ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิทานของลุง “แหวนวิเศษ”"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย 'ภาพยนตร์ เรื่อง “แหวนวิเศษ” เป็นเรื่องของชาวประม...' |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 12: | บรรทัดที่ 12: | ||
บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖ | บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖ | ||
*[https://www.youtube.com/watch?v=IUR_3QFtIos&list=PLz3ADrKTT5i0vjsCnIPrpraHExclR_Odo&index=60 YOU TUBE : พระราชนิยมในพระปกเกล้า : นิทานของลุง “แหวนวิเศษ”] | |||
[[หมวดหมู่:พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ]] | [[หมวดหมู่:พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:36, 8 กันยายน 2558
ภาพยนตร์ เรื่อง “แหวนวิเศษ” เป็นเรื่องของชาวประมงคนหนึ่งที่ได้ภรรยาเป็นแม่ม่ายลูกติด ๕ คน แต่เขารังเกียจลูกเลี้ยง และคิดกำจัดโดยหลอกพาไปปล่อยที่เกาะร้างแห่งหนึ่ง เด็กๆ พบกับพรายน้ำ ผู้ที่ทราบเรื่องพ่อเลี้ยงใจร้ายก็สงสาร และได้ให้แหวนวิเศษแก่เด็กๆ ซึ่งนึกอะไรก็จะได้ดังใจหมาย เด็กๆ นำแหวนวิเศษนั้นไปปราบพ่อเลี้ยง และขอให้เปลี่ยนเป็นพ่อใจดีที่สุดในโลก
ภาพยนตร์แฝงคุณธรรมเรื่องนี้มีนายน้อย ศรศักดิ์ เป็นผู้แต่งเรื่อง ผู้ลำดับฉาก ผู้อำนวยการทั่วไปและผู้บงการ ภาพยนตร์
นายน้อย ศรศักดิ์ เป็นพระนามแฝงของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีที่มาจากพระนาม “ทูลกระหม่อมฟ้าน้อย” ของชาววังและสร้อยพระนาม “ศักดิเดชน์”
แหวนวิเศษเป็นภาพยนตร์เงียบ ขนาด ๑๖ มิลลิเมตร ขาวดำ ดำเนินเรื่องอย่างนิทานสำหรับเด็ก ทรงถ่ายทำระหว่างเสด็จประพาสทางทะเลในอ่าวไทยเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๗๑ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงเกาะพะงัน สุราษฎร์ธานี โปรดให้เจ้านายที่ยังทรงพระเยาว์และผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทเป็นผู้แสดง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้กำกับ ด้วยพระปรีชาสามารถทั้งการผูกเรื่อง การกำกับ การถ่ายทำ และการตัดต่อ อันเป็นคุณสมบัติสำคัญรอบด้านของคนทำงานภาพยนตร์ นับได้ว่าพระองค์เป็นผู้หนึ่งที่บุกเบิกวงการภาพยนตร์ไทย
หอภาพยนตร์ องค์การมหาชน ได้ประกาศขึ้นทะเบียนยกย่องให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็นมรดกของชาติ ตั้งแต่เมื่อ พุทธศักราช ๒๕๕๖
ที่มา
บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖