ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามเกาหลี"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 3 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 12: บรรทัดที่ 12:
==การยึดครองที่ยาวนานของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1910 – 1945)==
==การยึดครองที่ยาวนานของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1910 – 1945)==


ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เกาหลีถูกรุกรานจากจีนและญี่ปุ่นหลายครั้ง หลังจากที่ญี่ปุ่นชนะจีนในสงครามจีนกับญี่ปุ่น (Sino – Japanese War 1894 – 1895) แต่ญี่ปุ่นก็ยังคงกำลังทหารไว้ในเกาหลีและยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ทางยุทธศาสตร์ของประเทศเกาหลีไว้ และอีก 10 ปีต่อมา ญี่ปุ่นก็สามารถเอาชนะในสงครามทางเรือต่อรัสเซีย – ญี่ปุ่น (Russo – Japanese War 1904 – 1905) ทำให้ญี่ปุ่นมาเป็นมหาอำนาจจักรวรรดินิยม ญี่ปุ่นจึงยังยึดครองเกาหลีต่อไปและขยายการยึดครองไปยังดินแดนต่างๆ ของประเทศเกาหลีโดยใช้กำลังทหาร จนในที่สุดญี่ปุ่นก็ได้ผนวกเกาหลีเป็นดินแดนของญี่ปุ่นเมื่อเดือนสิงหาคม 1910  
ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เกาหลีถูกรุกรานจากจีนและญี่ปุ่นหลายครั้ง หลังจากที่ญี่ปุ่นชนะจีนในสงครามจีนกับญี่ปุ่น (Sino – Japanese War 1894 – 1895) แต่ญี่ปุ่นก็ยังคงกำลังทหารไว้ในเกาหลีและยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ทางยุทธศาสตร์ของประเทศเกาหลีไว้ และอีก 10 ปีต่อมา ญี่ปุ่นก็สามารถเอาชนะในสงครามทางเรือต่อรัสเซีย – ญี่ปุ่น (Russo – Japanese War 1904 – 1905) ทำให้ญี่ปุ่นมาเป็นมหาอำนาจจักรวรรดินิยม ญี่ปุ่นจึงยังยึดครองเกาหลีต่อไปและขยายการยึดครองไปยังดินแดนต่างๆ ของประเทศเกาหลีโดยใช้กำลังทหาร จนในที่สุดญี่ปุ่นก็ได้ผนวกเกาหลีเป็นดินแดนของญี่ปุ่นเมื่อเดือนสิงหาคม 1910<ref>ประยุทธ เปี่ยมสุวรรณ์.บทความ เรื่อง สงครามเกาหลี (Korean War) ค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2557, จาก https://sites.google.com/site/aircadet3023/warhistory-1/warhistory.</ref>


เมื่อญี่ปุ่นเข้ามาปกครองเกาหลี ญี่ปุ่นจัดการฟื้นฟูประเทศเกาหลีให้มีความก้าวหน้าตามนโยบายจักรวรรดินิยมของญี่ปุ่น เช่น ผลักดันให้เกาหลีมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ แต่ประชากรชาวเกาหลีกลับได้ผลประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจเพียงเล็กน้อย นอกจากนั้นญี่ปุ่นยังกดขี่เกาหลีทางด้านวัฒนธรรมด้วย เช่น ห้ามใช้ภาษาเกาหลี และเมื่อชาวเกาหลีกลุ่มใดเรียกร้องเสรีภาพ ญี่ปุ่นจะให้ตำรวจเข้าทำการปราบปราม จึงทำให้ชาวเกาหลีดิ้นรนแสวงหาอิสรภาพอย่างเต็มที่ ในที่สุดได้เกิด “ขบวนการซามิว” หรือ “ขบวนการ 1 มีนาคม” ขึ้นในปี ค.ศ. 1919 ซึ่งขบวนการซามิวนี้ประกอบด้วยฝูงชนที่ปราศจากอาวุธจำนวนมาก พากันเดินขบวนเรียกร้องให้ชาวโลกช่วยเกาหลีให้หลุดพ้นจากความเป็นทาสของญี่ปุ่น แต่การปฏิบัติการของขบวนการซามิวไม่สำเร็จผล บรรดาผู้นำในการกอบกู้เอกราชของเกาหลีจึงได้จัดตั้ง[[รัฐบาลพลัดถิ่น]]ขึ้นในประเทศจีน โดยตั้งให้นายซิงมัน รี เป็นประธานาธิบดีคนแรกของรัฐบาลเกาหลี แต่ต่อมาไม่นานรัฐบาลพลัดถิ่นดังกล่าวเกิดการแตกแยกเป็นหลายฝ่าย ในที่สุดกลุ่มที่นิยมโซเวียตก่อตัวเป็นกองโจรแล้วต่อต้านญี่ปุ่นอยู่ตามบริเวณพรมแดนที่ติดต่อระหว่างเกาหลีกับแมนจูเรีย ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเป็นปรปักษ์ต่อคอมมิวนิสต์ซึ่งทำการต่อต้านอย่างดุเดือดเช่นเดียวกับกลุ่มนิยมโซเวียต และในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กลุ่มที่เป็นปรปักษ์ต่อคอมมิวนิสต์ได้เข้าร่วมกับกองทัพจีน ส่วนนายซิงมัน รี เดินทางไปยังกรุงวอชิงตัน เพื่อหาทางกอบกู้เอกราชให้เกาหลีโดยวิถีทางการทูตและการเมือง แต่ความแตกแยกทางความคิดของรัฐบาลพลัดถิ่นของเกาหลีในจีนก็ยังคงมีอยู่  
เมื่อญี่ปุ่นเข้ามาปกครองเกาหลี ญี่ปุ่นจัดการฟื้นฟูประเทศเกาหลีให้มีความก้าวหน้าตามนโยบายจักรวรรดินิยมของญี่ปุ่น เช่น ผลักดันให้เกาหลีมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ แต่ประชากรชาวเกาหลีกลับได้ผลประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจเพียงเล็กน้อย นอกจากนั้นญี่ปุ่นยังกดขี่เกาหลีทางด้านวัฒนธรรมด้วย เช่น ห้ามใช้ภาษาเกาหลี และเมื่อชาวเกาหลีกลุ่มใดเรียกร้องเสรีภาพ ญี่ปุ่นจะให้ตำรวจเข้าทำการปราบปราม จึงทำให้ชาวเกาหลีดิ้นรนแสวงหาอิสรภาพอย่างเต็มที่ ในที่สุดได้เกิด “ขบวนการซามิว” หรือ “ขบวนการ 1 มีนาคม” ขึ้นในปี ค.ศ. 1919 ซึ่งขบวนการซามิวนี้ประกอบด้วยฝูงชนที่ปราศจากอาวุธจำนวนมาก พากันเดินขบวนเรียกร้องให้ชาวโลกช่วยเกาหลีให้หลุดพ้นจากความเป็นทาสของญี่ปุ่น แต่การปฏิบัติการของขบวนการซามิวไม่สำเร็จผล บรรดาผู้นำในการกอบกู้เอกราชของเกาหลีจึงได้จัดตั้ง[[รัฐบาลพลัดถิ่น]]ขึ้นในประเทศจีน โดยตั้งให้นายซิงมัน รี เป็นประธานาธิบดีคนแรกของรัฐบาลเกาหลี แต่ต่อมาไม่นานรัฐบาลพลัดถิ่นดังกล่าวเกิดการแตกแยกเป็นหลายฝ่าย ในที่สุดกลุ่มที่นิยมโซเวียตก่อตัวเป็นกองโจรแล้วต่อต้านญี่ปุ่นอยู่ตามบริเวณพรมแดนที่ติดต่อระหว่างเกาหลีกับแมนจูเรีย ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเป็นปรปักษ์ต่อคอมมิวนิสต์ซึ่งทำการต่อต้านอย่างดุเดือดเช่นเดียวกับกลุ่มนิยมโซเวียต และในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กลุ่มที่เป็นปรปักษ์ต่อคอมมิวนิสต์ได้เข้าร่วมกับกองทัพจีน ส่วนนายซิงมัน รี เดินทางไปยังกรุงวอชิงตัน เพื่อหาทางกอบกู้เอกราชให้เกาหลีโดยวิถีทางการทูตและการเมือง แต่ความแตกแยกทางความคิดของรัฐบาลพลัดถิ่นของเกาหลีในจีนก็ยังคงมีอยู่<ref>ธนู แก้วโอภาส. สงครามแห่งศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ลอจิก, 2549. หน้า 258-259.</ref>
   
   
==เกาหลีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1945 – 1950)==
==เกาหลีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1945 – 1950)<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 259-260</ref>  ==
   
   
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากพันธมิตรจะประกาศให้เกาหลีเป็นเอกราชแล้ว สหรัฐอเมริกากับอดีตสหภาพโซเวียตยังตกลงกันว่า เมื่อชนะสงครามแล้วจะใช้เส้นขนานที่ 38 เป็นเส้นแบ่งเขต สำหรับควบคุมกองทหารญี่ปุ่นของแต่ละฝ่าย
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากพันธมิตรจะประกาศให้เกาหลีเป็นเอกราชแล้ว สหรัฐอเมริกากับอดีตสหภาพโซเวียตยังตกลงกันว่า เมื่อชนะสงครามแล้วจะใช้เส้นขนานที่ 38 เป็นเส้นแบ่งเขต สำหรับควบคุมกองทหารญี่ปุ่นของแต่ละฝ่าย
บรรทัดที่ 26: บรรทัดที่ 26:
เหตุการณ์ที่เกิดกับเกาหลีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แสดงให้เห็นว่าเกาหลีเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มหาอำนาจผู้ชนะสงครามได้วางแผนให้สู้รบกันเอง เพราะการแบ่งแยกประเทศและการแบ่งแยกแนวความคิดทางการเมือง และเมื่อสงครามสิ้นสุดลงแล้วชาวเกาหลียังต้องจับอาวุธรบกันเองครั้งยิ่งใหญ่ เพราะเหตุที่มหาอำนาจ “ยัดเยียด” หรือ “ส่งเสริม” แนวความคิดทางการเมืองที่แตกต่างกันให้กับชาวเกาหลีนั่นเอง
เหตุการณ์ที่เกิดกับเกาหลีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แสดงให้เห็นว่าเกาหลีเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มหาอำนาจผู้ชนะสงครามได้วางแผนให้สู้รบกันเอง เพราะการแบ่งแยกประเทศและการแบ่งแยกแนวความคิดทางการเมือง และเมื่อสงครามสิ้นสุดลงแล้วชาวเกาหลียังต้องจับอาวุธรบกันเองครั้งยิ่งใหญ่ เพราะเหตุที่มหาอำนาจ “ยัดเยียด” หรือ “ส่งเสริม” แนวความคิดทางการเมืองที่แตกต่างกันให้กับชาวเกาหลีนั่นเอง
   
   
==สงครามเริ่ม (ค.ศ. 1950 – 1953)==
==สงครามเริ่ม (ค.ศ. 1950 – 1953)<ref>เรื่องเดียวกัน ,หน้า 260. </ref>==
   
   
ในวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1950 กองทัพเกาหลีเหนือเคลื่อนผ่านเส้นขนานที่ 38 มายังเกาหลีใต้ ดินแดนเกาหลีต้องประสบกับภาวะสงครามครั้งยิ่งใหญ่นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง สงครามครั้งนี้เรียกกันว่า “สงครามเกาหลี” เป็นสงครามที่ดำเนินต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานถึง 4 ปี (ค.ศ. 1950 – 1953) เกาหลีเหนืออ้างว่ากองทัพสาธารณรัฐเกาหลีภายใต้โดยการนำของ ซิงมัน รี ผู้ขายชาติ ได้บุกรุกข้ามชายแดนมาก่อน และซิงมัน รี จะต้องถูกจับกุมตัวและประหารชีวิต
ในวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1950 กองทัพเกาหลีเหนือเคลื่อนผ่านเส้นขนานที่ 38 มายังเกาหลีใต้ ดินแดนเกาหลีต้องประสบกับภาวะสงครามครั้งยิ่งใหญ่นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง สงครามครั้งนี้เรียกกันว่า “สงครามเกาหลี” เป็นสงครามที่ดำเนินต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานถึง 4 ปี (ค.ศ. 1950 – 1953) เกาหลีเหนืออ้างว่ากองทัพสาธารณรัฐเกาหลีภายใต้โดยการนำของ ซิงมัน รี ผู้ขายชาติ ได้บุกรุกข้ามชายแดนมาก่อน และซิงมัน รี จะต้องถูกจับกุมตัวและประหารชีวิต
บรรทัดที่ 40: บรรทัดที่ 40:
เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1950 กองทัพเกาหลีใต้และกองทัพบกของสหรัฐอเมริกาภายใต้การบังคับบัญชาของ พลเอก วอลตัน วอคเคอร์ ถูโจมตีถอยร่นมายังปูซาน ขณะที่กองทัพเกาหลีเหนือบุกมานั้นได้ไล่สังหารชาวเมืองที่เคยช่วยพวกเขาในการต่อต้าน ซิงมัน รี ในสงครามครั้งนี้อย่างโหดร้าย และในเดือนกันยายนปีเดียวกัน กองกำลังพันธมิตรชั่วคราวยังยึดพื้นที่รอบเมืองปูซานไว้ได้ ซึ่งเป็นเพียง 10 % ของคาบสมุทรเกาหลี
เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1950 กองทัพเกาหลีใต้และกองทัพบกของสหรัฐอเมริกาภายใต้การบังคับบัญชาของ พลเอก วอลตัน วอคเคอร์ ถูโจมตีถอยร่นมายังปูซาน ขณะที่กองทัพเกาหลีเหนือบุกมานั้นได้ไล่สังหารชาวเมืองที่เคยช่วยพวกเขาในการต่อต้าน ซิงมัน รี ในสงครามครั้งนี้อย่างโหดร้าย และในเดือนกันยายนปีเดียวกัน กองกำลังพันธมิตรชั่วคราวยังยึดพื้นที่รอบเมืองปูซานไว้ได้ ซึ่งเป็นเพียง 10 % ของคาบสมุทรเกาหลี


==ยกระดับสงครามเกาหลีและการบุกเกาหลีเหนือ==
==ยกระดับสงครามเกาหลีและการบุกเกาหลีเหนือ<ref>อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ 1 หน้า 9-10. </ref>==
   
   
ในการเผชิญหน้ากับการโจมตีอย่างดุเดือดของเกาหลีเหนือ การตั้งรับของฝ่ายพันธมิตรกลายเป็นการสู้รบแบบเข้าตาจนที่ฝ่ายสหรัฐอเมริกาเรียกว่า “สงครามวงรอบปูซาน” (Battle of Pusan Perimeter) อย่างไรก็ตาม เกาหลีเหนือไม่สามารถตีเมืองปูซานแตกได้ ซึ่งขณะนั้นทั่วทั้งเกาหลีเต็มไปด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิด สหรัฐได้โจมตีแหล่งส่งกำลังหลักต่างๆ ของเกาหลีเหนือ เพื่อให้กองทัพเกาหลีเหนือขาดแคลนสิ่งจำเป็นในการทำสงคราม ซึ่งการทำลายของเครื่องบินทิ้งระเบิดครั้งนี้ทำให้การส่งยุทโธปกรณ์ไม่สามารถไปถึงกองทัพเกาหลีเหนือ ที่ปฏิบัติการรบอยู่ทางใต้ได้ ในขณะเดียวกันฐานส่งกำลังในญี่ปุ่นของสหรัฐอเมริกาได้ทำการส่งอาวุธและกำลังทหารมายังเมืองปูซานอย่างมากมาย ทำให้เกาหลีใต้มีความแข็งแกร่งและมีกำลังทหารมากกว่ากองทัพเกาหลีเหนือ  อยู่กว่าเกือบแสน และในเวลานี้เองกองทัพสหประชาชาติและเกาหลีใต้ก็ได้เริ่มปฏิบัติการโจมตีตอบโต้ กองทัพสหประชาชาติได้ขับไล่กองทัพเกาหลีเหนือผ่านเส้นขนานที่ 38 จุดหมายปลายทางในการที่จะปกป้องรักษารัฐบาลเกาหลีใต้บรรลุแล้ว กองทัพสหประชาชาติได้ข้ามแดนเข้าไปในเกาหลีเหนือเมื่อต้นเดือนตุลาคม ค.ศ. 1950 ทำให้กองทัพเกาหลีเหนือแตกกระจายและถูกจับเป็นเชลยถึง 135,000 คน และการรุกของกองสหประชาชาติ ครั้งนี้สร้างความกังวลให้จีนมาก เพราะเป็นห่วงว่าสหประชาชาติจะไม่หยุดอยู่เพียงแม่น้ำยาลูซึ่งเป็นชายแดนระหว่างเกาหลีเหนือและจีน และจะดำเนินนโยบายให้จีนกลับสู่อำนาจเก่าคือ เจียงไคเช็ค หลายคนในชาติตะวันตกรวมทั้งนายพล ดักลาส แมคอาเธอร์ คิดว่ามีความจำเป็นต้องขยายสงครามไปสู่จีน แต่ทรูแมนและผู้นำคนอื่นๆ ไม่เห็นด้วย นายพล ดักลาส แมคอาเธอร์จึงถูกกล่าวเตือนในเรื่องดังกล่าว แต่นายพลฯ ก็ไม่ใส่ใจการเตือนนั้น โดยเขาแย้งว่าเนื่องจากกองทัพเกาหลีเหนือได้รับการส่งกำลังจากฐานในเขตแดนจีน คลังส่งกำลังเหล่านั้นจึงควรถูกทำลายด้วย  
ในการเผชิญหน้ากับการโจมตีอย่างดุเดือดของเกาหลีเหนือ การตั้งรับของฝ่ายพันธมิตรกลายเป็นการสู้รบแบบเข้าตาจนที่ฝ่ายสหรัฐอเมริกาเรียกว่า “สงครามวงรอบปูซาน” (Battle of Pusan Perimeter) อย่างไรก็ตาม เกาหลีเหนือไม่สามารถตีเมืองปูซานแตกได้ ซึ่งขณะนั้นทั่วทั้งเกาหลีเต็มไปด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิด สหรัฐได้โจมตีแหล่งส่งกำลังหลักต่างๆ ของเกาหลีเหนือ เพื่อให้กองทัพเกาหลีเหนือขาดแคลนสิ่งจำเป็นในการทำสงคราม ซึ่งการทำลายของเครื่องบินทิ้งระเบิดครั้งนี้ทำให้การส่งยุทโธปกรณ์ไม่สามารถไปถึงกองทัพเกาหลีเหนือ ที่ปฏิบัติการรบอยู่ทางใต้ได้ ในขณะเดียวกันฐานส่งกำลังในญี่ปุ่นของสหรัฐอเมริกาได้ทำการส่งอาวุธและกำลังทหารมายังเมืองปูซานอย่างมากมาย ทำให้เกาหลีใต้มีความแข็งแกร่งและมีกำลังทหารมากกว่ากองทัพเกาหลีเหนือ  อยู่กว่าเกือบแสน และในเวลานี้เองกองทัพสหประชาชาติและเกาหลีใต้ก็ได้เริ่มปฏิบัติการโจมตีตอบโต้ กองทัพสหประชาชาติได้ขับไล่กองทัพเกาหลีเหนือผ่านเส้นขนานที่ 38 จุดหมายปลายทางในการที่จะปกป้องรักษารัฐบาลเกาหลีใต้บรรลุแล้ว กองทัพสหประชาชาติได้ข้ามแดนเข้าไปในเกาหลีเหนือเมื่อต้นเดือนตุลาคม ค.ศ. 1950 ทำให้กองทัพเกาหลีเหนือแตกกระจายและถูกจับเป็นเชลยถึง 135,000 คน และการรุกของกองสหประชาชาติ ครั้งนี้สร้างความกังวลให้จีนมาก เพราะเป็นห่วงว่าสหประชาชาติจะไม่หยุดอยู่เพียงแม่น้ำยาลูซึ่งเป็นชายแดนระหว่างเกาหลีเหนือและจีน และจะดำเนินนโยบายให้จีนกลับสู่อำนาจเก่าคือ เจียงไคเช็ค หลายคนในชาติตะวันตกรวมทั้งนายพล ดักลาส แมคอาเธอร์ คิดว่ามีความจำเป็นต้องขยายสงครามไปสู่จีน แต่ทรูแมนและผู้นำคนอื่นๆ ไม่เห็นด้วย นายพล ดักลาส แมคอาเธอร์จึงถูกกล่าวเตือนในเรื่องดังกล่าว แต่นายพลฯ ก็ไม่ใส่ใจการเตือนนั้น โดยเขาแย้งว่าเนื่องจากกองทัพเกาหลีเหนือได้รับการส่งกำลังจากฐานในเขตแดนจีน คลังส่งกำลังเหล่านั้นจึงควรถูกทำลายด้วย  


==การเข้าประเทศจีน==
==การเข้าประเทศจีน<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 11-13. </ref>==
   
   
8 ตุลาคม ค.ศ. 1950 หลังจากที่ทหารสหรัฐอเมริกาข้ามเส้นขนานที่ 38 ไปแล้ว ประธานเหมาเจ๋อตุงของจีนได้ออกคำสั่งให้รวบรวมกองทัพอาสาสมัครประชาชนจีนเคลื่อนพลไปยังแม่น้ำยาลู และเตรียมพร้อมที่จะข้ามแม่น้ำ ขณะเดียวกันเหมาเจ๋อตุงมองหาความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและมองว่าการแทรกแซงสงครามเกาหลีครั้งนี้เป็นเพียงการป้องกันตนเอง เขากล่าวกับสตาลินว่า “ถ้าเรายินยอมให้สหรัฐอเมริกาครอบครองเกาหลีทั้งหมด เราก็ต้องเตรียมตัวให้สหรัฐอเมริกาประกาศสงครามกับจีน” อย่างไรก็ตาม สหภาพโซเวียตก็ได้ตัดสินใจให้การช่วยเหลืออย่างจำกัดกับจีน ทำให้จีนโกรธเคืองมาก ในขณะที่สหรัฐอเมริกาก็รู้ดีว่าสหภาพโซเวียตได้ส่งกำลังทางอากาศเข้ามาในสงครามเกาหลี แต่ก็นิ่งเฉยเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่อาจนำไปสู่สงครามนิวเคลียร์ และในวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1950 นั้นเองที่เป็นวันที่กองทัพอาสาประชาชนจีนเข้าปะทะกับทหารสหรัฐอเมริกา โดยในการปะทะครั้งนี้จีนทำการเคลื่อนพลได้อย่างมีระเบียบวินัยและแยบยลเป็นอย่างยิ่ง
8 ตุลาคม ค.ศ. 1950 หลังจากที่ทหารสหรัฐอเมริกาข้ามเส้นขนานที่ 38 ไปแล้ว ประธานเหมาเจ๋อตุงของจีนได้ออกคำสั่งให้รวบรวมกองทัพอาสาสมัครประชาชนจีนเคลื่อนพลไปยังแม่น้ำยาลู และเตรียมพร้อมที่จะข้ามแม่น้ำ ขณะเดียวกันเหมาเจ๋อตุงมองหาความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและมองว่าการแทรกแซงสงครามเกาหลีครั้งนี้เป็นเพียงการป้องกันตนเอง เขากล่าวกับสตาลินว่า “ถ้าเรายินยอมให้สหรัฐอเมริกาครอบครองเกาหลีทั้งหมด เราก็ต้องเตรียมตัวให้สหรัฐอเมริกาประกาศสงครามกับจีน” อย่างไรก็ตาม สหภาพโซเวียตก็ได้ตัดสินใจให้การช่วยเหลืออย่างจำกัดกับจีน ทำให้จีนโกรธเคืองมาก ในขณะที่สหรัฐอเมริกาก็รู้ดีว่าสหภาพโซเวียตได้ส่งกำลังทางอากาศเข้ามาในสงครามเกาหลี แต่ก็นิ่งเฉยเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่อาจนำไปสู่สงครามนิวเคลียร์ และในวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1950 นั้นเองที่เป็นวันที่กองทัพอาสาประชาชนจีนเข้าปะทะกับทหารสหรัฐอเมริกา โดยในการปะทะครั้งนี้จีนทำการเคลื่อนพลได้อย่างมีระเบียบวินัยและแยบยลเป็นอย่างยิ่ง
บรรทัดที่ 50: บรรทัดที่ 50:
ปลายเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1950 กองทัพจีนได้เข้าโจมตีพื้นที่ด้านตะวันตกตามแนวแม่น้ำชองชอน และสามารถเอาชนะกองทัพเกาหลีใต้หลายกองพลและประสบความสำเร็จในการเข้าตีกองทัพสหประชาชาติ      ที่เหลืออยู่ จากความพ่ายแพ้ของกองทัพสหรัฐอเมริกาเป็นเหตุให้ทหารสหรัฐอเมริกาต้องล่าถอยเป็นระยะยาวที่สุดในประวัติศาสตร์
ปลายเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1950 กองทัพจีนได้เข้าโจมตีพื้นที่ด้านตะวันตกตามแนวแม่น้ำชองชอน และสามารถเอาชนะกองทัพเกาหลีใต้หลายกองพลและประสบความสำเร็จในการเข้าตีกองทัพสหประชาชาติ      ที่เหลืออยู่ จากความพ่ายแพ้ของกองทัพสหรัฐอเมริกาเป็นเหตุให้ทหารสหรัฐอเมริกาต้องล่าถอยเป็นระยะยาวที่สุดในประวัติศาสตร์


==การสู้รบข้ามเส้นขนานที่ 38 (ต้นปี ค.ศ. 1951)==
==การสู้รบข้ามเส้นขนานที่ 38 (ต้นปี ค.ศ. 1951)<ref>เรื่องเดียวกัน,หน้า 13-15. </ref>==
   
   
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1951 ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ทำการโจมตีอีกครั้งในช่วงที่เรียกว่า Chinese Winter Offensive กองทัพจีนได้ใช้ยุทธวิธีในรูปแบบเดิมอย่างที่เคยทำ สถานการณ์ของกองทัพที่ 8 แย่ลงไปอีกเมื่อพลเอกวอคเคอร์เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ผู้นำคนใหม่คือ พลโท แมททิว ริดจ์เวย์ ซึ่งเขาเริ่มดำเนินการด้วยการกระตุ้นขวัญและกำลังใจของกองทัพที่ 8 ซึ่งตกต่ำจากการถูกโจมตีจนต้องล่าถอยเป็นระยะทางไกล และในปลายเดือนมกราคมนั้น จากการลาดตระเวน ริดจ์เวย์พบว่า แนวรบตรงหน้าเขาปราศจากข้าศึก เขาจึงพัฒนาแผนการรุกแบบเต็มกำลังในยุทธการราวอัพ (Operation Roundup ) ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างมากใน    ต้นเดือนกุมภาพันธ์ กองทัพสหประชาชาติมาถึงแม่น้ำฮันและยึดเมืองวอนจูได้อีกครั้ง
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1951 ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ทำการโจมตีอีกครั้งในช่วงที่เรียกว่า Chinese Winter Offensive กองทัพจีนได้ใช้ยุทธวิธีในรูปแบบเดิมอย่างที่เคยทำ สถานการณ์ของกองทัพที่ 8 แย่ลงไปอีกเมื่อพลเอกวอคเคอร์เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ผู้นำคนใหม่คือ พลโท แมททิว ริดจ์เวย์ ซึ่งเขาเริ่มดำเนินการด้วยการกระตุ้นขวัญและกำลังใจของกองทัพที่ 8 ซึ่งตกต่ำจากการถูกโจมตีจนต้องล่าถอยเป็นระยะทางไกล และในปลายเดือนมกราคมนั้น จากการลาดตระเวน ริดจ์เวย์พบว่า แนวรบตรงหน้าเขาปราศจากข้าศึก เขาจึงพัฒนาแผนการรุกแบบเต็มกำลังในยุทธการราวอัพ (Operation Roundup ) ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างมากใน    ต้นเดือนกุมภาพันธ์ กองทัพสหประชาชาติมาถึงแม่น้ำฮันและยึดเมืองวอนจูได้อีกครั้ง
บรรทัดที่ 60: บรรทัดที่ 60:
กองทัพสหประชาชาติตัดสินใจหยุดอยู่แค่แนวแคนซัส ซึ่งอยู่เหนือเส้นขนานที่ 38  และหยุดนิ่งไม่มีทีท่าที่จะทำการรุกขึ้นไปในเกาหลีเหนือ บ่งชี้ถึงช่วงเวลาที่เกิดมีการยิงกัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหลือจนกระทั่งมีการตกลงเพื่อหยุดยิง
กองทัพสหประชาชาติตัดสินใจหยุดอยู่แค่แนวแคนซัส ซึ่งอยู่เหนือเส้นขนานที่ 38  และหยุดนิ่งไม่มีทีท่าที่จะทำการรุกขึ้นไปในเกาหลีเหนือ บ่งชี้ถึงช่วงเวลาที่เกิดมีการยิงกัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหลือจนกระทั่งมีการตกลงเพื่อหยุดยิง


==การเจรจา ( กรกฎาคม ค.ศ. 1951 – กรกฎาคม 1953)==
==การเจรจา ( กรกฎาคม ค.ศ. 1951 – กรกฎาคม 1953)<ref>เรื่องเดียวกัน,หน้า 15. </ref>==
   
   
ช่วงเวลาต่อมาของสงครามมีการเปลี่ยนแปลงดินแดนที่ยึดได้เพียงเล็กน้อย และในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1951 ที่เคซองได้เริ่มต้นการเจรจาเพื่อสันติภาพกันอย่างยาวนาน แต่การสู้รบก็ยังคงดำเนินต่อไป จุดหมายปลายทางของเกาหลีใต้และพันธมิตรคือการยึดดินแดนเกาหลีใต้คืนมาก่อนที่ข้อตกลงจะบรรลุเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียดินแดน จีนและเกาหลีเหนือพยายามทำเช่นเดียวกัน
ช่วงเวลาต่อมาของสงครามมีการเปลี่ยนแปลงดินแดนที่ยึดได้เพียงเล็กน้อย และในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1951 ที่เคซองได้เริ่มต้นการเจรจาเพื่อสันติภาพกันอย่างยาวนาน แต่การสู้รบก็ยังคงดำเนินต่อไป จุดหมายปลายทางของเกาหลีใต้และพันธมิตรคือการยึดดินแดนเกาหลีใต้คืนมาก่อนที่ข้อตกลงจะบรรลุเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียดินแดน จีนและเกาหลีเหนือพยายามทำเช่นเดียวกัน
บรรทัดที่ 67: บรรทัดที่ 67:


และจนถึงทุกวันนี้เขตปลอดทหารที่เส้นขนานที่ 38 ยังคงใช้เป็นเส้นแบ่งประเทศ และในเกาหลีใต้ยังคงมีกลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์และต่อต้านเกาหลีเหนืออยู่ แต่สำหรับในสหรัฐสงครามเกาหลีไม่ได้รับความสนใจมากเหมือนกับสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือสงครามเวียดนาม บางครั้งสงครามนี้ถูกเรียกว่า “สงครามที่ถูกลืม”
และจนถึงทุกวันนี้เขตปลอดทหารที่เส้นขนานที่ 38 ยังคงใช้เป็นเส้นแบ่งประเทศ และในเกาหลีใต้ยังคงมีกลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์และต่อต้านเกาหลีเหนืออยู่ แต่สำหรับในสหรัฐสงครามเกาหลีไม่ได้รับความสนใจมากเหมือนกับสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือสงครามเวียดนาม บางครั้งสงครามนี้ถูกเรียกว่า “สงครามที่ถูกลืม”
==อ้างอิง==
<references/>


==หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ==
==หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ==

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:05, 6 เมษายน 2558

ผู้เรียบเรียง : มนันญา ภู่แก้ว

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : นายจเร พันธุ์เปรื่อง


เกาหลีเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานไม่น้อยกว่า 5,000 ปี และตลอดระยะเวลาที่ยาวนานนั้นเกาหลีเต็มไปด้วยสงครามตลอดมา เพราะที่ตั้งของประเทศเกาหลีเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญระหว่างญี่ปุ่น จีน และอดีตสหภาพโซเวียต ทำให้จีนและญี่ปุ่นต่างต้องการที่จะเข้าไปมีอิทธิพลเหนือเกาหลี ทำให้ประเทศทั้งสองเข้ารุกรานเกาหลีตลอดมา

ในช่วงต้นและกลางศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1910 – 1945) ญี่ปุ่นได้เข้าครอบครองเกาหลีไว้ทั้งประเทศแล้วเปลี่ยนชื่อประเทศเกากลีเป็น “ประเทศโซเซน” (Chosen) เมื่อญี่ปุ่นเป็นประเทศที่พ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลีจึงได้รับเอกราชตามคำประกาศแห่งไคโรของฝ่ายพันธมิตร ซึ่งการได้รับเอกราชของเกาหลีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ทำให้เกาหลีถูกแบ่งแยกออกเป็น 2 เขตการยึดครอง คือ เขตยึดครองของโซเวียตและเขตยึดครองของสหรัฐ (ตั้งแต่บริเวณใต้เส้นขนานที่ 38) ซึ่งต่อมาเขตยึดครองของมหาอำนาจทั้งสองกลายมาเป็นประเทศเกาหลี 2 ประเทศในปัจจุบัน คือ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) และสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)

สงครามเกาหลี เป็นส่วนหนึ่งของสงครามเย็น ซึ่งเริ่มต้นสู้รบกันอย่างเต็มรูปแบบในพื้นที่คาบสมุทรเกาหลีในวันที่ 25 มิถุนายน 1950 จนกระทั่งมีการทำสัญญาสงบศึกกันในวันที่ 27 กรกฎาคม 1953 มีผลให้เกิดการจัดตั้งเขตปลอดทหาร ดินแดนถูกเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยตามเส้นขนานที่ 38 เมื่อมองในมุมแคบๆสงครามเกาหลีเป็นการยกระดับสงครามกลางเมืองเกาหลีที่ทำการต่อสู้ระหว่าง 2 ระบอบที่มีมหาอำนาจให้การสนับสนุน ทั้ง 2 ฝ่ายพยายามที่จะโค่นล้มฝ่ายตรงข้ามโดยผ่านกรรมวิธีทางการเมืองและยุทธวิธีกองโจร แต่ถ้ามองในมุมกว้างก็จะพบว่า ความขัดแย้งได้ถูกขยายให้รุนแรงขึ้นโดยการเข้ามาแทรกแซงของสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามที่ยิ่งใหญ่กว่าสงครามเกาหลี นั่นคือ สงครามเย็น (25 มิ.ย. 1950 – 27 ก.ค. 1953)

การยึดครองที่ยาวนานของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1910 – 1945)

ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เกาหลีถูกรุกรานจากจีนและญี่ปุ่นหลายครั้ง หลังจากที่ญี่ปุ่นชนะจีนในสงครามจีนกับญี่ปุ่น (Sino – Japanese War 1894 – 1895) แต่ญี่ปุ่นก็ยังคงกำลังทหารไว้ในเกาหลีและยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ทางยุทธศาสตร์ของประเทศเกาหลีไว้ และอีก 10 ปีต่อมา ญี่ปุ่นก็สามารถเอาชนะในสงครามทางเรือต่อรัสเซีย – ญี่ปุ่น (Russo – Japanese War 1904 – 1905) ทำให้ญี่ปุ่นมาเป็นมหาอำนาจจักรวรรดินิยม ญี่ปุ่นจึงยังยึดครองเกาหลีต่อไปและขยายการยึดครองไปยังดินแดนต่างๆ ของประเทศเกาหลีโดยใช้กำลังทหาร จนในที่สุดญี่ปุ่นก็ได้ผนวกเกาหลีเป็นดินแดนของญี่ปุ่นเมื่อเดือนสิงหาคม 1910[1]

เมื่อญี่ปุ่นเข้ามาปกครองเกาหลี ญี่ปุ่นจัดการฟื้นฟูประเทศเกาหลีให้มีความก้าวหน้าตามนโยบายจักรวรรดินิยมของญี่ปุ่น เช่น ผลักดันให้เกาหลีมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ แต่ประชากรชาวเกาหลีกลับได้ผลประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจเพียงเล็กน้อย นอกจากนั้นญี่ปุ่นยังกดขี่เกาหลีทางด้านวัฒนธรรมด้วย เช่น ห้ามใช้ภาษาเกาหลี และเมื่อชาวเกาหลีกลุ่มใดเรียกร้องเสรีภาพ ญี่ปุ่นจะให้ตำรวจเข้าทำการปราบปราม จึงทำให้ชาวเกาหลีดิ้นรนแสวงหาอิสรภาพอย่างเต็มที่ ในที่สุดได้เกิด “ขบวนการซามิว” หรือ “ขบวนการ 1 มีนาคม” ขึ้นในปี ค.ศ. 1919 ซึ่งขบวนการซามิวนี้ประกอบด้วยฝูงชนที่ปราศจากอาวุธจำนวนมาก พากันเดินขบวนเรียกร้องให้ชาวโลกช่วยเกาหลีให้หลุดพ้นจากความเป็นทาสของญี่ปุ่น แต่การปฏิบัติการของขบวนการซามิวไม่สำเร็จผล บรรดาผู้นำในการกอบกู้เอกราชของเกาหลีจึงได้จัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นในประเทศจีน โดยตั้งให้นายซิงมัน รี เป็นประธานาธิบดีคนแรกของรัฐบาลเกาหลี แต่ต่อมาไม่นานรัฐบาลพลัดถิ่นดังกล่าวเกิดการแตกแยกเป็นหลายฝ่าย ในที่สุดกลุ่มที่นิยมโซเวียตก่อตัวเป็นกองโจรแล้วต่อต้านญี่ปุ่นอยู่ตามบริเวณพรมแดนที่ติดต่อระหว่างเกาหลีกับแมนจูเรีย ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเป็นปรปักษ์ต่อคอมมิวนิสต์ซึ่งทำการต่อต้านอย่างดุเดือดเช่นเดียวกับกลุ่มนิยมโซเวียต และในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กลุ่มที่เป็นปรปักษ์ต่อคอมมิวนิสต์ได้เข้าร่วมกับกองทัพจีน ส่วนนายซิงมัน รี เดินทางไปยังกรุงวอชิงตัน เพื่อหาทางกอบกู้เอกราชให้เกาหลีโดยวิถีทางการทูตและการเมือง แต่ความแตกแยกทางความคิดของรัฐบาลพลัดถิ่นของเกาหลีในจีนก็ยังคงมีอยู่[2]

เกาหลีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1945 – 1950)[3]

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากพันธมิตรจะประกาศให้เกาหลีเป็นเอกราชแล้ว สหรัฐอเมริกากับอดีตสหภาพโซเวียตยังตกลงกันว่า เมื่อชนะสงครามแล้วจะใช้เส้นขนานที่ 38 เป็นเส้นแบ่งเขต สำหรับควบคุมกองทหารญี่ปุ่นของแต่ละฝ่าย

และเมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1945 กองทัพสหรัฐอเมริกาเคลื่อนกำลังไปในดินแดนเกาหลีตั้งแต่ใต้เส้นขนานที่ 38 ลงมา ส่วนสหภาพโซเวียตเคลื่อนกำลังเข้าไปในเกาหลีตั้งแต่บริเวณเหนือเส้นขนานที่ 38 ขึ้นไป และแต่ละฝ่ายจัดตั้งการปกครองในเกาหลีทั้ง 2 เขตตั้งแต่นั้นมา จึงก่อให้เกิดการแบ่งแยกประเทศเกาหลีออกเป็น 2 ประเทศ แต่สหรัฐอเมริกาไม่เห็นด้วยกับการแบ่งแยกดังกล่าวจึงขัดขวางโดยเสนอให้รวมเกาหลีทั้ง 2 เป็นประเทศเดียวกัน ซึ่งทางสหภาพโซเวียตเห็นด้วยแต่มีเงื่อนไขว่า รัฐบาลที่จะปกครองเกาหลีต้องเป็นรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นตามเงื่อนไขของสหภาพโซเวียตเท่านั้น สหรัฐอเมริกาจึงนำปัญหานี้เสนอต่อองค์การสหประชาชาติพิจารณาเมื่อกันยายน ค.ศ. 1947 ต่อมาสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีมติให้เลือกตั้งทั่วไปในเกาหลีและให้อยู่ในความควบคุมของสหประชาชาติ แต่สหภาพโซเวียตปฏิเสธความร่วมมือ และเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1948 จึงมีการเลือกตั้งทั่วไปในเกาหลีเฉพาะเขตที่อยู่ในการยึดครองของสหรัฐอเมริกาเพียงเขตเดียวเท่านั้น การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งสมาชิกประจำสมัชชาแห่งชาติของเกาหลี หลังจากการเลือกตั้งผ่านพ้นสมัชชาแห่งชาติเกาหลีได้ทำการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตยและประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ในวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1948 และในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งชาติเกาหลีประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐเกาหลีขึ้นเป็นทางการ โดยมีนายซิงมัน รี เป็นประธานาธิบดีคนแรก

และขณะเดียวกันในช่วงต้นปี ค.ศ. 1946 สหภาพโซเวียตก็ตอบโต้ด้วยการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาปกครอง ในดินแดนยึดครองของตนเองบ้าง โดยมีนายคิม อิล - ซุง เป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล ซึ่งเป็นไปในแนวทางคอมมิวนิสต์ ทำให้ชาวเกาหลีจำนวนมากที่อยู่ในเขตการปกครองนี้หนีลงข้ามเส้นขนานที่ 38 มาอาศัยในเขตที่สหรัฐอเมริกาได้ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐเกาหลีขึ้น ต่อมาเมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1948 สหภาพโซเวียตจึงจัดตั้งเขต ยึดครองของตนเป็นประเทศ “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี” มีนายคิม อิล – ซุง เป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล และเมื่อจัดตั้งประเทศเกาหลีเหนือสำเร็จ สหภาพโซเวียตจึงถอยทัพออกไปจากดินแดนเกาหลีเหนือนับแต่นั้นมา เกาหลีจึงกลายเป็น 2 ประเทศ โดยมีเส้นขนานที่ 38 เป็นเส้นแบ่งดินแดน

เหตุการณ์ที่เกิดกับเกาหลีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แสดงให้เห็นว่าเกาหลีเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มหาอำนาจผู้ชนะสงครามได้วางแผนให้สู้รบกันเอง เพราะการแบ่งแยกประเทศและการแบ่งแยกแนวความคิดทางการเมือง และเมื่อสงครามสิ้นสุดลงแล้วชาวเกาหลียังต้องจับอาวุธรบกันเองครั้งยิ่งใหญ่ เพราะเหตุที่มหาอำนาจ “ยัดเยียด” หรือ “ส่งเสริม” แนวความคิดทางการเมืองที่แตกต่างกันให้กับชาวเกาหลีนั่นเอง

สงครามเริ่ม (ค.ศ. 1950 – 1953)[4]

ในวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1950 กองทัพเกาหลีเหนือเคลื่อนผ่านเส้นขนานที่ 38 มายังเกาหลีใต้ ดินแดนเกาหลีต้องประสบกับภาวะสงครามครั้งยิ่งใหญ่นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง สงครามครั้งนี้เรียกกันว่า “สงครามเกาหลี” เป็นสงครามที่ดำเนินต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานถึง 4 ปี (ค.ศ. 1950 – 1953) เกาหลีเหนืออ้างว่ากองทัพสาธารณรัฐเกาหลีภายใต้โดยการนำของ ซิงมัน รี ผู้ขายชาติ ได้บุกรุกข้ามชายแดนมาก่อน และซิงมัน รี จะต้องถูกจับกุมตัวและประหารชีวิต

ในสงครามครั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบแล้วเกาหลีเหนือมียุทโธปกรณ์และกองกำลังที่เหนือชั้นกว่าเกาหลีใต้อยู่มาก ทำให้กองทัพเกาหลีเหนือเข้าจู่โจมและได้รับผลสำเร็จอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้กองทัพเกาหลีเหนือยึดกรุงโซลได้ในบ่ายวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1950 แต่อย่างไรก็ตาม ความหวังของเกาหลีเหนือที่จะได้รับการยอมแพ้จากรัฐบาลของ ซิงมัน รี และทำการรวมชาติได้อย่างรวดเร็วก็ได้สลายไปเมื่อสหรัฐอเมริกาและชาติมหาอำนาจอื่นๆ เข้าแทรกแซงและขยายสงครามกลางเมืองเป็นความขัดแย้งนานาชาติ

ปฏิกิริยาของชาติตะวันตกและการเข้าแทรกแซงของสหรัฐ

ประธานาธิบดี ทรูแมน ของสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นได้เดินทางไปที่สหประชาชาติเพื่อขอคำอนุมัติ ในการนำกำลังสหประชาชาติเข้าทำการยุติสงครามและเกาหลีเหนือต้องถอนกำลังไปที่เส้นขนานที่ 38 จัดตั้งคณะกรรมาธิการสหประชาชาติเพื่อเฝ้าดูสถานการณ์และให้ระงับการช่วยเหลือรัฐบาลเกาหลีเหนือ ซึ่งเรื่องดังกล่าว ทรูแมน กระทำโดยไม่ได้มีการเสนอให้ที่ประชุมสภาของสหรัฐอเมริการ่วมพิจารณาด้วย แต่คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติก็ได้ผ่านมติดังกล่าวอย่างเป็นเอกฉันท์ โดยปราศจากผู้แทนของสหภาพโซเวียตเข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ สหประชาชาติจึงลงคะแนนเสียงให้ช่วยเหลือเกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกาจึงได้ประกอบกำลังทหารและส่งกำลังบำรุงจากชาติสมาชิก คือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ ฝรั่งเศส แอฟริกาใต้ เตอร์กี ไทย กรีก เนเธอร์แลนด์ เอธิโอเปีย โคลัมเบีย ฟิลิปปินส์ เบลเยี่ยม และลักแซมเบิร์ก เข้าร่วม

นอกจากนั้น นายทรูแมนยังได้สั่งการให้นายพล ดักลาส แมคอาเธอร์ ผู้บังคับบัญชาการสูงสุดของฝ่ายพันธมิตร ซึ่งยึดครองญี่ปุ่นอยู่ในขณะนั้น ส่งอาวุธ ยุทโธปกรณ์ สนับสนุนให้กับกองทัพเกาหลีใต้ และสั่งให้กองทัพเรือที่ 7 ของสหรัฐอเมริกาเดินทางมายังช่องแคบไต้หวันเพื่อป้องกันจีนคอมมิวนิสต์บุกเข้ายึดเกาะไต้หวันและขณะเดียวกันป้องกันไม่ให้จีนคณะชาติที่ไต้หวันบุกยึดพื้นที่แผ่นดินใหญ่ของจีน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สงครามแผ่ขยายไปยังเอเชียตะวันออก

เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1950 กองทัพเกาหลีใต้และกองทัพบกของสหรัฐอเมริกาภายใต้การบังคับบัญชาของ พลเอก วอลตัน วอคเคอร์ ถูโจมตีถอยร่นมายังปูซาน ขณะที่กองทัพเกาหลีเหนือบุกมานั้นได้ไล่สังหารชาวเมืองที่เคยช่วยพวกเขาในการต่อต้าน ซิงมัน รี ในสงครามครั้งนี้อย่างโหดร้าย และในเดือนกันยายนปีเดียวกัน กองกำลังพันธมิตรชั่วคราวยังยึดพื้นที่รอบเมืองปูซานไว้ได้ ซึ่งเป็นเพียง 10 % ของคาบสมุทรเกาหลี

ยกระดับสงครามเกาหลีและการบุกเกาหลีเหนือ[5]

ในการเผชิญหน้ากับการโจมตีอย่างดุเดือดของเกาหลีเหนือ การตั้งรับของฝ่ายพันธมิตรกลายเป็นการสู้รบแบบเข้าตาจนที่ฝ่ายสหรัฐอเมริกาเรียกว่า “สงครามวงรอบปูซาน” (Battle of Pusan Perimeter) อย่างไรก็ตาม เกาหลีเหนือไม่สามารถตีเมืองปูซานแตกได้ ซึ่งขณะนั้นทั่วทั้งเกาหลีเต็มไปด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิด สหรัฐได้โจมตีแหล่งส่งกำลังหลักต่างๆ ของเกาหลีเหนือ เพื่อให้กองทัพเกาหลีเหนือขาดแคลนสิ่งจำเป็นในการทำสงคราม ซึ่งการทำลายของเครื่องบินทิ้งระเบิดครั้งนี้ทำให้การส่งยุทโธปกรณ์ไม่สามารถไปถึงกองทัพเกาหลีเหนือ ที่ปฏิบัติการรบอยู่ทางใต้ได้ ในขณะเดียวกันฐานส่งกำลังในญี่ปุ่นของสหรัฐอเมริกาได้ทำการส่งอาวุธและกำลังทหารมายังเมืองปูซานอย่างมากมาย ทำให้เกาหลีใต้มีความแข็งแกร่งและมีกำลังทหารมากกว่ากองทัพเกาหลีเหนือ อยู่กว่าเกือบแสน และในเวลานี้เองกองทัพสหประชาชาติและเกาหลีใต้ก็ได้เริ่มปฏิบัติการโจมตีตอบโต้ กองทัพสหประชาชาติได้ขับไล่กองทัพเกาหลีเหนือผ่านเส้นขนานที่ 38 จุดหมายปลายทางในการที่จะปกป้องรักษารัฐบาลเกาหลีใต้บรรลุแล้ว กองทัพสหประชาชาติได้ข้ามแดนเข้าไปในเกาหลีเหนือเมื่อต้นเดือนตุลาคม ค.ศ. 1950 ทำให้กองทัพเกาหลีเหนือแตกกระจายและถูกจับเป็นเชลยถึง 135,000 คน และการรุกของกองสหประชาชาติ ครั้งนี้สร้างความกังวลให้จีนมาก เพราะเป็นห่วงว่าสหประชาชาติจะไม่หยุดอยู่เพียงแม่น้ำยาลูซึ่งเป็นชายแดนระหว่างเกาหลีเหนือและจีน และจะดำเนินนโยบายให้จีนกลับสู่อำนาจเก่าคือ เจียงไคเช็ค หลายคนในชาติตะวันตกรวมทั้งนายพล ดักลาส แมคอาเธอร์ คิดว่ามีความจำเป็นต้องขยายสงครามไปสู่จีน แต่ทรูแมนและผู้นำคนอื่นๆ ไม่เห็นด้วย นายพล ดักลาส แมคอาเธอร์จึงถูกกล่าวเตือนในเรื่องดังกล่าว แต่นายพลฯ ก็ไม่ใส่ใจการเตือนนั้น โดยเขาแย้งว่าเนื่องจากกองทัพเกาหลีเหนือได้รับการส่งกำลังจากฐานในเขตแดนจีน คลังส่งกำลังเหล่านั้นจึงควรถูกทำลายด้วย

การเข้าประเทศจีน[6]

8 ตุลาคม ค.ศ. 1950 หลังจากที่ทหารสหรัฐอเมริกาข้ามเส้นขนานที่ 38 ไปแล้ว ประธานเหมาเจ๋อตุงของจีนได้ออกคำสั่งให้รวบรวมกองทัพอาสาสมัครประชาชนจีนเคลื่อนพลไปยังแม่น้ำยาลู และเตรียมพร้อมที่จะข้ามแม่น้ำ ขณะเดียวกันเหมาเจ๋อตุงมองหาความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและมองว่าการแทรกแซงสงครามเกาหลีครั้งนี้เป็นเพียงการป้องกันตนเอง เขากล่าวกับสตาลินว่า “ถ้าเรายินยอมให้สหรัฐอเมริกาครอบครองเกาหลีทั้งหมด เราก็ต้องเตรียมตัวให้สหรัฐอเมริกาประกาศสงครามกับจีน” อย่างไรก็ตาม สหภาพโซเวียตก็ได้ตัดสินใจให้การช่วยเหลืออย่างจำกัดกับจีน ทำให้จีนโกรธเคืองมาก ในขณะที่สหรัฐอเมริกาก็รู้ดีว่าสหภาพโซเวียตได้ส่งกำลังทางอากาศเข้ามาในสงครามเกาหลี แต่ก็นิ่งเฉยเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่อาจนำไปสู่สงครามนิวเคลียร์ และในวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1950 นั้นเองที่เป็นวันที่กองทัพอาสาประชาชนจีนเข้าปะทะกับทหารสหรัฐอเมริกา โดยในการปะทะครั้งนี้จีนทำการเคลื่อนพลได้อย่างมีระเบียบวินัยและแยบยลเป็นอย่างยิ่ง

ปลายเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1950 กองทัพจีนได้เข้าโจมตีพื้นที่ด้านตะวันตกตามแนวแม่น้ำชองชอน และสามารถเอาชนะกองทัพเกาหลีใต้หลายกองพลและประสบความสำเร็จในการเข้าตีกองทัพสหประชาชาติ ที่เหลืออยู่ จากความพ่ายแพ้ของกองทัพสหรัฐอเมริกาเป็นเหตุให้ทหารสหรัฐอเมริกาต้องล่าถอยเป็นระยะยาวที่สุดในประวัติศาสตร์

การสู้รบข้ามเส้นขนานที่ 38 (ต้นปี ค.ศ. 1951)[7]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1951 ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ทำการโจมตีอีกครั้งในช่วงที่เรียกว่า Chinese Winter Offensive กองทัพจีนได้ใช้ยุทธวิธีในรูปแบบเดิมอย่างที่เคยทำ สถานการณ์ของกองทัพที่ 8 แย่ลงไปอีกเมื่อพลเอกวอคเคอร์เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ผู้นำคนใหม่คือ พลโท แมททิว ริดจ์เวย์ ซึ่งเขาเริ่มดำเนินการด้วยการกระตุ้นขวัญและกำลังใจของกองทัพที่ 8 ซึ่งตกต่ำจากการถูกโจมตีจนต้องล่าถอยเป็นระยะทางไกล และในปลายเดือนมกราคมนั้น จากการลาดตระเวน ริดจ์เวย์พบว่า แนวรบตรงหน้าเขาปราศจากข้าศึก เขาจึงพัฒนาแผนการรุกแบบเต็มกำลังในยุทธการราวอัพ (Operation Roundup ) ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างมากใน ต้นเดือนกุมภาพันธ์ กองทัพสหประชาชาติมาถึงแม่น้ำฮันและยึดเมืองวอนจูได้อีกครั้ง

จีนทำการโต้ตอบกลับในเดือนกุมภาพันธ์ที่ฮองซองในภาคกลางเข้าตีที่ตั้งกองทัพน้อยที่ 9 รอบเมืองชิบยองนี กองพลทหารราบที่ 2 ของสหรัฐรวมกับกองพันทหารฝรั่งเศสได้ทำการต่อสู้ชนิดเข้าตาจนในช่วงเวลาสั้น แต่ก็สามารถต้านการรุกของจีนได้ และในสองสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1951 กองทัพบกที่ 8 รุกเต็มรูปแบบเพื่อใช้อำนาจการยิงสูงสุดและมุ่งทำลายกองทัพจีนและเกาหลีเหนือมากที่สุดโดยยุทธการคิลเลอร์ กองทัพน้อยที่ 1 จึงได้ยึดครองดินแดนด้านใต้ของฮัน ในขณะที่กองทัพน้อยที่ 9 สามารถยึดครองรองซอนได้

ในวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1951 ประธานาธิบดีทรูแมนได้ปลดพลเอกแมคอาเธอร์ออกจากตำแหน่ง ผู้บัญชาการกองทัพสหประชาชาติเนื่องจากขัดคำสั่ง ผู้บัญชาการคนใหม่คือพลเอกริดจ์เวย์ ได้จัดการกลุ่มกองทัพสหประชาชาติใหม่ เกิดการโจมตีอย่างเป็นขั้นเป็นตอนขับไล่คอมมิวนิสต์ให้ถอยไปช้าๆ กองทัพสหประชาชาติยังคงรุกคืบจนกระทั่งถึงแนวแคนซัส ซึ่งอยู่เหนือเส้นขนานที่ 38 หลายไมล์ อย่างไรก็ตาม จีนยังอยู่ไกลจากคำว่าพ่ายแพ้ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1951 พวกเขาได้เปิดฉากการรุกในช่วงที่ 5 การโจมตีหลักคือ ตำแหน่งกองทัพน้อยที่ 1 แต่ก็ถูกต้านทานอย่างเหนียวแน่นที่แม่น้ำอิมจินและคาเปียง การรุกของจีนถูกหยุดลงที่ที่แนวตั้งรับเหนือกรุงโซล

กองทัพสหประชาชาติตัดสินใจหยุดอยู่แค่แนวแคนซัส ซึ่งอยู่เหนือเส้นขนานที่ 38 และหยุดนิ่งไม่มีทีท่าที่จะทำการรุกขึ้นไปในเกาหลีเหนือ บ่งชี้ถึงช่วงเวลาที่เกิดมีการยิงกัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหลือจนกระทั่งมีการตกลงเพื่อหยุดยิง

การเจรจา ( กรกฎาคม ค.ศ. 1951 – กรกฎาคม 1953)[8]

ช่วงเวลาต่อมาของสงครามมีการเปลี่ยนแปลงดินแดนที่ยึดได้เพียงเล็กน้อย และในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1951 ที่เคซองได้เริ่มต้นการเจรจาเพื่อสันติภาพกันอย่างยาวนาน แต่การสู้รบก็ยังคงดำเนินต่อไป จุดหมายปลายทางของเกาหลีใต้และพันธมิตรคือการยึดดินแดนเกาหลีใต้คืนมาก่อนที่ข้อตกลงจะบรรลุเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียดินแดน จีนและเกาหลีเหนือพยายามทำเช่นเดียวกัน

ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 1952 ดไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ผู้ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ได้พยายามหาทางยุติความขัดแย้งในเกาหลี สหประชาชาติยอมรับข้อเสนอของอินเดียในการสงบศึกเกาหลี และเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1953 ทั้ง 2 ฝ่ายต่างหยุดยิงกัน ซึ่งแนวรบนั้นอยู่ที่ประมาณเส้นขนานที่ 38 ดังนั้นเขตปลอดทหารจึงถูกกำหนดขึ้นที่บริเวณนั้น และต่อมาเกาหลีเหนือและสหรัฐอเมริกาได้ลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกกัน แต่ซิงมัน รี ปฏิเสธที่จะลงนามในสัญญานั้น

และจนถึงทุกวันนี้เขตปลอดทหารที่เส้นขนานที่ 38 ยังคงใช้เป็นเส้นแบ่งประเทศ และในเกาหลีใต้ยังคงมีกลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์และต่อต้านเกาหลีเหนืออยู่ แต่สำหรับในสหรัฐสงครามเกาหลีไม่ได้รับความสนใจมากเหมือนกับสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือสงครามเวียดนาม บางครั้งสงครามนี้ถูกเรียกว่า “สงครามที่ถูกลืม”

อ้างอิง

  1. ประยุทธ เปี่ยมสุวรรณ์.บทความ เรื่อง สงครามเกาหลี (Korean War) ค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2557, จาก https://sites.google.com/site/aircadet3023/warhistory-1/warhistory.
  2. ธนู แก้วโอภาส. สงครามแห่งศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ลอจิก, 2549. หน้า 258-259.
  3. เรื่องเดียวกัน, หน้า 259-260
  4. เรื่องเดียวกัน ,หน้า 260.
  5. อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ 1 หน้า 9-10.
  6. เรื่องเดียวกัน, หน้า 11-13.
  7. เรื่องเดียวกัน,หน้า 13-15.
  8. เรื่องเดียวกัน,หน้า 15.

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

ธนู แก้วโอภาส. สงครามแห่งศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ลอจิก, 2549.

ปรีชา ศรีวาลัย. สงครามโลก ครั้งที่ 1 – 2 และสงครามเกาหลี, สำนักการพิมพ์โอเดียนสโตร์: กรุงเทพฯ, 2545.

บรรณานุกรม

ธนู แก้วโอภาส. สงครามแห่งศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ลอจิก, 2549.

กรมยุทธศึกษาทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด พ.ศ. 2551. ประวัติการรบทหารไทยในสงครามเกาหลี. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นท์ติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2551

ปรีชา ศรีวาลัย.สงครามโลก ครั้งที่ 1-2 และสงครามเกาหลี.กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์

ประยุทธ เปี่ยมสุวรรณ์. สงครามเกาหลี (Korean War) ค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2557, จาก https://sites.google.com/site/aircadet3023/warhistory-1/warhistory