ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อายุของสภาผู้แทนราษฎร และอายุของวุฒิสภา"
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้เรียบเรียง''' จันทมร สีหาบุญลี '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบท... |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 5 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 2 คน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง''' จันทมร สีหาบุญลี | '''ผู้เรียบเรียง''' จันทมร สีหาบุญลี | ||
---- | |||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง | '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง | ||
บรรทัดที่ 5: | บรรทัดที่ 7: | ||
---- | ---- | ||
ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยระบบสภาคู่ | ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยระบบสภาคู่ ฝ่ายนิติบัญญัติหรือ[[รัฐสภา]] ประกอบด้วย 2 สภา คือ [[สภาผู้แทนราษฎร]]หรือสภาล่าง และ[[วุฒิสภา]]หรือสภาสูง โดยทั่วไปการเข้าสู่ตำแหน่งของสภาล่างมาจาก[[การเลือกตั้ง]] ส่วนสภาสูงมาจากการเลือกตั้งหรือการแต่งตั้ง และในบางประเทศสภาสูงมาจากทั้งการเลือกตั้ง และการแต่งตั้ง หรือการเลือกตั้งและการสรรหา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศนั้น เช่น ประเทศไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 111 กำหนดให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งและการสรรหา สมาชิกรัฐสภาทั้ง 2 สภา ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา จะต้องมีกำหนดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง ส่วนจะมีวาระการดำรงตำแหน่งเป็นยาวนานเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศนั้น | ||
==หลักการกำหนดอายุของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา== | ==หลักการกำหนดอายุของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา== | ||
บรรทัดที่ 27: | บรรทัดที่ 29: | ||
'''อายุของสภาผู้แทนราษฎร''' | '''อายุของสภาผู้แทนราษฎร''' | ||
[[รัฐธรรมนูญ]]ของประเทศไทยตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ซึ่งเป็นฉบับแรกที่ได้บัญญัติเกี่ยวกับการการกำหนดอายุสภาผู้แทนราษฎรไว้ในหมวด 3 สภาผู้แทนราษฎร มาตรา 18 “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสี่ปี ถ้าตำแหน่งสมาชิกว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระ ให้เลือกตั้งสมาชิกขึ้นแทนให้เต็มตำแหน่งที่ว่างอยู่ แต่สมาชิกที่เข้ามาแทนนั้นให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน” นับตั้งแต่นั้นมาสภาผู้แทนราษฎรของไทย จึงมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี โดยตลอด จนกระทั่งในปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 104 วรรคแรก อายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดคราวละสี่ปี นับแต่วันเลือกตั้ง | |||
'''อายุของวุฒิสภา''' | '''อายุของวุฒิสภา''' | ||
วุฒิสภาหรือสภาสูงของประเทศไทย เกิดขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 โดยมีชื่อเรียกว่า พฤฒสภา ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 หมวด 4 อำนาจนิติบัญญัติ มาตรา 26 บัญญัติให้รัฐสภาประกอบด้วย วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร จึงมีการเปลี่ยนชื่อเรียกจากพฤฒสภามาเป็นวุฒิสภาจนถึงปัจจุบัน สมาชิกวุฒิสภาของไทยมีที่มา ดังนี้ | วุฒิสภาหรือสภาสูงของประเทศไทย เกิดขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 โดยมีชื่อเรียกว่า [[พฤฒสภา]] ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 หมวด 4 อำนาจนิติบัญญัติ มาตรา 26 บัญญัติให้รัฐสภาประกอบด้วย วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร จึงมีการเปลี่ยนชื่อเรียกจากพฤฒสภามาเป็นวุฒิสภาจนถึงปัจจุบัน สมาชิกวุฒิสภาของไทยมีที่มา ดังนี้ | ||
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 กำหนดให้สมาชิกพฤฒสภามาจากการเลือกตั้งทางอ้อม | - รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 กำหนดให้สมาชิกพฤฒสภามาจากการเลือกตั้งทางอ้อม | ||
บรรทัดที่ 59: | บรรทัดที่ 61: | ||
'''การสิ้นสุดอายุของสภาผู้แทนราษฎร''' | '''การสิ้นสุดอายุของสภาผู้แทนราษฎร''' | ||
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดทั้งคณะ ตามมาตรา 106 (1) | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดทั้งคณะ ตามมาตรา 106 (1) ถึงคราวออกตามอายุหรือมี[[การยุบสภาผู้แทนราษฎร]] | ||
'''การสิ้นสุดอายุของวุฒิสภา''' | '''การสิ้นสุดอายุของวุฒิสภา''' | ||
บรรทัดที่ 69: | บรรทัดที่ 71: | ||
'''การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร''' | '''การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร''' | ||
สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 106 คือ ออกตามอายุ ยุบสภา ตาย ลาออก ขาดคุณสมบัติ ตามมาตรา 101 มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 102 ลาออกจากพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก สมาชิกพรรคการเมืองที่ตนสังกัด มีมติให้ออก วุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง | สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 106 คือ ออกตามอายุ ยุบสภา ตาย ลาออก ขาดคุณสมบัติ ตามมาตรา 101 มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 102 ลาออกจากพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก สมาชิกพรรคการเมืองที่ตนสังกัด มีมติให้ออก วุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง ขาดประชุมเกินจำนวนหนึ่งในสี่ของจำนวนวันประชุมในสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก[[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]] ฯลฯ | ||
'''การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภา''' | '''การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภา''' | ||
สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาทั้งที่มาจากการเลือกตั้ง และการสรรหา สิ้นสุดลงตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 119 คือ ออกตามวาระ ตาย ลาออก ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 115 กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 116 มาตรา 265 หรือมาตรา 266 วุฒิสภามีมติให้ถอดถอน ขาดประชุมเกินจำนวนหนึ่งในสี่ของจำนวนวันประชุมในสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน | สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาทั้งที่มาจากการเลือกตั้ง และการสรรหา สิ้นสุดลงตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 119 คือ ออกตามวาระ ตาย ลาออก ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 115 กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 116 มาตรา 265 หรือมาตรา 266 วุฒิสภามีมติให้ถอดถอน ขาดประชุมเกินจำนวนหนึ่งในสี่ของจำนวนวันประชุมในสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก[[ประธานวุฒิสภา]] ฯลฯ | ||
==อายุของสภาผู้แทนราษฎรและอายุของวุฒิสภาสิ้นสุดลง== | ==อายุของสภาผู้แทนราษฎรและอายุของวุฒิสภาสิ้นสุดลง== | ||
'''สภาผู้แทนราษฎร''' กรณีอายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงตามอายุจะต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 45 วันนับแต่วันที่อายุของสภาสิ้นสุดลง กรณีการยุบสภาอันเป็นเหตุให้สภาผู้แทนราษฎรทั้งคณะสิ้นอายุก่อนกำหนด จะต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 45 วันแต่ไม่เกิน 60 วันนับแต่วันยุบสภาผู้แทนราษฎร ทั้งสองกรณีข้างต้น วันเลือกตั้งต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร ส่วนการสิ้นสุดตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการสิ้นสุดเฉพาะตัว ด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 105 (2) – (11) จะต้องมีการทดแทนตำแหน่งที่ว่างตามที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทนั้น ๆ | '''สภาผู้แทนราษฎร''' กรณีอายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงตามอายุจะต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 45 วันนับแต่วันที่อายุของสภาสิ้นสุดลง กรณีการยุบสภาอันเป็นเหตุให้สภาผู้แทนราษฎรทั้งคณะสิ้นอายุก่อนกำหนด จะต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 45 วันแต่ไม่เกิน 60 วันนับแต่วันยุบสภาผู้แทนราษฎร ทั้งสองกรณีข้างต้น วันเลือกตั้งต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร ส่วนการสิ้นสุดตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการสิ้นสุดเฉพาะตัว ด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 105 (2) – (11) จะต้องมีการทดแทนตำแหน่งที่ว่างตามที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทนั้น ๆ กรณีตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่ง[[เขตเลือกตั้ง]]สิ้นสุดลงให้มีการเลือกตั้งแทนภายใน 45 วัน หากอายุสภาผู้แทนราษฎรเหลือไม่ถึง 180 วัน จะไม่เลือกตั้งแทนก็ได้ ส่วนกรณีตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนสิ้นสุดลง ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรประกาศให้ผู้มีชื่อในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้น ในเขตเลือกตั้งนั้นขึ้นมาแทนตำแหน่งที่ว่าง และต้องประกาศใน[[ราชกิจจานุเบกษา]]ภายในเจ็ดวัน หากไม่มีรายชื่อเหลืออยู่ในบัญชี ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่ | ||
'''วุฒิสภา''' กรณีวาระของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้งสิ้นสุดลงให้มีการเลือกตั้งภายใน 30 วัน วันเลือกตั้งนั้นให้กำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร ส่วนกรณีวาระของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งมาจากการสรรหาสิ้นสุดลง | '''วุฒิสภา''' กรณีวาระของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้งสิ้นสุดลงให้มีการเลือกตั้งภายใน 30 วัน วันเลือกตั้งนั้นให้กำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร ส่วนกรณีวาระของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งมาจากการสรรหาสิ้นสุดลง ให้[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]]ประกาศกำหนดวันเริ่มการสรรหาและระยะเวลาการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน และให้สมาชิกวุฒิสภาผู้เข้ามาแทนตำแหน่งอยู่ในตำแหน่งเท่าวาระที่เหลืออยู่ หากวาระที่เหลืออยู่ไม่ถึง 180 วัน จะไม่ดำเนินการเลือกตั้งหรือการสรรหาก็ได้ | ||
==อ้างอิง== | ==อ้างอิง== | ||
บรรทัดที่ 93: | บรรทัดที่ 95: | ||
สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, (2550) '''“สาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่พร้อมตารางเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540 ฉบับรับฟังความคิดเห็น.”''' กรุงเทพฯ : พิมพ์ที่องค์การสังเคราะห์ทหารผ่านศึก. | สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, (2550) '''“สาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่พร้อมตารางเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540 ฉบับรับฟังความคิดเห็น.”''' กรุงเทพฯ : พิมพ์ที่องค์การสังเคราะห์ทหารผ่านศึก. | ||
==บรรณานุกรม | ==บรรณานุกรม== | ||
ดำริห์ บูรณะนันท์, (2549) '''“ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์และกฎหมายมหาชน.”''' พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพฯ : นิติธรรม. | ดำริห์ บูรณะนันท์, (2549) '''“ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์และกฎหมายมหาชน.”''' พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพฯ : นิติธรรม. | ||
บรรทัดที่ 109: | บรรทัดที่ 111: | ||
http://www.parliament.go.th/parcy/sapa_index.php?item=0100&doc_id.3961 (สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2552) | http://www.parliament.go.th/parcy/sapa_index.php?item=0100&doc_id.3961 (สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2552) | ||
http://www.pub-law.net/publaw/printPublaw.asp? Publawid=1106(สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2552) | http://www.pub-law.net/publaw/printPublaw.asp?Publawid=1106 (สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2552) | ||
http://www.senate.go.th/main/senate/history.php. (สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2552) | http://www.senate.go.th/main/senate/history.php. (สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2552) | ||
http://www.senate.go.th/Structure/term. | http://www.senate.go.th/Structure/term.htm. (สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2552) | ||
[[category: | [[category:รัฐสภา]] | ||
[[หมวดหมู่:จันทมร สีหาบุญลี]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:42, 7 ตุลาคม 2554
ผู้เรียบเรียง จันทมร สีหาบุญลี
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง
ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยระบบสภาคู่ ฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา ประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎรหรือสภาล่าง และวุฒิสภาหรือสภาสูง โดยทั่วไปการเข้าสู่ตำแหน่งของสภาล่างมาจากการเลือกตั้ง ส่วนสภาสูงมาจากการเลือกตั้งหรือการแต่งตั้ง และในบางประเทศสภาสูงมาจากทั้งการเลือกตั้ง และการแต่งตั้ง หรือการเลือกตั้งและการสรรหา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศนั้น เช่น ประเทศไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 111 กำหนดให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งและการสรรหา สมาชิกรัฐสภาทั้ง 2 สภา ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา จะต้องมีกำหนดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง ส่วนจะมีวาระการดำรงตำแหน่งเป็นยาวนานเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศนั้น
หลักการกำหนดอายุของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
การปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการปกครอง แต่ประชาชนจำนวนมากก็ไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ทั้งหมด จึงต้องอาศัยระบบตัวแทน ซึ่งเรียกว่า ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน (Representative Democracy) หรือ ประชาธิปไตยโดยอ้อม (Indirect Democracy) หมายถึง การให้ประชาชนผู้เป็นพลเมืองมีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งผู้แทนเข้าไปทำหน้าที่แทนตัวเองในรัฐสภา และเจตจำนงของรัฐสภาถือเป็นความต้องการของประชาชน เช่น ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาของไทย และอังกฤษ หรือประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาหรือประชาธิปไตยแบบกึ่งรัฐสภาของฝรั่งเศส หลักการสำคัญในการปกครองระบบผู้แทน คือ หลักการเป็นผู้แทนตามระยะเวลา หรือวาระการดำรงตำแหน่งที่มีทั้งแบบไม่ตายตัว คือ ระบบรัฐสภา ที่ฝ่ายบริหารมีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ถ้าฝ่ายบริหารประสบปัญหาที่กระทบต่อการบริหารหรือมีเหตุผลอื่นใดให้ฝ่ายบริหารเห็นสมควรยุบสภาได้ ด้วยเหตุนี้ อายุของฝ่ายนิติบัญญัติย่อมหมดลงไปด้วย ส่วนอีกแบบหนึ่งเป็นแบบตายตัว คือ ระบบประธานาธิบดี เช่น ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกามีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี การกำหนดอายุหรือวาระการดำรงตำแหน่งของสภาผู้แทนหรือวุฒิสภาจะเป็น 4 ปี 5 ปี หรือ 6 ปี จะขึ้นอยู่กับเหตุผลหรือความจำเป็นของแต่ละประเทศ ซึ่งจะไม่สั้นหรือยาวจนเกินไป โดยบัญญัติเป็นกฎหมายไว้ในรัฐธรรมนูญ
ส่วนสาเหตุสำคัญที่ต้องมีการกำหนดอายุหรือวาระการดำรงตำแหน่งนั้น คือ[1]
1. เพื่อกำหนดระยะเวลาการทำงานให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการครอบงำหรือการแทรกแซงทางการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์
2. เพื่อป้องกันมิให้ผู้ดำรงตำแหน่งหลงอำนาจอันอาจจะนำไปสู่พฤติกรรมเผด็จการได้[2]
3. เพื่อให้เกิดการแข่งขันทางการเมืองอย่างเสรีที่เน้นนโยบายพรรคการเมืองมากกว่าตัวบุคคล
4. เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเปลี่ยนแปลงผู้แทนได้ หากผู้แทนนั้นไม่ปฏิบัติตามเจตนาแห่งนโยบายที่แถลงไว้กับประชาชนก่อนเข้าดำรงตำแหน่ง
5. เพื่อให้ผู้แทนตระหนักและเห็นความสำคัญของเสียงสนับสนุนที่ทำให้ได้รับเลือกตั้งอันจะเป็นการป้องกันการละเลยเสียงสนับสนุนจากประชาชน ตามหลักการอำนาจอธิปไตยของปวงชน
อายุของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
อายุของสภาผู้แทนราษฎร
รัฐธรรมนูญของประเทศไทยตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ซึ่งเป็นฉบับแรกที่ได้บัญญัติเกี่ยวกับการการกำหนดอายุสภาผู้แทนราษฎรไว้ในหมวด 3 สภาผู้แทนราษฎร มาตรา 18 “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสี่ปี ถ้าตำแหน่งสมาชิกว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระ ให้เลือกตั้งสมาชิกขึ้นแทนให้เต็มตำแหน่งที่ว่างอยู่ แต่สมาชิกที่เข้ามาแทนนั้นให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน” นับตั้งแต่นั้นมาสภาผู้แทนราษฎรของไทย จึงมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี โดยตลอด จนกระทั่งในปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 104 วรรคแรก อายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดคราวละสี่ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
อายุของวุฒิสภา
วุฒิสภาหรือสภาสูงของประเทศไทย เกิดขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 โดยมีชื่อเรียกว่า พฤฒสภา ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 หมวด 4 อำนาจนิติบัญญัติ มาตรา 26 บัญญัติให้รัฐสภาประกอบด้วย วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร จึงมีการเปลี่ยนชื่อเรียกจากพฤฒสภามาเป็นวุฒิสภาจนถึงปัจจุบัน สมาชิกวุฒิสภาของไทยมีที่มา ดังนี้
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 กำหนดให้สมาชิกพฤฒสภามาจากการเลือกตั้งทางอ้อม
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งจากราษฎรโดยตรง
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 (ฉบับที่ 4)
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 (ฉบับที่ 5)
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 (ฉบับที่ 8)
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 (ฉบับที่ 10)
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 (ฉบับที่ 13)
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 (ฉบับที่ 15)
รัฐธรรมนูญเหล่านี้ กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 18) กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงและการสรรหาที่มาของสมาชิกวุฒิสภาๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกฎหมายรัฐธรรมนูญที่กำลังประกาศบังคับใช้อยู่ในขณะนั้น สมาชิกวุฒิสภาไม่ว่าจะเข้าสู่การดำรงตำแหน่งด้วยกระบวนการใดก็ตาม ต่างก็มีอายุหรือกำหนดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งเช่นเดียวกันกับสภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกพฤฒสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 มาตรา 26 สมาชิกพฤฒสภา มีกำหนดเวลาคราวละ 6 ปี ปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 117 กำหนดให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งและการสรรหา มีกำหนดคราวละหกปีนับแต่วันเลือกตั้งหรือวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการสรรหาแล้วแต่กรณี โดยสมาชิกวุฒิสภาจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระไม่ได้
การสิ้นสุดอายุของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
การสิ้นสุดอายุของสภาผู้แทนราษฎร
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดทั้งคณะ ตามมาตรา 106 (1) ถึงคราวออกตามอายุหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
การสิ้นสุดอายุของวุฒิสภา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 119 (1) ได้บัญญัติให้สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลงเมื่อถึงคราวออกตามวาระ
การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 106 คือ ออกตามอายุ ยุบสภา ตาย ลาออก ขาดคุณสมบัติ ตามมาตรา 101 มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 102 ลาออกจากพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก สมาชิกพรรคการเมืองที่ตนสังกัด มีมติให้ออก วุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง ขาดประชุมเกินจำนวนหนึ่งในสี่ของจำนวนวันประชุมในสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภาผู้แทนราษฎร ฯลฯ
การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภา
สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาทั้งที่มาจากการเลือกตั้ง และการสรรหา สิ้นสุดลงตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 119 คือ ออกตามวาระ ตาย ลาออก ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 115 กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 116 มาตรา 265 หรือมาตรา 266 วุฒิสภามีมติให้ถอดถอน ขาดประชุมเกินจำนวนหนึ่งในสี่ของจำนวนวันประชุมในสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานวุฒิสภา ฯลฯ
อายุของสภาผู้แทนราษฎรและอายุของวุฒิสภาสิ้นสุดลง
สภาผู้แทนราษฎร กรณีอายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงตามอายุจะต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 45 วันนับแต่วันที่อายุของสภาสิ้นสุดลง กรณีการยุบสภาอันเป็นเหตุให้สภาผู้แทนราษฎรทั้งคณะสิ้นอายุก่อนกำหนด จะต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 45 วันแต่ไม่เกิน 60 วันนับแต่วันยุบสภาผู้แทนราษฎร ทั้งสองกรณีข้างต้น วันเลือกตั้งต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร ส่วนการสิ้นสุดตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการสิ้นสุดเฉพาะตัว ด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 105 (2) – (11) จะต้องมีการทดแทนตำแหน่งที่ว่างตามที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทนั้น ๆ กรณีตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งสิ้นสุดลงให้มีการเลือกตั้งแทนภายใน 45 วัน หากอายุสภาผู้แทนราษฎรเหลือไม่ถึง 180 วัน จะไม่เลือกตั้งแทนก็ได้ ส่วนกรณีตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนสิ้นสุดลง ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรประกาศให้ผู้มีชื่อในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้น ในเขตเลือกตั้งนั้นขึ้นมาแทนตำแหน่งที่ว่าง และต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายในเจ็ดวัน หากไม่มีรายชื่อเหลืออยู่ในบัญชี ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่
วุฒิสภา กรณีวาระของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้งสิ้นสุดลงให้มีการเลือกตั้งภายใน 30 วัน วันเลือกตั้งนั้นให้กำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร ส่วนกรณีวาระของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งมาจากการสรรหาสิ้นสุดลง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดวันเริ่มการสรรหาและระยะเวลาการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน และให้สมาชิกวุฒิสภาผู้เข้ามาแทนตำแหน่งอยู่ในตำแหน่งเท่าวาระที่เหลืออยู่ หากวาระที่เหลืออยู่ไม่ถึง 180 วัน จะไม่ดำเนินการเลือกตั้งหรือการสรรหาก็ได้
อ้างอิง
หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ
มนตรี รูปสุวรรณ, (2550) “บทวิเคราะห์ทางวิชาการเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เล่ม 2.” กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เดือนตุลา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, (2548) “สรรสาระรัฐธรรมนูญไทย.” กรุงเทพฯ : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด.
สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, (2550) “สาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่พร้อมตารางเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540 ฉบับรับฟังความคิดเห็น.” กรุงเทพฯ : พิมพ์ที่องค์การสังเคราะห์ทหารผ่านศึก.
บรรณานุกรม
ดำริห์ บูรณะนันท์, (2549) “ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์และกฎหมายมหาชน.” พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพฯ : นิติธรรม.
วิสุทธิ์ โพธิแท่น, (2550) “แนวคิดพื้นฐานของประชาธิปไตย.” สถาบันพระปกเกล้า กรุงเทพฯ : คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, (2548) “เอกสารการสอนชุดวิชา หลักพื้นฐานทางรัฐศาสตร์ หน่วยที่ 1 – 8.” พิมพ์ครั้งที่ 3 นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, (2548) “เอกสารการสอนชุดวิชา หลักพื้นฐานทางรัฐศาสตร์ หน่วยที่ 1 – 8.” พิมพ์ครั้งที่ 6 นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักกรรมาธิการ 3 (2550), “เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550.” กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, (2551) “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ฉบับภาษาไทย – อังกฤษ).” สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
http://www.parliament.go.th/parcy/sapa_index.php?item=0100&doc_id.3961 (สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2552)
http://www.pub-law.net/publaw/printPublaw.asp?Publawid=1106 (สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2552)
http://www.senate.go.th/main/senate/history.php. (สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2552)
http://www.senate.go.th/Structure/term.htm. (สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2552)