ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ช้างสำคัญในรัชกาล"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''''ผู้เรียบเรียง :''' รองศาสตราจารย์ ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุ...'
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
'''''ผู้เรียบเรียง :''' รองศาสตราจารย์ ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล ศิริน โรจนสโรช''


'''''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :''' รองศาสตราจารย์ ดร.สนธิ เตชานันท์''
'''''ผู้เรียบเรียง :''' รองศาสตราจารย์ .ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล ศิริน โรจนสโรช''
                               


'''''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :''' รองศาสตราจารย์ ดร.สนธิ เตชานันท์''


 


== คติโบราณที่เกี่ยวกับช้างเผือก ==


== คติโบราณที่เกี่ยวกับช้างเผือก ==
คนไทยสมัยก่อนมีความเชื่อเกี่ยวกับสัตว์ที่มีลักษณะเป็นมงคลและอัปมงคล เช่น ม้า แมว ส่วนช้าง เป็นสัตว์สำคัญคู่บ้านเมืองไทยมานาน คติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังทรงบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ ก็เคยเสวยพระชาติเป็นพญาช้างเผือก คนเอเชียอาคเนย์มีความเชื่อเรื่องช้าง ว่า ช้างเป็นสัตว์ประเสริฐ มีความหมายดี เช่น หมายถึงโชคลาภยศถาบรรดาศักดิ์ สมัยโบราณ ใช้ช้างในการทำสงคราม เพื่อป้องกัน รักษาเอกราช ส่วนช้างเผือกเป็นสัตว์มงคลที่เชิดชูพระเกียรติยศและพระบรมเดชานุภาพพระมหากษัตริย์ หากพบช้างเผือก ณ เมืองใด ถือว่าพระมหากษัตริย์พระองค์นั้นทรงบุญญาธิการ และถ้าพระมหากษัตริย์พระองค์ใด มีช้างเผือกมาสู่พระบารมีหลายช้าง ก็หมายถึงทรงได้รับการยกย่อง มีพระเกียรติยศปรากฏแผ่ไปทุกทิศ
 
คนส่วนมากเข้าใจว่าช้างเผือกต้องมีสีขาว หรือขาวผิดปกติ แต่ตามตำราพระคชลักษณ์ ช้างเผือกมีหลายสี ได้แก่ ขาว เหลือง เขียว แดง ดำ ม่วง เมฆ และต้องประกอบด้วยลักษณะอื่นๆ ได้แก่ ลักษณะที่เป็นมงคล ๗ ประการ คือ ตาสีขาว เพดานสีขาว เล็บสีขาว ผิวหนังสีขาว หรือสีหม้อใหม่ ขนขาว ขนหางยาว อัณฑโกสขาวหรือคล้ายสีหม้อใหม่ ลักษณะช้างเผือกแบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ ช้างเผือกเอก เรียกว่า สารเศวตร มีลักษณะถูกต้องสมบูรณ์ตามตำราคชลักษณ์ มีร่างใหญ่ ผิวขาวบริสุทธิ์ดุจสีสังข์ เป็นช้างมงคลคู่บ้านคู่เมือง ช้างเผือกโท เรียกว่า ปทุมหัตถี มีผิวสีชมพู คล้ายสีกลีบบัวโรย หรือบัวแห้ง เป็นช้างมงคลเหมาะแก่การทำสงคราม และช้างเผือกตรี เรียกว่า เศวตคชลักษณ์ สีผิวเหมือนใบตองอ่อนตากแห้ง


ตามคติความเชื่อในศาสนาพรหมณ์ซึ่งมีพระเป็นเจ้า คือ พระอิศวร พระพรหม และพระวิษณุหรือพระนารายณ์ ช้างเผือก กำเนิดจากการสร้างของพระเป็นเจ้าเหล่านี้ นอกจากนี้ยังมีเทพเจ้าอื่นๆ เช่น พระเพลิง หรือ อัคนี ในตำราคชลักษณ์ จึงมีช้าง ๔ ตระกูล และช้างทั้ง ๔ ตระกูลเหล่านี้ยังถูกแบ่งออกเป็นวรรณะ เช่นเดียวกับการแบ่งวรรณะของคนอินเดียด้วย คือ
คนไทยสมัยก่อนมีความเชื่อเกี่ยวกับสัตว์ที่มีลักษณะเป็นมงคลและอัปมงคล เช่น ม้า แมว ส่วนช้าง เป็นสัตว์สำคัญคู่บ้านเมืองไทยมานาน คติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังทรงบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ ก็เคยเสวยพระชาติเป็นพญาช้างเผือก  คนเอเชียอาคเนย์มีความเชื่อเรื่องช้าง ว่า ช้างเป็นสัตว์ประเสริฐ  มีความหมายดี เช่น หมายถึงโชคลาภยศถาบรรดาศักดิ์  สมัยโบราณ ใช้ช้างในการทำสงคราม เพื่อป้องกัน รักษาเอกราช ส่วนช้างเผือกเป็นสัตว์มงคลที่เชิดชูพระเกียรติยศและพระบรมเดชานุภาพพระมหากษัตริย์  หากพบช้างเผือก ณ เมืองใด ถือว่าพระมหากษัตริย์พระองค์นั้นทรงบุญญาธิการ และถ้าพระมหากษัตริย์พระองค์ใด มีช้างเผือกมาสู่พระบารมีหลายช้าง ก็หมายถึงทรงได้รับการยกย่อง มีพระเกียรติยศปรากฏแผ่ไปทุกทิศ
คนส่วนมากเข้าใจว่าช้างเผือกต้องมีสีขาว หรือขาวผิดปกติ แต่ตามตำราพระคชลักษณ์  ช้างเผือกมีหลายสี ได้แก่ ขาว เหลือง เขียว แดง ดำ ม่วง เมฆ และต้องประกอบด้วยลักษณะอื่นๆ ได้แก่ ลักษณะที่เป็นมงคล ๗ ประการ คือ ตาสีขาว เพดานสีขาว เล็บสีขาว ผิวหนังสีขาว หรือสีหม้อใหม่ ขนขาว ขนหางยาว อัณฑโกสขาวหรือคล้ายสีหม้อใหม่ ลักษณะช้างเผือกแบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ ช้างเผือกเอก เรียกว่า สารเศวตร มีลักษณะถูกต้องสมบูรณ์ตามตำราคชลักษณ์ มีร่างใหญ่ ผิวขาวบริสุทธิ์ดุจสีสังข์ เป็นช้างมงคลคู่บ้านคู่เมือง ช้างเผือกโท เรียกว่า ปทุมหัตถี  มีผิวสีชมพู คล้ายสีกลีบบัวโรย หรือบัวแห้ง เป็นช้างมงคลเหมาะแก่การทำสงคราม  และช้างเผือกตรี เรียกว่า เศวตคชลักษณ์ สีผิวเหมือนใบตองอ่อนตากแห้ง
ตามคติความเชื่อในศาสนาพรหมณ์ซึ่งมีพระเป็นเจ้า คือ พระอิศวร พระพรหม และพระวิษณุหรือพระนารายณ์ ช้างเผือก กำเนิดจากการสร้างของพระเป็นเจ้าเหล่านี้ นอกจากนี้ยังมีเทพเจ้าอื่นๆ เช่น พระเพลิง หรือ อัคนี ในตำราคชลักษณ์ จึงมีช้าง ๔ ตระกูล และช้างทั้ง ๔ ตระกูลเหล่านี้ยังถูกแบ่งออกเป็นวรรณะ เช่นเดียวกับการแบ่งวรรณะของคนอินเดียด้วย คือ  


๑. อิศวรพงศ์ เป็นช้างในตระกูลที่พระอิศวรหรือพระศิวะ ทรงสร้าง จัดเป็นช้างวรรณะกษัตริย์
๑. อิศวรพงศ์ เป็นช้างในตระกูลที่พระอิศวรหรือพระศิวะ ทรงสร้าง จัดเป็นช้างวรรณะกษัตริย์


๒. พรหมพงศ์ เป็นช้างในตระกูลที่พระพรหมทรงสร้าง จัดเป็นช้างวรรณะพราหมณ์
๒. พรหมพงศ์ เป็นช้างในตระกูลที่พระพรหมทรงสร้าง จัดเป็นช้างวรรณะพราหมณ์


๓. วิษณุพงศ์ เป็นช้างในตระกูลที่พระวิษณุหรือพระนารายณ์ทรงสร้างจั้ดเป็นช้างวรรณะแพศย์
๓. วิษณุพงศ์ เป็นช้างในตระกูลที่พระวิษณุหรือพระนารายณ์ทรงสร้างจั้ดเป็นช้างวรรณะแพศย์


๔. อัคนิพงศ์ เป็นช้างในตระกูลที่พระอัคนิหรือพระเพลิงทรงสร้าง จัดเป็นช้างวรรณะศูทร
๔. อัคนิพงศ์ เป็นช้างในตระกูลที่พระอัคนิหรือพระเพลิงทรงสร้าง จัดเป็นช้างวรรณะศูทร


ในสมัย[[รัชกาลที่ ]] มีการตราพระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่าทางราชการ พุทธศักราช ๒๔๖๔ กำหนดให้ช้างป่าที่มีลักษณะพิเศษ เป็นของหลวง ๓ ชนิด คือ ช้างสำคัญ เป็นช้างลักษณะพิเศษ ๗ ประการ ตามลักษณะมงคลของช้างเผือกที่กล่าวมาแล้ว   ช้างประหลาด คือช้างที่มีมงคลอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๗ อย่าง และช้างเนียม คือมีลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่ พื้นหนังดำ งารูปปลีกล้วย และเล็บดำ ผู้พบช้างดังกล่าว ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย  
ในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีการตราพระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่าทางราชการ พุทธศักราช ๒๔๖๔ กำหนดให้ช้างป่าที่มีลักษณะพิเศษ เป็นของหลวง ๓ ชนิด คือ ช้างสำคัญ เป็นช้างลักษณะพิเศษ ๗ ประการ ตามลักษณะมงคลของช้างเผือกที่กล่าวมาแล้ว ช้างประหลาด คือช้างที่มีมงคลอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๗ อย่าง และช้างเนียม คือมีลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่ พื้นหนังดำ งารูปปลีกล้วย และเล็บดำ ผู้พบช้างดังกล่าว ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย


เมื่อพบช้างลักษณะที่กล่าวมานี้ หรือช้างที่เลี้ยงไว้ตกลูกออกมามีสีประหลาด ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทย เพื่อนำความกราบบังคมทูล และจะมีการตรวจพระคชลักษณ์โดยผู้เชี่ยวชาญ หากใช่ จึงมีพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวาง ณ เมืองที่พบ หรือนำมากรุงเพทฯ ในการนำมากรุงเทพฯ จะมีการสมโภช ณ เมืองที่ช้างผ่าน ก่อนการประกอบพิธีสมโภชขึ้นระวาง ก็ต้องมีพิธีจับเชิงช้าง เป็นการขอขมาลาโทษช้างสำคัญเพื่อประกอบพระราชพิธีสมโภช ช้างที่ผ่านพระราชพิธีสมโภชแล้ว มีเกียรติยศเท่ากับสมเด็จเจ้าฟ้า  
เมื่อพบช้างลักษณะที่กล่าวมานี้ หรือช้างที่เลี้ยงไว้ตกลูกออกมามีสีประหลาด ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทย เพื่อนำความกราบบังคมทูล และจะมีการตรวจพระคชลักษณ์โดยผู้เชี่ยวชาญ หากใช่ จึงมีพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวาง ณ เมืองที่พบ หรือนำมากรุงเพทฯ ในการนำมากรุงเทพฯ จะมีการสมโภช ณ เมืองที่ช้างผ่าน ก่อนการประกอบพิธีสมโภชขึ้นระวาง ก็ต้องมีพิธีจับเชิงช้าง เป็นการขอขมาลาโทษช้างสำคัญเพื่อประกอบพระราชพิธีสมโภช ช้างที่ผ่านพระราชพิธีสมโภชแล้ว มีเกียรติยศเท่ากับสมเด็จเจ้าฟ้า


 


== ช้างเผือกประจำรัชกาลที่ ๗ ==
== ช้างเผือกประจำรัชกาลที่ ๗ ==


พระเศวตคชเดชน์ดิลก เป็นช้างเผือกประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดที่ปางไม้ในเขตสัมปทานของบริษัทบอร์เนียว ตำบลแม่ยางมิ้ม อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ เป็นลูกช้างที่มีลักษณะพิเศษ คือ ผิวกายมีสีเหมือนดอกบัวโรย ขนตามตัวและศีรษะเป็นสีแดงปลายขาว ตาสีฟ้าอ่อน เพดานขาว เล็บขาว ขนที่หูขาว ขนหางแดงแก่ปลายขาว อัณฑโกสขาว นายดี. เอฟ. แมคฟี ผู้จัดการป่าไม้บริษัทบอร์เนียวจึงส่งโทรเลขมากราบบังคมทูลให้ทรงทราบ เมื่อตรวจสอบแล้วทราบว่าเป็นพระยาเศวตกุญชร(ช้างเผือก) ตระกูลอัคนิพงศ์ พระคชลักษณ์นามปทุมหัตถี เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงนครเชียงใหม่และเจ้าหน้าที่บริษัทบอร์เนียว รวมทั้งราษฎร จึงน้อมเกล้าฯถวายเป็นช้างคู่พระบารมี ลักษณะเหล่านี้ปรากฏชัดมากขึ้น ประกอบกับลูกช้างมีนิสัยรักความสะอาด ช่างเล่น และมีมารยาทนุ่มนวลต่างจากจริตกิริยาของช้างธรรมดา จึงเป็นที่รักของเจ้าหน้าที่บริษัทบอร์เนียวและเด็ก ๆ
[[พระเศวตคชเดชน์ดิลก]] เป็นช้างเผือกประจำรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เกิดที่ปางไม้ในเขตสัมปทานของบริษัทบอร์เนียว ตำบลแม่ยางมิ้ม อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ เป็นลูกช้างที่มีลักษณะพิเศษ คือ ผิวกายมีสีเหมือนดอกบัวโรย ขนตามตัวและศีรษะเป็นสีแดงปลายขาว ตาสีฟ้าอ่อน เพดานขาว เล็บขาว ขนที่หูขาว ขนหางแดงแก่ปลายขาว อัณฑโกสขาว นายดี. เอฟ. แมคฟี ผู้จัดการป่าไม้บริษัทบอร์เนียวจึงส่งโทรเลขมากราบบังคมทูลให้ทรงทราบ เมื่อตรวจสอบแล้วทราบว่าเป็นพระยาเศวตกุญชร(ช้างเผือก) ตระกูลอัคนิพงศ์ พระคชลักษณ์นามปทุมหัตถี เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงนครเชียงใหม่และเจ้าหน้าที่บริษัทบอร์เนียว รวมทั้งราษฎร จึงน้อมเกล้าฯถวายเป็นช้างคู่พระบารมี ลักษณะเหล่านี้ปรากฏชัดมากขึ้น ประกอบกับลูกช้างมีนิสัยรักความสะอาด ช่างเล่น และมีมารยาทนุ่มนวลต่างจากจริตกิริยาของช้างธรรมดา จึงเป็นที่รักของเจ้าหน้าที่บริษัทบอร์เนียวและเด็ก ๆ


 


== เสด็จฯ ทอดพระเนตรและสมโภชช้างสำคัญที่เชียงใหม่ ==
== เสด็จฯ ทอดพระเนตรและสมโภชช้างสำคัญที่เชียงใหม่ ==
 
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรช้างสำคัญนี้เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินประพาสมณฑลพายัพและนครเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ ๖ มกราคม – ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙ (พ.ศ. ๒๔๗๐ นับตามปฎิทินปัจจุบัน) เสด็จฯ ไปทรงรับการน้อมเกล้าฯ ถวายช้างดังกล่าวในวาระนั้น ได้ทอดพระเนตรลูกช้างที่เชิงดอยสุเทพ วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรช้างสำคัญนี้เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินประพาส[[มณฑลพายัพ]]และนครเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ ๖ มกราคม – ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙ (พ.ศ. ๒๔๗๐ นับตามปฎิทินปัจจุบัน) เสด็จฯ ไปทรงรับการน้อมเกล้าฯ ถวายช้างดังกล่าวในวาระนั้น ได้ทอดพระเนตรลูกช้างที่เชิงดอยสุเทพ วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙
 
วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีสมโภชช้างที่โรงช้างหน้าศาลากลางมณฑลพายัพ
วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีสมโภชช้างที่โรงช้างหน้าศาลากลางมณฑลพายัพ


 
''โปรดให้จัดการสมโภชช้างพลายสำคัญซึ่งเกิดขึ้น ณ จังหวัดเชียงใหม่ พระยาราชานุกูล สมุหเทศาภิบาล มณฑลพายัพและเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนคร นำมิสเตอร์แมคฟี ผู้จัดการบริษัทบอเนียวที่เชียงใหม่เจ้าของถวาย เจ้าพนักงานฝ่ายมณฑลพายัพพร้อมด้วยเจ้าพนักงานกรมช้างต้นได้จัดกระบวนแห่นำช้างพลายสำคัญออกจากโรงเชิงดอยสุเทพสู่โรงในบริเวณหน้าศาลารัฐบาลมณฑลพายัพ เจ้าพนักงาน เจ้าพนักงานได้จัดเตรียมการพระราชพิธีไว้ในโรงช้าง ตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระชัยวัฒน์เงินหลังช้าง ตั้งพระเต้าปทุมนิมิตน้อยทองเงิน ตั้งอาสนสงฆ์ ทอดพระราชอาสน์และเก้าอี้เจ้านายและปรำตั้งเก้าอี้ข้าราชการ ที่พลับพลาทอดพระราชอาสน์และเก้าอี้เจ้านายข้าราชการ''
''เวลา ๔.๓๐ ล.ท. (หลังเที่ยง = ๑๖.๓๐ น.) เสด็จออกพลับพลาพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินี โปรดให้เดินกระบวนแห่ช้างพลายสำคัญเข้ายืนโรงแล้ว เสด็จพระราชดำเนินตามทางลาดพระบาทยังโรงช้างพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินี ทหารกองเกียรติยศกระทำวันทยาวุธ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทรงประเคนไตรย่ามแก่พระสงฆ์ที่จะสวดมนต์ออกไปครองผ้ากลับมานั่งที่แล้ว ทรงจุดเทียนเครื่องนมัสการพระสงฆ์ ๒๐ รูป มีพระเทพมุนีไปเปนประธานสวดมนต์จบ ทรงประเคนใบวัตถุปัจจัยไทยธรรม พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา พระราชาคณะถวายอติเรกทรงหลั่งน้ำพระพุทธมนต์และทรงสรวมพวงมาลัยพระราชทานช้างพลายสำคัญ โปรดให้พราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภชมีประโคม เมื่อครบ 3 รอบแล้ว พราหมณ์รวมแว่นดับเทียนจุรณเจิมเสร็จเสด็จขึ้น''
''เวลา ๙.๓๐ ล.ท. (๒๑.๓๐ น.) เสด็จออกประทับพลับพลาพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินี โปรดให้มีระบำซึ่งพระราชชายาจัดมาสนองพระเดชพระคุณ และมีการรำโคมเนื่องในการสมโภชช้างพลายสำคัญเสร็จเสด็จขึ้น'' <ref>บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. (บ.ก.). (๒๕๓๗). จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗.  กรุงเทพฯ :  คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและ จัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, หน้า ๒๑๔-๒๑๗.</ref>
&nbsp;
ในเวลา ๒๑.๓๐ น. นั้น เสด็จฯ ออกประทับพลับพลาทอดพระเนตรระบำซึ่งพระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงจัดให้มีหลายชุด ได้แก่ ชุดฟ้อนเทียน ฟ้อนโปรยข้าวตอกดอกไม้ ชุดรำฝรั่งแต่งเป็นเจ้านายโบราณ หญิง ๑ ชาย ๑ ถวายช่อบุกเก (ดอกไม้) แด่พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี และชุดฟ้อนซอเพลงท่าต่าง ๆ รอบช้างและร้องเพลงถวายชัยมงคล และการแสดงระบำโคมโดยคณะกองลูกเสือโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยกับโรงเรียนปรินซ์รอยัล ท้าวสุนทรพจนกิจ (บุญมา) กวีล้านนาได้ประพันธ์คำซอถวายพระพรตามพระราชประสงค์ในพระราชชายาเจ้าดารารัศมีดังนี้
&nbsp;
'''''ทำนองซอเชียงใหม่'''''
''สรวมชีพข้าไท้ อภิวาทไหว้เหนือเกศี ดิลกรัฐนฤบดี แทบธุลีละอองพระบาทเจ้า พระเดชพระคุณพระปกเกศเกล้าฯ ไพร่ฟ้าอยู่ชุ่มสุขเย็นฯ''
'''''ทำนองซอยิ้น'''''
''สา น้อมเกล้า ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลฉลอง บทรัตน์ พระยุคลทอง ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทฯ '' บรมนาถพระปกเกศเกล้า กับพระแม่เจ้าบรมราชินี ทรงบุญฤทธิ์ พระบารมี เป็นที่ยินดี แก่ประชาชี ทุกคนน้อยใหญ่ฯ''


''จังหวัดเชียงใหม่ไพร่ฟ้าข้าเจ้า ทั้งหนุ่มทั้งเฒ่าทั่วทิศทั้งผอง ได้ปิงเปิ้งปะพระร่มโพธิ์ทอง เป็นฉัตรเรืองรองปกบังกั้งเกศฯ''


''โปรดให้จัดการสมโภชช้างพลายสำคัญซึ่งเกิดขึ้น ณ จังหวัดเชียงใหม่ พระยาราชานุกูล สมุหเทศาภิบาล มณฑลพายัพและเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนคร นำมิสเตอร์แมคฟี ผู้จัดการบริษัทบอเนียวที่เชียงใหม่เจ้าของถวาย  เจ้าพนักงานฝ่ายมณฑลพายัพพร้อมด้วยเจ้าพนักงานกรมช้างต้นได้จัดกระบวนแห่นำช้างพลายสำคัญออกจากโรงเชิงดอยสุเทพสู่โรงในบริเวณหน้าศาลารัฐบาลมณฑลพายัพ เจ้าพนักงาน เจ้าพนักงานได้จัดเตรียมการพระราชพิธีไว้ในโรงช้าง ตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระชัยวัฒน์เงินหลังช้าง ตั้งพระเต้าปทุมนิมิตน้อยทองเงิน ตั้งอาสนสงฆ์ ทอดพระราชอาสน์และเก้าอี้เจ้านายและปรำตั้งเก้าอี้ข้าราชการ ที่พลับพลาทอดพระราชอาสน์และเก้าอี้เจ้านายข้าราชการ ''
''พอรู้ข่าวสารจะเสด็จประเวศ อินทรทิพย์เทพก็โมทนาฯ หื้อสายเมฆะฟ้าฝนธารา ไหลหลั่งลงมาทั่วพื้นแผ่นหล้าฯ''


''เวลา ๔.๓๐ ล.ท. (หลังเที่ยง = ๑๖.๓๐ น.)  เสด็จออกพลับพลาพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินี โปรดให้เดินกระบวนแห่ช้างพลายสำคัญเข้ายืนโรงแล้ว เสด็จพระราชดำเนินตามทางลาดพระบาทยังโรงช้างพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินี ทหารกองเกียรติยศกระทำวันทยาวุธ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทรงประเคนไตรย่ามแก่พระสงฆ์ที่จะสวดมนต์ออกไปครองผ้ากลับมานั่งที่แล้ว ทรงจุดเทียนเครื่องนมัสการพระสงฆ์ ๒๐ รูป มีพระเทพมุนีไปเปนประธานสวดมนต์จบ ทรงประเคนใบวัตถุปัจจัยไทยธรรม พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา พระราชาคณะถวายอติเรกทรงหลั่งน้ำพระพุทธมนต์และทรงสรวมพวงมาลัยพระราชทานช้างพลายสำคัญ โปรดให้พราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภชมีประโคม เมื่อครบ 3 รอบแล้ว พราหมณ์รวมแว่นดับเทียนจุรณเจิมเสร็จเสด็จขึ้น''
''ธัญญาหารพฤกษ์ข้าวกล้า ของปลูกลูกไม้ก็บริบูรณ์ เพราะเมื่อเจ้าฟ้ามหาตระกูล ท่านทรงบุญคุณมีเป็นเอนกฯ''


''เวลา ๙.๓๐ ล.ท. (๒๑.๓๐ น.) เสด็จออกประทับพลับพลาพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินี โปรดให้มีระบำซึ่งพระราชชายาจัดมาสนองพระเดชพระคุณ และมีการรำโคมเนื่องในการสมโภชช้างพลายสำคัญเสร็จเสด็จขึ้น'' <ref>บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. (บ.ก.). (๒๕๓๗). จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗.  กรุงเทพฯ :  คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและ จัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, หน้า ๒๑๔-๒๑๗.</ref>
''อารักษ์เจนเมืองอันเรืองฤทธิ์เดช ทั้งไทเทเวศเจ้าก็แสร้งแบ่งปัน หื้อกุญชเรศร์ เศวตเรืองพรรณ เกิดมาเตื่อมตันสมภารพระบาทฯ''


''พระปรมินทรประชาธิปกโลกนาถ ปิยมหาราชหน่อพุทธังกูร ตันบ่ใช่เจื้อเจ้าต๋นทรงบุญ ฉัททันต์ตระกูลไป่ห่อนมาเกิดฯ''


ในเวลา ๒๑.๓๐ น. นั้น เสด็จฯ ออกประทับพลับพลาทอดพระเนตรระบำซึ่งพระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงจัดให้มีหลายชุด ได้แก่ ชุดฟ้อนเทียน ฟ้อนโปรยข้าวตอกดอกไม้ ชุดรำฝรั่งแต่งเป็นเจ้านายโบราณ หญิง ๑ ชาย ๑ ถวายช่อบุกเก (ดอกไม้) แด่พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี และชุดฟ้อนซอเพลงท่าต่าง ๆ รอบช้างและร้องเพลงถวายชัยมงคล และการแสดงระบำโคมโดยคณะกองลูกเสือโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยกับโรงเรียนปรินซ์รอยัล ท้าวสุนทรพจนกิจ (บุญมา) กวีล้านนาได้ประพันธ์คำซอถวายพระพรตามพระราชประสงค์ในพระราชชายาเจ้าดารารัศมีดังนี้
''วันนี้หนาเป็นวันล้ำเลิศ เป็นวันประเสริฐฤกษ์งามยามดี จึงทำมังคละเบิกบายระวายษี ตามประเพณี สมโภชช้างแก้วฯ''


''ศรีสวัสดิ์พิพัฒน์ผ่องแผ้ว เชิญขวัญช้างจงรีบจรดล จงมาเป็นช้างที่นั่งมงคล โดยพระจอมพลเจ้าต๋นเลิศเลิศหล้าฯ''


'''''ทำนองซอเชียงใหม่'''''
''สรวมชีพข้าไท้ อภิวาทไหว้เหนือเกศี ดิลกรัฐนฤบดี แทบธุลีละอองพระบาทเจ้า พระเดชพระคุณพระปกเกศเกล้าฯ ไพร่ฟ้าอยู่ชุ่มสุขเย็นฯ''
'''''ทำนองซอยิ้น'''''
''สา น้อมเกล้า ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลฉลอง บทรัตน์ พระยุคลทอง ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทฯ
บรมนาถพระปกเกศเกล้า กับพระแม่เจ้าบรมราชินี ทรงบุญฤทธิ์ พระบารมี เป็นที่ยินดี แก่ประชาชี ทุกคนน้อยใหญ่ฯ''
''จังหวัดเชียงใหม่ไพร่ฟ้าข้าเจ้า ทั้งหนุ่มทั้งเฒ่าทั่วทิศทั้งผอง ได้ปิงเปิ้งปะพระร่มโพธิ์ทอง เป็นฉัตรเรืองรองปกบังกั้งเกศฯ''
''พอรู้ข่าวสารจะเสด็จประเวศ อินทรทิพย์เทพก็โมทนาฯ หื้อสายเมฆะฟ้าฝนธารา ไหลหลั่งลงมาทั่วพื้นแผ่นหล้าฯ''
''ธัญญาหารพฤกษ์ข้าวกล้า ของปลูกลูกไม้ก็บริบูรณ์ เพราะเมื่อเจ้าฟ้ามหาตระกูล ท่านทรงบุญคุณมีเป็นเอนกฯ''
''อารักษ์เจนเมืองอันเรืองฤทธิ์เดช ทั้งไทเทเวศเจ้าก็แสร้งแบ่งปัน หื้อกุญชเรศร์ เศวตเรืองพรรณ เกิดมาเตื่อมตันสมภารพระบาทฯ''
''พระปรมินทรประชาธิปกโลกนาถ ปิยมหาราชหน่อพุทธังกูร ตันบ่ใช่เจื้อเจ้าต๋นทรงบุญ ฉัททันต์ตระกูลไป่ห่อนมาเกิดฯ''
''วันนี้หนาเป็นวันล้ำเลิศ เป็นวันประเสริฐฤกษ์งามยามดี จึงทำมังคละเบิกบายระวายษี ตามประเพณี สมโภชช้างแก้วฯ''
''ศรีสวัสดิ์พิพัฒน์ผ่องแผ้ว เชิญขวัญช้างจงรีบจรดล จงมาเป็นช้างที่นั่งมงคล โดยพระจอมพลเจ้าต๋นเลิศเลิศหล้าฯ''
''จงสุขสำราญแต่นี้ไปหน้า หื้อเจ้าอยู่ม่วนกินดี เป็นพาหนะ คู่พระบารมี เฉลิมเกียรตินฤบดีตลอดเต๊ากุ้มเฒ่าฯ "''
''จงสุขสำราญแต่นี้ไปหน้า หื้อเจ้าอยู่ม่วนกินดี เป็นพาหนะ คู่พระบารมี เฉลิมเกียรตินฤบดีตลอดเต๊ากุ้มเฒ่าฯ "''
'''''จบด้วยทำนองเชียงแสน'''''
''ยอผนมบังคมก่ายเกล้า เท่านี้กราบทูลองค์ ขอหื้อทรงเดชฤทธิ์ทั่วด้าวแสนโขงไปหน้า ทรง''
''คะนิงใด อย่าได้กาไกเนิ่นช้า หื้อจอมนรินทร์ปิ่นฟ้า อยู่เสวยราชย์ยืน เตอ.ฯ''


'''''จบด้วยทำนองเชียงแสน'''''
''ยอผนมบังคมก่ายเกล้า เท่านี้กราบทูลองค์ ขอหื้อทรงเดชฤทธิ์ทั่วด้าวแสนโขงไปหน้า ทรง'' ''คะนิงใด อย่าได้กาไกเนิ่นช้า หื้อจอมนรินทร์ปิ่นฟ้า อยู่เสวยราชย์ยืน เตอ.ฯ''
&nbsp;


== การชลอช้างลงมาจากเชียงใหม่ ==
== การชลอช้างลงมาจากเชียงใหม่ ==


ต่อมา ให้นำช้างสำคัญมายังพระนคร โดยทางรถไฟ ระหว่างทางจากนครเชียงใหม่ มีพิธีฉลองสมโภชตามจังหวัดต่างๆ เริ่มจากนครเชียงใหม่ มาตามลำดับ และแห่ช้างสำคัญกับแม่ช้างและวานรเผือกซึ่งมีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อครั้งเสด็จประพาสพิษณุโลก ขึ้นรถไฟขบวนพิเศษจากเชียงใหม่ ลอดอุโมงค์ขุนตาล ถึงสถานีรถไฟลำปาง มีพิธีเวียนเทียน มหรสพสมโภช พราหมณ์กล่อมช้างลาไพร วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ออกเดินทางจากนครลำปาง ไปถึงสถานีเด่นชัย แพร่ มีพิธีเวียนเทียนและมหรสพสมโภช ออกเดินทางจากแพร่ถึงพิษณุโลก สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์ ทรงรอรับที่สถานีรถไฟ มีพิธีเวียนเทียนและมหรสพสมโภชเช่นเดียวกัน วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ขบวนช้างสำคัญถึงบางปะอินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทางรถไฟพระที่นั่งไปทอดพระเนตรช้างสำคัญ ณ พระราชวังบางปะอินเป็นการส่วนพระองค์
ต่อมา ให้นำช้างสำคัญมายังพระนคร โดยทางรถไฟ ระหว่างทางจากนครเชียงใหม่ มีพิธีฉลองสมโภชตามจังหวัดต่างๆ เริ่มจากนครเชียงใหม่ มาตามลำดับ และแห่ช้างสำคัญกับแม่ช้างและวานรเผือกซึ่งมีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อครั้งเสด็จประพาสพิษณุโลก ขึ้นรถไฟขบวนพิเศษจากเชียงใหม่ ลอดอุโมงค์ขุนตาล ถึงสถานีรถไฟลำปาง มีพิธีเวียนเทียน มหรสพสมโภช พราหมณ์กล่อมช้างลาไพร วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ออกเดินทางจากนครลำปาง ไปถึงสถานีเด่นชัย แพร่ มีพิธีเวียนเทียนและมหรสพสมโภช ออกเดินทางจากแพร่ถึงพิษณุโลก สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์ ทรงรอรับที่สถานีรถไฟ มีพิธีเวียนเทียนและมหรสพสมโภชเช่นเดียวกัน วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ขบวนช้างสำคัญถึงบางปะอินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทางรถไฟพระที่นั่งไปทอดพระเนตรช้างสำคัญ ณ พระราชวังบางปะอินเป็นการส่วนพระองค์  


''เวลา ๒.๐๐ ล.ท. (๑๔.๐๐ น.) ทรงรถยนตร์พระที่นั่งแต่พระที่นั่งอัมพร เสด็จสถานีหลวงจิตรลดา ทรงรถไฟพระทั่งเสด็จไปทอดพระเนตรช้างสำคัญ ณ พระราชวังบางปอินเป็นการไปรเวต เวลา ๔.๐๐ ล.ท. ถึงสถานีบางปะอิน เจ้านายข้าราชการที่มาในการรับช้างเฝ้า เสด็จทอดพระเนตร์ช้างสำคัญที่โรงพักช้างแล้ว เสด็จประทับเรือยนตร์ที่ท่าสถานีไปขึ้นท่าพระราชวังบางปอิน เสด็จประทับมุขพระที่นั่งวโรภาส ทอดพระเนตร์กระบวนแห่ช้างแล้ว เสด็จประทับ ณ โรงพิธีพราหมณ์ ทอดพระเนตรพราหมณ์พฤฒิบาศกระทำพระราชพิธี ธนญชัยบาศแล้วเสด็จทอดพระเนตรเจ้าพนักงานกรมช้างต้นกระทำพิธีรำพัดชาทอดเชือก ดามเชือกในโรงที่ตั้งบาศคุรุ พระคชบาล แล้วเสด็จโรงสมโภช ทรงฟังพราหมณ์คู่สวดอ่านกล่อมช้างลาไพร เวลา ๙.๐๐ ล.ท. เสด็จประทับเรือประพาสแสงจันทร์พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินี เสด็จกลับกรุงเทพฯ''<ref>บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. (บ.ก.). (๒๕๓๗). จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗.  กรุงเทพฯ :  คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและ จัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, หน้า ๓๒๒.</ref>  
''เวลา ๒.๐๐ ล.ท. (๑๔.๐๐ น.) ทรงรถยนตร์พระที่นั่งแต่พระที่นั่งอัมพร เสด็จสถานีหลวงจิตรลดา ทรงรถไฟพระทั่งเสด็จไปทอดพระเนตรช้างสำคัญ ณ พระราชวังบางปอินเป็นการไปรเวต เวลา ๔.๐๐ ล.ท. ถึงสถานีบางปะอิน เจ้านายข้าราชการที่มาในการรับช้างเฝ้า เสด็จทอดพระเนตร์ช้างสำคัญที่โรงพักช้างแล้ว เสด็จประทับเรือยนตร์ที่ท่าสถานีไปขึ้นท่าพระราชวังบางปอิน เสด็จประทับมุขพระที่นั่งวโรภาส ทอดพระเนตร์กระบวนแห่ช้างแล้ว เสด็จประทับ ณ โรงพิธีพราหมณ์ ทอดพระเนตรพราหมณ์พฤฒิบาศกระทำพระราชพิธี ธนญชัยบาศแล้วเสด็จทอดพระเนตรเจ้าพนักงานกรมช้างต้นกระทำพิธีรำพัดชาทอดเชือก ดามเชือกในโรงที่ตั้งบาศคุรุ พระคชบาล แล้วเสด็จโรงสมโภช ทรงฟังพราหมณ์คู่สวดอ่านกล่อมช้างลาไพร เวลา ๙.๐๐ ล.ท. เสด็จประทับเรือประพาสแสงจันทร์พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินี เสด็จกลับกรุงเทพฯ''<ref>บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. (บ.ก.). (๒๕๓๗). จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗.  กรุงเทพฯ :  คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและ จัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, หน้า ๓๒๒.</ref>


&nbsp;


== การสมโภชช้างที่กรุงเทพฯ ==
== การสมโภชช้างที่กรุงเทพฯ ==


หลังจากพิธีสมโภชที่บางปะอินแล้ว วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๐ เป็นวันที่ช้างสำคัญถึงพระนคร โปรดเกล้าฯ ให้ตกแต่งซ่อมแซมโรงช้างถาวรเดิมที่พระราชวังดุสิตให้เป็นโรงสมโภชและปลูกโรงมหรสพที่สนามหญ้าหน้า[[พระที่นั่งอภิเษกดุสิต]] มีพิธีสมโภชตามโบราณราชประเพณี มีละครรำของเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ ระบำพายัพของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี โขนนั่งราวของหลวง การแสดงเพลงเทพทองของมณฑลอยุธยา การฉายภาพยนตร์ไทย มหรสพกลางคืนในพิธีสมโภช มีการแสดงรำโคม มังกรไฟคู่ ๑ สิงโตไฟคู่ ๑  
หลังจากพิธีสมโภชที่บางปะอินแล้ว วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๐ เป็นวันที่ช้างสำคัญถึงพระนคร โปรดเกล้าฯ ให้ตกแต่งซ่อมแซมโรงช้างถาวรเดิมที่พระราชวังดุสิตให้เป็นโรงสมโภชและปลูกโรงมหรสพที่สนามหญ้าหน้าพระที่นั่งอภิเษกดุสิต มีพิธีสมโภชตามโบราณราชประเพณี มีละครรำของเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ ระบำพายัพของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี โขนนั่งราวของหลวง การแสดงเพลงเทพทองของมณฑลอยุธยา การฉายภาพยนตร์ไทย มหรสพกลางคืนในพิธีสมโภช มีการแสดงรำโคม มังกรไฟคู่ ๑ สิงโตไฟคู่ ๑


วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำพระมหาสังข์ และพระยานิวัทธอิศรวงศ์ กรมพระอาลักษณ์ เชิญพานทองรองท่อนอ้อยแดง 3 ท่อน จารึกนามช้างสำคัญว่า
วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำพระมหาสังข์ และพระยานิวัทธอิศรวงศ์ กรมพระอาลักษณ์ เชิญพานทองรองท่อนอ้อยแดง 3 ท่อน จารึกนามช้างสำคัญว่า


''พระเศวตคชเดชนดิลก ประชาธิปกปุมรัตนดำรี เทวอัคนีนิรุฒชุบเชิด กำเนิดนภีสีฉานเฉวียง ฉวีเยี่ยงบุษกรโกมล นขาขนขาวผ่องแผ้ว แก้วน้ำงึนงามลึก วันวณึกบรรณาการ คเชนทรยานยวชยิ่ง มิ่งมงคลฉนำเฉลิมฉัตร สัตตมกษัตรทรงศร อมรรัตนโกษินทร์ รบือรบินบารมีทศ ยืนพระยศธรรมราชัย นิรามัยมนุญคุณ บุณยศโลกเลิศฟ้า''<ref>บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. (บ.ก.). (๒๕๓๗). จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗.  กรุงเทพฯ :  คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและ จัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, หน้า ๓๓๐.</ref>  
''พระเศวตคชเดชนดิลก ประชาธิปกปุมรัตนดำรี เทวอัคนีนิรุฒชุบเชิด กำเนิดนภีสีฉานเฉวียง ฉวีเยี่ยงบุษกรโกมล นขาขนขาวผ่องแผ้ว แก้วน้ำงึนงามลึก วันวณึกบรรณาการ คเชนทรยานยวชยิ่ง มิ่งมงคลฉนำเฉลิมฉัตร สัตตมกษัตรทรงศร อมรรัตนโกษินทร์ รบือรบินบารมีทศ ยืนพระยศธรรมราชัย นิรามัยมนุญคุณ บุณยศโลกเลิศฟ้า''<ref>บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. (บ.ก.). (๒๕๓๗). จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗.  กรุงเทพฯ :  คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและ จัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, หน้า ๓๓๐.</ref>


ในพิธีสมโภช พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานขันทองคำ มีอักษรจารึก รองพานทองคำสำรับหนึ่งเป็นบำเหน์จแก่นายดี. เอฟ. แมคฟี ผู้จัดการบริษัทบอร์เนียวที่เชียงใหม่ ผู้ถวายช้าง และพระราชทานสัญญาบัตรแก่ผู้บริบาลช้าง ให้นายแดง นิลรัตตานนท์เป็นขุนคชเดชน์บริบาล ถือศักดินา ๔๐๐ นายอุ๋น นามคำ เป็นหมื่นคชสารบริรักษ์ ถือศักดินา ๓๐๐ หลวงศรีนัจวิไสย (ปุ้ย คชาชีวะ) เป็นพระราชวังเมืองสุริยชาติสมุห ตำแหน่งปลัดกรมช้างต้น ซึ่งโปรดให้ขึ้นไปกำกับช้างลงมาแต่เชียงใหม่มาถึงกรุงเทพฯ และพระราชทานนาฬิกาพกเรือนทอง มีอักษรจารึกเป็นบำเหน็จแก่สมุหเทศภิบาลมณฑลพายัพ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และเหรียญรัตนาภรณ์ พระราชทานเงินตราผ้าสำรับ แหนบทองคำลงยารูปช้างแต่งเครื่องคชาภรณ์ยืนแท่นเป็นชั้นที่ ๑-๒ แก่หมอควาญ ผู้บริบาลช้าง ผู้เกี่ยวข้อง
ในพิธีสมโภช พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานขันทองคำ มีอักษรจารึก รองพานทองคำสำรับหนึ่งเป็นบำเหน์จแก่นายดี. เอฟ. แมคฟี ผู้จัดการบริษัทบอร์เนียวที่เชียงใหม่ ผู้ถวายช้าง และพระราชทานสัญญาบัตรแก่ผู้บริบาลช้าง ให้นายแดง นิลรัตตานนท์เป็นขุนคชเดชน์บริบาล ถือศักดินา ๔๐๐ นายอุ๋น นามคำ เป็นหมื่นคชสารบริรักษ์ ถือศักดินา ๓๐๐ หลวงศรีนัจวิไสย (ปุ้ย คชาชีวะ) เป็นพระราชวังเมืองสุริยชาติสมุห ตำแหน่งปลัดกรมช้างต้น ซึ่งโปรดให้ขึ้นไปกำกับช้างลงมาแต่เชียงใหม่มาถึงกรุงเทพฯ และพระราชทานนาฬิกาพกเรือนทอง มีอักษรจารึกเป็นบำเหน็จแก่สมุหเทศภิบาลมณฑลพายัพ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และเหรียญรัตนาภรณ์ พระราชทานเงินตราผ้าสำรับ แหนบทองคำลงยารูปช้างแต่งเครื่องคชาภรณ์ยืนแท่นเป็นชั้นที่ ๑-๒ แก่หมอควาญ ผู้บริบาลช้าง ผู้เกี่ยวข้อง
พระเศวตคชเดชน์ดิลก ยืนโรงคู่กับพระเศวตวชิรพาห์ ช้างเผือกประจำรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]


พระเศวตคชเดชน์ดิลก ยืนโรงคู่กับพระเศวตวชิรพาห์ ช้างเผือกประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
&nbsp;


== ช้างคู่พระบารมี ==
== ช้างคู่พระบารมี ==


วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ พระเศวตคชเดชน์ดิลกไม่ยอมนอน ร้องครวญครางตลอดคืนโดยไม่ทราบสาเหตุ ต่อมาวันที่ ๒๔ มิถุนายน ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือนยุโรปและทรงสละราชสมบัติระหว่างประทับที่ประเทศอังกฤษ มิได้เสด็จฯ กลับประเทศไทยอีกเลยจนสวรรคต เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ พระเศวตคชเดชน์ดิลกซึ่งงางอกไขว้ขัดกัน ยกงวงติดค้างบนงาแล้วเอาลงไม่ได้ ร้องครวญครางอย่างเจ็บปวดนานหลายวันจนเจ้าหน้าที่ต้องเลื่อยตัดงาออก เป็นเวลาใกล้เคียงกับที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต ต่อมาวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๖ พระยาเศวตกุญชรคู่พระบารมีรัชกาลที่ ๗ ก็ล้ม(ตาย) ณ โรงช้าง พระราชวังดุสิต<ref> พูนพิศมัย ดิศกุล, หม่อมเจ้า. (2557). เศรษฐกิจตกต่ำและเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ  ใน  สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น (น. 42-73). กรุงเทพฯ: มติชน.</ref>
วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ พระเศวตคชเดชน์ดิลกไม่ยอมนอน ร้องครวญครางตลอดคืนโดยไม่ทราบสาเหตุ ต่อมาวันที่ ๒๔ มิถุนายน ก็เกิด[[การเปลี่ยนแปลงการปกครอง]] และต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือนยุโรปและทรงสละราชสมบัติระหว่างประทับที่ประเทศอังกฤษ มิได้เสด็จฯ กลับประเทศไทยอีกเลยจนสวรรคต เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ พระเศวตคชเดชน์ดิลกซึ่งงางอกไขว้ขัดกัน ยกงวงติดค้างบนงาแล้วเอาลงไม่ได้ ร้องครวญครางอย่างเจ็บปวดนานหลายวันจนเจ้าหน้าที่ต้องเลื่อยตัดงาออก เป็นเวลาใกล้เคียงกับที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต ต่อมาวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๖ พระยาเศวตกุญชรคู่พระบารมีรัชกาลที่ ๗ ก็ล้ม(ตาย) ณ โรงช้าง [[พระราชวังดุสิต]]<ref> พูนพิศมัย ดิศกุล, หม่อมเจ้า. (2557). เศรษฐกิจตกต่ำและเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ  ใน  สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น (น. 42-73). กรุงเทพฯ: มติชน.</ref>  
 


&nbsp;


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
<references/>


<references />


&nbsp;


== บรรณานุกรม ==
== บรรณานุกรม ==


จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและนครเชียงใหม่  
จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและนครเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๔๖๙ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๐. (๒๕๑๐) กรุงเทพฯ&nbsp;: กองการพิมพ์สลากกินแบ่งรัฐบาล.
พ.ศ. ๒๔๖๙ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๐. (๒๕๑๐) กรุงเทพฯ : กองการพิมพ์สลากกินแบ่งรัฐบาล.  
 
บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. (บ.ก.). (๒๕๓๗). จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗. กรุงเทพฯ&nbsp;: คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและ จัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.


บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. (บ.ก.). (๒๕๓๗). จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จ
พูนพิศมัย ดิศกุล, หม่อมเจ้า. (2557). เศรษฐกิจตกต่ำและเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ ใน สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น (น. 42-73). กรุงเทพฯ: มติชน.
พระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗.  กรุงเทพฯ : คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและ จัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.  


พูนพิศมัย ดิศกุล, หม่อมเจ้า. (2557). เศรษฐกิจตกต่ำและเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ  ใน  สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น (น. 42-73). กรุงเทพฯ: มติชน.
สายสุนีย์ สิงหทัศน์. (๒๕๔๗). ช้าง พาหนะทรงคู่องค์พระมหากษัตริย์. ความรู้คือประทีป , ๑, ๒๑-๒๕.


สายสุนีย์  สิงหทัศน์. (๒๕๔๗). ช้าง พาหนะทรงคู่องค์พระมหากษัตริย์.  ความรู้คือประทีป , ๑, ๒๑-๒๕.
[[หมวดหมู่:พระปกเกล้าศึกษา]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:50, 19 พฤษภาคม 2560

ผู้เรียบเรียง : รองศาสตราจารย์ ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล ศิริน โรจนสโรช

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.สนธิ เตชานันท์

 

คติโบราณที่เกี่ยวกับช้างเผือก

คนไทยสมัยก่อนมีความเชื่อเกี่ยวกับสัตว์ที่มีลักษณะเป็นมงคลและอัปมงคล เช่น ม้า แมว ส่วนช้าง เป็นสัตว์สำคัญคู่บ้านเมืองไทยมานาน คติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังทรงบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ ก็เคยเสวยพระชาติเป็นพญาช้างเผือก คนเอเชียอาคเนย์มีความเชื่อเรื่องช้าง ว่า ช้างเป็นสัตว์ประเสริฐ มีความหมายดี เช่น หมายถึงโชคลาภยศถาบรรดาศักดิ์ สมัยโบราณ ใช้ช้างในการทำสงคราม เพื่อป้องกัน รักษาเอกราช ส่วนช้างเผือกเป็นสัตว์มงคลที่เชิดชูพระเกียรติยศและพระบรมเดชานุภาพพระมหากษัตริย์ หากพบช้างเผือก ณ เมืองใด ถือว่าพระมหากษัตริย์พระองค์นั้นทรงบุญญาธิการ และถ้าพระมหากษัตริย์พระองค์ใด มีช้างเผือกมาสู่พระบารมีหลายช้าง ก็หมายถึงทรงได้รับการยกย่อง มีพระเกียรติยศปรากฏแผ่ไปทุกทิศ

คนส่วนมากเข้าใจว่าช้างเผือกต้องมีสีขาว หรือขาวผิดปกติ แต่ตามตำราพระคชลักษณ์ ช้างเผือกมีหลายสี ได้แก่ ขาว เหลือง เขียว แดง ดำ ม่วง เมฆ และต้องประกอบด้วยลักษณะอื่นๆ ได้แก่ ลักษณะที่เป็นมงคล ๗ ประการ คือ ตาสีขาว เพดานสีขาว เล็บสีขาว ผิวหนังสีขาว หรือสีหม้อใหม่ ขนขาว ขนหางยาว อัณฑโกสขาวหรือคล้ายสีหม้อใหม่ ลักษณะช้างเผือกแบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ ช้างเผือกเอก เรียกว่า สารเศวตร มีลักษณะถูกต้องสมบูรณ์ตามตำราคชลักษณ์ มีร่างใหญ่ ผิวขาวบริสุทธิ์ดุจสีสังข์ เป็นช้างมงคลคู่บ้านคู่เมือง ช้างเผือกโท เรียกว่า ปทุมหัตถี มีผิวสีชมพู คล้ายสีกลีบบัวโรย หรือบัวแห้ง เป็นช้างมงคลเหมาะแก่การทำสงคราม และช้างเผือกตรี เรียกว่า เศวตคชลักษณ์ สีผิวเหมือนใบตองอ่อนตากแห้ง

ตามคติความเชื่อในศาสนาพรหมณ์ซึ่งมีพระเป็นเจ้า คือ พระอิศวร พระพรหม และพระวิษณุหรือพระนารายณ์ ช้างเผือก กำเนิดจากการสร้างของพระเป็นเจ้าเหล่านี้ นอกจากนี้ยังมีเทพเจ้าอื่นๆ เช่น พระเพลิง หรือ อัคนี ในตำราคชลักษณ์ จึงมีช้าง ๔ ตระกูล และช้างทั้ง ๔ ตระกูลเหล่านี้ยังถูกแบ่งออกเป็นวรรณะ เช่นเดียวกับการแบ่งวรรณะของคนอินเดียด้วย คือ

๑. อิศวรพงศ์ เป็นช้างในตระกูลที่พระอิศวรหรือพระศิวะ ทรงสร้าง จัดเป็นช้างวรรณะกษัตริย์

๒. พรหมพงศ์ เป็นช้างในตระกูลที่พระพรหมทรงสร้าง จัดเป็นช้างวรรณะพราหมณ์

๓. วิษณุพงศ์ เป็นช้างในตระกูลที่พระวิษณุหรือพระนารายณ์ทรงสร้างจั้ดเป็นช้างวรรณะแพศย์

๔. อัคนิพงศ์ เป็นช้างในตระกูลที่พระอัคนิหรือพระเพลิงทรงสร้าง จัดเป็นช้างวรรณะศูทร

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีการตราพระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่าทางราชการ พุทธศักราช ๒๔๖๔ กำหนดให้ช้างป่าที่มีลักษณะพิเศษ เป็นของหลวง ๓ ชนิด คือ ช้างสำคัญ เป็นช้างลักษณะพิเศษ ๗ ประการ ตามลักษณะมงคลของช้างเผือกที่กล่าวมาแล้ว ช้างประหลาด คือช้างที่มีมงคลอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๗ อย่าง และช้างเนียม คือมีลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่ พื้นหนังดำ งารูปปลีกล้วย และเล็บดำ ผู้พบช้างดังกล่าว ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย

เมื่อพบช้างลักษณะที่กล่าวมานี้ หรือช้างที่เลี้ยงไว้ตกลูกออกมามีสีประหลาด ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทย เพื่อนำความกราบบังคมทูล และจะมีการตรวจพระคชลักษณ์โดยผู้เชี่ยวชาญ หากใช่ จึงมีพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวาง ณ เมืองที่พบ หรือนำมากรุงเพทฯ ในการนำมากรุงเทพฯ จะมีการสมโภช ณ เมืองที่ช้างผ่าน ก่อนการประกอบพิธีสมโภชขึ้นระวาง ก็ต้องมีพิธีจับเชิงช้าง เป็นการขอขมาลาโทษช้างสำคัญเพื่อประกอบพระราชพิธีสมโภช ช้างที่ผ่านพระราชพิธีสมโภชแล้ว มีเกียรติยศเท่ากับสมเด็จเจ้าฟ้า

 

ช้างเผือกประจำรัชกาลที่ ๗

พระเศวตคชเดชน์ดิลก เป็นช้างเผือกประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดที่ปางไม้ในเขตสัมปทานของบริษัทบอร์เนียว ตำบลแม่ยางมิ้ม อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ เป็นลูกช้างที่มีลักษณะพิเศษ คือ ผิวกายมีสีเหมือนดอกบัวโรย ขนตามตัวและศีรษะเป็นสีแดงปลายขาว ตาสีฟ้าอ่อน เพดานขาว เล็บขาว ขนที่หูขาว ขนหางแดงแก่ปลายขาว อัณฑโกสขาว นายดี. เอฟ. แมคฟี ผู้จัดการป่าไม้บริษัทบอร์เนียวจึงส่งโทรเลขมากราบบังคมทูลให้ทรงทราบ เมื่อตรวจสอบแล้วทราบว่าเป็นพระยาเศวตกุญชร(ช้างเผือก) ตระกูลอัคนิพงศ์ พระคชลักษณ์นามปทุมหัตถี เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงนครเชียงใหม่และเจ้าหน้าที่บริษัทบอร์เนียว รวมทั้งราษฎร จึงน้อมเกล้าฯถวายเป็นช้างคู่พระบารมี ลักษณะเหล่านี้ปรากฏชัดมากขึ้น ประกอบกับลูกช้างมีนิสัยรักความสะอาด ช่างเล่น และมีมารยาทนุ่มนวลต่างจากจริตกิริยาของช้างธรรมดา จึงเป็นที่รักของเจ้าหน้าที่บริษัทบอร์เนียวและเด็ก ๆ

 

เสด็จฯ ทอดพระเนตรและสมโภชช้างสำคัญที่เชียงใหม่

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรช้างสำคัญนี้เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินประพาสมณฑลพายัพและนครเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ ๖ มกราคม – ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙ (พ.ศ. ๒๔๗๐ นับตามปฎิทินปัจจุบัน) เสด็จฯ ไปทรงรับการน้อมเกล้าฯ ถวายช้างดังกล่าวในวาระนั้น ได้ทอดพระเนตรลูกช้างที่เชิงดอยสุเทพ วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙

วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีสมโภชช้างที่โรงช้างหน้าศาลากลางมณฑลพายัพ

 

โปรดให้จัดการสมโภชช้างพลายสำคัญซึ่งเกิดขึ้น ณ จังหวัดเชียงใหม่ พระยาราชานุกูล สมุหเทศาภิบาล มณฑลพายัพและเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนคร นำมิสเตอร์แมคฟี ผู้จัดการบริษัทบอเนียวที่เชียงใหม่เจ้าของถวาย เจ้าพนักงานฝ่ายมณฑลพายัพพร้อมด้วยเจ้าพนักงานกรมช้างต้นได้จัดกระบวนแห่นำช้างพลายสำคัญออกจากโรงเชิงดอยสุเทพสู่โรงในบริเวณหน้าศาลารัฐบาลมณฑลพายัพ เจ้าพนักงาน เจ้าพนักงานได้จัดเตรียมการพระราชพิธีไว้ในโรงช้าง ตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระชัยวัฒน์เงินหลังช้าง ตั้งพระเต้าปทุมนิมิตน้อยทองเงิน ตั้งอาสนสงฆ์ ทอดพระราชอาสน์และเก้าอี้เจ้านายและปรำตั้งเก้าอี้ข้าราชการ ที่พลับพลาทอดพระราชอาสน์และเก้าอี้เจ้านายข้าราชการ

เวลา ๔.๓๐ ล.ท. (หลังเที่ยง = ๑๖.๓๐ น.) เสด็จออกพลับพลาพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินี โปรดให้เดินกระบวนแห่ช้างพลายสำคัญเข้ายืนโรงแล้ว เสด็จพระราชดำเนินตามทางลาดพระบาทยังโรงช้างพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินี ทหารกองเกียรติยศกระทำวันทยาวุธ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทรงประเคนไตรย่ามแก่พระสงฆ์ที่จะสวดมนต์ออกไปครองผ้ากลับมานั่งที่แล้ว ทรงจุดเทียนเครื่องนมัสการพระสงฆ์ ๒๐ รูป มีพระเทพมุนีไปเปนประธานสวดมนต์จบ ทรงประเคนใบวัตถุปัจจัยไทยธรรม พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา พระราชาคณะถวายอติเรกทรงหลั่งน้ำพระพุทธมนต์และทรงสรวมพวงมาลัยพระราชทานช้างพลายสำคัญ โปรดให้พราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภชมีประโคม เมื่อครบ 3 รอบแล้ว พราหมณ์รวมแว่นดับเทียนจุรณเจิมเสร็จเสด็จขึ้น

เวลา ๙.๓๐ ล.ท. (๒๑.๓๐ น.) เสด็จออกประทับพลับพลาพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินี โปรดให้มีระบำซึ่งพระราชชายาจัดมาสนองพระเดชพระคุณ และมีการรำโคมเนื่องในการสมโภชช้างพลายสำคัญเสร็จเสด็จขึ้น [1]

 

ในเวลา ๒๑.๓๐ น. นั้น เสด็จฯ ออกประทับพลับพลาทอดพระเนตรระบำซึ่งพระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงจัดให้มีหลายชุด ได้แก่ ชุดฟ้อนเทียน ฟ้อนโปรยข้าวตอกดอกไม้ ชุดรำฝรั่งแต่งเป็นเจ้านายโบราณ หญิง ๑ ชาย ๑ ถวายช่อบุกเก (ดอกไม้) แด่พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี และชุดฟ้อนซอเพลงท่าต่าง ๆ รอบช้างและร้องเพลงถวายชัยมงคล และการแสดงระบำโคมโดยคณะกองลูกเสือโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยกับโรงเรียนปรินซ์รอยัล ท้าวสุนทรพจนกิจ (บุญมา) กวีล้านนาได้ประพันธ์คำซอถวายพระพรตามพระราชประสงค์ในพระราชชายาเจ้าดารารัศมีดังนี้

 

ทำนองซอเชียงใหม่

สรวมชีพข้าไท้ อภิวาทไหว้เหนือเกศี ดิลกรัฐนฤบดี แทบธุลีละอองพระบาทเจ้า พระเดชพระคุณพระปกเกศเกล้าฯ ไพร่ฟ้าอยู่ชุ่มสุขเย็นฯ

ทำนองซอยิ้น

สา น้อมเกล้า ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลฉลอง บทรัตน์ พระยุคลทอง ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทฯ บรมนาถพระปกเกศเกล้า กับพระแม่เจ้าบรมราชินี ทรงบุญฤทธิ์ พระบารมี เป็นที่ยินดี แก่ประชาชี ทุกคนน้อยใหญ่ฯ

จังหวัดเชียงใหม่ไพร่ฟ้าข้าเจ้า ทั้งหนุ่มทั้งเฒ่าทั่วทิศทั้งผอง ได้ปิงเปิ้งปะพระร่มโพธิ์ทอง เป็นฉัตรเรืองรองปกบังกั้งเกศฯ

พอรู้ข่าวสารจะเสด็จประเวศ อินทรทิพย์เทพก็โมทนาฯ หื้อสายเมฆะฟ้าฝนธารา ไหลหลั่งลงมาทั่วพื้นแผ่นหล้าฯ

ธัญญาหารพฤกษ์ข้าวกล้า ของปลูกลูกไม้ก็บริบูรณ์ เพราะเมื่อเจ้าฟ้ามหาตระกูล ท่านทรงบุญคุณมีเป็นเอนกฯ

อารักษ์เจนเมืองอันเรืองฤทธิ์เดช ทั้งไทเทเวศเจ้าก็แสร้งแบ่งปัน หื้อกุญชเรศร์ เศวตเรืองพรรณ เกิดมาเตื่อมตันสมภารพระบาทฯ

พระปรมินทรประชาธิปกโลกนาถ ปิยมหาราชหน่อพุทธังกูร ตันบ่ใช่เจื้อเจ้าต๋นทรงบุญ ฉัททันต์ตระกูลไป่ห่อนมาเกิดฯ

วันนี้หนาเป็นวันล้ำเลิศ เป็นวันประเสริฐฤกษ์งามยามดี จึงทำมังคละเบิกบายระวายษี ตามประเพณี สมโภชช้างแก้วฯ

ศรีสวัสดิ์พิพัฒน์ผ่องแผ้ว เชิญขวัญช้างจงรีบจรดล จงมาเป็นช้างที่นั่งมงคล โดยพระจอมพลเจ้าต๋นเลิศเลิศหล้าฯ

จงสุขสำราญแต่นี้ไปหน้า หื้อเจ้าอยู่ม่วนกินดี เป็นพาหนะ คู่พระบารมี เฉลิมเกียรตินฤบดีตลอดเต๊ากุ้มเฒ่าฯ "

จบด้วยทำนองเชียงแสน

ยอผนมบังคมก่ายเกล้า เท่านี้กราบทูลองค์ ขอหื้อทรงเดชฤทธิ์ทั่วด้าวแสนโขงไปหน้า ทรง คะนิงใด อย่าได้กาไกเนิ่นช้า หื้อจอมนรินทร์ปิ่นฟ้า อยู่เสวยราชย์ยืน เตอ.ฯ

 

การชลอช้างลงมาจากเชียงใหม่

ต่อมา ให้นำช้างสำคัญมายังพระนคร โดยทางรถไฟ ระหว่างทางจากนครเชียงใหม่ มีพิธีฉลองสมโภชตามจังหวัดต่างๆ เริ่มจากนครเชียงใหม่ มาตามลำดับ และแห่ช้างสำคัญกับแม่ช้างและวานรเผือกซึ่งมีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อครั้งเสด็จประพาสพิษณุโลก ขึ้นรถไฟขบวนพิเศษจากเชียงใหม่ ลอดอุโมงค์ขุนตาล ถึงสถานีรถไฟลำปาง มีพิธีเวียนเทียน มหรสพสมโภช พราหมณ์กล่อมช้างลาไพร วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ออกเดินทางจากนครลำปาง ไปถึงสถานีเด่นชัย แพร่ มีพิธีเวียนเทียนและมหรสพสมโภช ออกเดินทางจากแพร่ถึงพิษณุโลก สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์ ทรงรอรับที่สถานีรถไฟ มีพิธีเวียนเทียนและมหรสพสมโภชเช่นเดียวกัน วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ขบวนช้างสำคัญถึงบางปะอินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทางรถไฟพระที่นั่งไปทอดพระเนตรช้างสำคัญ ณ พระราชวังบางปะอินเป็นการส่วนพระองค์

เวลา ๒.๐๐ ล.ท. (๑๔.๐๐ น.) ทรงรถยนตร์พระที่นั่งแต่พระที่นั่งอัมพร เสด็จสถานีหลวงจิตรลดา ทรงรถไฟพระทั่งเสด็จไปทอดพระเนตรช้างสำคัญ ณ พระราชวังบางปอินเป็นการไปรเวต เวลา ๔.๐๐ ล.ท. ถึงสถานีบางปะอิน เจ้านายข้าราชการที่มาในการรับช้างเฝ้า เสด็จทอดพระเนตร์ช้างสำคัญที่โรงพักช้างแล้ว เสด็จประทับเรือยนตร์ที่ท่าสถานีไปขึ้นท่าพระราชวังบางปอิน เสด็จประทับมุขพระที่นั่งวโรภาส ทอดพระเนตร์กระบวนแห่ช้างแล้ว เสด็จประทับ ณ โรงพิธีพราหมณ์ ทอดพระเนตรพราหมณ์พฤฒิบาศกระทำพระราชพิธี ธนญชัยบาศแล้วเสด็จทอดพระเนตรเจ้าพนักงานกรมช้างต้นกระทำพิธีรำพัดชาทอดเชือก ดามเชือกในโรงที่ตั้งบาศคุรุ พระคชบาล แล้วเสด็จโรงสมโภช ทรงฟังพราหมณ์คู่สวดอ่านกล่อมช้างลาไพร เวลา ๙.๐๐ ล.ท. เสด็จประทับเรือประพาสแสงจันทร์พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินี เสด็จกลับกรุงเทพฯ[2]

 

การสมโภชช้างที่กรุงเทพฯ

หลังจากพิธีสมโภชที่บางปะอินแล้ว วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๐ เป็นวันที่ช้างสำคัญถึงพระนคร โปรดเกล้าฯ ให้ตกแต่งซ่อมแซมโรงช้างถาวรเดิมที่พระราชวังดุสิตให้เป็นโรงสมโภชและปลูกโรงมหรสพที่สนามหญ้าหน้าพระที่นั่งอภิเษกดุสิต มีพิธีสมโภชตามโบราณราชประเพณี มีละครรำของเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ ระบำพายัพของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี โขนนั่งราวของหลวง การแสดงเพลงเทพทองของมณฑลอยุธยา การฉายภาพยนตร์ไทย มหรสพกลางคืนในพิธีสมโภช มีการแสดงรำโคม มังกรไฟคู่ ๑ สิงโตไฟคู่ ๑

วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำพระมหาสังข์ และพระยานิวัทธอิศรวงศ์ กรมพระอาลักษณ์ เชิญพานทองรองท่อนอ้อยแดง 3 ท่อน จารึกนามช้างสำคัญว่า

พระเศวตคชเดชนดิลก ประชาธิปกปุมรัตนดำรี เทวอัคนีนิรุฒชุบเชิด กำเนิดนภีสีฉานเฉวียง ฉวีเยี่ยงบุษกรโกมล นขาขนขาวผ่องแผ้ว แก้วน้ำงึนงามลึก วันวณึกบรรณาการ คเชนทรยานยวชยิ่ง มิ่งมงคลฉนำเฉลิมฉัตร สัตตมกษัตรทรงศร อมรรัตนโกษินทร์ รบือรบินบารมีทศ ยืนพระยศธรรมราชัย นิรามัยมนุญคุณ บุณยศโลกเลิศฟ้า[3]

ในพิธีสมโภช พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานขันทองคำ มีอักษรจารึก รองพานทองคำสำรับหนึ่งเป็นบำเหน์จแก่นายดี. เอฟ. แมคฟี ผู้จัดการบริษัทบอร์เนียวที่เชียงใหม่ ผู้ถวายช้าง และพระราชทานสัญญาบัตรแก่ผู้บริบาลช้าง ให้นายแดง นิลรัตตานนท์เป็นขุนคชเดชน์บริบาล ถือศักดินา ๔๐๐ นายอุ๋น นามคำ เป็นหมื่นคชสารบริรักษ์ ถือศักดินา ๓๐๐ หลวงศรีนัจวิไสย (ปุ้ย คชาชีวะ) เป็นพระราชวังเมืองสุริยชาติสมุห ตำแหน่งปลัดกรมช้างต้น ซึ่งโปรดให้ขึ้นไปกำกับช้างลงมาแต่เชียงใหม่มาถึงกรุงเทพฯ และพระราชทานนาฬิกาพกเรือนทอง มีอักษรจารึกเป็นบำเหน็จแก่สมุหเทศภิบาลมณฑลพายัพ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และเหรียญรัตนาภรณ์ พระราชทานเงินตราผ้าสำรับ แหนบทองคำลงยารูปช้างแต่งเครื่องคชาภรณ์ยืนแท่นเป็นชั้นที่ ๑-๒ แก่หมอควาญ ผู้บริบาลช้าง ผู้เกี่ยวข้อง

พระเศวตคชเดชน์ดิลก ยืนโรงคู่กับพระเศวตวชิรพาห์ ช้างเผือกประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

ช้างคู่พระบารมี

วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ พระเศวตคชเดชน์ดิลกไม่ยอมนอน ร้องครวญครางตลอดคืนโดยไม่ทราบสาเหตุ ต่อมาวันที่ ๒๔ มิถุนายน ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือนยุโรปและทรงสละราชสมบัติระหว่างประทับที่ประเทศอังกฤษ มิได้เสด็จฯ กลับประเทศไทยอีกเลยจนสวรรคต เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ พระเศวตคชเดชน์ดิลกซึ่งงางอกไขว้ขัดกัน ยกงวงติดค้างบนงาแล้วเอาลงไม่ได้ ร้องครวญครางอย่างเจ็บปวดนานหลายวันจนเจ้าหน้าที่ต้องเลื่อยตัดงาออก เป็นเวลาใกล้เคียงกับที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต ต่อมาวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๖ พระยาเศวตกุญชรคู่พระบารมีรัชกาลที่ ๗ ก็ล้ม(ตาย) ณ โรงช้าง พระราชวังดุสิต[4]

 

อ้างอิง

  1. บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. (บ.ก.). (๒๕๓๗). จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและ จัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, หน้า ๒๑๔-๒๑๗.
  2. บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. (บ.ก.). (๒๕๓๗). จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและ จัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, หน้า ๓๒๒.
  3. บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. (บ.ก.). (๒๕๓๗). จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและ จัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, หน้า ๓๓๐.
  4. พูนพิศมัย ดิศกุล, หม่อมเจ้า. (2557). เศรษฐกิจตกต่ำและเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ ใน สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น (น. 42-73). กรุงเทพฯ: มติชน.

 

บรรณานุกรม

จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและนครเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๔๖๙ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๐. (๒๕๑๐) กรุงเทพฯ : กองการพิมพ์สลากกินแบ่งรัฐบาล.

บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. (บ.ก.). (๒๕๓๗). จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและ จัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.

พูนพิศมัย ดิศกุล, หม่อมเจ้า. (2557). เศรษฐกิจตกต่ำและเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ ใน สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น (น. 42-73). กรุงเทพฯ: มติชน.

สายสุนีย์ สิงหทัศน์. (๒๕๔๗). ช้าง พาหนะทรงคู่องค์พระมหากษัตริย์. ความรู้คือประทีป , ๑, ๒๑-๒๕.