ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2543"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 166: บรรทัดที่ 166:
สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกที่สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2543<ref>รายนามประธานวุฒิสภาตั้งแต่อดีต –  ปัจจุบัน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki</ref> โดยวุฒิสภาชุดนี้ได้เลือกนายสนิท  วรปัญญา เป็นประธานวุฒิสภา
สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกที่สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2543<ref>รายนามประธานวุฒิสภาตั้งแต่อดีต –  ปัจจุบัน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki</ref> โดยวุฒิสภาชุดนี้ได้เลือกนายสนิท  วรปัญญา เป็นประธานวุฒิสภา


การเลือกตั้ง ส.ว. จำนวนจังหวัด ส.ว.ที่ได้รับการรับรอง กกต. และ ผอ.กกต.เขต สั่งมิให้ เป็นผู้สมัคร เสียชีวิต
{| border="1" align="center"
|-
!width="100" style="background:#87cefa;" | การเลือกตั้ง ส.ว.
!width="100" style="background:#87cefa;" | จำนวนจังหวัด
!width="100" style="background:#87cefa;" | ส.ว.ที่ได้รับการรับรอง
!width="100" style="background:#87cefa;" | กกต. และ ผอ.กกต.เขต สั่งมิให้ เป็นผู้สมัคร
!width="100" style="background:#87cefa;" | เสียชีวิต
|-
|align="center" |4 มี.ค. 43
|align="center" |76 จังหวัด
|align="center" |122 คน
|align="center" |10 คน
|align="center" |1 คน
|-
|align="center" |29 เม.ย. 43
|align="center" |35 จังหวัด
|align="center" |66 คน (*1)
|align="center" |10 คน
|align="center" |1 คน
|-
|align="center" |4 มิ.ย. 43
|align="center" |9 จังหวัด
|align="center" |8 คน (*2)
|align="center" |1 คน
|align="center" |ไม่มี
|-
|align="center" |9 ก.ค. 43
|align="center" |4 จังหวัด
|align="center" |3 คน
|align="center" |2 คน
|align="center" |ไม่มี
|-
|align="center" |22 ก.ค. 43
|align="center" |จ.ศรีสะเกษ
|align="center" |1 คน (*3)
|align="center" |ไม่มี
|align="center" |ไม่มี
|-
|Colspan=5 align="center" |มติประกาศรับรองผล ส.ว. ครบ 200 คน เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543
|-
|align="center" |21 เม.ย. 44
|align="center" |มีมติให้มีการเลือกตั้งใหม่7 จังหวัด
เลือกตั้งซ่อม 1 จังหวัด
เนื่องจากลาออก
|align="center" |10 คน
|align="center" |ไม่มี
|align="center" |ไม่มี
|-
|align="center" |26 พ.ค. 44
|align="center" |จ.ศรีสะเกษ
|align="center" |1 คน(*4)
|align="center" |ไม่มี
|align="center" |ไม่มี
|-
|align="center" |24 ก.พ. 45
|align="center" |จ.สมุทรปราการ
|align="center" |1 คน
|align="center" |ไม่มี
|align="center" |ไม่มี
|-
|}


+++++
ตาราง
+++++


'''(*) หมายเหตุ'''
'''(*) หมายเหตุ'''

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:58, 18 มีนาคม 2554

ผู้เรียบเรียง นิพัทธ์ สระฉันทพงษ์


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2543

ความจำเป็นต้องมีวุฒิสภา

เมื่อเริ่มแรกภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย รูปแบบและโครงสร้างรัฐสภาของไทยนั้น ใช้ระบบสภาเดียวคือสภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภทมาเป็นเวลา 14 ปี ในปี พ.ศ. 2489 รูปแบบของรัฐสภาก็มีการเปลี่ยนแปลงเริ่มใช้ระบบ 2 สภาเป็นครั้งแรก ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนและวุฒิสภา โดยสภาผู้แทน ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน จำนวน 178 คน และพฤฒสภา ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 80 คน มาจากการเลือกตั้งโดยทางอ้อมและลับ ซึ่งสภาผู้แทนจะทำหน้าที่เลือกพฤฒสภา [1] พฤฒสภาชุดดังกล่าวมีพันตรี วิลาศ โอสถานนท์ เป็นประธานพฤฒสภา ซึ่งต่อมาพฤฒสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489[2] ได้พัฒนามาเป็นวุฒิสภา จึงอาจกล่าวได้ว่าประธานวุฒิสภามีขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นครั้งแรก โดยประธานพฤฒสภามีหน้าที่ดำเนินกิจการของสภาให้เป็นไปตามระเบียบหรือข้อบังคับการประชุมของพฤฒสภา รองประธานพฤฒสภามีหน้าที่กระทำกิจการแทนประธานเมื่อประธานไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ความจำเป็นที่ต้องมีวุฒิสภา ก็เพื่อทำหน้าที่ทบทวนรับผิดชอบในการให้การรับรองการตรากฎหมายและญัตติอื่นที่ส่งมาจากสภาผู้แทนราษฎร และอาจชะลอการออกกฎหมายให้ช้าลง เพื่อให้แน่ใจว่าร่างกฎหมายของสภาผู้แทนราษฎรได้รับการพิจารณาอย่างถูกต้องเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชน นอกจากนั้นวุฒิสภา ซึ่งเป็นอำนาจหนึ่งในทางนิติบัญญัติยังมีหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารไม่ว่าจะเป็นการตั้งกระทู้ถาม การเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมวุฒิสภา การตั้งคณะกรรมาธิการและการให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญๆ เป็นต้น

ที่มาของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ 2540

การพัฒนาประชาธิปไตย

รัฐสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 นี้สิ้นสุดลง โดยการยึดอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 โดย “คณะทหารของชาติ” ภายใต้การนำของ พลโท ผิน ชุณหะวัณ รัฐธรรมนูญฉบับต่อๆ มาที่กำหนดให้รัฐสภาประกอบด้วยสองสภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 สำหรับที่มาของวุฒิสภา จะมาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น[3] จนกระทั่งภายหลังการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2535 พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยมีนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี มีกระแสเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและปฏิรูปการเมืองอย่างต่อเนื่อง โดยศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ซึ่งเป็นประธานรัฐสภาในขณะนั้น จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย” มีศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นประธานกรรมการและมีศาสตราจารย์ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล เป็นกรรมการและเลขานุการ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2537[4] คณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ดังต่อไปนี้คือ

1. ศึกษา พิจารณา ค้นคว้า ตรวจสอบ รวบรวมความคิดเห็น และเรียบเรียงบทบัญญัติขึ้นเป็นร่างรัฐธรรมนูญ

2. ศึกษา พิจารณา ค้นคว้า ตรวจสอบ รวบรวมความคิดเห็น และเรียบเรียงบทบัญญัติขึ้นเป็นร่างกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคการเมือง และร่างกฎหมายอื่นๆ อันจำเป็นต่อการพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

3. ศึกษา พิจารณา ค้นคว้า ตรวจสอบ รวบรวมความคิดเห็น และยกร่างข้อเสนอแนะเพื่อการจัดทำแผน หรือโครงการพัฒนา หรือปฏิรูปการเมืองการปกครองของประเทศในระยะเฉพาะหน้าและระยะยาวให้สอดคล้องกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ต่อมาคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตยได้เสนอข้อสรุปต่อประธานรัฐสภา 2 ประการ คือ

1. ควรมีองค์กรที่ทำหน้าที่พัฒนาการเมืองอย่างต่อเนื่อง
2. ควรมีการปฏิรูปการเมือง โดยแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 มาตรา 211 ให้มีการตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติ ภายหลังการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2538 เป็นช่วงเวลาของการเลือกตั้งทั่วไป แนวทางของคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตยได้รับการตอบสนองจากบรรดานักการเมือง นักวิชาการ และประชาชนอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้แนวคิดนี้ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นหาเสียงของพรรคการเมืองต่างๆ อย่างกว้างขวาง [5]

การปฏิรูปทางการเมือง

ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2538 รัฐบาลโดยการนำของนายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี ได้ตอบสนองต่อเสียงเรียกร้องดังกล่าว โดยได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2538 ความตอนหนึ่งว่า “จะสนับสนุนให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน มาตรา 211 ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงข้อเสนอของคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย” ต่อมาวันที่ 8 สิงหาคม 2538 นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง คือ “คณะกรรมการปฏิรูปทางการเมือง” โดยมีนายชุมพล ศิลปอาชา เป็นประธานกรรมการ และมีรองศาสตราจารย์ประณต นันทิยะกุล เป็นกรรมการและเลขานุการ [6] คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่จัดทำแผนพัฒนาการเมืองให้สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งวิธีการปฏิรูปการเมืองและพิจารณาแนวทางการดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 211 ทั้งนี้โดยคำนึงถึงข้อเสนอของคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตยและองค์กรประชาธิปไตยอื่นๆ

ในที่สุดคณะกรรมการปฏิรูปทางการเมืองได้เสนอข้อสรุปต่อนายกรัฐมนตรี คือ ให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 211 ใน 2 ลักษณะ คือ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญบางมาตราให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติในมาตรา 211 หรือการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ โดยให้มี “คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ” ซึ่งประกอบด้วยกรรมการโดยตำแหน่ง ผู้แทนพรรคการเมือง สมาชิกวุฒิสภา นักวิชาการ และผู้แทนประชาชน กลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ จำนวน 67 คน เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ [7]

ต่อมารัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา ได้เสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 211 ต่อรัฐสภาวาระแรก ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติรับหลักการ ในคราวประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญ ครั้งที่สอง) เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2539 และต่อมาในคราวประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญ ครั้งที่หนึ่ง) ที่ประชุมรัฐสภาได้พิจารณาในวาระที่สอง เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2539 ในที่สุดก็ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 มาตรา 211 ในวาระที่สาม ในคราวประชุมร่วมกันของรัฐสภาครั้งที่ 3 (สมัยสามัญ ครั้งที่หนึ่ง) เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2539 โดยมีการตั้ง “สภาร่างรัฐธรรมนูญ” ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งถือเป็นกุญแจที่นำไปสู่การปฏิรูปทางการเมือง[8]

สภาร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยทางอ้อมประเภทหนึ่ง เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งจากจังหวัดต่างๆ โดยขั้นแรกให้ผู้สมัครเลือกกันเองให้เหลือจังหวัดละ 10 คน จากนั้นจึงให้รัฐสภาลงคะแนนเลือกตั้งให้เหลือเพียงจังหวัดละ 1 คน จำนวน 76 คน และอีกประเภทหนึ่งคือ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ที่มีการให้ปริญญาสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ หรือรัฐประศาสนศาสตร์ เสนอบัญชีรายชื่อบุคคล ผู้มีความเชี่ยวชาญในสาขากฎหมายมหาชน สาขารัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์ และผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน หรือการร่างรัฐธรรมนูญ ประเภทละไม่เกิน 5 คน ต่อประธานรัฐสภา เพื่อนำเสนอให้รัฐสภา ทำการเลือกในแต่ละสาขาให้ได้จำนวนตามที่กำหนด [9] คือ

1. ผู้เชี่ยวชาญสาขากฎหมายมหาชน จำนวน 8 คน
2. ผู้เชี่ยวชาญสาขารัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์ จำนวน 8 คน
3. ผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน หรือการร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 7 คน

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2539 ในคราวประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 3 (สมัยสามัญ ครั้งที่หนึ่ง) ที่ประชุมรัฐสภาลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 99 คน [10] และต่อมาเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2540 สภาร่างรัฐธรรมนูญได้ประชุมเป็นครั้งแรก และได้มีมติเลือกประธานและรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ [11] ดังนี้

นายอุทัย พิมพ์ใจชน เป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ

ศาสตราจารย์กระมล ทองธรรมชาติ เป็นรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ คนที่ 1

นางยุพา อุดมศักดิ์ เป็นรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ คนที่ 2

ต่อมาวันที่ 14 มกราคม 2540 สภาร่างรัฐธรรมนูญได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการสามัญคณะต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 17 คน (แต่งตั้งเพิ่มเติมอีก 12 คน รวมเป็น 29 คน) โดยนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานคณะกรรมาธิการ และศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการ
2. คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์ 17 คน โดยนายสมเกียรติ อ่อนวิมล เป็นประธานคณะกรรมาธิการ และนายธงชาติ รัตนวิชา เป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการ
3. คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์ 38 คน โดยศาสตราจารย์อมร รักษาสัตย์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการ และนายสนั่น อินทรประเสริฐ เป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการ
4. คณะกรรมาธิการวิชาการ ข้อมูล และศึกษาแนวทางร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 17 คน โดยศาสตราจารย์กระมล ทองธรรมชาติ เป็นประธานคณะกรรมาธิการ และรองศาสตราจารย์วิสุทธิ์ โพธิแท่น เป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการ
5. คณะกรรมาธิการจดหมายเหตุ ตรวจรายงานการประชุมและกิจการสภา 17 คน โดยนายเดโช สวนานนท์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการ และนายสุนทร ทิพย์มณี เป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการ

หลังจากสภาร่างรัฐธรรมนูญได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการสามัญและวิสามัญ พร้อมทั้งกำหนดภารกิจในการดำเนินงานแล้ว คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจึงได้ทำการยกร่างรัฐธรรมนูญโดยมีทั้งหมด 339 มาตรา และได้เสนอสู่ที่ประชุมของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในวาระแรก เพื่อพิจารณารับร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 – 8 พฤษภาคม 2540 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้รับร่าง 89 เสียง งดออกเสียง 1 เสียง จากนั้นที่ประชุมได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... จำนวน 33 คน เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ โดยนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานคณะกรรมาธิการ และศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการ และกำหนดให้แปรญัตติภายใน 30 วัน จากนั้นจึงเสนอร่างรัฐธรรมนูญสู่การพิจารณาของสภาร่างรัฐธรรมนูญในวาระที่สอง ซึ่งเป็นการพิจารณาเรียงตามลำดับมาตรา ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2540 จนกระทั่งวันที่ 30 กรกฎาคม 2540 เป็นอันจบการพิจารณาในวาระที่สอง

โดยได้พิจารณาปรับให้คงเหลือ 336 มาตรา และต่อจากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นสมควรให้รอไว้ 15 วัน ก่อนจะลงมติในวาระที่สาม เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2540 ที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ลงมติเห็นชอบ 92 เสียง ไม่เห็นชอบ ไม่มี และงดออกเสียง 4 เสียง [12] สภาร่างรัฐธรรมนูญใช้ระยะเวลาในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช.... ทั้งสิ้น 233 วัน จากนั้นจึงได้เสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในคราวประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 2 – 6 (สมัยสามัญ ครั้งที่สอง) ตั้งแต่วันที่ 4 – 10 กันยายน 2540 รัฐสภา ได้พิจารณาแล้วเสร็จ และรอการพิจารณา ลงมติไว้ 15 วัน จากนั้นในวันที่ 27 กันยายน 2540 ในคราวประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 7 (สมัยสามัญ ครั้งที่สอง) รัฐสภาจึงได้ลงมติให้ความเห็นชอบ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบ 578 เสียง ไม่เห็นชอบ 16 เสียง และงดออกเสียง 17 เสียง

ต่อมาเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานวุฒิสภา พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมด้วยศาสตราจารย์ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และนายพินิต อารยะศิริ เลขาธิการวุฒิสภา เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทูลเกล้าฯ ถวายร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2540 เป็นต้นไป [13] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 ของประเทศไทย รวมระยะเวลาในการใช้ 8 ปี 11 เดือน 9 วัน โดยสิ้นสุดจากการยึดอำนาจของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549

วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ 2540

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดให้รัฐสภาเป็นระบบสองสภาหรือสภาคู่ ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 500 คน และวุฒิสภา ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 200 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครในเขตเลือกตั้งนั้นได้ 1 คน จังหวัดใดมีสมาชิกวุฒิสภาได้มากกว่า 1 คน ให้ผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดเรียงตามลำดับจนครบจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่พึงมีในจังหวัดนั้นเป็นสมาชิกวุฒิสภา

คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา

1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

2. มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง

3. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

4. มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

ก. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
ข. เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง หรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นในจังหวัดนั้น
ค. เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
ง. เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา
จ. เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี

บุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา

1. เป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมือง

2. เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วยังไม่เกิน 1 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง

3. เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ในอายุของวุฒิสภาคราวก่อนการสมัครรับเลือกตั้ง

4. เป็นบุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้

(1) ติดยาเสพติดให้โทษ

(2) เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี

(3) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คือ

- วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
- เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
- อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

(4) ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล

(5) เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท

(6) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริต และประพฤติมิชอบในวงราชการ

(7) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ

(8) เป็นข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ นอกจากข้าราชการการเมือง

(9) เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

(10) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ

(11) เป็นกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

(12) อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

(13) เคยถูกวุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งและยังไม่พ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่วุฒิสภามีมติจนถึงวันเลือกตั้งสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลง เมื่อ

1. ถึงคราวออกตามอายุของวุฒิสภา
2. ตาย
3. ลาออก
4. ขาดคุณสมบัติของผู้มิสทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา
5. มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา
6. เป็นรัฐมนตรีหรือข้าราชการการเมืองอื่น
7. กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 128
8. วุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง หรือศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้พ้นจากสมาชิกภาพ ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติ หรือศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย แล้วแต่กรณี
9. ขาดประชุมเกินจำนวนหนึ่งในสี่ของจำนวนวันประชุมในสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า 120 วัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานวุฒิสภา
10. ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

วาระการดำรงตำแหน่ง

สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้ง และอายุของวุฒิสภามีกำหนดคราวละ 6 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง เมื่ออายุของวุฒิสภาสิ้นสุดลง พระมหากษัตริย์จะได้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งกำหนดวันเลือกตั้งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่อายุของวุฒิสภาสิ้นสุดลง[14]

การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2543

สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกที่สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2543[15] โดยวุฒิสภาชุดนี้ได้เลือกนายสนิท วรปัญญา เป็นประธานวุฒิสภา

การเลือกตั้ง ส.ว. จำนวนจังหวัด ส.ว.ที่ได้รับการรับรอง กกต. และ ผอ.กกต.เขต สั่งมิให้ เป็นผู้สมัคร เสียชีวิต
4 มี.ค. 43 76 จังหวัด 122 คน 10 คน 1 คน
29 เม.ย. 43 35 จังหวัด 66 คน (*1) 10 คน 1 คน
4 มิ.ย. 43 9 จังหวัด 8 คน (*2) 1 คน ไม่มี
9 ก.ค. 43 4 จังหวัด 3 คน 2 คน ไม่มี
22 ก.ค. 43 จ.ศรีสะเกษ 1 คน (*3) ไม่มี ไม่มี
มติประกาศรับรองผล ส.ว. ครบ 200 คน เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543
21 เม.ย. 44 มีมติให้มีการเลือกตั้งใหม่7 จังหวัด

เลือกตั้งซ่อม 1 จังหวัด เนื่องจากลาออก

10 คน ไม่มี ไม่มี
26 พ.ค. 44 จ.ศรีสะเกษ 1 คน(*4) ไม่มี ไม่มี
24 ก.พ. 45 จ.สมุทรปราการ 1 คน ไม่มี ไม่มี


(*) หมายเหตุ

*1 มีจำนวน ส.ว. ไม่ผ่านการรับรองจากวันที่ 4 มีนาคม 43 ได้รับการรับรอง 46 คน

*2 มีจำนวน ส.ว. ไม่ผ่านการรับรองจากวันที่ 29 เมษายน 43 ได้รับการรับรอง 2 คน

*3 เป็น ส.ว. ไม่ผ่านการรับรองจากวันที่ 9 กรกฎาคม 43

*4 เป็น ส.ว. ไม่ผ่านการรับรองจากวันที่ 21 เมษายน 44[16]


รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งชุดแรก[17]

1. นายกมล มั่นภักดี ชุมพร

2. นางกรองกาญจน์ วีสมหมาย ศรีสะเกษ

3. นายกวี สุภธีระ ขอนแก่น ถูกร้องคัดค้าน 13 มีนาคม 2544*

นายโกเมศ ทีฆธนานนท์ ขอนแก่น เลือกตั้งซ่อมแทน 21 เมษายน 2544

4. พลอากาศเอก กานต์ สุระกุล ตรัง

5. นายการุณ ใสงาม บุรีรัมย์

6. นายกำพล ภู่มณี ปราจีนบุรี

7. หม่อมราชวงศ์กำลูนเทพ เทวกุล เลย ลาออก 2 สิงหาคม 2549

8. นายเกษม ชัยสิทธิ์ เพชรบูรณ์

9. นายเกษม มาลัยศรี ร้อยเอ็ด

10. นายเกษม รุ่งธนเกียรติ สุรินทร์ ลาออก 5 มิถุนายน 2546

นายปริญญา กรวยทอง สุรินทร์ เลือกตั้งซ่อมแทน 13 กรกฎาคม 2546

11. นายแก้วสรร อติโพธิ กรุงเทพมหานคร ลาออก 2 สิงหาคม 2549

12. พลโท โกวิท พัฑฒฆายน สระแก้ว ถึงแก่อนิจกรรม 19 ธันวาคม 2545

พลตำรวจตรี เสกสันต์ อุ่นสำราญ สระแก้ว เลือกตั้งซ่อมแทน 26 มกราคม 2546

13. นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ นครราชสีมา

14. นายคำนวณ ชโลปถัมภ์ สิงห์บุรี

15. นายคำนวณ เหมาะประสิทธิ์ อุตรดิตถ์

16. นายคำพันธ์ ป้องปาน อุดรธานี

17. นายแคล้ว นรปติ ขอนแก่น ถึงแก่อนิจกรรม 8 เมษายน 2549

18. นายจรูญ ยังประภากร สมุทรปราการ

19. นายจอน อึ๊งภากรณ์ กรุงเทพมหานคร

20. นางจำเจน จิตรธร สุโขทัย

21. นางจิตรา อยู่ประเสริฐ อุดรธานี

22. คุณหญิงจินตนา สุขมาก นนทบุรี

23. นายจิโรจน์ โชติพันธุ์ ศรีสะเกษ

24. นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง กรุงเทพมหานคร

25. นายเฉลิม พรหมเลิศ สุราษฎร์ธานี ลาออก 14 มีนาคม 2544

นายอนันต์ ดาโลดม สุราษฎร์ธานี เลือกตั้งซ่อมแทน 21 เมษายน 2544

26. คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช กรุงเทพมหานคร

27. นายชวาล มหาสุวีระชัย ศรีสะเกษ ถูกร้องคัดค้าน 13 มีนาคม 2544*

นางสุนีย์ อินฉัตร ศรีสะเกษ เลือกตั้งซ่อมแทน 26 พฤษภาคม 2544

28. นายชัชวาลย์ คงอุดม กรุงเทพมหานคร ลาออก 19 กรกฎาคม 2549

29. นายชิต เจริญประเสริฐ ศรีสะเกษ ถูกร้องคัดค้าน 13 มีนาคม 2544* และได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาอีกเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2544

30. นายชุมพล ศิลปอาชา กรุงเทพมหานคร

32. ร้อยตำรวจโท เชาวริน สัทธศักดิ์ศิริ ราชบุรี

33. นายเชิดพงษ์ อุทัยสาง หนองคาย

34. นายณรงค์ นุ่นทอง นครศรีธรรมราช

35. พลตำรวจโท ณรงค์ อมาตยกุล พิษณุโลก

36. นายณรงค์สิทธิ์ เครือรัตน์ ศรีสะเกษ

37. นายดำรง พุฒตาล กรุงเทพมหานคร

38. นายเด่น โต๊ะมีนา ปัตตานี

39. นางเตือนใจ ดีเทศน์ เชียงราย

40. นายถวิล จันทร์ประสงค์ นนทบุรี

41. นายถาวร เกียรติไชยากร เชียงใหม่

42. นายทวี แก้วคง นครศรีธรรมราช ถึงแก่อนิจกรรม 23 มิถุนายน 2545

นายถวิล ไพรสณฑ์ นครศรีธรรมราช เลือกตั้งซ่อมแทน 4 สิงหาคม 2545 และ ลาออก 6 มิถุนายน 2549

43. พลตำรวจโท ทวี ทิพย์รัตน์ กรุงเทพมหานคร

44. นายทวีป ขวัญบุรี ระยอง

45. นายทองใบ ทองเปาด์ มหาสารคาม

46. นายธรรมนูญ มงคล ระนอง ถูกร้องคัดค้าน 13 มีนาคม 2544*

นายวิกรม อัยศิริ ระนอง เลือกตั้งซ่อมแทน 21 เมษายน 2544

47. นายธวัชชัย เมืองนาง หนองบัวลำภู

48. นายนพดล จิรสันติ์ ลำปาง

49. นายนภินทร ศรีสรรพางค์ ราชบุรี

50. นางนันทนา สงฆ์ประชา ชัยนาท ลาออก 9 พฤษภาคม 2549

51. นายนิคม เชาว์กิตติโสภณ ลำปาง

52. นายนิตินัย นาครทรรพ หนองคาย

53. นายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์ อ่างทอง ลาออก 3 มิถุนายน 2549

54. นายนิพนธ์ สุทธิเดช อำนาจเจริญ

55. นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา ปทุมธานี

56. นายนิรัตน์ อยู่ภักดี ชัยภูมิ

57. นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อุบลราชธานี ถูกร้องคัดค้าน 13 มีนาคม 2544*และได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาอีกเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2544

58. นายนิวัฒน์ พ้นชั่ว ระยอง

59. นายนิเวศ พันธ์เจริญวรกุล พระนครศรีอยุธยา

60. นายบรรฑูรย์ เกริกพิทยา สระบุรี

61. พลเอก บัณฑิตย์ มลายอริศูนย์ กาญจนบุรี

62. นายบุญญา หลีเหลด สงขลา

63. นายบุญทัน ดอกไธสง นครราชสีมา

64. นายบุญยืน ศุภสารสาทร พิษณุโลก

65. นายบุญเลิศ ไพรินทร์ ฉะเชิงเทรา

66. นางบุษรินทร์ ติยะไพรัชวรพัฒนานันต์ เชียงราย

67. นายประเกียรติ นาสิมมา ร้อยเอ็ด

68. พลตำรวจเอก ประทิน สันติประภพ กรุงเทพมหานคร ลาออก 8 พฤศจิกายน 2548

69. นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ กรุงเทพมหานคร

70. นายประยุทธ ศรีมีชัย นครศรีธรรมราช ถึงแก่อนิจกรรม 9 สิงหาคม 2547

นายสวัสดิ์ กฤตรัชตนันต์ นครศรีธรรมราช เลือกตั้งซ่อมแทน 19 กันยายน 2547

71. นายประศักดิ์ ณ กาฬสินธุ์ กาฬสินธุ์ ถึงแก่อนิจกรรม 10 มิถุนายน 2548

นายเกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง กาฬสินธุ์ เลือกตั้งซ่อมแทน 17 กรกฎาคม 2548

72. นายประสงค์ โฆษิตานนท์ เพชรบูรณ์

73. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ นครปฐม

74. นายประสิทธิ์ พิทูรกิจจา นครสวรรค์

75. นายปราโมทย์ ไพชนม์ ราชบุรี

76. นายปราโมทย์ ไม้กลัด กรุงเทพมหานคร

77. พลตำรวจโท ปรีชา ปฏิบัติสรกิจ ชลบุรี

78. นายปรีชา ปิตานนท์ จันทบุรี

79. นายปรีดี หิรัญพฤกษ์ ปทุมธานี

80. พลโท ปัญญา อยู่ประเสริฐ อุดรธานี

81. นายผ่อง เล่งอี้ กรุงเทพมหานคร

82. พลเอก พนม จีนะวิจารณะ สุโขทัย ถึงแก่อนิจกรรม 27 สิงหาคม 2548

นายปิยะชนก ลิมปะพันธุ์ สุโขทัย เลือกตั้งซ่อมแทน 9 ตุลาคม 2548 และลาออก 7 มิถุนายน 2549

83. นายพนัส ทัศนียานนท์ ตาก

84. นายพร เพ็ญพาส บุรีรัมย์

85. นางพรหมจารี รัตนเศรษฐ์ นครราชสีมา

86. นางพวงเล็ก บุญเชียง พะเยา ถูกร้องคัดค้าน 13 มีนาคม 2544*

นายสงวน นันทชาติ พะเยา เลือกตั้งซ่อมแทน 21 เมษายน 2544

87. นางพัฒนา ศิริวันสาณฑ์ นครสวรรค์

88. นายพา อักษรเสือ ขอนแก่น

89. นายพากเพียร วิริยะพันธุ์ สมุทรปราการ ถึงแก่อนิจกรรม 16 มกราคม 2545

นายสนิท กุลเจริญ สมุทรปราการ เลือกตั้งซ่อมแทน 24 กุมภาพันธ์ 2545

90. นายพิชัย ขำเพชร เพชรบุรี

91. นายพิชิต ชัยวิรัตนะ ชัยภูมิ

92. นายพิเชฐ พัฒนโชติ นครราชสีมา ลาออก 19 พฤษภาคม 2549

93. นางเพ็ญศักดิ์ จักษุจินดา สกลนคร

94. นายเพิ่มพูน ทองศรี บุรีรัมย์

95. พันตำรวจเอก ไพจิตร ศรีคงคา สงขลา

96. นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ ภูเก็ต

97. นายฟัครุดดีน บอตอ นราธิวาส

98. นายภิญญา ช่วยปลอด สุราษฎร์ธานี

99. นายมนตรี สินทวิชัย สมุทรสงคราม

100. นายมนัส รุ่งเรือง สุพรรณบุรี ถึงแก่อนิจกรรม 13 สิงหาคม 2549

101. พลเอก มนัส อร่ามศรี สุพรรณบุรี

102. นายมนู วณิชชานนท์ สุราษฎร์ธานี

103. พลตรี มนูญกฤต รูปขจร สระบุรี

104. นางมลิวัลย์ เงินหมื่น อุบลราชธานี

105. นายมารุต โรจนาปิยาวงศ์ นครนายก

106. นางมาลินี สุขเวชชวรกิจ นครสวรรค์

107. นางมาลีรัตน์ แก้วก่า สกลนคร

108. พลตำรวจเอก มีชัย นุกูลกิจ นครศรีธรรมราช

109. นายมีชัย วีระไวทยะ กรุงเทพมหานคร

110. นายมุขตาร์ มะทา ยะลา

111. พลเอก ยุทธนา คำดี นนทบุรี

112. นายรส มะลิผล ฉะเชิงเทรา

113. นางระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช ขอนแก่น

114. นายระวี กิ่งคำวงศ์ มุกดาหาร

115. นายลำพอง พิลาสมบัติ นครราชสีมา

116. นายวงศ์พันธ์ ณ ตะกั่วทุ่ง พังงา

117. พลเอก วัฒนา สรรพานิช กาญจนบุรี

118. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ กรุงเทพมหานคร

119. นายวิจิตร มโนสิทธิศักดิ์ ร้อยเอ็ด

120. นายวิชัย ครองยุติ อุบลราชธานี

121. พลเอก วิชา ศิริธรรม จันทบุรี

122. นายวิชิต พูลลาภ พิจิตร ถึงแก่อนิจกรรม 28 ธันวาคม 2546

นางบัวล้อม พูลลาภ พิจิตร เลือกตั้งซ่อมแทน 8 กุมภาพันธ์ 2547

123. นายวิเชียร เปาอินทร์ สมุทรสาคร

124. นายวิญญู อุฬารกุล สกลนคร

125. นายวิทยา มะเสนา มหาสารคาม

126. นายวิบูลย์ แช่มชื่น กาฬสินธุ์

127. พลตำรวจเอก วิรุฬ พื้นแสน เชียงราย

128. นายวิโรจน์ อมตกุลชัย ชลบุรี ถึงแก่อนิจกรรม 8 กันยายน 2548

นายเชาวน์ มณีวงษ์ ชลบุรี เลือกตั้งซ่อมแทน 16 ตุลาคม 2548

129. นางวิลาวัณย์ ตันวัฒนะพงษ์ อุบลราชธานี

130. นายวิสิษฐ์ เตชะธีราวัฒน์ เชียงราย

131. นายวีรพงศ์ สกลกิติวัฒน์ กระบี่

132. นายวีรวร สิทธิธรรม นครพนม

133. พลตำรวจตรี วีระ อนันตกูล ชลบุรี

134. นายวีระพล วัชรประทีป นครราชสีมา

135. นายวีระศักดิ์ จินารัตน์

นายสนิท จันทรวงศ์ อุบลราชธานี

อุบลราชธานี ถูกร้องคัดค้าน 13 มีนาคม 2544*

เลือกตั้งซ่อมแทน 21 เมษายน 2544

136. นายศรีเมือง เจริญศิริ มหาสารคาม

137. พลเอก ศิริ ทิวะพันธุ์ พิษณุโลก

138. พลเอก ศิรินทร์ ธูปกล่ำ ลพบุรี ถูกร้องคัดค้าน 13 มีนาคม 2544*

นายชงค์ วงษ์ขันธ์ ลพบุรี เลือกตั้งซ่อมแทน 21 เมษายน 2544 และ ถึงแก่อนิจกรรม 6 สิงหาคม 2548 เลือกตั้งซ่อมแทน 18 กันยายน 2548

พันตำรวจโท ชัชวาล บุญมี ลพบุรี

139. นายศิลป์ชัย เชษฐศิลป์ อุทัยธานี

140. พลตำรวจตรี สนาม คงเมือง เชียงใหม่

141. นายสนิท วรปัญญา

นายวรวิทย์ เชื้อเพ็ชร์ ลพบุรี

ลพบุรี ถูกร้องคัดค้าน 13 มีนาคม 2544*

เลือกตั้งซ่อมแทน 21 เมษายน 2544

142. นายสม ต๊ะยศ น่าน

143. นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ นครสวรรค์ ลาออก 2 มิถุนายน 2549

144. นายสมเกียรติ อ่อนวิมล สุพรรณบุรี

145. นายสมควร จิตรแสง ขอนแก่น

146. พันเอก สมคิด ศรีสังคม อุดรธานี

147. พลตำรวจเอก สมชาย ไชยเวช ขอนแก่น

148. นายสมบัติ วรามิตร กาฬสินธุ์

149. นายสมบูรณ์ ทองบุราณ ยโสธร

150. นายสมพงษ์ สระกวี สงขลา

151. นายสมพร คำชื่น แพร่

152. นายสมศักดิ์ โล่สถาพรพิพิธ ตรัง

153. นายสมสิทธิ์ ศิริเจริญไชย สุรินทร์ ถึงแก่อนิจกรรม 5 ธันวาคม 2549

154. นายสมัย ฮมแสน ยโสธร

155. นายสราวุธ นิยมทรัพย์ นครปฐม

156. นายสวัสดิ์ ทรัพย์เจริญ นครพนม

157. พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ เชียงใหม่

158. นายสวัสดิภาพ กันทาธรรม แพร่

159. นายสหัส พินทุเสนีย์ สระแก้ว

160. นายสัก กอแสงเรือง กรุงเทพมหานคร

161. นายสันต์ เทพมณี ลำพูน

162. นายสันติภาพ อินทรพัฒน์ น่าน ลาออก 6 มีนาคม 2549 163. พลตรี สาคร กิจวิริยะ ตราด

164. นายสามารถ รัตนประทีปพร หนองบัวลำภู

165. นางสำรวย แขวัฒนะ

นายประโภชฌ์ สภาวสุ พระนครศรีอยุธยา

พระนครศรีอยุธยา ถูกร้องคัดค้าน 13 มีนาคม 2544*

เลือกตั้งซ่อมแทน 21 เมษายน 2544

166. นายสุชน ชาลีเครือ ชัยภูมิ

167. นายสุทัศน์ จันทร์แสงศรี เพชรบูรณ์

168. นายสุนทร จินดาอินทร์ กำแพงเพชร

169. นายสุพร สุภสร อุดรธานี

170. นายสุรใจ ศิรินุพงศ์ สงขลา

171. นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล ร้อยเอ็ด

172. นายสุรเดช ยะสวัสดิ์ พะเยา

173. พันตำรวจเอก สุรพงศ์ ไผ่นวล บุรีรัมย์

174. นายสุรสิทธิ์ ฉัตรชัยเดช พิจิตร

175. นายสุริยน ภูมิรัตนประพิณ ชัยภูมิ

176. นายเสรี สุวรรณภานนท์ กรุงเทพมหานคร

177. นายโสภณ สุภาพงษ์ กรุงเทพมหานคร

178. นายไสว พราหมณี นครราชสีมา

179. พลเอก หาญ ลีนานนท์ สตูล

180. นายอดุลย์ วันไชยธนวงศ์ แม่ฮ่องสอน

181. นายอนันต์ ผลอำนวย กำแพงเพชร

182. นายอนันตชัย คุณานันทกุล สมุทรปราการ

183. ร้อยตรี อนุกูล สุภาไชยกิจ พัทลุง

184. นายอนุชาติ บรรจงศุภมิตร อุตรดิตถ์

185. นายอมร นิลเปรม อุบลราชธานี

186. นางอรัญญา สุจนิล หนองคาย

187. นายอาคม ตุลาดิลก เชียงใหม่

188. พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก เลย

189. ร้อยตรี อำนวย ไทยานนท์ ประจวบคีรีขันธ์

190. นายอำนาจ เธียรประมุข

นายสรรพกิจ ปรีชาชนะชัย สุรินทร์

สุรินทร์ ถึงแก่อนิจกรรม 21 สิงหาคม 2548

เลือกตั้งซ่อมแทน 25 กันยายน 2548

191. พลตำรวจตรี อำพล งามจิตร ลำปาง

192. พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย เชียงใหม่

193. นายอิมรอน มะลูลีม กรุงเทพมหานคร

194. นายอุดร ตันติสุนทร ตาก

195. นายอุทัยพันธุ์ สงวนเสริมศรี สุรินทร์

196. นายอุบล เอื้อศรี นครราชสีมา

197. นางสาวอุษณีย์ ชิดชอบ บุรีรัมย์

198. นายอูมาร์ ตอยิบ นราธิวาส

199. นายโอภาส รองเงิน พัทลุง

200. พลโท โอภาส รัตนบุรี นครศรีธรรมราช

ดังนั้น สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาชุดนี้จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2543 เป็นต้นมา และสิ้นสุดสมาชิกภาพในวันที่ 22 มีนาคม 2549 (ครบวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี ในวันที่ 21 มีนาคม 2549)

ตามมาตรา 131 เมื่ออายุของวุฒิสภาสิ้นสุดลง พระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่อายุของวุฒิสภาสิ้นสุดลง และวันเลือกตั้งต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร

เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามมาตรา 168 ให้สมาชิกวุฒิสภาที่ดำรงตำแหน่งในวันที่อายุของวุฒิสภาสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง ทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าสมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับเลือกตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่ แต่เกิดการปฏิรูปการปกครองในวันที่ 19 กันยายน 2549 ทำให้สภาชุดนี้สิ้นสุดลง

ที่มา

ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง วันลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาใหม่, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนที่ 30 ก, 5 เมษายน 2543.

ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง วันลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาใหม่, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนที่ 47 ก, 26 พฤษภาคม 2543.

ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาใหม่, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนที่ 30 ก, 5 เมษายน 2543.

ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาใหม่, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนที่ 47 ก, 26 พฤษภาคม 2543.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. ก่อนจะเป็น ส.ว. (กรุงเทพฯ : สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงาน คณะกรรมการการเลือกตั้ง). 2549.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.เอกสารประกอบการจัดแสดงนิทรรศการ เรื่อง อภิวัฒน์ รัฐธรรมนูญไทย : เส้นทางใหม่ของประชาชน. (กรุงเทพฯ : กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร). 2541.

สำนักบริหารงานกลาง, สภาชุดที่ 17 สมาชิกวุฒิสภา (พ.ศ. 2543). (กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการ วุฒิสภา). 2552.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ระบบงานรัฐสภา, กรุงเทพฯ : กองการพิมพ์ สำนักงาน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2541.

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. ข้อมูล สถิติ และผลการ เลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2543 (กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ด้านกิจการพรรคการเมือง และการออกเสียงประชามติ). 2543.

โคทม อารียา. การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งแรกในประเทศไทย. (กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด). 2542.

จเร พันธุ์เปรื่อง. การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา. รัฐสภาสาร. ปีที่ 48. ฉบับที่ 1 มกราคม 2543. หน้า 18 – 43.

ประหยัด หงส์ทองคำ. “เลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา : บทเรียนที่มีคุณค่า”. รัฐสภาสาร. ปีที่ 48. ฉบับที่ 4. เมษายน 2543. หน้า 50 – 55.

สมใบ มูลจันที. กระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา กรณีศึกษาร่างรัฐธรรมนูญของสภาร่าง รัฐธรรมนูญ 2540. รัฐสภาสาร. ปีที่ 54. ฉบับที่ 8. สิงหาคม 2549. หน้า 9 – 29.

อนันต์ ผลอำนวย. การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา. (กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า). 2543.

อ้างอิง

  1. ความเป็นมาของสมาชิกวุฒิสภา จากงานการมีส่วนร่วม สนง.กกต.จว.สมุทรสาครhttp://www.samutsakhon.biz
  2. รายนามประธานวุฒิสภาตั้งแต่อดีต – ปัจจุบัน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki
  3. ความเป็นมาของสมาชิกวุฒิสภา จากงานการมีส่วนร่วม สนง.กกต.จว.สมุทรสาครhttp://www.samutsakhon.biz
  4. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, เอกสารประกอบการจัดแสดงนิทรรศการ เรื่อง อภิวัฒน์รัฐธรรมนูญไทย : เส้นทางใหม่ของประชาชน, กรุงเทพฯ : กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร, 2541, หน้า 1.
  5. เรื่องเดียวกัน, หน้า 1.
  6. เรื่องเดียวกัน, หน้า 2.
  7. เรื่องเดียวกัน, หน้า 2.
  8. เรื่องเดียวกัน, หน้า 2.
  9. เรื่องเดียวกัน, หน้า 2.
  10. เรื่องเดียวกัน, หน้า 3.
  11. เรื่องเดียวกัน, หน้า 6.
  12. เรื่องเดียวกัน, หน้า 6-7.
  13. เรื่องเดียวกัน, หน้า 7.
  14. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ระบบงานรัฐสภา, กรุงเทพฯ : กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2541, หน้า 11 – 14.
  15. รายนามประธานวุฒิสภาตั้งแต่อดีต – ปัจจุบัน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki
  16. ประวัติการเลือกตั้งวุฒิสภา จากศูนย์ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งภาคเหนือตอนบน สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 http://region3.prd.go.th./election_sw/history.php
  17. สำนักบริหารงานกลาง สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. เอกสารเผยแพร่สภาชุดที่ 17 สมาชิกวุฒิสภา, ตุลาคม 2552, หน้า 1 – 9.