ผลต่างระหว่างรุ่นของ "“เจรจา เจรจา เจรจา” ทางออกของความขัดแย้งในประเทศไทยจริงหรือไม่"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ ---- ความขั...'
 
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 13 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 1 คน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
'''ผู้เรียบเรียง''' ศุภณัฐ  เพิ่มพูนวิวัฒน์  
'''ผู้เรียบเรียง''' ศุภณัฐ  เพิ่มพูนวิวัฒน์  
----
'''วารสารสถาบันพระปกเกล้า ปี 2553 เล่มที่ 1'''
----
----
ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่ม “แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ” (นปช.) หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนามของคน “เสื้อแดง” กับรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2551 ต่อเนื่องมาจนถึงเดือนพฤษภาคม 2553 และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะหาทางออกกันได้อย่างไร ความขัดแย้งนี้ได้สร้างความแตกแยกให้กับคนในสังคมไทยอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน สิ่งที่น่าเป็นห่วงและกังวลมากขึ้นคือ ความขัดแย้งได้กลายเป็นความรุนแรงและมีการพัฒนายกระดับของความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเห็นได้จากการมีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชน และความมั่นคงทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันหลักของชาติ
ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่ม “แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ” (นปช.) หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนามของคน “เสื้อแดง” กับรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2551 ต่อเนื่องมาจนถึงเดือนพฤษภาคม 2553 และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะหาทางออกกันได้อย่างไร ความขัดแย้งนี้ได้สร้างความแตกแยกให้กับคนในสังคมไทยอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน สิ่งที่น่าเป็นห่วงและกังวลมากขึ้นคือ ความขัดแย้งได้กลายเป็นความรุนแรงและมีการพัฒนายกระดับของความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเห็นได้จากการมีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชน และความมั่นคงทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันหลักของชาติ
บรรทัดที่ 6: บรรทัดที่ 8:


คำถามและคำตอบเหล่านี้เป็นสิ่งท้าท้ายกับคนในสังคมไทยทุกคนที่ต่างจับจ้องและเฝ้ามองดูสถานการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรงกันอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะนักสันติวิธีที่พยายามเรียกร้องและต้องการพิสูจน์ว่าการพูดคุยกันเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีและยั่งยืนกว่าการใช้ความรุนแรง ซึ่งแนวคิดและวิธีการนั้นตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น เราในฐานะพลเมืองไทยคนหนึ่งคงต้องหันมาช่วยกันหาคำตอบเหล่านี้ และหากเห็นว่าการเจรจาไกล่เกลี่ยเป็นหนทางหนึ่งที่ดี พลเมืองคนไทยจะมีส่วนร่วมในการผลักดันให้เกิดการพูดคุยกันอย่างไรได้บ้าง ทั้งนี้เพื่อนำความสันติสุขสถาพรให้กลับคืนสู่สังคมไทยต่อไป
คำถามและคำตอบเหล่านี้เป็นสิ่งท้าท้ายกับคนในสังคมไทยทุกคนที่ต่างจับจ้องและเฝ้ามองดูสถานการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรงกันอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะนักสันติวิธีที่พยายามเรียกร้องและต้องการพิสูจน์ว่าการพูดคุยกันเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีและยั่งยืนกว่าการใช้ความรุนแรง ซึ่งแนวคิดและวิธีการนั้นตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น เราในฐานะพลเมืองไทยคนหนึ่งคงต้องหันมาช่วยกันหาคำตอบเหล่านี้ และหากเห็นว่าการเจรจาไกล่เกลี่ยเป็นหนทางหนึ่งที่ดี พลเมืองคนไทยจะมีส่วนร่วมในการผลักดันให้เกิดการพูดคุยกันอย่างไรได้บ้าง ทั้งนี้เพื่อนำความสันติสุขสถาพรให้กลับคืนสู่สังคมไทยต่อไป
ที่มาของการหวนคืน เสียงปืนลั่น ระเบิดดัง มนต์ขลังของเดือนเมษายน


กลุ่ม “แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ” (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง เป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่สนับสนุนอดีตนายก พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร และต่อต้านระบอบเผด็จการเริ่มขึ้นอย่างจริงจังหลังจากมีการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ที่ผ่านมา กลุ่มคนเสื้อแดงได้รวมตัวกันอย่างต่อเนื่องเพื่อขับไล่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) แต่เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่โดยใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 และพรรคพลังประชาชนได้รับเสียงข้างมากในการจัดตั้งรัฐบาล จึงทำให้กลุ่มคนเสื้อแดงแยกย้ายกันไประยะหนึ่ง  ซึ่งในขณะนั้นมีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลในการบริหารประเทศ
==ที่มาของการหวนคืน เสียงปืนลั่น ระเบิดดัง มนต์ขลังของเดือนเมษายน ==


ไม่ว่ารัฐบาลพรรคไหนจะเข้ามาบริหารประเทศ ปรากฎการณ์ที่เห็นกันบ่อยครั้งในรอบเกือบ 10 ปีที่ผ่านมาคือการชุมนุมประท้วงเพื่อแสดงออกทางการเมือง ซึ่งมักจะเห็นกลุ่มคนเสื้อสีต่างๆ ออกมาคัดค้าน ไม่ว่าจะเป็นเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดง เช่นเดียวกับรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช ได้มีการรวมตัวกันของกลุ่มคนเสื้อเหลืองออกมาต่อต้านรัฐบาลอนายสมัครอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มเข้าดำรงตำแหน่ง โดยเฉพาะประเด็นที่รัฐบาลของนายสมัครและพรรคร่วมรัฐบาลต้องการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550  การชุมนุมของคนเสื้อเหลืองเมื่อปี 2551 เพื่อขอให้นายกสมัครลาออกในขณะนั้น ยังไม่มีท่าทีว่าจะยุติลง แต่ท้ายที่สุดนายสมัคร สุนทรเวช ได้ถูกศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากกระทำกิจการเพื่อประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้นในลักษณะที่เป็นหุ้นส่วน จึงเป็นการกระทำการอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 มีผลให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่านายกรัฐมนตรีกระทำการอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 จึงเป็นเหตุให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 180 วรรคหนึ่ง (1)   
กลุ่ม “แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ” (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง เป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่สนับสนุนอดีตนายก พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร และต่อต้านระบอบเผด็จการเริ่มขึ้นอย่างจริงจังหลังจากมีการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ที่ผ่านมา กลุ่มคนเสื้อแดงได้รวมตัวกันอย่างต่อเนื่องเพื่อขับไล่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) แต่เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่โดยใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 และพรรคพลังประชาชนได้รับเสียงข้างมากในการจัดตั้งรัฐบาล จึงทำให้กลุ่มคนเสื้อแดงแยกย้ายกันไประยะหนึ่ง<ref> วิกีพิเดีย สารนุกรมเสรี, http://th.wikipedia.org/wiki</ref>  ซึ่งในขณะนั้นมีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลในการบริหารประเทศ
 
ไม่ว่ารัฐบาลพรรคไหนจะเข้ามาบริหารประเทศ ปรากฎการณ์ที่เห็นกันบ่อยครั้งในรอบเกือบ 10 ปีที่ผ่านมาคือการชุมนุมประท้วงเพื่อแสดงออกทางการเมือง ซึ่งมักจะเห็นกลุ่มคนเสื้อสีต่างๆ ออกมาคัดค้าน ไม่ว่าจะเป็นเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดง เช่นเดียวกับรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช ได้มีการรวมตัวกันของกลุ่มคนเสื้อเหลืองออกมาต่อต้านรัฐบาลอนายสมัครอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มเข้าดำรงตำแหน่ง โดยเฉพาะประเด็นที่รัฐบาลของนายสมัครและพรรคร่วมรัฐบาลต้องการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550  การชุมนุมของคนเสื้อเหลืองเมื่อปี 2551 เพื่อขอให้นายกสมัครลาออกในขณะนั้น ยังไม่มีท่าทีว่าจะยุติลง แต่ท้ายที่สุดนายสมัคร สุนทรเวช ได้ถูกศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากกระทำกิจการเพื่อประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้นในลักษณะที่เป็นหุ้นส่วน จึงเป็นการกระทำการอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 มีผลให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่านายกรัฐมนตรีกระทำการอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 จึงเป็นเหตุให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 180 วรรคหนึ่ง (1)<ref>มติชนรายวัน วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11141</ref>  


ต่อมามีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่โดยมีนายสมชาย วงสวัสดิ์ ซึ่งมาจากพรรคพลังประชาชนเช่นเดียวกันมาเป็นนายกรัฐมนตรี แต่อยู่ในตำแหน่งได้ไม่นานก็ถูกศาลรัฐธรรนูญพิพากษายุบพรรคพลังประชาชนเนื่องจากกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง เป็นเหตุให้นายสมชาย วงสวัสดิ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเช่นเดียวกับนายสมัคร สุนทรเวช เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงได้มีการเปลี่ยนขั้วอำนาจทางการเมืองใหม่ นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ ปรึกษาหารือกันกับพรรคการเมืองอื่นๆ และลงมติให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
ต่อมามีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่โดยมีนายสมชาย วงสวัสดิ์ ซึ่งมาจากพรรคพลังประชาชนเช่นเดียวกันมาเป็นนายกรัฐมนตรี แต่อยู่ในตำแหน่งได้ไม่นานก็ถูกศาลรัฐธรรนูญพิพากษายุบพรรคพลังประชาชนเนื่องจากกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง เป็นเหตุให้นายสมชาย วงสวัสดิ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเช่นเดียวกับนายสมัคร สุนทรเวช เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงได้มีการเปลี่ยนขั้วอำนาจทางการเมืองใหม่ นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ ปรึกษาหารือกันกับพรรคการเมืองอื่นๆ และลงมติให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
บรรทัดที่ 16: บรรทัดที่ 19:
ด้วยเหตุดังกล่าว คนเสื้อแดงซึ่งเป็นฝ่ายสนับสนุนพรรคพลังประชาชนและอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร จึงเกิดความไม่พอใจและรู้สึกว่าไม่มีความเป็นประชาธิปไตย อ้างว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นรัฐบาลสองมาตรฐานไม่มีความชอบธรรมในการบริหารประเทศและขอให้ยุบสภาหรือลาออก จึงได้รวมตัวกันชุมชนประท้วงต่อต้านมาตั้งแต่ปี 2552 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2552 ได้เกิดเหตุการณ์สงกรานต์เลือด จนทำให้รัฐบาลต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และดำเนินการกับผู้ก่อความไม่สงบ ซึ่งดูเหมือนว่าทุกอย่างจะสงบแล้ว   
ด้วยเหตุดังกล่าว คนเสื้อแดงซึ่งเป็นฝ่ายสนับสนุนพรรคพลังประชาชนและอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร จึงเกิดความไม่พอใจและรู้สึกว่าไม่มีความเป็นประชาธิปไตย อ้างว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นรัฐบาลสองมาตรฐานไม่มีความชอบธรรมในการบริหารประเทศและขอให้ยุบสภาหรือลาออก จึงได้รวมตัวกันชุมชนประท้วงต่อต้านมาตั้งแต่ปี 2552 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2552 ได้เกิดเหตุการณ์สงกรานต์เลือด จนทำให้รัฐบาลต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และดำเนินการกับผู้ก่อความไม่สงบ ซึ่งดูเหมือนว่าทุกอย่างจะสงบแล้ว   


แม้เหตุการณ์สงกรานต์เลือดปี 2552 จะผ่านไปไม่ถึง 1 ปี ความขัดแย้งทางการเมืองก็ยังไม่สิ้นสุดแต่กลับครุกรุ่นหวนคืนกับมาอีกครั้งพร้อมกับเสียงปืนและระเบิดที่รุนแรงมากกว่าเดิม โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 10 และ 28เมษายน 2553 ได้เกิดเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างทหารที่ต้องการขอพื้นที่การชุมนุมคืนกับกลุ่มคนเสื้อแดงในเขตกรุงเทพมหานคร ทำให้มีคนได้บาดเจ็บ 966 คน เสียชีวิต 27 คน  ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่า ขณะที่ได้มีการปะทะกันระหว่างฝ่ายรัฐบาลและคนเสื้อแดง ได้มีหลักฐานสำคัญทั้งภาพถ่ายและเทปบันทึกจากช่างภาพชาวไทยและต่างประเทศว่ามีกลุ่มกองกำลังติดอาวุธปืนสงครามกำลังยิงต่อสู้ ขว้างระเบิดใส่เข้ากลุ่มทหารและยิงทำร้ายประชาชน    ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดเป็นข้อถกเถียงกันระหว่างฝ่ายรัฐบาลและกลุ่มคนเสื้อแดงว่าคนชุดดำที่ติดอาวุธเป็นฝ่ายไหน ซึ่งก็ยังไม่สามารถหาคำตอบได้โดยต่างฝ่ายต่างอ้างว่าไม่ใช่พวกของตัวเอง ประเด็นที่สำคัญขณะนี้คงไม่ใช่มาเถียงกันว่าใครเป็นคนยิงทหารและประชาชน แต่สิ่งที่น่าคิดคือความขัดแย้งได้กลายเป็นความรุนแรงอย่างสิ้นเชิงแล้ว และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะลงเอยกันอย่างไร ความเสียหายที่เกิดขึ้นนับว่าเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทยก็ว่าได้ เมื่อเปรียบเทียบกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการต่อสู้ทางการเมืองตั้งแต่ปี 2516 ดังตารางต่อไปนี้
แม้เหตุการณ์สงกรานต์เลือดปี 2552 จะผ่านไปไม่ถึง 1 ปี ความขัดแย้งทางการเมืองก็ยังไม่สิ้นสุดแต่กลับครุกรุ่นหวนคืนกับมาอีกครั้งพร้อมกับเสียงปืนและระเบิดที่รุนแรงมากกว่าเดิม โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 10 และ 28เมษายน 2553 ได้เกิดเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างทหารที่ต้องการขอพื้นที่การชุมนุมคืนกับกลุ่มคนเสื้อแดงในเขตกรุงเทพมหานคร ทำให้มีคนได้บาดเจ็บ 966 คน เสียชีวิต 27 คน<ref>รายการก๊วนข่าวเช้าวันหยุด ไทยทีวีสีช่อง 3 วันที่ 1 พฤษภาคม 2553 </ref> ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่า ขณะที่ได้มีการปะทะกันระหว่างฝ่ายรัฐบาลและคนเสื้อแดง ได้มีหลักฐานสำคัญทั้งภาพถ่ายและเทปบันทึกจากช่างภาพชาวไทยและต่างประเทศว่ามีกลุ่มกองกำลังติดอาวุธปืนสงครามกำลังยิงต่อสู้ ขว้างระเบิดใส่เข้ากลุ่มทหารและยิงทำร้ายประชาชน    ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดเป็นข้อถกเถียงกันระหว่างฝ่ายรัฐบาลและกลุ่มคนเสื้อแดงว่าคนชุดดำที่ติดอาวุธเป็นฝ่ายไหน ซึ่งก็ยังไม่สามารถหาคำตอบได้โดยต่างฝ่ายต่างอ้างว่าไม่ใช่พวกของตัวเอง ประเด็นที่สำคัญขณะนี้คงไม่ใช่มาเถียงกันว่าใครเป็นคนยิงทหารและประชาชน แต่สิ่งที่น่าคิดคือความขัดแย้งได้กลายเป็นความรุนแรงอย่างสิ้นเชิงแล้ว และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะลงเอยกันอย่างไร ความเสียหายที่เกิดขึ้นนับว่าเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทยก็ว่าได้ เมื่อเปรียบเทียบกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการต่อสู้ทางการเมืองตั้งแต่ปี 2516 ดังตารางต่อไปนี้
 
ตารางเปรียบเทียบผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างปี 2516 – 2553 <ref>เพิ่งอ้าง</ref>
 
{| border="1" align="center"
|-
!width="200" style="background:#87cefa;" | เหตุการณ์
!width="100" style="background:#87cefa;" | บาดเจ็บ
!width="100" style="background:#87cefa;" | เสียชีวิต
!width="100" style="background:#87cefa;" | สูญหาย
|-
|14 ตุลาคม 2516
|align="center" |158
|align="center" |71
|align="center" |-
|-
|6 ตุลาคม 2519
|align="center" |145
|align="center" |38 (กว่า 500 ราย)
|align="center" |3,094
|-
|17-21 (พฤษภาทมิฬ)
|align="center" |1,000
|align="center" |52
|align="center" |69
|-
|เมษาเลือด 53 (เสื้อแดง)
|align="center" |966
|align="center" |27
|align="center" |-
|-
|เสื้อเหลือง (พค.-2ธค.51)
|align="center" |500
|align="center" |10
|align="center" |-
|-
|}
 
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่คนไทยทุกคนกำลังห่วงและไม่ต้องการให้เกิดขึ้นอีกในช่วงของสงกรานต์ปี 2554 คือ การหวนคืนมาของเสียงปืนและระเบิดในสภาวการณ์ที่เรียกว่า '''''“สงกรานต์ท่ามกลางสงครามกลางเมือง”''''
 
==ทางออกไหนที่สังคมไทยต้องการ: การใช้ความรุนแรงชนิดตาต่อตาฟันต่อฟัน หรือการใช้สันติวิธีเพื่อเจรจาไกล่เกลี่ย หรือการนิ่งเฉยปล่อยวาง==
 
หลายคนมีความเป็นห่วงและกังวลมากกับความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้นเพราะว่าได้มีการพัฒนายกระดับของความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มตั้งแต่การที่แต่ละฝ่ายมีความคิดเห็นหรือความต้องการที่ไม่ตรงกัน พัฒนามาเป็นการรวมตัวกัน ชุมนุมเรียกร้องความต้องการของตัวเองเพื่อให้อีกฝ่ายปฏิบัติตาม โดยรูปแบบการเรียกร้องมีตั้งแต่การปราศรัย การให้ข้อมูล รวมถึงการใช้วาจาพูดอย่างรุนแรงกับอีกฝ่ายหนึ่ง การปลุกระดม และใช้อาวุธปืนสงครามและระเบิด ซึ่งถือว่าเป็นความรุนแรงที่ร้ายแรง
 
คำถามที่น่าสนใจคือ “ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจะมีสิ่งที่ดีๆ ได้บ้างหรือไม่” โดยเฉพาะหากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความขัดแย้งที่สร้างสรรค์สามารถคลี่คลาย นำไปสู่ข้อยุติได้หรือหาทางออกได้ร่วมกัน ดังนั้น ถ้าเราเห็นตรงกันว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้อยู่เป็นประจำวันแล้ว การที่เราจะห้ามไม่ให้ความขัดแย้งเกิดขึ้นเลยไม่ว่าที่ใดคงจะเป็นไปได้ยากเพราะการกระทำเช่นนั้นเป็นการขัดกับหลักของธรรมชาติของความขัดแย้งคือเกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลาเป็นเรื่องธรรมดา ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความขัดแย้งกล่าวว่า ความขัดแย้งอาจเกิดในครอบครัว ในชุมชน ในองค์กร ในประเทศของเรา หรือระหว่างประเทศ ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย หากความขัดแย้งนั้นสามารถคลี่คลายตัวเองและเปลี่ยนไปในทางสร้างสรรค์ นำไปสู่ข้อยุติได้หรือหาทางออกได้ การที่คนเราคิดเห็นต่างกันเป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่จำเป็นต้องเป็นศัตรูกัน เมื่อเราคิดเห็นต่างกันก็เกิดความแย้งได้ตลอดเวลา แต่เราจะมองความขัดแย้งให้เป็นวิกฤตหรือโอกาส เช่น “No Problem, No Progress” แปลว่า “ที่ใดไม่มีปัญหาที่นั่นไม่มีความก้าวหน้า”<ref>วันชัย วัฒนศัพท์, ความขัดแย้ง...หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา, โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท พิมพ์ครั้งที่ 1 หน้า 9</ref> 
 
Coser นักทฤษฏีความขัดแย้งกล่าวว่า ความขัดแย้งไม่ได้เป็นเรื่องผิดปกติของความสัมพันธ์ทางสังคม แต่บ่อยครั้งที่เป็นความจำเป็นที่จะประสานความสัมพันธ์ไว้ ถ้าไม่มีการระบายแสดงความไม่พอใจที่มีต่อกัน อาจจะอกแตกตายได้ และจะแสดงปฏิกิริยาถอนตัวออกจากสังคม เมื่อมีการแก้ไขความรู้สึกที่รุนแรงหรือความไม่พึงพอใจ ความขัดแย้งก็กลายเป็นการสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ <ref>Alnm C. Tidwell, Conflict Resolved? A Critical Assessment of Conflict Resolution. P. 78</ref>
 
ประเด็นคำถามที่น่าสนใจก็คือ เมื่อความขัดแย้งจำเป็นต้องเกิดขึ้นไม่ว่าจะด้วยเหตุแห่งธรรมชาติหรือเหตุใดก็ตาม แล้ว “เราจะมีวิธีการจัดการหรือแก้ปัญหากับความขัดแย้งนั้นได้อย่างไรบ้าง”
 
คงไม่มีใครปฏิเสธว่าวิธีการจัดการและแก้ปัญหาความขัดแย้งหรือข้อพิพาทที่ใช้กันอยู่เดิมๆ มีได้ตั้งแต่การหลีกเลี่ยงปัญหาซึ่งผลลัพธ์คือปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขและยังคงอยู่ การหารสองหรือแบ่งครึ่ง ซึ่งทั้งสองฝ่ายก็ไม่ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการทั้งหมด  การยอมตามเป็นสิ่งที่สังคมไทยใช้กันมาก เป็นเพราะไม่ต้องการให้เกิดปัญหาแต่ก็ยังมีสิ่งที่ค้างคาใจเพราะจำใจต้องยอมตามในสิ่งที่ไม่เห็นด้วย การประนีประนอมซึ่งในภาษาไทยฟังดูดี แต่ในความหมายของคนตะวันตกแปลว่าพบกันคนละครึ่งทาง  ดังนั้น นักสันติวิธีบางคนจึงเปรียบเทียบการประนีประนอมเหมือนกับการบวกเลขคือ หนึ่งบวกหนึ่งเท่ากับครึ่งหนึ่ง เพราะมาพบกันเพียงครึ่งทางเท่านั้นไม่ได้อย่างที่แต่ละฝ่ายต้องการ หรือแย่ที่สุดคือการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา แต่วิธีการที่เห็นกันอยู่บ่อยๆ ก็คือ การฟ้องร้องต่อศาล เพื่อให้ผู้พิพากษาหรือผู้มีอำนาจเป็นผู้ตัดสินคดีความนั้น และดูเหมือนจะเป็นแนวทางเดียวที่ทุกฝ่ายรู้จักและใช้กันอยู่ 
 
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ในประเทศไม่ได้ลดน้อยลงเลย กลับกลายเป็นปัญหาอื่นเพิ่มขึ้น เช่น การมีคดีล้นศาลและคนล้นคุก เพราะแม้ว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีต่างพยายามที่จะพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเต็มที่แล้วก็ตาม แต่คดีที่ฟ้องร้องมายังศาลยังมีจำนวนมาก เป็นเหตุให้มีคดีค้างและรอการพิจารณาอยู่ในศาลจำนวนมาก ส่งผลให้การพิจารณาคดีต่างๆ เกิดความล่าช้าทั้งต่อคู่กรณีและผู้เกี่ยวข้อง สร้างความความไม่น่าเชื่อถือต่อกระบวนการยุติธรรมและผู้รับผิดชอบทุกฝ่าย อีกทั้งสูญเสียทั้งเวลาและงบประมาณแผ่นดินต่อหน่วยงานราชการโดยเฉพาะในหน่วยงานของกระบวนการยุติธรรม ซึ่งท้ายที่สุด ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้งานของกระบวนการยุติธรรมมีประสิทธิภาพและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างรวดเร็วและเท่าเทียมกัน
 
เมื่อสะท้อนถึงความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัฐบาลและ นปช. ในช่วงเวลาไม่นานมานี้ เราคงเห็นกันอย่างได้ชัดเจนว่า ทั้งสองฝ่ายต่างนำคดีความต่างๆ ขึ้นสู่ศาลเป็นรายวัน แม้ศาลจะคำพิพากษาติดสินแล้ว แต่ถ้าไม่ตรงกับความต้องการ ก็จะอุทธรณ์ต่อไป มีข้อสังเกตว่าแม้การชุมนุมประท้วงจะสิ้นสุดลงในวันข้างหน้า แต่เส้นทางของการต่อสู้ที่ได้มีการฟ้องร้องไปแล้วยังคงต้องดำเนินต่อไปวันแล้ววันเล่า
 
Simmel นักทฤษฏีความขัดแย้งกล่าวว่า ความขัดแย้งเกิดจากการรวมกลุ่มของมนุษย์ที่มีความแตกต่างกันทางด้านสังคม ความเป็นปัจเจกบุคคล ซึ่งมีความต้องการแตกต่างกัน ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกัน ความขัดแย้งของมนุษย์เหมือนกับสังคมที่ประกอบไปด้วยความรัก และความเกลียดชัง ความสามัคคีและความแตกแยก มีทั้งความกลมคลืนและการเข้ากันไม่ได้ 
 
Simmel ยังกล่าวว่าความขัดแย้งอาจยุติได้โดยทางใดทางหนึ่งใน 3 ทางนี้ คือ โดยชัยชนะของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยการประนีประนอมกัน และโดยการเจรจาไกล่เกลี่ย แต่ไม่ได้หมายความว่าความขัดแย้งทุกประเภทจะสามารถแก้ได้ด้วยสามวิธีนี้ เช่น ความขัดแย้งที่เกิดจากความรู้สึกที่รุนแรงเกลียดชัง ก็ไม่สามารถแก้ได้ด้วยการประนีประนอม เป็นต้น
 
เพื่อให้เห็นภาพจำลองและผลลัพธ์ของการจัดการความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทย จึงขอให้ผู้อ่านได้ช่วยกันพิจารณาทางออกของความขัดแย้งทางการเมือง 3 รูปแบบ ดังนี้ 
 
'''รูปแบบที่ 1 การใช้ระบบตาต่อตาฟันต่อฟัน''' ในการจัดการความขัดแย้งกับกลุ่มที่ก่อความไม่สงบในสังคม โดยมีสมมุติฐานที่ว่ารัฐมีความชอบธรรมในการกำหนดนโยบาย และดำเนินการภายใต้กรอบอำนาจของกฎหมายที่กำหนดไว้ นอกจากนี้รัฐมีหน้าที่ดูแลและรักความปลอดภัยให้แก่ประชาชนเพราะประชาชนได้มอบอำนาจโดยผ่านการเลือกตั้งให้แล้ว และแนวคิดของรัฐที่ว่ารัฐเป็นผู้ทำดีที่สุดแล้วเพื่อชนส่วนใหญ่ในการบริหารและพัฒนาประเทศ ดังนั้น ชนส่วนน้อยต้องยอมเสียสละแก่ชนส่วนใหญ่จึงต้องจัดการอย่างจริงจัง ซึ่งถ้าเราพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียก็อาจมีได้ดังนี้
 
{| border="1" align="center"
|-
!width="200" style="background:#87cefa;" | ข้อดีของการใช้นโยบายตาต่อตา ฟันต่อฟัน
!width="200" style="background:#87cefa;" | ข้อเสียของการใช้นโยบายตาต่อตา ฟันต่อฟัน
|-
|1. กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงถูกสลาย นำพื้นที่เศรษฐกิจการค้ากลับคืนมา
|1. ความรุนแรงขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับเพราะจะไม่มีฝ่ายใดยอมแพ้ สุดท้ายคือแพ้ทั้งคู่
|-
|2. สังคมได้เรียนรู้และได้ประสบการณ์ว่าการใช้ความรุนแรงไม่นำมาซึ่งแก้ปัญหาที่แท้จริง
|2. สภาพเศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิตและระบบการเมืองตกต่ำกว่าที่เป็นอยู่
|-
|3. ทุกสถาบันต้องทบทวนและหันมาดูตัวเองว่าเมื่อเกิดปัญหาแล้วทำไมแก้ไขไม่ได้และทำไมไม่ได้ครับการยอมรับ
|3. นักท่องเที่ยวและการลงทุนจากต่างชาติไม่กล้าเข้ามาในประเทศไทย สภาพต่างๆ ตกต่ำมากขึ้น
|-
|}
 
เพื่อเป็นการยืนยันว่า การใช้กำลังไม่สามารถจัดการความขัดแย้งได้  นักทฤษฏีชาวออสเตรเลียชื่อ Burton กล่าวว่าความขัดแย้งของมนุษย์ จะมองเพียงแต่ความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ไม่ได้ แต่จะต้องมองด้านจิตวิทยาและด้านสังคมไปพร้อมๆ กัน ซึ่งเชื่อว่าสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะการใช้กำลังในการจัดการความขัดแย้งไม่สามารถใช้ได้ตลอดไป การใช้กำลังหรือการบีบบังคับขมขู่เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ ก็ยิ่งเพิ่มพูนความขัดแย้งมากขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นหลักของพฤติกรรมมนุษย์ที่ทำเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของตนเอง <ref>Alnm C. Tidwell, Conflict Resolved? A Critical Assessment of Conflict Resolution. P. 90</ref> 
 
'''รูปแบบที่ 2 การใช้ความสันติวิธีหรือการเจรจาไกล่เกลี่ย'''  ในการจัดการความขัดแย้ง เช่น การสานเสวนาหรือการเจรจาไกล่เกลี่ย ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนและมักจะสร้างความลำบากใจให้แก่หน่วยงานและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นมักจะเกิดควบคู่ไปกับปัญหาอื่นๆ ด้วย
 
ในปัจจุบัน พบว่ากลุ่มคนหรือหน่วยงานหนึ่งหน่วยงานใดเพียงลำพังไม่อาจจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่มีความสลับซับซ้อนได้ด้วยตัวเอง หรือแม้แต่จะใช้ความรุนแรงปราบปรามก็ตาม แต่หากจะต้องนำกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเข้ามาใช้ในการแก้ปัญหา โดยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของตัวเอง เพราะจะเห็นได้ว่ามีนโยบายสาธารณะจำนวนมากที่ออกมาแล้วก่อให้เกิดปัญหา ความยุ่งยาก มีความสลับซับซ้อน ยากต่อการจัดการและควบคุม ตลอดจนไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้ ซึ่งหลายต่อหลายครั้งพบว่า “ไม่มีทางออกหรือแนวทางแก้ไข” หรือมีก็มีเพียงแต่แนวทางแก้ไขชั่วคราวหรือไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะโดยแท้จริงแล้วการที่ไม่นำกระบวนมีส่วนร่วมของประชาชนไปใช้ในการแก้ปัญหาเหล่านั้นนับว่าเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่ยั่งยืนหรือไม่ นอกจากนี้ การนำวิธีการแก้ปัญหาเฉพาะทางด้านเทคนิคมาใช้เป็นมาตรการ “การตัดช่องว่างหรือตัดตอน” เพียงอย่างเดียวคงจะไม่เกิดประโยชน์และไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะสิ่งสำคัญคือ จะทำอย่างไรให้เสียง ความต้องการหรือความคิดเห็นของสาธารณชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับการรับฟังอย่างแท้จริง 
 
ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองเกิดจากความต้องการที่แตกต่างกัน มีทั้งคนที่ได้รับประโยชน์และเสียประโยชน์ ซึ่งจะมากหรือมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้นั้น นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงกับความต้องการในด้านค่านิยม คุณค่า ความเชื่อ วิถีวัฒนธรรม ประเพณี หรือโลกทัศน์ ซึ่งจะเห็นว่าความต้องการและความรู้สึกเหล่านั้นเป็นผลกระทบที่อยู่นอกเหนือไปจากประเด็นปัญหาที่มีการบัญญัติไว้ในกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อมูลด้านเทคนิคที่มีอยู่ ซึ่งบางครั้งสังคมก็มีการละเลยกับประเด็นเหล่านี้เพราะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยไม่สำคัญเท่าไร แต่ความจริงเป็นปัญหาและทำให้สาธารณชนเกิดความไม่ลงรอยกันและแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่ายต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
 
ปัจจุบัน มีการยอมรับกันมากขึ้นว่าถ้าจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของสาธารณะ จะต้องให้สาธารณชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเพิ่มขึ้น สิ่งที่เราควรต้องดำเนินการขณะนี้และต่อๆ ในอนาคต น่าจะต้องใช้วิธีการที่แตกต่างไปจากวิธีการที่เคยปฏิบัติมาในอดีตหรือไม่ โดยเริ่มตั้งแต่การใช้คำพูดที่ทำให้ทุกคนรู้สึกว่าเป็นพวกหรือฝ่ายเดียวกัน เช่น ใช้คำพูดแทนทุกคนว่า “พวกเรา” โดยไม่ใช้คำว่า “ผมไม่เห็นด้วยกับคุณ” หรือ “พวกผมไม่เห็นด้วยกับพวกคุณ” น่าจะดีกว่าไหม เพราะวิธีการแบบใหม่นี้จะเกี่ยวข้องกับการเปิดโอกาสให้สาธารณชนเข้ามาช่วยดำเนินการและริเริ่มการเปลี่ยนแปลง โดยนำการสื่อสารสองทางมาใช้เป็นกลไกให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้กำหนดนโยบายและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายสาธารณะ
 
การสานเสวนา (Dialogue) เป็นกลไกอย่างหนึ่งของกระบวนการมีส่วนร่วมที่มีบทบาทสำคัญต่อการแก้ปัญหาความขัดแย้ง การสานเสวนานี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการเป็นฝักเป็นฝ่ายหรือตรงข้ามกัน โดยจะช่วยทำให้ปัญหาความต้องการที่ฝ่ายหนึ่งต้องเลือกว่า “ใช่” และอีกฝ่ายหนึ่งที่ต้องเลือกว่า “ไม่ใช่” ง่ายขึ้นต่อการจัดการและแก้ปัญหาได้ เพราะกระบวนการสานเสวนาจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกคนช่วยกันสะท้อนมุมมอง ความคิดเห็น ซึ่งแม้มีความแตกต่างระหว่างกัน ให้เกิดความเข้าใจและเรียนรู้ร่วมกันได้ง่ายขึ้น การสานเสวนาจะช่วยสร้างบรรทัดฐานในการประเมินแนวทางทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างกว้างขวาง และสามารถนำไปสู่การตัดสินใจร่วมกัน แต่มีข้อสังเกตว่าบรรทัดฐานดังกล่าวต้องอยู่บนพื้นฐานความต้องการที่แท้จริงของแต่ละฝ่าย ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันไป 
 
การสานเสวนา (Dialogue) จะช่วยเสริมสร้างความสามารถของประชาชนหรือผู้เข้าร่วมสานเสวนาในการที่จะ “คิด” “พูด” และ “ปฏิบัติ” ร่วมกันต่อประเด็นปัญหาของทุกคน กระบวนการสานเสวนาถูกออกแบบมาเพื่อสร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของทุกคน โดยมุ่งหวังที่จะให้เป็นรูปแบบและแนวทางการที่ก่อให้เกิดกระบวนการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนอย่างเป็นปกตินิสัย และเป็นประเพณีที่ใช้ต่อไปทุกๆ ครั้งที่เกิดปัญหาความขัดแย้งของสาธารณะ เพราะการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีบทบาทได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาอย่างชอบธรรมจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันมากขึ้น  ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของสาธารณะ กระบวนการที่ให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อสานเสวนาต่อปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะมาจากนโยบายสาธารณะหรือความขัดแย้งเรื่องอื่นๆ ก็ตาม จะทำให้เป็นกระบวนการบังคับให้ประชาชนหรือผู้เกี่ยวข้องหันหน้ามาคุยกันว่าแต่ละฝ่ายมีความต้องการ ห่วงกังวล หรือสนใจอะไรอยู่ ตลอดจนพิจารณาถึงคุณค่าของความต้องการของคนอื่นว่าอย่างไร จนในที่สุดสามารถจะรับรู้ถึงความต้องการของเขาและผู้อื่นได้ แต่พวกเขาจะไม่สามารถ “ได้รับสิ่งที่ต้องการได้ทั้งหมด”           
 
กระบวนการสานเสวนา แสดงให้เห็นว่าเมื่อประชาชนไม่ได้เป็นฝ่ายตรงกันข้ามแล้ว พวกเขาจะช่วยกันค้นหาสิ่งที่พวกเขาสามารถแบ่งปันร่วมกันได้ แม้ว่าพวกเขาจะไม่เห็นด้วยทั้งหมดในเรื่องนั้นก็ตาม
 
{| border="1" align="center"
|-
!width="200" style="background:#87cefa;" | ข้อดีของการใช้นโยบายสานเสวนาหรือการเจรจาไกล่เกลี่ย
!width="200" style="background:#87cefa;" | ข้อเสียของการใช้นโยบายสานเสวนาหรือการเจรจาไกล่เกลี่ย
|-
|1.  ปัญหาได้รับการแก้ไขตรงตามความต้องการที่แท้จริงของคู่กรณี 1.
|1.  ใช้เวลามากกว่าการใช้นโยบายตาต่อฟันต่อฟันหรือความรุนแรง
|-
|2.  สภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองจะมีการพัฒนาที่ดีขึ้นตามความต้องการของคนส่วนใหญ่
|2.  คู่พิพาทหรือผู้เกี่ยวข้องต้องสมัครเข้าร่วมกระบวนการ ถ้าไม่สมัครใจก็ใช้กระบวนการนี้ไม่ได้
|-
|3.  เป็นกระบวนหาทางออกร่วมกัน โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมและประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ
|3.  คนในสังคมยังไม่เข้าใจกระบวนการและผลของความสำเร็จ
|-
|}
 
'''รูปแบบที่ 3 การนิ่งเฉยหรือปล่อยวาง'''  ให้เวลาเป็นเครื่องตัดสิน ซึ่งสังคมไทยได้นำมาใช้บ่อยครั้ง และหลายครั้งก็ได้ผล ข้อดีและข้อเสียของการนิ่งเฉยมีตัวอย่างดังนี้
 
{| border="1" align="center"
|-
!width="200" style="background:#87cefa;" | ข้อดีของการนิ่งเฉย
!width="200" style="background:#87cefa;" | ข้อเสียของการนิ่งเฉย
|-
|1. ยืดระยะเวลาความเสียหายและความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น
|1. ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข และกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง
|-
|2.  ประชาชนเรียนรู้พฤติกรรมทางการเมืองของนักการเมืองและพรรคการเมืองมากขึ้น
|2.  ประชาชนเบื่อหน่ายต่อความขัดแย้งและการเมือง
|-
|3. ประชาชนได้เข้าใจและเตรียมตัวเตรียมใจต่อความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
|3. สังคม เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวแย่ลง
|-
|}
 
เมื่อพิจารณาภาพจำลองการจัดการความขัดแย้งทางการเมืองทั้ง 3 รูปแบบ ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย คงไม่มีใครต้องการให้ใช้วิธีตาต่อตาฟันต่อฟัน หรือปล่อยให้เวลาเป็นตัวแก้ปัญหา แต่การใช้การเจรจาหรือสันติวิธีน่าจะเป็นแนวทางที่ดีและเหมาะสมที่สุดไหม ดังนั้นการเจรจาสังคมไทยพึงปรารถนาน่าจะเป็นอย่างไร
 
 
== การเจรจาแบบไหนที่เราพึงปรารถนา: ไกล่เกลี่ย เกลี้ยกล่อม ตะล่อม บังคับ ขู่เข็ญ? ==
 
'''การเจรจาไกล่เกลี่ยคืออะไร  '''
 
การเจรจาไกล่เกลี่ยเกิดขึ้นได้ทุกๆ วัน อาจเกิดขึ้นในที่ทำงาน หน่วยงานและสถานที่อื่นๆ ตลอดจนในครอบครัวของเราเอง แต่ถ้าถามว่าจริงๆ แล้ว “การเจรจาไกล่เกลี่ยนั้นคืออะไร” ซึ่งJack Sawyer and Harold Guetzkow<ref>Jack Sawyer and Harold Guetzkow, “Bargaining and Negotiation in International Relations,” in International Behavior, ed. Herbert C. Kelman (New York: Holt, Rinehart and Winston, 1965)., 466, as cited in [Bell, 1988 #46], 235. </ref>  อธิบายว่า “การเจรจาไกล่เกลี่ยคือ กระบวนการที่มีคู่กรณีสองฝ่ายหรือมากกว่า ซึ่งอาจเป็นบุคคล กลุ่มคน หรือกลุ่มคนส่วนใหญ่ในสังคม ร่วมกันพัฒนาข้อตกลงที่มีโอกาสเป็นไปได้ร่วมกันเพื่อเป็นแนวทางและกฎกติกาในกิจกรรมร่วมกันของเขาทั้งหลายในอนาคต”
สรวิศ ลิมปรังษี<ref>ผู้พิพากษา, หนังสือการจัดการความขัดแย้งกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท สำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม หน้า 57. , 2550</ref>  กล่าวว่า การไกล่เกลี่ยคือกระบวนการที่ผู้ไกล่เกลี่ย ซึ่งเป็นคนกลาง ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องที่พิพาทเข้าช่วยคู่พิพาทให้ร่วมกันหารือ และทำความเข้าใจปัญหาข้อพิพาทที่เกิดขึ้นเพื่อแสวงหาหนทางแก้ไขปัญหาที่ทุกฝ่ายยอมรับ” ซึ่งการไกล่เกลี่ยต้องเกิดจากความสมัครใจของคู่กรณีด้วย และคนกลางไม่ใช่ผู้ตัดสินชี้ขาดและเป็นเพียงผู้กำกับกระบวนการอำนวยให้ทั้งสองฝ่ายได้พูดคุยกันเพื่อหาข้อตกลง ดังนั้น การเจรจาไกล่เกลี่ยไม่ใช่เกลี้ยกล่อม ตะล่อม บังคับ ขู่เข็ญ
 
'''เป้าหมายที่แตกต่างกันระหว่างรัฐบาลกับ นปช. : อะไรคือความสำเร็จของการเจรจาไกล่เกลี่ย'''
 
ความสำเร็จในการเจรจาไกล่เกลี่ยอาจมีความเข้าใจที่แตกต่างกันในวงการของนักเจรจาไกล่เกลี่ยหรือแม้แต่คู่กรณีก็ตาม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของแต่ละคนและแต่ละกรณีซึ่ง“ความสำเร็จ” ในที่นี้อาจหมายความถึง
 
• การชนะ หรือ
 
• เป็นเหตุที่ทำให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเลิกร้องเรียน หรือ
 
• คู่กรณีแยกทางกัน หรือ
 
• ทางออกที่ต้องได้เปรียบ หรือ
 
• การแก้ปัญหาชั่วคราว หรือ “หยุดยิง” ชั่วคราว หรือ
 
• การได้ข้อตกลงที่มั่นคงและยั่งยืน
 
• การตกลงกันได้ในที่สุดในประเด็นของการพิพาท หรือ
 
• การทำในสิ่งที่ถูกต้อง รวมถึงการชดใช้ หรือการซ่อมแซม ปรับปรุงแก้ไข หรือ
 
• การกลับมาคืนดีอย่างถาวร หรือ
 
• การสร้างหรือพัฒนาสัมพันธ์ภาพจนมีบรรยากาศที่ช่วยให้การเจรจาดำเนินไปได้
 
แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้ง อาจพิจารณาจากเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งข้างต้นก็ได้ ดังนั้น ความหมายของ “ความสำเร็จ” ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งจึงมีความหลากหลาย ซึ่งขึ้นอยู่กับเป้าหมายของแต่ละคู่กรณี ตัวแทน สถาบัน หรือชุมชนของคู่กรณี
 
การที่ฝ่าย นปช. แสดงจุดยืนหรือเป้าหมายว่าต้องยุบสภาภายใน 15 วัน หรือรัฐบาลต้องการยุบสภาภายใน 9 เดือน นั้น เป็นเพียงเป้าหมายหรือความสำเร็จที่แต่ละฝ่ายพูดออกมา แต่คงต้องพิจารณาต่อว่าสิ่งที่พูดออกมานั้นเป็นความต้องการที่แท้จริงหรือไม่ สิ่งที่น่าคิดต่อคือ ยังมีความสำเร็จอื่นๆ ไหมที่สามารถทำให้ทั้งสองไปถึงเป้าหมาย เหตุใดจึงต้องยึดโยงอยู่กับการยุบหรือไม่ยุบสภา
 
==คุณภาพของผลแห่งการเจรจาไกล่เกลี่ย<ref>This section draws from French language training materials developed by Sylvie Matteau, 2001, and is based on Ibid..</ref> ==
 
คุณภาพของข้อตกลงที่เกิดจากการเจรจาไกล่เกลี่ยอาจประเมินได้ดังนี้
 
• ยั่งยืนทนทาน (Durability): ข้อตกลงต้องไม่เป็นสาเหตุของความขัดแย้งในตัวเอง แต่ต้องเป็นสิ่งสำคัญที่จะมุ่งเน้นและแก้ไขความขัดแย้งหรือปัญหาทุกๆด้านอย่างครบถ้วนสมบูรณ์และยั่งยืน
 
• มีประสิทธิผล (Effectiveness): ข้อตกลงต้องไม่สลับซับซ้อนและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ข้อตกลงต้องมีรายละเอียดพอเพียงและชัดเจน สอดคล้องเหมาะสมกับทั้งทางกายภาพ ทางความสัมพันธ์ ชอบด้วยกฎหมาย และเงื่อนไขอื่นๆ
 
• โดยใช้ปัญญา (Wisdom): ข้อตกลงต้องพิจารณาและเลือกทางออกที่เป็นประโยชน์มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ โดยหลักการ ข้อตกลงได้เกิดจากความร่วมมือของคู่กรณีและผู้เกี่ยวข้องที่ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ ความชำนาญ 
 
• มีความยุติธรรม (Fairness): ข้อตกลงต้องแสดงให้เห็นว่าคู่กรณีทั้งสองได้รับความยุติธรรมและมีความเสมอภาค เกณฑ์ทั่วไปโดยการใช้กฎหมายอาจเป็นมาตรฐานอย่างหนึ่งที่จะนำมาพิจารณาในเรื่องความยุติธรรมในการเจรจาได้ อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติตามกฎหมายบางครั้งอาจดูเหมือนไม่มีความยุติธรรม ตัวอย่างเช่น ในประเทศแคนาดา นักวิจารณ์คนหนึ่งได้ชี้ให้เห็นถึงความไม่เสมอภาคกันในเรื่องเพศ เช่นในกรณีการหาข้อตกลงของการร้องขอหย่าที่มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และการปฏิบัติในการแก้ปัญหาการได้รับความเสียหายส่วนบุคคล ดังนั้น การเจรจาไกล่เกลี่ยบางครั้ง อาจจะต้องใช้สังคมหรือข้อปฏิบัติทางด้านจริยธรรมมาเป็นเครื่องมือในการวัดความยุติธรรม โดยดูจากการปฏิบัติกันโดยปกติเป็นประจำของชุมชนใดชุมชนหนึ่งในสังคม หรือแม้กระทั้งเป็นแนวทางการปฏิบัติโดยเฉพาะของคู่กรณีนั้นๆ ฉะนั้น จึงมีคำว่าความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice) ซึ่งต้องนำมาใช้พิจารณานอกจากประเด็นของความยุติธรรมทางกฎหมาย<ref>วันชัย  วัฒนศัพท์  ความขัดแย้ง : หลักการและเครื่องมือการแก้ปัญหา (สถาบันพระปกเกล้า และสมาคมสันติวิธีแห่งประเทศไทย 2547)</ref>
 
== คุณภาพของกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย ==
 
กระบวนการเจรจาเป็นสิ่งสำคัญมากต่อคู่กรณี เพราะกระบวนการที่มีความเหมาะสมยอมรับได้ จะช่วยพิสูจน์และทำให้การเจรจาสำเร็จ ตลอดจนนำไปสู่ความพึงพอใจที่ทุกฝ่ายยอมรับกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การกำหนดกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยให้ทุกฝ่ายมีความพึงพอใจก่อนที่จะเริ่มเจรจาไกล่เกลี่ยจึงเป็นสิ่งสำคัญ ตัวอย่างของเกณฑ์ในการพิจารณากระบวนการที่สามารถสร้างความพึงพอใจ ของทุกๆ นี้สามารถอธิบายได้ ดังนี้
 
• ความยุติธรรม (Fairness): คือการที่คู่กรณีแต่ละฝ่ายต้องมีความรู้สึกว่ามีความสามารถแสดงความคิดเห็นได้ในทุกๆ เรื่องอย่างเต็มที่ที่เขาเห็นว่ามีความสำคัญต่อการเจรจา ตลอดจนมีความรู้สึกว่ามีคนรับฟัง
 
• ความโปร่งใส (Transparency): คือ “กฎกติกาที่เกี่ยวข้อง” (Rules of Game) มีความชัดเจนและเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย และกติกานั้นได้พิจารณาถึงปัญหา ความห่วงกังวลของทุกๆ คนที่อาจได้รับผลกระทบ
 
• ความมีประสิทธิภาพเชิงเศรษฐศาสตร์ (Economic efficiency): คือกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยต้องพยายามลดค่าใช้จ่ายให้น้อยลง ทั้งด้านเวลา ค่าใช้จ่าย ด้านอารมณ์ ด้านผลผลิต ตลอดจนบรรยากาศและความสัมพันธ์ภาพในการทำงาน
 
• ความเคารพนับถือ (Respect): คือการที่คู่กรณีแต่ละฝ่ายมีความรู้สึกสบายใจและมีการรับรู้ถึงความห่วงกังวลทุกเรื่อง ตลอดจนความคิดเห็นที่ต่างกัน โดยให้โอกาสในการพูดคุยกันอย่างเต็มที่และปราศจากการโจมตีหรือพูดไม่ดีต่อกัน
 
การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพของกระบวนการและประสิทธิของข้อตกลงนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะความไม่พึงพอใจในกระบวนการตั้งแต่แรก จะเป็นต้นเหตุให้เกิดความไม่พึงพอใจในผลลัพธ์หรือข้อตกลงได้  ซึ่งความไม่พึงพอใจในผลลัพธ์อาจก่อให้เกิดรอยร้าวในความสัมพันธ์ต่อไปอีก ซึ่งจะทำให้ข้อพิพาทกลับคืนมาอีกครั้งและก่อให้ผลเสียหายเพิ่มขึ้น<ref>William L. Ury, Jeanne M. Brett, and Stephen B. Goldberg, Getting Disputes Resolved: Designing Systems to Cut the Costs of Conflict (San Francisco: Jossey-Bass Publishers, 1988).</ref>  ดังนั้น นักเจรจาไกล่เกลี่ยที่ดีต้องนึกถึงผลที่จะตามมาของคู่กรณีในระยะยาวมากว่าในระยะสั้น
ด้วยเพราะเหตุปัจจัยเหล่านี้ไหม จึงทำให้ทั้งฝ่ายรัฐบาลและ นปช. ไม่เข้ามาสู่โต๊ะเจรจา เนื่องจากยังไม่มีความมั่นใจในกระบวนการเจรจาว่าจะนำไปสู่ความพึงพอใจร่วมกันได้อย่างไร เหล่านี้เป็นบทบาทหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่ต้องทำความเข้าใจและร่วมมือกันต่อไป
'''การเจรจาไกล่เกลี่ย 3 ประเภท'''
 
หนังสือเกี่ยวกับการจัดการปัญหาความขัดแย้งเล่มหนึ่งชื่อ Getting to Yes: Negotiating Without Giving In, เขียนโดย Roger Fisher และ William Ury, ได้ชี้ให้เห็นถึงวิธีการกลยุทธ์ที่แตกต่างกันของการเจรจาไกล่เกลี่ยไว้ 3 ประเภท ซึ่งน่าสนใจและนำมาพิจารณาถึงการเจรจาระหว่างรัฐบาลและ นปช. ดังนี้
 
•''' “การเจรจาแบบแข็งกระด้าง” (Hard Bargaining)''' คือการเจรจาแบบเป็นการแข่งขัน เป็นวิธีการเจรจาแบบปรปักษ์ โดยเป้าหมายของการเจรจาคือ ต้องการเอาชนะ  (หรือต้องสูญเสียให้น้อยที่สุด) การเจรจาแบบแข็งกระด้าง แสดงให้เห็นถึงคู่กรณีไม่ไว้วางใจของฝ่ายตรงข้าม ดังนั้น จึงทำให้ข้อเรียกร้องมีจุดยืนเหนียวแน่น มีการทำให้เข้าใจผิดว่านี่คือ “คำชี้ขาดหรือตัวเลขสุดท้ายของการต่อรอง” การเจรจาแบบแข็งกระด้างนี้มักจะมีความกดกัด การข่มขู่ และการต่อสู้เพื่อให้ได้สิ่งที่ตัวเองปรารถนา ซึ่งวิธีการเช่นนี้แสดงออกมาเพื่อให้เห็นว่าใครมีอำนาจมากที่สุด
สังคมไทยคงได้เห็นการเจรจาแบบแข็งกระด้างมาแล้ว 2 ครั้ง เมื่อมีการเจรจาพูดคุยกันระหว่าง รัฐบาลและนปช. เมื่อวันที่ 28 และ 29 มีนาคม 2553 โดยจะเห็นว่าทั้งสองฝ่ายต้องการเอาชนะกันหรือต้องสูญเสียให้น้อยที่สุด จะเห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายไม่มีความไว้วางใจต่อกัน ต่างฝ่ายต่างมีจุดยืนที่ยากต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น การยุบสภาภายใน 15 วัน หรือ 9 เดือน ซึ่งเป็นคำชี้ขาดหรือให้ตัวเลขสุดท้ายของการต่อรอง คงไม่มีใครปฏิเสธว่าการเจรจาของรัฐบาลและนปช. เป็นการนำเอาอำนาจมาคัดคานกัน และท้ายที่สุดก็ไม่สามารถหาข้อตกลงได้
 
• '''“การเจรจาแบบนุ่มนวล” (Soft Bargaining) '''คือ วิธีการที่คู่กรณีเห็นด้วยที่จะค้นหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน การเจรจาแบบนุ่มนวลแสดงให้เห็นถึงความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การยินยอมให้บางสิ่งถือว่าเป็นการสร้างสัมพันธ์ภาพ การเจรจาแบบนี้จะง่ายต่อการเปลี่ยนจุดยืน สามารถเปิดเผยตัวเลขสุดท้ายของการต่อรอง และลดความกดดัน หลักพื้นฐานของวิธีการนี้คือต้องการสร้างหรือการรักษาสัมพันธ์ภาพของคู่กรณี
 
• ''' “การเจรจาโดยยึดผลประโยชน์ หรือการเจรจาโดยยึดจุดสนใจที่แท้จริง” (Interest-Based or Principled Negotiation) ''' คือ กล่าวได้ว่า “นุ่มในประเด็นของคน แข็งในประเด็นของปัญหา” ซึ่งเป้าหมายของการเจรจาโดยยึดจุดสนใจนี้จะมีความพยายามที่จะตอบสนองความต้องการร่วมกันของคู่กรณี และลักษณะเด่นของการเจรจาโดยยึดจุดสนใจคือวิธีการสร้างความร่วมมือกันที่จะแก้ปัญหา ซึ่งหลักของการเจรจาจะเน้นที่การค้นหาความต้องการที่แท้จริงของคู่กรณี แทนการต่อรองที่จุดยืนหรือใช้ “คำขาด” โดยต้องประเมินและนำบรรทัดฐานที่เป็นรูปธรรมหรือมีมาตรฐานมาใช้ในการเจรจา ตลอดจนเมื่อได้ข้อตกลงแล้ว ต้องสามารถประเมินแนวทางออกได้ด้วย การเจรจาโดยยึดจุดสนใจเป็นการชี้หรือแนะให้คู่กรณีมองเห็นถึงความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือ แต่ไม่จำต้องไว้วางใจทั้งหมดก็ได้ หลักพื้นฐานและเป้าหมายของการเจรจานี้คือทุกฝ่ายต้องได้ประโยชน์ร่วมกัน
 
การเจรจาโดยยึดจุดสนใจที่แท้จริง เป็นสิ่งสังคมพึงปรารถนาให้เกิดขึ้นระหว่างรัฐบาลกับ นปช. เพราะจะเห็นว่าเป็นความพยายามที่จะหาทางออกร่วมกันโดยตอบสนองความต้องของทุกฝ่าย อย่างไรก็ตาม การจะค้นหาจุดสนใจที่แท้จริงได้ จำเป็นจะต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีและความไว้วางใจเกิดขึ้นก่อน ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางจึงต้องมีภาระหน้าที่ในการสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นกับทุกฝ่ายก่อนที่จะเข้าประเด็นของการเจรจา
 
== การเจรจาไกล่เกลี่ยอย่างมีหลักการ ==
 
หนังสือ “Getting to Yes <ref>Fisher, Ury, and Patton, Getting to Yes.</ref> และ การผ่าทางตัน “Breaking the Impresse” <ref>usskind, L., and J. Cruikshank. Breaking the Impasse: Consensual Approaches to Resolving Public Disputes. New York: Basic Books, 1987. See also Susskind, Lawrence, and Patrick Field. Dealing with an Angry Public: The Mutual Gains Approach to Resolving Disputes. New York: Free Press, 1996.</ref> ได้เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ “การเจรจาโดยยึดจุดสนใจ” ไว้ว่าเป็นแนวทางการเจรจาที่คู่กรณีทุกฝ่ายไม่ใช้ความรุนแรง หรือใช้อำนาจอิทธิพลใดหรือตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีทางสู้ อ่อนแอ ยอมแพ้ แต่เป็นการเจรจาที่มีรูปแบบของการมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน หลักการของของการเจรจา สามารถอธิบายได้ดังนี้
 
• ควรระบุตัวบุคคลและปรึกษาหารือกับผู้เกี่ยวข้อง หรือผู้ได้รับผลกระทบจากทุกฝ่ายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อหาทางออกที่เป็นไปได้โดยรวม ทั้งคู่กรณีและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ  พิจารณาความเหมาะสมของระดับการปรึกษาหารือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางที่ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง  “กฎแห่งธรรมชาติ”  หรือหลักง่ายๆ ก็คือ ยิ่งถ้ามีคน หรือกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบมากเท่าใด หรือมีการใช้อำนาจบังคับให้ต้องทำหรือการนำบางสิ่งบางอย่างไปดำเนินการ หรือมีการขัดขวางการตัดสินใจมากเท่าใด วิธีการแก้ไขคือ ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับบุคคลเหล่านั้นมากยิ่งขึ้น โดยเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นและหาทางออกร่วมกัน
 
• การพัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาต้องไม่กล่าวหาคนใดคนหนึ่ง แต่ควรมุ่งการแก้ไขปัญหาในอนาคต
 
• อย่าต่อรองบนพื้นฐานของจุดยืนหรือ “เป้าหมายสุดท้าย” ที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ แต่ให้นึกไว้เสมอว่าอะไรที่เป็นต้นเหตุขับเคลื่อนให้คู่กรณีมายืน ณ จุดยืนของเขา นั่นคือ ต้องพยายามเจรจาโดยยึดจุดสนใจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความต้องการ ความห่วงกังวล ความกลัว เป้าหมาย ค่านิยมทางวัฒนธรรม จริยธรรม หรือแรงจูงใจอื่นๆ
 
• ต้องพยายามสร้างทางเลือกเพื่อให้ตอบสนองกับจุดสนใจ ผลประโยชน์หรือความต้องการของคู่กรณีทั้งหมดให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้  วิธีการคือต้องพยายาม “ขยายทางเลือก” เช่น ถามคู่กรณีว่ามีทางเลือกอื่นๆ อีกไหมที่สามารถแก้ปัญหาได้ หรือมีปัจจัยอะไรนอกเหนือจากนี้ไหมที่ช่วยให้ทุกฝ่ายแก้ปัญหาได้
 
• ใช้เกณฑ์การตัดสินใจที่ไม่ลำเอียง มีมาตรฐานที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ ซึ่งต้องนำหลักความยุติธรรมเข้ามาช่วยในการประเมินเกณฑ์การตัดสินใจที่ทุกฝ่ายนำเสนอ
 
• เข้าใจ “ทางเลือกที่ดีที่สุดแทนข้อตกลงจากการเจรจาไกล่เกลี่ย (ทดตก)” ของคุณว่าคืออะไร (Best Alternative to a Negotiated Agreement: BATNA) กล่าวคือ เมื่อคู่กรณีไม่ต้องการเข้ามาสู่โต๊ะเจรจา คนกลางอาจถามว่า “อะไรคือทางเลือกที่ดีที่สุดของคุณที่สามารถทำได้ ถ้าคุณไม่มาเจรจา” การทำความเข้าใจกับ BATNA นับว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของคนกลางที่ใช้ถามคู่กรณีที่ไม่ต้องการมาเจรจาได้นึกและคิดว่า ทางเลือกที่เขาคิดว่าดีนั้น อาจไม่ดีหรือไม่ได้ผลอย่างที่เขาคิดก็ได้ เพราะฉะนั้น การเข้ามาสู่โต๊ะเจรจาน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดไหม วิธีการนี้เป็นเครื่องมือของคนกลางที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเจรจาไกล่เกลี่ยมากขึ้น
 
สำหรับกรอบกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย มีดังต่อไปนี้
 
แผนผัง: กรอบกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย <ref>5 This process framework has been adapted from a five stage diagram by Craig Darling to fit the six-stage process framework of Sylvie Matteau. See Craig Darling, ed., Reaching Agreement: Negotiating in the Public Interest, 4 vols., vol. 1, Dispute Resolution Series (Vancouver, BC: Continuing Legal Education Society of B.C. and Dispute Resolution Office, B.C. Ministry of Attorney General, 1998).</ref>
                                                                                                                                                                                   
[[ไฟล์:กรอบกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย.png]]
 
== อะไรที่กระตุ้นให้คนมีความขัดแย้งและผลักดันให้มีการเจรจาไกล่เกลี่ย ==
 
บ่อยครั้งเมื่อคู่กรณีมีความขัดแย้งกันอยู่ มักจะสร้างและยึดติดกับการต่อรองโดยยึดจุดยืน โดยมักอ้างเหตุผลต่อแนวทางดำเนินการนี้เสมอ เพราะเชื่อว่าเป็นหนทางที่ดีที่สุดที่จะได้สิ่งที่ต้องการ เพราะฉะนั้น นักเจรจาไกล่เกลี่ยที่ดีต้องเรียนรู้ที่จะรับฟังอย่างตั้งใจถึงเหตุผลของคู่กรณีว่าทำไมเขาจึงมีจุดยืนอย่างนั้น
 
คำว่า “ประเด็น” “จุดยืน”และ “แรงจูงใจ”:  แตกต่างกันอย่างไร?
 
• ประเด็น (Issues) คือ ปัญหาที่จะพูดกันและต้องการการแก้ไข (บางครั้งมีความหมายถึง รายละเอียดวาระในการเจรจาไกล่เกลี่ย)
 
• จุดยืน (Positions) คือ ข้อเสนอที่มีความหมายว่าประเด็นข้อพิพาทควรจะมีการแก้ไข  อย่างไร จุดยืนของคู่กรณีคือ การแก้ไขปัญหาเพื่อตอบสนองผลประโยชน์และความต้องการของฝ่ายหนึ่ง และอาจเป็นการแก้ปัญหาตามแนวอุดมคติของฝ่ายเขาเท่านั้น
 
• แรงจูงใจ (Motivations) คือ ความต้องการ ความห่วงกังวล เป้าหมาย ความกลัว อารมณ์ต่างๆ คุณค่าและจริยธรรมทั้งที่วัดได้และวัดไม่ได้ของคน ซึ่งเป็นสิ่งต้องได้รับการตอบสนองให้เกิดความพึงพอใจ เพื่อคู่กรณีจะได้ยอมรับในแนวทางแก้ปัญหาข้อพิพาท  อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยอยากเปิดเผยแรงจูงใจบางอย่างของตนให้ผู้อื่นรับทราบ จนกว่าจะมีความรู้สึกมั่นใจว่ายังมีความไว้วางใจต่อบุคคลนั้น
 
 
==เราจะมีวิธีการค้นหาจุดสนใจที่แท้จริงได้อย่างไร <ref>ผู้เขียนสรุปจากการเข้าสังเกตการณ์เจรจาระหว่างรัฐบาลกับ นปช. เมื่อวันที่ 28 และ 29 มีนาคม 2553 ณ สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง</ref>==
 
[[ไฟล์:การค้นหาจุดสนใจที่แท้จริง.png]]
 
'''ความสำคัญของการฟังอย่างตั้งใจและความสามารถที่จะเข้าใจ'''
 
นักเจรจาไกล่เกลี่ยที่ดีต้องมีการสังเกตคู่กรณีทุกฝ่ายอย่างตั้งใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องให้ความสำคัญต่อการฟังอย่างตั้งใจว่าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งกำลังพูดอะไร โดยมีเหตุผลสำคัญ 2 ประการ คือ
 
• การฟังที่ดี คือ หนทางที่ดีที่สุดที่จะเก็บและรวบรวมข้อมูลว่ามีประเด็นความขัดแย้งอะไร  มีจุดยืนคืออะไร ต้องการอะไร ผลประโยชน์ของเขาคืออะไร และค่านิยมของคู่กรณีอีกฝ่ายคืออะไร
 
• การฟังที่ดี สามารถช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันความสามารถในการทำความเข้าใจจะเกิดขึ้นได้จากการรับฟังการฟังจะเกิดขึ้นได้ จะต้องประกอบด้วย
 
• ให้ความสนใจในตัวผู้พูด
 
• ถามคำถามเพื่อความชัดเจนและขยายความเข้าใจออกไป
 
• ตรวจสอบประเด็นของผู้อื่นในมุมมองของเขา เพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีความเข้าใจตรงกัน
 
== 4 ปัจจัย ปมไร้ทางออกระหว่างการเจรจา: รัฐบาลกับแกนนำ นปช.<ref>ข้อคิดเห็นจากการที่ผู้เขียนได้เข้าสังเกตการณ์เจรจาเมื่อวันที่ 28 และ 29 มีนาคม 2553 ณ ส านักงานสภาพัฒนาการเมือง</ref> ==
 
การเจรจาระหว่างแกนนำรัฐบาลกับแกนนำคนเสื้อแดง  2 ครั้งที่ผ่านมา ไม่ว่าจะมีครั้งที่ 3 หรือไม่ก็ตาม แต่ก็นับเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของระบบการเมืองไทยที่นำความขัดแย้งสู่โต๊ะเจรจาและเป็นภาพที่ดีไม่น้อยที่คนระดับผู้นำประเทศมานั่งรับฟังกลุ่มบุคคลที่ต่อต้านตนเองอย่างชัดเจน
 
บรรยากาศตอนเริ่มเข้ามาในห้องเจรจาครั้งแรก เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 มี.ค.นั้น ก่อนเริ่มเจรจาทั้งสองฝ่ายทักทายกันอย่างดีในฐานะคนรู้จักกัน มีการถามสารทุกข์สุขดิบ เช่น นอนหลับดีไหม เดินทางมาอย่างไร ใช้เวลาเท่าไหร่ ถือเป็นสัญญาณที่ดีในการเจรจา แต่เมื่อเริ่มเจรจาไปแล้ว พบข้อบกพร่อง 4 ประการคือ
 
'''1.การยึดมั่นในจุดยืนของฝ่ายตัวเอง '''
 
เมื่อเจรจารอบแรกจบเมื่อวันที่ 28 มี.ค. แล้วให้แต่ละฝ่ายกลับไปทำการบ้าน จริงๆ ก็เป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อกลับมาเจรจานัดที่ 2 เมื่อวันที่ 29 มี.ค. ทั้งสองฝ่ายกลับมาด้วยจุดยืน กล่าวคือฝ่ายหนึ่งบอกว่าต้องยุบสภาภายใน 15 วัน อีกฝ่ายหนึ่งบอกว่าจะไม่ยุบสภาภายใน 15 วัน เรียกว่ามีธงอยู่ในใจ จึงไม่ค่อยเปิดใจรับฟังกัน
 
ผลก็คือการเจรจารอบ 2 ดุเดือดมากกว่ารอบแรก มีการใช้อารมณ์เยอะขึ้น มีลักษณะของการแย่งกันพูด และพูดเรื่องอดีตมากเกินไป เอาสิ่งที่อัดอั้นกันมานานมาพูดจากล่าวหากัน วิธีการที่ใช้คือการโต้เถียงเพื่อเอาชนะกัน พูดสวนกันไปมา ไม่ใช่ลักษณะของการหาทางออกร่วมกัน
 
'''2.การถ่ายทอดสดการเจรจา '''
 
จริงๆ ก็เป็นเรื่องดี แต่เมื่อเจรจาผ่านสื่อครั้งแรกแล้ว หลังจากนั้นควรมีการเจรจาลับ พูดคุยกันแบบไม่ต้องถ่ายทอดสด เมื่อคุยกันจบแล้วได้ผลอย่างไรจึงแถลงร่วมกัน ซึ่งน่าจะได้ผลดีกว่า
 
อย่างไรก็ดี เมื่อทั้งสองฝ่ายสมัครใจให้มีการถ่ายทอดสด ผลก็คือแต่ละฝ่ายจำต้องยึดจุดยืนของตนเอง เพราะหากไปโอนอ่อนให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง อาจเสียมวลชนที่สนับสนุน เหตุนี้ทำให้ประเด็นต่างๆ ที่ต้องการจะตกลงกันจริงๆ ไม่สามารถตกลงกันได้ แต่ละฝ่ายไม่กล้าเปิดใจ และยึดจุดยืนแบบสุดโต่ง
 
'''3.การเจรจาไม่มีกติกา '''
 
กติกาของการเจรจาจะเกิดได้ต้องมีคนกลางเสียก่อน ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีคนกลางระหว่างการเจรจา แต่เป็นคนกลางที่มาร่วมกำหนดกติกาให้ทั้งสองฝ่ายเพื่อให้กระบวนการเจรจาเดินหน้า และคู่เจรจาสามารถดำเนินกระบวนการเจรจาเองก็ได้ เพียงแต่มีกติกาที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับร่วมกัน
 
การไม่มีกติกาและไม่มีคนกลาง ทำให้การเจรจามีลักษณะพูดสวนกันไปมา จุดนี้ส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ที่ไม่ดีระหว่างการเจรจา และส่งผลต่อเนื่องถึงความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน เมื่อไม่ไว้วางใจกันเสียแล้ว ประเด็นต่างๆ ที่เป็นข้อเสนอก็จะถูกอีกฝ่ายหนึ่งคัดค้าน
 
"โดยทฤษฎีแล้วปัจจัยที่ส่งผลมากต่อการเจรจาว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ก็คือกระบวนการเจรจา ซึ่งกระบวนการต้องดี มิฉะนั้นจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคู่เจรจาเลวร้ายลง และขยายวงความขัดแย้งมากขึ้น ฉะนั้นเมื่อทั้งสองฝ่ายอุตส่าห์หันหน้ามาเจรจากันแล้ว ก็ควรรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันไว้  เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ มิฉะนั้นเรื่องเล็กก็จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ หรือเบี่ยงประเด็นไปพูดเรื่องอื่นที่ไม่ใช่ประเด็นเจรจา"
 
'''4.ความเชื่อที่อยู่เบื้องหลังจุดยืน'''
 
ระหว่างการเจรจาจะเห็นว่ามีความขัดแย้งประเภทหนึ่งที่น่ากังวลคือ ความขัดแย้งทางความเชื่อที่อยู่เบื้องหลังจุดยืนอีกที หรือความขัดแย้งเรื่องข้อมูล อาทิ คลิปเสียงนายกฯ ข้อกล่าวหาว่ามีคนตายในช่วงเมษาฯเลือด กระบวนการตามรัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นประชาธิปไตยหรือไม่ การเลือกตั้งเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาจริงหรือเปล่า เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลคนละฐานกัน ซึ่งหากมีกระบวนการที่ดี และมีการกำหนดเป็นประเด็นๆ ก็น่าจะสามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันได้
 
อะไรคือแนวทางแก้ไขที่น่าจะเป็นทางออกให้กระบวนการเจรจาเดินหน้าต่อไป
 
1. ทั้งสองฝ่ายต้องพยายามทำให้เกิดการเจรจารอบใหม่ ซึ่งเท่าที่ติดตามก็พบว่ายังมีโอกาส ขึ้นอยู่ที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายสมัครใจที่ร่วมกันหาทางออกหรือไม่ และถ้ามีการเจรจาก็ไม่ต้องถ่ายทอดสดเหมือน 2 ครั้งแรก
 
2.ต้องมีคนกลางที่รู้ขั้นตอน รู้วิธีการเจรจา มาเป็นผู้ดำเนินกระบวนการ ซึ่งคนกลางไม่ใช่คนตัดสิน เพียงแต่มากำกับกระบวนการและสร้างช่องทางให้ได้พูดและฟังซึ่งกันและกัน รวมทั้งร่วมกันกำหนดประเด็นการพูดคุย สิ่งสำคัญคือต้องไม่เถียงกันเรื่องจุดยืนหรือระยะเวลาว่าต้องยุบภายในกี่วัน เพราะเถียงอย่างไรก็ไม่จบ แต่ต้องให้ทั้งสองฝ่ายได้แสดงเหตุผลของตัวเองว่าทำไมต้องยุบภายใน 15 วัน หรือ 9 เดือน โดยต้องพยายามตอบสนองหรือขจัดข้อห่วงกังวลของแต่ละฝ่ายให้หมดไป
 
"ฉะนั้นถ้าทั้งสองฝ่ายมาร่วมเจรจากันอย่างมีกระบวนการ กำหนด Road Map (แผนที่เดินทาง) ว่าจะทำอะไรบ้าง ภายในกรอบเวลาเท่าไหร่ ก็น่าจะได้ข้อยุติที่ชนะด้วยกันทั้งสองฝ่าย"
 
==ความเป็นไปได้ของการเจรจารอบที่ 3: อะไรคือความยากและง่ายต่อการเจรจา==
 
ปัจจัยจำนวนมากสามารถชี้ให้เห็นถึงระดับของความยากในการแก้เจรจาแก้ปัญหาความขัดแย้ง เช่น
 
• คู่กรณีจุดสนใจร่วมกันมากน้อยเพียงใด
 
• คุณภาพของความสัมพันธ์ในอดีตของคู่กรณีเป็นอย่างไร
 
• จำนวน และความชัดเจนของประเด็นรวมถึงความสามารถที่จะจำแนกแยกแยะออกไปได้
 
• จำนวนของคู่กรณี
 
• ความเพียงพอของทรัพยากร หรือจำนวนทางเลือกในการแก้ปัญหา
 
• ระดับของความมุ่งมั่นตั้งใจ หรือแรงจูงใจของคู่กรณีที่จะแก้ปัญหาข้อพิพาท
 
• ความสำคัญของประเด็นต่างๆ ต่อคู่กรณี
 
• ระยะเวลาของข้อพิพาท
 
• ระดับความลึกซึ้งของข้อพิพาท
 
• ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างคู่กรณี และหนทางที่คู่กรณีใช้อำนาจ
 
• ระดับความสนใจของสาธารณชน และความเห็นโต้แย้ง
 
ในทางกลับกัน ปัจจัยที่สามารถบ่งชี้ให้เห็นถึงความง่ายในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาท คือ
 
• คู่กรณีมีจำนวนน้อย
 
• คู่กรณีมีส่วนเหมือนกันมาก
 
• ประเด็นความขัดแย้งมีจำนวนน้อยและส่วนใหญ่ชัดเจน
 
• ทางเลือกและทรัพยากรมีมาก
 
• ความมุ่งมั่นและตั้งใจในการแก้ปัญหามีมาก
 
• ประเด็นความขัดแย้งมีความสำคัญน้อยต่อคู่กรณี
 
• ข้อพิพาทมีความผิวเผินอยู่มาก
 
• คู่กรณีมีความตั้งใจที่จะใช้อำนาจอย่างเสมอภาค และอย่างยุติธรรม และ
 
• มีการโต้แย้งน้อยจากมุมมองของสาธารณชนในข้อพิพาทที่เกิดขึ้น
 
จะเห็นได้ว่าความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับ นปช. มีจุดร่วมใหญ่คือ ต้องการให้ประเทศชาติชนะด้วยกัน ต้องการเห็นรัฐธรรมนูญที่ทุกฝ่ายยอมรับกันได้ ต้องการเห็นประชาธิปไตยที่แท้จริง และสำคัญที่สุดคือต้องการเห็นความสมานฉันท์ของคนในชาติ อย่างไรก็ดี ทั้งสองฝ่ายมีความสัมพันธ์ไม่ค่อยดีต่อกันเท่าที่ควร จึงเกิดความไม่ไว้วางใจ และเมื่อพิจารณาถึงประเด็นปัญหาที่ได้มีการพูดคุยกัน 2 รอบ พบว่ามีประเด็นที่ยังไม่ชัดเจนจำนวนมากและยังไม่ได้แยกแยะให้เป็นประเภทๆ และที่สำคัญที่สุด ความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะแก้ปัญหานั้นมีค่อนข้างน้อย
 
สิ่งสำคัญที่ต้องเน้นในการเจรจาไกล่เกลี่ยคือความสำคัญในการใช้อำนาจ หากคู่กรณีมีอำนาจที่แตกต่างกันมาก การแก้ปัญหาอาจจะดูเผิน ๆ ดูเหมือนจะง่าย เพราะฝ่ายที่มีอำนาจน้อยกว่าอาจยอมจำนนให้แก่ผู้มีอำนาจมากกว่า อย่างไรก็ตามในกรณีเช่นนั้น สาเหตุรากเหง้าของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น อาจจะยังคงไม่ได้รับการแก้ไข จนกว่าประเด็นยุติธรรมของชุมชนหรือส่วนตัวจะถูกได้รับการพิจารณาความขัดแย้งจะยังกรุ่นอยู่ต่อไป และอาจทวีความรุนแรงใหม่ในอนาคต
== การตัดสินใจเข้าเจรจาดีหรือไม่: อะไรคือปัจจัยที่รัฐบาลและ นปช. ต้องพิจารณา ==
 
สิ่งที่ยากที่สุดของการเจรจาคือ การนำคู่กรณีมาสู่โต๊ะเจรจา ดังนั้นสิ่งที่ต้องดำเนินการก่อนการเจรจาไกล่เกลี่ย จึงมีข้อเสนอดังนี้ <ref>อ้างแล้ว</ref>
 
• การสร้างความไว้วางใจ ทั้งก่อนและระหว่างกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยเป็นสำคัญยิ่ง อย่างไรก็ตาม หากความขัดแย้งทวีความรุนแรงมากขึ้นจนถึงจุดที่คู่กรณีกล่าวหากันอย่างรุนแรง หรือสบประมาทกันจนทำให้เสียหน้าจากคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจนทำให้การเจรจาไกล่เกลี่ยอาจเป็นไปได้ไม่ได้ จึงจำเป็นต้องสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างคู่กรณีให้เกิดขึ้น ขณะนี้จะเห็นว่า ฝ่าย นปช. ไม่ไว้วางใจฝ่ายรัฐบาล มีการกล่าวหากันอย่างรุนแรงว่าเป็นผู้ฆ่าประชาชนและสั่งให้มีการสลายการชุมนุม ดังนั้น ในกรณีความขัดแย้งที่มีคู่กรณีหลายฝ่ายและอยู่เขตชุมชนใหญ่  การสร้างสัมพันธภาพจำเป็นต้องเริ่มสร้างให้เกิดขึ้นก่อนระหว่างผู้นำชุมชน  เพราะถ้าผู้นำทั้งสองฝ่ายนั้นเข้มแข็ง  หรือต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนถ้าผู้นำนั้นฟังเสียงจากพื้นที่มากๆ ในสัมพันธ์ภาพที่มีประวัติศาสตร์ความขัดแย้งด้านกระบวนการ  การคืนดีอาจจำเป็นต้องเกิดก่อนการเจรจาไกล่เกลี่ยหาข้อตกลงที่จะให้เกิดประโยชน์สูงสุด กระบวนการฟื้นคืนดีอาจรวมถึงการยอมรับหรือรวมการขอโทษ และ การชดเชย รักษาเยียวยา และการให้อภัยในการกระทำในอดีต<ref>For more on reconciliation, please read Assefa, Hizkias. "Reconciliation." In Peacebuilding: A Field Guide, edited by Luc Reychler, and Thania Paffenholz, 336-342. Boulder, CO, and London, UK: Lynne Reiner Publishers, 2001; Minow, Martha. Between Vengeance and Forgiveness: Facing History After Genocide and Mass Violence, Boston: Beacon Press, 1998; Redekop, Vern Neufeld. From Violence to Blessing: How an Understanding of Deeprooted Conflict Can Open Paths of Reconciliation. Ottawa: Novalis, 2002.</ref>
 
โดยสรุป คำถามที่ถามว่า “การเจรจาจะเป็นทางออกของความขัดแย้งในประเทศไทยได้จริงหรือไม่?” คำตอบที่ได้คือ การเจรจาไม่ใช่การเกลี่ยกล่อม ตะล่อม บับคับ ขู่เข็ญ แต่การเจรจาสามารถนำมาใช้เป็นทางออกของความขัดแย้งในประเทศไทยได้ โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ และการให้เหตุผลของคู่กรณี เพราะถ้าคู่กรณีไม่สมัครใจที่จะเข้าร่วมเจรจา การเจรจาก็คงไม่ใช่ทางออกของความขัดแย้ง ดังนั้น การเปิดใจร่วมกันหาทางออกจึงเป็นกุญแจหลักของความสำเร็จคือ คู่กรณีต้องมีความจริงใจ เปิดเผย แสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ และไม่ยึดในจุดยืน นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายต้องร่วมกันระบุประเด็นปัญหาให้ชัดเจนว่าคืออะไร  ถ้าความขัดแย้งมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนที่อยู่นอกเหนือไปจากคู่กรณี และข้อตกลงหรือความยินยอมที่จะเกิดขึ้นมีความสำคัญและเกี่ยวข้อง ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาผู้แทนของผู้เกี่ยวข้องที่มีความชอบธรรมและมีอำนาจในการตัดสินใจด้วย
 
ดังนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งผู้แทนในการเจรจาไกล่เกลี่ย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดต้องมีอำนาจในการจัดการและกำหนดผู้แทนของตนเอง หรือในกรณีของกลุ่มก็ควรมีการจัดการหาผู้แทนในการเจรจาไกล่เกลี่ย โดยเฉพาะถ้าเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย จะต้องมีภาคประชาสังคมที่เป็นผู้แทนอยู่ด้วย เพื่อนำเสนอความต้องการของกลุ่ม อาทิ คนจน ผู้หญิง เด็ก ชนกลุ่มน้อย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม
 
“การเจรจาจะเป็นทางออกของความขัดแย้งในประเทศไทยได้ หากได้มีการพูดคุยตกลงเบื้องต้นในกรอบว่าจะไม่มีการละเมิดค่านิยมหรือคุณค่าของคู่กรณี ในกรณีของภาครัฐประเด็นในการเจรจาต้องไม่ละเมิดกฎและระเบียบของหน่วยงานนั้นๆ ด้วย  คู่กรณีต้องมีเหตุผลในการเจรจาไกล่เกลี่ย เพราะคู่กรณีจะไม่เจรจาหากรู้ว่าสามารถเรียกร้องสิ่งที่ตนเองต้องการได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่กรณีอื่น ยกเว้นมีแรงกดกันอย่างสูงในด้านศีลธรรมมาบีบบังคับ นั่นหมายความว่า คู่กรณีจะไม่เจรจา หากพิจารณาแล้วเห็นว่าการไม่ตกลงเจรจาจะได้ผลดีกว่าข้อตกลงที่เกิดจากการเจรจาไกล่เกลี่ย และที่สำคัญความพึ่งพาอาศัยกันในเชิงอำนาจ เพราะความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างคู่กรณีหากไม่มีความเท่าเทียมหรือแตกต่างกันมากหรือมีการใช้อำนาจในทางที่ผิด ก็จะไปสู่ข้อตกลงที่มาจากกาบีบบังคับ ซึ่งไม่ใช่การเจรจาไกล่เกลี่ยที่พึงปรารถนา
 
==อ้างอิง==
<references/>


----
*[http://www.kpi.ac.th/kpith/pdf/%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3/53/01/53-01%2004.%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B2%20%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B2%20%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B2%20-%20%E0%B8%AD.%E0%B8%A8%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%93%E0%B8%B1%E0%B8%90.pdf “เจรจา เจรจา เจรจา” ทางออกของความขัดแย้งในประเทศไทยจริงหรือไม่ '''(PDF Download)''']


[[หมวดหมู่:การยุติความขัดแย้ง]]
[[หมวดหมู่:การป้องกันความขัดแย้งและการยุติความขัดแย้ง|จ]]
[[หมวดหมู่:วารสารปีที่ 8 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน 2553|จ]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:26, 21 พฤษภาคม 2557

ผู้เรียบเรียง ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์


วารสารสถาบันพระปกเกล้า ปี 2553 เล่มที่ 1


ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่ม “แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ” (นปช.) หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนามของคน “เสื้อแดง” กับรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2551 ต่อเนื่องมาจนถึงเดือนพฤษภาคม 2553 และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะหาทางออกกันได้อย่างไร ความขัดแย้งนี้ได้สร้างความแตกแยกให้กับคนในสังคมไทยอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน สิ่งที่น่าเป็นห่วงและกังวลมากขึ้นคือ ความขัดแย้งได้กลายเป็นความรุนแรงและมีการพัฒนายกระดับของความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเห็นได้จากการมีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชน และความมั่นคงทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันหลักของชาติ

แม้ว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยจะส่งเสียงเรียกร้องให้ทั้งรัฐบาลและกลุ่มคนเสื้อแดงหันหน้ามาพูดคุยกันเพื่อยุติความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้น แต่เสียงที่พูดออกมาว่าอย่างเช่น “อยากเห็นการเจรจา” “หันหน้ามาคุยกัน” โดยมุ่งหวังว่าทุกฝ่ายจะนำปัญหาที่แท้จริงมาสู่โต๊ะเจรจาในรอบที่ 3 และรอบต่อๆ ไป ก็ยังไม่มีท่าทีว่าจะเกิดขึ้นภายในเร็ววัน หรือเป็นเพราะว่าการเจรจา 2 ครั้งที่ผ่านมาไม่ใช่ทางออกของการแก้ปัญหาในขณะนี้ หรือเป็นเพราะการพบกัน 2 ครั้งที่ผ่านมาเมื่อวันที่ 28 และ 29 มีนาคม 2553 ไม่ได้เรียกว่าการเจรจาแต่เป็นการต่อรองเพื่อตอบสนองจุดยืนของตัวเองเท่านั้น หรือเป็นเพราะความรุนแรงและความเสียหายยังไม่มากพอที่ทุกฝ่ายจะหันหน้ามาเจรจาพูดคุยกัน และ หรือเป็นเพราะว่าเราเป็นเพียงประชาชนคนหนึ่งที่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจึงไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้อง คำถามเหล่านี้ต้องการคำตอบ โดยเฉพาะคำตอบต่อคำถามที่ว่า “การเจรจาจะเป็นทางออกของความขัดแย้งในประเทศไทยได้จริงหรือไม่?”

คำถามและคำตอบเหล่านี้เป็นสิ่งท้าท้ายกับคนในสังคมไทยทุกคนที่ต่างจับจ้องและเฝ้ามองดูสถานการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรงกันอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะนักสันติวิธีที่พยายามเรียกร้องและต้องการพิสูจน์ว่าการพูดคุยกันเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีและยั่งยืนกว่าการใช้ความรุนแรง ซึ่งแนวคิดและวิธีการนั้นตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น เราในฐานะพลเมืองไทยคนหนึ่งคงต้องหันมาช่วยกันหาคำตอบเหล่านี้ และหากเห็นว่าการเจรจาไกล่เกลี่ยเป็นหนทางหนึ่งที่ดี พลเมืองคนไทยจะมีส่วนร่วมในการผลักดันให้เกิดการพูดคุยกันอย่างไรได้บ้าง ทั้งนี้เพื่อนำความสันติสุขสถาพรให้กลับคืนสู่สังคมไทยต่อไป

ที่มาของการหวนคืน เสียงปืนลั่น ระเบิดดัง มนต์ขลังของเดือนเมษายน

กลุ่ม “แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ” (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง เป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่สนับสนุนอดีตนายก พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร และต่อต้านระบอบเผด็จการเริ่มขึ้นอย่างจริงจังหลังจากมีการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ที่ผ่านมา กลุ่มคนเสื้อแดงได้รวมตัวกันอย่างต่อเนื่องเพื่อขับไล่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) แต่เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่โดยใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 และพรรคพลังประชาชนได้รับเสียงข้างมากในการจัดตั้งรัฐบาล จึงทำให้กลุ่มคนเสื้อแดงแยกย้ายกันไประยะหนึ่ง[1] ซึ่งในขณะนั้นมีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลในการบริหารประเทศ

ไม่ว่ารัฐบาลพรรคไหนจะเข้ามาบริหารประเทศ ปรากฎการณ์ที่เห็นกันบ่อยครั้งในรอบเกือบ 10 ปีที่ผ่านมาคือการชุมนุมประท้วงเพื่อแสดงออกทางการเมือง ซึ่งมักจะเห็นกลุ่มคนเสื้อสีต่างๆ ออกมาคัดค้าน ไม่ว่าจะเป็นเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดง เช่นเดียวกับรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช ได้มีการรวมตัวกันของกลุ่มคนเสื้อเหลืองออกมาต่อต้านรัฐบาลอนายสมัครอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มเข้าดำรงตำแหน่ง โดยเฉพาะประเด็นที่รัฐบาลของนายสมัครและพรรคร่วมรัฐบาลต้องการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 การชุมนุมของคนเสื้อเหลืองเมื่อปี 2551 เพื่อขอให้นายกสมัครลาออกในขณะนั้น ยังไม่มีท่าทีว่าจะยุติลง แต่ท้ายที่สุดนายสมัคร สุนทรเวช ได้ถูกศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากกระทำกิจการเพื่อประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้นในลักษณะที่เป็นหุ้นส่วน จึงเป็นการกระทำการอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 มีผลให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่านายกรัฐมนตรีกระทำการอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 จึงเป็นเหตุให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 180 วรรคหนึ่ง (1)[2]

ต่อมามีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่โดยมีนายสมชาย วงสวัสดิ์ ซึ่งมาจากพรรคพลังประชาชนเช่นเดียวกันมาเป็นนายกรัฐมนตรี แต่อยู่ในตำแหน่งได้ไม่นานก็ถูกศาลรัฐธรรนูญพิพากษายุบพรรคพลังประชาชนเนื่องจากกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง เป็นเหตุให้นายสมชาย วงสวัสดิ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเช่นเดียวกับนายสมัคร สุนทรเวช เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงได้มีการเปลี่ยนขั้วอำนาจทางการเมืองใหม่ นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ ปรึกษาหารือกันกับพรรคการเมืองอื่นๆ และลงมติให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป

ด้วยเหตุดังกล่าว คนเสื้อแดงซึ่งเป็นฝ่ายสนับสนุนพรรคพลังประชาชนและอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร จึงเกิดความไม่พอใจและรู้สึกว่าไม่มีความเป็นประชาธิปไตย อ้างว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นรัฐบาลสองมาตรฐานไม่มีความชอบธรรมในการบริหารประเทศและขอให้ยุบสภาหรือลาออก จึงได้รวมตัวกันชุมชนประท้วงต่อต้านมาตั้งแต่ปี 2552 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2552 ได้เกิดเหตุการณ์สงกรานต์เลือด จนทำให้รัฐบาลต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และดำเนินการกับผู้ก่อความไม่สงบ ซึ่งดูเหมือนว่าทุกอย่างจะสงบแล้ว

แม้เหตุการณ์สงกรานต์เลือดปี 2552 จะผ่านไปไม่ถึง 1 ปี ความขัดแย้งทางการเมืองก็ยังไม่สิ้นสุดแต่กลับครุกรุ่นหวนคืนกับมาอีกครั้งพร้อมกับเสียงปืนและระเบิดที่รุนแรงมากกว่าเดิม โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 10 และ 28เมษายน 2553 ได้เกิดเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างทหารที่ต้องการขอพื้นที่การชุมนุมคืนกับกลุ่มคนเสื้อแดงในเขตกรุงเทพมหานคร ทำให้มีคนได้บาดเจ็บ 966 คน เสียชีวิต 27 คน[3] ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่า ขณะที่ได้มีการปะทะกันระหว่างฝ่ายรัฐบาลและคนเสื้อแดง ได้มีหลักฐานสำคัญทั้งภาพถ่ายและเทปบันทึกจากช่างภาพชาวไทยและต่างประเทศว่ามีกลุ่มกองกำลังติดอาวุธปืนสงครามกำลังยิงต่อสู้ ขว้างระเบิดใส่เข้ากลุ่มทหารและยิงทำร้ายประชาชน ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดเป็นข้อถกเถียงกันระหว่างฝ่ายรัฐบาลและกลุ่มคนเสื้อแดงว่าคนชุดดำที่ติดอาวุธเป็นฝ่ายไหน ซึ่งก็ยังไม่สามารถหาคำตอบได้โดยต่างฝ่ายต่างอ้างว่าไม่ใช่พวกของตัวเอง ประเด็นที่สำคัญขณะนี้คงไม่ใช่มาเถียงกันว่าใครเป็นคนยิงทหารและประชาชน แต่สิ่งที่น่าคิดคือความขัดแย้งได้กลายเป็นความรุนแรงอย่างสิ้นเชิงแล้ว และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะลงเอยกันอย่างไร ความเสียหายที่เกิดขึ้นนับว่าเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทยก็ว่าได้ เมื่อเปรียบเทียบกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการต่อสู้ทางการเมืองตั้งแต่ปี 2516 ดังตารางต่อไปนี้

ตารางเปรียบเทียบผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างปี 2516 – 2553 [4]

เหตุการณ์ บาดเจ็บ เสียชีวิต สูญหาย
14 ตุลาคม 2516 158 71 -
6 ตุลาคม 2519 145 38 (กว่า 500 ราย) 3,094
17-21 (พฤษภาทมิฬ) 1,000 52 69
เมษาเลือด 53 (เสื้อแดง) 966 27 -
เสื้อเหลือง (พค.-2ธค.51) 500 10 -

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่คนไทยทุกคนกำลังห่วงและไม่ต้องการให้เกิดขึ้นอีกในช่วงของสงกรานต์ปี 2554 คือ การหวนคืนมาของเสียงปืนและระเบิดในสภาวการณ์ที่เรียกว่า “สงกรานต์ท่ามกลางสงครามกลางเมือง”'

ทางออกไหนที่สังคมไทยต้องการ: การใช้ความรุนแรงชนิดตาต่อตาฟันต่อฟัน หรือการใช้สันติวิธีเพื่อเจรจาไกล่เกลี่ย หรือการนิ่งเฉยปล่อยวาง

หลายคนมีความเป็นห่วงและกังวลมากกับความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้นเพราะว่าได้มีการพัฒนายกระดับของความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มตั้งแต่การที่แต่ละฝ่ายมีความคิดเห็นหรือความต้องการที่ไม่ตรงกัน พัฒนามาเป็นการรวมตัวกัน ชุมนุมเรียกร้องความต้องการของตัวเองเพื่อให้อีกฝ่ายปฏิบัติตาม โดยรูปแบบการเรียกร้องมีตั้งแต่การปราศรัย การให้ข้อมูล รวมถึงการใช้วาจาพูดอย่างรุนแรงกับอีกฝ่ายหนึ่ง การปลุกระดม และใช้อาวุธปืนสงครามและระเบิด ซึ่งถือว่าเป็นความรุนแรงที่ร้ายแรง

คำถามที่น่าสนใจคือ “ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจะมีสิ่งที่ดีๆ ได้บ้างหรือไม่” โดยเฉพาะหากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความขัดแย้งที่สร้างสรรค์สามารถคลี่คลาย นำไปสู่ข้อยุติได้หรือหาทางออกได้ร่วมกัน ดังนั้น ถ้าเราเห็นตรงกันว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้อยู่เป็นประจำวันแล้ว การที่เราจะห้ามไม่ให้ความขัดแย้งเกิดขึ้นเลยไม่ว่าที่ใดคงจะเป็นไปได้ยากเพราะการกระทำเช่นนั้นเป็นการขัดกับหลักของธรรมชาติของความขัดแย้งคือเกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลาเป็นเรื่องธรรมดา ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความขัดแย้งกล่าวว่า ความขัดแย้งอาจเกิดในครอบครัว ในชุมชน ในองค์กร ในประเทศของเรา หรือระหว่างประเทศ ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย หากความขัดแย้งนั้นสามารถคลี่คลายตัวเองและเปลี่ยนไปในทางสร้างสรรค์ นำไปสู่ข้อยุติได้หรือหาทางออกได้ การที่คนเราคิดเห็นต่างกันเป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่จำเป็นต้องเป็นศัตรูกัน เมื่อเราคิดเห็นต่างกันก็เกิดความแย้งได้ตลอดเวลา แต่เราจะมองความขัดแย้งให้เป็นวิกฤตหรือโอกาส เช่น “No Problem, No Progress” แปลว่า “ที่ใดไม่มีปัญหาที่นั่นไม่มีความก้าวหน้า”[5]

Coser นักทฤษฏีความขัดแย้งกล่าวว่า ความขัดแย้งไม่ได้เป็นเรื่องผิดปกติของความสัมพันธ์ทางสังคม แต่บ่อยครั้งที่เป็นความจำเป็นที่จะประสานความสัมพันธ์ไว้ ถ้าไม่มีการระบายแสดงความไม่พอใจที่มีต่อกัน อาจจะอกแตกตายได้ และจะแสดงปฏิกิริยาถอนตัวออกจากสังคม เมื่อมีการแก้ไขความรู้สึกที่รุนแรงหรือความไม่พึงพอใจ ความขัดแย้งก็กลายเป็นการสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ [6]

ประเด็นคำถามที่น่าสนใจก็คือ เมื่อความขัดแย้งจำเป็นต้องเกิดขึ้นไม่ว่าจะด้วยเหตุแห่งธรรมชาติหรือเหตุใดก็ตาม แล้ว “เราจะมีวิธีการจัดการหรือแก้ปัญหากับความขัดแย้งนั้นได้อย่างไรบ้าง”

คงไม่มีใครปฏิเสธว่าวิธีการจัดการและแก้ปัญหาความขัดแย้งหรือข้อพิพาทที่ใช้กันอยู่เดิมๆ มีได้ตั้งแต่การหลีกเลี่ยงปัญหาซึ่งผลลัพธ์คือปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขและยังคงอยู่ การหารสองหรือแบ่งครึ่ง ซึ่งทั้งสองฝ่ายก็ไม่ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการทั้งหมด การยอมตามเป็นสิ่งที่สังคมไทยใช้กันมาก เป็นเพราะไม่ต้องการให้เกิดปัญหาแต่ก็ยังมีสิ่งที่ค้างคาใจเพราะจำใจต้องยอมตามในสิ่งที่ไม่เห็นด้วย การประนีประนอมซึ่งในภาษาไทยฟังดูดี แต่ในความหมายของคนตะวันตกแปลว่าพบกันคนละครึ่งทาง ดังนั้น นักสันติวิธีบางคนจึงเปรียบเทียบการประนีประนอมเหมือนกับการบวกเลขคือ หนึ่งบวกหนึ่งเท่ากับครึ่งหนึ่ง เพราะมาพบกันเพียงครึ่งทางเท่านั้นไม่ได้อย่างที่แต่ละฝ่ายต้องการ หรือแย่ที่สุดคือการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา แต่วิธีการที่เห็นกันอยู่บ่อยๆ ก็คือ การฟ้องร้องต่อศาล เพื่อให้ผู้พิพากษาหรือผู้มีอำนาจเป็นผู้ตัดสินคดีความนั้น และดูเหมือนจะเป็นแนวทางเดียวที่ทุกฝ่ายรู้จักและใช้กันอยู่

อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ในประเทศไม่ได้ลดน้อยลงเลย กลับกลายเป็นปัญหาอื่นเพิ่มขึ้น เช่น การมีคดีล้นศาลและคนล้นคุก เพราะแม้ว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีต่างพยายามที่จะพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเต็มที่แล้วก็ตาม แต่คดีที่ฟ้องร้องมายังศาลยังมีจำนวนมาก เป็นเหตุให้มีคดีค้างและรอการพิจารณาอยู่ในศาลจำนวนมาก ส่งผลให้การพิจารณาคดีต่างๆ เกิดความล่าช้าทั้งต่อคู่กรณีและผู้เกี่ยวข้อง สร้างความความไม่น่าเชื่อถือต่อกระบวนการยุติธรรมและผู้รับผิดชอบทุกฝ่าย อีกทั้งสูญเสียทั้งเวลาและงบประมาณแผ่นดินต่อหน่วยงานราชการโดยเฉพาะในหน่วยงานของกระบวนการยุติธรรม ซึ่งท้ายที่สุด ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้งานของกระบวนการยุติธรรมมีประสิทธิภาพและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างรวดเร็วและเท่าเทียมกัน

เมื่อสะท้อนถึงความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัฐบาลและ นปช. ในช่วงเวลาไม่นานมานี้ เราคงเห็นกันอย่างได้ชัดเจนว่า ทั้งสองฝ่ายต่างนำคดีความต่างๆ ขึ้นสู่ศาลเป็นรายวัน แม้ศาลจะคำพิพากษาติดสินแล้ว แต่ถ้าไม่ตรงกับความต้องการ ก็จะอุทธรณ์ต่อไป มีข้อสังเกตว่าแม้การชุมนุมประท้วงจะสิ้นสุดลงในวันข้างหน้า แต่เส้นทางของการต่อสู้ที่ได้มีการฟ้องร้องไปแล้วยังคงต้องดำเนินต่อไปวันแล้ววันเล่า

Simmel นักทฤษฏีความขัดแย้งกล่าวว่า ความขัดแย้งเกิดจากการรวมกลุ่มของมนุษย์ที่มีความแตกต่างกันทางด้านสังคม ความเป็นปัจเจกบุคคล ซึ่งมีความต้องการแตกต่างกัน ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกัน ความขัดแย้งของมนุษย์เหมือนกับสังคมที่ประกอบไปด้วยความรัก และความเกลียดชัง ความสามัคคีและความแตกแยก มีทั้งความกลมคลืนและการเข้ากันไม่ได้

Simmel ยังกล่าวว่าความขัดแย้งอาจยุติได้โดยทางใดทางหนึ่งใน 3 ทางนี้ คือ โดยชัยชนะของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยการประนีประนอมกัน และโดยการเจรจาไกล่เกลี่ย แต่ไม่ได้หมายความว่าความขัดแย้งทุกประเภทจะสามารถแก้ได้ด้วยสามวิธีนี้ เช่น ความขัดแย้งที่เกิดจากความรู้สึกที่รุนแรงเกลียดชัง ก็ไม่สามารถแก้ได้ด้วยการประนีประนอม เป็นต้น

เพื่อให้เห็นภาพจำลองและผลลัพธ์ของการจัดการความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทย จึงขอให้ผู้อ่านได้ช่วยกันพิจารณาทางออกของความขัดแย้งทางการเมือง 3 รูปแบบ ดังนี้

รูปแบบที่ 1 การใช้ระบบตาต่อตาฟันต่อฟัน ในการจัดการความขัดแย้งกับกลุ่มที่ก่อความไม่สงบในสังคม โดยมีสมมุติฐานที่ว่ารัฐมีความชอบธรรมในการกำหนดนโยบาย และดำเนินการภายใต้กรอบอำนาจของกฎหมายที่กำหนดไว้ นอกจากนี้รัฐมีหน้าที่ดูแลและรักความปลอดภัยให้แก่ประชาชนเพราะประชาชนได้มอบอำนาจโดยผ่านการเลือกตั้งให้แล้ว และแนวคิดของรัฐที่ว่ารัฐเป็นผู้ทำดีที่สุดแล้วเพื่อชนส่วนใหญ่ในการบริหารและพัฒนาประเทศ ดังนั้น ชนส่วนน้อยต้องยอมเสียสละแก่ชนส่วนใหญ่จึงต้องจัดการอย่างจริงจัง ซึ่งถ้าเราพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียก็อาจมีได้ดังนี้

ข้อดีของการใช้นโยบายตาต่อตา ฟันต่อฟัน ข้อเสียของการใช้นโยบายตาต่อตา ฟันต่อฟัน
1. กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงถูกสลาย นำพื้นที่เศรษฐกิจการค้ากลับคืนมา 1. ความรุนแรงขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับเพราะจะไม่มีฝ่ายใดยอมแพ้ สุดท้ายคือแพ้ทั้งคู่
2. สังคมได้เรียนรู้และได้ประสบการณ์ว่าการใช้ความรุนแรงไม่นำมาซึ่งแก้ปัญหาที่แท้จริง 2. สภาพเศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิตและระบบการเมืองตกต่ำกว่าที่เป็นอยู่
3. ทุกสถาบันต้องทบทวนและหันมาดูตัวเองว่าเมื่อเกิดปัญหาแล้วทำไมแก้ไขไม่ได้และทำไมไม่ได้ครับการยอมรับ 3. นักท่องเที่ยวและการลงทุนจากต่างชาติไม่กล้าเข้ามาในประเทศไทย สภาพต่างๆ ตกต่ำมากขึ้น

เพื่อเป็นการยืนยันว่า การใช้กำลังไม่สามารถจัดการความขัดแย้งได้ นักทฤษฏีชาวออสเตรเลียชื่อ Burton กล่าวว่าความขัดแย้งของมนุษย์ จะมองเพียงแต่ความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ไม่ได้ แต่จะต้องมองด้านจิตวิทยาและด้านสังคมไปพร้อมๆ กัน ซึ่งเชื่อว่าสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะการใช้กำลังในการจัดการความขัดแย้งไม่สามารถใช้ได้ตลอดไป การใช้กำลังหรือการบีบบังคับขมขู่เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ ก็ยิ่งเพิ่มพูนความขัดแย้งมากขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นหลักของพฤติกรรมมนุษย์ที่ทำเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของตนเอง [7]

รูปแบบที่ 2 การใช้ความสันติวิธีหรือการเจรจาไกล่เกลี่ย ในการจัดการความขัดแย้ง เช่น การสานเสวนาหรือการเจรจาไกล่เกลี่ย ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนและมักจะสร้างความลำบากใจให้แก่หน่วยงานและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นมักจะเกิดควบคู่ไปกับปัญหาอื่นๆ ด้วย

ในปัจจุบัน พบว่ากลุ่มคนหรือหน่วยงานหนึ่งหน่วยงานใดเพียงลำพังไม่อาจจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่มีความสลับซับซ้อนได้ด้วยตัวเอง หรือแม้แต่จะใช้ความรุนแรงปราบปรามก็ตาม แต่หากจะต้องนำกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเข้ามาใช้ในการแก้ปัญหา โดยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของตัวเอง เพราะจะเห็นได้ว่ามีนโยบายสาธารณะจำนวนมากที่ออกมาแล้วก่อให้เกิดปัญหา ความยุ่งยาก มีความสลับซับซ้อน ยากต่อการจัดการและควบคุม ตลอดจนไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้ ซึ่งหลายต่อหลายครั้งพบว่า “ไม่มีทางออกหรือแนวทางแก้ไข” หรือมีก็มีเพียงแต่แนวทางแก้ไขชั่วคราวหรือไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะโดยแท้จริงแล้วการที่ไม่นำกระบวนมีส่วนร่วมของประชาชนไปใช้ในการแก้ปัญหาเหล่านั้นนับว่าเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่ยั่งยืนหรือไม่ นอกจากนี้ การนำวิธีการแก้ปัญหาเฉพาะทางด้านเทคนิคมาใช้เป็นมาตรการ “การตัดช่องว่างหรือตัดตอน” เพียงอย่างเดียวคงจะไม่เกิดประโยชน์และไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะสิ่งสำคัญคือ จะทำอย่างไรให้เสียง ความต้องการหรือความคิดเห็นของสาธารณชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับการรับฟังอย่างแท้จริง

ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองเกิดจากความต้องการที่แตกต่างกัน มีทั้งคนที่ได้รับประโยชน์และเสียประโยชน์ ซึ่งจะมากหรือมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้นั้น นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงกับความต้องการในด้านค่านิยม คุณค่า ความเชื่อ วิถีวัฒนธรรม ประเพณี หรือโลกทัศน์ ซึ่งจะเห็นว่าความต้องการและความรู้สึกเหล่านั้นเป็นผลกระทบที่อยู่นอกเหนือไปจากประเด็นปัญหาที่มีการบัญญัติไว้ในกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อมูลด้านเทคนิคที่มีอยู่ ซึ่งบางครั้งสังคมก็มีการละเลยกับประเด็นเหล่านี้เพราะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยไม่สำคัญเท่าไร แต่ความจริงเป็นปัญหาและทำให้สาธารณชนเกิดความไม่ลงรอยกันและแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่ายต่อสิ่งที่เกิดขึ้น

ปัจจุบัน มีการยอมรับกันมากขึ้นว่าถ้าจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของสาธารณะ จะต้องให้สาธารณชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเพิ่มขึ้น สิ่งที่เราควรต้องดำเนินการขณะนี้และต่อๆ ในอนาคต น่าจะต้องใช้วิธีการที่แตกต่างไปจากวิธีการที่เคยปฏิบัติมาในอดีตหรือไม่ โดยเริ่มตั้งแต่การใช้คำพูดที่ทำให้ทุกคนรู้สึกว่าเป็นพวกหรือฝ่ายเดียวกัน เช่น ใช้คำพูดแทนทุกคนว่า “พวกเรา” โดยไม่ใช้คำว่า “ผมไม่เห็นด้วยกับคุณ” หรือ “พวกผมไม่เห็นด้วยกับพวกคุณ” น่าจะดีกว่าไหม เพราะวิธีการแบบใหม่นี้จะเกี่ยวข้องกับการเปิดโอกาสให้สาธารณชนเข้ามาช่วยดำเนินการและริเริ่มการเปลี่ยนแปลง โดยนำการสื่อสารสองทางมาใช้เป็นกลไกให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้กำหนดนโยบายและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายสาธารณะ

การสานเสวนา (Dialogue) เป็นกลไกอย่างหนึ่งของกระบวนการมีส่วนร่วมที่มีบทบาทสำคัญต่อการแก้ปัญหาความขัดแย้ง การสานเสวนานี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการเป็นฝักเป็นฝ่ายหรือตรงข้ามกัน โดยจะช่วยทำให้ปัญหาความต้องการที่ฝ่ายหนึ่งต้องเลือกว่า “ใช่” และอีกฝ่ายหนึ่งที่ต้องเลือกว่า “ไม่ใช่” ง่ายขึ้นต่อการจัดการและแก้ปัญหาได้ เพราะกระบวนการสานเสวนาจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกคนช่วยกันสะท้อนมุมมอง ความคิดเห็น ซึ่งแม้มีความแตกต่างระหว่างกัน ให้เกิดความเข้าใจและเรียนรู้ร่วมกันได้ง่ายขึ้น การสานเสวนาจะช่วยสร้างบรรทัดฐานในการประเมินแนวทางทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างกว้างขวาง และสามารถนำไปสู่การตัดสินใจร่วมกัน แต่มีข้อสังเกตว่าบรรทัดฐานดังกล่าวต้องอยู่บนพื้นฐานความต้องการที่แท้จริงของแต่ละฝ่าย ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันไป

การสานเสวนา (Dialogue) จะช่วยเสริมสร้างความสามารถของประชาชนหรือผู้เข้าร่วมสานเสวนาในการที่จะ “คิด” “พูด” และ “ปฏิบัติ” ร่วมกันต่อประเด็นปัญหาของทุกคน กระบวนการสานเสวนาถูกออกแบบมาเพื่อสร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของทุกคน โดยมุ่งหวังที่จะให้เป็นรูปแบบและแนวทางการที่ก่อให้เกิดกระบวนการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนอย่างเป็นปกตินิสัย และเป็นประเพณีที่ใช้ต่อไปทุกๆ ครั้งที่เกิดปัญหาความขัดแย้งของสาธารณะ เพราะการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีบทบาทได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาอย่างชอบธรรมจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันมากขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของสาธารณะ กระบวนการที่ให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อสานเสวนาต่อปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะมาจากนโยบายสาธารณะหรือความขัดแย้งเรื่องอื่นๆ ก็ตาม จะทำให้เป็นกระบวนการบังคับให้ประชาชนหรือผู้เกี่ยวข้องหันหน้ามาคุยกันว่าแต่ละฝ่ายมีความต้องการ ห่วงกังวล หรือสนใจอะไรอยู่ ตลอดจนพิจารณาถึงคุณค่าของความต้องการของคนอื่นว่าอย่างไร จนในที่สุดสามารถจะรับรู้ถึงความต้องการของเขาและผู้อื่นได้ แต่พวกเขาจะไม่สามารถ “ได้รับสิ่งที่ต้องการได้ทั้งหมด”

กระบวนการสานเสวนา แสดงให้เห็นว่าเมื่อประชาชนไม่ได้เป็นฝ่ายตรงกันข้ามแล้ว พวกเขาจะช่วยกันค้นหาสิ่งที่พวกเขาสามารถแบ่งปันร่วมกันได้ แม้ว่าพวกเขาจะไม่เห็นด้วยทั้งหมดในเรื่องนั้นก็ตาม

ข้อดีของการใช้นโยบายสานเสวนาหรือการเจรจาไกล่เกลี่ย ข้อเสียของการใช้นโยบายสานเสวนาหรือการเจรจาไกล่เกลี่ย
1. ปัญหาได้รับการแก้ไขตรงตามความต้องการที่แท้จริงของคู่กรณี 1. 1. ใช้เวลามากกว่าการใช้นโยบายตาต่อฟันต่อฟันหรือความรุนแรง
2. สภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองจะมีการพัฒนาที่ดีขึ้นตามความต้องการของคนส่วนใหญ่ 2. คู่พิพาทหรือผู้เกี่ยวข้องต้องสมัครเข้าร่วมกระบวนการ ถ้าไม่สมัครใจก็ใช้กระบวนการนี้ไม่ได้
3. เป็นกระบวนหาทางออกร่วมกัน โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมและประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ 3. คนในสังคมยังไม่เข้าใจกระบวนการและผลของความสำเร็จ


รูปแบบที่ 3 การนิ่งเฉยหรือปล่อยวาง ให้เวลาเป็นเครื่องตัดสิน ซึ่งสังคมไทยได้นำมาใช้บ่อยครั้ง และหลายครั้งก็ได้ผล ข้อดีและข้อเสียของการนิ่งเฉยมีตัวอย่างดังนี้

ข้อดีของการนิ่งเฉย ข้อเสียของการนิ่งเฉย
1. ยืดระยะเวลาความเสียหายและความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น 1. ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข และกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง
2. ประชาชนเรียนรู้พฤติกรรมทางการเมืองของนักการเมืองและพรรคการเมืองมากขึ้น 2. ประชาชนเบื่อหน่ายต่อความขัดแย้งและการเมือง
3. ประชาชนได้เข้าใจและเตรียมตัวเตรียมใจต่อความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 3. สังคม เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวแย่ลง

เมื่อพิจารณาภาพจำลองการจัดการความขัดแย้งทางการเมืองทั้ง 3 รูปแบบ ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย คงไม่มีใครต้องการให้ใช้วิธีตาต่อตาฟันต่อฟัน หรือปล่อยให้เวลาเป็นตัวแก้ปัญหา แต่การใช้การเจรจาหรือสันติวิธีน่าจะเป็นแนวทางที่ดีและเหมาะสมที่สุดไหม ดังนั้นการเจรจาสังคมไทยพึงปรารถนาน่าจะเป็นอย่างไร


การเจรจาแบบไหนที่เราพึงปรารถนา: ไกล่เกลี่ย เกลี้ยกล่อม ตะล่อม บังคับ ขู่เข็ญ?

การเจรจาไกล่เกลี่ยคืออะไร

การเจรจาไกล่เกลี่ยเกิดขึ้นได้ทุกๆ วัน อาจเกิดขึ้นในที่ทำงาน หน่วยงานและสถานที่อื่นๆ ตลอดจนในครอบครัวของเราเอง แต่ถ้าถามว่าจริงๆ แล้ว “การเจรจาไกล่เกลี่ยนั้นคืออะไร” ซึ่งJack Sawyer and Harold Guetzkow[8] อธิบายว่า “การเจรจาไกล่เกลี่ยคือ กระบวนการที่มีคู่กรณีสองฝ่ายหรือมากกว่า ซึ่งอาจเป็นบุคคล กลุ่มคน หรือกลุ่มคนส่วนใหญ่ในสังคม ร่วมกันพัฒนาข้อตกลงที่มีโอกาสเป็นไปได้ร่วมกันเพื่อเป็นแนวทางและกฎกติกาในกิจกรรมร่วมกันของเขาทั้งหลายในอนาคต”

สรวิศ ลิมปรังษี[9] กล่าวว่า การไกล่เกลี่ยคือกระบวนการที่ผู้ไกล่เกลี่ย ซึ่งเป็นคนกลาง ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องที่พิพาทเข้าช่วยคู่พิพาทให้ร่วมกันหารือ และทำความเข้าใจปัญหาข้อพิพาทที่เกิดขึ้นเพื่อแสวงหาหนทางแก้ไขปัญหาที่ทุกฝ่ายยอมรับ” ซึ่งการไกล่เกลี่ยต้องเกิดจากความสมัครใจของคู่กรณีด้วย และคนกลางไม่ใช่ผู้ตัดสินชี้ขาดและเป็นเพียงผู้กำกับกระบวนการอำนวยให้ทั้งสองฝ่ายได้พูดคุยกันเพื่อหาข้อตกลง ดังนั้น การเจรจาไกล่เกลี่ยไม่ใช่เกลี้ยกล่อม ตะล่อม บังคับ ขู่เข็ญ

เป้าหมายที่แตกต่างกันระหว่างรัฐบาลกับ นปช. : อะไรคือความสำเร็จของการเจรจาไกล่เกลี่ย

ความสำเร็จในการเจรจาไกล่เกลี่ยอาจมีความเข้าใจที่แตกต่างกันในวงการของนักเจรจาไกล่เกลี่ยหรือแม้แต่คู่กรณีก็ตาม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของแต่ละคนและแต่ละกรณีซึ่ง“ความสำเร็จ” ในที่นี้อาจหมายความถึง

• การชนะ หรือ

• เป็นเหตุที่ทำให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเลิกร้องเรียน หรือ

• คู่กรณีแยกทางกัน หรือ

• ทางออกที่ต้องได้เปรียบ หรือ

• การแก้ปัญหาชั่วคราว หรือ “หยุดยิง” ชั่วคราว หรือ

• การได้ข้อตกลงที่มั่นคงและยั่งยืน

• การตกลงกันได้ในที่สุดในประเด็นของการพิพาท หรือ

• การทำในสิ่งที่ถูกต้อง รวมถึงการชดใช้ หรือการซ่อมแซม ปรับปรุงแก้ไข หรือ

• การกลับมาคืนดีอย่างถาวร หรือ

• การสร้างหรือพัฒนาสัมพันธ์ภาพจนมีบรรยากาศที่ช่วยให้การเจรจาดำเนินไปได้


แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้ง อาจพิจารณาจากเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งข้างต้นก็ได้ ดังนั้น ความหมายของ “ความสำเร็จ” ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งจึงมีความหลากหลาย ซึ่งขึ้นอยู่กับเป้าหมายของแต่ละคู่กรณี ตัวแทน สถาบัน หรือชุมชนของคู่กรณี

การที่ฝ่าย นปช. แสดงจุดยืนหรือเป้าหมายว่าต้องยุบสภาภายใน 15 วัน หรือรัฐบาลต้องการยุบสภาภายใน 9 เดือน นั้น เป็นเพียงเป้าหมายหรือความสำเร็จที่แต่ละฝ่ายพูดออกมา แต่คงต้องพิจารณาต่อว่าสิ่งที่พูดออกมานั้นเป็นความต้องการที่แท้จริงหรือไม่ สิ่งที่น่าคิดต่อคือ ยังมีความสำเร็จอื่นๆ ไหมที่สามารถทำให้ทั้งสองไปถึงเป้าหมาย เหตุใดจึงต้องยึดโยงอยู่กับการยุบหรือไม่ยุบสภา

คุณภาพของผลแห่งการเจรจาไกล่เกลี่ย[10]

คุณภาพของข้อตกลงที่เกิดจากการเจรจาไกล่เกลี่ยอาจประเมินได้ดังนี้

• ยั่งยืนทนทาน (Durability): ข้อตกลงต้องไม่เป็นสาเหตุของความขัดแย้งในตัวเอง แต่ต้องเป็นสิ่งสำคัญที่จะมุ่งเน้นและแก้ไขความขัดแย้งหรือปัญหาทุกๆด้านอย่างครบถ้วนสมบูรณ์และยั่งยืน

• มีประสิทธิผล (Effectiveness): ข้อตกลงต้องไม่สลับซับซ้อนและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ข้อตกลงต้องมีรายละเอียดพอเพียงและชัดเจน สอดคล้องเหมาะสมกับทั้งทางกายภาพ ทางความสัมพันธ์ ชอบด้วยกฎหมาย และเงื่อนไขอื่นๆ

• โดยใช้ปัญญา (Wisdom): ข้อตกลงต้องพิจารณาและเลือกทางออกที่เป็นประโยชน์มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ โดยหลักการ ข้อตกลงได้เกิดจากความร่วมมือของคู่กรณีและผู้เกี่ยวข้องที่ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ ความชำนาญ

• มีความยุติธรรม (Fairness): ข้อตกลงต้องแสดงให้เห็นว่าคู่กรณีทั้งสองได้รับความยุติธรรมและมีความเสมอภาค เกณฑ์ทั่วไปโดยการใช้กฎหมายอาจเป็นมาตรฐานอย่างหนึ่งที่จะนำมาพิจารณาในเรื่องความยุติธรรมในการเจรจาได้ อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติตามกฎหมายบางครั้งอาจดูเหมือนไม่มีความยุติธรรม ตัวอย่างเช่น ในประเทศแคนาดา นักวิจารณ์คนหนึ่งได้ชี้ให้เห็นถึงความไม่เสมอภาคกันในเรื่องเพศ เช่นในกรณีการหาข้อตกลงของการร้องขอหย่าที่มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และการปฏิบัติในการแก้ปัญหาการได้รับความเสียหายส่วนบุคคล ดังนั้น การเจรจาไกล่เกลี่ยบางครั้ง อาจจะต้องใช้สังคมหรือข้อปฏิบัติทางด้านจริยธรรมมาเป็นเครื่องมือในการวัดความยุติธรรม โดยดูจากการปฏิบัติกันโดยปกติเป็นประจำของชุมชนใดชุมชนหนึ่งในสังคม หรือแม้กระทั้งเป็นแนวทางการปฏิบัติโดยเฉพาะของคู่กรณีนั้นๆ ฉะนั้น จึงมีคำว่าความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice) ซึ่งต้องนำมาใช้พิจารณานอกจากประเด็นของความยุติธรรมทางกฎหมาย[11]

คุณภาพของกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย

กระบวนการเจรจาเป็นสิ่งสำคัญมากต่อคู่กรณี เพราะกระบวนการที่มีความเหมาะสมยอมรับได้ จะช่วยพิสูจน์และทำให้การเจรจาสำเร็จ ตลอดจนนำไปสู่ความพึงพอใจที่ทุกฝ่ายยอมรับกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การกำหนดกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยให้ทุกฝ่ายมีความพึงพอใจก่อนที่จะเริ่มเจรจาไกล่เกลี่ยจึงเป็นสิ่งสำคัญ ตัวอย่างของเกณฑ์ในการพิจารณากระบวนการที่สามารถสร้างความพึงพอใจ ของทุกๆ นี้สามารถอธิบายได้ ดังนี้

• ความยุติธรรม (Fairness): คือการที่คู่กรณีแต่ละฝ่ายต้องมีความรู้สึกว่ามีความสามารถแสดงความคิดเห็นได้ในทุกๆ เรื่องอย่างเต็มที่ที่เขาเห็นว่ามีความสำคัญต่อการเจรจา ตลอดจนมีความรู้สึกว่ามีคนรับฟัง

• ความโปร่งใส (Transparency): คือ “กฎกติกาที่เกี่ยวข้อง” (Rules of Game) มีความชัดเจนและเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย และกติกานั้นได้พิจารณาถึงปัญหา ความห่วงกังวลของทุกๆ คนที่อาจได้รับผลกระทบ

• ความมีประสิทธิภาพเชิงเศรษฐศาสตร์ (Economic efficiency): คือกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยต้องพยายามลดค่าใช้จ่ายให้น้อยลง ทั้งด้านเวลา ค่าใช้จ่าย ด้านอารมณ์ ด้านผลผลิต ตลอดจนบรรยากาศและความสัมพันธ์ภาพในการทำงาน

• ความเคารพนับถือ (Respect): คือการที่คู่กรณีแต่ละฝ่ายมีความรู้สึกสบายใจและมีการรับรู้ถึงความห่วงกังวลทุกเรื่อง ตลอดจนความคิดเห็นที่ต่างกัน โดยให้โอกาสในการพูดคุยกันอย่างเต็มที่และปราศจากการโจมตีหรือพูดไม่ดีต่อกัน

การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพของกระบวนการและประสิทธิของข้อตกลงนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะความไม่พึงพอใจในกระบวนการตั้งแต่แรก จะเป็นต้นเหตุให้เกิดความไม่พึงพอใจในผลลัพธ์หรือข้อตกลงได้ ซึ่งความไม่พึงพอใจในผลลัพธ์อาจก่อให้เกิดรอยร้าวในความสัมพันธ์ต่อไปอีก ซึ่งจะทำให้ข้อพิพาทกลับคืนมาอีกครั้งและก่อให้ผลเสียหายเพิ่มขึ้น[12] ดังนั้น นักเจรจาไกล่เกลี่ยที่ดีต้องนึกถึงผลที่จะตามมาของคู่กรณีในระยะยาวมากว่าในระยะสั้น

ด้วยเพราะเหตุปัจจัยเหล่านี้ไหม จึงทำให้ทั้งฝ่ายรัฐบาลและ นปช. ไม่เข้ามาสู่โต๊ะเจรจา เนื่องจากยังไม่มีความมั่นใจในกระบวนการเจรจาว่าจะนำไปสู่ความพึงพอใจร่วมกันได้อย่างไร เหล่านี้เป็นบทบาทหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่ต้องทำความเข้าใจและร่วมมือกันต่อไป

การเจรจาไกล่เกลี่ย 3 ประเภท

หนังสือเกี่ยวกับการจัดการปัญหาความขัดแย้งเล่มหนึ่งชื่อ Getting to Yes: Negotiating Without Giving In, เขียนโดย Roger Fisher และ William Ury, ได้ชี้ให้เห็นถึงวิธีการกลยุทธ์ที่แตกต่างกันของการเจรจาไกล่เกลี่ยไว้ 3 ประเภท ซึ่งน่าสนใจและนำมาพิจารณาถึงการเจรจาระหว่างรัฐบาลและ นปช. ดังนี้

“การเจรจาแบบแข็งกระด้าง” (Hard Bargaining) คือการเจรจาแบบเป็นการแข่งขัน เป็นวิธีการเจรจาแบบปรปักษ์ โดยเป้าหมายของการเจรจาคือ ต้องการเอาชนะ (หรือต้องสูญเสียให้น้อยที่สุด) การเจรจาแบบแข็งกระด้าง แสดงให้เห็นถึงคู่กรณีไม่ไว้วางใจของฝ่ายตรงข้าม ดังนั้น จึงทำให้ข้อเรียกร้องมีจุดยืนเหนียวแน่น มีการทำให้เข้าใจผิดว่านี่คือ “คำชี้ขาดหรือตัวเลขสุดท้ายของการต่อรอง” การเจรจาแบบแข็งกระด้างนี้มักจะมีความกดกัด การข่มขู่ และการต่อสู้เพื่อให้ได้สิ่งที่ตัวเองปรารถนา ซึ่งวิธีการเช่นนี้แสดงออกมาเพื่อให้เห็นว่าใครมีอำนาจมากที่สุด สังคมไทยคงได้เห็นการเจรจาแบบแข็งกระด้างมาแล้ว 2 ครั้ง เมื่อมีการเจรจาพูดคุยกันระหว่าง รัฐบาลและนปช. เมื่อวันที่ 28 และ 29 มีนาคม 2553 โดยจะเห็นว่าทั้งสองฝ่ายต้องการเอาชนะกันหรือต้องสูญเสียให้น้อยที่สุด จะเห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายไม่มีความไว้วางใจต่อกัน ต่างฝ่ายต่างมีจุดยืนที่ยากต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น การยุบสภาภายใน 15 วัน หรือ 9 เดือน ซึ่งเป็นคำชี้ขาดหรือให้ตัวเลขสุดท้ายของการต่อรอง คงไม่มีใครปฏิเสธว่าการเจรจาของรัฐบาลและนปช. เป็นการนำเอาอำนาจมาคัดคานกัน และท้ายที่สุดก็ไม่สามารถหาข้อตกลงได้

“การเจรจาแบบนุ่มนวล” (Soft Bargaining) คือ วิธีการที่คู่กรณีเห็นด้วยที่จะค้นหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน การเจรจาแบบนุ่มนวลแสดงให้เห็นถึงความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การยินยอมให้บางสิ่งถือว่าเป็นการสร้างสัมพันธ์ภาพ การเจรจาแบบนี้จะง่ายต่อการเปลี่ยนจุดยืน สามารถเปิดเผยตัวเลขสุดท้ายของการต่อรอง และลดความกดดัน หลักพื้นฐานของวิธีการนี้คือต้องการสร้างหรือการรักษาสัมพันธ์ภาพของคู่กรณี

“การเจรจาโดยยึดผลประโยชน์ หรือการเจรจาโดยยึดจุดสนใจที่แท้จริง” (Interest-Based or Principled Negotiation) คือ กล่าวได้ว่า “นุ่มในประเด็นของคน แข็งในประเด็นของปัญหา” ซึ่งเป้าหมายของการเจรจาโดยยึดจุดสนใจนี้จะมีความพยายามที่จะตอบสนองความต้องการร่วมกันของคู่กรณี และลักษณะเด่นของการเจรจาโดยยึดจุดสนใจคือวิธีการสร้างความร่วมมือกันที่จะแก้ปัญหา ซึ่งหลักของการเจรจาจะเน้นที่การค้นหาความต้องการที่แท้จริงของคู่กรณี แทนการต่อรองที่จุดยืนหรือใช้ “คำขาด” โดยต้องประเมินและนำบรรทัดฐานที่เป็นรูปธรรมหรือมีมาตรฐานมาใช้ในการเจรจา ตลอดจนเมื่อได้ข้อตกลงแล้ว ต้องสามารถประเมินแนวทางออกได้ด้วย การเจรจาโดยยึดจุดสนใจเป็นการชี้หรือแนะให้คู่กรณีมองเห็นถึงความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือ แต่ไม่จำต้องไว้วางใจทั้งหมดก็ได้ หลักพื้นฐานและเป้าหมายของการเจรจานี้คือทุกฝ่ายต้องได้ประโยชน์ร่วมกัน

การเจรจาโดยยึดจุดสนใจที่แท้จริง เป็นสิ่งสังคมพึงปรารถนาให้เกิดขึ้นระหว่างรัฐบาลกับ นปช. เพราะจะเห็นว่าเป็นความพยายามที่จะหาทางออกร่วมกันโดยตอบสนองความต้องของทุกฝ่าย อย่างไรก็ตาม การจะค้นหาจุดสนใจที่แท้จริงได้ จำเป็นจะต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีและความไว้วางใจเกิดขึ้นก่อน ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางจึงต้องมีภาระหน้าที่ในการสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นกับทุกฝ่ายก่อนที่จะเข้าประเด็นของการเจรจา

การเจรจาไกล่เกลี่ยอย่างมีหลักการ

หนังสือ “Getting to Yes [13] และ การผ่าทางตัน “Breaking the Impresse” [14] ได้เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ “การเจรจาโดยยึดจุดสนใจ” ไว้ว่าเป็นแนวทางการเจรจาที่คู่กรณีทุกฝ่ายไม่ใช้ความรุนแรง หรือใช้อำนาจอิทธิพลใดหรือตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีทางสู้ อ่อนแอ ยอมแพ้ แต่เป็นการเจรจาที่มีรูปแบบของการมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน หลักการของของการเจรจา สามารถอธิบายได้ดังนี้

• ควรระบุตัวบุคคลและปรึกษาหารือกับผู้เกี่ยวข้อง หรือผู้ได้รับผลกระทบจากทุกฝ่ายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อหาทางออกที่เป็นไปได้โดยรวม ทั้งคู่กรณีและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ พิจารณาความเหมาะสมของระดับการปรึกษาหารือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางที่ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง “กฎแห่งธรรมชาติ” หรือหลักง่ายๆ ก็คือ ยิ่งถ้ามีคน หรือกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบมากเท่าใด หรือมีการใช้อำนาจบังคับให้ต้องทำหรือการนำบางสิ่งบางอย่างไปดำเนินการ หรือมีการขัดขวางการตัดสินใจมากเท่าใด วิธีการแก้ไขคือ ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับบุคคลเหล่านั้นมากยิ่งขึ้น โดยเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นและหาทางออกร่วมกัน

• การพัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาต้องไม่กล่าวหาคนใดคนหนึ่ง แต่ควรมุ่งการแก้ไขปัญหาในอนาคต

• อย่าต่อรองบนพื้นฐานของจุดยืนหรือ “เป้าหมายสุดท้าย” ที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ แต่ให้นึกไว้เสมอว่าอะไรที่เป็นต้นเหตุขับเคลื่อนให้คู่กรณีมายืน ณ จุดยืนของเขา นั่นคือ ต้องพยายามเจรจาโดยยึดจุดสนใจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความต้องการ ความห่วงกังวล ความกลัว เป้าหมาย ค่านิยมทางวัฒนธรรม จริยธรรม หรือแรงจูงใจอื่นๆ

• ต้องพยายามสร้างทางเลือกเพื่อให้ตอบสนองกับจุดสนใจ ผลประโยชน์หรือความต้องการของคู่กรณีทั้งหมดให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ วิธีการคือต้องพยายาม “ขยายทางเลือก” เช่น ถามคู่กรณีว่ามีทางเลือกอื่นๆ อีกไหมที่สามารถแก้ปัญหาได้ หรือมีปัจจัยอะไรนอกเหนือจากนี้ไหมที่ช่วยให้ทุกฝ่ายแก้ปัญหาได้

• ใช้เกณฑ์การตัดสินใจที่ไม่ลำเอียง มีมาตรฐานที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ ซึ่งต้องนำหลักความยุติธรรมเข้ามาช่วยในการประเมินเกณฑ์การตัดสินใจที่ทุกฝ่ายนำเสนอ

• เข้าใจ “ทางเลือกที่ดีที่สุดแทนข้อตกลงจากการเจรจาไกล่เกลี่ย (ทดตก)” ของคุณว่าคืออะไร (Best Alternative to a Negotiated Agreement: BATNA) กล่าวคือ เมื่อคู่กรณีไม่ต้องการเข้ามาสู่โต๊ะเจรจา คนกลางอาจถามว่า “อะไรคือทางเลือกที่ดีที่สุดของคุณที่สามารถทำได้ ถ้าคุณไม่มาเจรจา” การทำความเข้าใจกับ BATNA นับว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของคนกลางที่ใช้ถามคู่กรณีที่ไม่ต้องการมาเจรจาได้นึกและคิดว่า ทางเลือกที่เขาคิดว่าดีนั้น อาจไม่ดีหรือไม่ได้ผลอย่างที่เขาคิดก็ได้ เพราะฉะนั้น การเข้ามาสู่โต๊ะเจรจาน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดไหม วิธีการนี้เป็นเครื่องมือของคนกลางที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเจรจาไกล่เกลี่ยมากขึ้น

สำหรับกรอบกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย มีดังต่อไปนี้

แผนผัง: กรอบกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย [15]

อะไรที่กระตุ้นให้คนมีความขัดแย้งและผลักดันให้มีการเจรจาไกล่เกลี่ย

บ่อยครั้งเมื่อคู่กรณีมีความขัดแย้งกันอยู่ มักจะสร้างและยึดติดกับการต่อรองโดยยึดจุดยืน โดยมักอ้างเหตุผลต่อแนวทางดำเนินการนี้เสมอ เพราะเชื่อว่าเป็นหนทางที่ดีที่สุดที่จะได้สิ่งที่ต้องการ เพราะฉะนั้น นักเจรจาไกล่เกลี่ยที่ดีต้องเรียนรู้ที่จะรับฟังอย่างตั้งใจถึงเหตุผลของคู่กรณีว่าทำไมเขาจึงมีจุดยืนอย่างนั้น

คำว่า “ประเด็น” “จุดยืน”และ “แรงจูงใจ”: แตกต่างกันอย่างไร?

• ประเด็น (Issues) คือ ปัญหาที่จะพูดกันและต้องการการแก้ไข (บางครั้งมีความหมายถึง รายละเอียดวาระในการเจรจาไกล่เกลี่ย)

• จุดยืน (Positions) คือ ข้อเสนอที่มีความหมายว่าประเด็นข้อพิพาทควรจะมีการแก้ไข อย่างไร จุดยืนของคู่กรณีคือ การแก้ไขปัญหาเพื่อตอบสนองผลประโยชน์และความต้องการของฝ่ายหนึ่ง และอาจเป็นการแก้ปัญหาตามแนวอุดมคติของฝ่ายเขาเท่านั้น

• แรงจูงใจ (Motivations) คือ ความต้องการ ความห่วงกังวล เป้าหมาย ความกลัว อารมณ์ต่างๆ คุณค่าและจริยธรรมทั้งที่วัดได้และวัดไม่ได้ของคน ซึ่งเป็นสิ่งต้องได้รับการตอบสนองให้เกิดความพึงพอใจ เพื่อคู่กรณีจะได้ยอมรับในแนวทางแก้ปัญหาข้อพิพาท อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยอยากเปิดเผยแรงจูงใจบางอย่างของตนให้ผู้อื่นรับทราบ จนกว่าจะมีความรู้สึกมั่นใจว่ายังมีความไว้วางใจต่อบุคคลนั้น


เราจะมีวิธีการค้นหาจุดสนใจที่แท้จริงได้อย่างไร [16]

ความสำคัญของการฟังอย่างตั้งใจและความสามารถที่จะเข้าใจ

นักเจรจาไกล่เกลี่ยที่ดีต้องมีการสังเกตคู่กรณีทุกฝ่ายอย่างตั้งใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องให้ความสำคัญต่อการฟังอย่างตั้งใจว่าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งกำลังพูดอะไร โดยมีเหตุผลสำคัญ 2 ประการ คือ

• การฟังที่ดี คือ หนทางที่ดีที่สุดที่จะเก็บและรวบรวมข้อมูลว่ามีประเด็นความขัดแย้งอะไร มีจุดยืนคืออะไร ต้องการอะไร ผลประโยชน์ของเขาคืออะไร และค่านิยมของคู่กรณีอีกฝ่ายคืออะไร

• การฟังที่ดี สามารถช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันความสามารถในการทำความเข้าใจจะเกิดขึ้นได้จากการรับฟังการฟังจะเกิดขึ้นได้ จะต้องประกอบด้วย

• ให้ความสนใจในตัวผู้พูด

• ถามคำถามเพื่อความชัดเจนและขยายความเข้าใจออกไป

• ตรวจสอบประเด็นของผู้อื่นในมุมมองของเขา เพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีความเข้าใจตรงกัน

4 ปัจจัย ปมไร้ทางออกระหว่างการเจรจา: รัฐบาลกับแกนนำ นปช.[17]

การเจรจาระหว่างแกนนำรัฐบาลกับแกนนำคนเสื้อแดง 2 ครั้งที่ผ่านมา ไม่ว่าจะมีครั้งที่ 3 หรือไม่ก็ตาม แต่ก็นับเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของระบบการเมืองไทยที่นำความขัดแย้งสู่โต๊ะเจรจาและเป็นภาพที่ดีไม่น้อยที่คนระดับผู้นำประเทศมานั่งรับฟังกลุ่มบุคคลที่ต่อต้านตนเองอย่างชัดเจน

บรรยากาศตอนเริ่มเข้ามาในห้องเจรจาครั้งแรก เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 มี.ค.นั้น ก่อนเริ่มเจรจาทั้งสองฝ่ายทักทายกันอย่างดีในฐานะคนรู้จักกัน มีการถามสารทุกข์สุขดิบ เช่น นอนหลับดีไหม เดินทางมาอย่างไร ใช้เวลาเท่าไหร่ ถือเป็นสัญญาณที่ดีในการเจรจา แต่เมื่อเริ่มเจรจาไปแล้ว พบข้อบกพร่อง 4 ประการคือ

1.การยึดมั่นในจุดยืนของฝ่ายตัวเอง

เมื่อเจรจารอบแรกจบเมื่อวันที่ 28 มี.ค. แล้วให้แต่ละฝ่ายกลับไปทำการบ้าน จริงๆ ก็เป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อกลับมาเจรจานัดที่ 2 เมื่อวันที่ 29 มี.ค. ทั้งสองฝ่ายกลับมาด้วยจุดยืน กล่าวคือฝ่ายหนึ่งบอกว่าต้องยุบสภาภายใน 15 วัน อีกฝ่ายหนึ่งบอกว่าจะไม่ยุบสภาภายใน 15 วัน เรียกว่ามีธงอยู่ในใจ จึงไม่ค่อยเปิดใจรับฟังกัน

ผลก็คือการเจรจารอบ 2 ดุเดือดมากกว่ารอบแรก มีการใช้อารมณ์เยอะขึ้น มีลักษณะของการแย่งกันพูด และพูดเรื่องอดีตมากเกินไป เอาสิ่งที่อัดอั้นกันมานานมาพูดจากล่าวหากัน วิธีการที่ใช้คือการโต้เถียงเพื่อเอาชนะกัน พูดสวนกันไปมา ไม่ใช่ลักษณะของการหาทางออกร่วมกัน

2.การถ่ายทอดสดการเจรจา

จริงๆ ก็เป็นเรื่องดี แต่เมื่อเจรจาผ่านสื่อครั้งแรกแล้ว หลังจากนั้นควรมีการเจรจาลับ พูดคุยกันแบบไม่ต้องถ่ายทอดสด เมื่อคุยกันจบแล้วได้ผลอย่างไรจึงแถลงร่วมกัน ซึ่งน่าจะได้ผลดีกว่า

อย่างไรก็ดี เมื่อทั้งสองฝ่ายสมัครใจให้มีการถ่ายทอดสด ผลก็คือแต่ละฝ่ายจำต้องยึดจุดยืนของตนเอง เพราะหากไปโอนอ่อนให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง อาจเสียมวลชนที่สนับสนุน เหตุนี้ทำให้ประเด็นต่างๆ ที่ต้องการจะตกลงกันจริงๆ ไม่สามารถตกลงกันได้ แต่ละฝ่ายไม่กล้าเปิดใจ และยึดจุดยืนแบบสุดโต่ง

3.การเจรจาไม่มีกติกา

กติกาของการเจรจาจะเกิดได้ต้องมีคนกลางเสียก่อน ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีคนกลางระหว่างการเจรจา แต่เป็นคนกลางที่มาร่วมกำหนดกติกาให้ทั้งสองฝ่ายเพื่อให้กระบวนการเจรจาเดินหน้า และคู่เจรจาสามารถดำเนินกระบวนการเจรจาเองก็ได้ เพียงแต่มีกติกาที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับร่วมกัน

การไม่มีกติกาและไม่มีคนกลาง ทำให้การเจรจามีลักษณะพูดสวนกันไปมา จุดนี้ส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ที่ไม่ดีระหว่างการเจรจา และส่งผลต่อเนื่องถึงความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน เมื่อไม่ไว้วางใจกันเสียแล้ว ประเด็นต่างๆ ที่เป็นข้อเสนอก็จะถูกอีกฝ่ายหนึ่งคัดค้าน

"โดยทฤษฎีแล้วปัจจัยที่ส่งผลมากต่อการเจรจาว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ก็คือกระบวนการเจรจา ซึ่งกระบวนการต้องดี มิฉะนั้นจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคู่เจรจาเลวร้ายลง และขยายวงความขัดแย้งมากขึ้น ฉะนั้นเมื่อทั้งสองฝ่ายอุตส่าห์หันหน้ามาเจรจากันแล้ว ก็ควรรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันไว้ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ มิฉะนั้นเรื่องเล็กก็จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ หรือเบี่ยงประเด็นไปพูดเรื่องอื่นที่ไม่ใช่ประเด็นเจรจา"

4.ความเชื่อที่อยู่เบื้องหลังจุดยืน

ระหว่างการเจรจาจะเห็นว่ามีความขัดแย้งประเภทหนึ่งที่น่ากังวลคือ ความขัดแย้งทางความเชื่อที่อยู่เบื้องหลังจุดยืนอีกที หรือความขัดแย้งเรื่องข้อมูล อาทิ คลิปเสียงนายกฯ ข้อกล่าวหาว่ามีคนตายในช่วงเมษาฯเลือด กระบวนการตามรัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นประชาธิปไตยหรือไม่ การเลือกตั้งเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาจริงหรือเปล่า เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลคนละฐานกัน ซึ่งหากมีกระบวนการที่ดี และมีการกำหนดเป็นประเด็นๆ ก็น่าจะสามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันได้

อะไรคือแนวทางแก้ไขที่น่าจะเป็นทางออกให้กระบวนการเจรจาเดินหน้าต่อไป

1. ทั้งสองฝ่ายต้องพยายามทำให้เกิดการเจรจารอบใหม่ ซึ่งเท่าที่ติดตามก็พบว่ายังมีโอกาส ขึ้นอยู่ที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายสมัครใจที่ร่วมกันหาทางออกหรือไม่ และถ้ามีการเจรจาก็ไม่ต้องถ่ายทอดสดเหมือน 2 ครั้งแรก

2.ต้องมีคนกลางที่รู้ขั้นตอน รู้วิธีการเจรจา มาเป็นผู้ดำเนินกระบวนการ ซึ่งคนกลางไม่ใช่คนตัดสิน เพียงแต่มากำกับกระบวนการและสร้างช่องทางให้ได้พูดและฟังซึ่งกันและกัน รวมทั้งร่วมกันกำหนดประเด็นการพูดคุย สิ่งสำคัญคือต้องไม่เถียงกันเรื่องจุดยืนหรือระยะเวลาว่าต้องยุบภายในกี่วัน เพราะเถียงอย่างไรก็ไม่จบ แต่ต้องให้ทั้งสองฝ่ายได้แสดงเหตุผลของตัวเองว่าทำไมต้องยุบภายใน 15 วัน หรือ 9 เดือน โดยต้องพยายามตอบสนองหรือขจัดข้อห่วงกังวลของแต่ละฝ่ายให้หมดไป

"ฉะนั้นถ้าทั้งสองฝ่ายมาร่วมเจรจากันอย่างมีกระบวนการ กำหนด Road Map (แผนที่เดินทาง) ว่าจะทำอะไรบ้าง ภายในกรอบเวลาเท่าไหร่ ก็น่าจะได้ข้อยุติที่ชนะด้วยกันทั้งสองฝ่าย"

ความเป็นไปได้ของการเจรจารอบที่ 3: อะไรคือความยากและง่ายต่อการเจรจา

ปัจจัยจำนวนมากสามารถชี้ให้เห็นถึงระดับของความยากในการแก้เจรจาแก้ปัญหาความขัดแย้ง เช่น

• คู่กรณีจุดสนใจร่วมกันมากน้อยเพียงใด

• คุณภาพของความสัมพันธ์ในอดีตของคู่กรณีเป็นอย่างไร

• จำนวน และความชัดเจนของประเด็นรวมถึงความสามารถที่จะจำแนกแยกแยะออกไปได้

• จำนวนของคู่กรณี

• ความเพียงพอของทรัพยากร หรือจำนวนทางเลือกในการแก้ปัญหา

• ระดับของความมุ่งมั่นตั้งใจ หรือแรงจูงใจของคู่กรณีที่จะแก้ปัญหาข้อพิพาท

• ความสำคัญของประเด็นต่างๆ ต่อคู่กรณี

• ระยะเวลาของข้อพิพาท

• ระดับความลึกซึ้งของข้อพิพาท

• ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างคู่กรณี และหนทางที่คู่กรณีใช้อำนาจ

• ระดับความสนใจของสาธารณชน และความเห็นโต้แย้ง

ในทางกลับกัน ปัจจัยที่สามารถบ่งชี้ให้เห็นถึงความง่ายในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาท คือ

• คู่กรณีมีจำนวนน้อย

• คู่กรณีมีส่วนเหมือนกันมาก

• ประเด็นความขัดแย้งมีจำนวนน้อยและส่วนใหญ่ชัดเจน

• ทางเลือกและทรัพยากรมีมาก

• ความมุ่งมั่นและตั้งใจในการแก้ปัญหามีมาก

• ประเด็นความขัดแย้งมีความสำคัญน้อยต่อคู่กรณี

• ข้อพิพาทมีความผิวเผินอยู่มาก

• คู่กรณีมีความตั้งใจที่จะใช้อำนาจอย่างเสมอภาค และอย่างยุติธรรม และ

• มีการโต้แย้งน้อยจากมุมมองของสาธารณชนในข้อพิพาทที่เกิดขึ้น

จะเห็นได้ว่าความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับ นปช. มีจุดร่วมใหญ่คือ ต้องการให้ประเทศชาติชนะด้วยกัน ต้องการเห็นรัฐธรรมนูญที่ทุกฝ่ายยอมรับกันได้ ต้องการเห็นประชาธิปไตยที่แท้จริง และสำคัญที่สุดคือต้องการเห็นความสมานฉันท์ของคนในชาติ อย่างไรก็ดี ทั้งสองฝ่ายมีความสัมพันธ์ไม่ค่อยดีต่อกันเท่าที่ควร จึงเกิดความไม่ไว้วางใจ และเมื่อพิจารณาถึงประเด็นปัญหาที่ได้มีการพูดคุยกัน 2 รอบ พบว่ามีประเด็นที่ยังไม่ชัดเจนจำนวนมากและยังไม่ได้แยกแยะให้เป็นประเภทๆ และที่สำคัญที่สุด ความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะแก้ปัญหานั้นมีค่อนข้างน้อย

สิ่งสำคัญที่ต้องเน้นในการเจรจาไกล่เกลี่ยคือความสำคัญในการใช้อำนาจ หากคู่กรณีมีอำนาจที่แตกต่างกันมาก การแก้ปัญหาอาจจะดูเผิน ๆ ดูเหมือนจะง่าย เพราะฝ่ายที่มีอำนาจน้อยกว่าอาจยอมจำนนให้แก่ผู้มีอำนาจมากกว่า อย่างไรก็ตามในกรณีเช่นนั้น สาเหตุรากเหง้าของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น อาจจะยังคงไม่ได้รับการแก้ไข จนกว่าประเด็นยุติธรรมของชุมชนหรือส่วนตัวจะถูกได้รับการพิจารณาความขัดแย้งจะยังกรุ่นอยู่ต่อไป และอาจทวีความรุนแรงใหม่ในอนาคต

การตัดสินใจเข้าเจรจาดีหรือไม่: อะไรคือปัจจัยที่รัฐบาลและ นปช. ต้องพิจารณา

สิ่งที่ยากที่สุดของการเจรจาคือ การนำคู่กรณีมาสู่โต๊ะเจรจา ดังนั้นสิ่งที่ต้องดำเนินการก่อนการเจรจาไกล่เกลี่ย จึงมีข้อเสนอดังนี้ [18]

• การสร้างความไว้วางใจ ทั้งก่อนและระหว่างกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยเป็นสำคัญยิ่ง อย่างไรก็ตาม หากความขัดแย้งทวีความรุนแรงมากขึ้นจนถึงจุดที่คู่กรณีกล่าวหากันอย่างรุนแรง หรือสบประมาทกันจนทำให้เสียหน้าจากคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจนทำให้การเจรจาไกล่เกลี่ยอาจเป็นไปได้ไม่ได้ จึงจำเป็นต้องสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างคู่กรณีให้เกิดขึ้น ขณะนี้จะเห็นว่า ฝ่าย นปช. ไม่ไว้วางใจฝ่ายรัฐบาล มีการกล่าวหากันอย่างรุนแรงว่าเป็นผู้ฆ่าประชาชนและสั่งให้มีการสลายการชุมนุม ดังนั้น ในกรณีความขัดแย้งที่มีคู่กรณีหลายฝ่ายและอยู่เขตชุมชนใหญ่ การสร้างสัมพันธภาพจำเป็นต้องเริ่มสร้างให้เกิดขึ้นก่อนระหว่างผู้นำชุมชน เพราะถ้าผู้นำทั้งสองฝ่ายนั้นเข้มแข็ง หรือต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนถ้าผู้นำนั้นฟังเสียงจากพื้นที่มากๆ ในสัมพันธ์ภาพที่มีประวัติศาสตร์ความขัดแย้งด้านกระบวนการ การคืนดีอาจจำเป็นต้องเกิดก่อนการเจรจาไกล่เกลี่ยหาข้อตกลงที่จะให้เกิดประโยชน์สูงสุด กระบวนการฟื้นคืนดีอาจรวมถึงการยอมรับหรือรวมการขอโทษ และ การชดเชย รักษาเยียวยา และการให้อภัยในการกระทำในอดีต[19]

โดยสรุป คำถามที่ถามว่า “การเจรจาจะเป็นทางออกของความขัดแย้งในประเทศไทยได้จริงหรือไม่?” คำตอบที่ได้คือ การเจรจาไม่ใช่การเกลี่ยกล่อม ตะล่อม บับคับ ขู่เข็ญ แต่การเจรจาสามารถนำมาใช้เป็นทางออกของความขัดแย้งในประเทศไทยได้ โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ และการให้เหตุผลของคู่กรณี เพราะถ้าคู่กรณีไม่สมัครใจที่จะเข้าร่วมเจรจา การเจรจาก็คงไม่ใช่ทางออกของความขัดแย้ง ดังนั้น การเปิดใจร่วมกันหาทางออกจึงเป็นกุญแจหลักของความสำเร็จคือ คู่กรณีต้องมีความจริงใจ เปิดเผย แสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ และไม่ยึดในจุดยืน นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายต้องร่วมกันระบุประเด็นปัญหาให้ชัดเจนว่าคืออะไร ถ้าความขัดแย้งมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนที่อยู่นอกเหนือไปจากคู่กรณี และข้อตกลงหรือความยินยอมที่จะเกิดขึ้นมีความสำคัญและเกี่ยวข้อง ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาผู้แทนของผู้เกี่ยวข้องที่มีความชอบธรรมและมีอำนาจในการตัดสินใจด้วย

ดังนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งผู้แทนในการเจรจาไกล่เกลี่ย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดต้องมีอำนาจในการจัดการและกำหนดผู้แทนของตนเอง หรือในกรณีของกลุ่มก็ควรมีการจัดการหาผู้แทนในการเจรจาไกล่เกลี่ย โดยเฉพาะถ้าเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย จะต้องมีภาคประชาสังคมที่เป็นผู้แทนอยู่ด้วย เพื่อนำเสนอความต้องการของกลุ่ม อาทิ คนจน ผู้หญิง เด็ก ชนกลุ่มน้อย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม

“การเจรจาจะเป็นทางออกของความขัดแย้งในประเทศไทยได้ หากได้มีการพูดคุยตกลงเบื้องต้นในกรอบว่าจะไม่มีการละเมิดค่านิยมหรือคุณค่าของคู่กรณี ในกรณีของภาครัฐประเด็นในการเจรจาต้องไม่ละเมิดกฎและระเบียบของหน่วยงานนั้นๆ ด้วย คู่กรณีต้องมีเหตุผลในการเจรจาไกล่เกลี่ย เพราะคู่กรณีจะไม่เจรจาหากรู้ว่าสามารถเรียกร้องสิ่งที่ตนเองต้องการได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่กรณีอื่น ยกเว้นมีแรงกดกันอย่างสูงในด้านศีลธรรมมาบีบบังคับ นั่นหมายความว่า คู่กรณีจะไม่เจรจา หากพิจารณาแล้วเห็นว่าการไม่ตกลงเจรจาจะได้ผลดีกว่าข้อตกลงที่เกิดจากการเจรจาไกล่เกลี่ย และที่สำคัญความพึ่งพาอาศัยกันในเชิงอำนาจ เพราะความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างคู่กรณีหากไม่มีความเท่าเทียมหรือแตกต่างกันมากหรือมีการใช้อำนาจในทางที่ผิด ก็จะไปสู่ข้อตกลงที่มาจากกาบีบบังคับ ซึ่งไม่ใช่การเจรจาไกล่เกลี่ยที่พึงปรารถนา

อ้างอิง

  1. วิกีพิเดีย สารนุกรมเสรี, http://th.wikipedia.org/wiki
  2. มติชนรายวัน วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11141
  3. รายการก๊วนข่าวเช้าวันหยุด ไทยทีวีสีช่อง 3 วันที่ 1 พฤษภาคม 2553
  4. เพิ่งอ้าง
  5. วันชัย วัฒนศัพท์, ความขัดแย้ง...หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา, โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท พิมพ์ครั้งที่ 1 หน้า 9
  6. Alnm C. Tidwell, Conflict Resolved? A Critical Assessment of Conflict Resolution. P. 78
  7. Alnm C. Tidwell, Conflict Resolved? A Critical Assessment of Conflict Resolution. P. 90
  8. Jack Sawyer and Harold Guetzkow, “Bargaining and Negotiation in International Relations,” in International Behavior, ed. Herbert C. Kelman (New York: Holt, Rinehart and Winston, 1965)., 466, as cited in [Bell, 1988 #46], 235.
  9. ผู้พิพากษา, หนังสือการจัดการความขัดแย้งกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท สำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม หน้า 57. , 2550
  10. This section draws from French language training materials developed by Sylvie Matteau, 2001, and is based on Ibid..
  11. วันชัย วัฒนศัพท์ ความขัดแย้ง : หลักการและเครื่องมือการแก้ปัญหา (สถาบันพระปกเกล้า และสมาคมสันติวิธีแห่งประเทศไทย 2547)
  12. William L. Ury, Jeanne M. Brett, and Stephen B. Goldberg, Getting Disputes Resolved: Designing Systems to Cut the Costs of Conflict (San Francisco: Jossey-Bass Publishers, 1988).
  13. Fisher, Ury, and Patton, Getting to Yes.
  14. usskind, L., and J. Cruikshank. Breaking the Impasse: Consensual Approaches to Resolving Public Disputes. New York: Basic Books, 1987. See also Susskind, Lawrence, and Patrick Field. Dealing with an Angry Public: The Mutual Gains Approach to Resolving Disputes. New York: Free Press, 1996.
  15. 5 This process framework has been adapted from a five stage diagram by Craig Darling to fit the six-stage process framework of Sylvie Matteau. See Craig Darling, ed., Reaching Agreement: Negotiating in the Public Interest, 4 vols., vol. 1, Dispute Resolution Series (Vancouver, BC: Continuing Legal Education Society of B.C. and Dispute Resolution Office, B.C. Ministry of Attorney General, 1998).
  16. ผู้เขียนสรุปจากการเข้าสังเกตการณ์เจรจาระหว่างรัฐบาลกับ นปช. เมื่อวันที่ 28 และ 29 มีนาคม 2553 ณ สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง
  17. ข้อคิดเห็นจากการที่ผู้เขียนได้เข้าสังเกตการณ์เจรจาเมื่อวันที่ 28 และ 29 มีนาคม 2553 ณ ส านักงานสภาพัฒนาการเมือง
  18. อ้างแล้ว
  19. For more on reconciliation, please read Assefa, Hizkias. "Reconciliation." In Peacebuilding: A Field Guide, edited by Luc Reychler, and Thania Paffenholz, 336-342. Boulder, CO, and London, UK: Lynne Reiner Publishers, 2001; Minow, Martha. Between Vengeance and Forgiveness: Facing History After Genocide and Mass Violence, Boston: Beacon Press, 1998; Redekop, Vern Neufeld. From Violence to Blessing: How an Understanding of Deeprooted Conflict Can Open Paths of Reconciliation. Ottawa: Novalis, 2002.