ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง''' นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ | '''ผู้เรียบเรียง''' รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ | ||
---- | ---- | ||
บรรทัดที่ 22: | บรรทัดที่ 22: | ||
[[หมวดหมู่:การจัดการเลือกตั้ง]] | [[หมวดหมู่:การจัดการเลือกตั้ง]] | ||
[[หมวดหมู่:รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:55, 5 ตุลาคม 2554
ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด มีจำนวนจังหวัดละ 5 คน ประกอบด้วยบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งจากผู้มีความเป็นกลางทางการเมืองมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด โดยได้รับการสรรหาตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด สำหรับที่มาของกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนั้น มีที่มาจากสรรหาและแต่งตั้งจากบุคคลผู้มีภูมิลำเนาในจังหวัดนั้นเป็นหลัก โดยให้คำนึงถึงความหลากหลายของอาชีพ การมีส่วนร่วมของสตรี และความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ได้ตลอดเวลา กรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดมีวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยอยู่ภายใต้การมอบหมายของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดมีขอบเขตครอบคลุมการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ได้แก่ การอำนวยการการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ รวมทั้งสนับสนุนการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ที่กระทำภายในจังหวัดนั้น การเสนอแนะการแบ่งเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ การเสนอแนะต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อพิจารณาแต่งตั้งบุคคลผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง การสนับสนุนการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา หรือการออกเสียงประชามติ ตามที่กฎหมายบัญญัติ และการแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลให้ช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
นอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งและการสรรหาบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการการเลือกตั้งดังกล่าวแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดมีบทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง การออกเสียงประชามติ การสนับสนุน การสรรหาสมาชิกวุฒิสภาในจังหวัดอีกด้วย อาทิ การกำกับดูแลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตคณะกรรมการการเลือกตั้งท้องถิ่น และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด การกำกับดูแลการดำเนินงานของพรรคการเมืองหรือสาขาพรรคการเมือง ตลอดจนการส่งเสริมและสนับสนุนหรือประสานงานกับหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือสนับสนุนองค์การเอกชน ในการให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
ที่มา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550