ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อวกาศรัฐศาสตร์ (Astropolitics)"
สร้างหน้าด้วย "'''ผู้เรียบเรียง :''' ขวัญข้าว คงเดชา '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :''' รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต '''<big>นิยามโดยคร่าว</big>''' ''''' ''Astropolitics''' หรือ '''อวกาศรัฐศา..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 11: | บรรทัดที่ 11: | ||
'''<big>กรอบแนวคิด</big>''' | '''<big>กรอบแนวคิด</big>''' | ||
''''' '''''อวกาศรัฐศาสตร์มีฐานแนวคิดสำคัญมาจากภูมิรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในการศึกษาการเมืองระดับอวกาศนั้น สามารถทำได้ 2 | ''''' '''''อวกาศรัฐศาสตร์มีฐานแนวคิดสำคัญมาจากภูมิรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในการศึกษาการเมืองระดับอวกาศนั้น สามารถทำได้ 2 ระดับ คือ ระดับนอกโลกและระดับจากในโลก โดยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับระดับจากในโลกเป็นสำคัญ โดยมีรายละเอียดดังนี้ | ||
''''' ''1. ระดับนอกโลก''' การศึกษาทางรัฐศาสตร์ในระดับนอกโลกทำได้ผ่านความเข้าใจของสายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แม้ว่าจะมีกระแสการอธิบายพื้นที่นอกโลกไว้ว่าคล้ายกับน่านน้ำสากล แต่พื้นที่อวกาศก็สามารถอนุมานได้ว่าเป็นพื้นที่ของสภาวะที่ไร้รัฐ หรือเป็นอนาธิปไตย (anarchy) ซึ่งโลกอาจจะกลายเป็นหนึ่งในตัวแสดงที่มีความสัมพันธ์กับดวงดาวอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกันกับระบบนานาชาติและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในปัจจุบัน หากแต่การศึกษาในระดับนอกโลกนี้ยึดอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อที่ว่านอกโลกนั้นมีสิ่งมีชีวิตอื่นที่มีระบบการดำรงอยู่ หรือแม้แต่การปกครองที่คล้ายคลึงกัน ความรู้บนโลก กฎหมายสากล สนธิสัญญา หรือข้อตกลงที่ทำบนโลกก็ไม่สามารถที่จะมีผลบังคับใช้ได้กับตัวแสดงจากดวงดาวอื่น ๆ การศึกษาในลักษณะนี้ จึงเป็นการศึกษาที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจมากเท่าไรนัก เมื่อเทียบกับการศึกษาอวกาศรัฐศาสตร์จากในโลก | ''''' ''1. ระดับนอกโลก''' การศึกษาทางรัฐศาสตร์ในระดับนอกโลกทำได้ผ่านความเข้าใจของสายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แม้ว่าจะมีกระแสการอธิบายพื้นที่นอกโลกไว้ว่าคล้ายกับน่านน้ำสากล แต่พื้นที่อวกาศก็สามารถอนุมานได้ว่าเป็นพื้นที่ของสภาวะที่ไร้รัฐ หรือเป็นอนาธิปไตย (anarchy) ซึ่งโลกอาจจะกลายเป็นหนึ่งในตัวแสดงที่มีความสัมพันธ์กับดวงดาวอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกันกับระบบนานาชาติและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในปัจจุบัน หากแต่การศึกษาในระดับนอกโลกนี้ยึดอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อที่ว่านอกโลกนั้นมีสิ่งมีชีวิตอื่นที่มีระบบการดำรงอยู่ หรือแม้แต่การปกครองที่คล้ายคลึงกัน ความรู้บนโลก กฎหมายสากล สนธิสัญญา หรือข้อตกลงที่ทำบนโลกก็ไม่สามารถที่จะมีผลบังคับใช้ได้กับตัวแสดงจากดวงดาวอื่น ๆ การศึกษาในลักษณะนี้ จึงเป็นการศึกษาที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจมากเท่าไรนัก เมื่อเทียบกับการศึกษาอวกาศรัฐศาสตร์จากในโลก | ||
บรรทัดที่ 58: | บรรทัดที่ 58: | ||
Santa-Barbara Vozmediano, P. (2021). Geopolitics of the Moon: The dawn of a new space era. Opinion Paper, IEEE, 17/2021. | Santa-Barbara Vozmediano, P. (2021). Geopolitics of the Moon: The dawn of a new space era. Opinion Paper, IEEE, 17/2021. | ||
[[หมวดหมู่:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]] | |||
[[index.php?title=หมวดหมู่:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:50, 4 กรกฎาคม 2568
ผู้เรียบเรียง : ขวัญข้าว คงเดชา
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
นิยามโดยคร่าว
Astropolitics หรือ อวกาศรัฐศาสตร์ คือการศึกษาการเมืองบนพื้นที่นอกโลก (extra-terrestrial) เพื่อผลประโยชน์ของตัวแสดงบนโลกเป็นหลัก โดยมีฐานมาจากทฤษฎีของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมีความคล้ายคลึงกับภูมิรัฐศาสตร์ที่ให้ความสำคัญกับทรัพยากรและดินแดนในฐานะของปัจจัยที่กำหนดความเป็นรัฐและการตัดสินใจของรัฐ
กรอบแนวคิด
อวกาศรัฐศาสตร์มีฐานแนวคิดสำคัญมาจากภูมิรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในการศึกษาการเมืองระดับอวกาศนั้น สามารถทำได้ 2 ระดับ คือ ระดับนอกโลกและระดับจากในโลก โดยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับระดับจากในโลกเป็นสำคัญ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ระดับนอกโลก การศึกษาทางรัฐศาสตร์ในระดับนอกโลกทำได้ผ่านความเข้าใจของสายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แม้ว่าจะมีกระแสการอธิบายพื้นที่นอกโลกไว้ว่าคล้ายกับน่านน้ำสากล แต่พื้นที่อวกาศก็สามารถอนุมานได้ว่าเป็นพื้นที่ของสภาวะที่ไร้รัฐ หรือเป็นอนาธิปไตย (anarchy) ซึ่งโลกอาจจะกลายเป็นหนึ่งในตัวแสดงที่มีความสัมพันธ์กับดวงดาวอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกันกับระบบนานาชาติและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในปัจจุบัน หากแต่การศึกษาในระดับนอกโลกนี้ยึดอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อที่ว่านอกโลกนั้นมีสิ่งมีชีวิตอื่นที่มีระบบการดำรงอยู่ หรือแม้แต่การปกครองที่คล้ายคลึงกัน ความรู้บนโลก กฎหมายสากล สนธิสัญญา หรือข้อตกลงที่ทำบนโลกก็ไม่สามารถที่จะมีผลบังคับใช้ได้กับตัวแสดงจากดวงดาวอื่น ๆ การศึกษาในลักษณะนี้ จึงเป็นการศึกษาที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจมากเท่าไรนัก เมื่อเทียบกับการศึกษาอวกาศรัฐศาสตร์จากในโลก
2. ระดับจากในโลก สื่อถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและตัวแสดงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นของอวกาศ กล่าวคือการกระทำของตัวแสดงทั้งหลายที่เกิดขึ้นบนแผ่นดินโลก แต่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจที่มีผลกระทบไปยังนอกโลก อาทิ การกำหนดกฎหมายนานาชาติอวกาศ (International Space Law) ที่เป็นการตัดสินใจรวมกันของตัวแสดงทั้งรัฐและไม่ใช่รัฐเพื่อสร้างกรอบและโครงสร้างการดำเนินกิจการใด ๆ ก็ตามบนพื้นที่นอกโลก
การกระทำให้ลักษณะดังกล่าว ดูเหมือนเป็นการขยับขยายการเมืองหรืออิทธิพลไปยังนอกโลก แต่ในความเป็นจริงแล้ว เป็นเพียงภาพสะท้อนความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างตัวแสดงบนโลกเป็นหลัก ทุกความเข้าใจเกี่ยวกับอวกาศและการดำเนินการบนนั้นคือการนำระบบความคิด การปกครอง และการดำรงอยู่ของมนุษย์ไปปรับใช้ หรือการขยายขอบเขตความเป็นมนุษย์ไปในนิยามของคำว่าอวกาศ ในนัยหนึ่งอวกาศรัฐศาสตร์ในปัจจุบัน แท้จริงจึงคือการผูกติดเรื่องของโลกเป็นสำคัญ (World centric) และผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นหรือได้รับส่วนใหญ่ ก็ล้วนมีผลแต่บนโลกเพียงเท่านั้น ยกเว้นการครอบครองทรัพยากรหรือเขตแดนบนพื้นที่นอกโลก (ซึ่งในปัจจุบัน ถือเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย)
ทั้งนี้ ผลประโยชน์ที่ได้กล่าวนั้นมีความแตกต่าง และสมควรที่จะเข้าใจอย่างแยกขาดกันเพื่อความชัดเจน โดยประการแรกคือผลลัพธ์ที่ได้จากภูมิศาสตร์การเมือง (political geography) ที่ว่าด้วยการแบ่งดินแดนอาณาเขตด้วยกระบวนการทางการเมือง เป็นผลประโยชน์ในเชิงรูปธรรมและจับต้องได้ ในขณะที่อีกประการ ได้แก่ภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitics) ที่ว่าด้วยอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองอันได้มาจากการขับเคลื่อนโดยประเด็นทางพื้นที่หรือภูมิศาสตร์ ผลตอบลัพธ์อาจจะเป็นสิ่งที่ทั้งจับต้องได้และจับต้องไม่ได้
ท้ายที่สุด อวกาศรัฐศาสตร์สามารถศึกษาได้จาก 2 ระดับ โดยระดับที่ได้รับความสนใจและพูดถึงอย่างกว้างขวางคือการศึกษาจากระดับในโลก ซึ่งสามารถแบ่งออกมาเป็น 2 ประเด็นย่อยที่มีความสอดคล้องกับกรอบแนวคิดของภูมิรัฐศาสตร์และภูมิศาสตร์การเมืองดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น ได้แก่ 1) อวกาศรัฐศาสตร์ ที่ให้ความสนใจกับระบบการปกครอง กฎหมาย ทรัพยากร ขอบเขตและพื้นที่ทางกายภาพ และ 2) อวกาศการเมือง ซึ่งให้ความสำคัญกับประเด็นการต่อสู้ทางอิทธิพลการเมือง การกำกับควบคุมนโยบายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางการอวกาศโดยตัวแสดงที่อยู่บนโลก อาทิ การแข่งขันทางความร่วมมือระหว่างรัฐในการดำเนินกิจการทางอวกาศ ระหว่างกลุ่มภาคีของ 2 ประเทศมหาอำนาจอย่างกลุ่มสหรัฐอเมริกาและกลุ่มสาธารณะรัฐประชาชนจีน
ความเป็นมา
อวกาศรัฐศาสตร์ถูกคิดค้นขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกในช่วงต้นปี 2000 โดย Everett Dolman ซึ่งเป็นการให้คำนิยามแก่รัฐศาสตร์อวกาศในลักษณะของภูมิรัฐศาสตร์แบบดั้งเดิม (traditional geopolitics) และแนวคิดแบบสัจนิยม (realism) ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เนื่องจากว่า แม้จะสิ้นสุดสงครามเย็น แต่อิทธิพลของการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจในอดีตที่ผ่านมายังส่งอิทธิพลให้อวกาศรัฐศาสตร์ถูกคิดค้นขึ้นบนกรอบแนวคิดของการอธิบายที่ว่า อวกาศคือพื้นที่ และพื้นที่นั้นคือพื้นที่ยุทธศาสตร์ของการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอำนาจยุคใหม่ ใครที่สามารถครอบครองวงโคจรต่ำของโลกได้ ก็จะสามารถครอบครองอวกาศและโลกได้เช่นเดียวกัน โดยประเทศที่มีพร้อมทางทรัพยากร (บุคลากร กำลังทรัพย์ เทคโนโลยี และองค์ความรู้) เท่านั้นที่จะสามารถเข้าร่วมในการแข่งขันและช่วงชิงการเป็นมหาอำนาจนำในอวกาศได้
การให้คำนิยามอวกาศรัฐศาสตร์ในยุคแรกเริ่มนั้นถูกวิพากษ์ว่ามีความคล้ายคลึงกับแนวคิดของภูมิรัฐศาสตร์ในยุคของการล่าอาณานิคม โดยส่งเสริมการเป็นอาณาจักรหรือการแพร่ขยายความเป็นจักรวรรดินิยมเพื่อครอบครองพื้นที่ ทรัพยากรและอำนาจนำ โดยแนวคิดนี้ถูกใช้เพื่ออธิบายและให้ความชอบธรรมแก่ลัทธิการแผ่ขยายเชิงพื้นที่ (spatial expansionism) ซึ่งในช่วงของสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รับการประณาม และไม่ยอมรับเนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการของพรรคนาซีเยอรมันและการขยายอำนาจของเยอรมัน (German expansionism)
ในเวลาต่อมา เมื่อกระแสความเป็นเสรีนิยมประชาธิปไตยที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงปลายสงครามเย็น บริบทโลกและโครงสร้างของสภาวะนานาชาติเริ่มมีการปรับเปลี่ยนหันเข้าหาความร่วมมือมากยิ่งขึ้น อวกาศรัฐศาสตร์เช่นเดียวกันได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เกิดเป็นกรอบแนวคิดของอวกาศรัฐศาสตร์แบบเสรีนิยม ที่ต้องการหลีกเลี่ยงความรุนแรงและความขัดแย้งในพื้นที่อวกาศของตัวแสดงจากรัฐ รวมไปถึงการเกิดขึ้นของมหาอำนาจทางอวกาศ (space-based hegemony)
อวกาศรัฐศาสตร์เน้นไปยังความร่วมมือระหว่างตัวแสดงต่าง ๆ โดยในยุคแรกเริ่มนั้นให้ความสำคัญ แต่เพียงตัวแสดงที่เป็นรัฐ กระทั่งในเวลาต่อมาจึงได้เริ่มให้ความสนใจแก่ตัวแสดงอื่น ๆ อาทิ องค์กร ภาคประชาสังคม หรือองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
โดยสรุป จากพลวัตที่ผ่านมา อวกาศรัฐศาสตร์ยังถือได้ว่ายังเป็นศาสตร์การศึกษาที่มีความใหม่ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก 1) ช่วงระยะเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปลายสงครามเย็น และ 2) กรอบแนวคิดภูมิรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยสังเขปสามารถแบ่งอวกาศรัฐศาสตร์ออกเป็น 2 แนวคิดได้ ดังต่อไปนี้
1. การศึกษาอวกาศรัฐศาสตร์แบบสัจจนิยม หรือ Astropolitik ที่มีความสอดคล้องกับคำว่า Realpolitik ในความคิดแบบสัจนิยมทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการแข่งขัน และเพิ่มอำนาจของรัฐผ่านพื้นที่ของอวกาศ
2. การศึกษารัฐศาสตร์อวกาศในความคิดแบบเสรีนิยม อธิบายถึงการดำรงตัวเป็นกลางของอวกาศในฐานะของพื้นที่สาธารณะเพื่อประโยชน์ของมนุษย์โลกทุกคน ไม่ใช่เพียงรัฐใดรัฐหนึ่ง โดยให้ความสนับสนุนความร่วมมือระดับนานาชาติ ก่อตั้งและกำหนดให้มีองค์กรระหว่างประเทศ กลไกระหว่างรัฐ และกฎหมายนานาชาติเพิ่มสันติภาพของโลก
บรรณานุกรม
ขวัญข้าว คงเดชา. (2564). การเมืองอวกาศ: ฤาการเมืองจะไปเหยียบดาวอังคาร?. The 101 World.
ขวัญข้าว คงเดชา. (2564). การเมืองการอวกาศ: ฤาคนไทยจะไปเหยียบดวงจันทร์. The 101 Word.
Dodds, K. (2019). Geopolitics: A Very Short Introduction. Oxford University Press.
Cohen, S. B., (2014). Geopolitics: The Geography of International Relations. Rowman & Littlefield Publishers.
Mamadouh, V. & Dijkink, G., (2006). Geopolitics, International Relations and Political Geography: The Politics of Geopolitical Discourse. Geopolitics, 11(3), 349-366.
Everett, D. (2001). Astropolitik: Classical Geopolitics in the Space Age. Routledge.
Havercroft, J. & Duvall, R. D. (2009). Critical Astropolitics: The Geopolitics of Space Control and the Transformation of State Sovereignty. Routledge
Santa-Barbara Vozmediano, P. (2021). Geopolitics of the Moon: The dawn of a new space era. Opinion Paper, IEEE, 17/2021.