษตรกรรายย่อยเหล่านี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการจำนองที่ดินของบริษัทเอกชนต่างๆ แต่อยู่ในมือของนายทุนเงินกู้ และยังไม่มีมาตรการที่ช่วยเหลือเกษตรกรหล่านี้อย่างแน่ชัด “...ชาวนาในสยาม (ภาคกลาง -ผู้เขียน) ถึงร้อยละ ๙๓ ก็มีสภาพเช่นเดียวกับอียิปต์ จึงเป็นความยากลำบากในการที่จะเข้าบริหารจัดการโดยรัฐบาล”[๑๔]  ข้อเสนอแนะจากคณะอนุกรรมการในหน่วยงานสหกรณ์ซึ่งสังกัดกระทรวงเศรษฐการมีว่า ควรจะสนับสนุนและขยายงานกิจการสหกรณ์ออกไปให้กว้างขวางกว่าที่เป็นอยู่ โดยตั้งเป้าให้มีการตั้งสหกรณ์ใหม่เพิ่มขึ้นจำนวน ๒,๕๐๐ สหกรณ์ ภายใน ๕ ปีมีดังนี้[๑๕]

 

ปีที่ ๑

๑๖๐ แห่ง

ปีที่ ๒

๒๔๐  แห่ง

ปีที่ ๓

๔๘๐  แห่ง

ปีที่ ๔

๖๔๐  แห่ง

                   

อย่างไรก็ตาม สาเหตุสำคัญที่การขยายตัวของสหกรณ์เพิ่มขึ้นไม่บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ (๑) ขาดแคลนเงินทุนที่รัฐบาลจัดสรร เพราะฐานะการคลังของรัฐบาลรวมทั้งฐานะการเงินของธนาคารสยามกัมมาจล (๒) ขาดแคลนเจ้าพนักงานโดยเฉพาะพนักงานที่มีความรู้ ประสบการณ์และความชำนาญ  (๓) เป็นนโยบายของรัฐบาลที่มีข้อจำกัดเฉพาะสมาชิกที่มีโฉนดเท่านั้น ซึ่งทำให้ชาวนาที่ไม่มีโฉนดไม่สามารถเข้าเป็นสมาชิกได้ และรัฐบาลมักจะเลือกพื้นที่ๆ มีโฉนดอยู่แล้ว (๔) สหกรณ์ถูกร้องเรียนหลายเรื่องโดยเฉพาะเรื่องทุจริต และการดำเนินการที่ผลประโยชน์ตกอยู่กับชาวนาที่ร่ำรวย ในบางกรณีสหกรณ์ทำให้ชาวนากลายเป็นเงินกู้เพราะกู้เงินจากสหกรณ์ แล้วนำไปปล่อยกู้คิดดอกเบี้ยที่แพงกว่า[๑๖]  ระหว่างปี ๒๔๖๘– ๒๔๗๗ กิจการสหกรณ์ก้าวหน้าตามลำดับ แม้จะไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเพิ่มขึ้นจาก ๗๗ แห่ง ในปี ๒๔๖๘  เป็น ๑๒๕ แห่งในปี ๒๔๗๒ แห่ง และ ๔๓๙ ในปี ๒๔๗๗ โดยกู้สหกรณ์ (ทั้งกู้เก่าและกู้ใหม่ (รวมดอกเบี้ย)  รวมทั้ง ทรัพย์สินและเงินฝาก และ ผลกำไร (ยกเว้น ปี ๒๔๗๖) ก็เพิ่มขึ้นตามลำดับ (ตารางที่ ๒)

ตารางที่ ๒  ข้อมูลทางการเงินของสหกรณ์ปี ๒๔๖๘-๒๔๗๗

ปี

จำนวน

สหกรณ์

จำนวน

สมาชิก

 

เงินสหกรณ์ได้กู้

การผ่อนชำระหนี้

หนี้เงินกู้

คงเหลือเมื่อสิ้นปี (พันบาท)

เงินกู้ใหม่ในรอบปี (พันบาท)

รวมเงินกู้เก่าใหม่และดอกเบี้ยเมื่อสิ้นปี (พันบาท)

ต้นเงินที่ใช้คืน

(พันบาท)

เทียบส่วนกับต้นเงินและดอกเบี้ย (%)

๒๔๖๘

๗๗

๑,๔๑๔

๑๑๔.๔

๓๔๘.๔

๘๗.๒

๒๕.๐๕

๒๖๑,๑

๒๔๖๙

๗๗

๑,๓๙๐

๔๙.๓

๓๒๕.๗

๙๒.๕

๒๘.๔๑

๒๓๓,๑

๒๔๗๐

๘๑

๑,๔๙๑

๑๑๗.๓

๓๖๔.๙

๙๙.๗

๒๗.๓๔

๒๖๕.๑

๒๔๗๑

๙๑

๑,๓๙๐

๑๙๗.๐

๔๗๙.๑

๗๗.๒

๑๖.๑๓

๔๐๑.๙

๒๔๗๒

๑๒๘

๒,๑๕๗

๔๙๕.๑

๙๒๖.๖

๘๙.๕

๙.๖๖

๘๓๗.๐

๒๔๗๓

๑๒๘

๒,๒๒๑

๑๗๗.๐

๑,๐๖๖.๑

๑๓๑.๖

๑๒.๓๕

๙๓๔.๕

๒๔๗๔

๑๕๐

๒,๔๙๘

๑๕๕.๗

๑,๑๔๙.๒

๓๓.๔

๓.๓๕

๑,๑๑๐.๘

๒๔๗๕

๑๘๓

๒,๘๔๖

๑๘๕.๙

๑,๓๖๕.๑

๕๗.๓

๔.๒๐

๑,๓๐๗.๗

๒๔๗๖

๓๒๖

๔,๘๔๖

๘๑๓.๒

๒,๑๙๐.๖

๑๕๔.๘

๗.๐๗

๒,๐๓๕.๘

๒๔๗๗

๔๓๙

๖,๓๒๔

๖๓๖.๑

๒,๗๖๖.๒

๒๓๕.๑

๘.๕๐

๒,๕๓๑.๐

 

ที่มา: สถิติพยากรณ์รายปีประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๘๐

 

ตารางที่ ๓  สินทรัพย์ เงินฝาก (รวม)และ ผลกำไร ของสหกรณ์ปี ๒๔๗๔-๒๔๗๗

หน่วย: บาท

รายการ

ณ. วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ.

๒๔๗๔

๒๔๗๕

๒๔๗๖

๒๔๗๗

รวมสินทรัพย์

๑,๕๕๙,๔๐๒

๑,๘๒๐,๒๕๒

๒,๑๒๘,๑๖๓

๒,๖๘๔,๕๕๙

เงินฝาก (รวม)

๒,๖๔๓

๔,๘๒๗

๖๐,๕๓๔

๗๖,๘๑๔

เงินกำไรสุทธิ

๘๑,๒๖๘

๖๑,๖๓๕

๑๓,๘๒๓

๕๐,๑๒๓

 

ที่มา: สถิติพยากรณ์รายปีประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๘๐

 

          การเติบโตของกิจการสหกรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๗  ทั้งในแง่ชนิดและจำนวน  มีผลให้รัฐบาลในยุคต่อมาได้ ให้ความสำคัญต่อการพัฒนากิจการสหกรณ์  เช่นงบประมาณประจำปี   ๒๔๗๗ และ  ๒๔๗๘  ได้ให้งบประมาณเงินลงทุนใช้ในการตั้งสหกรณ์อีกปีละ ๗ แสนบาท เช่นเดียวกัน  ในปี  ๒๔๗๙ รัฐบาลได้เพิ่มเงินลงทุนจัดตั้งสหกรณ์ไว้ในงบประมาณเป็นจำนวน ๑.๔ ล้านบาท และในปี ๒๔๘๐ เป็นจำนวน ๑ ล้านบาท เงินที่จ่ายให้เป็นทุนจัดตั้งสหกรณ์เป็นรายปีตามงบประมาณนี้ แตกต่างกับเงินทุนทางธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกัน โดยเงินที่อนุมัติจ่ายตามงบประมาณเป็นรายปีโดยไม่ได้เป็นเงินทุนหมุนเวียนอย่างเงินทุนของธนาคารในอดีต[๑๗]

บรรณานุกรม

เอกสารขั้นต้นจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

หจช. รฟท. ๒/๑๒  จดหมายเหตุของสภาเผยแผ่พาณิชย์ (กรมรถไฟหลวง)

หจช. กค. ๐๓๐๑.๓๗/๗๒  Economic Council (๒๔๗๖-๗๗) (กระทรวงการคลัง)

หนังสือและสิ่งพิมพ์

ชูศรี  มณีพฤกษ์.  ๒๕๕๐. นโยบายเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.  กรุงเทพฯ : สถาบัน

          พระปกเกล้า.

ซิมเมอร์แมน, คาร์ล ซี. ๒๕๒๕. การสำรวจเศรษฐกิจในชนบทสยาม.  แปลและเรียบเรียงโดย นายซิม
          วีระไวทยะ.  เอกสารวิชาการหมายเลข ๒/๐๑๓.  มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และ          มนุษยศาสตร์

 

สถิติพยากรณ์รายปีประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๘๐

Andrews, J.M.  (๑๙๓๖).  nd Rural Economic Survey ๑๙๓๔-๑๙๓๕.  Bangkok: Bangkok Times Press.

Bangkok Times Weekly  Mail  [BTWM]. (๑๗ April ๑๙๓๓)

Department of the Secretary-General of the Council of Ministers, Central Service. Statistical Yearbook of the Kingdom of Siam, ๑๙๓๗/๓๘

Larsson, Tomas๒๐๑๒. Land and loyalty : security and the development of property

            rights in Thailand. Singapore: NUS Press.

Ministry of Commerce and Communications. (๑๙๓๐). Siam : Nature and Industry. Bangkok : Bangkok Times Press.

Public Record Office. Siam Annual Report. ๑๙๓๑.

Thompson, Virginia.  Thailand:  The New Siam.  New York: Macmillan, ๑๙๖๗.

อ้างอิง


[๑] ข้อมูลซึ่งใช้ในการเขียนบทความนี้มาจากงานวิจัยเรื่อง “สยามในระบบเศรษฐกิจระหว่างชาติในช่วงทศวรรษ ๑๙๓๐” ซึ่งมูลนิธิประชาธิปก-รำไพพรรณีให้ความสนับสนุนผ่านสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวมูลนิธิฯ ได้จัดพิมพ์เป็นหนังสือ เศรษฐกิจไทยในสมัยรัชกาลที่ ๗: รักษาเสถียรภาพ ปูพื้นฐานการพัฒนา กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, ๒๕๕๘ แล้ว ผู้เขียนขอขอบพระคุณมูลนิธิประชาธิปก-รำไพพรรณีเป็นอย่างยิ่ง ณ ที่นี้

[๒] ซิมเมอร์แมน, คาร์ล ซี. ๒๕๒๕. การสำรวจเศรษฐกิจในชนบทสยาม.  แปลและเรียบเรียงโดย นายซิม วีระไวทยะ.  เอกสารวิชาการหมายเลข ๒/๐๑๓.  มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และ          มนุษยศาสตร์, หน้า ๓๒.

[๓] Zimmerman อ้างใน Public Record Office. Siam Annual Report. ๑๙๓๑. p. ๖.

[๔] ซิมเมอร์แมน, คาร์ล ซี. ๒๕๒๕. 'การสำรวจเศรษฐกิจในชนบทสยาม.  แปลและเรียบเรียงโดย นายซิม วีระไวทยะ.  เอกสารวิชาการหมายเลข ๒/๐๑๓.  มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

[๕] หจช. รฟท. ๒/๑๒  จดหมายเหตุของสภาเผยแผ่พาณิชย์ (กรมรถไฟหลวง)

[๖] ชูศรี  มณีพฤกษ์.  ๒๕๕๐. นโยบายเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.  กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๑๒๙.

[๗] Ministry of Commerce and Communications. (๑๙๓๐). Siam : Nature and Industry. Bangkok : Bangkok Times Press., pp. ๒๕๑-๒๖๑.

[๘] Ministry of Commerce and Communications. (๑๙๓๐). Siam : Nature and Industry. Bangkok : Bangkok Times Press., p. ๒๕๔.

[๙] Ministry of Commerce and Communications. (๑๙๓๐). Siam : Nature and Industry. Bangkok : Bangkok Times Press., p. ๒๕๔   และ Department of the Secretary-General of the Council of Ministers, Central Service. Statistical Yearbook of the Kingdom of Siam, ๑๙๓๗/๓๘

[๑๐] Department of the Secretary-General of the Council of Ministers, Central Service. Statistical Yearbook of the Kingdom of Siam, ๑๙๓๗/๓๘

[๑๑] Department of the Secretary-General of the Council of Ministers, Central Service. Statistical Yearbook of the Kingdom of Siam, ๑๙๓๗/๓๘

[๑๒] Bangkok Times Weekly  Mail  [BTWM]. (๑๗ April ๑๙๓๓)

[๑๓] Department of the Secretary-General of the Council of Ministers, Central Service. Statistical Yearbook of the Kingdom of Siam, '๑๙๓๗'/'๓๘

[๑๔] หจช. กค. ๐๓๐๑.๓๗/๗๒  Economic Council (๒๔๗๖-๗๗) (กระทรวงการคลัง)

[๑๕] หจช. กค. ๐๓๐๑.๓๗/๗๒  Economic Council (๒๔๗๖-๗๗) (กระทรวงการคลัง)

[๑๖] Andrews, J.M.  (๑๙๓๖).  nd Rural Economic Survey ๑๙๓๔-๑๙๓๕.  Bangkok: Bangkok Times          Press. และ ซิมเมอร์แมน, คาร์ล ซี. ๒๕๒๕. การสำรวจเศรษฐกิจในชนบทสยาม.  แปลและเรียบเรียงโดย นายซิม วีระไวทยะ.  เอกสารวิชาการหมายเลข ๒/๐๑๓.  มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และ          มนุษยศาสตร์ และ Thompson, Virginia.  Thailand:  The New Siam.  New York: Macmillan, ๑๙๖๗. และ ชูศรี  มณีพฤกษ์.  ๒๕๕๐. นโยบายเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.  กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๑๓๓.

[๑๗] Department of the Secretary-General of the Council of Ministers, Central Service. Statistical Yearbook of the Kingdom of Siam, ๑๙๓๗/๓๘