ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พัฒนาการคมนาคม : สร้างทางรถไฟสายอีสาน-ตะวันออกเฉียงเหนือโดยต่อเนื่อง"
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
ล พัฒนาการคมนาคม : สร้างทางรไฟสายอีสาน-ตะวันออกเฉียงเหนือโดยต่อเนื่อง ถูกเปลี่ยนชื่อเป็... |
(ไม่แตกต่าง)
|
รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:28, 8 กันยายน 2558
หนึ่งในพระราชกรณียกิจที่สำคัญคือการพัฒนาด้านการคมนาคมของประเทศ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เส้นทางรถไฟสายใต้ได้มีขยายไปจนถึงสถานีสุไหงโกลก ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๖๔ ส่วนทางรถไฟสายเหนือก็ได้สร้างไปจนถึงเชียงใหม่ตั้งแต่ พุทธศักราช ๒๔๖๕ จะเห็นได้ว่าการสร้างทางรถไฟของประเทศยังคงค้างอยู่ในกรณีของทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สานต่อการก่อสร้างทางรถไฟเพื่อส่งเสริมให้รถไฟเป็นระบบการคมนาคมที่ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ
โดยทางรถไฟสายตะวันออกที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างจากฉะเชิงเทราถึงอรัญประเทศ ได้ดำเนินการสร้างจนแล้วเสร็จและเปิดเดินรถเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๖๙ และพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับจากการเสด็จเยือนอินโดจีนของฝรั่งเศสด้วยเส้นทางรถไฟนี้ในปี ๒๔๗๓
ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือนี้ รัฐบาลได้เร่งปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะในอดีตการเดินทางไปหนองคายและนครพนมมีความยากลำบาก เพราะขาดเส้นทางคมนาคมที่จะใช้ติดต่อกันได้สะดวกทุกฤดูกาล กรมรถไฟหลวงจึงได้วางโครงการสร้างทางรถไฟต่อจากขอนแก่นไปยังหนองคายและนครพนมโดยได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสร้างทางเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๔๗๒
แม้ในขณะนั้นรัฐบาลจะประสบปัญหาขาดแคลนงบประมาณ แต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ รัฐบาลของพระองค์จึงได้สานต่อกิจการด้านการรถไฟให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ความมุ่งมั่นในการวางโครงสร้างพื้นฐาน เช่นรถไฟนี้จึงเป็นฐานสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในเวลาต่อมา
ที่มา
บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖