ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเจรจาไกล่เกลี่ย"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 4: บรรทัดที่ 4:
'''1.ความสำคัญของการเจรจาไกล่เกลี่ย'''
'''1.ความสำคัญของการเจรจาไกล่เกลี่ย'''
   
   
ความขัดแย้งที่ขยายตัวกลายเป็นความรุนแรงนำมาซึ่งความสูญเสียทั้งทางร่างกาย การสูญเสียชีวิต และบาดแผลทางจิตใจ และมีโอกาสยกระดับจนนำไปสู่การแตกร้าวของสังคมในวงกว้าง สังคมไทยได้เผชิญกับความสูญเสียจากความรุนแรงมาอย่างยาวนานจนกระทั่งถึงปัจจุบันก็ยังมีตัวอย่างความรุนแรงในสังคมให้ได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ความเสียหายที่เกิดขึ้น มีทั้งที่สังคมไทยสามารถจัดการได้ ไม่เกิดการขยายตัวบานปลายไปสู่ความรุนแรงในวงกว้าง แต่ก็มีเหตุการณ์จำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถยุติลงได้ หรือยังไม่สามารถจัดการปัญหาได้ ตราบจนกระทั่งปัจจุบัน  
[[ความขัดแย้ง]]ที่ขยายตัวกลายเป็น[[ความรุนแรง]]นำมาซึ่งความสูญเสียทั้งทางร่างกาย การสูญเสียชีวิต และบาดแผลทางจิตใจ และมีโอกาสยกระดับจนนำไปสู่การแตกร้าวของสังคมในวงกว้าง สังคมไทยได้เผชิญกับความสูญเสียจากความรุนแรงมาอย่างยาวนานจนกระทั่งถึงปัจจุบันก็ยังมีตัวอย่างความรุนแรงในสังคมให้ได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ความเสียหายที่เกิดขึ้น มีทั้งที่สังคมไทยสามารถจัดการได้ ไม่เกิดการขยายตัวบานปลายไปสู่ความรุนแรงในวงกว้าง แต่ก็มีเหตุการณ์จำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถยุติลงได้ หรือยังไม่สามารถจัดการปัญหาได้ ตราบจนกระทั่งปัจจุบัน  


เราลองนึกภาพเหตุการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรงในสังคมไทยที่ไม่สามารถจัดการได้ และยืดเยื้อเรื้อรังนั้น จะนำมาสู่การบั่นทอนการพัฒนาสังคมไทยขนาดไหน ปัญหาของการจัดการน้ำจืดน้ำเค็มที่ใช้ประตูกั้นน้ำจืด-น้ำเค็มมาแก้ปัญหา ที่จังหวัดสมุทรสงคราม  จะเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีระบบการจัดการที่ดี ทำให้คนฝั่งน้ำจืด-น้ำเค็มที่ทำนาข้าวกับนากุ้งลุกมาห้ำหั่นกันเองเพื่อมิให้อีกฝ่ายเปิดประตูกั้นน้ำ แต่สุดท้ายก็สามารถพูดคุยกันจนได้ทางออกอย่างยั่งยืนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น จะเป็นอย่างไร ถ้าเกิดปัญหาการผ่าตัดต้อกระจกในโรงพยาบาล แล้วทำให้คนไข้ตาบอดหลายราย แล้วเกิดการฟ้องร้องจากคนไข้และญาติ ทำให้ความสัมพันธ์ของผู้ให้บริการกับผู้รับบริการแตกร้าว  เสื่อมเสียชื่อเสียงโรงพยาบาล ผู้ป่วยก็ไม่ได้รับการเยียวยาทางจิตใจ แต่ปัญหานี้ก็คลี่คลายด้วยกระบวนการเยียวยาทางจิตใจและกระบวนการพูดคุย จะเป็นอย่างไร ถ้านักเรียนและนักศึกษาทำร้ายร่างกายกันทั้งบาดเจ็บรวมถึงเสียชีวิต โดยไม่มีระบบจัดการเยียวยาบาดแผลอันเจ็บปวดของผู้ที่เกี่ยวข้อง  จะเป็นอย่างไร ถ้าวัดกับโรงโม่หินต้องมาทะเลาะกันจากการระเบิดหินของโรงโม่ แล้วก้อนหินกระเด็นใส่วัด จนกระทั่งพระสงฆ์ไม่สามารถปฏิบัติธรรมได้ จะเป็นอย่างไรถ้าสังคมไทยไม่สามารถพูดคุยกันเรื่องการเมืองได้ งานวิจัยของสถาบันพระปกเกล้า (2555) ให้ข้อมูลว่าความขัดแย้งทางการเมืองไทย ที่ผ่านมา เกิดการสูญเสียชีวิตมากกว่าร้อยคน บาดเจ็บมากกว่า 1,800 คน สังคมไทยอยู่กันด้วยความหวาดระแวง ความกังวล และประเทศชาติไม่สามารถพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่อง
เราลองนึกภาพเหตุการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรงในสังคมไทยที่ไม่สามารถจัดการได้ และยืดเยื้อเรื้อรังนั้น จะนำมาสู่การบั่นทอนการพัฒนาสังคมไทยขนาดไหน ปัญหาของการจัดการน้ำจืดน้ำเค็มที่ใช้ประตูกั้นน้ำจืด-น้ำเค็มมาแก้ปัญหา ที่จังหวัดสมุทรสงคราม  จะเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีระบบการจัดการที่ดี ทำให้คนฝั่งน้ำจืด-น้ำเค็มที่ทำนาข้าวกับนากุ้งลุกมาห้ำหั่นกันเองเพื่อมิให้อีกฝ่ายเปิดประตูกั้นน้ำ แต่สุดท้ายก็สามารถพูดคุยกันจนได้ทางออกอย่างยั่งยืนจาก[[ภูมิปัญญาท้องถิ่น]] จะเป็นอย่างไร ถ้าเกิดปัญหาการผ่าตัดต้อกระจกในโรงพยาบาล แล้วทำให้คนไข้ตาบอดหลายราย แล้วเกิดการฟ้องร้องจากคนไข้และญาติ ทำให้ความสัมพันธ์ของผู้ให้บริการกับผู้รับบริการแตกร้าว  เสื่อมเสียชื่อเสียงโรงพยาบาล ผู้ป่วยก็ไม่ได้รับการเยียวยาทางจิตใจ แต่ปัญหานี้ก็คลี่คลายด้วย[[กระบวนการเยียวยาทางจิตใจ]]และ[[กระบวนการพูดคุย]] จะเป็นอย่างไร ถ้านักเรียนและนักศึกษาทำร้ายร่างกายกันทั้งบาดเจ็บรวมถึงเสียชีวิต โดยไม่มีระบบจัดการเยียวยาบาดแผลอันเจ็บปวดของผู้ที่เกี่ยวข้อง  จะเป็นอย่างไร ถ้าวัดกับโรงโม่หินต้องมาทะเลาะกันจากการระเบิดหินของโรงโม่ แล้วก้อนหินกระเด็นใส่วัด จนกระทั่งพระสงฆ์ไม่สามารถปฏิบัติธรรมได้ จะเป็นอย่างไรถ้าสังคมไทยไม่สามารถพูดคุยกันเรื่องการเมืองได้ งานวิจัยของสถาบันพระปกเกล้า (2555) ให้ข้อมูลว่าความขัดแย้งทางการเมืองไทย ที่ผ่านมา เกิดการสูญเสียชีวิตมากกว่าร้อยคน บาดเจ็บมากกว่า 1,800 คน สังคมไทยอยู่กันด้วยความหวาดระแวง ความกังวล และประเทศชาติไม่สามารถพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่อง
    
    
การเจรจาไกล่เกลี่ย (Negotiation) จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการกับความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้นด้วยกระบวนการการพูดคุยกันอย่างเป็นระบบมีขั้นตอน มีศิลปะในการพูดคุยกันภายใต้บรรยากาศที่เอื้ออำนวยให้เกิด มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้คนที่ขัดแย้งกันสามารถมาเผชิญหน้ากันได้เมื่อถึงจุดหรือสถานการณ์ที่เหมาะสม และเป็นการพูดคุยที่เป็นการไกล่เกลี่ย ไม่เกลี้ยกล่อม ตะล่อม ข่มขู่และบังคับ แต่เป็นกระบวนการของความสมัครใจ และเกิดการยอมรับจากคู่กรณี  เป็นการพูดคุยที่บรรลุเป้าหมายทั้ง 3 มุมที่ควรจะเป็น กล่าวคือบรรลุเป้าหมาย(เนื้อหา)ที่ชัดเจนร่วมกัน มีกระบวนการที่ยอมรับร่วมกัน และเกิดสัมพันธภาพต่อกันอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง สัมพันธภาพเปรียบได้กับกาวที่ช่วยเชื่อมเป้าหมายและวิธีการไว้ด้วยกัน อันจะส่งผลให้การจัดการความขัดแย้งเป็นไปได้อย่างลุล่วง สิ่งที่สำคัญคือ การยอมรับร่วมกันคงไม่ใช่เพียงการทำบันทึกข้อตกลงให้เสร็จสิ้นหรือเสร็จๆไปเท่านั้น มิเช่นนั้นก็จะประสบปัญหาดังที่ ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ (2546) กล่าวว่า “สนธิสัญญาสันติภาพหรือข้อตกลงสันติภาพนั้นมิได้เป็นการแก้ไขปัญหา หากเป็นเพียง “แช่เย็น” ความขัดแย้งไว้ชั่วคราวเพื่อให้เกิดโอกาสในการเจรจาหาลู่ทางแก้ไขปัญหาอื่นๆต่อไป”  
[[การเจรจาไกล่เกลี่ย]] (Negotiation) จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญใน[[การจัดการกับความขัดแย้ง]]และความรุนแรงที่เกิดขึ้นด้วยกระบวนการการพูดคุยกันอย่างเป็นระบบมีขั้นตอน มีศิลปะในการพูดคุยกันภายใต้บรรยากาศที่เอื้ออำนวยให้เกิด มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้คนที่ขัดแย้งกันสามารถมาเผชิญหน้ากันได้เมื่อถึงจุดหรือสถานการณ์ที่เหมาะสม และเป็นการพูดคุยที่เป็นการไกล่เกลี่ย ไม่เกลี้ยกล่อม ตะล่อม ข่มขู่และบังคับ แต่เป็นกระบวนการของความสมัครใจ และเกิดการยอมรับจากคู่กรณี  เป็นการพูดคุยที่บรรลุเป้าหมายทั้ง 3 มุมที่ควรจะเป็น กล่าวคือบรรลุเป้าหมาย(เนื้อหา)ที่ชัดเจนร่วมกัน มีกระบวนการที่ยอมรับร่วมกัน และเกิดสัมพันธภาพต่อกันอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง สัมพันธภาพเปรียบได้กับกาวที่ช่วยเชื่อมเป้าหมายและวิธีการไว้ด้วยกัน อันจะส่งผลให้การจัดการความขัดแย้งเป็นไปได้อย่างลุล่วง สิ่งที่สำคัญคือ การยอมรับร่วมกันคงไม่ใช่เพียงการทำบันทึกข้อตกลงให้เสร็จสิ้นหรือเสร็จๆไปเท่านั้น มิเช่นนั้นก็จะประสบปัญหาดังที่ ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ (2546) กล่าวว่า “สนธิสัญญาสันติภาพหรือข้อตกลงสันติภาพนั้นมิได้เป็นการแก้ไขปัญหา หากเป็นเพียง “แช่เย็น” ความขัดแย้งไว้ชั่วคราวเพื่อให้เกิดโอกาสในการเจรจาหาลู่ทางแก้ไขปัญหาอื่นๆต่อไป”  


'''2.แนวคิดการเจรจาไกล่เกลี่ย'''
'''2.แนวคิดการเจรจาไกล่เกลี่ย'''
บรรทัดที่ 16: บรรทัดที่ 16:
ในชีวิตประจำวันพวกเราเจรจาไกล่เกลี่ย (Negotiation) อยู่ตลอดเวลา การเจรจาไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะการเจรจาที่เป็นทางการเท่านั้นอันทำให้เราอาจจะรู้สึกว่ามีความไกลตัวจากเราเท่านั้น  เช่น การเจรจาระหว่างประเทศ การเจรจาธุรกิจ การเจรจายุติความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้  การเจรจากรณีความเห็นแตกต่างทางการเมือง เป็นต้น  แต่ที่จริงการเจรจาเกิดขึ้นกับเราเสมอไม่ว่าจะเป็นการเจรจากับตนเองหรือการเจรจากับผู้อื่น  การเจรจากับตนเอง เช่น จะไปเข้ารับการอบรมหรือนอนต่ออีกนิด จะทำงานที่บริษัทใดดี  จะเลือกใครเป็นคู่ครองของเรา เป็นต้น สำหรับการเจรจากับคนอื่น เช่น การเจรจากับเพื่อนว่าจะไปกินข้าวที่ร้านไหน เล่นกีฬากันวันไหน  การเจรจากับครอบครัวเรื่องสถานที่เที่ยวในวันหยุดการเจรจาแบ่งหน้าที่กันทำงานในครอบครัว  การเจรจาว่าจะไปรับแฟนหรือจะไปประชุม เจรจากับสามีหรือภรรยาว่าจะดูทีวีช่องไหน การเจรจาขอขึ้นเงินเดือนกับนายจ้าง การเจรจาราคาซื้อขายสินค้าและตัวอย่างอื่นๆ อีกมากมายที่ไม่ได้กล่าวมา ณ ที่นี้
ในชีวิตประจำวันพวกเราเจรจาไกล่เกลี่ย (Negotiation) อยู่ตลอดเวลา การเจรจาไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะการเจรจาที่เป็นทางการเท่านั้นอันทำให้เราอาจจะรู้สึกว่ามีความไกลตัวจากเราเท่านั้น  เช่น การเจรจาระหว่างประเทศ การเจรจาธุรกิจ การเจรจายุติความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้  การเจรจากรณีความเห็นแตกต่างทางการเมือง เป็นต้น  แต่ที่จริงการเจรจาเกิดขึ้นกับเราเสมอไม่ว่าจะเป็นการเจรจากับตนเองหรือการเจรจากับผู้อื่น  การเจรจากับตนเอง เช่น จะไปเข้ารับการอบรมหรือนอนต่ออีกนิด จะทำงานที่บริษัทใดดี  จะเลือกใครเป็นคู่ครองของเรา เป็นต้น สำหรับการเจรจากับคนอื่น เช่น การเจรจากับเพื่อนว่าจะไปกินข้าวที่ร้านไหน เล่นกีฬากันวันไหน  การเจรจากับครอบครัวเรื่องสถานที่เที่ยวในวันหยุดการเจรจาแบ่งหน้าที่กันทำงานในครอบครัว  การเจรจาว่าจะไปรับแฟนหรือจะไปประชุม เจรจากับสามีหรือภรรยาว่าจะดูทีวีช่องไหน การเจรจาขอขึ้นเงินเดือนกับนายจ้าง การเจรจาราคาซื้อขายสินค้าและตัวอย่างอื่นๆ อีกมากมายที่ไม่ได้กล่าวมา ณ ที่นี้
    
    
Negotiation มีผู้แปลและเรียกคำนี้แตกต่างกันไป แต่หนังสือแปลหรือหนังสือส่วนใหญ่จะใช้คำว่า การ “เจรจาต่อรอง” ถ้าเป็นการเจรจาแบบมุ่งเน้นผลแพ้ชนะผู้เขียนเห็นสอดคล้องว่าควรใช้คำว่า การเจรจาต่อรอง แต่ถ้าเป็นการเจรจาแบบมุ่งเน้นสร้างความร่วมมือ เน้นการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ไม่ทิ้งความขุ่นเคืองต่อกัน ผู้เขียนเห็นสอดคล้องตามที่ ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ (2550 : 179) ได้นิยามศัพท์ไว้ว่า “การเจรจาไกลเกลี่ย”  ซึ่งเป็นกรณีที่คู่กรณีหันหน้ามาพูดคุยกันเอง ไม่ใช่การโต้แย้งกันว่าใครผิด ใครถูก แต่เป็นการมาทำความเข้าใจในความต้องการของแต่ละฝ่ายทั้งฝ่ายตนและฝ่ายอื่น
Negotiation มีผู้แปลและเรียกคำนี้แตกต่างกันไป แต่หนังสือแปลหรือหนังสือส่วนใหญ่จะใช้คำว่า การ “[[เจรจาต่อรอง]]” ถ้าเป็น[[การเจรจาแบบมุ่งเน้นผลแพ้ชนะ]]ผู้เขียนเห็นสอดคล้องว่าควรใช้คำว่า การเจรจาต่อรอง แต่ถ้าเป็นการเจรจาแบบมุ่งเน้นสร้างความร่วมมือ เน้นการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ไม่ทิ้งความขุ่นเคืองต่อกัน ผู้เขียนเห็นสอดคล้องตามที่ ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ (2550 : 179) ได้นิยามศัพท์ไว้ว่า “การเจรจาไกลเกลี่ย”  ซึ่งเป็นกรณีที่คู่กรณีหันหน้ามาพูดคุยกันเอง ไม่ใช่การโต้แย้งกันว่าใครผิด ใครถูก แต่เป็นการมาทำความเข้าใจในความต้องการของแต่ละฝ่ายทั้งฝ่ายตนและฝ่ายอื่น
   
   
การเจรจานั้นมีผู้ให้นิยามความหมายไว้เป็นจำนวนมาก อาทิ  Coltri (2004) นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย Maryland ให้นิยามความหมายไว้ว่า การเจรจาเป็นการมาพูดคุยกันเองโดยตรงของคู่กรณี และเป็นวิธีการที่ดีกว่าการไปฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรม  สำหรับ Zartman (2009) ผู้เชี่ยวชาญด้านการเจรจาระหว่างประเทศจากสหรัฐอเมริกา เห็นว่าการเจรจาเป็นกระบวนการรวมจุดยืนของความขัดแย้งมาเป็นข้อตกลงร่วมกัน (Joint Agreement) การเจรจามีลักษณะที่แตกต่างจากการตัดสินใจด้วยการลงคะแนนเสียง และการพิพากษาโดยศาล  ด้วยการหาความเห็นพ้องต้องกัน (Unanimity) ใน 3 ทาง คือ ใช่ ไม่ใช่หรือจะเจรจาต่อไป (Yes, No,  Or Continue Negotiating)  การเจรจาเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนกันมากกว่าชัยชนะของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นการให้บางสิ่ง (Give Something) เพื่อได้รับบางสิ่ง (Get Something)  แม้ว่าอาจจะไม่ได้เท่ากันทั้งสองฝ่ายก็ตาม  กระบวนการเจรจากระทำภายใต้บรรทัดฐานของสังคม (Norms) กระบวนการและผลลัพธ์ จึงไม่เหมือนกันมีความแตกต่างกันไปในแต่ละแห่ง ในขณะที่ วิลเลียม ยูริ (2545) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก็มีความเห็นในทิศทางเดียวกันว่าการเจรจา  เป็นกระบวนการของการสื่อสารไปมาที่มุ่งหวังให้บรรลุข้อตกลงกับฝ่ายอื่น โดยที่ความต้องการบางส่วนของคุณได้รับการพิจารณาและบางส่วนอาจถูกคัดค้าน รวมถึง สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ (2549) ก็เห็นเช่นเดียวกันว่า ผู้ที่เข้าร่วมเจรจานั้นต้องการที่จะหาข้อสรุปที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย  
การเจรจานั้นมีผู้ให้นิยามความหมายไว้เป็นจำนวนมาก อาทิ  Coltri (2004) นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย Maryland ให้นิยามความหมายไว้ว่า การเจรจาเป็นการมาพูดคุยกันเองโดยตรงของคู่กรณี และเป็นวิธีการที่ดีกว่าการไปฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรม  สำหรับ Zartman (2009) ผู้เชี่ยวชาญด้านการเจรจาระหว่างประเทศจากสหรัฐอเมริกา เห็นว่าการเจรจาเป็นกระบวนการรวมจุดยืนของความขัดแย้งมาเป็นข้อตกลงร่วมกัน (Joint Agreement) การเจรจามีลักษณะที่แตกต่างจากการตัดสินใจด้วย[[การลงคะแนนเสียง]] และการพิพากษาโดยศาล  ด้วยการหาความเห็นพ้องต้องกัน (Unanimity) ใน 3 ทาง คือ ใช่ ไม่ใช่หรือจะเจรจาต่อไป (Yes, No,  Or Continue Negotiating)  การเจรจาเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนกันมากกว่าชัยชนะของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นการให้บางสิ่ง (Give Something) เพื่อได้รับบางสิ่ง (Get Something)  แม้ว่าอาจจะไม่ได้เท่ากันทั้งสองฝ่ายก็ตาม  กระบวนการเจรจากระทำภายใต้บรรทัดฐานของสังคม (Norms) กระบวนการและผลลัพธ์ จึงไม่เหมือนกันมีความแตกต่างกันไปในแต่ละแห่ง ในขณะที่ วิลเลียม ยูริ (2545) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก็มีความเห็นในทิศทางเดียวกันว่าการเจรจา  เป็นกระบวนการของการสื่อสารไปมาที่มุ่งหวังให้บรรลุข้อตกลงกับฝ่ายอื่น โดยที่ความต้องการบางส่วนของคุณได้รับการพิจารณาและบางส่วนอาจถูกคัดค้าน รวมถึง สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ (2549) ก็เห็นเช่นเดียวกันว่า ผู้ที่เข้าร่วมเจรจานั้นต้องการที่จะหาข้อสรุปที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย  


'''2.2 เหตุผลและเงื่อนไขพื้นฐานของการเจรจาไกล่เกลี่ย'''  
'''2.2 เหตุผลและเงื่อนไขพื้นฐานของการเจรจาไกล่เกลี่ย'''  


'''ทำไมต้องมีการเจรจา ?''' ไม่ว่าจะเป็นรัฐ กลุ่มหรือปัจเจก ต่างก็พอใจมากกว่าที่จะแก้ไขปัญหาเพียงฝ่ายเดียว ในเงื่อนไขที่เขาสามารถควบคุมการตัดสินใจและไม่ต้องพึ่งพิงฝ่ายอื่น อย่างไรก็ตาม เมื่อแต่ละฝ่ายเห็นว่าจะต้องมีการเจรจาเมื่อต้องพึ่งพิงฝ่ายอื่นและไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เพียงฝ่ายเดียว  (Zartman, 2009)
'''ทำไมต้องมีการเจรจา ?''' ไม่ว่าจะเป็น[[รัฐ]] กลุ่มหรือปัจเจก ต่างก็พอใจมากกว่าที่จะแก้ไขปัญหาเพียงฝ่ายเดียว ในเงื่อนไขที่เขาสามารถควบคุมการตัดสินใจและไม่ต้องพึ่งพิงฝ่ายอื่น อย่างไรก็ตาม เมื่อแต่ละฝ่ายเห็นว่าจะต้องมีการเจรจาเมื่อต้องพึ่งพิงฝ่ายอื่นและไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เพียงฝ่ายเดียว  (Zartman, 2009)
การเจรจาภายใต้สถานการณ์แบบใดที่มีความเหมาะสมและน่าจะทำให้การเจรจาประสบความสำเร็จ (Zartman (2009) เห็นว่าแต่ละฝ่ายก็ต้องมีการแลกเปลี่ยน เจรจาอย่างเท่าเทียมกัน รวมถึงกระบวนการก็ต้องได้รับการยอมรับจากคู่กรณี การยอมถอยหรือการยอมให้กันก็ต้องมาจากทั้งสองฝ่าย อยู่บนพื้นฐานของการแลกเปลี่ยน มิใช่มีเพียงฝ่ายเดียวที่ยอมให้อีกฝ่าย  การละเลยความยุติธรรมในด้านของความเท่าเทียมกันจะส่งผลต่อการขัดขวางการเจรจา  
การเจรจาภายใต้สถานการณ์แบบใดที่มีความเหมาะสมและน่าจะทำให้การเจรจาประสบความสำเร็จ (Zartman (2009) เห็นว่าแต่ละฝ่ายก็ต้องมีการแลกเปลี่ยน เจรจาอย่างเท่าเทียมกัน รวมถึงกระบวนการก็ต้องได้รับการยอมรับจากคู่กรณี การยอมถอยหรือการยอมให้กันก็ต้องมาจากทั้งสองฝ่าย อยู่บนพื้นฐานของการแลกเปลี่ยน มิใช่มีเพียงฝ่ายเดียวที่ยอมให้อีกฝ่าย  การละเลยความยุติธรรมในด้านของความเท่าเทียมกันจะส่งผลต่อการขัดขวางการเจรจา  


บรรทัดที่ 33: บรรทัดที่ 33:
อย่างไรก็ตามการเจรจาอาจเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าความสัมพันธ์ต่อกันไม่ดี หรือมีอารมณ์และความรู้สึกไม่พอใจซึ่งกันและกันมาก จนไม่สามารถหันหน้ามาพูดคุยกันหรือตกลงกันได้เอง ความรู้สึกเสียหน้าอาจเกิดขึ้นได้ถ้าพูดคุยกันเองแล้วต้องยอมให้อีกฝ่าย บางครั้งการพึ่งคนกลาง ก็จะหาทางออกได้เพราะคู่กรณีไม่รู้สึกเสียหน้าว่ายอมให้อีกฝ่าย แต่ที่ยอมให้ก็ด้วยเป็นเพราะยอมให้คนกลาง   
อย่างไรก็ตามการเจรจาอาจเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าความสัมพันธ์ต่อกันไม่ดี หรือมีอารมณ์และความรู้สึกไม่พอใจซึ่งกันและกันมาก จนไม่สามารถหันหน้ามาพูดคุยกันหรือตกลงกันได้เอง ความรู้สึกเสียหน้าอาจเกิดขึ้นได้ถ้าพูดคุยกันเองแล้วต้องยอมให้อีกฝ่าย บางครั้งการพึ่งคนกลาง ก็จะหาทางออกได้เพราะคู่กรณีไม่รู้สึกเสียหน้าว่ายอมให้อีกฝ่าย แต่ที่ยอมให้ก็ด้วยเป็นเพราะยอมให้คนกลาง   


การเจรจามีความแตกต่างจากการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางอย่างชัดเจน กล่าวคือการเจรจาไกล่เกลี่ยเป็นการที่คู่กรณีพูดคุยเพื่อหาข้อตกลงหรือยุติปัญหาด้วยกันเองโดยไม่ต้องพึ่งพิงบุคคลที่สาม  ในขณะที่การไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง เป็นกระบวนการที่บุคคลที่สามเข้ามาช่วยกำกับกระบวนการและกระตุ้นให้คู่กรณีตัดสินใจหาข้อตกลงร่วมกัน เบอร์นาร์ด เมเยอร์ ผู้สอนและผู้ไกล่เกลี่ยที่มากด้วยประสบการณ์จาก CDR Associates ซึ่งเป็นองค์กรด้านการจัดการความขัดแย้งที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ  เห็นว่าการเจรจาเป็นวิธีการที่คู่กรณีมักเลือกใช้ในการจัดการปัญหาเป็นอันดับแรก นอกเสียจากว่าปัญหามีระดับที่รุนแรงมากขึ้นจนควบคุมได้ยาก คู่กรณีจึงจะเลือกใช้วิธีการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง  ด้วยการแสวงหาความช่วยเหลือจากภายนอกหรือบุคคลที่สาม (เมเยอร์,2553)  ในสังคมไทยมีตัวอย่างมากมายที่คู่กรณีเจรจากันเองได้สำเร็จ และไม่สามารถเจรจากันได้เอง โดยต้องอาศัยหรือพึ่งคนกลาง  เข้ามาช่วยจัดการปัญหาดังจะได้ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนขึ้นต่อไป สำหรับการนำเสนอ        ชุดความรู้ในเรื่องนี้ จะเน้นไปที่การเจรจาไกล่เกลี่ย (Negotiation) โดยไม่รวมในส่วนของการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง (Mediation) ซึ่งจะกล่าวถึงโดยละเอียดในชุดความรู้ส่วนต่อไป  
การเจรจามีความแตกต่างจากการไกล่เกลี่ยโดย[[คนกลาง]]อย่างชัดเจน กล่าวคือการเจรจาไกล่เกลี่ยเป็นการที่คู่กรณีพูดคุยเพื่อหาข้อตกลงหรือยุติปัญหาด้วยกันเองโดยไม่ต้องพึ่งพิงบุคคลที่สาม  ในขณะที่การไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง เป็นกระบวนการที่บุคคลที่สามเข้ามาช่วยกำกับกระบวนการและกระตุ้นให้คู่กรณีตัดสินใจหาข้อตกลงร่วมกัน เบอร์นาร์ด เมเยอร์ ผู้สอนและผู้ไกล่เกลี่ยที่มากด้วยประสบการณ์จาก CDR Associates ซึ่งเป็นองค์กรด้านการจัดการความขัดแย้งที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ  เห็นว่าการเจรจาเป็นวิธีการที่คู่กรณีมักเลือกใช้ในการจัดการปัญหาเป็นอันดับแรก นอกเสียจากว่าปัญหามีระดับที่รุนแรงมากขึ้นจนควบคุมได้ยาก คู่กรณีจึงจะเลือกใช้วิธีการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง  ด้วยการแสวงหาความช่วยเหลือจากภายนอกหรือบุคคลที่สาม (เมเยอร์,2553)  ในสังคมไทยมีตัวอย่างมากมายที่คู่กรณีเจรจากันเองได้สำเร็จ และไม่สามารถเจรจากันได้เอง โดยต้องอาศัยหรือพึ่งคนกลาง  เข้ามาช่วยจัดการปัญหาดังจะได้ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนขึ้นต่อไป สำหรับการนำเสนอ        ชุดความรู้ในเรื่องนี้ จะเน้นไปที่การเจรจาไกล่เกลี่ย (Negotiation) โดยไม่รวมในส่วนของ[[การไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง]] (Mediation) ซึ่งจะกล่าวถึงโดยละเอียดในชุดความรู้ส่วนต่อไป  
   
   
[[ไฟล์:การเจรจา.png]]
[[ไฟล์:การเจรจา.png]]
บรรทัดที่ 40: บรรทัดที่ 40:
'''2.4 ประโยชน์ของการเจรจาไกล่เกลี่ย'''
'''2.4 ประโยชน์ของการเจรจาไกล่เกลี่ย'''


ดังที่เราทราบกันว่า ความขัดแย้งเกิดขึ้นจากเป้าหมายที่ไปกันไม่ได้ แต่เป้าหมายที่ขัดกันยังไม่ใช่ปัญหา ปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อคู่ขัดแย้งพยายามมีอำนาจเหนือกว่าอีกฝ่าย อันจะทำให้ข้อตกลงในการร่วมมือกันถูกขัดขวาง  หรืออาจจะนำไปสู่ความรุนแรงได้ ความขัดแย้งขยายตัวจนกระทั่งนำไปสู่หนึ่งในสามผลลัพธ์นี้เกิดขึ้นคือ ชัยชนะของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  หรือความเจ็บปวดเกิดขึ้นจนทำให้คู่ขัดแย้งพิจารณาหาทางลดความขัดแย้ง  และเกิดสภาพที่ ไม่สามารถเอาชนะกันได้คงที่  การเจรจาสามารถใช้ในการป้องกันความขัดแย้งขยายตัวไปสู่ความรุนแรงหรือการเจรจาถูกใช้ในการจัดการความขัดแย้ง เป็นการลดความรุนแรงลงมา  หรือเป็นวิธีในการแก้ไขเป้าหมายที่ขัดกันไม่ได้  หรือแปรเปลี่ยนความขัดแย้งไปสู่ความสัมพันธ์แบบร่วมมือ  การเจรจายังเป็นประโยชน์เมื่อต้องการควบคุมผลลัพธ์ได้เอง ไม่ต้องไปพึ่งการลงคะแนนเสียงหรือการตัดสินจากศาล (Zartman, 2009)  การเจรจากันระหว่างคู่กรณีนั้น ผู้ที่ตัดสินใจยุติหรือหาข้อตกลงก็คือคู่กรณีเอง คู่กรณีเป็นผู้ชี้ขาดที่จะหาจุดที่ลงตัวร่วมกันด้วยตนเอง ดีกว่าที่จะต้องไปให้คนอื่น เช่น ผู้พิพากษา หรืออนุญาโตตุลาการชี้ขาด ดังนั้น การยุติเรื่องด้วยตนเองก็จะนำไปสู่ความพึงพอใจร่วมกัน  
ดังที่เราทราบกันว่า ความขัดแย้งเกิดขึ้นจากเป้าหมายที่ไปกันไม่ได้ แต่เป้าหมายที่ขัดกันยังไม่ใช่ปัญหา ปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อคู่ขัดแย้งพยายามมีอำนาจเหนือกว่าอีกฝ่าย อันจะทำให้ข้อตกลงในการร่วมมือกันถูกขัดขวาง  หรืออาจจะนำไปสู่ความรุนแรงได้ ความขัดแย้งขยายตัวจนกระทั่งนำไปสู่หนึ่งในสามผลลัพธ์นี้เกิดขึ้นคือ ชัยชนะของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  หรือความเจ็บปวดเกิดขึ้นจนทำให้คู่ขัดแย้งพิจารณาหาทางลดความขัดแย้ง  และเกิดสภาพที่ ไม่สามารถเอาชนะกันได้คงที่  การเจรจาสามารถใช้ในการป้องกันความขัดแย้งขยายตัวไปสู่ความรุนแรงหรือการเจรจาถูกใช้ในการจัดการความขัดแย้ง เป็นการลดความรุนแรงลงมา  หรือเป็นวิธีในการแก้ไขเป้าหมายที่ขัดกันไม่ได้  หรือแปรเปลี่ยนความขัดแย้งไปสู่ความสัมพันธ์แบบร่วมมือ  การเจรจายังเป็นประโยชน์เมื่อต้องการควบคุมผลลัพธ์ได้เอง ไม่ต้องไปพึ่งการลงคะแนนเสียงหรือการตัดสินจากศาล (Zartman, 2009)  การเจรจากันระหว่างคู่กรณีนั้น ผู้ที่ตัดสินใจยุติหรือหาข้อตกลงก็คือคู่กรณีเอง คู่กรณีเป็นผู้ชี้ขาดที่จะหาจุดที่ลงตัวร่วมกันด้วยตนเอง ดีกว่าที่จะต้องไปให้คนอื่น เช่น [[ผู้พิพากษา]] หรือ[[อนุญาโตตุลาการ]]ชี้ขาด ดังนั้น การยุติเรื่องด้วยตนเองก็จะนำไปสู่ความพึงพอใจร่วมกัน  


การเจรจา ดีกว่าหลีกเลี่ยงปัญหาหรือใช้การบังคับ  Wilmot (2007) เห็นว่าการเจรจาอยู่ตรงกลางระหว่างการไม่ทำอะไรด้วยการหลีกเลี่ยงหรือหลีกหนีปัญหา กับการบังคับด้วยอำนาจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของตน ซึ่งการเจรจานั้นเกิดผลดีที่คู่กรณีได้มาพูดมาคุยกัน ดีกว่าการหลีกหนีปัญหาซึ่งทำให้ปัญหาที่แท้จริงไม่ได้รับการแก้ไข ความพึงพอใจก็ไม่เกิดขึ้น เหมือนซุกปัญหาอยู่ใต้พรม เมื่อเปิดพรมขึ้นมาก็เจอปัญหาหรือเศษขยะอยู่ดี  หรือแม้แต่การบังคับก็อาจทำให้ได้รับชัยชนะ ด้วยพลังอำนาจที่เหนือกว่า แต่สร้างความขุ่นเคือง เกิดความสัมพันธ์ที่ร้าวฉาน ไม่สามารถคบหากันได้อย่างสนิทใจ และคนที่ได้รับชัยชนะด้วยการบังคับก็ต้องคอยหวาดระแวงว่าจะถูกใช้กำลังบังคับเอาคืนบ้าง  
การเจรจา ดีกว่าหลีกเลี่ยงปัญหาหรือใช้การบังคับ  Wilmot (2007) เห็นว่าการเจรจาอยู่ตรงกลางระหว่างการไม่ทำอะไรด้วยการหลีกเลี่ยงหรือหลีกหนีปัญหา กับการบังคับด้วยอำนาจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของตน ซึ่งการเจรจานั้นเกิดผลดีที่คู่กรณีได้มาพูดมาคุยกัน ดีกว่าการหลีกหนีปัญหาซึ่งทำให้ปัญหาที่แท้จริงไม่ได้รับการแก้ไข ความพึงพอใจก็ไม่เกิดขึ้น เหมือนซุกปัญหาอยู่ใต้พรม เมื่อเปิดพรมขึ้นมาก็เจอปัญหาหรือเศษขยะอยู่ดี  หรือแม้แต่การบังคับก็อาจทำให้ได้รับชัยชนะ ด้วยพลังอำนาจที่เหนือกว่า แต่สร้างความขุ่นเคือง เกิดความสัมพันธ์ที่ร้าวฉาน ไม่สามารถคบหากันได้อย่างสนิทใจ และคนที่ได้รับชัยชนะด้วยการบังคับก็ต้องคอยหวาดระแวงว่าจะถูกใช้กำลังบังคับเอาคืนบ้าง  
บรรทัดที่ 107: บรรทัดที่ 107:


Bercovitch, Jacob., Kremenyuk, Victor., & Zartman, I. William.  (2009).  The Sage Handbook of  Conflict Resolution. London: SAGE Publications Ltd.
Bercovitch, Jacob., Kremenyuk, Victor., & Zartman, I. William.  (2009).  The Sage Handbook of  Conflict Resolution. London: SAGE Publications Ltd.
Boulding, K. (1989).  Three Faces of Power. Quoted in Miall et al. USA: Blackwell Publishers Inc., 1999


Coltri,  S.Laurie. (2004). Conflict diagnosis and alternative dispute resolution and Mediation. New Jersey. Pearson Prenice Hall.  
Coltri,  S.Laurie. (2004). Conflict diagnosis and alternative dispute resolution and Mediation. New Jersey. Pearson Prenice Hall.  
Fisher, Roger. Ury, William., Patton, Bruce. (1991). Getting to Yes : Negotiating an agreement without giving in. London: Random House.
Fisher, Roger. Ury, William., Patton, Bruce. (1991). Getting to Yes : Negotiating an agreement without giving in. London: Random House.
Furlong, T. Gary.  (2005).  The conflict resolution toolbook  models and maps for analyzing, diagnosing, and  resolving conflict. Canada: John wiley and sons Canada, ltd.
Furlong, T. Gary.  (2005).  The conflict resolution toolbook  models and maps for analyzing, diagnosing, and  resolving conflict. Canada: John wiley and sons Canada, ltd.
Lewicki  Roy J., .Saunders M. David, and Minton, W. John. (2001). Essentials of Negotiation. New York. Irwin/Mcgraw-Hill.  
Lewicki  Roy J., .Saunders M. David, and Minton, W. John. (2001). Essentials of Negotiation. New York. Irwin/Mcgraw-Hill.  
Miall, Hugh., Ramsbotham, Oliver., & Woodhouse, Tom.  (1999). Contemporary Conflict Resolution : the prevention, management and transformation of deadly conflicts. USA: Blackwell Publishers Inc.
Miall, Hugh., Ramsbotham, Oliver., & Woodhouse, Tom.  (1999). Contemporary Conflict Resolution : the prevention, management and transformation of deadly conflicts. USA: Blackwell Publishers Inc.
Morris, Catherine. (2004).Conflict analysis a tutorial. Retrieved February 9,2011, from Website http://www.peacemakers.ca
Morris, Catherine. (2004).Conflict analysis a tutorial. Retrieved February 9,2011, from Website http://www.peacemakers.ca
Thomas, Kenneth & Killman, Ralph. (1974). “Developing a Forced-Choice Measure of Conflict-Handling Behavior,” Educational and Psycholigical Measurement XXXVII: 309-325.  
Thomas, Kenneth & Killman, Ralph. (1974). “Developing a Forced-Choice Measure of Conflict-Handling Behavior,” Educational and Psycholigical Measurement XXXVII: 309-325.  
Warner, Michael. (2001). Complex Problems,Negotiated Solutions.London: ITDG Publishing.
Warner, Michael. (2001). Complex Problems,Negotiated Solutions.London: ITDG Publishing.
Wilmot & Hocker. (2007). Interpersonal conflict. (Seventh edition). New York. Mcgraw-Hill,  
Wilmot & Hocker. (2007). Interpersonal conflict. (Seventh edition). New York. Mcgraw-Hill,  
Zartman , I. William, & Berman, Marueen. R. (1982). The Practical Negiator. USA: Halliday Lithograph.
Zartman , I. William, & Berman, Marueen. R. (1982). The Practical Negiator. USA: Halliday Lithograph.
Zartman, I.William. (2009).  “Conflict Resolution and Negotiation”. In The SAGE Handbook of Conflict Resolution, eds. Bercovitch, Jacob., Victor  Kremenyuk, & I. William Zartman  (2009).  London: SAGE Publications Ltd.
Zartman, I.William. (2009).  “Conflict Resolution and Negotiation”. In The SAGE Handbook of Conflict Resolution, eds. Bercovitch, Jacob., Victor  Kremenyuk, & I. William Zartman  (2009).  London: SAGE Publications Ltd.


[[หมวดหมู่:การป้องกันความขัดแย้งและการยุติความขัดแย้ง]]
[[หมวดหมู่:การป้องกันความขัดแย้งและการยุติความขัดแย้ง]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:13, 22 พฤษภาคม 2557

ผู้แต่ง : นายชลัท ประเทืองรัตนา ผู้ทรงคุณวุฒิ : พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ

1.ความสำคัญของการเจรจาไกล่เกลี่ย

ความขัดแย้งที่ขยายตัวกลายเป็นความรุนแรงนำมาซึ่งความสูญเสียทั้งทางร่างกาย การสูญเสียชีวิต และบาดแผลทางจิตใจ และมีโอกาสยกระดับจนนำไปสู่การแตกร้าวของสังคมในวงกว้าง สังคมไทยได้เผชิญกับความสูญเสียจากความรุนแรงมาอย่างยาวนานจนกระทั่งถึงปัจจุบันก็ยังมีตัวอย่างความรุนแรงในสังคมให้ได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ความเสียหายที่เกิดขึ้น มีทั้งที่สังคมไทยสามารถจัดการได้ ไม่เกิดการขยายตัวบานปลายไปสู่ความรุนแรงในวงกว้าง แต่ก็มีเหตุการณ์จำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถยุติลงได้ หรือยังไม่สามารถจัดการปัญหาได้ ตราบจนกระทั่งปัจจุบัน

เราลองนึกภาพเหตุการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรงในสังคมไทยที่ไม่สามารถจัดการได้ และยืดเยื้อเรื้อรังนั้น จะนำมาสู่การบั่นทอนการพัฒนาสังคมไทยขนาดไหน ปัญหาของการจัดการน้ำจืดน้ำเค็มที่ใช้ประตูกั้นน้ำจืด-น้ำเค็มมาแก้ปัญหา ที่จังหวัดสมุทรสงคราม จะเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีระบบการจัดการที่ดี ทำให้คนฝั่งน้ำจืด-น้ำเค็มที่ทำนาข้าวกับนากุ้งลุกมาห้ำหั่นกันเองเพื่อมิให้อีกฝ่ายเปิดประตูกั้นน้ำ แต่สุดท้ายก็สามารถพูดคุยกันจนได้ทางออกอย่างยั่งยืนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น จะเป็นอย่างไร ถ้าเกิดปัญหาการผ่าตัดต้อกระจกในโรงพยาบาล แล้วทำให้คนไข้ตาบอดหลายราย แล้วเกิดการฟ้องร้องจากคนไข้และญาติ ทำให้ความสัมพันธ์ของผู้ให้บริการกับผู้รับบริการแตกร้าว เสื่อมเสียชื่อเสียงโรงพยาบาล ผู้ป่วยก็ไม่ได้รับการเยียวยาทางจิตใจ แต่ปัญหานี้ก็คลี่คลายด้วยกระบวนการเยียวยาทางจิตใจและกระบวนการพูดคุย จะเป็นอย่างไร ถ้านักเรียนและนักศึกษาทำร้ายร่างกายกันทั้งบาดเจ็บรวมถึงเสียชีวิต โดยไม่มีระบบจัดการเยียวยาบาดแผลอันเจ็บปวดของผู้ที่เกี่ยวข้อง จะเป็นอย่างไร ถ้าวัดกับโรงโม่หินต้องมาทะเลาะกันจากการระเบิดหินของโรงโม่ แล้วก้อนหินกระเด็นใส่วัด จนกระทั่งพระสงฆ์ไม่สามารถปฏิบัติธรรมได้ จะเป็นอย่างไรถ้าสังคมไทยไม่สามารถพูดคุยกันเรื่องการเมืองได้ งานวิจัยของสถาบันพระปกเกล้า (2555) ให้ข้อมูลว่าความขัดแย้งทางการเมืองไทย ที่ผ่านมา เกิดการสูญเสียชีวิตมากกว่าร้อยคน บาดเจ็บมากกว่า 1,800 คน สังคมไทยอยู่กันด้วยความหวาดระแวง ความกังวล และประเทศชาติไม่สามารถพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่อง

การเจรจาไกล่เกลี่ย (Negotiation) จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการกับความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้นด้วยกระบวนการการพูดคุยกันอย่างเป็นระบบมีขั้นตอน มีศิลปะในการพูดคุยกันภายใต้บรรยากาศที่เอื้ออำนวยให้เกิด มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้คนที่ขัดแย้งกันสามารถมาเผชิญหน้ากันได้เมื่อถึงจุดหรือสถานการณ์ที่เหมาะสม และเป็นการพูดคุยที่เป็นการไกล่เกลี่ย ไม่เกลี้ยกล่อม ตะล่อม ข่มขู่และบังคับ แต่เป็นกระบวนการของความสมัครใจ และเกิดการยอมรับจากคู่กรณี เป็นการพูดคุยที่บรรลุเป้าหมายทั้ง 3 มุมที่ควรจะเป็น กล่าวคือบรรลุเป้าหมาย(เนื้อหา)ที่ชัดเจนร่วมกัน มีกระบวนการที่ยอมรับร่วมกัน และเกิดสัมพันธภาพต่อกันอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง สัมพันธภาพเปรียบได้กับกาวที่ช่วยเชื่อมเป้าหมายและวิธีการไว้ด้วยกัน อันจะส่งผลให้การจัดการความขัดแย้งเป็นไปได้อย่างลุล่วง สิ่งที่สำคัญคือ การยอมรับร่วมกันคงไม่ใช่เพียงการทำบันทึกข้อตกลงให้เสร็จสิ้นหรือเสร็จๆไปเท่านั้น มิเช่นนั้นก็จะประสบปัญหาดังที่ ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ (2546) กล่าวว่า “สนธิสัญญาสันติภาพหรือข้อตกลงสันติภาพนั้นมิได้เป็นการแก้ไขปัญหา หากเป็นเพียง “แช่เย็น” ความขัดแย้งไว้ชั่วคราวเพื่อให้เกิดโอกาสในการเจรจาหาลู่ทางแก้ไขปัญหาอื่นๆต่อไป”

2.แนวคิดการเจรจาไกล่เกลี่ย

2.1 นิยามความหมาย

ในชีวิตประจำวันพวกเราเจรจาไกล่เกลี่ย (Negotiation) อยู่ตลอดเวลา การเจรจาไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะการเจรจาที่เป็นทางการเท่านั้นอันทำให้เราอาจจะรู้สึกว่ามีความไกลตัวจากเราเท่านั้น เช่น การเจรจาระหว่างประเทศ การเจรจาธุรกิจ การเจรจายุติความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การเจรจากรณีความเห็นแตกต่างทางการเมือง เป็นต้น แต่ที่จริงการเจรจาเกิดขึ้นกับเราเสมอไม่ว่าจะเป็นการเจรจากับตนเองหรือการเจรจากับผู้อื่น การเจรจากับตนเอง เช่น จะไปเข้ารับการอบรมหรือนอนต่ออีกนิด จะทำงานที่บริษัทใดดี จะเลือกใครเป็นคู่ครองของเรา เป็นต้น สำหรับการเจรจากับคนอื่น เช่น การเจรจากับเพื่อนว่าจะไปกินข้าวที่ร้านไหน เล่นกีฬากันวันไหน การเจรจากับครอบครัวเรื่องสถานที่เที่ยวในวันหยุดการเจรจาแบ่งหน้าที่กันทำงานในครอบครัว การเจรจาว่าจะไปรับแฟนหรือจะไปประชุม เจรจากับสามีหรือภรรยาว่าจะดูทีวีช่องไหน การเจรจาขอขึ้นเงินเดือนกับนายจ้าง การเจรจาราคาซื้อขายสินค้าและตัวอย่างอื่นๆ อีกมากมายที่ไม่ได้กล่าวมา ณ ที่นี้

Negotiation มีผู้แปลและเรียกคำนี้แตกต่างกันไป แต่หนังสือแปลหรือหนังสือส่วนใหญ่จะใช้คำว่า การ “เจรจาต่อรอง” ถ้าเป็นการเจรจาแบบมุ่งเน้นผลแพ้ชนะผู้เขียนเห็นสอดคล้องว่าควรใช้คำว่า การเจรจาต่อรอง แต่ถ้าเป็นการเจรจาแบบมุ่งเน้นสร้างความร่วมมือ เน้นการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ไม่ทิ้งความขุ่นเคืองต่อกัน ผู้เขียนเห็นสอดคล้องตามที่ ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ (2550 : 179) ได้นิยามศัพท์ไว้ว่า “การเจรจาไกลเกลี่ย” ซึ่งเป็นกรณีที่คู่กรณีหันหน้ามาพูดคุยกันเอง ไม่ใช่การโต้แย้งกันว่าใครผิด ใครถูก แต่เป็นการมาทำความเข้าใจในความต้องการของแต่ละฝ่ายทั้งฝ่ายตนและฝ่ายอื่น

การเจรจานั้นมีผู้ให้นิยามความหมายไว้เป็นจำนวนมาก อาทิ Coltri (2004) นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย Maryland ให้นิยามความหมายไว้ว่า การเจรจาเป็นการมาพูดคุยกันเองโดยตรงของคู่กรณี และเป็นวิธีการที่ดีกว่าการไปฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรม สำหรับ Zartman (2009) ผู้เชี่ยวชาญด้านการเจรจาระหว่างประเทศจากสหรัฐอเมริกา เห็นว่าการเจรจาเป็นกระบวนการรวมจุดยืนของความขัดแย้งมาเป็นข้อตกลงร่วมกัน (Joint Agreement) การเจรจามีลักษณะที่แตกต่างจากการตัดสินใจด้วยการลงคะแนนเสียง และการพิพากษาโดยศาล ด้วยการหาความเห็นพ้องต้องกัน (Unanimity) ใน 3 ทาง คือ ใช่ ไม่ใช่หรือจะเจรจาต่อไป (Yes, No, Or Continue Negotiating) การเจรจาเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนกันมากกว่าชัยชนะของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นการให้บางสิ่ง (Give Something) เพื่อได้รับบางสิ่ง (Get Something) แม้ว่าอาจจะไม่ได้เท่ากันทั้งสองฝ่ายก็ตาม กระบวนการเจรจากระทำภายใต้บรรทัดฐานของสังคม (Norms) กระบวนการและผลลัพธ์ จึงไม่เหมือนกันมีความแตกต่างกันไปในแต่ละแห่ง ในขณะที่ วิลเลียม ยูริ (2545) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก็มีความเห็นในทิศทางเดียวกันว่าการเจรจา เป็นกระบวนการของการสื่อสารไปมาที่มุ่งหวังให้บรรลุข้อตกลงกับฝ่ายอื่น โดยที่ความต้องการบางส่วนของคุณได้รับการพิจารณาและบางส่วนอาจถูกคัดค้าน รวมถึง สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ (2549) ก็เห็นเช่นเดียวกันว่า ผู้ที่เข้าร่วมเจรจานั้นต้องการที่จะหาข้อสรุปที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย

2.2 เหตุผลและเงื่อนไขพื้นฐานของการเจรจาไกล่เกลี่ย

ทำไมต้องมีการเจรจา ? ไม่ว่าจะเป็นรัฐ กลุ่มหรือปัจเจก ต่างก็พอใจมากกว่าที่จะแก้ไขปัญหาเพียงฝ่ายเดียว ในเงื่อนไขที่เขาสามารถควบคุมการตัดสินใจและไม่ต้องพึ่งพิงฝ่ายอื่น อย่างไรก็ตาม เมื่อแต่ละฝ่ายเห็นว่าจะต้องมีการเจรจาเมื่อต้องพึ่งพิงฝ่ายอื่นและไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เพียงฝ่ายเดียว (Zartman, 2009) การเจรจาภายใต้สถานการณ์แบบใดที่มีความเหมาะสมและน่าจะทำให้การเจรจาประสบความสำเร็จ (Zartman (2009) เห็นว่าแต่ละฝ่ายก็ต้องมีการแลกเปลี่ยน เจรจาอย่างเท่าเทียมกัน รวมถึงกระบวนการก็ต้องได้รับการยอมรับจากคู่กรณี การยอมถอยหรือการยอมให้กันก็ต้องมาจากทั้งสองฝ่าย อยู่บนพื้นฐานของการแลกเปลี่ยน มิใช่มีเพียงฝ่ายเดียวที่ยอมให้อีกฝ่าย การละเลยความยุติธรรมในด้านของความเท่าเทียมกันจะส่งผลต่อการขัดขวางการเจรจา

ข้อสังเกตคือ การเจรจามีหลายระดับและความยากง่ายที่แตกต่างกันไป ปัญหาที่ไม่สลับซับซ้อนมีคนเกี่ยวข้องไม่มากนัก ไม่เกิดการสูญเสียชีวิต ทรัพย์สิน การเจรจาก็จะทำได้ไม่ยากนัก แต่ถ้าเกิดความรุนแรงอย่างยืดเยื้อเรื้อรัง การเจรจาเพียงอย่างเดียวอาจยังไม่เพียงพอ แต่ต้องมีกระบวนการอื่นๆเข้ามาร่วมด้วย หรือต้องเน้นจัดการในเรื่องอื่นๆที่เน้นคุณค่ามากกว่าเรื่องผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรม ดังที่ ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ (2546) มองว่าการแก้ไขข้อขัดแย้ง (Conflict Resolutions) ที่ลึกซึ้ง มิใช่การทำให้ข้อขัดแย้งหายไปด้วยการเจรจา แต่ต้องเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ในกรณีที่เกิดขึ้น และวิเคราะห์สภาพความขัดแย้งให้ลึกซึ้งโดยคำนึงถึงมิติแห่งความเป็นมนุษย์ ที่เน้นความเมตตาและการให้อภัย

2.3 ความแตกต่างระหว่างการเจรจากับการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง

การเจรจาเป็นการที่คู่กรณีหันหน้ามาพูดคุยกันเองได้โดยตรง สามารถพูดคุย เผชิญหน้าและตกลงกันได้เอง ไม่จำเป็นต้องพึ่งหรืออาศัยคนกลางแต่อย่างใด การพูดคุยกันเองนั้นถ้าสามารถเกิดขึ้นได้เป็นสิ่งที่ดีกว่าการอาศัยคนกลาง เพราะคู่กรณีไม่ต้องนำเรื่องของตนเองไปเปิดเผยให้คนอื่นได้รับรู้ ยกตัวอย่างการเจรจาระหว่างประเทศ ก็มักจะใช้การเจรจากันเองโดยใช้กระบวนการทางการทูตทั้งเรื่องเล็กไปจนกระทั่งเรื่องใหญ่ และมักจะดำเนินไปอย่างลับๆ ในระหว่างที่มีการเจรจา จนกระทั่งประสบความสำเร็จถึงจะเปิดเผยและ มีการทำบันทึกข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรในรูปแบบต่างๆ ร่วมกัน (สมพงศ์ ชูมาก, 2552)

อย่างไรก็ตามการเจรจาอาจเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าความสัมพันธ์ต่อกันไม่ดี หรือมีอารมณ์และความรู้สึกไม่พอใจซึ่งกันและกันมาก จนไม่สามารถหันหน้ามาพูดคุยกันหรือตกลงกันได้เอง ความรู้สึกเสียหน้าอาจเกิดขึ้นได้ถ้าพูดคุยกันเองแล้วต้องยอมให้อีกฝ่าย บางครั้งการพึ่งคนกลาง ก็จะหาทางออกได้เพราะคู่กรณีไม่รู้สึกเสียหน้าว่ายอมให้อีกฝ่าย แต่ที่ยอมให้ก็ด้วยเป็นเพราะยอมให้คนกลาง

การเจรจามีความแตกต่างจากการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางอย่างชัดเจน กล่าวคือการเจรจาไกล่เกลี่ยเป็นการที่คู่กรณีพูดคุยเพื่อหาข้อตกลงหรือยุติปัญหาด้วยกันเองโดยไม่ต้องพึ่งพิงบุคคลที่สาม ในขณะที่การไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง เป็นกระบวนการที่บุคคลที่สามเข้ามาช่วยกำกับกระบวนการและกระตุ้นให้คู่กรณีตัดสินใจหาข้อตกลงร่วมกัน เบอร์นาร์ด เมเยอร์ ผู้สอนและผู้ไกล่เกลี่ยที่มากด้วยประสบการณ์จาก CDR Associates ซึ่งเป็นองค์กรด้านการจัดการความขัดแย้งที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ เห็นว่าการเจรจาเป็นวิธีการที่คู่กรณีมักเลือกใช้ในการจัดการปัญหาเป็นอันดับแรก นอกเสียจากว่าปัญหามีระดับที่รุนแรงมากขึ้นจนควบคุมได้ยาก คู่กรณีจึงจะเลือกใช้วิธีการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง ด้วยการแสวงหาความช่วยเหลือจากภายนอกหรือบุคคลที่สาม (เมเยอร์,2553) ในสังคมไทยมีตัวอย่างมากมายที่คู่กรณีเจรจากันเองได้สำเร็จ และไม่สามารถเจรจากันได้เอง โดยต้องอาศัยหรือพึ่งคนกลาง เข้ามาช่วยจัดการปัญหาดังจะได้ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนขึ้นต่อไป สำหรับการนำเสนอ ชุดความรู้ในเรื่องนี้ จะเน้นไปที่การเจรจาไกล่เกลี่ย (Negotiation) โดยไม่รวมในส่วนของการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง (Mediation) ซึ่งจะกล่าวถึงโดยละเอียดในชุดความรู้ส่วนต่อไป


2.4 ประโยชน์ของการเจรจาไกล่เกลี่ย

ดังที่เราทราบกันว่า ความขัดแย้งเกิดขึ้นจากเป้าหมายที่ไปกันไม่ได้ แต่เป้าหมายที่ขัดกันยังไม่ใช่ปัญหา ปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อคู่ขัดแย้งพยายามมีอำนาจเหนือกว่าอีกฝ่าย อันจะทำให้ข้อตกลงในการร่วมมือกันถูกขัดขวาง หรืออาจจะนำไปสู่ความรุนแรงได้ ความขัดแย้งขยายตัวจนกระทั่งนำไปสู่หนึ่งในสามผลลัพธ์นี้เกิดขึ้นคือ ชัยชนะของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือความเจ็บปวดเกิดขึ้นจนทำให้คู่ขัดแย้งพิจารณาหาทางลดความขัดแย้ง และเกิดสภาพที่ ไม่สามารถเอาชนะกันได้คงที่ การเจรจาสามารถใช้ในการป้องกันความขัดแย้งขยายตัวไปสู่ความรุนแรงหรือการเจรจาถูกใช้ในการจัดการความขัดแย้ง เป็นการลดความรุนแรงลงมา หรือเป็นวิธีในการแก้ไขเป้าหมายที่ขัดกันไม่ได้ หรือแปรเปลี่ยนความขัดแย้งไปสู่ความสัมพันธ์แบบร่วมมือ การเจรจายังเป็นประโยชน์เมื่อต้องการควบคุมผลลัพธ์ได้เอง ไม่ต้องไปพึ่งการลงคะแนนเสียงหรือการตัดสินจากศาล (Zartman, 2009) การเจรจากันระหว่างคู่กรณีนั้น ผู้ที่ตัดสินใจยุติหรือหาข้อตกลงก็คือคู่กรณีเอง คู่กรณีเป็นผู้ชี้ขาดที่จะหาจุดที่ลงตัวร่วมกันด้วยตนเอง ดีกว่าที่จะต้องไปให้คนอื่น เช่น ผู้พิพากษา หรืออนุญาโตตุลาการชี้ขาด ดังนั้น การยุติเรื่องด้วยตนเองก็จะนำไปสู่ความพึงพอใจร่วมกัน

การเจรจา ดีกว่าหลีกเลี่ยงปัญหาหรือใช้การบังคับ Wilmot (2007) เห็นว่าการเจรจาอยู่ตรงกลางระหว่างการไม่ทำอะไรด้วยการหลีกเลี่ยงหรือหลีกหนีปัญหา กับการบังคับด้วยอำนาจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของตน ซึ่งการเจรจานั้นเกิดผลดีที่คู่กรณีได้มาพูดมาคุยกัน ดีกว่าการหลีกหนีปัญหาซึ่งทำให้ปัญหาที่แท้จริงไม่ได้รับการแก้ไข ความพึงพอใจก็ไม่เกิดขึ้น เหมือนซุกปัญหาอยู่ใต้พรม เมื่อเปิดพรมขึ้นมาก็เจอปัญหาหรือเศษขยะอยู่ดี หรือแม้แต่การบังคับก็อาจทำให้ได้รับชัยชนะ ด้วยพลังอำนาจที่เหนือกว่า แต่สร้างความขุ่นเคือง เกิดความสัมพันธ์ที่ร้าวฉาน ไม่สามารถคบหากันได้อย่างสนิทใจ และคนที่ได้รับชัยชนะด้วยการบังคับก็ต้องคอยหวาดระแวงว่าจะถูกใช้กำลังบังคับเอาคืนบ้าง

ที่มา: Wilmot & Hocker 2007: 244

บรรณานุกรม

เครตัน, เจมส์ แอล. (2547). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจของชุมชน. (วันชัย วัฒนศัพท์, ผู้แปล) ขอนแก่น: ศิริภันฑ์ ออฟเซ็ท. ( ต้นฉบับพิมพ์ปี, 1992)

ฉันทนา บรรพศิริโชติ หวันแก้ว. (2547). ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับสันติวิธีและธรรมชาติของความขัดแย้งในสังคมไทย. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2533). ท้าทายทางเลือก: ความรุนแรงและการไม่ใช้ความรุนแรง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โกมลคีมทอง.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2546). อาวุธมีชีวิต แนวคิดเชิงวิพากษ์ว่าด้วยความรุนแรง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน.

ชลัท ประเทืองรัตนา. (2555). กระบวนการและปัจจัยแห่งความสำเร็จในจัดการความขัดแย้งกรณีประตูกั้นน้ำจืด-น้ำเค็ม แพรกหนามแดง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และกรณีผ่าตัดต้อกระจกติดเชื้อ โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปีที่ 31 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ.2555., หน้า 38-52.

ชลัท ประเทืองรัตนา. ความขัดแย้งในการใช้พื้นที่หนองใหญ่ ตำบลบางลึก อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2554. หน้า 173-197

บอนพิน, เท็ด. (2550). คู่มือการเพิ่มพลังความสามารถกระบวนการจัดการข้อพิพาท. (วันชัย วัฒนศัพท์, ถวิลวดี บุรีกุลและศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์, ผู้แปล) นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

ไพศาล วิสาโล. (2550). สร้างสันติด้วยมือเรา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม : ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล.

มัวร์, คริสโตเฟอร์. (2542). กระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง (วันชัย วัฒนศัพท์, ผู้แปล) ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท.

มอริส, แคธเธอรีน. (2547). การจัดการความขัดแย้งและการขอโทษ. (วันชัย วัฒนศัพท์, ผู้แปล). นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

ไรค์เลอร์, ลุค. (2548). การสร้างสันติภาพ : คู่มือภาคสนาม. (พรรณงาม เง่าธรรมสาร, ผู้แปล). นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

ศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า. (2547). ศัพท์บัญญัติเกี่ยวกับการแก้ปัญหาและความขัดแย้ง. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า

หรรษา ธมมหาโส (นิธิบุณยากร). พุทธสันติวิธี : การบูรณาการหลักการและเครื่องมือจัดการความขัดแย้ง. กรุงเทพฯ : บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

ฟิชเชอร์, โรเจอร์., ยูริ, วิลเลียม, และแพ็ทตัน, บรู๊ซ. (2545). กลยุทธ์การเจรจาต่อรอง. (ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

เมเยอร์, เบอร์นาร์ด. (2553). พลวัตรการจัดการความขัดแย้ง. (นายแพทย์บรรพต ต้นธีรวงศ์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คบไฟ.

มาร์คัส ลีโอนาร์ด เจ.และคณะ. (2552). เจรจาแนวใหม่ มิติแห่งการป้องกันและระงับความขัดแย้งในทีมงานและระบบสุขภาพ. (นายแพทย์บรรพต ต้นธีรวงศ์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์คบไฟ.

ยูริ, วิลเลียม. (2545). เอาชนะคำว่าไม่ใช่เรื่องยาก. (ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์, ผู้แปล). นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

วันชัย วัฒนศัพท์, บรรพต ต้นธีรวงศ์, ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์. (2549) การจัดการความขัดแย้งในระบบบริการสาธารณสุข : หลักการ แนวปฏิบัติและนโยบาย.กรุงเทพฯ : ศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข.

วันชัย วัฒนศัพท์. (2550). ความขัดแย้ง: หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา....พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท.

วิชัย โถสุวรรณจินดา. (2551) .ครบเครื่องเรื่องการเจรจาต่อรอง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

ศรีเพ็ญ ศุภพิทยากุล .(2552). มนุษย์กับสันติภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.(2553).ร้อยเรื่องราวในรอบวัน งาน R2R ครั้งที่ 3. วันที่ 14 กรกฎาคม 2553 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี.

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2549). กลยุทธ์การเจรจาต่อรอง.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า. หลักสูตรแนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีสำหรับนักเรียนและนักศึกษา. เอกสารไม่ตีพิมพ์.

สถาบันพระปกเกล้า. (2555) แนวทางสร้างความปรองดองแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า

สมพงศ์ ชูมาก. (2552). การแก้ไขความขัดแย้งระหว่างประเทศใน ศรีเพ็ญ ศุภพิทยากุล บก.2552. มนุษย์กับสันติภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนันต์ชัย คงจันทร์ "การบริหารความขัดแย้งเพื่อสร้างสันติภาพในองค์การ" ศรีเพ็ญ ศุภพิทยากุล .(2552). มนุษย์กับสันติภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาษาอังกฤษ

Bercovitch, Jacob., Kremenyuk, Victor., & Zartman, I. William. (2009). The Sage Handbook of Conflict Resolution. London: SAGE Publications Ltd.

Boulding, K. (1989). Three Faces of Power. Quoted in Miall et al. USA: Blackwell Publishers Inc., 1999

Coltri, S.Laurie. (2004). Conflict diagnosis and alternative dispute resolution and Mediation. New Jersey. Pearson Prenice Hall.

Fisher, Roger. Ury, William., Patton, Bruce. (1991). Getting to Yes : Negotiating an agreement without giving in. London: Random House.

Furlong, T. Gary. (2005). The conflict resolution toolbook models and maps for analyzing, diagnosing, and resolving conflict. Canada: John wiley and sons Canada, ltd.

Lewicki Roy J., .Saunders M. David, and Minton, W. John. (2001). Essentials of Negotiation. New York. Irwin/Mcgraw-Hill.

Miall, Hugh., Ramsbotham, Oliver., & Woodhouse, Tom. (1999). Contemporary Conflict Resolution : the prevention, management and transformation of deadly conflicts. USA: Blackwell Publishers Inc.

Morris, Catherine. (2004).Conflict analysis a tutorial. Retrieved February 9,2011, from Website http://www.peacemakers.ca

Thomas, Kenneth & Killman, Ralph. (1974). “Developing a Forced-Choice Measure of Conflict-Handling Behavior,” Educational and Psycholigical Measurement XXXVII: 309-325.

Warner, Michael. (2001). Complex Problems,Negotiated Solutions.London: ITDG Publishing.

Wilmot & Hocker. (2007). Interpersonal conflict. (Seventh edition). New York. Mcgraw-Hill,

Zartman , I. William, & Berman, Marueen. R. (1982). The Practical Negiator. USA: Halliday Lithograph.

Zartman, I.William. (2009). “Conflict Resolution and Negotiation”. In The SAGE Handbook of Conflict Resolution, eds. Bercovitch, Jacob., Victor Kremenyuk, & I. William Zartman (2009). London: SAGE Publications Ltd.