|
|
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) |
บรรทัดที่ 1: |
บรรทัดที่ 1: |
| '''ธรรมาภิบาล'''
| | {{introcat|ชื่อหมวดหมู่=แนวคิดธรรมาภิบาล}} |
|
| |
|
| ธรรมาภิบาล หรือ good governance ในภาษาอังกฤษ หมายถึงหลักการบริหารจัดการที่ดี อันเกี่ยวข้องกับนโยบายของส่วนราชการและพฤติกรรมของบุคลากรในองค์การ สำหรับรัฐบาลไทย ได้วางหลักของการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีไว้ว่า ประกอบด้วยหลักการ 6 ประการ ได้แก่ 1) หลักนิติธรรม 2) หลักคุณธรรม 3) หลัก ความโปร่งใส 4) หลักการมีส่วนร่วม 5) หลักความรับผิดชอบ และ 6) หลักความคุ้มค่า
| | [[หมวดหมู่:ธรรมาภิบาล|น]] |
| | |
| หลักนิติธรรม หมายถึงการตรากฎหมาย กฎ กติกาที่ถูกต้องเป็นธรรม การบังคับใช้เป็นไปตามกฎ กติกาที่ตกลงกันไว้ คำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพ ความยุติธรรมของสมาชิก
| |
| | |
| หลักคุณธรรม หมายถึงการยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม ส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเอง เพื่อให้มีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริต
| |
| | |
| หลักความโปร่งใส หมายถึงสุจริตไม่คดโกง หรือมีความหมายตรงกันข้ามกับการทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นความหมายในเชิงบวก
| |
| | |
| หลักการมีส่วนร่วม หมายถึงการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมืองและทางการบริหาร การตัดสินใจที่เกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากร การให้ข้อมูลแก่ประชาชน การแสดงความคิดเห็น การให้คำปรึกษา การร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมควบคุมงานสาธารณะ
| |
| | |
| หลักความรับผิดชอบ หมายถึงการตระหนักในสิทธิหน้าที่ สำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจต่อปัญหาสาธารณะ ความกระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหาสาธารณะ การเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง และความกล้าหาญที่จะรับผิดชอบต่อการกระทำของตน
| |
| | |
| หลักความคุ้มค่า หมายถึงการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม ใช้อย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ แข่งขันได้ในเวทีโลก และรักษาพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน โดยมุ่งประโยชน์สูงสุด (สถาบันพระปกเกล้า 2547, 17-18)
| |
| | |
| ความแพร่หลายของคำดังกล่าวมีที่มาจากหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น United Nations Development Programme (UNDP), the Asian Development Bank (ADB), และธนาคารโลก หรือ the World Bank ได้มีส่วนช่วยกันผลักดันประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลายที่ประสบความล้มเหลวในทางเศรษฐกิจ ให้บริหารจัดการเศรษฐกิจอย่างโปร่งใส ปลอดการทุจริต จึงเป็นที่มาของการใช้คำดังกล่าวกันอย่างแพร่หลายในประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทยที่ประสบเศรษฐกิจล้มละลายในปี พ.ศ. 2540
| |
| | |
| รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต
| |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:45, 20 กรกฎาคม 2554
หมวดหมู่ แนวคิดธรรมาภิบาล
กรุณาเลือกหัวข้อที่ต้องการ
หน้าในหมวดหมู่ "แนวคิดธรรมาภิบาล"
หมวดหมู่นี้มีอยู่เพียงหน้าต่อไปนี้