ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เพลงไทยพระราชนิพนธ์ : ราตรีประดับดาว"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย 'ก่อนวงมโหรีหลวงจะได้บรรเลงเพลงนี้ ออกอากาศทางส...' |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 10: | บรรทัดที่ 10: | ||
บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖ | บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖ | ||
*[https://www.youtube.com/watch?v=Yb5wBlnJ3M8&list=PLz3ADrKTT5i0vjsCnIPrpraHExclR_Odo&index=51 YOU TUBE : พระราชนิยมในพระปกเกล้า : เพลงไทยพระราชนิพนธ์ : ราตรีประดับดาว] | |||
[[หมวดหมู่:พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ]] | [[หมวดหมู่:พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:04, 8 กันยายน 2558
ก่อนวงมโหรีหลวงจะได้บรรเลงเพลงนี้ ออกอากาศทางสถานีวิทยุ ๑๑ พีเจ ที่ศาลาแดง โฆษกได้ประกาศชื่อเพลงว่า “ราตรีประดับดาว เถา”โดยบทร้องมีท่อนว่า “เพลงของท่านแต่งใหม่ในวังหลวง”
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดดนตรีทั้งไทยและสากล ในด้านดนตรีไทยทรงศึกษากับครูดนตรีไทยที่มีชื่อเสียง เช่น หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) และหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน) จนทรงพระราชนิพนธ์เพลงได้ ทรงเป็นศิลปินดนตรีที่มีพระราชอัจฉริยภาพทั้งในด้านการพระราชนิพนธ์ทำนอง และเนื้อร้อง
สันนิษฐานว่าทรงพอพระราชหฤทัยเพลงแขกมอญบางขุนพรหม ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงนิพนธ์ไว้และเป็นที่นิยมมากอยู่ในเวลานั้น จึงทรงนำเพลงสำเนียงมอญพระราชนิพนธ์เป็นเพลงเถา
หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ซึ่งเป็นผู้ควบคุมวงในการบรรเลงทางวิทยุกระจายเสียงครั้งนั้นเล่าว่าพอบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์นี้จบลง นักดนตรีทุกคนก็กราบถวายบังคมพร้อมกันเพื่อถวายความเคารพแด่องค์ผู้ทรงพระราชนิพนธ์
ที่มา
บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖