ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้เรียบเรียง''' อัญชลี จวงจันทร์ '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบท...
 
Teeraphan (คุย | ส่วนร่วม)
 
(ไม่แสดง 3 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 1 คน)
บรรทัดที่ 5: บรรทัดที่ 5:
----
----


เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองมาเป็นระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีเข้ามาบริหารประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 27 ท่าน การก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีแต่ละท่านในแต่ละช่วงเวลา มีที่มา เหตุการณ์ และการเข้ามาดำรงตำแหน่งในสถานการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกันไป
[[ภาพ:สฤษดิ์_ธนะรัชต์.jpg]]
 
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองมาเป็นระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมี[[นายกรัฐมนตรี]]เข้ามาบริหารประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 27 ท่าน การก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีแต่ละท่านในแต่ละช่วงเวลา มีที่มา เหตุการณ์ และการเข้ามาดำรงตำแหน่งในสถานการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกันไป


จากประวัติศาสตร์ทางการเมืองการปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยจะพบว่า มีการเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมืองของนายทหารหลายท่าน นายทหารที่มีบทบาททางการเมืองและมีความสำคัญต่อการเมืองของไทยอีกท่านหนึ่งก็คือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 11 ของประเทศไทย ผู้ซึ่งวางรากฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งปรับปรุงการบริหารและการพัฒนาประเทศ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นผู้วางแนวทางการพัฒนาประเทศให้กับประเทศไทยอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
จากประวัติศาสตร์ทางการเมืองการปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยจะพบว่า มีการเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมืองของนายทหารหลายท่าน นายทหารที่มีบทบาททางการเมืองและมีความสำคัญต่อการเมืองของไทยอีกท่านหนึ่งก็คือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 11 ของประเทศไทย ผู้ซึ่งวางรากฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งปรับปรุงการบริหารและการพัฒนาประเทศ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นผู้วางแนวทางการพัฒนาประเทศให้กับประเทศไทยอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
บรรทัดที่ 19: บรรทัดที่ 21:
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่จังหวัดมุกดาหาร จากนั้นได้เข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดมหรรณพาราม กรุงเทพฯ และเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก หรือโรงเรียนนายร้อยชั้นประถม เมื่ออายุเพียง 9 ขวบ โดยสำเร็จการศึกษาขณะมีอายุ 21 ปีเต็ม เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 ได้รับยศร้อยตรีประจำการที่กองทัพบกที่ 1 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่จังหวัดมุกดาหาร จากนั้นได้เข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดมหรรณพาราม กรุงเทพฯ และเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก หรือโรงเรียนนายร้อยชั้นประถม เมื่ออายุเพียง 9 ขวบ โดยสำเร็จการศึกษาขณะมีอายุ 21 ปีเต็ม เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 ได้รับยศร้อยตรีประจำการที่กองทัพบกที่ 1 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์


ในปี พ.ศ. 2476 ขณะติดยศร้อยตรี ได้เกิดกบฏบวรเดช นำโดยพลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ร้อยตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหนึ่งในผู้บังคับบัญชาหมวดปราบปรามกบฏของฝ่ายรัฐบาล ที่มีพันเอกหลวงพิบูลสงคราม เป็นผู้บังคับบัญชา หลังจากรัฐบาลได้รับชัยชนะได้รับพระราชทานยศร้อยโท จากนั้นอีก 2 ปี คือในปี พ.ศ. 2478 ก็เลื่อนยศเป็นร้อยเอก ในปี พ.ศ. 2484 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าร่วมในสงครามมหาเอเชียบูรพาในขณะดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองทัพทหารราบที่ 33 มียศเป็นพันตรี และได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความกล้าหาญ จนช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2488 จึงได้เลื่อนยศเป็นพันเอก ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 13 และผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลำปาง
ในปี พ.ศ. 2476 ขณะติดยศร้อยตรี ได้เกิด[[กบฏบวรเดช]] นำโดยพลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ร้อยตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหนึ่งในผู้บังคับบัญชาหมวดปราบปรามกบฏของฝ่ายรัฐบาล ที่มีพันเอกหลวงพิบูลสงคราม เป็นผู้บังคับบัญชา หลังจากรัฐบาลได้รับชัยชนะได้รับพระราชทานยศร้อยโท จากนั้นอีก 2 ปี คือในปี พ.ศ. 2478 ก็เลื่อนยศเป็นร้อยเอก ในปี พ.ศ. 2484 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าร่วมในสงครามมหาเอเชียบูรพาในขณะดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองทัพทหารราบที่ 33 มียศเป็นพันตรี และได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความกล้าหาญ จนช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2488 จึงได้เลื่อนยศเป็นพันเอก ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 13 และผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลำปาง


หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง มีการผลัดเปลี่ยนอำนาจทางการเมือง โดยก่อนหน้านั้น เมื่อปี พ.ศ. 2487 อำนาจของจอมพล ป. พิบูลสงครามได้เริ่มเสื่อมถอยลง หลังจากลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่พันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กลับเติบโตขึ้นโดยได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นหน่วยกำลังสำคัญ
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง มีการผลัดเปลี่ยนอำนาจทางการเมือง โดยก่อนหน้านั้น เมื่อปี พ.ศ. 2487 อำนาจของ[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]]ได้เริ่มเสื่อมถอยลง หลังจากลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่พันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กลับเติบโตขึ้นโดยได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นหน่วยกำลังสำคัญ


จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2490 ก็เกิดความเปลี่ยนแปลงของขั้วการเมืองอีกครั้งหนึ่ง เมื่อคณะนายทหารนำโดยจอมพลผิน ชุณหะวัณ ก่อการรัฐประหารโค่นล้มอำนาจของพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ด้วยความเคารพเลื่อมใสที่มีต่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติ พันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงเข้าร่วมกับคณะรัฐประหาร ซึ่งถือเป็นการกลับคืนสู่อำนาจอีกครั้งหนึ่งของจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยมีพันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นขุนพลคู่ใจตั้งแต่นั้นมา
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2490 ก็เกิดความเปลี่ยนแปลงของขั้วการเมืองอีกครั้งหนึ่ง เมื่อคณะนายทหารนำโดย[[ผิน ชุณหะวัณ|จอมพลผิน ชุณหะวัณ]] ก่อการรัฐประหารโค่นล้มอำนาจของ[[ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์|พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์]] ด้วยความเคารพเลื่อมใสที่มีต่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติ พันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงเข้าร่วมกับคณะรัฐประหาร ซึ่งถือเป็นการกลับคืนสู่อำนาจอีกครั้งหนึ่งของจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยมีพันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นขุนพลคู่ใจตั้งแต่นั้นมา


นับแต่นั้นเป็นต้นมา ชีวิตราชการของพันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2492 ได้รับพระราชทายยศ พลตรี ดำรงตำแหน่งแม่ทัพกองทัพที่ 1 และรักษาการผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ผลงานที่สร้างชื่อ คือ การเป็นหัวหน้าปราบกบฏวังหลวง เมื่อปีเดียวกันหลังเสร็จสิ้นภารกิจ ได้รับการเลื่อนยศเป็น พลโท ต่อด้วยการก้าวขึ้นตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2493 ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 ได้ครองตำแหน่งรองผู้บัญชากรทหารบก ครองยศ พลเอก<ref>วีรชาติ ชุ่มสนิท, '''“24 นายกรัฐมนตรีไทย”.''' กรุงเทพฯ : ออลบุ๊คส์ พับบิซซิ่ง จำกัด, 2549, หน้า 84.</ref>
นับแต่นั้นเป็นต้นมา ชีวิตราชการของพันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2492 ได้รับพระราชทายยศ พลตรี ดำรงตำแหน่งแม่ทัพกองทัพที่ 1 และรักษาการผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ผลงานที่สร้างชื่อ คือ การเป็นหัวหน้าปราบกบฏวังหลวง เมื่อปีเดียวกันหลังเสร็จสิ้นภารกิจ ได้รับการเลื่อนยศเป็น พลโท ต่อด้วยการก้าวขึ้นตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2493 ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 ได้ครองตำแหน่งรองผู้บัญชากรทหารบก ครองยศ พลเอก<ref>วีรชาติ ชุ่มสนิท, '''“24 นายกรัฐมนตรีไทย”.''' กรุงเทพฯ : ออลบุ๊คส์ พับบิซซิ่ง จำกัด, 2549, หน้า 84.</ref>
บรรทัดที่ 29: บรรทัดที่ 31:
==บทบาททางการเมือง==
==บทบาททางการเมือง==


ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2500 ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อันเป็นรัฐบาลชุดสุดท้ายของจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่อยู่ในตำแหน่งนั้นได้พียง 10 วันก็ลาออก  
ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2500 ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อันเป็นรัฐบาลชุดสุดท้ายของจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่อยู่ในตำแหน่งนั้นได้เพียง 10 วันก็ลาออก  


สาเหตุของการลาออกจากตำแหน่งของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นั้น เกี่ยวโยงย้อนหลังมากการเลือกตั้งโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ซึ่งมีการกล่าวขานว่า เป็นการเลือกตั้งที่ทุจริต มีการโกงทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการใช้อันธพาลที่เรียกโดยสุภาพในขณะนั้นว่า “ผู้กว้างขวาง” ซึ่งผลก็คือ พรรคเสรีมนังคศิลา ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้รับเสียงข้างมาก จึงสามารถดำเนินการจัดตั้งรัฐบาล ท่ามกลางความวุ่นวายอย่างหนัก จากการเดินประท้วงของนักเรียนนักศึกษา ประชาชนนับหมื่น นับแสนคน ซึ่งเรียกร้องให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจคู่บารมีผู้สถาปนารัฐตำรวจทรงอำนาจ ลาออกจากตำแหน่ง
สาเหตุของการลาออกจากตำแหน่งของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นั้น เกี่ยวโยงย้อนหลังมากการเลือกตั้งโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ซึ่งมีการกล่าวขานว่า เป็นการเลือกตั้งที่ทุจริต มีการโกงทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการใช้อันธพาลที่เรียกโดยสุภาพในขณะนั้นว่า “ผู้กว้างขวาง” ซึ่งผลก็คือ [[พรรคเสรีมนังคศิลา]] ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้รับเสียงข้างมาก จึงสามารถดำเนินการจัดตั้งรัฐบาล ท่ามกลางความวุ่นวายอย่างหนัก จากการเดินประท้วงของนักเรียนนักศึกษา ประชาชนนับหมื่น นับแสนคน ซึ่งเรียกร้องให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม และ[[เผ่า ศรียานนท์|พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์]] อธิบดีกรมตำรวจคู่บารมีผู้สถาปนารัฐตำรวจทรงอำนาจ ลาออกจากตำแหน่ง


ในช่วงเวลาดังกล่าว เมื่อสถานการณ์ลุกลามเกิดความวุ่นวายอย่างหนัก จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้แต่งตั้งให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้บัญชาการ 3 เหล่าทัพ เพื่อคอยควบคุมสถานการณ์ และช่วงนี้เองเป็นช่วงที่สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ เนื่องจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สั่งการไม่ให้ทหารทำอันตรายประชาชนที่เดินขบวนชุมนุมประท้วง และยังเป็นผู้นำประชาชนเข้าพบจอมพล ป. พิบูลสงครามที่ทำเนียบอีก ทำให้กลายเป็นขวัญใจของประชาชนทันที จนได้รับฉายาในตอนนั้นว่า “วีรบุรุษมัฆวานฯ”
ในช่วงเวลาดังกล่าว เมื่อสถานการณ์ลุกลามเกิดความวุ่นวายอย่างหนัก จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้แต่งตั้งให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้บัญชาการ 3 เหล่าทัพ เพื่อคอยควบคุมสถานการณ์ และช่วงนี้เองเป็นช่วงที่สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ เนื่องจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สั่งการไม่ให้ทหารทำอันตรายประชาชนที่เดินขบวนชุมนุมประท้วง และยังเป็นผู้นำประชาชนเข้าพบจอมพล ป. พิบูลสงครามที่ทำเนียบอีก ทำให้กลายเป็นขวัญใจของประชาชนทันที จนได้รับฉายาในตอนนั้นว่า “วีรบุรุษมัฆวานฯ”


ในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และคณะทหารยื่นคำขาดต่อจอมพล ป. พิบูลสงครามว่า ยินดีจะให้รัฐมนตรีลาออก แต่ตนจะขอเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลเอง ยิ่งสร้างความไม่พอใจแก่ประชาชนอย่างใหญ่หลวง ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้พูดผ่านวิทยุยานเกราะถึงผู้ชุมนุมในเหตุการณ์นี้ โดยมีประโยคสำคัญที่ยังติดปากมาจนทุกวันนี้ว่า “พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ” วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2500 ผู้ตนนับแสนพากันลุกฮือเดินขบวนบุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล เมื่อไม่พบจอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงพากันไปบ้านจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในขณะที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามก็กำลังจะเตรียมจับกุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในข้อหากบฏที่สนับสนุนให้ผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาล แต่ยังไม่ทันได้ดำเนินการใด ๆ ในคืนวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ก็นำกำลังทหารเข้ายึดอำนาจโค่นล้มจอมพล ป. พิบูลสงคราม หลังจากการยึดอำนาจจากรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามแล้ว จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เห็นว่าไม่เหมาะสมที่ตนเองจะขึ้นครองอำนาจ จึงตั้งนายพจน์ สารสิน ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลนายพจน์ สารสินได้จัดการเลือกตั้ง และได้พลโทถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาได้เกิดความวุ่นวายจากความขัดแย้งระหว่างสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับรัฐมนตรีขึ้น พลโทถนอม กิตติขจร ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์จึงร่วมมือกับพลโทถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลพลโทถนอมเอง และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 11 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 หลังการทำรัฐประหารรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร<ref>ธนากิต, '''“ประวัตินายกรัฐมนตรีไทย”.''' กรุงเทพฯ : ปิรามิด, 2545 หน้า 247 – 248, 254 – 257.</ref>
ในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และคณะทหารยื่นคำขาดต่อจอมพล ป. พิบูลสงครามว่า ยินดีจะให้[[รัฐมนตรี]]ลาออก แต่ตนจะขอเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลเอง ยิ่งสร้างความไม่พอใจแก่ประชาชนอย่างใหญ่หลวง ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้พูดผ่านวิทยุยานเกราะถึงผู้ชุมนุมในเหตุการณ์นี้ โดยมีประโยคสำคัญที่ยังติดปากมาจนทุกวันนี้ว่า “พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ” วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2500 ผู้ตนนับแสนพากันลุกฮือเดินขบวนบุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล เมื่อไม่พบจอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงพากันไปบ้านจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในขณะที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามก็กำลังจะเตรียมจับกุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในข้อหากบฏที่สนับสนุนให้ผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาล แต่ยังไม่ทันได้ดำเนินการใด ๆ ในคืนวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ก็นำกำลังทหารเข้ายึดอำนาจโค่นล้มจอมพล ป. พิบูลสงคราม หลังจากการยึดอำนาจจากรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามแล้ว จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เห็นว่าไม่เหมาะสมที่ตนเองจะขึ้นครองอำนาจ จึงตั้งนาย[[พจน์ สารสิน]] ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลนายพจน์ สารสินได้จัดการเลือกตั้ง และได้[[ถนอม กิตติขจร|พลโทถนอม กิตติขจร]] เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาได้เกิดความวุ่นวายจากความขัดแย้งระหว่างสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับรัฐมนตรีขึ้น พลโทถนอม กิตติขจร ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์จึงร่วมมือกับพลโทถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลพลโทถนอมเอง และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 11 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 หลังการทำรัฐประหารรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร<ref>ธนากิต, '''“ประวัตินายกรัฐมนตรีไทย”.''' กรุงเทพฯ : ปิรามิด, 2545 หน้า 247 – 248, 254 – 257.</ref>


==การบริหารประเทศ==
==การบริหารประเทศ==
บรรทัดที่ 41: บรรทัดที่ 43:
ในช่วงการบริหารประเทศ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ประกาศยกเลิกสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ เช่น พรรคการเมือง และได้สร้างผลงานทั้งทางด้านการปรับปรุงการบริหาร และการพัฒนาประเทศไว้มากมาย ผลงานที่สำคัญ ได้แก่ การออกกฎหมายเลิกการเสพและจำหน่ายฝิ่นโดยเด็ดขาด กฎหมายปราบปรามพวกนักเลง อันธพาล กฎหมายปราบปรามการค้าประเวณี และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศ ทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัย จนกระทั่งได้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 – พ.ศ. 2509) ซึ่งแผนดังกล่าวเป็นแม่แบบของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน มีการสร้างสาธารณูปโภคสำคัญที่เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต เช่น ไฟฟ้า ประปา ถนน ให้กระจายไปทั่วทั้งในเมืองและชนบท ซึ่งเรียกว่า “น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก”  
ในช่วงการบริหารประเทศ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ประกาศยกเลิกสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ เช่น พรรคการเมือง และได้สร้างผลงานทั้งทางด้านการปรับปรุงการบริหาร และการพัฒนาประเทศไว้มากมาย ผลงานที่สำคัญ ได้แก่ การออกกฎหมายเลิกการเสพและจำหน่ายฝิ่นโดยเด็ดขาด กฎหมายปราบปรามพวกนักเลง อันธพาล กฎหมายปราบปรามการค้าประเวณี และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศ ทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัย จนกระทั่งได้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 – พ.ศ. 2509) ซึ่งแผนดังกล่าวเป็นแม่แบบของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน มีการสร้างสาธารณูปโภคสำคัญที่เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต เช่น ไฟฟ้า ประปา ถนน ให้กระจายไปทั่วทั้งในเมืองและชนบท ซึ่งเรียกว่า “น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก”  


จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีฉายาว่า “จอมพลผ้าขาวม้าแดง” นับเป็นนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งที่อยู่ในความทรงจำของคนไทย เพราะตลอดระยะเวลาที่ครองตำแหน่งและมีบทบาท ท่านได้ใช้มาตรการเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เพื่อจัดการความสงบเรียบร้อยของประเทศ เช่น ประหารชีวิตเจ้าของบ้านทันที หลังจากบ้านใดเกิดเพลิงไหม้ เพราะถือว่าเป็นการก่อความไม่สงบ เครื่องมือสำคัญของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในการปกครองประเทศ คือ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ซึ่งบทบัญญัติ 20 มาตรา โดยมาตราที่ 17 ได้ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีสั่งลงโทษได้อย่างกว้างขวางและรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการศาลยุติธรรม การใช้มาตราที่ 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ได้ส่งผลดีต่อสังคมไทย คือ การใช้อำนาจที่เฉียบขาดดังกล่าว ทำให้อาชญากรรมลดลง โดยมีการกวาดล้างนักเลง อันธพาล ผู้มีอิทธิพล ยาเสพติด ทำให้สังคมเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนั้นยังเป็นการปราบปรามการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์อีกด้วย แต่เมื่อเปรียบเทียบกับผลเสียแล้ว พบว่า การนำมาตรา 17 มาใช้เพื่อกวาดล้างทำลายศัตรูทางการเมือง เป็นการปิดหู ปิดตา ปิดปาก ประชาชน ไม่ให้สามารถตรวจสอบกลุ่มผู้กุมอำนาจการปกครอง ตลอดจนการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทยต้องหยุดการพัฒนาอย่างสิ้นเชิง เพราะเป็นการปกครองแบบเผด็จการเต็มรูปแบบ ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงต่อสังคมโดยภาพรวม<ref>ศรีพนม สิงห์ทอง, “6 จอมพลไทยยุคระบอบประชาธิปไตย”. กรุงเทพฯ : มติชน.</ref>
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีฉายาว่า “จอมพลผ้าขาวม้าแดง” นับเป็นนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งที่อยู่ในความทรงจำของคนไทย เพราะตลอดระยะเวลาที่ครองตำแหน่งและมีบทบาท ท่านได้ใช้มาตรการเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เพื่อจัดการความสงบเรียบร้อยของประเทศ เช่น ประหารชีวิตเจ้าของบ้านทันที หลังจากบ้านใดเกิดเพลิงไหม้ เพราะถือว่าเป็นการก่อความไม่สงบ เครื่องมือสำคัญของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในการปกครองประเทศ คือ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ซึ่งบทบัญญัติ 20 มาตรา โดยมาตราที่ 17 ได้ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีสั่งลงโทษได้อย่างกว้างขวางและรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการศาลยุติธรรม การใช้มาตราที่ 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ได้ส่งผลดีต่อสังคมไทย คือ การใช้อำนาจที่เฉียบขาดดังกล่าว ทำให้อาชญากรรมลดลง โดยมีการกวาดล้างนักเลง อันธพาล ผู้มีอิทธิพล ยาเสพติด ทำให้สังคมเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนั้นยังเป็นการปราบปรามการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์อีกด้วย แต่เมื่อเปรียบเทียบกับผลเสียแล้ว พบว่า การนำมาตรา 17 มาใช้เพื่อกวาดล้างทำลายศัตรูทางการเมือง เป็นการปิดหู ปิดตา ปิดปาก ประชาชน ไม่ให้สามารถตรวจสอบกลุ่มผู้กุมอำนาจการปกครอง ตลอดจนการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทยต้องหยุดการพัฒนาอย่างสิ้นเชิง เพราะเป็นการปกครองแบบเผด็จการเต็มรูปแบบ ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงต่อสังคมโดยภาพรวม<ref>ศรีพนม สิงห์ทอง, '''“6 จอมพลไทยยุคระบอบประชาธิปไตย”.''' กรุงเทพฯ : มติชน.</ref>


ในการปกครองและการบริหารประเทศ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ประกาศว่า “ข้าพเจ้าขอรับผิดแต่ผู้เดียว” ซึ่งนักประวัติศาสตร์ทางการเมืองถือว่าเป็นสมัยเผด็จการ เพราะไม่มีสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง และไม่มีกลไกควบคุมรัฐบาล นายกรัฐมนตรีมีอำนาจเบ็ดเสร็จตามมาตรา 17 ของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 หรือฉบับที่ 7 สามารถใช้อำนาจในทางนิติบัญญัติบริหารและตุลาการได้เอง รัฐบาลได้ออกแถลงการณ์อยู่ โดยใช้ข้อความว่า “คณะปฏิวัติและรัฐบาลนี้” ควบคู่กันไป และได้ใช้มาตรา 17 แทรกแซงอำนาจทางตุลาการ โดยสั่งประหารชีวิตผู้ต้องหาในหลายคดี เช่น คดีเกี่ยวกับการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ และบ่อนทำลายประเทศชาติ คดีวางเพลิง คดียาเสพติด รวมทั้งคดี “ผีบุญ” หรือผู้ที่ตั้งตนเป็นผู้วิเศษ ได้แก่ นายศิลา วงศ์สิน หรือลาดละคร เป็นต้น ในยุคที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ บริหารประเทศ บรรดาพ่อค้านายทุนไม่มีใครกล้ากักตุนหรือขึ้นราคาสินค้า เพราะกลัวมาตรการขั้นเด็ดขาดซึ่งไม่ถูกจำคุกก็อาจถึงขั้นประหารชีวิต ส่วนในทางอำนาจบริหารนั้น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เข้าดำรงตำแหน่ง “อธิบดีกรมตำรวจ” อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย
ในการปกครองและการบริหารประเทศ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ประกาศว่า “ข้าพเจ้าขอรับผิดแต่ผู้เดียว” ซึ่งนักประวัติศาสตร์ทางการเมืองถือว่าเป็นสมัยเผด็จการ เพราะไม่มี[[สภาผู้แทนราษฎร]]ที่มาจาก[[การเลือกตั้ง]] และไม่มีกลไกควบคุมรัฐบาล นายกรัฐมนตรีมีอำนาจเบ็ดเสร็จตามมาตรา 17 ของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 หรือฉบับที่ 7 สามารถใช้อำนาจในทางนิติบัญญัติบริหารและตุลาการได้เอง รัฐบาลได้ออกแถลงการณ์อยู่ โดยใช้ข้อความว่า “คณะปฏิวัติและรัฐบาลนี้” ควบคู่กันไป และได้ใช้มาตรา 17 แทรกแซงอำนาจทางตุลาการ โดยสั่งประหารชีวิตผู้ต้องหาในหลายคดี เช่น คดีเกี่ยวกับการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ และบ่อนทำลายประเทศชาติ คดีวางเพลิง คดียาเสพติด รวมทั้งคดี “ผีบุญ” หรือผู้ที่ตั้งตนเป็นผู้วิเศษ ได้แก่ นายศิลา วงศ์สิน หรือลาดละคร เป็นต้น ในยุคที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ บริหารประเทศ บรรดาพ่อค้านายทุนไม่มีใครกล้ากักตุนหรือขึ้นราคาสินค้า เพราะกลัวมาตรการขั้นเด็ดขาดซึ่งไม่ถูกจำคุกก็อาจถึงขั้นประหารชีวิต ส่วนในทางอำนาจบริหารนั้น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เข้าดำรงตำแหน่ง “อธิบดีกรมตำรวจ” อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย


การบริหารประเทศของรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยภาพรวมถือว่าประเทศมีการพัฒนามากขึ้น เช่น มีการกระจายความเจริญออกไปสู่ภูมิภาคมากขึ้น โดยมีการตั้งมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัด มีการตั้งกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ออกพระราชบัญญัติสภาการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศขยายการศึกษาของชาติ ในวันที่ 1 เมษายน 2504 โดยเป็นการขยายการศึกษาภาคบังคับจากชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ประกาศใช้แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีการออกกฎหมายเลิกการเสพ และจำหน่ายฝิ่นโดยเด็ดขาด โดยรัฐบาลได้ทำการเผาฝิ่น เครื่องมือ และอุปกรณ์การเสพที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2502 นอกจากนี้ยังมีการออกกฎหมายปราบปรามพวกนักเลงอันธพาล กฎหมายปราบปรามการค้าประเวณี และสิ่งสำคัญที่สุด คือ การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ฉบับที่ 1 ระหว่างปี พ.ศ. 2504 – 2509 ซึ่งแผนดังกล่าวเป็นแม่บทของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน นับว่าได้สร้างผลงานทั้งทางด้านการปรับปรุง บริหารและการพัฒนาประเทศไว้อย่างมากมาย
การบริหารประเทศของรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยภาพรวมถือว่าประเทศมีการพัฒนามากขึ้น เช่น มีการกระจายความเจริญออกไปสู่ภูมิภาคมากขึ้น โดยมีการตั้งมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัด มีการตั้งกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ออกพระราชบัญญัติสภาการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศขยายการศึกษาของชาติ ในวันที่ 1 เมษายน 2504 โดยเป็นการขยายการศึกษาภาคบังคับจากชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ประกาศใช้แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีการออกกฎหมายเลิกการเสพ และจำหน่ายฝิ่นโดยเด็ดขาด โดยรัฐบาลได้ทำการเผาฝิ่น เครื่องมือ และอุปกรณ์การเสพที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2502 นอกจากนี้ยังมีการออกกฎหมายปราบปรามพวกนักเลงอันธพาล กฎหมายปราบปรามการค้าประเวณี และสิ่งสำคัญที่สุด คือ การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ฉบับที่ 1 ระหว่างปี พ.ศ. 2504 – 2509 ซึ่งแผนดังกล่าวเป็นแม่บทของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน นับว่าได้สร้างผลงานทั้งทางด้านการปรับปรุง บริหารและการพัฒนาประเทศไว้อย่างมากมาย

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:52, 28 ธันวาคม 2558

ผู้เรียบเรียง อัญชลี จวงจันทร์

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองมาเป็นระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีเข้ามาบริหารประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 27 ท่าน การก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีแต่ละท่านในแต่ละช่วงเวลา มีที่มา เหตุการณ์ และการเข้ามาดำรงตำแหน่งในสถานการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกันไป

จากประวัติศาสตร์ทางการเมืองการปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยจะพบว่า มีการเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมืองของนายทหารหลายท่าน นายทหารที่มีบทบาททางการเมืองและมีความสำคัญต่อการเมืองของไทยอีกท่านหนึ่งก็คือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 11 ของประเทศไทย ผู้ซึ่งวางรากฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งปรับปรุงการบริหารและการพัฒนาประเทศ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นผู้วางแนวทางการพัฒนาประเทศให้กับประเทศไทยอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เกิดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2451 ที่บ้านท่าโรงยา ตลาดพาหุรัด กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของพันตรีหลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์) กับนางจันทิพย์ ธนะรัชต์ เนื่องจากมารดาเป็นชาวอำเภอมุกดาหาร (ปัจจุบันเป็นจังหวัด) จังหวัดนครพนม และเคยพาบุตรชายไปอาศัยอยู่ที่จังหวัดนครพนม ถึงถือได้ว่าจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีสายเลือดของชาวอีสาน

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (ขณะดำรงยศพันเอก) สมรสกับคุณหญิงนวลจันทร์ ธนะรัชต์ และต่อมาได้สมรสใหม่กับคุณหญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ (ชลทรัพย์) ธิดาของนาวาโท พระศรการวิจิตร ร.น. และนางประเทียบ ชลทรัพย์ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 โดยมีจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นเจ้าภาพ

การศึกษาและการรับราชการ

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่จังหวัดมุกดาหาร จากนั้นได้เข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดมหรรณพาราม กรุงเทพฯ และเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก หรือโรงเรียนนายร้อยชั้นประถม เมื่ออายุเพียง 9 ขวบ โดยสำเร็จการศึกษาขณะมีอายุ 21 ปีเต็ม เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 ได้รับยศร้อยตรีประจำการที่กองทัพบกที่ 1 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์

ในปี พ.ศ. 2476 ขณะติดยศร้อยตรี ได้เกิดกบฏบวรเดช นำโดยพลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ร้อยตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหนึ่งในผู้บังคับบัญชาหมวดปราบปรามกบฏของฝ่ายรัฐบาล ที่มีพันเอกหลวงพิบูลสงคราม เป็นผู้บังคับบัญชา หลังจากรัฐบาลได้รับชัยชนะได้รับพระราชทานยศร้อยโท จากนั้นอีก 2 ปี คือในปี พ.ศ. 2478 ก็เลื่อนยศเป็นร้อยเอก ในปี พ.ศ. 2484 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าร่วมในสงครามมหาเอเชียบูรพาในขณะดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองทัพทหารราบที่ 33 มียศเป็นพันตรี และได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความกล้าหาญ จนช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2488 จึงได้เลื่อนยศเป็นพันเอก ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 13 และผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลำปาง

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง มีการผลัดเปลี่ยนอำนาจทางการเมือง โดยก่อนหน้านั้น เมื่อปี พ.ศ. 2487 อำนาจของจอมพล ป. พิบูลสงครามได้เริ่มเสื่อมถอยลง หลังจากลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่พันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กลับเติบโตขึ้นโดยได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นหน่วยกำลังสำคัญ

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2490 ก็เกิดความเปลี่ยนแปลงของขั้วการเมืองอีกครั้งหนึ่ง เมื่อคณะนายทหารนำโดยจอมพลผิน ชุณหะวัณ ก่อการรัฐประหารโค่นล้มอำนาจของพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ด้วยความเคารพเลื่อมใสที่มีต่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติ พันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงเข้าร่วมกับคณะรัฐประหาร ซึ่งถือเป็นการกลับคืนสู่อำนาจอีกครั้งหนึ่งของจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยมีพันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นขุนพลคู่ใจตั้งแต่นั้นมา

นับแต่นั้นเป็นต้นมา ชีวิตราชการของพันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2492 ได้รับพระราชทายยศ พลตรี ดำรงตำแหน่งแม่ทัพกองทัพที่ 1 และรักษาการผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ผลงานที่สร้างชื่อ คือ การเป็นหัวหน้าปราบกบฏวังหลวง เมื่อปีเดียวกันหลังเสร็จสิ้นภารกิจ ได้รับการเลื่อนยศเป็น พลโท ต่อด้วยการก้าวขึ้นตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2493 ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 ได้ครองตำแหน่งรองผู้บัญชากรทหารบก ครองยศ พลเอก[1]

บทบาททางการเมือง

ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2500 ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อันเป็นรัฐบาลชุดสุดท้ายของจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่อยู่ในตำแหน่งนั้นได้เพียง 10 วันก็ลาออก

สาเหตุของการลาออกจากตำแหน่งของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นั้น เกี่ยวโยงย้อนหลังมากการเลือกตั้งโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ซึ่งมีการกล่าวขานว่า เป็นการเลือกตั้งที่ทุจริต มีการโกงทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการใช้อันธพาลที่เรียกโดยสุภาพในขณะนั้นว่า “ผู้กว้างขวาง” ซึ่งผลก็คือ พรรคเสรีมนังคศิลา ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้รับเสียงข้างมาก จึงสามารถดำเนินการจัดตั้งรัฐบาล ท่ามกลางความวุ่นวายอย่างหนัก จากการเดินประท้วงของนักเรียนนักศึกษา ประชาชนนับหมื่น นับแสนคน ซึ่งเรียกร้องให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจคู่บารมีผู้สถาปนารัฐตำรวจทรงอำนาจ ลาออกจากตำแหน่ง

ในช่วงเวลาดังกล่าว เมื่อสถานการณ์ลุกลามเกิดความวุ่นวายอย่างหนัก จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้แต่งตั้งให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้บัญชาการ 3 เหล่าทัพ เพื่อคอยควบคุมสถานการณ์ และช่วงนี้เองเป็นช่วงที่สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ เนื่องจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สั่งการไม่ให้ทหารทำอันตรายประชาชนที่เดินขบวนชุมนุมประท้วง และยังเป็นผู้นำประชาชนเข้าพบจอมพล ป. พิบูลสงครามที่ทำเนียบอีก ทำให้กลายเป็นขวัญใจของประชาชนทันที จนได้รับฉายาในตอนนั้นว่า “วีรบุรุษมัฆวานฯ”

ในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และคณะทหารยื่นคำขาดต่อจอมพล ป. พิบูลสงครามว่า ยินดีจะให้รัฐมนตรีลาออก แต่ตนจะขอเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลเอง ยิ่งสร้างความไม่พอใจแก่ประชาชนอย่างใหญ่หลวง ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้พูดผ่านวิทยุยานเกราะถึงผู้ชุมนุมในเหตุการณ์นี้ โดยมีประโยคสำคัญที่ยังติดปากมาจนทุกวันนี้ว่า “พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ” วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2500 ผู้ตนนับแสนพากันลุกฮือเดินขบวนบุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล เมื่อไม่พบจอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงพากันไปบ้านจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในขณะที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามก็กำลังจะเตรียมจับกุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในข้อหากบฏที่สนับสนุนให้ผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาล แต่ยังไม่ทันได้ดำเนินการใด ๆ ในคืนวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ก็นำกำลังทหารเข้ายึดอำนาจโค่นล้มจอมพล ป. พิบูลสงคราม หลังจากการยึดอำนาจจากรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามแล้ว จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เห็นว่าไม่เหมาะสมที่ตนเองจะขึ้นครองอำนาจ จึงตั้งนายพจน์ สารสิน ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลนายพจน์ สารสินได้จัดการเลือกตั้ง และได้พลโทถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาได้เกิดความวุ่นวายจากความขัดแย้งระหว่างสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับรัฐมนตรีขึ้น พลโทถนอม กิตติขจร ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์จึงร่วมมือกับพลโทถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลพลโทถนอมเอง และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 11 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 หลังการทำรัฐประหารรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร[2]

การบริหารประเทศ

ในช่วงการบริหารประเทศ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ประกาศยกเลิกสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ เช่น พรรคการเมือง และได้สร้างผลงานทั้งทางด้านการปรับปรุงการบริหาร และการพัฒนาประเทศไว้มากมาย ผลงานที่สำคัญ ได้แก่ การออกกฎหมายเลิกการเสพและจำหน่ายฝิ่นโดยเด็ดขาด กฎหมายปราบปรามพวกนักเลง อันธพาล กฎหมายปราบปรามการค้าประเวณี และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศ ทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัย จนกระทั่งได้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 – พ.ศ. 2509) ซึ่งแผนดังกล่าวเป็นแม่แบบของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน มีการสร้างสาธารณูปโภคสำคัญที่เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต เช่น ไฟฟ้า ประปา ถนน ให้กระจายไปทั่วทั้งในเมืองและชนบท ซึ่งเรียกว่า “น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก”

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีฉายาว่า “จอมพลผ้าขาวม้าแดง” นับเป็นนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งที่อยู่ในความทรงจำของคนไทย เพราะตลอดระยะเวลาที่ครองตำแหน่งและมีบทบาท ท่านได้ใช้มาตรการเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เพื่อจัดการความสงบเรียบร้อยของประเทศ เช่น ประหารชีวิตเจ้าของบ้านทันที หลังจากบ้านใดเกิดเพลิงไหม้ เพราะถือว่าเป็นการก่อความไม่สงบ เครื่องมือสำคัญของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในการปกครองประเทศ คือ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ซึ่งบทบัญญัติ 20 มาตรา โดยมาตราที่ 17 ได้ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีสั่งลงโทษได้อย่างกว้างขวางและรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการศาลยุติธรรม การใช้มาตราที่ 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ได้ส่งผลดีต่อสังคมไทย คือ การใช้อำนาจที่เฉียบขาดดังกล่าว ทำให้อาชญากรรมลดลง โดยมีการกวาดล้างนักเลง อันธพาล ผู้มีอิทธิพล ยาเสพติด ทำให้สังคมเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนั้นยังเป็นการปราบปรามการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์อีกด้วย แต่เมื่อเปรียบเทียบกับผลเสียแล้ว พบว่า การนำมาตรา 17 มาใช้เพื่อกวาดล้างทำลายศัตรูทางการเมือง เป็นการปิดหู ปิดตา ปิดปาก ประชาชน ไม่ให้สามารถตรวจสอบกลุ่มผู้กุมอำนาจการปกครอง ตลอดจนการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทยต้องหยุดการพัฒนาอย่างสิ้นเชิง เพราะเป็นการปกครองแบบเผด็จการเต็มรูปแบบ ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงต่อสังคมโดยภาพรวม[3]

ในการปกครองและการบริหารประเทศ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ประกาศว่า “ข้าพเจ้าขอรับผิดแต่ผู้เดียว” ซึ่งนักประวัติศาสตร์ทางการเมืองถือว่าเป็นสมัยเผด็จการ เพราะไม่มีสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง และไม่มีกลไกควบคุมรัฐบาล นายกรัฐมนตรีมีอำนาจเบ็ดเสร็จตามมาตรา 17 ของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 หรือฉบับที่ 7 สามารถใช้อำนาจในทางนิติบัญญัติบริหารและตุลาการได้เอง รัฐบาลได้ออกแถลงการณ์อยู่ โดยใช้ข้อความว่า “คณะปฏิวัติและรัฐบาลนี้” ควบคู่กันไป และได้ใช้มาตรา 17 แทรกแซงอำนาจทางตุลาการ โดยสั่งประหารชีวิตผู้ต้องหาในหลายคดี เช่น คดีเกี่ยวกับการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ และบ่อนทำลายประเทศชาติ คดีวางเพลิง คดียาเสพติด รวมทั้งคดี “ผีบุญ” หรือผู้ที่ตั้งตนเป็นผู้วิเศษ ได้แก่ นายศิลา วงศ์สิน หรือลาดละคร เป็นต้น ในยุคที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ บริหารประเทศ บรรดาพ่อค้านายทุนไม่มีใครกล้ากักตุนหรือขึ้นราคาสินค้า เพราะกลัวมาตรการขั้นเด็ดขาดซึ่งไม่ถูกจำคุกก็อาจถึงขั้นประหารชีวิต ส่วนในทางอำนาจบริหารนั้น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เข้าดำรงตำแหน่ง “อธิบดีกรมตำรวจ” อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย

การบริหารประเทศของรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยภาพรวมถือว่าประเทศมีการพัฒนามากขึ้น เช่น มีการกระจายความเจริญออกไปสู่ภูมิภาคมากขึ้น โดยมีการตั้งมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัด มีการตั้งกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ออกพระราชบัญญัติสภาการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศขยายการศึกษาของชาติ ในวันที่ 1 เมษายน 2504 โดยเป็นการขยายการศึกษาภาคบังคับจากชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ประกาศใช้แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีการออกกฎหมายเลิกการเสพ และจำหน่ายฝิ่นโดยเด็ดขาด โดยรัฐบาลได้ทำการเผาฝิ่น เครื่องมือ และอุปกรณ์การเสพที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2502 นอกจากนี้ยังมีการออกกฎหมายปราบปรามพวกนักเลงอันธพาล กฎหมายปราบปรามการค้าประเวณี และสิ่งสำคัญที่สุด คือ การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ฉบับที่ 1 ระหว่างปี พ.ศ. 2504 – 2509 ซึ่งแผนดังกล่าวเป็นแม่บทของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน นับว่าได้สร้างผลงานทั้งทางด้านการปรับปรุง บริหารและการพัฒนาประเทศไว้อย่างมากมาย

นอกจากนั้น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยังเป็นผู้รื้อฟื้นกิจกรรมที่แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น จัดงานเฉลิมฉลองวันพระราชสมภพ การสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ การประดับไฟบนถนนราชดำเนินในวันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น[4]

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ด้วยโรคไตพิการเรื้อรัง รวมอายุได้ 55 ปี และเป็นนายกรัฐมนตรีคนเดียวที่เสียชีวิตลงในขณะที่ดำรงตำแหน่ง ซึ่งหลังการเสียชีวิตสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยได้เปิดเพลง “พญาโศก” เป็นการไว้อาลัยแก่ท่าน รวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 4 ปี 9 เดือน 28 วัน

ผลงานที่สำคัญ

ในช่วงที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มีการปรับปรุงการบริหารและการพัฒนาประเทศไว้มากมาย การออกกฎหมายเลิกการเสพและจำหน่ายฝิ่นโดยเด็ดขาด กฎหมายปราบปรามพวกนักเลง อันธพาล กฎหมายปราบปรามการค้าประเวณี การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

กิจการที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้ก่อตั้ง คือ

1. ธนาคารทหารไทย

2. บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

อ้างอิง

  1. วีรชาติ ชุ่มสนิท, “24 นายกรัฐมนตรีไทย”. กรุงเทพฯ : ออลบุ๊คส์ พับบิซซิ่ง จำกัด, 2549, หน้า 84.
  2. ธนากิต, “ประวัตินายกรัฐมนตรีไทย”. กรุงเทพฯ : ปิรามิด, 2545 หน้า 247 – 248, 254 – 257.
  3. ศรีพนม สิงห์ทอง, “6 จอมพลไทยยุคระบอบประชาธิปไตย”. กรุงเทพฯ : มติชน.
  4. รุ่งโรจน์ ณ นคร, “จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์”. นนทบุรี : อนุรักษ์, 2539.

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

รุ่งโรจน์ ณ นคร, (2539) “จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์”. นนทบุรี : อนุรักษ์.

ศรีพนม สิงห์ทอง, (2539) “6 จอมพลไทยยุคระบอบประชาธิปไตย”. กรุงเทพฯ : มติชน.

ธนพล จาดใจดี, (2544) “เรื่องราวง่าย ๆ ของ 23 นายกรัฐมนตรีไทย”. กรุงเทพฯ : ไทยเจริญการพิมพ์.

วีรชาติ ชุ่มสนิท, (2549) “24 นายกรัฐมนตรีไทย”. กรุงเทพฯ : ออลบุ๊คส์ พับบิซซิ่ง จำกัด.

บรรณานุกรม

ศรีพนม สิงห์ทอง, (2539) “6 จอมพลไทยยุคระบอบประชาธิปไตย”. กรุงเทพฯ : มติชน.

วีรชาติ ชุ่มสนิท, (2549) “24 นายกรัฐมนตรีไทย”. กรุงเทพฯ : ออลบุ๊คส์ พับบิซซิ่ง จำกัด.

รุ่งโรจน์ ณ นคร, (2539) “จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์”. นนทบุรี : อนุรักษ์.

ธนพล จาดใจดี, (2544) “เรื่องราวง่าย ๆ ของ 23 นายกรัฐมนตรีไทย”. กรุงเทพฯ : ไทยเจริญการพิมพ์.

ธนากิต, (2545) “ประวัตินายกรัฐมนตรีไทย”. กรุงเทพฯ : ปิรามิด.