ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำนาจอธิปไตย"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้เรียบเรียง''' ปิยะวรรณ ปานโต '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทคว...
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 7 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 2 คน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
'''ผู้เรียบเรียง''' ปิยะวรรณ ปานโต
'''ผู้เรียบเรียง''' ปิยะวรรณ ปานโต
----


'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง  
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง  
บรรทัดที่ 5: บรรทัดที่ 7:
----
----


[[category:ความรู้เกี่ยวกับรัฐสภาไทย]]
ฌอง โบแดง (Jean Bodin) เป็นนักปรัชญาการเมืองของโลกตะวันตก ชาวฝรั่งเศส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 หรือประมาณ พ.ศ. 2100 และเป็นคนแรกที่ริเริ่มใช้คำว่า “อำนาจอธิปไตย” ในความหมายที่เข้าใจได้ในปัจจุบัน กล่าวคือ อำนาจอธิปไตยนั้นเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่ง โบแดง ได้เสนอปรัชญาเกี่ยวกับทฤษฎีอำนาจอธิปไตยในหนังสือเรื่อง “Six Books” ไว้ว่า “อำนาจเป็นเครื่องหมายที่บอกถึงความแตกต่างระหว่างรัฐกับสังคมอื่น ๆ ที่ครอบครัวหลายครอบครัวอยู่ร่วมกัน และพรรณนาว่าครอบครัวเป็นพลเมืองของรัฐ ซึ่งต้องยอมอยู่ภายใต้อำนาจปกครอง และการยอมรับในอำนาจปกครองของพลเมืองผู้อยู่ใต้การปกครองของรัฐนั้น
 
==ความหมายอำนาจอธิปไตย==
 
อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) หมายถึง อำนาจที่แสดงความเป็นใหญ่ ความเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อใคร หรือต้องเชื่อฟังคำสั่งคำบัญชาของผู้ใดที่เหนือตนโดยปราศจากความยินยอมของตน<ref>มานิตย์ จุมปา, (2543) '''“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540” (ความรู้เบื้องต้น),''' กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์นิติธรรม, หน้า 16. </ref>
 
อำนาจอธิปไตย ย่อมมีความแตกต่างกันไปในแต่ละระบอบการปกครองของประเทศนั้น ๆ เช่น ประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยจะเป็นของประชาชน กล่าวคือ ประชาชนคือผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยผ่านตัวแทนคือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนการปกครองในระบบคณาธิปไตย อำนาจจะเป็นของคณะบุคคลที่ปกครองในระบบคณาธิปไตย ขณะเดียวกันการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจอธิปไตยเป็นของ[[พระมหากษัตริย์]] กล่าวคือ กษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ และเป็นผู้เดียวที่ใช้อำนาจดังกล่าว
 
ดังนั้น อำนาจอธิปไตย จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของความเป็นรัฐ เพราะการจะเป็นรัฐได้นั้น นอกจากประกอบด้วย อาณาเขตหรือดินแดน ประชากรที่อยู่รวมกันอย่างถาวร และรัฐบาลแล้ว ย่อมต้องมีอำนาจอธิปไตยด้วย ทั้งนี้ประเทศนั้นต้องเป็นประเทศที่สามารถมีอำนาจสูงสุด (อำนาจอธิปไตย) ในการปกครองตนเอง จึงจะสามารถเรียกว่า “รัฐ” ได้
 
==ทฤษฎีว่าด้วยอำนาจอธิปไตย==
 
อำนาจอธิปไตยกับความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ได้มีการอธิบายไว้หลากหลายทฤษฎีตามลำดับวิวัฒนาการ โดยทฤษฎีที่สำคัญและเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันมี 2 ทฤษฎีด้วยกัน สามารถอธิบายได้ดังนี้ คือ
 
'''1. ทฤษฎีว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน''' ถือว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน และประชาชนทุกคนใช้อำนาจอธิปไตยเองในกิจการทั้งปวงโดยตรง หรืออาจจัดการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตยโดยอ้อม คือ ให้ประชาชนเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นทำการแทนตน ซึ่งทฤษฎีนี้เกิดจากข้อเสนอของรุสโซ่ เจ้าของแนวคิดในหนังสือสัญญาประชาคม (Social Contract) ที่มองเห็นว่า สังคมเกิดจากความยินยอมพร้อมใจกันของมนุษย์ การที่มนุษย์ทุกคนยินยอมมารวมเป็นสังคมนั้น ก่อให้เกิดสัญญาประชาคมขึ้นซึ่งสมาชิกแต่ละคนจะทำสัญญากับคนอื่น ๆ หรือทุกคน ที่ว่า “เราทุกคนจะยอมมอบร่างกายและอำนาจทุกอย่างที่มีอยู่ร่วมกัน ภายใต้อำนาจสูงสุดของเจตนารมณ์ร่วมกันของสังคม และเราก็จะได้รับส่วนในฐานะที่เป็นสมาชิกที่แยกจากกันมิได้ของส่วนรวม ผู้เข้าร่วมแต่ละคนรวมกับทุกคนไม่ใช่กับใครคนใดคนหนึ่ง โดยนัยนี้ เขาผู้นั้น ไม่คิดเชื่อฟังใครนอกจากตัวเอง และยังคงมีเสรีภาพเหมือนเมื่อก่อน<ref>เรื่องเดียวกัน. หน้า 17.</ref> ซึ่งการถือทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน จะมีผลตามมา ดังนี้คือ
 
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;1. การออกเสียงเลือกตั้ง เป็นสิทธิซึ่งเราจะใช้สิทธิดังกล่าวหรือไม่ก็ย่อมได้
 
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้แทนของประชาชน ประชาชนสามารถควบคุมผู้แทนฯ ได้ เมื่อประชาชนไม่พอใจผู้แทนฯ ก็ถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ (recall)
 
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;3. ประชาชนมีส่วนร่วมในทางกฎหมายมาก เช่น มีสิทธิเสนอร่างกฎหมาย มีสิทธิออกเสียงแสดงประชามติในเรื่องสำคัญ ๆ เป็นต้น
 
'''2. ทฤษฎีว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ''' หมายความว่า อำนาจอธิปไตยไม่ใช่ของประชาชน แต่เป็นของ “ชาติ” ซึ่ง “ชาติ” เป็นสิ่งที่สมมติขึ้นมา ชาติเกิดจากการรวมกันของพลเมืองทุกคน ซึ่งถ้าแยกเป็นคนแต่ละคนแล้วจะไม่มีเลย แต่ถ้ารวมกันทุกคนแล้ว ย่อมเป็น “ชาติ” ซึ่งเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง โดยมี ซีเอเยส์ ชาวฝรั่งเศส ผู้เสนอทฤษฎีว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติที่เห็นว่า เจตนารมณ์ของชาติจะแสดงออกได้ก็แต่โดยชาติ โดยผ่านผู้แทนของชาติ และผู้แทนที่ได้รับเลือกโดยประชาชนนั้น เมื่อได้รับเลือกแล้วไม่ใช่ผู้แทนของราษฎรที่เลือก แต่เป็นผู้แทนของชาติจึงเป็นอิสระ ไม่ถูกผูกมัดโดยสัญญาใด ๆ กับประชาชนผู้เลือก และมีอิสระที่จะทำแทนชาติได้เต็มที่<ref>เรื่องเดียวกัน. หน้า 18.</ref> และประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการใช้อำนาจนี้ แต่อยู่ในฐานะที่เป็นสมาชิกของชาติเท่านั้น และการถือทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ จะมีผลตามมากล่าวคือ
 
เมื่ออำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ หากชาติได้มอบหมายให้ผู้ใดใช้อำนาจแทน เช่น มอบให้กษัตริย์หรือประธานาธิบดี ชาติย่อมเรียกอำนาจอธิปไตยกลับคืนได้ หรือการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรเป็นหน้าที่ ซึ่งเราจะต้องทำ ไม่ใช่ “สิทธิ” หรือประชาชนไม่มีส่วนร่วมในทางกฎหมายกับการเมือง เป็นต้น
 
อนึ่ง ในหลายประเทศได้เกิดปัญหาขึ้นว่าจะใช้ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนหรือเป็นของชาติ จึงมีการผสมผสานทั้งสองทฤษฎีเข้าด้วยกัน โดยปรากฏในลักษณะ เช่น “[[การเลือกตั้ง]]เป็นกลไกสำคัญในการให้ประชาชนได้แสดงสิทธิของความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย” หรือ “การออกเสียงเลือกตั้ง ทุกระดับ ทุกตำแหน่ง เป็นสิทธิของประชาชนไม่ใช่หน้าที่”
 
สำหรับประเทศไทยคงไม่ได้ยึดทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งตายตัว หากแต่ผสมผสานทั้งสองทฤษฎีเข้าด้วยกัน ดังจะเห็นได้จาก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 3 บัญญัติว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา [[คณะรัฐมนตรี]] และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้” หรือ “การออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา เป็นหน้าที่ดังที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 68 วรรคแรก บัญญัติว่า “บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง” เป็นต้น
 
==ความเป็นอำนาจอธิปไตยแบบสมบูรณ์==
 
จากทฤษฎีที่นำเสนอไว้ดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ความเป็นอำนาจอธิปไตยแบบสมบูรณ์ มีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้<ref>พฤทธิสาณ ชุมพล และคณะ, (2546) '''“คำและความคิดในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย”.''' กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 13.</ref>
 
1. มีความสมบูรณ์เด็ดขาด คือ ต้องไม่ถูกจำกัดจากสิ่งใด ๆ ถือเป็นอำนาจที่เด็ดขาด และบริบูรณ์ในตัวเอง โดยไม่มีอำนาจใดมาลบล้างได้
 
2. ความครอบคลุมทั่วไปรอบด้าน คือ การแผ่ขยายไปยังทุกคน ทุกกลุ่มคนภายในรัฐ
 
3. ความยืนยงถาวร คือ จะต้องอยู่ตลอดไปคู่กับรัฐเสมอโดยไม่สูญสลาย ตราบเท่าที่ยังมีความเป็นรัฐอยู่
 
4. ความไม่อาจถูกแบ่งแยกได้ เนื่องจากเป็นอำนาจสูงสุดเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งเป็นอำนาจทางนามธรรม แต่สามารถแบ่งแยกตามหน้าที่ (Separation of Power) ซึ่งประเทศไทยได้จัดรูปแบบการใช้อำนาจอธิปไตยตามระบบรัฐสภา โดยแยกองค์กรเป็น 3 องค์กร คือ องค์กรนิติบัญญัติ องค์กรบริหาร และองค์กรตุลาการ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน หรือที่เรียกว่า “ระบบรัฐสภา” เช่น ประเทศอังกฤษ และญี่ปุ่น เป็นต้น
 
ดังจะเห็นได้จากอำนาจอธิปไตยโดยหลักสากลแต่ละรัฐหรือแต่ละประเทศ จะมีองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยอยู่ 3 องค์กร ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ซึ่งหลักของการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Power) เป็นหลักการในการปกครอง โดยนักปรัชญาที่มีอิทธิพลคือ มงเตสกิเออ ได้อธิบายไว้ในหนังสือเจตนารมณ์แห่งกฎหมาย ได้อธิบายถึง อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจเกี่ยวกับการวางระเบียบบังคับทั่วไปในรัฐ เช่น ออกกฎหมายพิจารณาเงินงบประมาณและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใช้อำนาจ อำนาจบริหาร เป็นอำนาจปฏิบัติการซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายมหาชน เช่น การนำกฎหมายมาบังคับใช้หรือออกกฎหมายบางส่วนที่มีความสำคัญน้อยกว่านิติบัญญัติ โดยมีรัฐบาลและคณะรัฐมนตรี เป็นผู้ใช้อำนาจ และอำนาจตุลาการ เป็นอำนาจปฏิบัติการต่าง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายแพ่ง คือ อำนาจในการวินิจฉัยอรรถคดี เช่น ในการตีความตัวบทกฎหมายและ[[รัฐธรรมนูญ]] รวมทั้งตัดสินพิจารณาคดีต่าง ๆ โดยมีหน่วยงานศาลและกระทรวงยุติธรรมเป็นหน่วยงานที่ใช้อำนาจนี้ เป็นต้น มงเตสกิเออ มองว่า รัฐบาลที่ดีที่สุดจะต้องเป็นรัฐบาลที่มีอำนาจแต่ละอำนาจใช้โดยองค์กรที่แตกต่างกัน เมื่อบุคคลคนเดียวหรือองค์กรเดียวมีการรวมอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารไว้ด้วยกัน เสรีภาพจะเกิดขึ้นไม่ได้ และถ้าอำนาจตัดสินคดีไม่ได้แยกออกจากอำนาจนิติบัญญัติหรือบริหารจะไม่มีเสรีภาพอีกเช่นกัน ในการแยกอำนาจก็เพื่อจะคุ้มครองและให้หลักประกันสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน เพื่อมิให้องค์กรใดองค์กรหนึ่งใช้อำนาจเพียงองค์กรเดียว ดังเช่นที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ฉบับปัจจุบันได้กล่าวถึงในหมวด 1 บททั่วไป มาตรา 3 ความว่า<ref>กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักประชาสัมพันธ์, (2551) '''“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”,''' กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.</ref> “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม”
 
ดังนั้น การใช้คำว่า “อำนาจอธิปไตย เป็นของปวงชนชาวไทย” ย่อมส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดของประชาชนโดยทั่วไป เป็นการแสดงให้เห็นถึงว่าชนชาวไทยสนใจในการเมืองการปกครองมากยิ่งขึ้น ประกอบกับปัจจุบันประชาชนมีความตื่นตัวในการมีส่วนร่วมทางการเมืองมากยิ่งขึ้น เพราะการเมืองเป็นเรื่องของคนไทยทั้งชาติ และอีกไม่นานเราคงเห็นอนาคตอันสดใสของการเมืองไทยต่อไป
 
==อ้างอิง==
 
<references/>
 
==หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ==
 
เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์, '''“หลักรัฐศาสตร์.”''' 2508.
 
มงเตสกิเออ (เขียน), วิภาวรรณ ตุวยานนท์ (แปล), '''“เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย”,''' 2528.
 
==บรรณานุกรม==
 
เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์, (2508) '''“หลักรัฐศาสตร์”,''' กรุงเทพมหานคร : มปพ.
 
เดือน บุนนาค, (2487) '''“การแยกอำนาจ”''' พระนคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง.
 
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, (2538) '''“กฎหมายมหาชน เล่ม 1 วิวัฒนาการทางปรัชญาและลักษณะของกฎหมายมหาชนยุคต่าง ๆ”''' พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติธรรม.
 
มานิตย์ จุมปา, (2543) '''“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540” (ความรู้เบื้องต้น)''' : กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติธรรม.
 
วิษณุ เครืองาม, (2530) '''“กฎหมายรัฐธรรมนูญ”''' กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แสวงสุทธิการพิมพ์.
 
กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักประชาสัมพันธ์, (2551) '''“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”''' กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
 
http://th.wikipedia.org/wiki. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2552.
 
http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=1628. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2552.
 
http://www.boraiwit.ac.th/social.pub.htm. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2552.
 
 
[[หมวดหมู่:สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:39, 16 สิงหาคม 2556

ผู้เรียบเรียง ปิยะวรรณ ปานโต


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


ฌอง โบแดง (Jean Bodin) เป็นนักปรัชญาการเมืองของโลกตะวันตก ชาวฝรั่งเศส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 หรือประมาณ พ.ศ. 2100 และเป็นคนแรกที่ริเริ่มใช้คำว่า “อำนาจอธิปไตย” ในความหมายที่เข้าใจได้ในปัจจุบัน กล่าวคือ อำนาจอธิปไตยนั้นเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่ง โบแดง ได้เสนอปรัชญาเกี่ยวกับทฤษฎีอำนาจอธิปไตยในหนังสือเรื่อง “Six Books” ไว้ว่า “อำนาจเป็นเครื่องหมายที่บอกถึงความแตกต่างระหว่างรัฐกับสังคมอื่น ๆ ที่ครอบครัวหลายครอบครัวอยู่ร่วมกัน และพรรณนาว่าครอบครัวเป็นพลเมืองของรัฐ ซึ่งต้องยอมอยู่ภายใต้อำนาจปกครอง และการยอมรับในอำนาจปกครองของพลเมืองผู้อยู่ใต้การปกครองของรัฐนั้น

ความหมายอำนาจอธิปไตย

อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) หมายถึง อำนาจที่แสดงความเป็นใหญ่ ความเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อใคร หรือต้องเชื่อฟังคำสั่งคำบัญชาของผู้ใดที่เหนือตนโดยปราศจากความยินยอมของตน[1]

อำนาจอธิปไตย ย่อมมีความแตกต่างกันไปในแต่ละระบอบการปกครองของประเทศนั้น ๆ เช่น ประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยจะเป็นของประชาชน กล่าวคือ ประชาชนคือผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยผ่านตัวแทนคือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนการปกครองในระบบคณาธิปไตย อำนาจจะเป็นของคณะบุคคลที่ปกครองในระบบคณาธิปไตย ขณะเดียวกันการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์ กล่าวคือ กษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ และเป็นผู้เดียวที่ใช้อำนาจดังกล่าว

ดังนั้น อำนาจอธิปไตย จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของความเป็นรัฐ เพราะการจะเป็นรัฐได้นั้น นอกจากประกอบด้วย อาณาเขตหรือดินแดน ประชากรที่อยู่รวมกันอย่างถาวร และรัฐบาลแล้ว ย่อมต้องมีอำนาจอธิปไตยด้วย ทั้งนี้ประเทศนั้นต้องเป็นประเทศที่สามารถมีอำนาจสูงสุด (อำนาจอธิปไตย) ในการปกครองตนเอง จึงจะสามารถเรียกว่า “รัฐ” ได้

ทฤษฎีว่าด้วยอำนาจอธิปไตย

อำนาจอธิปไตยกับความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ได้มีการอธิบายไว้หลากหลายทฤษฎีตามลำดับวิวัฒนาการ โดยทฤษฎีที่สำคัญและเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันมี 2 ทฤษฎีด้วยกัน สามารถอธิบายได้ดังนี้ คือ

1. ทฤษฎีว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ถือว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน และประชาชนทุกคนใช้อำนาจอธิปไตยเองในกิจการทั้งปวงโดยตรง หรืออาจจัดการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตยโดยอ้อม คือ ให้ประชาชนเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นทำการแทนตน ซึ่งทฤษฎีนี้เกิดจากข้อเสนอของรุสโซ่ เจ้าของแนวคิดในหนังสือสัญญาประชาคม (Social Contract) ที่มองเห็นว่า สังคมเกิดจากความยินยอมพร้อมใจกันของมนุษย์ การที่มนุษย์ทุกคนยินยอมมารวมเป็นสังคมนั้น ก่อให้เกิดสัญญาประชาคมขึ้นซึ่งสมาชิกแต่ละคนจะทำสัญญากับคนอื่น ๆ หรือทุกคน ที่ว่า “เราทุกคนจะยอมมอบร่างกายและอำนาจทุกอย่างที่มีอยู่ร่วมกัน ภายใต้อำนาจสูงสุดของเจตนารมณ์ร่วมกันของสังคม และเราก็จะได้รับส่วนในฐานะที่เป็นสมาชิกที่แยกจากกันมิได้ของส่วนรวม ผู้เข้าร่วมแต่ละคนรวมกับทุกคนไม่ใช่กับใครคนใดคนหนึ่ง โดยนัยนี้ เขาผู้นั้น ไม่คิดเชื่อฟังใครนอกจากตัวเอง และยังคงมีเสรีภาพเหมือนเมื่อก่อน[2] ซึ่งการถือทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน จะมีผลตามมา ดังนี้คือ

     1. การออกเสียงเลือกตั้ง เป็นสิทธิซึ่งเราจะใช้สิทธิดังกล่าวหรือไม่ก็ย่อมได้

     2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้แทนของประชาชน ประชาชนสามารถควบคุมผู้แทนฯ ได้ เมื่อประชาชนไม่พอใจผู้แทนฯ ก็ถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ (recall)

     3. ประชาชนมีส่วนร่วมในทางกฎหมายมาก เช่น มีสิทธิเสนอร่างกฎหมาย มีสิทธิออกเสียงแสดงประชามติในเรื่องสำคัญ ๆ เป็นต้น

2. ทฤษฎีว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ หมายความว่า อำนาจอธิปไตยไม่ใช่ของประชาชน แต่เป็นของ “ชาติ” ซึ่ง “ชาติ” เป็นสิ่งที่สมมติขึ้นมา ชาติเกิดจากการรวมกันของพลเมืองทุกคน ซึ่งถ้าแยกเป็นคนแต่ละคนแล้วจะไม่มีเลย แต่ถ้ารวมกันทุกคนแล้ว ย่อมเป็น “ชาติ” ซึ่งเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง โดยมี ซีเอเยส์ ชาวฝรั่งเศส ผู้เสนอทฤษฎีว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติที่เห็นว่า เจตนารมณ์ของชาติจะแสดงออกได้ก็แต่โดยชาติ โดยผ่านผู้แทนของชาติ และผู้แทนที่ได้รับเลือกโดยประชาชนนั้น เมื่อได้รับเลือกแล้วไม่ใช่ผู้แทนของราษฎรที่เลือก แต่เป็นผู้แทนของชาติจึงเป็นอิสระ ไม่ถูกผูกมัดโดยสัญญาใด ๆ กับประชาชนผู้เลือก และมีอิสระที่จะทำแทนชาติได้เต็มที่[3] และประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการใช้อำนาจนี้ แต่อยู่ในฐานะที่เป็นสมาชิกของชาติเท่านั้น และการถือทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ จะมีผลตามมากล่าวคือ

เมื่ออำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ หากชาติได้มอบหมายให้ผู้ใดใช้อำนาจแทน เช่น มอบให้กษัตริย์หรือประธานาธิบดี ชาติย่อมเรียกอำนาจอธิปไตยกลับคืนได้ หรือการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรเป็นหน้าที่ ซึ่งเราจะต้องทำ ไม่ใช่ “สิทธิ” หรือประชาชนไม่มีส่วนร่วมในทางกฎหมายกับการเมือง เป็นต้น

อนึ่ง ในหลายประเทศได้เกิดปัญหาขึ้นว่าจะใช้ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนหรือเป็นของชาติ จึงมีการผสมผสานทั้งสองทฤษฎีเข้าด้วยกัน โดยปรากฏในลักษณะ เช่น “การเลือกตั้งเป็นกลไกสำคัญในการให้ประชาชนได้แสดงสิทธิของความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย” หรือ “การออกเสียงเลือกตั้ง ทุกระดับ ทุกตำแหน่ง เป็นสิทธิของประชาชนไม่ใช่หน้าที่”

สำหรับประเทศไทยคงไม่ได้ยึดทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งตายตัว หากแต่ผสมผสานทั้งสองทฤษฎีเข้าด้วยกัน ดังจะเห็นได้จาก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 3 บัญญัติว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้” หรือ “การออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา เป็นหน้าที่ดังที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 68 วรรคแรก บัญญัติว่า “บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง” เป็นต้น

ความเป็นอำนาจอธิปไตยแบบสมบูรณ์

จากทฤษฎีที่นำเสนอไว้ดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ความเป็นอำนาจอธิปไตยแบบสมบูรณ์ มีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้[4]

1. มีความสมบูรณ์เด็ดขาด คือ ต้องไม่ถูกจำกัดจากสิ่งใด ๆ ถือเป็นอำนาจที่เด็ดขาด และบริบูรณ์ในตัวเอง โดยไม่มีอำนาจใดมาลบล้างได้

2. ความครอบคลุมทั่วไปรอบด้าน คือ การแผ่ขยายไปยังทุกคน ทุกกลุ่มคนภายในรัฐ

3. ความยืนยงถาวร คือ จะต้องอยู่ตลอดไปคู่กับรัฐเสมอโดยไม่สูญสลาย ตราบเท่าที่ยังมีความเป็นรัฐอยู่

4. ความไม่อาจถูกแบ่งแยกได้ เนื่องจากเป็นอำนาจสูงสุดเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งเป็นอำนาจทางนามธรรม แต่สามารถแบ่งแยกตามหน้าที่ (Separation of Power) ซึ่งประเทศไทยได้จัดรูปแบบการใช้อำนาจอธิปไตยตามระบบรัฐสภา โดยแยกองค์กรเป็น 3 องค์กร คือ องค์กรนิติบัญญัติ องค์กรบริหาร และองค์กรตุลาการ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน หรือที่เรียกว่า “ระบบรัฐสภา” เช่น ประเทศอังกฤษ และญี่ปุ่น เป็นต้น

ดังจะเห็นได้จากอำนาจอธิปไตยโดยหลักสากลแต่ละรัฐหรือแต่ละประเทศ จะมีองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยอยู่ 3 องค์กร ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ซึ่งหลักของการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Power) เป็นหลักการในการปกครอง โดยนักปรัชญาที่มีอิทธิพลคือ มงเตสกิเออ ได้อธิบายไว้ในหนังสือเจตนารมณ์แห่งกฎหมาย ได้อธิบายถึง อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจเกี่ยวกับการวางระเบียบบังคับทั่วไปในรัฐ เช่น ออกกฎหมายพิจารณาเงินงบประมาณและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใช้อำนาจ อำนาจบริหาร เป็นอำนาจปฏิบัติการซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายมหาชน เช่น การนำกฎหมายมาบังคับใช้หรือออกกฎหมายบางส่วนที่มีความสำคัญน้อยกว่านิติบัญญัติ โดยมีรัฐบาลและคณะรัฐมนตรี เป็นผู้ใช้อำนาจ และอำนาจตุลาการ เป็นอำนาจปฏิบัติการต่าง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายแพ่ง คือ อำนาจในการวินิจฉัยอรรถคดี เช่น ในการตีความตัวบทกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งตัดสินพิจารณาคดีต่าง ๆ โดยมีหน่วยงานศาลและกระทรวงยุติธรรมเป็นหน่วยงานที่ใช้อำนาจนี้ เป็นต้น มงเตสกิเออ มองว่า รัฐบาลที่ดีที่สุดจะต้องเป็นรัฐบาลที่มีอำนาจแต่ละอำนาจใช้โดยองค์กรที่แตกต่างกัน เมื่อบุคคลคนเดียวหรือองค์กรเดียวมีการรวมอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารไว้ด้วยกัน เสรีภาพจะเกิดขึ้นไม่ได้ และถ้าอำนาจตัดสินคดีไม่ได้แยกออกจากอำนาจนิติบัญญัติหรือบริหารจะไม่มีเสรีภาพอีกเช่นกัน ในการแยกอำนาจก็เพื่อจะคุ้มครองและให้หลักประกันสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน เพื่อมิให้องค์กรใดองค์กรหนึ่งใช้อำนาจเพียงองค์กรเดียว ดังเช่นที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ฉบับปัจจุบันได้กล่าวถึงในหมวด 1 บททั่วไป มาตรา 3 ความว่า[5] “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม”

ดังนั้น การใช้คำว่า “อำนาจอธิปไตย เป็นของปวงชนชาวไทย” ย่อมส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดของประชาชนโดยทั่วไป เป็นการแสดงให้เห็นถึงว่าชนชาวไทยสนใจในการเมืองการปกครองมากยิ่งขึ้น ประกอบกับปัจจุบันประชาชนมีความตื่นตัวในการมีส่วนร่วมทางการเมืองมากยิ่งขึ้น เพราะการเมืองเป็นเรื่องของคนไทยทั้งชาติ และอีกไม่นานเราคงเห็นอนาคตอันสดใสของการเมืองไทยต่อไป

อ้างอิง

  1. มานิตย์ จุมปา, (2543) “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540” (ความรู้เบื้องต้น), กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์นิติธรรม, หน้า 16.
  2. เรื่องเดียวกัน. หน้า 17.
  3. เรื่องเดียวกัน. หน้า 18.
  4. พฤทธิสาณ ชุมพล และคณะ, (2546) “คำและความคิดในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย”. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 13.
  5. กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักประชาสัมพันธ์, (2551) “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”, กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์, “หลักรัฐศาสตร์.” 2508.

มงเตสกิเออ (เขียน), วิภาวรรณ ตุวยานนท์ (แปล), “เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย”, 2528.

บรรณานุกรม

เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์, (2508) “หลักรัฐศาสตร์”, กรุงเทพมหานคร : มปพ.

เดือน บุนนาค, (2487) “การแยกอำนาจ” พระนคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, (2538) “กฎหมายมหาชน เล่ม 1 วิวัฒนาการทางปรัชญาและลักษณะของกฎหมายมหาชนยุคต่าง ๆ” พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติธรรม.

มานิตย์ จุมปา, (2543) “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540” (ความรู้เบื้องต้น) : กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติธรรม.

วิษณุ เครืองาม, (2530) “กฎหมายรัฐธรรมนูญ” กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แสวงสุทธิการพิมพ์.

กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักประชาสัมพันธ์, (2551) “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

http://th.wikipedia.org/wiki. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2552.

http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=1628. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2552.

http://www.boraiwit.ac.th/social.pub.htm. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2552.