ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย 'วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ...' |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 1 คน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “วัดพระแก้ว” เป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่ครั้ง | วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “วัดพระแก้ว” เป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่ครั้ง [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]มหาราชทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ในพุทธศักราช ๒๓๒๕ และมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในทุก ๆ การครบรอบ ๕๐ ปี | ||
ล่วงถึงรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ในโอกาสครบ ๑๕๐ ปีแห่งการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์พุทธศักราช ๒๔๗๕ พระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามครั้งใหญ่ ที่เริ่มชำรุดทรุดโทรมลงให้กลับมามั่นคงงดงาม และให้แล้วเสร็จทันงานฉลองพระนครครั้งนั้น | |||
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม | ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้[[สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต]] เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานดำเนินการบูรณะพระอุโบสถซึ่งประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ตลอดจนซ่อมแซมพระวิหารคดและจิตรกรรมรามเกียรติ์ พระวิหารยอด หอมณเฑียรธรรม หอพระนาค และสถานที่สำคัญทั่วทั้งพระอาราม | ||
แต่ขณะนั้นสถานการณ์เศรษฐกิจสยามกำลังตกต่ำอย่างมาก งบประมาณแผ่นดินที่จัดสรรเพื่อการบูรณะปฏิสังขรณ์มีไม่เพียงพอ ด้วยพระราชศรัทธาและความใส่พระราชหฤทัยในการศาสนาและศิลปกรรมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงอุทิศพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนสองแสนบาทเพื่อสมทบกับเงินแผ่นดินและเงินเรี่ยไรอื่นด้วย | แต่ขณะนั้นสถานการณ์เศรษฐกิจสยามกำลังตกต่ำอย่างมาก งบประมาณแผ่นดินที่จัดสรรเพื่อการบูรณะปฏิสังขรณ์มีไม่เพียงพอ ด้วยพระราชศรัทธาและความใส่พระราชหฤทัยในการศาสนาและศิลปกรรมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงอุทิศพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนสองแสนบาทเพื่อสมทบกับเงินแผ่นดินและเงินเรี่ยไรอื่นด้วย | ||
บรรทัดที่ 12: | บรรทัดที่ 12: | ||
บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖ | บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖ | ||
*[https://www.youtube.com/watch?v=XtSPbOeLHYw&index=94&list=PLz3ADrKTT5i0vjsCnIPrpraHExclR_Odo YOU TUBE : 150 ปีแผ่นดินรัตนโกสินทร์ : บูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม] | |||
[[หมวดหมู่:พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ]] | [[หมวดหมู่:พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:01, 10 กุมภาพันธ์ 2559
วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “วัดพระแก้ว” เป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่ครั้ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ในพุทธศักราช ๒๓๒๕ และมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในทุก ๆ การครบรอบ ๕๐ ปี
ล่วงถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสครบ ๑๕๐ ปีแห่งการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์พุทธศักราช ๒๔๗๕ พระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามครั้งใหญ่ ที่เริ่มชำรุดทรุดโทรมลงให้กลับมามั่นคงงดงาม และให้แล้วเสร็จทันงานฉลองพระนครครั้งนั้น
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานดำเนินการบูรณะพระอุโบสถซึ่งประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ตลอดจนซ่อมแซมพระวิหารคดและจิตรกรรมรามเกียรติ์ พระวิหารยอด หอมณเฑียรธรรม หอพระนาค และสถานที่สำคัญทั่วทั้งพระอาราม
แต่ขณะนั้นสถานการณ์เศรษฐกิจสยามกำลังตกต่ำอย่างมาก งบประมาณแผ่นดินที่จัดสรรเพื่อการบูรณะปฏิสังขรณ์มีไม่เพียงพอ ด้วยพระราชศรัทธาและความใส่พระราชหฤทัยในการศาสนาและศิลปกรรมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงอุทิศพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนสองแสนบาทเพื่อสมทบกับเงินแผ่นดินและเงินเรี่ยไรอื่นด้วย
การบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามครั้งยิ่งใหญ่นี้สำเร็จลุล่วงภายในปีนั้น ประชาชนชาวสยามได้ชื่นชมพระอารามที่ประดับด้วยประทีปสว่างไสว เป็นความงดงามในค่ำคืนแห่งการเฉลิมฉลอง ๑๕๐ ปีแห่งแผ่นดินรัตนโกสินทร์
ที่มา
บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖