ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทรงกลับเข้ารับราชการทหาร"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย 'สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเด...' |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ | [[สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขทัยธรรมราชา]]เป็นนายทหารไทยพระองค์แรกที่สำเร็จการศึกษาวิชาการทหารจาก[[โรงเรียนเสนาธิการทหารฝรั่งเศส]] | ||
เมื่อเสด็จนิวัตสยามใน พุทธศักราช ๒๔๖๗ ทรงกลับเข้าปฏิบัติราชการในตำแหน่งปลัดกรมเสนาธิการทหารบก พระยศพันเอก ทรงรับผิดชอบวางแผนนโยบายการจัดการทหารบก อำนวยการศึกษาแก่ทหารในระดับต่างๆ เช่น ผลิตตำรา และแผนที่ทหาร ต่อมาทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๒ และผู้บังคับการพิเศษกรมทหารบกปืนใหญ่ที่ ๒ ตามลำดับ | เมื่อเสด็จนิวัตสยามใน พุทธศักราช ๒๔๖๗ ทรงกลับเข้าปฏิบัติราชการในตำแหน่งปลัดกรมเสนาธิการทหารบก พระยศพันเอก ทรงรับผิดชอบวางแผนนโยบายการจัดการทหารบก อำนวยการศึกษาแก่ทหารในระดับต่างๆ เช่น ผลิตตำรา และแผนที่ทหาร ต่อมาทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๒ และผู้บังคับการพิเศษกรมทหารบกปืนใหญ่ที่ ๒ ตามลำดับ | ||
จนกระทั่งปลายรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] สยามประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ พุทธศักราช ๒๔๖๘ ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตัดทอนรายจ่ายฝ่ายทหาร ทรงเสนอแนวทางร่วมกับเสนาธิการทหารบก ทหารเรือ และเสนาบดีกระทรวงกลาโหมไว้น่าสนใจหลายประการ เวลานั้นทหารยังขาดยุทธปัจจัยหลายอย่าง การตัดทอนจึงต้องทำอย่างระมัดระวัง มีเหตุผลสมควรรองรับแต่ได้เสนอว่าเมื่อมีเหตุจำเป็นก็อาจลดเวลาประจำการของทหารเกณฑ์ ลดเงินเดือนของนายทหาร และรวมกองทัพบกกับกองทัพเรือเข้าด้วยกัน จัดตั้งเป็นกระทรวงป้องกันประเทศเพื่อให้กิจการทหารมีความกะทัดรัดและเป็นการประหยัดงบประมาณ มาตรการเหล่านี้ได้นำมาใช้ตามลำดับในสมัย[[รัชกาลที่ ๗]] | |||
นับได้ว่าทรงใช้พระปรีชาสามารถทางการทหาร สนองพระมหากรุณาธิคุณ และประกอบพระกรณียกิจอันเป็นประโยชน์แก่กองทัพและประเทศเป็นอย่างยิ่ง | นับได้ว่าทรงใช้พระปรีชาสามารถทางการทหาร สนองพระมหากรุณาธิคุณ และประกอบพระกรณียกิจอันเป็นประโยชน์แก่กองทัพและประเทศเป็นอย่างยิ่ง |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:12, 19 มกราคม 2559
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเป็นนายทหารไทยพระองค์แรกที่สำเร็จการศึกษาวิชาการทหารจากโรงเรียนเสนาธิการทหารฝรั่งเศส
เมื่อเสด็จนิวัตสยามใน พุทธศักราช ๒๔๖๗ ทรงกลับเข้าปฏิบัติราชการในตำแหน่งปลัดกรมเสนาธิการทหารบก พระยศพันเอก ทรงรับผิดชอบวางแผนนโยบายการจัดการทหารบก อำนวยการศึกษาแก่ทหารในระดับต่างๆ เช่น ผลิตตำรา และแผนที่ทหาร ต่อมาทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๒ และผู้บังคับการพิเศษกรมทหารบกปืนใหญ่ที่ ๒ ตามลำดับ
จนกระทั่งปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สยามประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ พุทธศักราช ๒๔๖๘ ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตัดทอนรายจ่ายฝ่ายทหาร ทรงเสนอแนวทางร่วมกับเสนาธิการทหารบก ทหารเรือ และเสนาบดีกระทรวงกลาโหมไว้น่าสนใจหลายประการ เวลานั้นทหารยังขาดยุทธปัจจัยหลายอย่าง การตัดทอนจึงต้องทำอย่างระมัดระวัง มีเหตุผลสมควรรองรับแต่ได้เสนอว่าเมื่อมีเหตุจำเป็นก็อาจลดเวลาประจำการของทหารเกณฑ์ ลดเงินเดือนของนายทหาร และรวมกองทัพบกกับกองทัพเรือเข้าด้วยกัน จัดตั้งเป็นกระทรวงป้องกันประเทศเพื่อให้กิจการทหารมีความกะทัดรัดและเป็นการประหยัดงบประมาณ มาตรการเหล่านี้ได้นำมาใช้ตามลำดับในสมัยรัชกาลที่ ๗
นับได้ว่าทรงใช้พระปรีชาสามารถทางการทหาร สนองพระมหากรุณาธิคุณ และประกอบพระกรณียกิจอันเป็นประโยชน์แก่กองทัพและประเทศเป็นอย่างยิ่ง
ที่มา
บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖