ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พัฒนาการคมนาคม : สนามบินดอนเมือง"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย 'กิจการการบินในประเทศไทย เริ่มต้นในรัชสมัยของพร...' |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 14: | บรรทัดที่ 14: | ||
บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖ | บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖ | ||
*[https://www.youtube.com/watch?v=ChuPu65BHWU&list=PLz3ADrKTT5i0vjsCnIPrpraHExclR_Odo&index=47 YOU TUBE : สืบสานงานแผ่นดิน : พัฒนาการคมนาคม : สยามบินดอนเมือง] | |||
[[หมวดหมู่:พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ]] | [[หมวดหมู่:พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:43, 8 กันยายน 2558
กิจการการบินในประเทศไทย เริ่มต้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยใช้สนามของราชกรีฑาสโมสร ตำบลปทุมวัน เป็นสนามบิน ต่อมากิจการเจริญขึ้น สนามบินเดิมคับแคบไป รัฐบาลจึงย้ายไปใช้สนามบินที่ตำบลดอนเมือง เมื่อปี ๒๔๕๗ จากนั้น กิจการการบินจึงได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
กิจการการบินของไทยในระยะแรกนั้น สังกัดกระทรวงกลาโหมได้ใช้เพื่อขนส่งไปรษณียภัณฑ์ ต่อมาเมื่อเครื่องบินได้วิวัฒนาการจนมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยมากขึ้น จึงได้ใช้ขนส่งผู้โดยสารและสินค้า
จนกระทั่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สนามบินดอนเมืองเป็นสนามบินที่ทันสมัยโอ่โถง นอกจากเป็นที่ตั้งของกรมอากาศยานแล้วยังประกอบด้วยโรงงานที่มีเครื่องมือครบครันสามารถสร้างเครื่องบินได้ทั้งลำ เว้นแต่เครื่องยนต์เท่านั้น
ในปี ๒๔๗๐ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรกิจการการบินที่กรมอากาศยานดอนเมืองพร้อมกับทรงมีพระราชดำรัสว่า
“การอากาศยานนี้ นับว่าเป็นสิ่งที่เชิดชูเกียรติ์ของชาวไทยและประเทศสยามยิ่งกว่าการอื่นๆ เพราะเกือบจะเป็นสิ่งเดียวที่เป็นวิธีการทางเทคนิคอันเราสามารถทำได้เองด้วยคนไทยทั้งนั้น ไม่ต้องอาศัยชาวต่างชาติมาตั้งแต่ต้นจนบัดนี้ ...เพราะโดยมาก เขาเหล่านั้นไม่ได้นึกเลยว่า คนไทยเราสามารถตั้งกรมอากาศยานขึ้นเป็นปึกแผ่นใหญ่โตได้ถึงเพียงนี้…”
ต่อมาปี ๒๔๗๔ รัฐบาลได้จัดตั้งบริษัท เดินอากาศ จำกัด เปิดการบินภายในประเทศและรับเป็นตัวแทนบริษัทการบินต่างประเทศ นับเป็นก้าวสำคัญของกิจการการบินในประเทศไทยที่ดำเนินสืบมาจวบจนทุกวันนี้
ที่มา
บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖