ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทฤษฎีเกมในรูปแบบความขัดแย้งในสังคมไทย"
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 143: | บรรทัดที่ 143: | ||
Root, Hilton L., Mesquita De Bueno Bruce (2000), Governing for Prosperity: When Bad Economics is Good Politics, Yale University Press/ New Haven and London, pp. 1-16. | Root, Hilton L., Mesquita De Bueno Bruce (2000), Governing for Prosperity: When Bad Economics is Good Politics, Yale University Press/ New Haven and London, pp. 1-16. | ||
---- | |||
*[http://www.kpi.ac.th/kpith/pdf/%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3/53/01/53-01%2005.%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%20-%20%E0%B8%94%E0%B8%A3.%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95.pdf ทฤษฎีเกมในรูปแบบความขัดแย้งในสังคมไทย '''(PDF Download)'''] | |||
[[หมวดหมู่: | [[หมวดหมู่:ความหมายสันติวิธี/การสร้างสังคมสันติสุข]] | ||
[[หมวดหมู่:วารสารปีที่ 8 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน 2553]] | [[หมวดหมู่:วารสารปีที่ 8 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน 2553]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:32, 29 สิงหาคม 2556
ผู้เรียบเรียง อาจารย์ ดร.อรรถกฤต ปัจฉิมนันท์
วารสารสถาบันพระปกเกล้า ปี 2553 เล่มที่ 1
การศึกษาวิชารัฐศาสตร์ในปัจจุบันโดยเฉพาะวิชา การเมืองและการปกครองเปรียบเทียบโดยเน้นการวิเคราะห์การปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยมีความสำคัญอย่างมากในการทำความเข้าใจถึงปัญหาที่นำมาสู่ความแตกต่างในด้านการออกแบบนโยบายต่างๆรวมถึงการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่แตกต่างกันในกลุ่มประเทศต่างๆ Burkhart Ross E.; Michael S. Lewis-Beck (1998), Anne O. Krueger Root, Hilton L. (1994) และ Mesquita De Bueno Bruce (2000) ได้อธิบายระบบสถาบันทางการเมืองและระบบวัฒนธรรมการเมืองโดยทั่วไปที่เป็นตัวบ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ของระบบพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ การเลือกตั้ง และ ผลลัพธ์ของรูปแบบนโยบาย รวมถึง แนวคิดการบริหารประเทศในรูปแบบของระบบสถาบันภายใต้ระบอบประชาธิปไตย โดย Arend Lijphart (1999) ได้มุ่งเน้นที่จะศึกษาการดำเนินการนโยบายต่างๆที่สำคัญใน 36 ประเทศโดย การเปรียบเทียบระบบพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ และ การเลือกตั้ง ภายใต้เงื่อนไข Westminster Model และ Consensus model ในการศึกษาการพัฒนาความสัมพันธ์ของFormal Institutions และ Informal Institutions ซึ่งความสัมพันธ์เหล่านี้จะนำไปสู่ความเข้าใจในหลักเกณฑ์และความแตกต่างของนโยบายต่างๆ นอกจากนั้นการวิจัย ของ Pier Carlo P (1997), North Douglass C., Barry R. Weingast (1989), และ Jess Benhabib and Adam Przeworski (2006) บ่งชี้ถึงความสำคัญของระบบพรรคการเมืองที่เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันแบบทางการ(Formal Institutions)และมีความสัมพันธ์กับ วัฒนธรรม เชื้อชาติ และ ศาสนา หรือ สถาบันแบบไม่ทางการ(Informal Institutions) ได้อย่างเด่นชัด เนื่องมาจาก ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นตัวบ่งชี้ถึงการขับเคลื่อนของระบบสถาบันโดยรวม (Institutions) ในการการพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยผ่านกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเจรจาในรูปแบบการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด (Bargaining on Transaction Costs)โดยเฉพาะมุมมองของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา เนื่องมาจากการขับเคลื่อนการพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นสัญญาณในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน (Long-Term Economic Growth by Democratic Transition) เช่น ปัจจัยของระบบการเลือกตั้งและระบบพรรคการเมืองที่เอื้ออำนวยให้กับพรรคการเมืองในการดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูประบบราชการแต่ในทางตรงกันข้ามความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นอาจนำมาสู่ความถดถอยในการขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ เช่น ปัญหาความขัดแย้งในทางการเมือง และ สังคม ที่เริ่มก่อตัวจากความบกพร่องของระบบพรรคการเมือง หรือ นโยบายต่างๆที่เอื้อผลประโยชน์ และในที่สุดทำให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติและกับความเชื่อมั่นในการลงทุนของต่างชาติ โดยเฉพาะผลจากการรัฐประหารที่ผ่านมาหลายครั้งในประเทศไทย
ปัจจุบันปัญหาดังกล่าวนี้มีความเชื่อมโยงกันของปัจจัยในระบบสถาบันโดยรวม เช่น ความขัดแย้งพื้นฐานของกฎกติกาทางการเมืองที่เกิดจากความเชื่อมโยงกันระหว่างการขาดกฎหมายที่เข้มงวด และการแสวงหาผลประโยชน์จากนโยบายของพรรคการเมือง ซึ่งความขัดแย้งขั้นพื้นฐานในด้านกฎกติกาทางการเมืองเหล่านี้นำมาสู่การขาดประสิทธิภาพ (Pareto Inefficiency) ในการใช้นโยบายทางด้านจุลภาคและ มหภาคต่างๆ ที่จะใช้ในการขับเคลื่อนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ผลกระทบของความขัดแย้งนี้ ได้สะท้อนถึงการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบครึ่งใบ หรือ ระบอบประชาธิปไตยแบบไม่เต็มใบ อย่างชัดเจน โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นแค่สัญลักษณ์ในรูปแบบ Consensus เท่านั้นและไม่ได้บ่งชี้ถึงความเป็นประชาธิปไตยแบบสมบูรณ์
ดังนั้นบทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่มุ่งเน้นการศึกษาจากทฤษฎีเกมในทางเศรษฐศาสตร์ และ รัฐศาสตร์ เพื่อที่จะหากรอบแนวคิด เงื่อนไข และความสัมพันธ์ของความขัดแย้งพื้นฐานที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์เชิงลึกของระบบพรรคการเมือง หรือ Formal Institution และระบบอุปถัมภ์ หรือ Informal Institution เช่น ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดระหว่างผู้ที่สนับสนุนระบอบทักษิณ และกลุ่มที่ต่อต้านระบอบทักษิณโดยระบอบทักษิณก่อให้เกิดการเอื้อผลประโยชน์ให้แก่พวกพ้อง ดังนั้น ถ้าจะแก้ที่ปัญหาทางการเมืองทางวัฒนธรรมและการเปลี่ยนระบบการเลือกตั้งอาจไม่ ใช่สิ่งที่จะแก้ไขได้ง่ายในระยะสั้น เนื่องมาจากพฤติกรรมของพรรคการเมือง ข้าราชการประจำ องค์กรอิสระ และ อาจรวมถึง ตุลาการ มีความเชื่อมโยงกับความสัมพันธ์กับ ทางด้านวัฒนธรรม ที่มีมานาน การหาวิธีการแก้ปัญหาในทางปฏิบัติเป็นประเด็นที่ควรนำมาพิจารณา เนื่องมาจากปัญหาที่เกิดขึ้นไม่สามารถใช้แนวทางแก้ปัญหาโดยใช้ทฤษฎีโดยตรง แต่ต้องเอาแนวคิดทางทฤษฎีที่เกิดขึ้นใหม่มาคิดอย่างรอบคอบ หรือต้องคิดแนวทางใหม่ๆ ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องสร้างกฎกติกาที่เหมาะสมโดยสร้างกฎกติกาภายใต้การปฏิรูปมาตราต่างๆในรัฐธรรมนูญนิยมใหม่ที่มีการควบคุมปัญหาของพฤติกรรมในโครงสร้างทางวัฒนธรรมซึ่งเอื้อประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่ม พรรคการเมือง และ ข้าราชการประจำต่างๆ ที่นำไปสู่สังคมของการคอรัปชั่นเชิงนโยบายในรูปแบบที่ซับซ้อน (Rent-seeking Behaviors) อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น การปฎิรูปรูปแบบของโครงสร้างทางวัฒนธรรมในเชิงอุปถัมภ์ ภายใต้สภาวะสินน้ำใจที่เกิดขึ้นกับประเทศที่กำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา โดยมีกรอบการคิดและนโยบายแบบที่มีเงื่อนไขอย่างถูกต้องและชัดเจน โดยบทความนี้ไม่มีจุดประสงค์ในการหาวิธีที่จะแก้ปัญหาในสังคมไทยแต่มีจุดประสงค์ที่จะเน้นการใช้กรอบและแนวทางทฤษฎีสมัยใหม่ในการวิเคราะห์ความขัดแย้งในรูปแบบของสมการและสร้างปัจจัยในการอธิบายความล้มเหลวของการเจรจาและข้อตกลงที่เกิดขึ้นโดย บทความแบ่งการอธิบายและการวิเคราะห์ดังนี้
1) การอธิบายต้นเหตุปัญหาความขัดแย้งและกรอบการคิดทฤษฎีความพึงพอใจ
2) การวิเคราะห์ปัจจัยหรือตัวแปรที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งพื้นฐานของกฎกติกาทางการเมืองในรูปแบสมการ และ
3) ความเข้าใจกรอบการคิดทฤษฎีเกมภายใต้ความขัดแย้งพื้นฐานในสังคมไทย
1) การอธิบายต้นเหตุปัญหาความขัดแย้งอย่างสั้นและกรอบการคิด ทฤษฎีความพึงพอใจ
ปัญหาความขัดแย้งทางความคิดทางการเมืองในสังคมไทยที่เห็นได้อย่างชัดเจนในปัจจุบันเกิดจากความขัดแย้งในอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างผู้ที่สนับสนุนระบอบทักษิณ และกลุ่มที่ต่อต้านทักษิณนั้น สืบเนื่องมาจากการที่นำนโยบายต่างๆของ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร มาใช้และส่งผลทำให้ประชากรในระดับรากหญ้ามีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หรือ การยกระดับความพึงพอใจในระบอบทักษิณ จึงทำให้มีผู้สนับสนุนระบอบทักษิณอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องมาจากการที่นโยบายหลักของผู้นำ ชื่อ ทักษิณ ได้ใช้นโยบายที่มีการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาการส่วนใหญ่ให้ดีขึ้น โดยอุดมการณ์และแนวคิดสมัยใหม่ของพรรคไทยรักไทยเข้าใจถึงหลักนโยบายที่นำมาใช้ โดยสามารถอธิบายแนวคิดสมัยใหม่ของพรรคไทยรักไทยโดยใช้กรอบของ Spatial Model of Election หรือ Median Voter Theme มาอธิบายถึงพฤติกรรมในการเสนอโครงการริเริ่มต่างๆที่สำคัญ เช่น โครงการด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจของประชากรส่วนใหญ่ในประเทศไทย โดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้เน้นถึง โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ โครงการสามสิบบาทรักษาทุกโรค รวมถึงการจ่ายหนี้สินกองทุนการเงินระหว่างประเทศ จากงบประมาณการคลังที่มีจำกัด ซึ่งโครงการหลักๆได้นำมาสู่ความสำเร็จในการบริหารประเทศโดย ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Products)
นักรัฐศาสตร์ Theme Burton A. Abrams และ Kenneth A. Lewis (1987) ได้วางกรอบแนวทางและเงื่อนไขของทฤษฎีหลักการและเหตุผล (Model of Rational Choice) ที่มีความจำเป็นอย่างมากในการวิเคราะห์ความพึงพอใจจากค่ากลาง หรือ ค่าความพึงพอใจของจำนวนของผู้มาใช้ สิทธิ์ในการเลือกตั้งทั้งหมดภายใต้กรอบนโยบาย ดังนั้นก่อนที่ผู้เขียนจะเริ่มอธิบายทฤษฎี Spatial Model of Election หรือ Median Voter ผู้เขียนจำเป็นต้องอธิบายกรอบการคิดที่อธิบายถึง ทฤษฎีความพึงพอใจ หรือ Utility Functions กรอบการคิด ทฤษฎีความพึงพอใจ หรือ Utility Functions
กรอบการคิดการตัดสินใจต่างๆในการเลือกกลยุทธ์หรือการกระทำจำเป็นต้องเข้าใจถึงเงื่อนไขต่างๆหรือปัจจัยในการตัดสินใจ ที่ประกอบไปด้วยตัวแปรตาม คือ การคาดเดาในการกระทำ จาก การเลือกกลยุทธ์ ซึ่ง เป็นตัวบ่งชี้ถึงผลลัพธ์จากการตัดสินใจที่ดีที่สุดจากเงื่อนไขและตัวเลือกที่มีอยู่ เช่น ความน่าจะเป็น ในการคาดคะเนเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นโดยผลลัพธ์ นำไปสู่ การกระทำจากการคาดเดาเหตุการณ์ต่างๆ ดังนั้นการเลือกกลยุทธ์จำเป็นต้องนำ ค่าความน่าจะเป็นภายใต้เหตุการณ์ต่างๆ มาคูณกับความพึงพอใจที่เกิดขึ้นจากผลลัพธ์ โดยสมการความพึงพอใจสามารถบ่งชี้ถึงกรอบการคิดการตัดสินใจในการเสนอนโยบายที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายใต้งบประมาณที่มีอยู่และจำกัดจากแรงกดดันของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

รูปภาพที่ 1
เกมการแข่งขันระหว่างพรรคการเมืองในการเสนอนโยบาย ภายใต้การเลือกตั้งในสังคมไทย (Zero-Sum Game)การนำกรอบแนวคิดของ Spatial Model of Election ของ James D. Morrow (1994, 104-107) สามารถอธิบายได้การว่าตำแหน่งของการเสนอนโยบายที่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและต่อเนื่องในการรักษาฐานอำนาจทางการเมือง เช่น การเสนอนโยบายหลักของพรรคไทยรักไทยในตำแหน่ง A ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ หรือ พรรคฝ่ายค้านเสนอนโยบายในตำแหน่ง B เห็นได้ว่านโยบายของพรรคไทยรักไทยอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับค่ากลาง หรือ ค่าความพึงพอใจที่สูงที่สุดจากจำนวนของผู้ที่มาใช้ สิทธิ์ในการเลือกตั้งทั้งหมดโดยจำลองเหตุการณ์ก่อนการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 ดังนั้นจากกรอบแนวคิดของ Spatial Model of Election บ่งชี้ถึงพรรคไทยรักไทยที่สามารถได้รับชัยชนะจากผลการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงกว่า 19 ล้านเสียงในพ.ศ. 2548 โดยมีตำแหน่งของส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎรถึง จำนวน 376 ที่นั่ง โดยเป็นการเล่นเกมที่ไม่มีความร่วมมือกัน หรือ Zero- sum Games ระหว่าง สอง ผู้เล่นคือ พรรคไทยรักไทย และ พรรคประชาธิปัตย์ โดยสามารถแบ่งผลลัพธ์ของการเล่นเกม เป็น สองกรณี คือ
ขั้นตอนการตั้งสมมุติฐานในการพิสูจน์: การพิจารณาภายใต้เงื่อนไขการเล่นเกมโดยจำเป็นต้องกำหนดหาจุดดุลยภาพในการแข่งขันในด้านการเสนอนโยบายหลัก เช่น นโยบายทางเศรษฐกิจ หรือ นโยบายทางสังคม โดยกำหนดเงื่อนไขว่าค่ากลาง หรือ ค่าความพึงพอใจที่สูงที่สุดของจำนวนของผู้มาใช้ สิทธิ์ในการเลือกตั้งทั้งหมด ( = M) โดยกำหนดตำแหน่งของพรรคไทยรักไทยในการเสนอนโยบาย คือ ตำแหน่ง A และกำหนดตำแหน่งของพรรคประชาธิปัตย์ในการเสนอนโยบาย คือ ตำแหน่ง B ผลลัพธ์จากการวิเคราะห์แบ่งเป็น สามกรณีดังต่อไปนี้
ในทางกลับกันอะไรคือกลยุทธ์ที่ดีที่สุดของพรรคไทยรักไทยถ้าพรรคประชาธิปัตย์จะเสนอนโยบายในตำแหน่งไหนก็ตาม คำตอบที่ดีที่สุดของพรรคไทยรักไทยในการวางตำแหน่งของนโยบาย (X) ภายใต้กรอบการกำหนด และ L = 0 (พรรคไทยรักไทยและพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีการเสนอนโยบาย) ผลลัพธ์จากการวิเคราะห์แบ่งเป็น สามกรณีดังต่อไปนี้
การวิเคราะห์จากกรอบแนวคิดของ Spatial Model of Election สามารถบ่งชี้ว่าการได้รับชัยชนะจาการเลือกตั้งจำเป็นต้องคำนึงถึงค่ากลาง เช่น รายได้โดยทั่วไปที่ประชากรได้รับโดยนำมากำหนดเป็นนโยบายจากฐานอาชีพของประชาชนในเขต หรือจังหวัดนั้น ความเป็นไปได้ที่ดีที่สุดในการเพิ่มหรือยกระดับค่าความพึงพอใจของประชาชนก็ คือ การกำหนดนโยบายตามยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัดที่บ่งชี้ถึงความเป็นไปได้จากพื้นที่และลักษณะของการประกอบอาชีพที่ใกล้เคียงกันแต่ในขณะเดียวกันนโยบายต่างๆที่ยกระดับค่าความพึงพอใจของประชาชนของระบอบทักษิณอาจก่อให้เกิดการเอื้อผลประโยชน์ให้แก่พวกพ้อง จึงทำให้ให้เกิดกลุ่มผู้ที่ไม่พอใจ กับกลุ่มผู้ที่ต่อต้านระบบทักษิณ
การแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลทำให้เกิดความขัดแย้งของมาตราต่างๆที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินนโยบายของรัฐ โดยมี 6 ประเด็นที่สำคัญในการพิจารณาเช่น มาตรา 237, มาตรา 93-98, มาตรา 190, มาตรา 265, และ มาตรา 266 ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญนิยมใหม่ปี 2550 ที่บ่งชี้ถึงความขัดแย้งทางด้านพื้นฐานทางความคิดของพรรคการเมืองและผลประโยชน์จากพวกพ้องที่นำมาสู่วิกฤตทางการเมืองในปัจจุบันหรือ จากปัจจัยของผลประโยชน์ทางวัฒนธรรมทางการเมืองในระยะยาวที่ได้ก่อให้เกิดความล้มเหลวของการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตยจากบริบทของการรัฐประหารและความไม่เป็นธรรมของกระบวนการยุติธรรมที่นำไปสู่สภาวะทางการทหารที่มีบทบาททางวัฒนธรรมทางการเมือง และสภาวะการขยายฐานอำนาจทางการทหารโดยอ้างถึง ความมั่นคง โดยการแสวงหาอำนาจจากรัฐประหารที่นำมาอำนาจทางการเมืองในรูปแบบของการใช้นโยบายภายใต้โครงสร้างในระบบสถาบันต่างๆ เช่น การดำรงตำแหน่งทางการเมืองและคณะกรรมการต่างๆในหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. ที่ก่อให้เกิดความล้มเหลวโดยรวมของการพัฒนาทางประชาธิปไตยโดยสามารถอธิบายจากสาเหตุหลักดังต่อไปนี้
1.1) ความล้มเหลวในการตรวจสอบการดำเนินงานต่างๆทางทหารหลังการรัฐประหารเมื่อเปรียบเทียบกับการตรวจสอบทางการเมืองโดยรวม
1.2) ความล้มเหลวในการลดบทบาททางการทหารในการแทรกแซงบริบทของการเมืองเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมโดยรวม ความล้มเหลวโดยรวมที่เกิดขึ้นเป็นความล้มเหลวของวัฒนธรรมทางการเมือง ระบบอุปถัมภ์ และ ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในระยะสั้นและระยะยาว
2) การวิเคราะห์ปัจจัยหรือตัวแปรที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งพื้นฐานของกฎกติกาทางการเมืองในรูปแบบสมการ
ความขัดแย้งพื้นฐานของกฎกติกาทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบันและไม่อาจจะควบคุมได้จากนโยบายต่างๆ หรือ การเจรจาที่ล้มเหลวถึง สองครั้ง ระหว่างรัฐบาลและแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติที่ไม่สามารถหาข้อตกลงที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย โดยการเจรจาที่เกิดขึ้นนำมาสู่ความขัดแย้งที่อาจไม่สามารถหาข้อตกลงได้อีกต่อไปและนำไปสู่ชนวนสำคัญที่นำไปสู่ความแตกแยกที่อาจก่อให้เกิดสงครามทางกลางเมือง และ ในที่สุดอาจนำไปสู่การแบ่งการปกครองของแต่ละภาคภายใต้การปกครองที่แตกต่างกันไปโดยการปกครองอาจขึ้นอยู่กับ1) ปัจจัยจากวัฒนธรรม ศาสนา เชื้อชาติ ของแต่ละส่วนแต่ต้องอยู่กับ 2) ฐานอำนาจและบารมีของผู้นำด้วย ดังนั้นในปัจจุบันความขัดแย้งพื้นฐานของกฎกติกาทางการเมืองในระยะสั้นอาจต้องโทษถึงระบบพรรคการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญที่มีอยู่โดยไม่ได้แสดงถึงผลประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมที่ควรได้รับจากความเสถียรภาพของรัฐบาล แต่แสดงถึงกฎกติกาทางการเมืองนิติธรรม และ นิติรัฐที่อ่อนแอ รวมถึง ความผิดพลาดของการบริหารงานของรัฐบาลที่ไม่นำมาสู่นโยบายที่ชัดเจนในการจัดสรรทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ดังนั้นการวิเคราะห์ปัจจัยหรือผลจากวัฒนธรรมทางการเมืองมีความสำคัญอย่างมากที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งพื้นฐานของกฎกติกาทางการเมือง โดยกำหนดเงื่อนไขของที่นำมาสู่ความขัดแย้งพื้นฐานของกฎกติกาทางการเมืองในรูปแบบสมการ เช่น ปัจจัยระบบการเลือกตั้ง ปัจจัยของสังคมที่เกิดจากการคอรัปชั่น และ ปัจจัยขนาดของพรรคการเมือง เป็นต้น
รูปแบบในการบ่งชี้ถึงความขัดแย้งพื้นฐานของกฎกติกาทางการเมือง
การแยกประเด็นของปัจจัยในการบ่งชี้ความขัดแย้งพื้นฐานของกฎกติกาทางการเมืองสามารถอธิบายในรูปแบบของสมการที่ (1) คือ หรือ Political Conflicts of Interests ซึ่งมีความสำคัญในการทำความเข้าใจถึงทฤษฎีและตัวแปรในการกำหนดกรอบการอธิบายถึงปัจจัยจากพฤติกรรมทางการเมือง การกำหนดโครงสร้างรูปแบบและเงื่อนไขที่บ่งชี้ถึงความขัดแย้งพื้นฐานภายใต้ระบอบประชาธิปไตยซึ่งประกอบไปด้วย
1) ปัจจัยระบบการเลือกตั้ง ที่เป็นตัวแปรภายใต้กรอบ Westminster Model ( ) เนื่องมาจากระบบการเลือกตั้งแบบ Westminster Model เป็นรูปแบบนโยบายที่มองปัจจัยทางวัฒนธรรม เชื้อชาติ และ ศาสนา โดยการเสนอนโยบายจะเป็นนโยบายที่มีแนวโน้มที่โอนเอียงไปที่กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆหรือ ความพึงพอใจของประชาชนส่วนหนึ่ง (Non-Policy Center through Median Point) ดังนั้นนโยบายที่ออกมาจะอยู่ ในรูปแบบการใช้ระบบการเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียวและนำมาสู่การซื้อเสียงอย่างง่าย หรือ สังคมของการคอรัปชั่นในเงื่อนไขของพฤติกรรมพรรคการเมืองในแสวงหาประโยชน์จากนโยบายและโครงสร้างของกฎหมายที่อ่อนแอ เช่น
2) ประโยชน์ร่วมของพรรคการเมือง หน่วยงานราชการ และกลุ่มผลประโยชน์กับการจัดตั้งระดับการเก็บภาษีต่างๆ เช่น ภาษีหุ้น โดยมีการยกเลิกหรือการหลีกเหลี่ยงการจ่ายภาษี ที่นำมาสู่สังคมของการคอรัปชั่นเชิงนโยบายในระดับภาษี และอาจเกี่ยวเนื่องความสัมพันธ์แบบผันตรงกับการเปลี่ยนแปลงของระดับภาษีโดยการนำส่วนต่าง (The Profit Margins of Political Interests) ที่ไม่ต้องเสียนำมาใช้ในการหาเสียง เช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับภาษีต่างๆในการผูกขาดที่แสดงถึงการใช้อำนาจจากประพฤติของพรรคการเมือง
3) ทุนพัฒนาสังคมที่ต่ำ ที่เกิดจากการนำเสนอนโยบายทางการเมืองที่ทำให้เกิดความแตกต่างทางความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรม ซึ่งนำไปสู่ความแตกแยกทางด้านความคิดซึ่ง กระบวนการเหล่านี้อาจนำไปสู่การใช้ประโยชน์จากช่องว่างทางกฎหมายที่เอื้อให้กับการคอรัปชั่นจากงบประมาณและภาษีโดยทางตรงและทางอ้อมในระดับที่สูงจากความได้เปรียบจากปัจจัยระบบการเลือกตั้ง
4) ปัจจัยของการใช้นโยบายที่ไม่มีความเสถียรภาพผ่านการแสวงหาผลประโยชน์จาก นโยบายต่างๆ เป็นตัวบ่งชี้ที่เกิดจากการเก็บภาษีอย่างไม่มีประสิทธิภาพและไม่เป็นธรรม ทำให้รัฐบาลตัดสินใจในการใช้นโยบายการคลังซึ่งนำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อและอาจเป็นชนวนในการคอรัปชั่นแบบทางอ้อมจากความได้เปรียบจากปัจจัยระบบการเลือกตั้ง
5) ปัจจัยขนาดและจำนวนของพรรคการเมือง ก็มีส่วนสำคัญเนื่องมาจากขนาดของพรรคการเมืองที่มีความใกล้เคียงกันของจำนวนของสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตและสัดส่วนจะสามารถพัฒนาทางเศรษฐกิจได้ดีกว่าขนาดของพรรคการเมืองที่มีความแตกต่างกันและมีจำนวนพรรคที่มากเนื่องมาจากฐานอำนาจที่มีความแตกต่างทางนโยบายและการจัดสรรผลประโยชน์ที่ควรได้รับอาจเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งนำมาสู่การคอรัปชั่นแบบทางตรงและทางอ้อม ความเข้าใจในหลักการความขัดแย้งทางความคิดในการมองการเมืองที่แตกต่างสามารถนำเครื่องมือทางทฤษฎีเกมมาอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นเงื่อนไขต่างๆในข้อ (1)-(5) แสดงถึงการคอรัปชั่นในรูปแบบของพฤติกรรมพรรคการเมืองนำไปสู่ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองและสังคมภายใต้กรอบการแย่งชิงผลประโยชน์จากรัฐธรรมนูญซึ่งเชื่อมโยงกับการใช้นโยบายต่างๆโดยผลประโยชน์ตกอยู่กับกลุ่มผลประโยชน์และอาจเป็นชนวนในเพิ่มความขัดแย้งพื้นฐานภายใต้ระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทย
3) ความเข้าใจกรอบการคิดทฤษฎีเกมภายใต้ความขัดแย้งพื้นฐานในสังคมไทย
กรอบการคิดทฤษฎีเกมภายใต้ความเข้าใจความขัดแย้งพื้นฐานเป็นสิ่งที่สำคัญในการอธิบายและเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเล่นเกมภายใต้ระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทยโดยการเล่นเกมความเข้าใจความขัดแย้งพื้นฐานประกอบไปด้วยผู้เล่นต่างๆ คือ รัฐบาลภายใต้พรรคประชาธิปัตย์และฐานอำนาจจากพรรคการเมืองใหม่หรือกลุ่มมวลชนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มีมติไม่ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตรา และพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง5 พรรค ประกอบไปด้วย พรรคภูมิใจไทย พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคเพื่อแผ่นดินที่มีความเห็นชอบในการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตราในระยะสั้น อีกกรณีหนึ่งก็คือพรรคเพื่อไทยภายใต้การสนับสนุนจากแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติมีเป้าหมายในการให้ความสำคัญกับการนำรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2540 กลับมาใช้ และ เสนอให้รัฐบาลภายใต้แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ให้มีการยุบสภาดังนั้นพฤติกรรมทางการเมืองสามารถจัดอยู่การเล่นในลักษณะ สาม กลุ่มคือ
กลุ่มที่ 1 รัฐบาลภายใต้พรรคประชาธิปัตย์และฐานอำนาจจากพรรคการเมืองใหม่หรือกลุ่มมวลชนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
กลุ่มที่ 2 พรรคเพื่อไทยภายใต้การสนับสนุนจากแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
กลุ่มที่ 3 พรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 5 พรรค ประกอบไปด้วย พรรคภูมิใจไทย พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคเพื่อแผ่นดิน
การพิจารณากรอบของความขัดแย้งพื้นฐานและสถาบันการเมืองในสังคมไทยที่เกิดขึ้นจะพิจารณาจากพฤติกรรมจากการแบ่งกลุ่มเป็นหลักใหญ่ คือ กลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 3 ระยะเวลา t ในการเสนอให้โอกาสรัฐบาลในการบริหารประเทศโดยนำเงื่อนไขที่เป็นไปได้ในการพิจารณา (SPC; Support Political Commitment) และ กลุ่มที่ 2 คือ พรรคเพื่อไทยภายใต้การสนับสนุนจากแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ในการเสนอให้รัฐบาลประกาศการยุบสภา ในระยะเวลา t (OPC; Oppose Political Commitment หรือ Dissolution of Parliament) โดยสรุปแต่ละผู้เล่นจะมีกลยุทธ์ คือ การสนับสนุนการบริหารงานของรัฐบาล และ การไม่สนับสนุนการบริหารงานของรัฐบาล หรือ การยุบสภา โดยการเล่นเกมซึ่งมีกรอบเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 1) กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 และ กลุ่มที่ 3 ใช้ระบบการสนับสนุนจากแนวร่วม และ หน่วยงานราชการโดยผ่านการเชื่อมโยงจากระบบอุปถัมภ์ ( ) โดยกลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2 สามารถใช้ระบบอุปถัมภ์ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์โดยความเป็นไปได้ในการกำหนดขอบเขตของตัวแปรทีมีความแตกต่างในด้านปัจจัย ดังนั้นผู้เขียนได้ตั้งเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1.1) กลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 3 ได้รับการสนับสนุนจากแนวร่วม และ หน่วยงานราชการโดยผ่านการเชื่อมโยงจากระบบอุปถัมภ์ ( )
1.2) กลุ่มที่ 2 ได้รับการสนับสนุนจากแนวร่วม และ หน่วยงานราชการโดยผ่านการเชื่อมโยงจากระบบอุปถัมภ์ (0 > > 1) ค่าของตัวแปรที่เกิดขึ้นเป็นตัวบ่งชี้ถึงระดับอำนาจในการบริหารประเทศโดยผ่านระบบอุปถัมภ์ซึ่งรัฐบาลภายใต้พรรคประชาธิปัตย์มีฐานอำนาจจากการสนับสนุนจากแนวร่วม และ หน่วยงานราชการโดยผ่านการเชื่อมโยงจากระบบอุปถัมภ์มากกว่าพรรคเพื่อไทย 2) กลุ่มที่ 2 จะได้ผลประโยชน์จากการเลือกตั้งมากขึ้นก็ต่อเมื่อการตรวจสอบของฝ่ายค้านเพิ่มความพึงพอใจให้กับประชาชนส่วนใหญ่ ( ) แต่กลุ่มที่ 1 หรือ กลุ่มที่ 3 ก็จะเสียผลประโยชน์จากการเลือกตั้ง ( ) เนื่องจากปัจจัยการบริหารประเทศของรัฐบาลเป็นเชิงลบในระยะเวลา (t-1) ในการบริหารจากสภาวะวิกฤตทางการเมือง และ การเกิด Exogenous shocks หรือ ปัจจัยภายนอก เช่น การเกิดวิกฤตการเงินที่ส่งผลต่อระดับราคาสินค้าในตลาดโลก (Term of Trade) ซึ่งส่งทำให้ระดับราคาสินค้าในประเทศมีการเปลี่ยนแปลง 3) กลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 3 ที่มีอำนาจในการใช้เสียงข้างมากในรัฐสภาและเป็นฐานอำนาจในการใช้สภาในการผ่านกฎหมาย รวมถึงการใช้อำนาจในการใช้ระบบอุปถัมภ์ และ การเสนอในการแก้ไขกฎหมายต่างๆ โดยกลุ่มที่ 2 จะอยู่ในสถานะพรรคการเมืองฝ่ายค้านและมีอำนาจในสภาไม่มากพอในการแก้ไขกฎหมายต่างๆ 4) ปัจจัยในการบ่งชี้ถึงจุดดุลยภาพของแต่ละผู้เล่นในเกม คือการที่ผู้เล่นเลือกกลยุทธ์ที่มีอยู่และเลือกกลยุทธ์ในกรอบเงื่อนไขในการแสดงผลลัพธ์ที่ดีที่สุด (Best-Reply Strategies) ในขณะเดียวกัน การที่ผู้เล่นเลือกกลยุทธ์ดีที่สุดที่คิดว่ากลยุทธ์ที่เลือกสามารถให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าอีกกลยุทธ์หนึ่ง (Dominant Strategies)
ขั้นตอนการเล่นเกมความขัดแย้งพื้นฐานและสถาบันการเมืองในสังคมไทยนี้เริ่มจากการพรรคการเมืองขนาดใหญ่ในการใช้ฐานอำนาจในสภา หรือ กลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 3 ในสนับสนุนการบริหารงานของรัฐบาล โดยพรรคการเมืองขนาดเล็ก หรือ กลุ่มที่ 2 ที่ไม่มีการสนับสนุนการบริหารงานของรัฐบาล โดยมีความเป็นไปได้ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งตามลำดับ คือ (P, 1-P) โดยถ้าสังเกตและพิจารณาจากผลลัพธ์ของ Payoffs จะเห็นได้ว่าการเล่นเกมความขัดแย้งพื้นฐานของสถาบันการเมืองในสังคมไทยมีลักษณะของเกมการแข่งขันที่บ่งชี้ถึงลักษณะ Constant-Sum Game โดยจะมีผู้ชนะและผู้แพ้ในการการสนับสนุนการบริหารงานของรัฐบาล หรือ ไม่มีการสนับสนุนการบริหารงานของรัฐบาลโดยผู้เขียนได้ใช้ต้นแบบการคิดของ James D. Morrow (1994, 101-104) ในการใช้ทฤษฎีเกมเบื้องต้นโดยการอธิบายกรอบของขนาดของพรรคการเมืองมีผลต่อฐานอำนาจในการใช้นโยบายก่อนการเลือกตั้งในระยะเวลา t ภายใต้กรอบเงื่อนไขของการใช้ระบบอุปถัมภ์ โดยการวิจัยครั้งนี้ผู้เขียนต้องการใช้ทฤษฎีเกมของ Morrow J. D. ในการบ่งชี้ถึงจุดดุลยภาพ (Non-zero sum game หรือ Nash equilibrium) ในการเล่นเกมซึ่งแสดงถึงความขัดแย้งพื้นฐานและสถาบันการเมืองในสังคมไทย
เกมการแข่งขันระหว่างพรรคการเมืองขนาดเล็กและพรรคการเมืองใหญ่ในการเล่นเกมความขัดแย้งพื้นฐานและสถาบันการเมืองในสังคมไทยภายใต้กรอบระบอบประชาธิปไตย
ขั้นตอนการหาจุดดุลยภาพ (Nash Equilibrium) ภายใต้กรอบความขัดแย้งพื้นฐานและสถาบันการเมืองในสังคมไทยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
กรณีที่ 1: ถ้าพรรคการเมืองขนาดใหญ่ตัดสินใจยุบสภา เนื่องมาจากรัฐบาลเชื่อว่า ปัจจัยนโยบายการบริหารประเทศจะสามารถเพิ่มคะแนนเสียงจากเดิมและสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งจากรัฐธรรมนูญที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ภายใต้แรงต่อต้านจากการแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติที่ส่งผลต่อความเสถียรภาพของเศรษฐกิจในทางลบ แต่ พรรคการเมืองเล็กก็จะเลือกกลยุทธ์ที่สนับสนุนการยุบสภาเนื่องมาจากการเสียเปรียบจากพรรคการเมืองขนาดใหญ่ในการเป็นรัฐบาลและความล้มเหลวของการตรวจสอบของฝ่ายค้านที่อาจลดระดับความพึงพอใจให้กับประชาชนส่วนใหญ่: (1- p < 1- p + ) กรณีที่ 2: ถ้าพรรคการเมืองขนาดใหญ่ตัดสินใจในการบริหารประเทศต่อและตัดสินใจโดยไม่มีการยุบสภา ในเวลา t พรรคการเมืองเล็กก็จะเลือกกลยุทธ์ในการบ่งชี้โดยการเสนอกลกลยุทธ์ที่จะสนับสนุนการบริหารประเทศของรัฐบาล เนื่องมาจากปัจจัยการบริหารประเทศของรัฐบาลเป็นเชิงลบในระยะเวลา (t-1) จากปัญหาวิกฤตทางการเมืองและเศรษฐกิจและอาจทำให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่แพ้การเลือกตั้งในระยะเวลา t+1,…, N: [(1- p- + + ) > (1- p- + )] กรณีที่ 3: ถ้าพรรคการเมืองขนาดเล็กตัดสินใจในการเลือกกลยุทธ์ที่บ่งชี้ถึงการต่อต้านการบริหารงานของพรรคการเมืองขนาดใหญ่ พรรคการเมืองขนาดใหญ่ก็ลังเลในการจะเลือกกลยุทธ์ในการตัดสินใจเนื่องมาจาก: [(p) < หรือ > (p+ - - )] กรณีที่ 3: ถ้าพรรคการเมืองขนาดเล็กตัดสินใจในการเลือกกลยุทธ์ที่บ่งชี้ถึงการสนับสนุนการบริหารงานของพรรคการเมืองขนาดใหญ่ พรรคการเมืองขนาดใหญ่ก็จะลังเลในการจะเลือกกลยุทธ์ในการตัดสินใจเนื่องมาจาก: [(p+ ) < หรือ > (p+ - )] จากกรณีที่ 3 และ กรณี 4 แสดงถึง พฤติกรรมของพรรคการเมืองขนาดเล็กและพรรคการเมืองใหญ่ในการลังเลและการตัดสินใจในการเลือกกลยุทธ์เนื่องมาจากค่าของความสัมพันธ์ , และ ที่มีความไม่ชัดเจนในการบ่งชี้ในการตัดสินใจและเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าการใช้ประโยชน์จากการระบบอุปถัมภ์มีความสัมพันธ์กับผลประโยชน์จากการเลือกตั้ง ( ) ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดคือการเชื่อมความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งสามโดยแบ่งเป็น สอง กรณี จากกรอบของสมการทั่วไป คือ
ข้อเสนอที่ 1: สมการ [ < ( - )] แสดงถึงปัจจัยที่บ่งชี้ถึงการสนับสนุนและการได้รับประโยชน์จากการใช้ระบบอุปถัมภ์ ( ) กับหน่วยงานราชการต่างๆ และการตัดสินใจในการบริหารประเทศต่อ โดยพรรคการเมืองขนาดใหญ่จะได้เปรียบในเชิงโครงสร้างและแง่มุมการใช้อำนาจในสภาผ่านระบบอุปถัมภ์และนำมาสู่โอกาสในการได้รับชัยชนะมากขึ้นในระยะเวลา(t+1,…, N) เช่น การใช้ระบบอุปถัมภ์ ( ) กับกระทรวงมหาดไทยที่เป็นฐานเสียงในการเพิ่มผลประโยชน์จากการเลือกตั้งส่วนพรรคการเมืองขนาดเล็กก็จะต่อต้านการบริหารงานของรัฐบาลของพรรคการเมืองขนาดใหญ่จากปัจจัยวิกฤตทางการเมือง และ การบริหารเชิงลบซึ่งส่งผลกระทบกับคะแนนเสียงและการได้เปรียบในเชิงยุทธศาสตร์: [(p) < (p+ - - )] และ [(p+ ) > (p+ - )] จุดดุลยภาพ = (Support Political Commitment, Oppose Political Commitment)
ข้อเสนอที่ 2: สมการ [ > ( - )] แสดงถึงปัจจัยการได้รับประโยชน์จากการเลือกตั้ง ( ) แต่ปัจจัยจากการต่อต้านจากแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ความล้มเหลวของการแก้รัฐธรรมนูญ และ การบริหารในเชิงลบ ทำให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่และตัดสินใจยุบสภา ส่วนในแง่มุมของพรรคการเมืองขนาดเล็กก็จะเลือกกลยุทธ์การยุบสภา เช่นกัน : [(p) > (p+ - - )]และ[(p+ ) > (p+ - )] จุดดุลยภาพ = (Oppose Political Commitment, Oppose Political Commitment)
ดังนั้นข้อเสนอที่ 1 เป็นข้อเสนอที่ดีที่สุดในการวิเคราะห์ความขัดแย้งพื้นฐานและสถาบันการเมืองในสังคมไทยจากการเปรียบเทียบกับ ข้อเสนอที่ 2 เนื่องมาจากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมีความเป็นไปได้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมทางการเมืองในปัจจุบัน
ข้อเสนอแนะในทางวิชาการได้เสนอความเป็นไปได้ในการหาวิธีและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากปัจจัยทฤษฎีทางการเมืองเช่น ขนาดของพรรคการเมืองที่มีความใกล้เคียงกันในฐานอำนาจและขนาด แต่ สถาบันการเมืองของประเทศไทย ประกอบไปด้วย พรรคการเมืองที่มีจำนวนมากและขนาดที่มีความแตกต่างกัน เช่น พรรคภูมิใจไทย พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคเพื่อแผ่นดิน ทำให้ พรรคการเมืองขนาดเล็ก หรือ พรรคร่วมรัฐบาลที่มีแนวโน้มในการใช้ประโยชน์ของขนาดในการมีฐานอำนาจผ่านระบบอุปถัมภ์ในการจัดตั้งรัฐบาลและนำมาสู่อำนาจเพื่อประโยชน์ของตนเองและเป็นชนวนในการสร้างความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้น เช่น การคอรัปชั่นเชิงนโยบาย และ ความขัดแย้งจากผลประโยชน์ที่ได้มาจากรัฐธรรมนูญ วิธีการแก้ปัญหาความแตกแยก ไม่สามารถใช้แนวทางแก้ปัญหาโดยใช้ทฤษฎีโดยตรง แต่ต้องเอาแนวทางทางทฤษฎีมาคิดอย่างรอบคอบ หรือต้องคิดแนวทางใหม่ๆ โดยการปฏิรูประบบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ไม่สมบูรณ์หรือครึ่งใบ ให้กลายเป็นระบบประชาธิปไตยที่แข็งแกร่งหรือเต็มใบ โดยดูจากการเชื่อมโยงของระบบการปกครองแบบทางการ เช่น พฤติกรรมทางการเมือง ข้าราชการ ตุลาการ และการปกครองแบบไม่เป็นทางการ หรือวัฒนธรรมต่างๆที่ถูกปลูกฝังให้เกิดระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย และที่สำคัญต้องลดเรื่องของการใช้ระบบอุปถัมภ์และสินน้ำใจให้เหลือน้อยที่สุด ดังนั้นวิธีการแก้ไขที่ดีที่สุดคือ การใช้นโยบายที่จะทำให้เกิดความพึงพอใจและรักษาผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายผ่านระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เหมาะสมกับระบอบสถาบันโดยรวม
บทสรุปทฤษฎีเกมสำหรับนักรัฐศาสตร์และความขัดแย้งในสังคมไทย
ความขัดแย้งในสังคมไทยเกิดขึ้นจากการรัฐประหาร (Irregular Government) หรือ ความไม่เป็นปกติของระบอบการปกครองโดยใช้อำนาจผ่านระบบรัฐสภาภายใต้ระบบทหาร และ ความล้มเหลวของการใช้รัฐธรรมนูญ ปี 2550 ที่ผ่านมาเป็นชนวนที่ทำให้เกิดตัวแปรความขัดแย้งทางสังคม โดยการรัฐประหารอ้างผลประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมและไม่ผ่านระบบประชามติในการยึดอำนาจจากฝ่ายบริหาร โดยพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเป็นข้อเท็จจริงที่บ่งชี้ถึงความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตย เช่น การใช้รัฐธรรมนูญ 2550 ภายใต้อำนาจของคณะปฏิรูปการปกครองและการใช้ระบอบประชาธิปไตยแบบไม่สมบูรณ์ โดยรัฐธรรมนูญ 2550 ได้ใช้มาตราต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งของคำว่า “ความขัดแย้งของระบอบประชาธิปไตยกับวัฒนธรรมทางการเมือง” และบ่งชี้ถึงความขัดแย้งทางด้านพื้นฐานทางด้านความคิดที่นำไปสู่วิกฤตทางการเมืองในปัจจุบัน ซึ่งก่อให้เกิดความล้มเหลวในรูปแบบต่างๆ เช่น สภาวะการเมืองที่ไม่มั่งคง (Political Instability) และ การใช้โนบายต่างๆที่ล้มเหลว และล่าช้า (Policy Uncertainty) ดังนั้นความเข้าใจในแนวคิดและกรอบทฤษฎีเกมกับความสัมพันธ์ในระบอบประชาธิปไตยมีความสำคัญอย่างมากเนื่องมาจากระบอบประชาธิปไตยเป็นปัจจัยหนึ่งที่กำหนดและเป็นเงื่อนไขในการให้การออกแบบนโยบายต่างๆที่พรรคการเมืองได้มีสิทธิ์ในการใช้นโยบายต่างๆนั้น นโยบายจึงเป็นเครื่องมือในการหาเสียง เช่น นโยบายการศึกษา นโยบายความมั่นคง และอื่นๆ การได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่สำคัญในมุมมองของพรรคการเมืองเนื่องมาจากการที่พรรคการเมืองสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้อย่างสมบูรณ์และนำนโยบายที่ได้เสนอนำมาใช้เพื่อประโยชน์ของประชาชนแต่หลักการของอำนาจที่มาเป็นสิ่งที่น่าคิดว่ามีหลักการใดบ้างที่สนับสนุนการได้มาของอำนาจและพฤติกรรมของพรรคการเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย กรอบแนวคิดของทฤษฎีเกมมีความสำคัญมากสำหรับนักวิชารัฐศาสตร์เนื่องมาจากการวางแผนและกลยุทธ์ในนโยบายจะต้องใช้กรอบเงื่อนไขในการตัดสินใจ เช่น การใช้ประชามติของประชาชนในสังคมไทยในการยอมรับรัฐธรรมนูญปี 2550 เนื่องมากรอบการคิดคือ ให้ประชาชนยอมรับการใช้ รัฐธรรมนูญปี 2550 จากการทำประชามติโดยรัฐบาลสามารถบริหารประเทศได้ต่อไปและกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจให้น้อยที่สุด แต่กรอบการคิดและการวางแผนที่นำมาสู่ความมาชัดเจนในผลลัพธ์ที่ดีจำเป็นต้องใช้หลักการและเหตุผล อย่างรอบคอบเนื่องมาจากประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เพียงพอและไม่เข้าใจรัฐธรรมนูญปี 2550 ดังนั้น การวางแผนและกลยุทธ์ที่ได้มาจากการใช้อำนาจจากการรัฐประหารสามารถนำมาสู่อุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจ รวมถึงก่อให้เกิดความขัดแย้งทางสังคมที่ไม่อาจแก้ไขได้ โดยกรอบทฤษฎีเกมจะมาช่วยในการวิเคราะห์และวางกรอบการคิด หรือ การวางแผนและกลยุทธ์ ให้นักรัฐศาสตร์ ในการวางกฎเกณฑ์และนำมาสู่การแก้ไขปัญหาทางการเมืองได้อย่างดีที่สุด
บรรณานุกรม
Anne O. Krueger,”Why Trade Liberalization is good for Growth”, The Economic Journal, Vol. 108, No. 450. (Sep., 1998), pp. 1513-1522
Arend Lijphart, Patterns of Democracy: Government Forms and Performance in Thirty-six Countries (New Haven: Yale University Press, 1999).
Burkhart Ross E.; Michael S. Lewis-Beck, Comparative Democracy: The Economic Development Thesis, The American Political Science Review, Vol. 88, No. 4, (Dec., 1994), pp. 903-910. Burton A. Abrams and Kenneth A. Lewis, “A Median-Voter Model of Economic Regulation”, Public Choice, Vol. 52, No. 2 (1987), pp. 125-142
James D. Morrow (1994) Game Theory for Political Scientists, Princeton University Press, pp. 1-365.
Jess Benhabib and Adam Przeworski, “The Political Economy of Redistribution under Democracy”, Economic Theory, Vol. 29, No. 2, Symposium in Honor of Mukul Majumdar (Oct., 2006), pp. 271-290.
North, Douglass C. and Barry R. Weingast, " Constitutions and Commitments: The Evolution of Institutions Governing Public Choice in Seventeenth-Century England ," The Journal of Economic History, 49:4 (December 1989) pp. 803-832.
Pier Carlo P., (1997), Regional Agreement as club: The European Case, The Political Economy of Regionalism, Columbia University Press, New York, pp. 107- 133
Root, Hilton L., Mesquita De Bueno Bruce (2000), Governing for Prosperity: When Bad Economics is Good Politics, Yale University Press/ New Haven and London, pp. 1-16.