ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การยุบพรรคการเมือง"
บรรทัดที่ 38: | บรรทัดที่ 38: | ||
แม้กฎหมายจะให้เสรีภาพในการรวมตัวเป็นพรรคการเมือง แต่ในขณะเดียวกันก็มีการวางกลไกในการกำกับควบคุมการดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองให้ดำเนินไปภายใต้กรอบของกฎหมาย โดยกฎหมายได้กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาและตัดสินสั่งยุบพรรคการเมืองได้ หากกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ | แม้กฎหมายจะให้เสรีภาพในการรวมตัวเป็นพรรคการเมือง แต่ในขณะเดียวกันก็มีการวางกลไกในการกำกับควบคุมการดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองให้ดำเนินไปภายใต้กรอบของกฎหมาย โดยกฎหมายได้กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาและตัดสินสั่งยุบพรรคการเมืองได้ หากกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ | ||
:'''ประการที่หนึ่ง''' กระทำการล้มล้างการปกครอง[[ | :'''ประการที่หนึ่ง''' กระทำการล้มล้างการปกครอง[[ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ | ||
:'''ประการที่สอง''' กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข | :'''ประการที่สอง''' กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข | ||
บรรทัดที่ 52: | บรรทัดที่ 52: | ||
<p>(3) พรรคการเมืองรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดเพื่อดำเนินกิจการของพรรคการเมือง หรือดำเนินกิจการในทางการเมืองจากบุคคลบางจำพวกที่กฎหมายกำหนด | <p>(3) พรรคการเมืองรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดเพื่อดำเนินกิจการของพรรคการเมือง หรือดำเนินกิจการในทางการเมืองจากบุคคลบางจำพวกที่กฎหมายกำหนด | ||
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากฎหมายจะกำหนดให้[[ศาลรัฐธรรมนูญ]]มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งยุบพรรคการเมืองที่เข้าข่ายการกระทำความผิดดังกล่าว แต่ในขณะเดียวกันแม้ว่าจะมีเหตุให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมืองได้ แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็สามารถใช้ดุลยพินิจที่จะสั่งยุบหรือไม่ยุบพรรคการเมืองก็ได้หากเห็นว่ามีเหตุอันควร เช่น กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าพรรคการเมืองกระทำการฝ่าฝืนข้อห้ามจริง แต่เป็นการกระทำครั้งแรก และไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง ศาลอาจไม่สั่งยุบพรรคการเมืองก็ได้</p> | อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากฎหมายจะกำหนดให้[[ศาลรัฐธรรมนูญ]]มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งยุบพรรคการเมืองที่เข้าข่ายการกระทำความผิดดังกล่าว แต่ในขณะเดียวกันแม้ว่าจะมีเหตุให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมืองได้ แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็สามารถใช้ดุลยพินิจที่จะสั่งยุบหรือไม่ยุบพรรคการเมืองก็ได้หากเห็นว่ามีเหตุอันควร เช่น กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าพรรคการเมืองกระทำการฝ่าฝืนข้อห้ามจริง แต่เป็นการกระทำครั้งแรก และไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง ศาลอาจไม่สั่งยุบพรรคการเมืองก็ได้</p> | ||
==กรณีไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย== | ==กรณีไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย== |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:55, 23 เมษายน 2552
บทความนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยโดยผู้ืทรงคุณวุฒิ
ผู้เรียบเรียง ชาย ไชยชิต และ รศ.ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
บทนำ
เมื่อพรรคการเมืองที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการแล้ว มีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดให้ต้องเลิกหรือยุบพรรคการเมืองนั้น นายทะเบียนพรรคการเมืองจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณาเหตุของการร้องขอให้มีคำสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรเดียวที่มีอำนาจในการเลิกหรือยุบพรรคการเมือง ทั้งนี้ ตามข้อกำหนดในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 ระบุเงื่อนไขอันเป็นเหตุให้ต้องมีการเลิกหรือยุบพรรคการเมือง ดังต่อไปนี้
- (1) มีเหตุต้องเลิกตามข้อบังคับพรรคการเมือง
- (2) มีจำนวนสมาชิกเหลือไม่ถึง 15 คน
- (3) มีการยุบพรรคการเมืองไปรวมกับพรรคการเมืองอื่นตามหมวด 5
- (4) มีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคการเมือง
- (5) ไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 25 มาตรา 26 มาตรา 29 มาตรา 35 หรือ มาตรา 62
กรณีมีเหตุต้องเลิกตามข้อบังคับพรรคการเมือง
พรรคการเมืองย่อมเลิกเมื่อมีเหตุต้องเลิกตามข้อบังคับพรรคการเมือง เช่น พรรคการเมืองอาจกำหนดไว้ในข้อบังคับว่า พรรคย่อมเลิกไปเมื่อสมาชิกในพรรคเหลืออยู่ไม่ถึง 100 คน หรือกำหนดว่าพรรคย่อมสิ้นสุดลงเมื่อที่ประชุมใหญ่ของพรรคออกเสียงให้เลิกด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 ของสมาชิกทั้งหมดทุกประเภท แต่กฎหมายมิได้บังคับว่าพรรคการเมืองต้องกำหนดเหตุที่พรรคการเมืองต้องเลิกไว้ในข้อบังคับพรรคการเมืองเสมอไป พรรคการเมืองใดไม่ได้กำหนดข้อบังคับในลักษณะดังกล่าวไว้ การเลิกพรรคการเมืองย่อมเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้
กรณีมีจำนวนสมาชิกเหลืออยู่ไม่ถึง 15 คน
เมื่อกฎหมายกำหนดจำนวนผู้ริเริ่มจัดตั้งพรรคการเมืองไว้จำนวน 15 คน ดังนั้น เมื่อพรรคการเมืองใดเหลือสมาชิกไม่ถึง 15 คน ก็ย่อมจะเป็นเหตุให้ต้องเลิกพรรคการเมืองนั้นไป ทั้งนี้เหตุผลของการเลิกพรรคการเมืองในข้อนี้ก็เนื่องจากการมีจำนวนสมาชิกพรรคการเมืองเหลืออยู่เพียงเล็กน้อยนั้น ย่อมเป็นการแสดงให้เห็นว่าพรรคการเมืองดังกล่าว ไม่เป็นที่นิยมและไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนจำนวนมากเพียงพอที่จะดำเนินบทบาทในฐานะตัวแทนในเวทีการเมืองระดับชาติ
กรณีมีการยุบพรรคการเมืองไปรวมกับพรรคการเมืองอื่น
กรณีมีการรวมพรรคการเมืองเข้าด้วยกัน อาจจำแนกได้ 2 เงื่อนไข ได้แก่ เงื่อนไขแรก เป็นการรวมพรรคการเมืองหลายพรรคเข้าด้วยกัน เพื่อร่วมกันจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ ซึ่งเป็นเหตุให้พรรคการเมืองที่เข้ามารวมกันต้องเลิกไป และเงื่อนไขที่สอง เป็นการรวมพรรคการเมืองเข้ากับพรรคการเมืองอื่นที่เป็นหลัก ซึ่งทำให้พรรคการเมืองที่เข้ามารวมกับพรรคการเมืองหลักต้องเลิกไป โดยพรรคการเมืองหลักยังคงมีสภาพพรรคการเมืองอยู่
กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง
แม้กฎหมายจะให้เสรีภาพในการรวมตัวเป็นพรรคการเมือง แต่ในขณะเดียวกันก็มีการวางกลไกในการกำกับควบคุมการดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองให้ดำเนินไปภายใต้กรอบของกฎหมาย โดยกฎหมายได้กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาและตัดสินสั่งยุบพรรคการเมืองได้ หากกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
- ประการที่หนึ่ง กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
- ประการที่สอง กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- ประการที่สาม กระทำการอันเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
- ประการที่สี่ กระทำการ ดังต่อไปนี้
(1) พรรคการเมืองรับบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดเข้าเป็นสมาชิกหรือดำรงตำแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมือง หรือยอมให้กระทำการอย่างใดเพื่อประโยชน์ของพรรคการเมือง
(2) พรรคการเมืองรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ใดเพื่อกระทำการหรือสนับสนุนการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน หรือกระทำการอันเป็นการก่อกวนหรือคุกคามความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือกระทำการอันเป็นการทำลายทรัพยากรของประเทศ หรือเป็นการบั่นทอนสุขภาพอนามัยของประชาชน
(3) พรรคการเมืองรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดเพื่อดำเนินกิจการของพรรคการเมือง หรือดำเนินกิจการในทางการเมืองจากบุคคลบางจำพวกที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากฎหมายจะกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่ในการสั่งยุบพรรคการเมืองที่เข้าข่ายการกระทำความผิดดังกล่าว แต่ในขณะเดียวกันแม้ว่าจะมีเหตุให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมืองได้ แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็สามารถใช้ดุลยพินิจที่จะสั่งยุบหรือไม่ยุบพรรคการเมืองก็ได้หากเห็นว่ามีเหตุอันควร เช่น กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าพรรคการเมืองกระทำการฝ่าฝืนข้อห้ามจริง แต่เป็นการกระทำครั้งแรก และไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง ศาลอาจไม่สั่งยุบพรรคการเมืองก็ได้
กรณีไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย
เหตุในการเลิกหรือยุบพรรคการเมืองเกิดขึ้นในกรณีที่พรรคการเมืองไม่ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดในเรื่องต่อไปนี้
(1) เมื่อพรรคการเมืองได้รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง แล้วไม่ดำเนินการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมือง
(2) องค์ประกอบของที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองไม่ครบ
(3) ไม่หาสมาชิกให้ได้ 5,000 คน ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง
(4) ไม่จัดทำรายงานการดำเนินกิจการของพรรคการเมือง
(5) ไม่จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
ขั้นตอนในการเลิกหรือยุบพรรคการเมือง
เมื่อนายทะเบียนพรรคการเมืองพบว่าพรรคการเมืองหนึ่ง ๆ มีเหตุอันหนึ่งอันใดให้ต้องเลิกหรือยุบพรรคตามเงื่อนไขที่กล่าวมาข้างต้น นายทะเบียนจะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภาย 15 วัน นับแต่วันที่มีเหตุปรากฎต่อนายทะเบียน เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองตามคำร้องของนายทะเบียน ศาลรัฐธรรมนูญจึงดำเนินการวินิจฉัยออกคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองใดแล้ว นายทะเบียนพรรคการเมืองจะประการคำสั่งยุบพรรคการเมืองนั้นในราชกิจจานุเบกษา
นอกจากการดำเนินการยื่นคำร้องให้มีการพิจารณายุบพรรคการเมืองโดยนายทะเบียนพรรคการเมืองแล้ว การเสนอให้มีการพิจารณายุบพรรคการเมืองยังอาจดำเนินการได้ในอีกลักษณะหนึ่ง กล่าวคือ เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียน หรือเมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งจากคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองว่าพรรคการเมืองใดกระทำการอันเข้าข่ายความผิดซึ่งเป็นเหตุให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมืองได้ นายทะเบียนพรรคการเมืองต้องแจ้งต่ออัยการสูงสุดพร้อมด้วยหลักฐาน ถ้าอัยการสูงสุดเห็นสมควรจึงยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าว ถ้าอัยการสูงสุดไม่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ นายทะเบียนพรรคการเมืองต้องตั้งคณะทำงานขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีผู้แทนจากนายทะเบียนและผู้แทนจากอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐาน แล้วส่งให้อัยการสูงสุด เพื่อยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญต่อไป ในกรณีที่คณะทำงานดังกล่าวไม่อาจหาข้อยุติเกี่ยวกับการดำเนินการยื่นคำร้องได้ นายทะเบียนพรรคการเมืองมีอำนาจยื่นคำร้องเอง ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองใดแล้ว นายทะเบียนพรรคการเมืองต้องประกาศคำสั่งยุบพรรคการเมืองนั้นในราชกิจจานุเบกษา
ในกรณีที่พรรคการเมืองเลิกหรือยุบอันเนื่องมาจากการกระทำที่เข้าข่ายละเมิดข้อห้ามของกฎหมาย หัวหน้าพรรคการเมืองดังกล่าวจะต้องส่งบัญชีและงบดุล รวมทั้งเอกสารเกี่ยวกับการเงินของพรรคการเมืองต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พรรคการเมืองเลิกหรือยุบ และให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ชำระบัญชีให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายทะเบียน ถ้าสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินชำระบัญชีไม่เสร็จภายในเวลาดังกล่าว สามารถขอขยายเวลาได้อีกไม่เกิน 6 เดือน
ในการชำระบัญชี เมื่อได้หักหนี้สินและค่าใช้จ่ายแล้ว พบว่ายังมีทรัพย์สินเหลืออยู่เท่าใด ต้องโอนให้แก่องค์กรสาธารณกุศลตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับพรรคการเมือง หากในข้อบังคับพรรคการเมืองไม่ได้ระบุไว้ ทรัพย์สินที่เหลือนั้นต้องตกเป็นของกองทุน อนึ่ง กฎหมายให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๓ ลักษณะ ๒๒ หมวด ๕ ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัดมาใช้บังคับการชำระบัญชีของพรรคการเมืองโดยอนุโลม
สำหรับข้อห้ามเกี่ยวกับกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบ ในกรณีที่พรรคการเมืองต้องถูกยุบไปด้วยเหตุ ดังต่อไปนี้
(1) ไม่จัดทำรายงานการดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมือง
(2) ไม่จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
(3) กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมือง กฎหมายกำหนดห้ามผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบไป ไม่ให้มีสิทธิขอจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารของพรรคการเมือง หรือมีส่วนร่วมในการขอจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ไม่ได้ ภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่พรรคการเมืองนั้นต้องยุบไป
ที่มา
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑
มานิตย์ จุมปา, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๕๔๐) เรื่อง ๑๓ พรรคการเมือง, กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๔๔