ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหตุแห่งการสละราชสมบัติ"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย 'บันทึกของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ...' |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 8: | บรรทัดที่ 8: | ||
บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖ | บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖ | ||
*[https://www.youtube.com/watch?v=EG4z9Rm9RXo&list=PLz3ADrKTT5i0vjsCnIPrpraHExclR_Odo&index=109 YOU TUBE :หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง : เหตุแห่งการสละราชสมบัติ] | |||
[[หมวดหมู่:สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับ "ประชาธิปไตย"]] | [[หมวดหมู่:สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับ "ประชาธิปไตย"]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:54, 9 กันยายน 2558
บันทึกของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่มีถึงพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีฉบับนี้ อ้างพระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แสดงถึงความขัดแย้งทางความคิดทางการเมืองกับรัฐบาลซึ่งมาจากคณะราษฎร
ในเวลานั้นทรงประทับอยู่ ณ พระตำหนักโนล ชานกรุงลอนดอน ภายหลังจากทรงผ่าตัดพระเนตร และไม่มีกำหนดการเสด็จกลับสยาม ระหว่างนั้นได้พระราชทานพระราชบันทึกแสดงพระราชทัศนะทางการเมืองถึงรัฐบาลและรัฐบาลมีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาชี้แจงเป็นระยะ ด้วยความคิดเห็นทางการเมืองที่ไม่ตรงกันในรายละเอียด แม้จะมีเป้าหมายทางประชาธิปไตยเช่นเดียวกัน จึงทรงมีพระราชประสงค์ที่จะลาออกจากราชสมบัติ
รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่ง มีเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) ประธานสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น เป็นประธานเดินทางไปเข้าเฝ้าและกราบบังคมทูลชี้แจง เพื่อให้ทรงล้มเลิกพระราชประสงค์ที่จะลาออกจากราชสมบัติ รวมทั้งกราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินกลับสยาม ซึ่งทรงปฏิเสธ การเจรจากับรัฐบาลดำเนินอยู่นานกว่า ๕ เดือน แต่ไม่เป็นผล ในที่สุดทรงตัดสินพระราชหฤทัยสละราชสมบัติ ออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์
ที่มา
บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖