ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สู่การปกครองในระบบรัฐสภา: สภากรรมการองคมนตรี"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''''ผู้เรียบเรียง :''' รองศาสตราจารย์ ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุ...'
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 2 คน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
'''''ผู้เรียบเรียง :''' รองศาสตราจารย์ ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล''


'''''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :''' รองศาสตราจารย์ ดร.สนธิ เตชานันท์''
'''''ผู้เรียบเรียง :''' รองศาสตราจารย์ .ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล''


'''''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :''' รองศาสตราจารย์ ดร.สนธิ เตชานันท์''


 


เนื่องจาก[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]มีพระราชประสงค์ที่จะปรับเปลี่ยนระบอบการปกครองสู่ระบอบ[[ประชาธิปไตย]]ในระบบ[[รัฐสภา]] ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะมีความเห็น อย่างน้อยทั้งจาก[[พระยากัลยาณไมตรี]]และจาก[[กรมพระดำรงราชานุภาพ]] ว่ายังไม่ถึงเวลาที่เหมาะสมที่จะให้มี[[รัฐสภา]]ไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตาม พระองค์ก็ยังทรงมีเข็มมุ่งต่อไปในทิศทางนั้น
เนื่องจาก[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]มีพระราชประสงค์ที่จะปรับเปลี่ยนระบอบการปกครองสู่ระบอบ[[ประชาธิปไตย|ประชาธิปไตย]]ในระบบ[[รัฐสภา|รัฐสภา]] ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะมีความเห็น อย่างน้อยทั้งจาก[[พระยากัลยาณไมตรี_(Dr._Francis_Bowes_Sayre)|พระยากัลยาณไมตรี]]และจาก[[กรมพระดำรงราชานุภาพ|กรมพระดำรงราชานุภาพ]] ว่ายังไม่ถึงเวลาที่เหมาะสมที่จะให้มี[[รัฐสภา|รัฐสภา]]ไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตาม พระองค์ก็ยังทรงมีเข็มมุ่งต่อไปในทิศทางนั้น


 


== คณะกรรมการจัดรูปแบบองคมนตรี ==
== คณะกรรมการจัดรูปแบบองคมนตรี ==


ดังนั้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ (ซึ่งในสมัยนั้นเป็นสิ้นปีปฏิทิน) พระองค์ได้ทรงแต่งตั้ง[[คณะกรรมการเพื่อจัดทำระเบียบองคมนตรี|คณะกรรมการเพื่อจัดทำระเบียบองคมนตรี]]ขึ้น โดยมี[[สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต|สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต]]ทรงเป็นประธาน มีหน้าที่จัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับการปรับระเบียบ[[องคมนตรี|องคมนตรี]] ซึ่งในเวลานั้นมีจำนวนถึง ๒๒๗ ท่าน ให้เหมาะสมแก่การที่จะได้ฝึกหัดวิธีการประชุมในแบบรัฐสภาเกี่ยวกับ[[การออกกฎหมาย|การออกกฎหมาย]]<ref>สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๒๑๐.</ref>
ดังนั้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ (ซึ่งในสมัยนั้นเป็นสิ้นปีปฏิทิน) พระองค์ได้ทรงแต่งตั้ง[[คณะกรรมการเพื่อจัดทำระเบียบองคมนตรี]]ขึ้น โดยมี[[สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต]]ทรงเป็นประธาน มีหน้าที่จัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับการปรับระเบียบ[[องคมนตรี]] ซึ่งในเวลานั้นมีจำนวนถึง ๒๒๗ ท่าน ให้เหมาะสมแก่การที่จะได้ฝึกหัดวิธีการประชุมในแบบรัฐสภาเกี่ยวกับ[[การออกกฎหมาย]]<ref>สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๒๑๐.</ref> 
คณะกรรมการจำนวน ๙ ท่านดังกล่าวได้พิจารณาจัดระเบียบองคมนตรีใหม่สำเร็จลงในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ด้วยการประชุมเพียง ๕ ครั้งเท่านั้น จากการศึกษารายงานการประชุม<ref>สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๒๑๖-๒๗๓.</ref>  มีข้อมูลบางประการซึ่งเห็นว่าน่าสนใจเป็นพิเศษดังนี้
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ฯ รับสั่งในช่วงที่ทรงเปิดประชุมเท้าความถึงที่มาจากอดีตในรัชกาลที่ ๕ และที่ ๖ ขององคมนตรี แล้วรับสั่งว่า '''“ทรงทราบแน่ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชหฤทัย liberal อย่างเอก”''' ซึ่งจากที่รับสั่งต่อไป คำว่า '''“liberal”''' นี้หมายความว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชหฤทัยกว้าง รับฟังความเห็นทั้งของส่วนใหญ่และส่วนน้อย และทรงมีแนวคิดเสรีนิยมพอที่จะทรงปรับรูปการปกครองให้ดีเหมาะแก่กาล ซึ่งต่อไปสยาม '''“ยิ่งจะมีคนที่ได้ศึกษามีความรู้มากขึ้น จะต้องคิดการไว้เตรียมรับ emancipationซึ่งจะเกิดขึ้นโดยลำดับ”'''    <ref>สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๒๑๘.</ref>  โดยคำว่า '''“emancipation”''' หมายถึงการปลดเปลื้องให้เป็นอิสระเสรี ภารกิจของคณะกรรมการก็คือการพิจารณาว่าจะเลิกองคมนตรีเสียทั้งหมด หรือจะเลือกบางคนขึ้นเป็นสภากรรมการเพื่อทดลองทำหน้าที่เชิง[[นิติบัญญัติ]]<ref>สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๒๒๐.</ref>  


คณะกรรมการจำนวน ๙ ท่านดังกล่าวได้พิจารณาจัดระเบียบองคมนตรีใหม่สำเร็จลงในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ด้วยการประชุมเพียง ๕ ครั้งเท่านั้น จากการศึกษารายงานการประชุม<ref>สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๒๑๖-๒๗๓.</ref> มีข้อมูลบางประการซึ่งเห็นว่าน่าสนใจเป็นพิเศษดังนี้
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ฯ รับสั่งในช่วงที่ทรงเปิดประชุมเท้าความถึงที่มาจากอดีตในรัชกาลที่ ๕ และที่ ๖ ขององคมนตรี แล้วรับสั่งว่า '''“ทรงทราบแน่ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชหฤทัย liberal อย่างเอก”''' ซึ่งจากที่รับสั่งต่อไป คำว่า '''“liberal”''' นี้หมายความว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชหฤทัยกว้าง รับฟังความเห็นทั้งของส่วนใหญ่และส่วนน้อย และทรงมีแนวคิดเสรีนิยมพอที่จะทรงปรับรูปการปกครองให้ดีเหมาะแก่กาล ซึ่งต่อไปสยาม '''“ยิ่งจะมีคนที่ได้ศึกษามีความรู้มากขึ้น จะต้องคิดการไว้เตรียมรับ emancipationซึ่งจะเกิดขึ้นโดยลำดับ”''' <ref>สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๒๑๘.</ref> โดยคำว่า '''“emancipation”''' หมายถึงการปลดเปลื้องให้เป็นอิสระเสรี ภารกิจของคณะกรรมการก็คือการพิจารณาว่าจะเลิกองคมนตรีเสียทั้งหมด หรือจะเลือกบางคนขึ้นเป็นสภากรรมการเพื่อทดลองทำหน้าที่เชิง[[นิติบัญญัติ|นิติบัญญัติ]]<ref>สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๒๒๐.</ref>
&nbsp;


== สภากรรมการองคมนตรีจะมีขอบเขตอำนาจเช่นไร? ==
== สภากรรมการองคมนตรีจะมีขอบเขตอำนาจเช่นไร? ==


ที่ประชุมได้อภิปรายกันก่อนถึงข้อดีและข้อเสียของทั้งระบอบประชาธิปไตยและระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ [[พระวรวงศ์เธอ_พระองค์เจ้าธานีนิวัต|พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต]] (กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากรในรัชกาลที่ ๙) ผู้ทรงได้รับปริญญาตรีสาขาตะวันออกศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ทรงแสดงพระทัศนะว่า '''“ชาวตะวันออกน่าจะเหมาะแก่การปกครองเป็น patriarchal ไม่น่าเชื่อว่าการปกครองจะมาจากส่วนล่างขึ้นไปส่วนสูง”'''<ref>สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๒๒๑.</ref> โดย patriarchal แปลได้ว่าการปกครองฉันพ่อกับลูก
ที่ประชุมได้อภิปรายกันก่อนถึงข้อดีและข้อเสียของทั้งระบอบประชาธิปไตยและระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ [[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต]] (กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากรในรัชกาลที่ ๙) ผู้ทรงได้รับปริญญาตรีสาขาตะวันออกศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ทรงแสดงพระทัศนะว่า '''“ชาวตะวันออกน่าจะเหมาะแก่การปกครองเป็น patriarchal ไม่น่าเชื่อว่าการปกครองจะมาจากส่วนล่างขึ้นไปส่วนสูง”'''<ref>สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๒๒๑.</ref>   โดย patriarchal แปลได้ว่าการปกครองฉันพ่อกับลูก
 
ที่ประชุมได้พิจารณาประเด็นที่ว่า[[สภากรรมการองคมนตรี|สภากรรมการองคมนตรี]]ซึ่งจะตั้งขึ้นโดยการคัดองคมนตรีจำนวนหนึ่งมาเป็นกรรมการนั้น ควรจะมีหน้าที่เป็นองค์กร consultative หรือองค์กร advisory ส่วนหน้าที่เชิงในการออกกฎหมายนั้นยังคงมีอุปสรรคอยู่บ้างเนื่องด้วย กระบวนการจัดทำประมวลกฎหมายเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของต่างประเทศตามสนธิสัญญาที่ปรับฐานะให้สยามมีความเสมอภาคกับชาติอื่นๆ ยังดำเนินการไม่เสร็จ
ที่ประชุมได้พิจารณาประเด็นที่ว่า[[สภากรรมการองคมนตรี]]ซึ่งจะตั้งขึ้นโดยการคัดองคมนตรีจำนวนหนึ่งมาเป็นกรรมการนั้น ควรจะมีหน้าที่เป็นองค์กร consultative หรือองค์กร advisory ส่วนหน้าที่เชิงในการออกกฎหมายนั้นยังคงมีอุปสรรคอยู่บ้างเนื่องด้วย กระบวนการจัดทำประมวลกฎหมายเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของต่างประเทศตามสนธิสัญญาที่ปรับฐานะให้สยามมีความเสมอภาคกับชาติอื่นๆ ยังดำเนินการไม่เสร็จ
 
หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากรทรงชี้ว่าแบบ consultative ย่อมหมายถึงการที่สภาดังกล่าวจะถวายคำแนะนำได้ก็ต่อเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงขอเท่านั้น และจึงจะไม่เป็น[[องค์กรยับยั้งการใช้พระราชอำนาจ|องค์กรยับยั้งการใช้พระราชอำนาจ]]ในทางที่ผิด ส่วนแบบ advisory นั้นหมายถึงว่าสภาดังกล่าวสามารถประชุมกันเองได้ในเรื่องใดก็ตามที่เห็นสมควร ดังนั้นเพื่อความชัดเจน องค์ประธานจึงได้นำความกราบบังคมทูลเรียน (ถามถึง) พระราชปฎิบัติซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน[[พระราชบันทึก_“Democracy_in_Siam”]] (ประชาธิปไตยในสยาม) ทรงตอบลงมาสู่ที่ประชุมคณะกรรมการในวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ซึ่งเป็นการประชุมนัดสุดท้าย
หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากรทรงชี้ว่าแบบ consultative ย่อมหมายถึงการที่สภาดังกล่าวจะถวายคำแนะนำได้ก็ต่อเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงขอเท่านั้น และจึงจะไม่เป็น[[องค์กรยับยั้งการใช้พระราชอำนาจ]]ในทางที่ผิด ส่วนแบบ advisory นั้นหมายถึงว่าสภาดังกล่าวสามารถประชุมกันเองได้ในเรื่องใดก็ตามที่เห็นสมควร ดังนั้นเพื่อความชัดเจน องค์ประธานจึงได้นำความกราบบังคมทูลเรียน (ถามถึง) พระราชปฎิบัติซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน[[พระราชบันทึก “Democracy in Siam”]] (ประชาธิปไตยในสยาม) ทรงตอบลงมาสู่ที่ประชุมคณะกรรมการในวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ซึ่งเป็นการประชุมนัดสุดท้าย


&nbsp;


== พระราชบันทึก “Democracy in Siam” ==
== พระราชบันทึก “Democracy in Siam” ==


ในปัจจุบัน ชะรอยจะเป็นเพราะชื่อที่เกี่ยวกับประชาธิปไตย มีผู้นำบางตอนของพระราชบันทึกนี้ไปเผยแพร่หรือใช้ในการวิเคราะห์ โดยไม่ได้คำนึงถึงบริบทว่าเป็นการทรงตอบคำกราบบังคมทูลเรียนพระราชปฏิบัติของคณะกรรมการจัดทำระเบียบองคมนตรี การตีความข้อความในพระราชบันทึกโดยไม่ได้ศึกษาบันทึกการประชุมคณะกรรมการฯ ดังกล่าว (ซึ่งได้ทูลเกล้าฯ ถวายไปด้วย) จึงมีโอกาสที่จะเกิดความคลาดเคลื่อนในการตีความได้ไม่น้อย
ในปัจจุบัน ชะรอยจะเป็นเพราะชื่อที่เกี่ยวกับประชาธิปไตย มีผู้นำบางตอนของพระราชบันทึกนี้ไปเผยแพร่หรือใช้ในการวิเคราะห์ โดยไม่ได้คำนึงถึงบริบทว่าเป็นการทรงตอบคำกราบบังคมทูลเรียนพระราชปฏิบัติของคณะกรรมการจัดทำระเบียบองคมนตรี การตีความข้อความในพระราชบันทึกโดยไม่ได้ศึกษาบันทึกการประชุมคณะกรรมการฯ ดังกล่าว (ซึ่งได้ทูลเกล้าฯ ถวายไปด้วย) จึงมีโอกาสที่จะเกิดความคลาดเคลื่อนในการตีความได้ไม่น้อย
แต่หากอ่านพระราชบันทึกในบริบทดังกล่าว ย่อมจะให้เห็นว่าบางส่วนของพระราชบันทึกเป็นการทรงตอบโต้กับความเห็นบางอย่างของกรรมการบางท่าน และได้ทรงถือโอกาสนั้นทรงอรรถาธิบายถึงแนวทางพระราชดำริที่ทรงมีอยู่ในขณะนั้น เกี่ยวกับการขับเคลื่อนการปฎิรูปการปกครองทั้งในส่วนของการที่จะให้มี[[รัฐสภา]]และการที่จะให้มี[[สภาเทศบาล]]ในระดับท้องถิ่นเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เรียนรู้วิถี[[การปกครองตนเอง]]จากการปฎิบัติจริงในระดับนั้น ก่อนที่จะได้มีสิทธิเสียงใน[[การเลือกตั้ง]]บุคคลเข้าสู่รัฐสภาในระดับชาติ จากนั้นจึงทรงตอบคำกราบบังคมทูลเรียนพระราชปฎิบัติเกี่ยวกับเรื่องที่ว่าสภากรรมการองคมนตรีที่จะจัดตั้งขึ้นนั้น จะเป็นแบบ consultative หรือแบบ advisory
พระราชบันทึกฉบับนี้จึงนับเป็นเอกสารสำคัญอีกฉบับหนึ่งซึ่งมีความสืบเนื่อง และมีวิวัฒนาการมาจาก[[พระราชบันทึก “Problems of Siam”]] ซึ่งทรงมีไปพระราชทาน[[พระยากัลยาณไมตรี]]เมื่อประมาณหนึ่งปีก่อนหน้า อีกทั้งเป็นพระราชบันทึกที่แสดงว่าทรงเปิดพระทัยให้เข้าใจสิ่งที่มีผู้เรียกว่า [[“แผนพัฒนาการเมือง”]] ของพระองค์      <ref>สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.</ref>  ตลอดจนเหตุผลของพระองค์ในการนั้นไว้อย่างชัดเจนทีเดียว


แต่หากอ่านพระราชบันทึกในบริบทดังกล่าว ย่อมจะให้เห็นว่าบางส่วนของพระราชบันทึกเป็นการทรงตอบโต้กับความเห็นบางอย่างของกรรมการบางท่าน และได้ทรงถือโอกาสนั้นทรงอรรถาธิบายถึงแนวทางพระราชดำริที่ทรงมีอยู่ในขณะนั้น เกี่ยวกับการขับเคลื่อนการปฎิรูปการปกครองทั้งในส่วนของการที่จะให้มี[[รัฐสภา|รัฐสภา]]และการที่จะให้มี[[สภาเทศบาล|สภาเทศบาล]]ในระดับท้องถิ่นเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เรียนรู้วิถี[[การปกครองตนเอง|การปกครองตนเอง]]จากการปฎิบัติจริงในระดับนั้น ก่อนที่จะได้มีสิทธิเสียงใน[[การเลือกตั้ง|การเลือกตั้ง]]บุคคลเข้าสู่รัฐสภาในระดับชาติ จากนั้นจึงทรงตอบคำกราบบังคมทูลเรียนพระราชปฎิบัติเกี่ยวกับเรื่องที่ว่าสภากรรมการองคมนตรีที่จะจัดตั้งขึ้นนั้น จะเป็นแบบ consultative หรือแบบ advisory
พระราชบันทึกฉบับนี้จึงนับเป็นเอกสารสำคัญอีกฉบับหนึ่งซึ่งมีความสืบเนื่อง และมีวิวัฒนาการมาจาก[[พระราชบันทึก_“Problems_of_Siam”|พระราชบันทึก “Problems of Siam”]] ซึ่งทรงมีไปพระราชทานพระยากัลยาณไมตรีเมื่อประมาณหนึ่งปีก่อนหน้า อีกทั้งเป็นพระราชบันทึกที่แสดงว่าทรงเปิดพระทัยให้เข้าใจสิ่งที่มีผู้เรียกว่า [[“แผนพัฒนาการเมือง”|“แผนพัฒนาการเมือง”]] ของพระองค์ <ref>สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.</ref> ตลอดจนเหตุผลของพระองค์ในการนั้นไว้อย่างชัดเจนทีเดียว
&nbsp;


== พระราชประสงค์เกี่ยวกับสภากรรมการองคมนตรี ==
== พระราชประสงค์เกี่ยวกับสภากรรมการองคมนตรี ==


ตามพระราชบันทึกฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถือว่าการปรับองค์กร[[สภาองคมนตรี|สภาองคมนตรี]]ครั้งนี้เป็นก้าวแรกของการทำ “แผน” ของพระองค์สู่การปฏิบัติ แต่ก็ยังคงกล่าวไม่ได้ว่าสภากรรมการฯ จะเป็นองค์กรสะท้อนความเห็นของสาธารณชนทั่วไปอย่างแท้จริง แต่ก็คงพอได้บ้าง พระราชประสงค์ในชั้นนี้คือ
ตามพระราชบันทึกฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถือว่าการปรับองค์กร[[สภาองคมนตรี]]ครั้งนี้เป็นก้าวแรกของการทำ “แผน” ของพระองค์สู่การปฏิบัติ แต่ก็ยังคงกล่าวไม่ได้ว่าสภากรรมการฯ จะเป็นองค์กรสะท้อนความเห็นของสาธารณชนทั่วไปอย่างแท้จริง แต่ก็คงพอได้บ้าง พระราชประสงค์ในชั้นนี้คือ
 
๑. เป็นหนทางของการทดลองและเรียนรู้วิธี [[การอภิปราย|การอภิปราย]]แบบรัฐสภา
 
๒. เป็นอิทธิพลเหนี่ยวรั้งการใช้อำนาจในทางที่ผิด<ref>ปกเกล้า, พระบาทสมเด็จพระ. ๒๔๗๐. Democracy in Siam. ในสนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตาม แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๒๖๘.</ref> สำหรับประเด็นที่ว่าสภากรรมการฯ มีลักษณะเป็นองค์กร consultative หรือ advisory นั้น ทรงแนะนำว่าหากกรรมการองคมนตรี ๑๕ คน (ในจำนวน ๔๐ คน) เข้าชื่อกันขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตที่จะ[[เปิดอภิปราย|เปิดอภิปราย]]ในสภาฯ ในเรื่องราวหนึ่งใดที่เห็นว่ามีความสำคัญต่อสวัสดิภาพของประเทศและประชาชนโดยรวม ก็ให้นายกสภากรรมการฯ กราบบังคมทูลฯขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ทั้งนี้ทรงต่อไปว่า เป็นที่เข้าใจกันว่าพระมหากษัตริย์จะพระราชทานหรือไม่ ย่อมเป็นไปตาม[[พระบรมราชวินิจฉัย|พระบรมราชวินิจฉัย]] เช่นนี้จะดีกว่าที่จะให้สภากรรมการฯ ซึ่งไม่ได้เป็นสภาจากการเลือกตั้งมีสิทธิอภิปรายเรื่องใดก็ได้ เชื่อว่าน่าจะเพียงพอแก่การป้องปรามมิให้ผู้มีอำนาจกระทำการตามอำเภอใจหรือขัดต่อผลประโยชน์ของรัฐประเทศ ผู้ใดก็ตามที่อยู่ในอำนาจย่อมจะยั้งคิดก่อนที่จะปฏิเสธคำขอเช่นที่ว่าหากเขาไม่มีเหตุผลที่ดี '''“แต่ถ้ามีผู้ใดที่ไร้ความยั้งคิด ก็ไม่มีสถาบันใดที่จะสามารถป้องกันมิให้เขาทำสิ่งที่เลวได้ แม้แต่รัฐสภา (ก็ทำไม่ได้) ดังกรณีของพระเจ้าชาร์ลสที่ ๑ (Charles I ของ อังกฤษ) และเมื่อนั้นสิ่งเดียวที่ต้องทำก็คือตัดหัวเขาทิ้งเสีย!”''' <ref>ปกเกล้า, พระบาทสมเด็จพระ. ๒๔๗๐. Democracy in Siam. ในสนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตาม แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๒๖๘.</ref>
 
เมื่อได้รับทราบพระราชบันทึกนี้แล้ว คณะกรรมการฯ ได้อภิปรายกันในประเด็นนี้อีกอย่างกว้างขวาง และได้ลงมติในเสียงข้างมาก ๖ ต่อ ๒ ที่จะแก้ไขร่าง[[พระราชบัญญัติ|พระราชบัญญัติ]]ที่ได้ร่างขึ้นแล้วตามคำทรงแนะนำโดยนัย แต่ได้ลดจำนวนสมาชิกสภากรรมการองคมนตรีซึ่งจะต้องเข้าชื่อกันให้เหลือเพียง ๕ ท่าน จากจำนวนที่ทรงแนะนำคือ ๑๕ ใน ๔๐ ท่าน<ref> สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า ๒๗๓.</ref> แสดงว่าคณะกรรมการฯ มีความโน้มเอียงไปในทางรูปแบบ advisory และต่อมาเมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ได้ประกาศใช้[[พระราชบัญญัติองคมนตรีพุทธศักราช_๒๔๗๐|พระราชบัญญัติองคมนตรีพุทธศักราช ๒๔๗๐]] <ref>สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๒๗๔-๒๗๘.</ref> โดยสภาฯ มีวาระคราวละ ๓ ปี
 
ใน[[การประชุมอภิรัฐมนตรีสภา|การประชุมอภิรัฐมนตรีสภา]]เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าสู่สภากรรมการองคมนตรี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชปรารภว่าควรเปิดให้ผู้ที่ไม่ได้เป็นข้าราชการเป็นกรรมการด้วย และควรหรือไม่ที่เจ้านายและข้าราชการประจำทั้งทหารและพลเรือนจะเป็นกรรมการ หากแต่ว่าในบรรดา ๔๐ ท่านซึ่ง[[อภิรัฐมนตรี|อภิรัฐมนตรี]]สภาคัดเลือกในที่สุด ปรากฎว่ามีเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทั้งที่ยังรับราชการอยู่และเกษียณอายุราชการแล้วอยู่ทั้งนั้น แต่ได้ยกเว้นไม่แต่งตั้งอภิรัฐมนตรีหรือเสนาบดี นับได้ว่าเป็นอีกครั้งหนึ่งซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอนุโลมตามเสียงส่วนใหญ่


. เป็นหนทางของการทดลองและเรียนรู้วิธี [[การอภิปราย]]แบบรัฐสภา
[[พระราชวงศ์เธอ_พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส_กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์|พระราชวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์]]ทรงได้รับเลือกตั้งจากสภาฯ นั้นเป็นสภานายก <ref>วัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. ๒๕๔๘. แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๗๔.</ref> พระราชวงศ์เธอพระองค์นี้ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ทรงมีความรู้ประเพณีทางสังคมและการปกครองของทั้งสยามและของยุโรปเป็นอย่างดี ดังที่ได้ทรงประพันธ์เผยแพร่อยู่เสมอในพระนามแฝง [[น.ม.ส.|น.ม.ส.]]


๒. เป็นอิทธิพลเหนี่ยวรั้งการใช้อำนาจในทางที่ผิด<ref>ปกเกล้า, พระบาทสมเด็จพระ. ๒๔๗๐. Democracy in Siam. ในสนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตาม แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๒๖๘.</ref>  สำหรับประเด็นที่ว่าสภากรรมการฯ มีลักษณะเป็นองค์กร consultative หรือ advisory นั้น ทรงแนะนำว่าหากกรรมการองคมนตรี ๑๕ คน (ในจำนวน ๔๐ คน) เข้าชื่อกันขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตที่จะ[[เปิดอภิปราย]]ในสภาฯ ในเรื่องราวหนึ่งใดที่เห็นว่ามีความสำคัญต่อสวัสดิภาพของประเทศและประชาชนโดยรวม ก็ให้นายกสภากรรมการฯ กราบบังคมทูลฯขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ทั้งนี้ทรงต่อไปว่า เป็นที่เข้าใจกันว่าพระมหากษัตริย์จะพระราชทานหรือไม่ ย่อมเป็นไปตาม[[พระบรมราชวินิจฉัย]] เช่นนี้จะดีกว่าที่จะให้สภากรรมการฯ ซึ่งไม่ได้เป็นสภาจากการเลือกตั้งมีสิทธิอภิปรายเรื่องใดก็ได้ เชื่อว่าน่าจะเพียงพอแก่การป้องปรามมิให้ผู้มีอำนาจกระทำการตามอำเภอใจหรือขัดต่อผลประโยชน์ของรัฐประเทศ ผู้ใดก็ตามที่อยู่ในอำนาจย่อมจะยั้งคิดก่อนที่จะปฏิเสธคำขอเช่นที่ว่าหากเขาไม่มีเหตุผลที่ดี '''“แต่ถ้ามีผู้ใดที่ไร้ความยั้งคิด ก็ไม่มีสถาบันใดที่จะสามารถป้องกันมิให้เขาทำสิ่งที่เลวได้ แม้แต่รัฐสภา (ก็ทำไม่ได้) ดังกรณีของพระเจ้าชาร์ลสที่ ๑ (Charles I ของ อังกฤษ) และเมื่อนั้นสิ่งเดียวที่ต้องทำก็คือตัดหัวเขาทิ้งเสีย!”'''   <ref>ปกเกล้า, พระบาทสมเด็จพระ. ๒๔๗๐. Democracy in Siam. ในสนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตาม แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๒๖๘.</ref>
ในพระราชดำรัส[[เปิดสมัยประชุมสภา|เปิดสมัยประชุมสภา]]กรรมการองคมนตรีครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ซึ่งราชเลขาธิการเป็น[[ผู้แทนพระองค์|ผู้แทนพระองค์]] พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชปรารภว่าได้ทรง '''“ดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ใช้การได้เหมาะตามสภาพบ้านเมืองที่มีอยู่ในเวลานี้ ถ้าหากถึงเวลาอันควรที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการปกครองประเทศต่อไปก็จะได้ทำได้โดยสะดวก” และทรงเน้นว่า “เราไม่ได้เลือกท่านมาเป็นผู้แทนคณะใดหรือเหล่าใดโดยเฉพาะ ท่านทั้งหลายจงออกความเห็นโดยระลึกถึงประโยชน์ส่วนรวมส่วนใหญ่ของแผ่นดิน และประชาชนชาวสยามโดยทั่วไปเป็นสำคัญ ... แม้มีสิ่งไรที่ท่านเห็นว่าจะยังความผาสุขให้บังเกิดขึ้นแก่ประชาชน ก็ให้ท่านถวายความเห็นได้ทุกเมื่อ เรายินดีที่จะฟังเสมอ”'''<ref>สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า ๒๘๐.</ref>
เมื่อได้รับทราบพระราชบันทึกนี้แล้ว คณะกรรมการฯ ได้อภิปรายกันในประเด็นนี้อีกอย่างกว้างขวาง และได้ลงมติในเสียงข้างมาก ๖ ต่อ ๒ ที่จะแก้ไขร่าง[[พระราชบัญญัติ]]ที่ได้ร่างขึ้นแล้วตามคำทรงแนะนำโดยนัย แต่ได้ลดจำนวนสมาชิกสภากรรมการองคมนตรีซึ่งจะต้องเข้าชื่อกันให้เหลือเพียง ๕ ท่าน จากจำนวนที่ทรงแนะนำคือ ๑๕ ใน ๔๐ ท่าน<ref> สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า ๒๗๓.</ref>  แสดงว่าคณะกรรมการฯ มีความโน้มเอียงไปในทางรูปแบบ advisory และต่อมาเมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ได้ประกาศใช้[[พระราชบัญญัติองคมนตรีพุทธศักราช ๒๔๗๐]]  <ref>สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๒๗๔-๒๗๘.</ref> โดยสภาฯ มีวาระคราวละ ๓ ปี
ใน[[การประชุมอภิรัฐมนตรีสภา]]เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าสู่สภากรรมการองคมนตรี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชปรารภว่าควรเปิดให้ผู้ที่ไม่ได้เป็นข้าราชการเป็นกรรมการด้วย และควรหรือไม่ที่เจ้านายและข้าราชการประจำทั้งทหารและพลเรือนจะเป็นกรรมการ หากแต่ว่าในบรรดา ๔๐ ท่านซึ่ง[[อภิรัฐมนตรี]]สภาคัดเลือกในที่สุด ปรากฎว่ามีเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทั้งที่ยังรับราชการอยู่และเกษียณอายุราชการแล้วอยู่ทั้งนั้น แต่ได้ยกเว้นไม่แต่งตั้งอภิรัฐมนตรีหรือเสนาบดี นับได้ว่าเป็นอีกครั้งหนึ่งซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอนุโลมตามเสียงส่วนใหญ่


[[พระราชวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์]]ทรงได้รับเลือกตั้งจากสภาฯ นั้นเป็นสภานายก  <ref>วัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. ๒๕๔๘. แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๗๔.</ref>  พระราชวงศ์เธอพระองค์นี้ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ทรงมีความรู้ประเพณีทางสังคมและการปกครองของทั้งสยามและของยุโรปเป็นอย่างดี ดังที่ได้ทรงประพันธ์เผยแพร่อยู่เสมอในพระนามแฝง [[น.ม.ส.]]
โดยทั่วไป หนังสือพิมพ์แสดงความยินดีกับการที่ได้มีองค์กรนี้ขึ้น โดยบางส่วนแสดงความคาดหวังว่าจะมีสภาราษฎรเต็มรูปแบบในภายหน้า<ref> Batson, Benjamin. 1984. The End of the Absolute Monarchy in Siam. Singapore: Oxford University Press, p. 137. </ref> <ref>วัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. ๒๕๔๘. แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์, หน้า ๗๔.</ref>
ในพระราชดำรัส[[เปิดสมัยประชุมสภา]]กรรมการองคมนตรีครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ซึ่งราชเลขาธิการเป็น[[ผู้แทนพระองค์]] พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชปรารภว่าได้ทรง '''“ดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ใช้การได้เหมาะตามสภาพบ้านเมืองที่มีอยู่ในเวลานี้ ถ้าหากถึงเวลาอันควรที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการปกครองประเทศต่อไปก็จะได้ทำได้โดยสะดวก” และทรงเน้นว่า “เราไม่ได้เลือกท่านมาเป็นผู้แทนคณะใดหรือเหล่าใดโดยเฉพาะ ท่านทั้งหลายจงออกความเห็นโดยระลึกถึงประโยชน์ส่วนรวมส่วนใหญ่ของแผ่นดิน และประชาชนชาวสยามโดยทั่วไปเป็นสำคัญ ... แม้มีสิ่งไรที่ท่านเห็นว่าจะยังความผาสุขให้บังเกิดขึ้นแก่ประชาชน ก็ให้ท่านถวายความเห็นได้ทุกเมื่อ เรายินดีที่จะฟังเสมอ”'''<ref>สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า ๒๘๐.</ref> 
โดยทั่วไป หนังสือพิมพ์แสดงความยินดีกับการที่ได้มีองค์กรนี้ขึ้น โดยบางส่วนแสดงความคาดหวังว่าจะมีสภาราษฎรเต็มรูปแบบในภายหน้า<ref> Batson, Benjamin. 1984. The End of the Absolute Monarchy in Siam. Singapore: Oxford University Press, p. 137. </ref> <ref>วัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. ๒๕๔๘. แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์, หน้า ๗๔.</ref>  


&nbsp;


== การแสดงบทบาทของสภากรรมการองคมนตรี ==
== การแสดงบทบาทของสภากรรมการองคมนตรี ==


ข้อมูลหลักฐานเท่าที่ยังมีอยู่ แสดงว่าระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ถึงเดือนกรกฎาคม ๒๔๗๓ สภาฯ นี้ประชุมกัน ๒๓ ครั้ง และน้อยครั้งลงเรื่อยๆ ผลงานที่สำคัญคือ การประชุมปรึกษาถวายความเห็นร่างพระราชบัญญัติและร่างประกาศที่พระราชทานลงมา ในประเภทแรกมีร่างพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว ซึ่งมีประเด็นว่าจะให้มีผัวเดียวเมียเดียวหรือไม่ และซึ่งประกาศใช้ในชื่อว่า[[พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฏหมายลักษณะผัวเมีย|พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฏหมายลักษณะผัวเมีย]] ร่างพระราชบัญญัติทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ซึ่งสภากรรมการองคมนตรีมีมติไม่เห็นชอบที่จะตราเป็นพระราชบัญญัติ เพราะจะมีผลเสียตรงที่เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่กระทำ[[การทุจริต|การทุจริต]]ต่อหน้าที่ราชการได้มากขึ้น และร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ๔ เป็นต้น
ข้อมูลหลักฐานเท่าที่ยังมีอยู่ แสดงว่าระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ถึงเดือนกรกฎาคม ๒๔๗๓ สภาฯ นี้ประชุมกัน ๒๓ ครั้ง และน้อยครั้งลงเรื่อยๆ ผลงานที่สำคัญคือ การประชุมปรึกษาถวายความเห็นร่างพระราชบัญญัติและร่างประกาศที่พระราชทานลงมา ในประเภทแรกมีร่างพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว ซึ่งมีประเด็นว่าจะให้มีผัวเดียวเมียเดียวหรือไม่ และซึ่งประกาศใช้ในชื่อว่า[[พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฏหมายลักษณะผัวเมีย]] ร่างพระราชบัญญัติทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ซึ่งสภากรรมการองคมนตรีมีมติไม่เห็นชอบที่จะตราเป็นพระราชบัญญัติ เพราะจะมีผลเสียตรงที่เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่กระทำ[[การทุจริต]]ต่อหน้าที่ราชการได้มากขึ้น และร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ๔ เป็นต้น
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ พร้อมด้วย[[อภิรัฐมนตรี]]ทรงสังเกตการณ์การประชุมเป็นบางครั้ง และเมื่อทรงได้รับรายงานการประชุมเรื่องประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ นั้นแล้ว ซึ่งมีกรรมการสภาร่วมการฯ ๒๗ ท่านจาก ๔๐ ท่านเข้าประชุม ทรงมีพระราชปรารภว่า''' “กรรมการยังไม่คุ้นกับข้อบังคับและวิธีการประชุมอย่างนี้...กรรมการออกจะไม่มาเป็นจำนวนมากพอใช้ และไม่ลงมติก็มาก เห็นจะเกี่ยวด้วยเป็นปัญหาที่เข้าใจยาก...”'''  <ref>วัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. ๒๕๔๘. แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์, หน้า ๗๔-๗๖.</ref>
ในประเด็นการเพิ่ม[[ความโปร่งใส]] อภิรัฐมนตรีสภาได้ประชุมกันพิจารณาว่าจะให้ผู้ที่ไม่ได้เป็นกรรมการเข้าสังเกตการณ์การประชุมสภากรรมการองคมนตรีได้หรือไม่ ในเรื่องนี้แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงเห็นดี แต่ที่ประชุมยังไม่เห็นชอบ จนกระทั่งเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๔ จึงได้อนุญาตให้องคมนตรีซึ่งมิได้เป็นกรรมการทำเช่นนั้นได้ แต่ยังไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าฟัง แต่มีการออกข่าวแถลงเจ้งเฉพาะมติ นักวิจัยรุ่นหลังจึงสรุปว่า สภากรรมการองคมนตรียังขาดความสนับสนุนจากอภิรัฐมนตรีสภา ซึ่งไม่เป็นไปตามพระราชประสงค์ อีกทั้งการที่กรรมการเข้าร่วมประชุมกันน้อยคน อาจเป็นเพราะมีหน้าที่ราชการอื่นมาก หรือไม่ก็รู้สึกว่าสภาฯ ไม่ค่อยมีอำนาจมากนัก  <ref>ชาญชัย รัตนวิบูลย์. ๒๕๔๘. บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๑๔๖- ๑๔๙.</ref>  เป็นที่น่าสังเกตว่ากรรมการสภาฯ มิได้ใช้สิทธิ์ตามมาตรา ๑๓ ที่เปิดโอกาสให้กรรมการเพียง ๕ คนขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเรียกประชุมในเรื่องราวที่ตนเองเห็นสำคัญได้แต่อย่างใด  <ref>วัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. ๒๕๔๘. แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์, หน้า ๗๖.</ref> 
เมื่อครบวาระ ๓ ปีของสภาฯ ชุดแรก กรรมการ ๒๗ ท่านจาก ๔๐ ท่านได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอีกครั้งตามรายนามซึ่งอภิรัฐมนตรีสภาเสนอ ทั้งๆ ที่กรมพระดำรงราชานุภาพทรงเสนอให้แต่งตั้งเข้าดำรงตำแหน่งใหม่ทั้งหมดเพื่อไม่ให้เสียกำลังใจ ทุกท่านเป็นข้าราชการประจำหรือเกษียณอายุ  <ref>ชาญชัย รัตนวิบูลย์. ๒๕๔๘. บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า ๑๔๓- ๑๔๔.</ref> 
เห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยอมตามมติ[[เสียงข้างมาก]]ของอภิรัฐมนตรีสภา แม้เมื่อต่างจากพระราชดำริของพระองค์เอง เสมือนว่าตั้งพระราชหฤทัยจะทรงวางพระองค์เป็นแบบอย่างของวิถีประชาธิปไตย หากแต่ว่าเป็นที่น่าเสียดายที่พระองค์มิได้ทรงเห็นควรที่จะทรงวางพระองค์ในฐานะประธานในที่ประชุม เป็นเฉกเช่น '''“นายกรัฐมนตรีที่มีความแข็งขัน”''' (strong prime minister) ซึ่งเป็นตัวอย่างอยู่ในระบอบประชาธิปไตยของอังกฤษ ด้วยการทรงนำและคุมร่องการประชุม หรือไม่ก็ทรงพยายามแล้วแต่ไม่ค่อยได้ผล


ในภาวการณ์เช่นนั้นสภากรรมการองคมนตรีจึงขาดโอกาสที่จะเป็นองค์กรนำร่องของรัฐสภาอย่างแท้จริง กระนั้นก็ตาม ประสบการณ์การเป็นกรรมการในสภากรรมการฯ นี้ ดูจะยังประโยชน์ไม่น้อยแก่กรรมการบางท่าน ซึ่งต่อมาหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีบทบาทเด่นใน[[สภาผู้แทนราษฎร]] เช่น [[พระยาเทพหัสดิน พระยาจินดาภิรมย์]] (ต่อมาเป็นเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ) [[พระยาราชวังสัน พระยามานวราชเสวี]] เป็นต้น<ref>วัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. ๒๕๔๘. แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์, หน้า ๗๕ , ๑๙๗.</ref>จึงต้องนับว่าการทดลองนั้นมิได้ไร้ประโยชน์เสียทีเดียว อีกทั้งข้อบังคับการประชุมสภากรรมการองคมนตรีได้ถูกนำมาใช้เป็น[[ข้อบังคับของสภาผู้แทนราษฎร]]ดังกล่าวไปพลางด้วย
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ พร้อมด้วย[[อภิรัฐมนตรี|อภิรัฐมนตรี]]ทรงสังเกตการณ์การประชุมเป็นบางครั้ง และเมื่อทรงได้รับรายงานการประชุมเรื่องประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ นั้นแล้ว ซึ่งมีกรรมการสภาร่วมการฯ ๒๗ ท่านจาก ๔๐ ท่านเข้าประชุม ทรงมีพระราชปรารภว่า'''“กรรมการยังไม่คุ้นกับข้อบังคับและวิธีการประชุมอย่างนี้...กรรมการออกจะไม่มาเป็นจำนวนมากพอใช้ และไม่ลงมติก็มาก เห็นจะเกี่ยวด้วยเป็นปัญหาที่เข้าใจยาก...”''' <ref>วัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. ๒๕๔๘. แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์, หน้า ๗๔-๗๖.</ref>
 
ในประเด็นการเพิ่ม[[ความโปร่งใส|ความโปร่งใส]] อภิรัฐมนตรีสภาได้ประชุมกันพิจารณาว่าจะให้ผู้ที่ไม่ได้เป็นกรรมการเข้าสังเกตการณ์การประชุมสภากรรมการองคมนตรีได้หรือไม่ ในเรื่องนี้แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงเห็นดี แต่ที่ประชุมยังไม่เห็นชอบ จนกระทั่งเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๔ จึงได้อนุญาตให้องคมนตรีซึ่งมิได้เป็นกรรมการทำเช่นนั้นได้ แต่ยังไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าฟัง แต่มีการออกข่าวแถลงเจ้งเฉพาะมติ นักวิจัยรุ่นหลังจึงสรุปว่า สภากรรมการองคมนตรียังขาดความสนับสนุนจากอภิรัฐมนตรีสภา ซึ่งไม่เป็นไปตามพระราชประสงค์ อีกทั้งการที่กรรมการเข้าร่วมประชุมกันน้อยคน อาจเป็นเพราะมีหน้าที่ราชการอื่นมาก หรือไม่ก็รู้สึกว่าสภาฯ ไม่ค่อยมีอำนาจมากนัก <ref>ชาญชัย รัตนวิบูลย์. ๒๕๔๘. บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๑๔๖- ๑๔๙.</ref> เป็นที่น่าสังเกตว่ากรรมการสภาฯ มิได้ใช้สิทธิ์ตามมาตรา ๑๓ ที่เปิดโอกาสให้กรรมการเพียง ๕ คนขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเรียกประชุมในเรื่องราวที่ตนเองเห็นสำคัญได้แต่อย่างใด <ref>วัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. ๒๕๔๘. แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์, หน้า ๗๖.</ref>
 
เมื่อครบวาระ ๓ ปีของสภาฯ ชุดแรก กรรมการ ๒๗ ท่านจาก ๔๐ ท่านได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอีกครั้งตามรายนามซึ่งอภิรัฐมนตรีสภาเสนอ ทั้งๆ ที่กรมพระดำรงราชานุภาพทรงเสนอให้แต่งตั้งเข้าดำรงตำแหน่งใหม่ทั้งหมดเพื่อไม่ให้เสียกำลังใจ ทุกท่านเป็นข้าราชการประจำหรือเกษียณอายุ <ref>ชาญชัย รัตนวิบูลย์. ๒๕๔๘. บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า ๑๔๓- ๑๔๔.</ref>
 
เห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยอมตามมติ[[เสียงข้างมาก|เสียงข้างมาก]]ของอภิรัฐมนตรีสภา แม้เมื่อต่างจากพระราชดำริของพระองค์เอง เสมือนว่าตั้งพระราชหฤทัยจะทรงวางพระองค์เป็นแบบอย่างของวิถีประชาธิปไตย หากแต่ว่าเป็นที่น่าเสียดายที่พระองค์มิได้ทรงเห็นควรที่จะทรงวางพระองค์ในฐานะประธานในที่ประชุม เป็นเฉกเช่น '''“นายกรัฐมนตรีที่มีความแข็งขัน”''' (strong prime minister) ซึ่งเป็นตัวอย่างอยู่ในระบอบประชาธิปไตยของอังกฤษ ด้วยการทรงนำและคุมร่องการประชุม หรือไม่ก็ทรงพยายามแล้วแต่ไม่ค่อยได้ผล
 
ในภาวการณ์เช่นนั้นสภากรรมการองคมนตรีจึงขาดโอกาสที่จะเป็นองค์กรนำร่องของรัฐสภาอย่างแท้จริง กระนั้นก็ตาม ประสบการณ์การเป็นกรรมการในสภากรรมการฯ นี้ ดูจะยังประโยชน์ไม่น้อยแก่กรรมการบางท่าน ซึ่งต่อมาหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีบทบาทเด่นใน[[สภาผู้แทนราษฎร|สภาผู้แทนราษฎร]] เช่น [[พระยาเทพหัสดิน_พระยาจินดาภิรมย์|พระยาเทพหัสดิน พระยาจินดาภิรมย์]] (ต่อมาเป็นเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ) [[พระยาราชวังสัน_พระยามานวราชเสวี|พระยาราชวังสัน พระยามานวราชเสวี]] เป็นต้น<ref>วัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. ๒๕๔๘. แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์, หน้า ๗๕ , ๑๙๗.</ref>จึงต้องนับว่าการทดลองนั้นมิได้ไร้ประโยชน์เสียทีเดียว อีกทั้งข้อบังคับการประชุมสภากรรมการองคมนตรีได้ถูกนำมาใช้เป็น[[ข้อบังคับของสภาผู้แทนราษฎร|ข้อบังคับของสภาผู้แทนราษฎร]]ดังกล่าวไปพลางด้วย
 
&nbsp;
 
== อ้างอิง ==
 
<references />
 
&nbsp;


== บรรณานุกรม ==
== บรรณานุกรม ==


 
ชาญชัย รัตนวิบูลย์. ๒๕๔๘. บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า.
ชาญชัย รัตนวิบูลย์. ๒๕๔๘. บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.  
กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า.


ปกเกล้า, พระบาทสมเด็จพระ. ๒๔๗๐. Democracy in Siam. ในสนธิ. ๒๕๔๕: ๒๖๗-๒๖๘.
ปกเกล้า, พระบาทสมเด็จพระ. ๒๔๗๐. Democracy in Siam. ในสนธิ. ๒๕๔๕: ๒๖๗-๒๖๘.


วัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. ๒๕๔๘. แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  
วัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. ๒๕๔๘. แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า.
การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า.


สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตาม
สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตาม แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.


Batson, Benjamin. 1984. The End of the Absolute Monarchy in Siam. Singapore: Oxford University Press.
Batson, Benjamin. 1984. The End of the Absolute Monarchy in Siam. Singapore: Oxford University Press.


 
[[Category:พระปกเกล้าศึกษา]]
 
== อ้างอิง ==
<references/>

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:39, 11 พฤศจิกายน 2564

ผู้เรียบเรียง : รองศาสตราจารย์ ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.สนธิ เตชานันท์

 

เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่จะปรับเปลี่ยนระบอบการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะมีความเห็น อย่างน้อยทั้งจากพระยากัลยาณไมตรีและจากกรมพระดำรงราชานุภาพ ว่ายังไม่ถึงเวลาที่เหมาะสมที่จะให้มีรัฐสภาไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตาม พระองค์ก็ยังทรงมีเข็มมุ่งต่อไปในทิศทางนั้น

 

คณะกรรมการจัดรูปแบบองคมนตรี

ดังนั้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ (ซึ่งในสมัยนั้นเป็นสิ้นปีปฏิทิน) พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดทำระเบียบองคมนตรีขึ้น โดยมีสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตทรงเป็นประธาน มีหน้าที่จัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับการปรับระเบียบองคมนตรี ซึ่งในเวลานั้นมีจำนวนถึง ๒๒๗ ท่าน ให้เหมาะสมแก่การที่จะได้ฝึกหัดวิธีการประชุมในแบบรัฐสภาเกี่ยวกับการออกกฎหมาย[1]

คณะกรรมการจำนวน ๙ ท่านดังกล่าวได้พิจารณาจัดระเบียบองคมนตรีใหม่สำเร็จลงในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ด้วยการประชุมเพียง ๕ ครั้งเท่านั้น จากการศึกษารายงานการประชุม[2] มีข้อมูลบางประการซึ่งเห็นว่าน่าสนใจเป็นพิเศษดังนี้

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ฯ รับสั่งในช่วงที่ทรงเปิดประชุมเท้าความถึงที่มาจากอดีตในรัชกาลที่ ๕ และที่ ๖ ขององคมนตรี แล้วรับสั่งว่า “ทรงทราบแน่ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชหฤทัย liberal อย่างเอก” ซึ่งจากที่รับสั่งต่อไป คำว่า “liberal” นี้หมายความว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชหฤทัยกว้าง รับฟังความเห็นทั้งของส่วนใหญ่และส่วนน้อย และทรงมีแนวคิดเสรีนิยมพอที่จะทรงปรับรูปการปกครองให้ดีเหมาะแก่กาล ซึ่งต่อไปสยาม “ยิ่งจะมีคนที่ได้ศึกษามีความรู้มากขึ้น จะต้องคิดการไว้เตรียมรับ emancipationซึ่งจะเกิดขึ้นโดยลำดับ” [3] โดยคำว่า “emancipation” หมายถึงการปลดเปลื้องให้เป็นอิสระเสรี ภารกิจของคณะกรรมการก็คือการพิจารณาว่าจะเลิกองคมนตรีเสียทั้งหมด หรือจะเลือกบางคนขึ้นเป็นสภากรรมการเพื่อทดลองทำหน้าที่เชิงนิติบัญญัติ[4]

 

สภากรรมการองคมนตรีจะมีขอบเขตอำนาจเช่นไร?

ที่ประชุมได้อภิปรายกันก่อนถึงข้อดีและข้อเสียของทั้งระบอบประชาธิปไตยและระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต (กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากรในรัชกาลที่ ๙) ผู้ทรงได้รับปริญญาตรีสาขาตะวันออกศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ทรงแสดงพระทัศนะว่า “ชาวตะวันออกน่าจะเหมาะแก่การปกครองเป็น patriarchal ไม่น่าเชื่อว่าการปกครองจะมาจากส่วนล่างขึ้นไปส่วนสูง”[5] โดย patriarchal แปลได้ว่าการปกครองฉันพ่อกับลูก

ที่ประชุมได้พิจารณาประเด็นที่ว่าสภากรรมการองคมนตรีซึ่งจะตั้งขึ้นโดยการคัดองคมนตรีจำนวนหนึ่งมาเป็นกรรมการนั้น ควรจะมีหน้าที่เป็นองค์กร consultative หรือองค์กร advisory ส่วนหน้าที่เชิงในการออกกฎหมายนั้นยังคงมีอุปสรรคอยู่บ้างเนื่องด้วย กระบวนการจัดทำประมวลกฎหมายเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของต่างประเทศตามสนธิสัญญาที่ปรับฐานะให้สยามมีความเสมอภาคกับชาติอื่นๆ ยังดำเนินการไม่เสร็จ

หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากรทรงชี้ว่าแบบ consultative ย่อมหมายถึงการที่สภาดังกล่าวจะถวายคำแนะนำได้ก็ต่อเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงขอเท่านั้น และจึงจะไม่เป็นองค์กรยับยั้งการใช้พระราชอำนาจในทางที่ผิด ส่วนแบบ advisory นั้นหมายถึงว่าสภาดังกล่าวสามารถประชุมกันเองได้ในเรื่องใดก็ตามที่เห็นสมควร ดังนั้นเพื่อความชัดเจน องค์ประธานจึงได้นำความกราบบังคมทูลเรียน (ถามถึง) พระราชปฎิบัติซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชบันทึก_“Democracy_in_Siam” (ประชาธิปไตยในสยาม) ทรงตอบลงมาสู่ที่ประชุมคณะกรรมการในวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ซึ่งเป็นการประชุมนัดสุดท้าย

 

พระราชบันทึก “Democracy in Siam”

ในปัจจุบัน ชะรอยจะเป็นเพราะชื่อที่เกี่ยวกับประชาธิปไตย มีผู้นำบางตอนของพระราชบันทึกนี้ไปเผยแพร่หรือใช้ในการวิเคราะห์ โดยไม่ได้คำนึงถึงบริบทว่าเป็นการทรงตอบคำกราบบังคมทูลเรียนพระราชปฏิบัติของคณะกรรมการจัดทำระเบียบองคมนตรี การตีความข้อความในพระราชบันทึกโดยไม่ได้ศึกษาบันทึกการประชุมคณะกรรมการฯ ดังกล่าว (ซึ่งได้ทูลเกล้าฯ ถวายไปด้วย) จึงมีโอกาสที่จะเกิดความคลาดเคลื่อนในการตีความได้ไม่น้อย

แต่หากอ่านพระราชบันทึกในบริบทดังกล่าว ย่อมจะให้เห็นว่าบางส่วนของพระราชบันทึกเป็นการทรงตอบโต้กับความเห็นบางอย่างของกรรมการบางท่าน และได้ทรงถือโอกาสนั้นทรงอรรถาธิบายถึงแนวทางพระราชดำริที่ทรงมีอยู่ในขณะนั้น เกี่ยวกับการขับเคลื่อนการปฎิรูปการปกครองทั้งในส่วนของการที่จะให้มีรัฐสภาและการที่จะให้มีสภาเทศบาลในระดับท้องถิ่นเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เรียนรู้วิถีการปกครองตนเองจากการปฎิบัติจริงในระดับนั้น ก่อนที่จะได้มีสิทธิเสียงในการเลือกตั้งบุคคลเข้าสู่รัฐสภาในระดับชาติ จากนั้นจึงทรงตอบคำกราบบังคมทูลเรียนพระราชปฎิบัติเกี่ยวกับเรื่องที่ว่าสภากรรมการองคมนตรีที่จะจัดตั้งขึ้นนั้น จะเป็นแบบ consultative หรือแบบ advisory

พระราชบันทึกฉบับนี้จึงนับเป็นเอกสารสำคัญอีกฉบับหนึ่งซึ่งมีความสืบเนื่อง และมีวิวัฒนาการมาจากพระราชบันทึก “Problems of Siam” ซึ่งทรงมีไปพระราชทานพระยากัลยาณไมตรีเมื่อประมาณหนึ่งปีก่อนหน้า อีกทั้งเป็นพระราชบันทึกที่แสดงว่าทรงเปิดพระทัยให้เข้าใจสิ่งที่มีผู้เรียกว่า “แผนพัฒนาการเมือง” ของพระองค์ [6] ตลอดจนเหตุผลของพระองค์ในการนั้นไว้อย่างชัดเจนทีเดียว

 

พระราชประสงค์เกี่ยวกับสภากรรมการองคมนตรี

ตามพระราชบันทึกฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถือว่าการปรับองค์กรสภาองคมนตรีครั้งนี้เป็นก้าวแรกของการทำ “แผน” ของพระองค์สู่การปฏิบัติ แต่ก็ยังคงกล่าวไม่ได้ว่าสภากรรมการฯ จะเป็นองค์กรสะท้อนความเห็นของสาธารณชนทั่วไปอย่างแท้จริง แต่ก็คงพอได้บ้าง พระราชประสงค์ในชั้นนี้คือ

๑. เป็นหนทางของการทดลองและเรียนรู้วิธี การอภิปรายแบบรัฐสภา

๒. เป็นอิทธิพลเหนี่ยวรั้งการใช้อำนาจในทางที่ผิด[7] สำหรับประเด็นที่ว่าสภากรรมการฯ มีลักษณะเป็นองค์กร consultative หรือ advisory นั้น ทรงแนะนำว่าหากกรรมการองคมนตรี ๑๕ คน (ในจำนวน ๔๐ คน) เข้าชื่อกันขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตที่จะเปิดอภิปรายในสภาฯ ในเรื่องราวหนึ่งใดที่เห็นว่ามีความสำคัญต่อสวัสดิภาพของประเทศและประชาชนโดยรวม ก็ให้นายกสภากรรมการฯ กราบบังคมทูลฯขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ทั้งนี้ทรงต่อไปว่า เป็นที่เข้าใจกันว่าพระมหากษัตริย์จะพระราชทานหรือไม่ ย่อมเป็นไปตามพระบรมราชวินิจฉัย เช่นนี้จะดีกว่าที่จะให้สภากรรมการฯ ซึ่งไม่ได้เป็นสภาจากการเลือกตั้งมีสิทธิอภิปรายเรื่องใดก็ได้ เชื่อว่าน่าจะเพียงพอแก่การป้องปรามมิให้ผู้มีอำนาจกระทำการตามอำเภอใจหรือขัดต่อผลประโยชน์ของรัฐประเทศ ผู้ใดก็ตามที่อยู่ในอำนาจย่อมจะยั้งคิดก่อนที่จะปฏิเสธคำขอเช่นที่ว่าหากเขาไม่มีเหตุผลที่ดี “แต่ถ้ามีผู้ใดที่ไร้ความยั้งคิด ก็ไม่มีสถาบันใดที่จะสามารถป้องกันมิให้เขาทำสิ่งที่เลวได้ แม้แต่รัฐสภา (ก็ทำไม่ได้) ดังกรณีของพระเจ้าชาร์ลสที่ ๑ (Charles I ของ อังกฤษ) และเมื่อนั้นสิ่งเดียวที่ต้องทำก็คือตัดหัวเขาทิ้งเสีย!” [8]

เมื่อได้รับทราบพระราชบันทึกนี้แล้ว คณะกรรมการฯ ได้อภิปรายกันในประเด็นนี้อีกอย่างกว้างขวาง และได้ลงมติในเสียงข้างมาก ๖ ต่อ ๒ ที่จะแก้ไขร่างพระราชบัญญัติที่ได้ร่างขึ้นแล้วตามคำทรงแนะนำโดยนัย แต่ได้ลดจำนวนสมาชิกสภากรรมการองคมนตรีซึ่งจะต้องเข้าชื่อกันให้เหลือเพียง ๕ ท่าน จากจำนวนที่ทรงแนะนำคือ ๑๕ ใน ๔๐ ท่าน[9] แสดงว่าคณะกรรมการฯ มีความโน้มเอียงไปในทางรูปแบบ advisory และต่อมาเมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติองคมนตรีพุทธศักราช ๒๔๗๐ [10] โดยสภาฯ มีวาระคราวละ ๓ ปี

ในการประชุมอภิรัฐมนตรีสภาเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าสู่สภากรรมการองคมนตรี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชปรารภว่าควรเปิดให้ผู้ที่ไม่ได้เป็นข้าราชการเป็นกรรมการด้วย และควรหรือไม่ที่เจ้านายและข้าราชการประจำทั้งทหารและพลเรือนจะเป็นกรรมการ หากแต่ว่าในบรรดา ๔๐ ท่านซึ่งอภิรัฐมนตรีสภาคัดเลือกในที่สุด ปรากฎว่ามีเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทั้งที่ยังรับราชการอยู่และเกษียณอายุราชการแล้วอยู่ทั้งนั้น แต่ได้ยกเว้นไม่แต่งตั้งอภิรัฐมนตรีหรือเสนาบดี นับได้ว่าเป็นอีกครั้งหนึ่งซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอนุโลมตามเสียงส่วนใหญ่

พระราชวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ทรงได้รับเลือกตั้งจากสภาฯ นั้นเป็นสภานายก [11] พระราชวงศ์เธอพระองค์นี้ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ทรงมีความรู้ประเพณีทางสังคมและการปกครองของทั้งสยามและของยุโรปเป็นอย่างดี ดังที่ได้ทรงประพันธ์เผยแพร่อยู่เสมอในพระนามแฝง น.ม.ส.

ในพระราชดำรัสเปิดสมัยประชุมสภากรรมการองคมนตรีครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ซึ่งราชเลขาธิการเป็นผู้แทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชปรารภว่าได้ทรง “ดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ใช้การได้เหมาะตามสภาพบ้านเมืองที่มีอยู่ในเวลานี้ ถ้าหากถึงเวลาอันควรที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการปกครองประเทศต่อไปก็จะได้ทำได้โดยสะดวก” และทรงเน้นว่า “เราไม่ได้เลือกท่านมาเป็นผู้แทนคณะใดหรือเหล่าใดโดยเฉพาะ ท่านทั้งหลายจงออกความเห็นโดยระลึกถึงประโยชน์ส่วนรวมส่วนใหญ่ของแผ่นดิน และประชาชนชาวสยามโดยทั่วไปเป็นสำคัญ ... แม้มีสิ่งไรที่ท่านเห็นว่าจะยังความผาสุขให้บังเกิดขึ้นแก่ประชาชน ก็ให้ท่านถวายความเห็นได้ทุกเมื่อ เรายินดีที่จะฟังเสมอ”[12]

โดยทั่วไป หนังสือพิมพ์แสดงความยินดีกับการที่ได้มีองค์กรนี้ขึ้น โดยบางส่วนแสดงความคาดหวังว่าจะมีสภาราษฎรเต็มรูปแบบในภายหน้า[13] [14]

 

การแสดงบทบาทของสภากรรมการองคมนตรี

ข้อมูลหลักฐานเท่าที่ยังมีอยู่ แสดงว่าระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ถึงเดือนกรกฎาคม ๒๔๗๓ สภาฯ นี้ประชุมกัน ๒๓ ครั้ง และน้อยครั้งลงเรื่อยๆ ผลงานที่สำคัญคือ การประชุมปรึกษาถวายความเห็นร่างพระราชบัญญัติและร่างประกาศที่พระราชทานลงมา ในประเภทแรกมีร่างพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว ซึ่งมีประเด็นว่าจะให้มีผัวเดียวเมียเดียวหรือไม่ และซึ่งประกาศใช้ในชื่อว่าพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฏหมายลักษณะผัวเมีย ร่างพระราชบัญญัติทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ซึ่งสภากรรมการองคมนตรีมีมติไม่เห็นชอบที่จะตราเป็นพระราชบัญญัติ เพราะจะมีผลเสียตรงที่เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ราชการได้มากขึ้น และร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ๔ เป็นต้น

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ พร้อมด้วยอภิรัฐมนตรีทรงสังเกตการณ์การประชุมเป็นบางครั้ง และเมื่อทรงได้รับรายงานการประชุมเรื่องประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ นั้นแล้ว ซึ่งมีกรรมการสภาร่วมการฯ ๒๗ ท่านจาก ๔๐ ท่านเข้าประชุม ทรงมีพระราชปรารภว่า“กรรมการยังไม่คุ้นกับข้อบังคับและวิธีการประชุมอย่างนี้...กรรมการออกจะไม่มาเป็นจำนวนมากพอใช้ และไม่ลงมติก็มาก เห็นจะเกี่ยวด้วยเป็นปัญหาที่เข้าใจยาก...” [15]

ในประเด็นการเพิ่มความโปร่งใส อภิรัฐมนตรีสภาได้ประชุมกันพิจารณาว่าจะให้ผู้ที่ไม่ได้เป็นกรรมการเข้าสังเกตการณ์การประชุมสภากรรมการองคมนตรีได้หรือไม่ ในเรื่องนี้แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงเห็นดี แต่ที่ประชุมยังไม่เห็นชอบ จนกระทั่งเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๔ จึงได้อนุญาตให้องคมนตรีซึ่งมิได้เป็นกรรมการทำเช่นนั้นได้ แต่ยังไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าฟัง แต่มีการออกข่าวแถลงเจ้งเฉพาะมติ นักวิจัยรุ่นหลังจึงสรุปว่า สภากรรมการองคมนตรียังขาดความสนับสนุนจากอภิรัฐมนตรีสภา ซึ่งไม่เป็นไปตามพระราชประสงค์ อีกทั้งการที่กรรมการเข้าร่วมประชุมกันน้อยคน อาจเป็นเพราะมีหน้าที่ราชการอื่นมาก หรือไม่ก็รู้สึกว่าสภาฯ ไม่ค่อยมีอำนาจมากนัก [16] เป็นที่น่าสังเกตว่ากรรมการสภาฯ มิได้ใช้สิทธิ์ตามมาตรา ๑๓ ที่เปิดโอกาสให้กรรมการเพียง ๕ คนขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเรียกประชุมในเรื่องราวที่ตนเองเห็นสำคัญได้แต่อย่างใด [17]

เมื่อครบวาระ ๓ ปีของสภาฯ ชุดแรก กรรมการ ๒๗ ท่านจาก ๔๐ ท่านได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอีกครั้งตามรายนามซึ่งอภิรัฐมนตรีสภาเสนอ ทั้งๆ ที่กรมพระดำรงราชานุภาพทรงเสนอให้แต่งตั้งเข้าดำรงตำแหน่งใหม่ทั้งหมดเพื่อไม่ให้เสียกำลังใจ ทุกท่านเป็นข้าราชการประจำหรือเกษียณอายุ [18]

เห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยอมตามมติเสียงข้างมากของอภิรัฐมนตรีสภา แม้เมื่อต่างจากพระราชดำริของพระองค์เอง เสมือนว่าตั้งพระราชหฤทัยจะทรงวางพระองค์เป็นแบบอย่างของวิถีประชาธิปไตย หากแต่ว่าเป็นที่น่าเสียดายที่พระองค์มิได้ทรงเห็นควรที่จะทรงวางพระองค์ในฐานะประธานในที่ประชุม เป็นเฉกเช่น “นายกรัฐมนตรีที่มีความแข็งขัน” (strong prime minister) ซึ่งเป็นตัวอย่างอยู่ในระบอบประชาธิปไตยของอังกฤษ ด้วยการทรงนำและคุมร่องการประชุม หรือไม่ก็ทรงพยายามแล้วแต่ไม่ค่อยได้ผล

ในภาวการณ์เช่นนั้นสภากรรมการองคมนตรีจึงขาดโอกาสที่จะเป็นองค์กรนำร่องของรัฐสภาอย่างแท้จริง กระนั้นก็ตาม ประสบการณ์การเป็นกรรมการในสภากรรมการฯ นี้ ดูจะยังประโยชน์ไม่น้อยแก่กรรมการบางท่าน ซึ่งต่อมาหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีบทบาทเด่นในสภาผู้แทนราษฎร เช่น พระยาเทพหัสดิน พระยาจินดาภิรมย์ (ต่อมาเป็นเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ) พระยาราชวังสัน พระยามานวราชเสวี เป็นต้น[19]จึงต้องนับว่าการทดลองนั้นมิได้ไร้ประโยชน์เสียทีเดียว อีกทั้งข้อบังคับการประชุมสภากรรมการองคมนตรีได้ถูกนำมาใช้เป็นข้อบังคับของสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวไปพลางด้วย

 

อ้างอิง

  1. สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๒๑๐.
  2. สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๒๑๖-๒๗๓.
  3. สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๒๑๘.
  4. สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๒๒๐.
  5. สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๒๒๑.
  6. สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
  7. ปกเกล้า, พระบาทสมเด็จพระ. ๒๔๗๐. Democracy in Siam. ในสนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตาม แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๒๖๘.
  8. ปกเกล้า, พระบาทสมเด็จพระ. ๒๔๗๐. Democracy in Siam. ในสนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตาม แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๒๖๘.
  9. สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า ๒๗๓.
  10. สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๒๗๔-๒๗๘.
  11. วัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. ๒๕๔๘. แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๗๔.
  12. สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า ๒๘๐.
  13. Batson, Benjamin. 1984. The End of the Absolute Monarchy in Siam. Singapore: Oxford University Press, p. 137.
  14. วัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. ๒๕๔๘. แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์, หน้า ๗๔.
  15. วัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. ๒๕๔๘. แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์, หน้า ๗๔-๗๖.
  16. ชาญชัย รัตนวิบูลย์. ๒๕๔๘. บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า, หน้า ๑๔๖- ๑๔๙.
  17. วัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. ๒๕๔๘. แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์, หน้า ๗๖.
  18. ชาญชัย รัตนวิบูลย์. ๒๕๔๘. บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า ๑๔๓- ๑๔๔.
  19. วัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. ๒๕๔๘. แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์, หน้า ๗๕ , ๑๙๗.

 

บรรณานุกรม

ชาญชัย รัตนวิบูลย์. ๒๕๔๘. บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า.

ปกเกล้า, พระบาทสมเด็จพระ. ๒๔๗๐. Democracy in Siam. ในสนธิ. ๒๕๔๕: ๒๖๗-๒๖๘.

วัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. ๒๕๔๘. แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า.

สนธิ เตชานันท์. รวบรวม ๒๕๔๕. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตาม แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

Batson, Benjamin. 1984. The End of the Absolute Monarchy in Siam. Singapore: Oxford University Press.