ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระเบียบวาระการประชุม"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 4 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 2 คน) | |||
บรรทัดที่ 5: | บรรทัดที่ 5: | ||
---- | ---- | ||
'''ระเบียบวาระการประชุม'''เป็นเอกสารที่มีความสำคัญ ที่จะนำเสนอเรื่องที่มีความสำคัญต่าง ๆ ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมในแต่ละโอกาสได้ทราบถึงประเด็นที่สำคัญ ซึ่งจะนำมาอภิปรายในการประชุมครั้งนั้นๆ นอกจากนี้แล้ว ระเบียบวาระการประชุม ยังช่วยให้ผู้ที่เข้าประชุมสามารถเตรียมตัวในส่วนของเนื้อหา หัวข้อ คำถาม คำตอบ และข้อมูลสนับสนุนที่มีความเกี่ยวข้องในแต่ละครั้งของการประชุมได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย<ref>'''การประชุมสภา,''' (ข้อมูลออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.parliament.go.th/parcy/428.0.html วันที่ 13 กรกฎาคม 2552 เวลา 14.30 นาฬิกา.</ref> ในการประชุมสภาไม่ว่าจะเป็นการประชุมสภาผู้แทนราษฎร การประชุมวุฒิสภาและการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เป็นการประชุมเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติ [[ญัตติ]] [[กระทู้ถาม]] [[การให้ความเห็นชอบ]]และรับทราบเรื่องสำคัญ ๆ ซึ่งมีเป็นจำนวนมากจำเป็นต้องมีการจัดทำระเบียบวาระการประชุมเพื่อให้ทราบถึงเรื่องที่จะต้องพิจารณา | |||
==ความหมายของระเบียบวาระการประชุม<ref>คณิน | ==ความหมายของระเบียบวาระการประชุม<ref>คณิน บุญสุวรรณ. '''ภาษาการเมืองในระบบรัฐสภา.''' กรุงเทพฯ. โอเดียนสโตร์: ครั้งที่ 2, 2533</ref>== | ||
ระเบียบวาระการประชุม หมายถึง การจัดลำดับเรื่องที่จะพิจารณาในที่ประชุม | ระเบียบวาระการประชุม หมายถึง การจัดลำดับเรื่องที่จะพิจารณาในที่ประชุม โดย[[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]]เป็นผู้มีอำนาจในการจัดระเบียบวาระการประชุม และที่ประชุมจะพิจารณาได้เฉพาะเรื่องที่มีอยู่ในระเบียบวาระการประชุมเท่านั้น โดยพิจารณาตามลำดับระเบียบวาระที่จัดไว้ | ||
ปกติ[[การประชุมสภา]]จะมีขึ้นตามกำหนดที่สภาลงมติไว้ เช่น สัปดาห์ละสองวัน เป็นต้น แต่ประธานสภาจะสั่งงดการประชุมครั้งใดก็ได้ เมื่อเห็นว่าไม่มีเรื่องสมควรบรรจุเข้าระเบียบวาระหรือจะเรียกประชุมเป็นกรณีพิเศษก็ได้ | |||
การนัดการประชุมจะต้องทำเป็นหนังสือ เว้นแต่เมื่อได้บอกนัดในที่ประชุมแล้ว จึงให้ทำหนังสือนัดเฉพาะสมาชิกที่ไม่ได้มาประชุมและให้ส่งระเบียบวาระประชุมกับเอกสารที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุม | การนัดการประชุมจะต้องทำเป็นหนังสือ เว้นแต่เมื่อได้บอกนัดในที่ประชุมแล้ว จึงให้ทำหนังสือนัดเฉพาะสมาชิกที่ไม่ได้มาประชุมและให้ส่งระเบียบวาระประชุมกับเอกสารที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุม | ||
บรรทัดที่ 19: | บรรทัดที่ 19: | ||
[[ภาพ:ระเบียบวาระการประชุม.JPG]] | [[ภาพ:ระเบียบวาระการประชุม.JPG]] | ||
==การนัดประชุม<ref>'''การประชุมสภา,''' (ข้อมูลออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.parliament.go.th/parcy/428.0.html วันที่ 13 กรกฎาคม 2552 เวลา | ==การนัดประชุม<ref>'''การประชุมสภา,''' (ข้อมูลออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.parliament.go.th/parcy/428.0.html วันที่ 13 กรกฎาคม 2552 เวลา 14.30 นาฬิกา.</ref>== | ||
การนัดประชุมต้องทำเป็นหนังสือนัดประชุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน แต่ถ้าประธานสภาเห็นสมควรจะนัดเร็วกว่านั้นก็ได้ โดยให้ส่งระเบียบวาระการประชุม กับเอกสารที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุมถ้าประธานสภาเห็นสมควรจะ บรรจุเรื่องใดเพิ่มเติมในระเบียบวาระการประชุมอีกก็ได้ แต่ต้องก่อนการประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน | การนัดประชุมต้องทำเป็นหนังสือนัดประชุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน แต่ถ้าประธานสภาเห็นสมควรจะนัดเร็วกว่านั้นก็ได้ โดยให้ส่งระเบียบวาระการประชุม กับเอกสารที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุมถ้าประธานสภาเห็นสมควรจะ บรรจุเรื่องใดเพิ่มเติมในระเบียบวาระการประชุมอีกก็ได้ แต่ต้องก่อนการประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน | ||
บรรทัดที่ 32: | บรรทัดที่ 32: | ||
1. การจัดระเบียบวาระการประชุมตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551<ref>ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551. '''ราชกิจจานุเษกษา''' เล่ม 125 ตอนพิเศษ 79 ง 2 พฤษภาคม 2551 ข้อ 16 หน้า 12.</ref> ดังนี้ | 1. การจัดระเบียบวาระการประชุมตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551<ref>ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551. '''ราชกิจจานุเษกษา''' เล่ม 125 ตอนพิเศษ 79 ง 2 พฤษภาคม 2551 ข้อ 16 หน้า 12.</ref> ดังนี้ | ||
(1) กระทู้ถาม | |||
(2) เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม | |||
(3) รับรองรายงานการประชุม | |||
(4) เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว | |||
(5) เรื่องที่ค้างพิจารณา | |||
(6) เรื่องที่เสนอใหม่ | |||
(7) เรื่องอื่น ๆ | |||
ในกรณีที่[[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]]เห็นว่าเรื่องใดเป็นเรื่องด่วนจะจัดไว้ในลำดับใดของระเบียบวาระการประชุมก็ได้ แต่จะจัดไว้ก่อนเรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้วไม่ได้ | |||
2. การจัดระเบียบวาระการประชุมตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551<ref>ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551. '''ราชกิจจานุเษกษา''' เล่ม 125 ตอนพิเศษ 76 ง | 2. การจัดระเบียบวาระการประชุมตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551<ref>ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551. '''ราชกิจจานุเษกษา''' เล่ม 125 ตอนพิเศษ 76 ง 25 เมษายน 2551 ข้อ 18 หน้า 45.</ref> ดังนี้ | ||
(1) เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม | |||
(2) รับรองรายงานการประชุม | |||
(3) กระทู้ถาม | |||
(4) เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว | |||
(5) เรื่องที่ค้างพิจารณา | |||
(6) เรื่องที่เสนอใหม่ | |||
(7) เรื่องอื่น ๆ | |||
ในกรณีที่ประธานวุฒิสภาเห็นว่าเรื่องใดเป็นเรื่องด่วนจะจัดไว้ในลำดับใดของระเบียบวาระการประชุมก็ได้ | ในกรณีที่ประธานวุฒิสภาเห็นว่าเรื่องใดเป็นเรื่องด่วนจะจัดไว้ในลำดับใดของระเบียบวาระการประชุมก็ได้ | ||
บรรทัดที่ 72: | บรรทัดที่ 72: | ||
ข. เมื่อคณะรัฐมนตรี ขอให้จัดเรื่องใดเป็นเรื่องด่วนไว้ในลำดับใดของระเบียบวาระการประชุม | ข. เมื่อคณะรัฐมนตรี ขอให้จัดเรื่องใดเป็นเรื่องด่วนไว้ในลำดับใดของระเบียบวาระการประชุม | ||
ถึงแม้ข้อบังคับการประชุมสภา จะกำหนดว่าประธานสภาจะจัดเรื่องด่วนไว้ในลำดับใดของระเบียบวาระการประชุมก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วในทางปฏิบัติ ประธานสภาจะจัดเรื่องด่วนไว้ในระเบียบวาระการประชุมต่อจากระเบียบวาระลำดับที่<ref>คณิน | ถึงแม้ข้อบังคับการประชุมสภา จะกำหนดว่าประธานสภาจะจัดเรื่องด่วนไว้ในลำดับใดของระเบียบวาระการประชุมก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วในทางปฏิบัติ ประธานสภาจะจัดเรื่องด่วนไว้ในระเบียบวาระการประชุมต่อจากระเบียบวาระลำดับที่<ref>คณิน บุญสุวรรณ. '''ภาษาการเมืองในระบบรัฐสภา.''' กรุงเทพฯ. โอเดียนสโตร์: ครั้งที่ 2 , 2533</ref> รับรองรายงานการประชุม | ||
==การส่งระเบียบวาระการประชุมกับเอกสารที่เกี่ยวข้อง== | ==การส่งระเบียบวาระการประชุมกับเอกสารที่เกี่ยวข้อง== | ||
การนัดประชุมจะต้องมีการทำหนังสือเพื่อเป็นการนัดประชุมโดยต้องมีการส่งระเบียบวาระการประชุมแนบพร้อมกับเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้ | การนัดประชุมจะต้องมีการทำหนังสือเพื่อเป็นการนัดประชุมโดยต้องมีการส่งระเบียบวาระการประชุมแนบพร้อมกับเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้ | ||
การส่งระเบียบวาระการประชุมตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551<ref>ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551. '''ราชกิจจานุเษกษา''' เล่ม 125 ตอนพิเศษ 79 ง 2 พฤษภาคม 2551 ข้อ 16 หน้า 12.</ref> ในการส่งระเบียบวาระการประชุมกับเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ร่างพระราชบัญญัติ เอกสารประกอบการพิจารณาอื่น ๆ ส่งพร้อมกับหนังสือนัดประชุม ถ้าประธานสภาเห็นสมควรบรรจุเรื่องใดเพิ่มเติมในระเบียบวาระการประชุมอีกก็ได้ แต่ต้องก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน และการนัดประชุมหรือการส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องนั้นสามารถส่งทางโทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นเพิ่มเติมได้ เว้นแต่การจัดส่งเอกสารลับให้เป็นไปตามที่ประธานสภากำหนด | |||
การส่งระเบียบวาระการประชุมตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551<ref>ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551. '''ราชกิจจานุเษกษา''' เล่ม 125 ตอนพิเศษ 79 ง 2 พฤษภาคม 2551 ข้อ 16 หน้า 12.</ref> ในการส่งระเบียบวาระการประชุมกับเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ร่างพระราชบัญญัติ เอกสารประกอบการพิจารณาอื่น ๆ ส่งพร้อมกับหนังสือนัดประชุม ถ้าประธานสภาเห็นสมควรบรรจุเรื่องใดเพิ่มเติมในระเบียบวาระการประชุมอีกก็ได้ แต่ต้องก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน และการนัดประชุมหรือการส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องนั้นสามารถส่งทางโทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นเพิ่มเติมได้ เว้นแต่การจัดส่งเอกสารลับให้เป็นไปตามที่ประธานสภากำหนด | |||
==อ้างอิง== | ==อ้างอิง== | ||
บรรทัดที่ 89: | บรรทัดที่ 90: | ||
==บรรณานุกรม== | ==บรรณานุกรม== | ||
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร | สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สืบค้นจาก http://www.parliament.go.th/ | ||
'''สภาผู้แทนราษฎร,''' สุเทพ | '''สภาผู้แทนราษฎร,''' สุเทพ เอี่ยมคง, สืบค้นจาก www.librarianmagazine.com/VOL1NO8/e-article.doc วันที่ 13 กันยายน 2552 เวลา 13.30 นาฬิกา. | ||
[[ | [[หมวดหมู่: กิจกรรมที่เกี่ยวกับกระบวนการทางนิติบัญญัติ]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 17:28, 6 กันยายน 2553
ผู้เรียบเรียง ชนิดา จรรโลงศิริชัย
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง
ระเบียบวาระการประชุมเป็นเอกสารที่มีความสำคัญ ที่จะนำเสนอเรื่องที่มีความสำคัญต่าง ๆ ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมในแต่ละโอกาสได้ทราบถึงประเด็นที่สำคัญ ซึ่งจะนำมาอภิปรายในการประชุมครั้งนั้นๆ นอกจากนี้แล้ว ระเบียบวาระการประชุม ยังช่วยให้ผู้ที่เข้าประชุมสามารถเตรียมตัวในส่วนของเนื้อหา หัวข้อ คำถาม คำตอบ และข้อมูลสนับสนุนที่มีความเกี่ยวข้องในแต่ละครั้งของการประชุมได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย[1] ในการประชุมสภาไม่ว่าจะเป็นการประชุมสภาผู้แทนราษฎร การประชุมวุฒิสภาและการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เป็นการประชุมเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติ ญัตติ กระทู้ถาม การให้ความเห็นชอบและรับทราบเรื่องสำคัญ ๆ ซึ่งมีเป็นจำนวนมากจำเป็นต้องมีการจัดทำระเบียบวาระการประชุมเพื่อให้ทราบถึงเรื่องที่จะต้องพิจารณา
ความหมายของระเบียบวาระการประชุม[2]
ระเบียบวาระการประชุม หมายถึง การจัดลำดับเรื่องที่จะพิจารณาในที่ประชุม โดยประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้มีอำนาจในการจัดระเบียบวาระการประชุม และที่ประชุมจะพิจารณาได้เฉพาะเรื่องที่มีอยู่ในระเบียบวาระการประชุมเท่านั้น โดยพิจารณาตามลำดับระเบียบวาระที่จัดไว้
ปกติการประชุมสภาจะมีขึ้นตามกำหนดที่สภาลงมติไว้ เช่น สัปดาห์ละสองวัน เป็นต้น แต่ประธานสภาจะสั่งงดการประชุมครั้งใดก็ได้ เมื่อเห็นว่าไม่มีเรื่องสมควรบรรจุเข้าระเบียบวาระหรือจะเรียกประชุมเป็นกรณีพิเศษก็ได้
การนัดการประชุมจะต้องทำเป็นหนังสือ เว้นแต่เมื่อได้บอกนัดในที่ประชุมแล้ว จึงให้ทำหนังสือนัดเฉพาะสมาชิกที่ไม่ได้มาประชุมและให้ส่งระเบียบวาระประชุมกับเอกสารที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุม
ตัวอย่างระเบียบวาระการประชุม
การนัดประชุม[3]
การนัดประชุมต้องทำเป็นหนังสือนัดประชุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน แต่ถ้าประธานสภาเห็นสมควรจะนัดเร็วกว่านั้นก็ได้ โดยให้ส่งระเบียบวาระการประชุม กับเอกสารที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุมถ้าประธานสภาเห็นสมควรจะ บรรจุเรื่องใดเพิ่มเติมในระเบียบวาระการประชุมอีกก็ได้ แต่ต้องก่อนการประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน
การจัดระเบียบวาระการประชุม[4]
การจัดระเบียบวาระการประชุม หมายถึง การจัดลำดับเรื่องราวที่จะต้องพิจารณากันในที่ประชุมสภา โดยประธานของสภานั้นจะเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดและที่ประชุมจะพิจารณาได้เฉพาะเรื่องที่มีอยู่ในระเบียบวาระการประชุมเท่านั้น โดยพิจารณาตามลำดับระเบียบวาระที่จัดไว้เว้นแต่ที่ประชุมจะได้ลงมติเป็นอย่างอื่น
การจัดระเบียบวาระการประชุมแบ่งได้ดังต่อไปนี้
1. การจัดระเบียบวาระการประชุมตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551[5] ดังนี้
(1) กระทู้ถาม
(2) เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
(3) รับรองรายงานการประชุม
(4) เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
(5) เรื่องที่ค้างพิจารณา
(6) เรื่องที่เสนอใหม่
(7) เรื่องอื่น ๆ
ในกรณีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรเห็นว่าเรื่องใดเป็นเรื่องด่วนจะจัดไว้ในลำดับใดของระเบียบวาระการประชุมก็ได้ แต่จะจัดไว้ก่อนเรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้วไม่ได้
2. การจัดระเบียบวาระการประชุมตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551[6] ดังนี้
(1) เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
(2) รับรองรายงานการประชุม
(3) กระทู้ถาม
(4) เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
(5) เรื่องที่ค้างพิจารณา
(6) เรื่องที่เสนอใหม่
(7) เรื่องอื่น ๆ
ในกรณีที่ประธานวุฒิสภาเห็นว่าเรื่องใดเป็นเรื่องด่วนจะจัดไว้ในลำดับใดของระเบียบวาระการประชุมก็ได้
3. การจัดระเบียบวาระการประชุมเรื่องด่วน[7] ประธานสภาอาจจะจัดระเบียบวาระการประชุมเรื่องด่วนได้ใน 2 กรณี คือ
ก. เมื่อประธานสภาเห็นว่าเรื่องใดเป็นเรื่องด่วนจะจัดไว้ในลำดับใดของระเบียบวาระการประชุมก็ได้
ข. เมื่อคณะรัฐมนตรี ขอให้จัดเรื่องใดเป็นเรื่องด่วนไว้ในลำดับใดของระเบียบวาระการประชุม
ถึงแม้ข้อบังคับการประชุมสภา จะกำหนดว่าประธานสภาจะจัดเรื่องด่วนไว้ในลำดับใดของระเบียบวาระการประชุมก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วในทางปฏิบัติ ประธานสภาจะจัดเรื่องด่วนไว้ในระเบียบวาระการประชุมต่อจากระเบียบวาระลำดับที่[8] รับรองรายงานการประชุม
การส่งระเบียบวาระการประชุมกับเอกสารที่เกี่ยวข้อง
การนัดประชุมจะต้องมีการทำหนังสือเพื่อเป็นการนัดประชุมโดยต้องมีการส่งระเบียบวาระการประชุมแนบพร้อมกับเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
การส่งระเบียบวาระการประชุมตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551[9] ในการส่งระเบียบวาระการประชุมกับเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ร่างพระราชบัญญัติ เอกสารประกอบการพิจารณาอื่น ๆ ส่งพร้อมกับหนังสือนัดประชุม ถ้าประธานสภาเห็นสมควรบรรจุเรื่องใดเพิ่มเติมในระเบียบวาระการประชุมอีกก็ได้ แต่ต้องก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน และการนัดประชุมหรือการส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องนั้นสามารถส่งทางโทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นเพิ่มเติมได้ เว้นแต่การจัดส่งเอกสารลับให้เป็นไปตามที่ประธานสภากำหนด
อ้างอิง
- ↑ การประชุมสภา, (ข้อมูลออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.parliament.go.th/parcy/428.0.html วันที่ 13 กรกฎาคม 2552 เวลา 14.30 นาฬิกา.
- ↑ คณิน บุญสุวรรณ. ภาษาการเมืองในระบบรัฐสภา. กรุงเทพฯ. โอเดียนสโตร์: ครั้งที่ 2, 2533
- ↑ การประชุมสภา, (ข้อมูลออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.parliament.go.th/parcy/428.0.html วันที่ 13 กรกฎาคม 2552 เวลา 14.30 นาฬิกา.
- ↑ การประชุมสภา, (ข้อมูลออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.parliament.go.th/parcy/428.0.html วันที่ 13 กรกฎาคม 2552 เวลา 14.30 นาฬิกา.
- ↑ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเษกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 79 ง 2 พฤษภาคม 2551 ข้อ 16 หน้า 12.
- ↑ ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเษกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 76 ง 25 เมษายน 2551 ข้อ 18 หน้า 45.
- ↑ การประชุมสภา, (ข้อมูลออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.parliament.go.th/parcy/428.0.html วันที่ 13 กรกฎาคม 2552 เวลา 14.30 นาฬิกา.
- ↑ คณิน บุญสุวรรณ. ภาษาการเมืองในระบบรัฐสภา. กรุงเทพฯ. โอเดียนสโตร์: ครั้งที่ 2 , 2533
- ↑ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเษกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 79 ง 2 พฤษภาคม 2551 ข้อ 16 หน้า 12.
หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ
ข้อบังคับการประชุม จัดทำโดย กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พิมพ์ที่ สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิสภาผู้แทนราษฎร.
บรรณานุกรม
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สืบค้นจาก http://www.parliament.go.th/
สภาผู้แทนราษฎร, สุเทพ เอี่ยมคง, สืบค้นจาก www.librarianmagazine.com/VOL1NO8/e-article.doc วันที่ 13 กันยายน 2552 เวลา 13.30 นาฬิกา.