ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาริสโตเติล: การเลือกตั้งกับความเป็นประชาธิปไตย (ตอนที่สอง)"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' ไชยันต์ ไชยพร ---- '''วารสารสถาบันพระ...'
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 10: บรรทัดที่ 10:




เมื่อนักรัฐศาสตร์กระแสหลักชาวอเมริกันผู้มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งแห่งศตวรรษที่ยี่สิบอย่างศาสตราจารย์โรเบิร์ต เอ. ดาฮ์ล (Robert A. Dahl) หันไปมองการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองในช่วงศตวรรษที่สิบแปดในยุโรป ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงจากระบอบโบราณ (ancient regime) มาสู่ระบอบการปกครองสมัยใหม่  เขาได้กล่าวยกย่องนักคิดชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งที่ชื่อว่า เดสตู เทรซี (Desttut de Tracy) ในฐานะที่เป็นผู้ทำให้ประชาธิปไตยเปลี่ยนโฉมหน้าจากรูปแบบการปกครองโบราณที่ใช้ได้เฉพาะกับนครรัฐหรือชุมชนเล็กๆ ไปสู่ประชาธิปไตยสำหรับรัฐชาติ   โฉมหน้าใหม่ของประชาธิปไตยที่ว่านี้คือ “การปกครองแบบตัวแทน (representative government)”  ซึ่งถือเป็น “สิ่งประดิษฐ์ใหม่ซึ่งยังไม่มีใครรู้จัก” ในสมัยนั้น    แต่เป็นที่รู้จักคุ้นเคยกันดีในนามของ “ประชาธิปไตยแบบตัวแทน” (representative democracy) ในปัจจุบัน
เมื่อนักรัฐศาสตร์กระแสหลักชาวอเมริกันผู้มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งแห่งศตวรรษที่ยี่สิบอย่างศาสตราจารย์โรเบิร์ต เอ. ดาฮ์ล (Robert A. Dahl) หันไปมองการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองในช่วงศตวรรษที่สิบแปดในยุโรป ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงจากระบอบโบราณ (ancient regime) มาสู่ระบอบการปกครองสมัยใหม่  เขาได้กล่าวยกย่องนักคิดชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งที่ชื่อว่า เดสตู เทรซี (Desttut de Tracy) ในฐานะที่เป็นผู้ทำให้ประชาธิปไตยเปลี่ยนโฉมหน้าจากรูปแบบการปกครองโบราณที่ใช้ได้เฉพาะกับนครรัฐหรือชุมชนเล็กๆ ไปสู่ประชาธิปไตยสำหรับรัฐชาติ <ref>  Robert A. Dahl and Edward R. Tuffe, Size and Democracy, (Standford: Standford University Press: 1973), pp. 7-9.  </ref>  โฉมหน้าใหม่ของประชาธิปไตยที่ว่านี้คือ “การปกครองแบบตัวแทน (representative government)”  ซึ่งถือเป็น “สิ่งประดิษฐ์ใหม่ซึ่งยังไม่มีใครรู้จัก” ในสมัยนั้น<ref>Dahl and Tufte, Size and Democracy, ibid., p. 9.</ref>   แต่เป็นที่รู้จักคุ้นเคยกันดีในนามของ “ประชาธิปไตยแบบตัวแทน” (representative democracy) ในปัจจุบัน
ในวงการรัฐศาสตร์ไทย กล่าวได้ว่า เดสตู เทรซี ในฐานะนักคิดทฤษฎี “การปกครองแบบตัวแทน” ไม่เป็นที่รู้จักเท่าไรนัก เมื่อเทียบกับเดสตู เทรซีในฐานะผู้ให้กำเนิดคำว่า “อุดมการณ์”  (ideology)  เราจะพบการอ้างอิงถึงเทรซีของนักวิชาการทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ทั้งไทยและเทศที่ศึกษาและเขียนตำราเกี่ยวกับอุดมการณ์ความคิดทางการเมือง    แต่ยังไม่มีนักวิชาการไทยกล่าวถึงเขาในสถานะที่เกี่ยวข้องกับการปกครองแบบตัวแทนหรือรูปแบบการปกครองประชาธิปไตยแบบตัวแทน  ขณะเดียวกัน เรื่องราวหรือประวัติของเขาก็ยังไม่เป็นที่รู้จักเท่าไรนัก ดังนั้น ก่อนที่จะไปสู่ความคิดทางการเมืองของเขา จะขอแนะนำประวัติของเขาพอสังเขป
ในวงการรัฐศาสตร์ไทย กล่าวได้ว่า เดสตู เทรซี ในฐานะนักคิดทฤษฎี “การปกครองแบบตัวแทน” ไม่เป็นที่รู้จักเท่าไรนัก เมื่อเทียบกับเดสตู เทรซีในฐานะผู้ให้กำเนิดคำว่า “อุดมการณ์”  (ideology)  เราจะพบการอ้างอิงถึงเทรซีของนักวิชาการทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ทั้งไทยและเทศที่ศึกษาและเขียนตำราเกี่ยวกับอุดมการณ์ความคิดทางการเมือง    แต่ยังไม่มีนักวิชาการไทยกล่าวถึงเขาในสถานะที่เกี่ยวข้องกับการปกครองแบบตัวแทนหรือรูปแบบการปกครองประชาธิปไตยแบบตัวแทน  ขณะเดียวกัน เรื่องราวหรือประวัติของเขาก็ยังไม่เป็นที่รู้จักเท่าไรนัก ดังนั้น ก่อนที่จะไปสู่ความคิดทางการเมืองของเขา จะขอแนะนำประวัติของเขาพอสังเขป
บรรทัดที่ 173: บรรทัดที่ 173:
ชาติ  แต่มีความชอบธรรม  อย่างเช่น อำนาจแห่งพระเจ้า (divine
ชาติ  แต่มีความชอบธรรม  อย่างเช่น อำนาจแห่งพระเจ้า (divine


authority) .....มันประจักษ์ชัดว่า แหล่งอำนาจต่างๆแห่งสิทธิ
authority) .....มันประจักษ์ชัดว่า แหล่งอำนาจต่างๆแห่งสิทธิ


พิเศษเหล่านี้ อาจจะไม่ต่างจากเจตน์จำนงทั่วไป ที่สร้างรูปแบบ
พิเศษเหล่านี้ อาจจะไม่ต่างจากเจตน์จำนงทั่วไป ที่สร้างรูปแบบ

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:42, 15 สิงหาคม 2556

ผู้เรียบเรียง ไชยันต์ ไชยพร


วารสารสถาบันพระปกเกล้า ปี 2552 ฉบับที่ 3


อาริสโตเติล: การเลือกตั้งกับความเป็นประชาธิปไตย (ตอนที่สอง) **

เดสตู เทรซี กับทฤษฎีการปกครองแบบตัวแทน

เมื่อนักรัฐศาสตร์กระแสหลักชาวอเมริกันผู้มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งแห่งศตวรรษที่ยี่สิบอย่างศาสตราจารย์โรเบิร์ต เอ. ดาฮ์ล (Robert A. Dahl) หันไปมองการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองในช่วงศตวรรษที่สิบแปดในยุโรป ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงจากระบอบโบราณ (ancient regime) มาสู่ระบอบการปกครองสมัยใหม่ เขาได้กล่าวยกย่องนักคิดชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งที่ชื่อว่า เดสตู เทรซี (Desttut de Tracy) ในฐานะที่เป็นผู้ทำให้ประชาธิปไตยเปลี่ยนโฉมหน้าจากรูปแบบการปกครองโบราณที่ใช้ได้เฉพาะกับนครรัฐหรือชุมชนเล็กๆ ไปสู่ประชาธิปไตยสำหรับรัฐชาติ [1] โฉมหน้าใหม่ของประชาธิปไตยที่ว่านี้คือ “การปกครองแบบตัวแทน (representative government)” ซึ่งถือเป็น “สิ่งประดิษฐ์ใหม่ซึ่งยังไม่มีใครรู้จัก” ในสมัยนั้น[2] แต่เป็นที่รู้จักคุ้นเคยกันดีในนามของ “ประชาธิปไตยแบบตัวแทน” (representative democracy) ในปัจจุบัน

ในวงการรัฐศาสตร์ไทย กล่าวได้ว่า เดสตู เทรซี ในฐานะนักคิดทฤษฎี “การปกครองแบบตัวแทน” ไม่เป็นที่รู้จักเท่าไรนัก เมื่อเทียบกับเดสตู เทรซีในฐานะผู้ให้กำเนิดคำว่า “อุดมการณ์” (ideology) เราจะพบการอ้างอิงถึงเทรซีของนักวิชาการทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ทั้งไทยและเทศที่ศึกษาและเขียนตำราเกี่ยวกับอุดมการณ์ความคิดทางการเมือง แต่ยังไม่มีนักวิชาการไทยกล่าวถึงเขาในสถานะที่เกี่ยวข้องกับการปกครองแบบตัวแทนหรือรูปแบบการปกครองประชาธิปไตยแบบตัวแทน ขณะเดียวกัน เรื่องราวหรือประวัติของเขาก็ยังไม่เป็นที่รู้จักเท่าไรนัก ดังนั้น ก่อนที่จะไปสู่ความคิดทางการเมืองของเขา จะขอแนะนำประวัติของเขาพอสังเขป


ประวัติชีวิตของเดสตู เทรซี: นักทฤษฎีการปกครองแบบตัวแทน

เดสตู เดอ เทรซี่ มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1754-1836 เขาเกิดที่ปารีส วันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1754 เทรซีเป็นหนึ่งในกลุ่มนักคิดนักปัญญาชนที่รู้จักกันในนามของ “philosophes” ซึ่งถือเป็นกลุ่มปัญญาชนนักคิดฝรั่งเศสในช่วงกลางศตวรรษที่สิบแปด โดยมีผลงานที่ได้รับความสนใจอย่างยิ่งในช่วง ค.ศ. 1748-1751 ซึ่งถือเป็นพลังส่วนหนึ่งที่สำคัญยิ่งต่อพัฒนาการทางภูมิปัญญาความคิดของยุโรป (the European Enlightenment) โดยรวม กลุ่ม “philosophes” นอกจากจะหมายถึง “ผู้รักในปัญญา” อันเป็นความหมายตามตัวอักษรแล้ว แต่ “ผู้รักในปัญญา” หรือ “philosophes” ของฝรั่งเศสในช่วงกลางศตวรรษที่สิบแปดย่อมแตกต่างไปจาก “ผู้รักในปัญญา” หรือ “philosopher” ในกรีกโบราณยุคโสกราติส-เพลโต เพราะปัญญาความรู้ที่ทั้งสองรักและถวิลหานั้นมีความแตกต่างกัน ด้วย “philosopher” คือตัวแทนของ “ภูมิปัญญาโบราณ” ส่วน “philosophes” เป็นตัวแทนของ “ภูมิปัญญาสมัยใหม่” พิจารณาจากภายนอกจะเห็นได้ว่า “philosophes” เป็นกลุ่มที่หลากหลายผสมผสานด้วยผู้คนที่มีความสนใจในสาขาวิชาความรู้ในแนวต่างๆ ถ้าเปรียบกับองค์ความรู้ปัจจุบัน ก็น่าจะได้แก่ วิทยาศาสตร์ กลศาสตร์ วรรณกรรม ปรัชญา และสังคมวิทยา เป็นต้น แม้ว่าจะมีความสนใจที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่เป็นหลักการหรือแก่นความคิดที่ยึดถือร่วมกันสำหรับความเป็นชาว “philosophes” คือ การมุ่งตั้งข้อกังขาสงสัยอย่างหนักแน่นจริงจังในความเป็นไปได้ของความสมบูรณ์แบบของมนุษย์ และความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะขจัดระบบความคิดที่ผิดพลาด (เช่น ความเชื่อทางศาสนา) และการมุ่งมั่นที่จะสร้างความเป็นระบบให้กับองค์ความรู้ที่ดำรงอยู่อย่างแตกต่างหลากหลาย (systematizing the various intellectual disciplines)

นอกจากนี้ หลักการความคิดที่เป็นหัวใจสำคัญของกลุ่ม “philosophes” คือ ความเชื่อมั่นในความก้าวหน้า (progress) ในพัฒนาการประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ โดยเชื่อว่า จากการค้นพบองค์ความรู้และศาสตร์สมัยใหม่ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural sciences) หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับมนุษย์ (human sciences) จะทำให้มนุษย์สามารถควบคุมธรรมชาติ (natural world) ได้ อันจะนำมาซึ่งประโยชน์อันยิ่งใหญ่สำหรับมนุษย์และความสามารถในการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ซึ่งความเชื่อในความก้าวหน้าที่พัฒนาอย่างมีเหตุผลและมีทิศทางตามเจตนารมณ์ของมนุษย์ (rational and intentional progress) ถือเป็นเป้าหมายสูงสุดของพวก “philosophes” ที่มุ่งรณรงค์ค้นหาความรู้และศิลปวิทยาการสมัยใหม่เพื่อนำมนุษย์ไปสู่สภาวะที่หลุดออกจากอวิชชา และไปสู่การมีความสามารถในการใช้เหตุผลในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีขันติ (tolerance) และปลอดจากความขัดแย้งอันเกิดจากความเชื่อในไสยศาสตร์และศาสนาที่งมงายปราศจากซึ่งเหตุผล

พวก “philosophes” เชื่อว่า ศาสนาควรเป็นสิ่งที่มีเหตุผล และควรส่งผลให้เกิดการกระทำอันมีศีลธรรมสูงสุด การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสังคมต้องสามารถกระทำได้อย่างอิสรเสรีและแยกขาดออกจากศาสนาอย่างสิ้นเชิง ซึ่งพวก “philosophes” เรียกมุมมองทางศาสนาที่ว่านี้ของพวกเขาว่า “Deism” จากจุดยืนดังกล่าวนี้ เชื่อมต่อไปสู่การมุ่งขจัดการใช้ความรุนแรงป่าเถื่อนโหดร้ายของมนุษย์โดยเน้นไปที่การใช้โครงสร้างการปกครองและการพัฒนาทางสังคมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ และประเด็นเกี่ยวกับการใช้โครงสร้างการปกครองที่พัฒนาจากองค์ความรู้สมัยใหม่ของพวก “philosophes” นี้เองที่เราควรให้ความสนใจอย่างยิ่ง ด้วยเทรซี ในฐานะที่เป็นหนึ่งในกลุ่มดังกล่าว ได้นำเสนอทฤษฎีรูปแบบการปกครองแบบตัวแทน (representative government) ในฐานะที่เป็นวิถีทางในการพัฒนาและแก้ปัญหาทางสังคมการเมือง

ถ้าพิจารณาหลักการสำคัญที่กล่าวไปของพวก “philosophes” ภายใต้บริบทของวิวาทะระหว่างผู้ที่นิยมภูมิปัญญาโบราณและผู้ที่นิยมภูมิปัญญาสมัยใหม่ (the Quarrell between the Ancietns and the Moderns) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาความคิด (intellectual history context) ของยุโรป จะเห็นได้ว่าพวก “philosophes” จัดอยู่ในพวกที่นิยมภูมิปัญญาสมัยใหม่ ซึ่งมีแนวคิดที่เชื่อมั่นในองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ และปฏิเสธความเชื่อในความชอบธรรมและความสมบูรณ์แบบของภูมิปัญญาโบราณที่เกิดขึ้นและสืบทอดมาจากภูมิปัญญากรีกและโรมันโบราณ พวกที่นิยมภูมิปัญญาสมัยใหม่ (the Moderns) นี้เชื่อมั่นว่าศิลปะวิทยาการสมัยใหม่จะนำพาประวัติศาสตร์มนุษยชาติให้ก้าวหน้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด (infinite progress)

ขณะเดียวกัน การแผ่ขยายองค์ความรู้สมัยใหม่ที่เกิดขึ้นในยุโรปไปสู่ดินแดนส่วนอื่นของโลก จะนำพาให้มนุษย์ในที่ต่างๆหลุดพ้นจากความคิดความเชื่อที่ไร้เหตุผลที่เกิดขึ้นในแต่ละท้องถิ่นพื้นที่ต่างๆ และเมื่อมนุษย์ในที่ต่างๆต่างมีระบบคิดที่มีเหตุผลร่วมกันแล้ว ก็จะบังเกิดสภาวะที่เรียกว่า “มนุษย์สากล” (the Universal Man) และจากนั้นก็จะบังเกิดสิ่งที่เรียกว่า “ประวัติศาสตร์สากล” (the Universal History) ที่พัฒนาการของสังคมมนุษย์ทุกหนทุกแห่งจะลู่รวมเข้ากันหากันในเส้นทางแห่งความก้าวหน้าที่เป็นสากลเหมือนกัน จะต่างกันตรงที่ความรวดเร็วหรือความล่าช้าของการพัฒนาเท่านั้น แต่ทุกหนทุกแห่งต่างพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน และจากความเชื่อมั่นดังกล่าวนี้ ได้นำไปสู่การแผ่กระจายขององค์ความรู้สมัยใหม่ที่เกิดขึ้นในยุโรปไปสู่ดินแดนส่วนต่างๆของโลก ซึ่งเป็นปรากฏการณ์สำคัญของโลกที่เรารู้จักและเข้าใจในนามของ “การทำให้เป็นสมัยใหม่หรือการเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่” หรือ “modernization” นั่นเอง

นอกจากเป็นสมาชิกในกลุ่ม “philosophes” แล้ว เทรซียังเป็นหนึ่งในคณะผู้ก่อตั้งกลุ่มที่เรียกว่าสาธารณรัฐเสรีคลาสสิค หรือที่รู้จักกันในนามของ “the Ideologue” เทรซีได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติหลายครั้งในเงื่อนไขทางการเมืองที่แตกต่างกันด้วย เขามีบทบาทในทางการเมืองในช่วงต่างๆ ทั้งสมัยแห่งการปฏิวัติและการฟื้นฟู และยังเป็นนักเขียนที่ทรงอิทธิพล ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นชนชั้นสูง แต่ในช่วงที่มีประชุมสภาทั่วไป (the Estates General) ในปี ค.ศ. 1789 เทรซียินดีที่จะสละฐานันดรของเขา ต่อมา เขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกในสภาเลือกตั้ง (the Constituent Assembly) และปฏิบัติหน้าที่ในกองทัพในปี ค.ศ. 1792 ภายใต้การบังคับบัญชาของมาคี ลาฟาแยต (Marquis de Lafayette)

ในช่วงยุคแห่งความน่าสะพึงกลัว (the Reign of Terror) เขาถูกจำคุก แต่รอดการถูกประหารชีวิตได้จากการถูกโรเบสปิแอร์ (Robespierre) ทำร้ายเขาเสียก่อนในขณะที่กำลังจะทำการประหาร ในช่วงที่เขาอยู่ในคุกนี่เองที่เขาได้อ่านงานของคองดิลแลก (Condillac) และล็อก (Locke) และเริ่มต้นค้นคว้าในเรื่องทฤษฎีอุดมการณ์ของเขา (theory of ideologie) เขาได้เป็นสมาชิกของสถาบันแห่งชาติ (the Institut National) ในปี ค.ศ. 1796 และศึกษาวิเคราะห์เรื่องอารมณ์รับรู้และความคิด (the Section of the Analysis and Ideas) ที่เกี่ยวกับธรรมศาสตร์และการเมือง (the Class of Moral and Political Sciences) ซึ่งต่อมาได้ถูกต่อต้านขัดขวางโดยนโปเลียนในปี ค.ศ. 1803 ต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งดูแลสถาบันวิทยาการแห่งฝรั่งเศส (the French Academy) ใน ค.ศ. 1808

ในช่วงที่เขาเป็นผู้อำนวยการสถาบันดังกล่าวนี้ เทรซีกระตือรือร้นในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสร้างระบบการศึกษาแห่งชาติขึ้นมา การมีสมาชิกภาพของสภาสูง (the Senate) ในช่วงหลายสมัย ทำให้เขามีโอกาสเต็มที่ที่จะแสดงออกซึ่งความไม่เห็นด้วยในทางอุดมการ (ideological) ต่อระบอบอันเป็นปฏิปักษ์ต่อเสรีภาพของนโปเลียน ซึ่งอุดมการณ์ในความหมายของเทรซีคือ “ศาสตร์แห่งความคิด” ที่ผ่านการวิเคราะห์ในทางวิชาการที่เป็นระบบมาอย่างดีแล้ว ไม่ใช่เป็นเพียงอคติหรือความคิดเห็นธรรมดา ซึ่งการรณรงค์ต่อสู้ของเขาได้สู่จุดสูงสุดในปี ค.ศ. 1814 โดยเขาเรียกร้องให้ปลดนโปเลียนออกจากความเป็นจักรพรรดิ

ผลพวงของความคิดทางการเมืองของเทรซีมีความสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะผลงานของเขาเรื่อง A Commentary and Review of Montesquieu’s Spirit of Laws (1811) ได้รับการชื่นชมยกย่องจาก ทอมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) ผู้ซึ่งแปลและตีพิมพ์งานชิ้นนี้ในอเมริกา ในขณะที่นโปเลียนห้ามตีพิมพ์ในฝรั่งเศส เทรซีวิจารณ์การปกป้องระบอบกษัตริย์หรือราชาธิปไตยของมองเตสกิเออ และเขาสนับสนุนการปกครองแบบสาธารณรัฐในแบบของอเมริกัน ซึ่งดำเนินไปในบริบทของระเบียบทางเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม (a laissez-faire economic order) นอกจากนั้น ผลงานเรื่อง Elements of Ideology (1801-1815) ถือเป็นงานชิ้นสำคัญที่สุดของเขา โดยเฉพาะเล่มที่สี่ ซึ่งปรากฏใน ค.ศ. 1815 นำเสนอเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์การเมือง ได้รับการแปลและตีพิมพ์โดยเจฟเฟอร์สันเช่นกันในปี ค.ศ. 1817 Elements of Ideology ได้รับการแปลแพร่หลายอย่างรวดเร็วเป็นภาษาต่างๆในยุโรป และมีอิทธิพลต่อคนรุ่นใหม่ในยุโรป โดยเฉพาะคนอิตาเลียนรุ่นใหม่ พวกเสรีนิยมในฝรั่งเศส (Carbonari) สเปนและรัสเซีย (Decembrists) ในรัสเซีย ซึ่งเข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิวัติ ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1820


ฐานปรัชญาความคิดแบบสมัยใหม่ (modern) ของเทรซี

จากประวัติของเทรซีที่กล่าวไปข้างต้นทำให้เราทราบว่า แนวความคิดในเรื่องการเมืองและการปกครองของเทรซีปรากฏรวมอยู่ในงานเขียนที่ชื่อว่า A Commentary and Review of Montesquieu’s Spirit of Laws (“ความเห็นและข้อวิจารณ์ต่อหนังสือจิตวิญญาณแห่งกฎหมายของมองเตสกิเออ”) ซึ่งเป็นงานเขียนทางทฤษฎีการปกครองที่มีอิทธิพลสำคัญยิ่งถึงขนาดที่โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) หนึ่งในบิดาผู้สร้างชาติอเมริกัน (the Founding Fathers) ชื่นชมยกย่องและแปลงานเขียนดังกล่าวของเทรซีจากภาษาฝรั่งเศสมาเป็นภาษาอังกฤษเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณชนอเมริกันในปี ค.ศ. 1811

ในข้อสังเกตเบื้องต้น (preliminary observations) เทรซีได้กล่าวถึงจุดประสงค์ของเขาในการเขียน “Commentary.” ว่าต้องการสำรวจตรวจสอบและสะท้อนถึงประเด็นแต่ละประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ประเด็นสำคัญยิ่งที่ว่านี้ก็คือ ประเด็นที่ว่าด้วยการเมืองและรูปแบบและโครงสร้างทางการเมืองการปกครอง ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาเห็นว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในองค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์ และองค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์นี้เองที่จะเป็นหนทางที่นำพาสังคมมนุษย์ให้รอดพ้นจากการใช้กำลังความรุนแรงไปสู่การมีชีวิตอย่างสันติสุขได้ โดยเขาศึกษาต่อจากงานเขียน “The Spirit of Laws” ของมองเตสกิเออ ซึ่งเป็นงานที่ศึกษาประเด็นสำคัญดังที่กล่าวไปแล้ว

แต่กระนั้น ถึงแม้ว่างานของมองเตสกิเออจะเป็นงานที่ดี แต่ก็ยังไม่ถือได้ว่าเป็นที่สุดในสายตาของเขา เพราะยังมีข้อผิดพลาดขัดแย้งและไม่ลงรอยสอดคล้องกันในเนื้อหาและเหตุผล เทรซีจึงมุ่งที่จะก้าวไปสู่การพัฒนาก่อร่างสร้างความคิดความเห็น (opinions) จากความคิดเห็นของมองเตสกิเออที่ดูจะเป็นงานที่มาจากการศึกษาค้นคว้าที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในขณะนั้นไปสู่องค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์ (social sciences) ของเขาเองขึ้นมา โดยหวังให้ได้ข้อสรุปที่แน่นอนและชัดเจนในการศึกษาการเมืองการปกครองและสังคม เพราะเขาเชื่อว่า การรวบรวมวิเคราะห์ความคิดเห็นต่างๆรวมกับประสบการณ์ที่มีอยู่จะนำมาซึ่งอรรถาธิบายที่ว่าด้วยเรื่องการเมืองหรือสังคมศาสตร์ที่ครบถ้วนสมบูรณ์กว่าที่ผ่านมา และความรู้ดังกล่าวจะมีคุณค่า หากมันเป็นสิ่งที่เป็นธรรมและได้รับการนำไปสู่ภาคปฏิบัติอย่างรอบรู้และเข้าใจอย่างดี

เห็นได้ว่า ฐานปรัชญาความคิดในเรื่องการหาความรู้และศาสตร์ของเทรซีนั้นอยู่ในแนวของพวกที่นิยมภูมิปัญญาสมัยใหม่อย่างเห็นได้ชัด ที่เชื่อว่าความเปลี่ยนแปลงสัมพันธ์กับพัฒนาการและความก้าวหน้าของมวลมนุษยชาติ เขาเน้นไปที่การใช้คำว่า “ความคิดเห็น” (opinions) เพื่อเปิดทางให้มีการแก้ไขปรับปรุงต่อไปในอนาคต มากกว่าที่จะปิดประตูตายโดยอ้างว่า สิ่งที่เขาค้นพบนั้นเป็นความรู้ที่แท้จริงสมบูรณ์หนึ่งเดียวที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้เหมือนที่พวกที่นิยมในภูมิปัญญาโบราณเชื่อ เขามองความรู้ในงานของมองเตสกิเออว่าเป็นความคิดความเห็นที่ดีที่สุดเท่าที่มีตามเงื่อนไขของมองเตสกิเออ แต่เมื่อมันตกมาถึงมือของเขาภายใต้เงื่อนไขบริบทประสบ การณ์ที่พัฒนาก้าวหน้าไป เขาก็พบข้อผิดพลาดที่ควรแก้ไขให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นกว่าที่ผ่านมา แต่กระนั้น ความรู้ที่เขานำเสนอนั้นก็เป็นเพียงข้อสรุปที่ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไขที่เป็นอยู่ของเขา ซึ่งเราอาจจะได้ข้อสรุปที่เป็นความรู้ใหม่ได้หากเงื่อนไขมันเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าไปในอนาคต และเขาก็มองงานของเขาในลักษณะเดียวกันกับที่เขามองงานของมองเตสกิเออด้วย ดังที่เขาได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า

  1. if:
{{#if:|
border: 1px solid #AAAAAA;

}}" class="cquote"

width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px

“ถ้าโชคอำนวยให้กับความพยายามของข้าพเจ้า คงจะมีนักเขียนใน

อนาคตข้างหน้าสักคนที่จะได้รับประโยชน์จากงานชิ้นนี้ ซึ่งเป็นข้อ

เขียน (treatise) ที่ว่าด้วยหลักการที่แท้จริงแห่งกฎหมายที่สมบูรณ์กว่า

งานอื่นๆที่ผ่านมา และด้วยเงื่อนไขดังกล่าวนี้ ข้าพเจ้าคิดว่า ศาสตร์ทั้ง

หลายทั้งปวงจะต้องดำเนินต่อไป งานแต่ละชิ้นเริ่มขึ้นด้วยความคิดความ

เห็นที่น่าเชื่อถือที่สุดเท่าที่มีมา และก้าวหน้ารับแสงสว่างใหม่ๆที่ทอลง

มาจากประสบการณ์และการสืบค้น นี่คือการยึดถือตามหลักการของคอง-

ดิลแลก (Condillac) อย่างแท้จริง...นั่นคือ....ก้าวต่อไปอย่างเคร่งครัด

จากที่รู้ไปสู่ที่ไม่รู้ (proceeding rigorously from the known to the unknown)

ข้าพเจ้าไม่มีความทะเยอทะยานอื่นใดไปกว่านี้ อีกทั้งเงื่อนไขของข้าพเจ้า

ก็ไม่ได้อำนวยให้มีได้มากกว่านี้ นอกไปจากการมีส่วนในความพยายามเพื่อ

ความก้าวหน้าของสังคมศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดต่อชีวิตที่มีความสุข

ของมนุษย์ และเป็นศาสตร์ที่สำคัญจำเป็นสุดท้ายในการบรรลุถึงความ

สมบูรณ์แบบ (perfection) เพราะมันเป็นผลผลิตและเป็นผลพวงของ

ศาสตร์อื่นๆทั้งหลาย”

width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px
{{#if:|

—{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}}

}}

}}

หลักการการ “ก้าวต่อไปอย่างเคร่งครัด จากที่รู้ไปสู่ที่ไม่รู้ (proceeding rigorously from the known to the unknown)” ของคองดิลแลกที่เทรซียึดถืออย่างจริงจังนั้น อีกนัยหนึ่งก็คือฐานทางญาณวิทยา (epistemology) ที่เชื่อมโยงเข้ากับปรัชญาประวัติศาสตร์ (philosophy of history) ของเขา หรือรวมถึงของกลุ่ม “philosophes” ซึ่งจัดอยู่ภายใต้กระแสความเคลื่อนไหว (movement) ของพวกนิยมภูมิปัญญาสมัยใหม่ (the Moderns) ที่เกิดขึ้นกว้างขวางทั่วไปในยุโรป หลักการดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อที่ว่า สรรพสิ่งต่างๆย่อมเปลี่ยนแปลง และองค์ความรู้ก็ย่อมต้องเปลี่ยนแปลงไปตามบริบท ประวัติศาสตร์มนุษยชาติย่อมเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง และองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นในแต่ละบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปย่อมเป็นองค์ความรู้ที่ก้าวหน้าสมบูรณ์กว่าที่เคยมีอยู่ เทรซีเชื่อว่า ภายใต้บริบทของเขา ความรู้ข้อสรุปเกี่ยวกับการเมืองการปกครองที่เขาได้มานั้น ถือเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่เงื่อนไขของเขาและความสามารถของเขาจะอำนวยให้ และแน่นอนว่า เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งที่เขาคิดว่าเขารู้ และความรู้ที่เขาคิดว่าเป็นความรู้ที่พอเพียง ก็จะกลายเป็นเพียงความไม่รู้ได้ เมื่อมนุษยชาติได้ก้าวเดินต่อไปในเส้นทางที่ไม่เคยมีผู้ใดย่ำมาก่อน นั่นคือ เส้นทางแห่งประวัติศาสตร์มนุษยชาติที่พัฒนาก้าวหน้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด


การพิจารณาจัดประเภทรูปแบบการปกครอง: หนึ่งในบิดาของรัฐศาสตร์และทฤษฎีการปกครองสมัยใหม่

ในหนังสือ A Commentary. เทรซีได้จัดลำดับบทต่างๆตามที่มองเตสกิเออได้วางไว้ เพื่อความสะดวกสำหรับผู้อ่านในการติดตามตรวจสอบเปรียบเทียบสิ่งที่มองเตสกิเออได้เขียนไว้กับข้อวิจารณ์และข้อเสนอแนะใหม่ของเทรซี สำหรับประเด็นเรื่องการปกครองรูปแบบใหม่หรือ “การปกครองแบบตัวแทน” เทรซีมิได้อธิบายแยกเป็นหัวข้อหรือบทที่พิเศษต่างหากจากบทอื่นๆ แต่เขาได้เขียนถึงการปกครองแบบตัวแทนควบคู่ไปกับการอธิบายและวิเคราะห์รูปแบบการปกครองอื่นๆในบทต่างๆ โดยเฉพาะในสิบสองบทแรกของเล่มที่หนึ่ง (the twelve first Books)

จากการพิจารณาวิธีการนำเสนอและอธิบายถึงรูปแบบการปกครองต่างๆที่ดำรงอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงในศตวรรษที่สิบแปด เราพบว่า ตามความคิดของเทรซี มองเตสกิเออยังตกอยู่ในอิทธิพลความคิดทางการเมืองการปกครองกรีกโบราณที่เริ่มต้นตั้งแต่เพลโต-อาริสโตเติล และสืบสานผ่านซิเซโร (Cicero) ในสมัยโรมันเป็นต้นมาจนถึงมองเตสกิเออ กรอบความคิดเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองที่ว่านี้คือ การแบ่งรูปแบบการปกครองโดยใช้เกณฑ์ปริมาณของผู้ครอบครองอำนาจสูงสุดทางการเมือง อันได้แก่ ระบอบที่อำนาจอยู่ในมือของคนๆเดียว ระบอบที่อำนาจอยู่ในมือของกลุ่มคน และระบอบที่อำนาจอยู่ในมือของมหาชน ขณะเดียวกันก็ยังมีเกณฑ์เชิงคุณภาพที่พิจารณาถึงเป้าหมายของผู้ปกครองในการใช้อำนาจของตน ถ้าผู้ปกครองไม่ว่าจะเป็นคนๆเดียว กลุ่มคนหรือมหาชน ใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของผู้ใต้ปกครองด้วย มิใช่เพื่อผลประโยชน์ของตนเองเท่านั้น ระบอบดังกล่าวนี้จัดว่าเป็นระบอบการปกครองที่ดี ได้แก่ ระบอบกษัตริย์ (Kingship) ระบอบอภิชนาธิปไตย (Aristocracy) และระบอบโพลิตี (Polity) ส่วนระบอบที่ผู้ปกครองปกครองเพื่อผลประโยชน์ของตนหรือพวกของตนถ่ายเดียว ถือเป็นระบอบการปกครองที่เลว อันได้แก่ ระบอบทรราชย์ (Tyranny) ระบอบคณาธิปไตย (Oligarchy) และระบอบประชาธิปไตย (Democracy)

เทรซีเล็งเห็นถึงข้อผิดพลาดในกรอบดั้งเดิมในการแบ่งรูปแบบการปกครอง และเขาก็ได้วิพากษ์และปรับปรุงขยายคำอธิบายรูปแบบการปกครองต่างๆ ตลอดจนเสนอวิธีการจัดแบ่งรูปแบบการปกครองแบบใหม่ขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเขาจะกล่าวปฏิเสธแนวความคิดโบราณในการแบ่งและอธิบายรูปแบบการปกครอง แต่กระนั้น เราก็ยังพบอิทธิพลของแนวความคิดทางการเมืองโบราณที่ปรากฏให้เห็นในงานของเขา ซึ่งเราจะเห็นได้เมื่อถึงโอกาสนั้น

ตัวอย่างหนึ่งของความบกพร่องคือ เทรซีชี้ให้เห็นว่า การกำหนดให้ “despotism” เป็นรูปแบบการปกครองเฉพาะที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับระบอบกษัตริย์และแตกต่างจากรูปแบบการปกครองอื่นๆอย่างที่ทำกันมาก่อนหน้าเขานั้นเป็นสิ่งที่ผิดพลาด ด้วยคำว่า “despotism” ถูกใช้กันมาอย่างผิดๆและสับสน เพราะโดยแท้จริงแล้ว คำว่า “despotism” นั้นบ่งบอกหรือส่อนัยถึงแห่งความฉ้อฉล (an abuse) หรือความชั่วร้ายทั้งหลายที่สามารถปรากฏหรือเกิดขึ้นในรูปแบบการปกครองใดก็ได้ “despostim” ไม่ได้หมายถึงรูปแบบการปกครองหนึ่งใดโดยเฉพาะ เพราะเทรซีเชื่อว่า สถาบันทางสังคมการเมืองที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ ก็ย่อมไม่ต่างจากมนุษย์ผู้สถาปนามันขึ้นมา นั่นคือย่อมไม่มีทางที่จะสมบูรณ์แบบได้ โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดและความฉ้อฉลในการใช้อำนาจย่อมสามารถเกิดขึ้นได้ในระบอบการปกครองทุกรูปแบบทุกหนแห่ง

ดังนั้น “despotism” จึงย่อมไม่ใช่รูปแบบการปกครองหรือสังคมใดสังคมหนึ่งโดยเฉพาะ เพราะอย่างที่กล่าวไปแล้ว การกดขี่หรือการใช้อำนาจในทางที่ผิดย่อมสามารถเกิดขึ้นที่ไหนและเมื่อใดก็ได้ หากกฎหมายที่วางไว้ปราศจากซึ่งพลังหรือกฎหมายมีช่องโหว่เปิดโอกาสให้ผู้กุมอำนาจทางการเมือง ไม่ว่าจะมีจำนวนหนึ่งคนหรือกี่คนก็ตามใช้อำนาจอย่างผิดทำนองคลองธรรม ซึ่งเทรซียืนยันว่า เราสามารถประจักษ์เห็น “despotism” เกิดขึ้นได้ในทุกยุคทุกสมัย เรายอมเห็นสิ่งเหล่านี้ได้ ในหลายๆประเทศ หรือแม้แต่ในประเทศที่มีการเลือกตั้งหรือได้ชื่อว่าใช้ระบอบประชาธิปไตยก็ตาม เทรซีวิเคราะห์ถึงสาเหตุของการเกิดการฉ้อฉลและการใช้อำนาจในทางที่ผิดว่ามาจากการที่ “ประชาชนไม่สุขุมรอบคอบพอหรือไม่ก็โง่และเขลาเกินไปที่จะสามารถป้องปรามหรือระแวงระวังความชั่วร้ายนี้ได้ หรือในบางแห่ง วิธีการในการป้องกันอาจจะไม่เพียงพอ” ประเด็นสำคัญที่เทรซีต้องการสื่อถึงคนอ่านก็คือ “despotism” ไม่ใช่ระบอบที่มีถูกกำหนดให้มีรูปแบบเฉพาะตายตัว ไม่ว่าจะเป็นการที่มีคนๆเดียวหรือกี่คนก็ตามเป็นผู้มีอำนาจสมบูรณ์เด็ดขาด

เทรซียกตัวอย่างการปกครองของเดนมาร์คในอดีตที่หลังจากประเทศได้ปลดแอกจากอำนาจของพระและชนชั้นสูงแล้ว ด้วยความกลัวอิทธิพลของอำนาจเก่าในสภา จึงได้มีการร้องขอให้กษัตริย์ปกครองโดยมีอำนาจสูงสุดแต่ลำพังผู้เดียว และให้ความไว้วางใจพระองค์ในการดูแลการออกกฎหมายตามแต่ที่พระองค์ทรงเห็นว่าจำเป็นสำหรับความดีของรัฐ โดยพระองค์ไม่ต้องแสดงเหตุผลหรืออธิบายการใช้พระราชอำนาจของพระองค์ เพราะถือว่าพระองค์ได้ทรงไตร่ตรองแล้ว เทรซีกล่าวว่า ถ้าพิจารณาตามเกณฑ์ทั่วไป เราอาจเรียกระบอบการปกครองดังกล่าวนี้ของเดนมาร์คว่าเป็น “despotism” ก็ได้ แต่กระนั้นก็ตาม เขายืนยันว่า แม้การปกครองของเดนมาร์คนี้ดูจะไม่มีข้อจำกัดในการออกกฎหมายของกษัตริย์ แต่ก็ได้ดำเนินไปอย่างละมุนละม่อม ซึ่งมันไม่ถูกต้องที่เราจะเรียกรูปแบบการปกครองดังกล่าวว่า “despotism” เพราะมันไม่ได้ถูกมองว่าเป็นการปกครองที่ไม่สามารถควบคุมอำนาจได้แต่อย่างใด ซึ่งเทรซีตั้งข้อสงสัยว่า แม้ว่าการปกครองดังกล่าว จะมี ความพอดี (moderation) ก็ตาม แต่ก็ยังมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ยังคงตัดสินว่าเดนมาร์คเป็น “despotism” อยู่ดี ทั้งๆมันไม่ใช่ตามเหตุผลที่เขาได้อธิบายไปแล้ว

เทรซีสรุปว่า จากที่กล่าวมานี้นี่เองที่การแบ่งรูปแบบการปกครองออกเป็นรูปแบบต่างๆตามที่เข้าใจกันมานั้น จึงเป็นการแบ่งที่มีข้อบกพร่อง และรูปแบบทั้งหมดที่กล่าวมานี้และรวมถึงการแบ่งรูปแบบการปกครองที่เป็นคู่ที่แตกต่างตรงกันข้าม---อันได้แก่ ดี-เลว---ด้วย ด้วยคำอธิบายการปกครองรูปแบบแต่ละรูปแบบมีความคลุมเครือ หรือไม่ก็ไม่สามารถประยุกต์ใช้อธิบายทำความเข้าใจกับลักษณะแบบแผนการปกครองต่างๆของรัฐทั้งหลายที่ประกอบรวมกันอยู่ในรูปแบบการปกครองหนึ่งๆ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การผสมผสานของลักษณะของรูปแบบการปกครองหลัก เข้าด้วยกันขณะ เดียวกัน การแบ่งรูปแบบการปกครองออกเป็นการปกครองที่ดีและเลวก็เป็นวิธีการแบ่งที่เทรซีเห็นว่าใช้ไม่ได้ โดยเขาให้เหตุผลที่น่าฟังไว้สองประการ นั่นคือ

  1. if:
{{#if:|
border: 1px solid #AAAAAA;

}}" class="cquote"

width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px

“ประการแรก ถ้าเพียงเรามองไปยังผลในทางปฏิบัติ ในลักษณะนี้

ภายใต้เงื่อนไขต่างๆ เราจะพบเห็นทั้งสิ่งดีและชั่วในทุกหนแห่ง

และนั่นคือ มันไม่มีรูปแบบการปกครองใดในบางเวลา ที่จะไม่

ตกอยู่ในแบบที่ดีหรือชั่วเลย

ประการที่สอง ในทำนองกลับกัน ถ้าเราจะใช้ทฤษฎีและหลักการเกี่ยว

กับที่มาของการปกครองเท่านั้นเป็นตัววัด โดยปราศจากการสืบค้นดูว่า

มันดำเนินไปตามหลักทฤษฎีหรือไม่ มันก็อาจจะจำเป็นที่จะต้องจัดระเบียบ

รูปแบบการปกครองแต่ละแบบภายใต้การปกครองที่ดีและเลว ซึ่ง

เราอาจจะต้องตรวจสอบคุณธรรมหรือความยุติธรรมของแต่ละแบบ

และดังนั้น การกำหนดตัดสินว่า การปกครองใดเป็นจริง และไม่

เป็นจริงตามนั้น แต่นี่มันไม่ใช่สิ่งที่ข้าพเจ้าต้องการจะทำ เช่นเดียว

กับมองเตสกิเออ ข้าพเจ้าเพียงต้องการแสดงให้เห็นว่า อะไรดำรงอยู่

ในความเป็นจริง และชี้ให้เห็นถึงผลต่างๆที่เกิดขึ้นจากวิถีของการ

จัดองค์กรทางสังคมต่างๆ และปล่อยให้ผู้อ่านสรุปเอาเองตามที่เขา

เห็นเหมาะสม ว่าจะชอบอะไรหรือไม่ชอบอะไร”

width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px
{{#if:|

—{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}}

}}

}}

การแบ่งรูปแบบการปกครองโดยใช้เกณฑ์ความดี-ความเลวนั้นไม่สามารถเป็นเกณฑ์ที่แน่นอนได้ในสายตาของเทรซี เพราะทุกรูปแบบการปกครองในทุกหนแห่งนั้น บางครั้งก็ดีและเลว เพราะอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า เขาไม่เชื่อว่าจะมีสถาบันอะไรที่สมบูรณ์แบบ หากสถาบันนั้นมีกำเนิดมาจากมนุษย์ เพราะมนุษย์ก็ไม่มีความสมบูรณ์แบบ แต่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอยู่เสมอ ซึ่งทรรศนะดังกล่าวนอกจากจะเป็นทรรศนะของเขาแล้ว ยังเป็นแก่นความคิดสำคัญของกลุ่ม “philosophes” ที่เขาเป็นสมาชิก และยังเป็นทรรศนะสำคัญของแนวคิดสมัยใหม่อีกด้วย ขณะเดียวกัน เขาเห็นว่า การพิจารณารูปแบบการปกครองโดยดูจากที่มาหรือกำเนิดของรูปแบบการปกครองดังกล่าวตามหลักการทฤษฎีก็จะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างรูปแบบการปกครองในทางทฤษฎีหรืออุดมคติ (theoretical or ideal) และรูปแบบการปกครองที่เป็นจริง (practical or real) ซึ่งเราสามารถตีความประเด็นดังกล่าวนี้ของเขาได้ว่า ไม่มีรูปแบบการปกครองใดที่จะดำรงอยู่อย่างสมบูรณ์เป็นจริงตามหลักการทฤษฎีหรืออุดมคติได้ และถ้าใช้เกณฑ์ทางทฤษฎีหลักการเข้าไปจับ ก็จะพบว่า ไม่มีรูปแบบการปกครองที่ดำรงอยู่จริงใดจะ “เป็น” รูปแบบการปกครองตาม “ชื่อ” และ “นิยาม” ได้อย่างสมบูรณ์แท้จริง ดังนั้น มันจึงไม่มีประโยชน์อะไรที่จะใช้เกณฑ์ดังกล่าว ซึ่งเทรซีได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า “การกำหนดตัดสินว่า การปกครองใดเป็นจริง และไม่เป็นจริงตามนั้น ........ไม่ใช่สิ่งที่ข้าพเจ้าต้องการจะทำ.....ข้าพเจ้าเพียงต้องการแสดงให้เห็นว่า อะไรดำรงอยู่ในความเป็นจริง และชี้ให้เห็นถึงผลต่างๆที่เกิดขึ้นจากวิถีของการจัดองค์กรทางสังคมต่างๆ”

ข้อความดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นถึงส่วนหนึ่งของการปฏิวัติความรู้ในการศึกษาทางรัฐศาสตร์ได้เลยทีเดียว เราสามารถกล่าวได้ว่า เทรซีคือนักคิดที่เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการทางความคิดสมัยใหม่ที่แตกหักกับนักคิดนักปรัชญาการเมืองที่อยู่ในกระแสของภูมิปัญญากรีก-โรมันโบราณ ที่ยังเน้นศึกษาการเมืองการปกครองภายใต้แบบ-ทฤษฎีที่ถูกมองได้ว่ามีความเป็นอุดมคติสูง นอกจากนี้ ข้อความดังกล่าวยังสะท้อนให้เห็นความพยายามที่จะตัดสิ่งที่นักรัฐศาสตร์สมัยใหม่กระแสหลักในศตวรรษที่สิบเก้า-ยี่สิบเรียกว่า “ค่านิยม” (value) หรือบางทีถึงขั้นเรียกว่า “อคติ” (prejudices) จากการศึกษาทางรัฐศาสตร์ โดยเน้นไปที่การศึกษาปรากฏการณ์การเมืองการปกครองที่เกิดและดำรงอยู่จริง และพยายามอธิบายและวิเคราะห์ปรากฏการณ์ดังกล่าวโดยไม่เอาเรื่องค่านิยมดี-เลวเข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะประเด็นเรื่องความดีความเลวนั้น ย่อมจะเป็นสิ่งที่ไม่มีความแน่นอนตายตัว เพราะตามทรรศนะของเทรซี ความรู้และศาสตร์ของมนุษย์ โดยเฉพาะสังคมศาสตร์ซึ่งจำเป็นเกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับสันติสุขของชีวิตมนุษย์ก็ยังต้องพัฒนาก้าวหน้าไปตามการเปลี่ยนแปลงของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ดังนั้น เขาจึงไม่ต้องการที่จะไปตัดสินหรือวิจารณ์รูปแบบการปกครองในเชิงคุณค่าของความดี-เลว แต่ “ปล่อยให้ผู้อ่านสรุปเอาเองตามที่เขาเห็นเหมาะสม ว่าจะชอบอะไรหรือไม่ชอบอะไร”

เมื่อพบว่าการแบ่งรูปแบบการปกครองตามแนวดั้งเดิมมีข้อผิดพลาด เทรซีจึงเสนอแนวการจัดประเภทรูปแบบการปกครองของเขาขึ้นมา อันสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางของความพยายามที่จะพิจารณาศึกษารูปแบบการปกครองที่ปลอดจากคุณค่าตามที่เพิ่งกล่าวไป โดยเขากล่าวว่า “ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงวางขอบเขตตัวข้าพเจ้าเองภายใต้หลักการพื้นฐานของสังคมการเมือง ไม่สนใจความแตกต่างของรูปแบบ ไม่ยกย่องหรือปฏิเสธระบอบใดระบอบหนึ่ง” และหลักเกณฑ์การจัดแบ่งรูปแบบการปกครองของเขาซึ่งเป็นสิ่งที่กล่าวได้ว่าไม่เคยปรากฏมาก่อน และถือว่าเป็น “ทฤษฎีใหม่” และเป็น “นวัตกรรมทางการศึกษารัฐศาสตร์” อย่างชัดเจนก็คือ “การแบ่งการปกครองทั้งหมดออกเป็นสองลักษณะ ลักษณะแรก เรียกว่า การปกครองแห่งชาติ (national) ที่ซึ่งสิทธิทางสังคม (social rights) เสมอเท่าเทียมกันทุกคน ส่วนอีกแบบหนึ่งคือ แบบพิเศษ (special) ที่ซึ่งสถาปนาหรือยอมรับแต่เพียงสิทธิเฉพาะหรือสิทธิที่ไม่มีเท่าเทียมกัน” (particular or unequal rights)

เมื่อพิจารณาหลักการการจัดแบ่งประเภทของรูปแบบการปกครองที่เทรซีนำเสนอ และการปฏิเสธแนวการแบ่งแบบดั้งเดิม จะเห็นได้ว่า แท้จริงแล้ว ข้อผิดพลาดในวิธีการแบ่งแบบดั้งเดิมก็คือ “ความล้าสมัยหรือพ้นสมัย” เสียมากกว่า เพราะเทรซีมีความเชื่อในพัฒนาการที่ก้าวหน้าของประวัติศาสตร์มนุษยชาติดังที่กล่าวไปแล้ว และเมื่อบริบทเงื่อนไขทางอารยธรรมเปลี่ยนแปลงไป แน่นอนว่า องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการในการจัดแบ่งประเภทของรูปแบบการปกครองก็ย่อมต้องเปลี่ยนตามไปด้วย และนี่คือประเด็นที่โรเบิร์ต ดาฮ์ลเห็นว่าเป็นประเด็นในความคิดทางการเมืองของเทรซีที่แตกหักจากแนวคิดทางการเมืองการปกครองจารีตโบราณอย่างชัดเจน และเป็นการแตกหักที่เกินกว่านักคิดทางการเมืองอย่างมองเตสกิเออจะคาดคิดได้

การแบ่งรูปแบบการปกครองออกเป็นสองแบบของเทรซี นั่นคือ การปกครองระดับชาติและการปกครองแบบพิเศษมีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับพัฒนาการการเปลี่ยนแปลงของอารยธรรมมนุษย์ ขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงบริบททางอารยธรรมนี้นอกจากจะนำมาซึ่งการเกิดการปกครองระดับชาติแล้ว ยังนำมาซึ่งการปกครองรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “ประชาธิปไตยตัวแทน” อีกด้วย และถ้าการกำเนิดการปกครองแห่งชาติของเทรซีจะถูกมองว่าเป็นผลผลิตร่วมกันการก่อกำเนิดความเป็นชาติรัฐหรือรัฐชาติ (nation-state) ในยุโรปที่ขึ้นมาแทนที่นครรัฐ (city-state or polis) ก็คงไม่ผิด และดูเหมือนว่า สำหรับเทรซี รัฐแห่งชาติหรือรัฐชาติกับประชาธิปไตยตัวแทนกลับเป็นสิ่งที่อุบัติขึ้นมาภายใต้อารยธรรมสมัยใหม่ และเป็นสิ่งที่สอดคล้องเหมาะสมและเอื้อให้เข้มแข็งมั่นคงมากกว่าจะขัดแย้งหรือไปด้วยกันไม่ได้ตามข้อวิพากษ์ของนักวิชาการในปัจจุบัน


ประชาธิปไตยแบบตัวแทนภายใต้การปกครองแห่งชาติ: รูปแบบการปกครองสมัยใหม่แห่งอารยธรรมขั้นที่สาม

การปกครองแห่งชาติและการกำเนิดประชาธิปไตยตัวแทนถือกำเนิดจากพัฒนาการของอารยธรรมสมัยใหม่ เทรซีแบ่งออกพัฒนาการของอารยธรรมออกเป็นสามยุค นั่นคือ อารยธรรมขั้นแรกเริ่ม (First degree civilization) อารยธรรมขั้นที่สอง (Second degree civilization) และอารยธรรมขั้นที่สาม (Third degree civilization) ซึ่งเป็นอารยธรรมในสมัยของเทรซีเอง ภายใต้อารยธรรมขั้นที่สามนี้ เขาเห็นว่า เงื่อนไขในบริบททางการเมืองสังคมและเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงก้าวหน้าไปจากเดิมไป ทำให้เขาพิจารณาได้ว่า การปกครองที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้นต่างมีลักษณะร่วมกันบางอย่างนั่นคือ ลักษณะของการปกครองแห่งชาติ (nation) ซึ่งในขณะนั้น ความเป็นชาติในแต่ละแว่นแคว้นดินแดนในยุโรปได้เริ่มมีความชัดเจนขึ้นแล้ว และด้วยเหตุนี้ เขาจึงเห็นว่า

  1. if:
{{#if:|
border: 1px solid #AAAAAA;

}}" class="cquote"

width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px “ไม่ว่าการปกครองจะถูกจัดระเบียบในรูปแบบใดๆก็ตาม

ข้าพเจ้าจะกำหนดให้มันอยู่ในแบบที่หนึ่ง (การปกครองระ

ดับชาติ-national-ผู้เขียน) ที่ซึ่งการปกครองทั้งหลายต่าง

ตระหนักยอมรับหลักการที่ว่า การดำรงอยู่ของอำนาจและ

สิทธิในการปกครองนั้น เป็นขององค์ประชาชนทั้งมวลหรือ

ชาติ และหลักที่ว่าไม่มีอะไรดำรงอยู่นอกจากสิ่งที่เกิดมาจาก

และแสดงออกเพื่อชาติ”

width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px
{{#if:|

—{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}}

}}

}}

การปกครองรูปแบบใหม่นี้คือ การปกครองที่สิทธิและอำนาจทั้งมวลเป็นของและมาจากประชาชนหรือองค์แห่งชาติ ดังนั้น ไม่ว่ารูปแบบการปกครองจะเป็นราชาธิปไตย อภิชนาธิปไตย หรือประชาธิปไตย ผู้ปกครองจะมีจำนวนเพียงหนึ่งเดียวหรือมากกว่า ก็ล้วนอยู่ในกรอบของการปกครองแห่งชาตินี้ทั้งสิ้น โดย “ผู้ปกครองมีหน้าที่เพียงกระทำการตาม โดยพลเมืองแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีสิทธิ์.............ผู้ปกครองคือ บุคคลใดก็ตามที่ได้รับมอบหมายให้ภารกิจสาธารณะ” การปกครองแห่งชาติ อาจจะอยู่ในรูปแบบประชาธิปไตยแบบพื้นฐาน (simple democracy) หรือประชาธิปไตยแบบตัวแทน (representative democracy) ก็ได้ หรือการปกครองแห่งชาติ “อาจจะยอมยกอำนาจทั้งหมดหรือบางส่วนให้กับกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง (numerous) หรือเลือกคณะบุคคล ไม่ว่าจะเป็นตลอดชีวิตหรือสืบวงศ์ตระกูล หรือด้วยอำนาจในการเสนอชื่อบุคคลร่วมคณะในกรณีที่ตำแหน่งเกิดว่างลง และถ้าเป็นในลักษณะนี้ มันก็คือรูปแบบต่างๆของอภิชนาธิปไตย ในทำนองเดียวกัน ชาติอาจจะมอบอำนาจ (intrust) หรือเพียงอำนาจบริหาร แก่บุคคลหนึ่ง ตลอดชีวิตหรือสืบสายโลหิต และนี่ก็จะทำให้เกิดระบอบราชาธิปไตยอำนาจจำกัด หรืออาจจะไม่จำกัดก็ได้”

จะเห็นได้ว่า ภายใต้หลักการในการจัดแบ่งรูปแบบการปกครองใหม่ รูปแบบการปกครองที่เคยถูกจัดแยกออกจากกันตามหลักการของนักคิดโบราณกลับถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบการปกครองหลักเดียวกันภายใต้บริบทสมัยใหม่ นั่นคือ การปกครองแห่งชาติ ทั้งนี้ การปกครองแห่งชาติคือ ภาพสะท้อนหลักการสำคัญในบริบททางการเมืองสมัยใหม่ นั่นคือ ประเด็นเรื่อง เจตน์จำนงทั่วไป (general will) และ อำนาจอธิปไตยปวงชน (people sovereignty) ดังนั้น รูปแบบการปกครองต่างๆจะถือเป็นการปกครองแห่งชาติเสมอ “ตราบเท่าที่หลักการพื้นฐานของอำนาจอธิปไตยยังคงอยู่ที่ประชาชน ......รูปแบบการปกครองต่างๆที่แตกต่างกันนี้ มีลักษณะที่สำคัญร่วมกันนี้ นั่นคือ ....การอยู่ภายใต้เจตน์จำนงแห่งชาติ และ....ไม่มีผู้ใดจะสามารถมีสิทธิที่จะขัดขวางเจตน์จำนงทั่วไป (general will) เมื่อแสดงออกตามรูปแบบที่จัดตั้งขึ้น” ซึ่งเทรซีสรุปว่า การปกครองแห่งชาตินี้เป็นรูปแบบการปกครองแห่งสิทธิร่วมกัน (common rights)

ส่วนรูปแบบการปกครองอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า การปกครองแบบพิเศษ (special) นั้นเป็นรูปแบบการปกครองแห่งสิทธิเฉพาะหรือบางส่วน โดยเทรซีอธิบายว่า

  1. if:
{{#if:|
border: 1px solid #AAAAAA;

}}" class="cquote"

width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px

“ในอีกด้านหนึ่ง ข้าพเจ้าเรียกการปกครองทั้งมวลว่าเป็นแบบ

พิเศษ (special) ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตาม ที่แหล่งแห่ง

อำนาจหรือสิทธิที่ไม่ใช่ เจตน์จำนงทั่วไป (general will) ของ

ชาติ แต่มีความชอบธรรม อย่างเช่น อำนาจแห่งพระเจ้า (divine

authority) .....มันประจักษ์ชัดว่า แหล่งอำนาจต่างๆแห่งสิทธิ

พิเศษเหล่านี้ อาจจะไม่ต่างจากเจตน์จำนงทั่วไป ที่สร้างรูปแบบ

การปกครองทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นประชาธิปไตย อภิชนา-

ธิปไตย และราชาธิปไตย แต่มันแตกต่างอย่างยิ่งจากรูปแบบการ

ปกครองที่ใช้ชื่อเดียวกัน ซึ่งถูกจัดอยู่ในการปกครองแห่งเป็นชาติ

ในการกระทำของกลุ่มคนหรือชนชั้น มีสิทธิ์ต่างๆที่เป็นที่รับรู้

และไดรับการรับรอง”

width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px
{{#if:|

—{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}}

}}

}}

เมื่อพิจารณา คุณลักษณะของรูปแบบการปกครองพิเศษของเทรซีก็คือ รูปแบบการปกครองแบบดั้งเดิม ที่อำนาจอันชอบธรรมในการปกครองมิได้เป็นอำนาจอธิปไตยปวงชน แต่เป็นอำนาจของคนหรือกลุ่มหรือมหาชน มิได้ปกครองภายใต้แนวคิดเรื่อง “สิทธิร่วมกัน” (common rights) อย่างในรูปแบบการปกครองแห่งชาติ กล่าวโดยสรุปคือ รูปแบบการปกครองต่างๆที่ถูกแบ่งแยกจากกันตามหลักการแบ่งของนักคิดโบราณนั้น ถูกนำมาจัดใหม่ โดยที่รูปแบบการปกครองต่างๆเหล่านั้นอาจจะตกอยู่ในรูปแบบการปกครองแห่งชาติหรือรูปแบบการปกครองพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเด็นเรื่องสิทธิ

ถ้ารูปแบบการปกครองใดถือว่าสิทธิเป็นของร่วมกัน (common rights) อันนำมาซึ่งการมีอำนาจสูงสุดร่วมกันหรืออำนาจอธิปไตยมาจากหรือเป็นของปวงชน (people sovereignty) ซึ่งแสดงตัวออกมาในรูปของเจตน์จำนงทั่วไป (general will) รูปแบบการปกครองนั้นย่อมเรียกได้ว่าเป็นรูปแบบการปกครองแห่งชาติ ไม่ว่าจะเป็นราชาธิปไตย อภิชนาธิปไตย หรือประชาธิปไตยก็ตาม แต่ถ้ารูปแบบการปกครองใด มีอำนาจอธิปไตยที่ไม่ได้เป็นของหรือมาจากปวงชน แต่เป็นอำนาจที่มาจากมาจากหรือเป็นของคนๆเดียวหรือกลุ่มคน รูปแบบการปกครองนั้นคือรูปแบบการปกครองพิเศษ

ขณะเดียวกัน ในการแบ่งการปกครองออกเป็นสองประเภทนี้ เทรซีมิได้ต้องการที่จะบ่งบอกว่ารูปแบบการปกครองใดดีกว่าอีกแบบหนึ่ง แต่เขาเพียงต้องการนำเสนอความเป็นจริงของรูปแบบการปกครองที่เป็นอยู่:

  1. if:
{{#if:|
border: 1px solid #AAAAAA;

}}" class="cquote"

width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px

“ข้าพเจ้าขอยืนยันอีกครั้งว่า ณ ขณะนี้ ข้าพเจ้าไม่ได้มีวัตถุประ

สงค์ที่จะกำหนดว่า สิทธิทั่วไปหรือสิทธิเฉพาะเหล่านี้เป็นสิ่งที่

ควรเคารพอย่างเท่าเทียมกัน หรือต้องการที่จะกำหนดว่าการปก

ครองแบบพิเศษสามารต่อต้านสิทธิสามัญทั่วไปได้ตลอดไป

หรือว่า มันสามารถที่ขัดกับเจตน์จำนงทั่วไปได้อย่างมีความ

ชอบธรรม........วิถีการปกครองเหล่านี้ทั้งหมดคือรูปแบบที่

ดำรงอยู่ขณะนี้”

width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px
{{#if:|

—{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}}

}}

}}

และนี่คือ การวิเคราะห์จัดประเภทรูปแบบการปกครองตามหลักรัฐศาสตร์สมัยในความคิดของเขา

นอกจากการปกครองแห่งชาติที่เป็นผลผลิตของอารยธรรมสมัยใหม่แล้ว เทรซีได้อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างอารยธรรมขั้นที่สามนี้กับการกำเนิดระบอบประชาธิป ไตยแบบตัวแทนด้วย ถ้าพิจารณาภายใต้บริบททางความรู้ (intellectual context) ตามความคิดความเข้าใจของเทรซีดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น สิ่งที่เป็นผลผลิตหรือเป็นข้อสรุปในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคมมนุษย์คือ รูปแบบและโครงสร้างการปกครองที่เหมาะสมกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงก้าวหน้าไปตามกาลเวลา และรูปแบบการปกครองที่ว่านี้ก็คือรูปแบบการปกครองที่เทรซี เรียกว่า “การปกครองแบบตัวแทน” (representative government) หรือ “ประชาธิปไตยแบบตัวแทน” (representative democracy)

ในบทที่หกของ A Commentary. ได้กล่าวถึงเงื่อนไขที่มาของรูปแบบการปกครองต่างๆซึ่งสัมพันธ์อย่างยิ่งกับบริบทพัฒนาการความก้าวหน้าของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยเขา “สังเกตว่า ความคิดจิตใจมนุษย์นั้นมีความก้าวหน้าเหมือนกับสังคมและศาสตร์อื่นๆ” และรูปแบบการปกครองซึ่งเป็นผลจากองค์ความรู้ที่เกิดจากความคิดจิตใจของมนุษย์ก็ย่อมเปลี่ยนแปลงพัฒนาก้าวหน้าตามบริบทด้วยเช่นกัน ซึ่งเทรซีได้นำเสนอขั้นตอนพัฒนาการของความคิดจิตใจมนุษย์และรูปแบบการปกครองต่างๆไว้ในตอนต้นของบทดังนี้

  1. if:
{{#if:|
border: 1px solid #AAAAAA;

}}" class="cquote"

width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px

First degree of civilization.................................Democracy....Despostism.

Second degree...................................................Aristocracy under one or several chiefs.

Third degree................................................REPRESENTATIVE GOVERNMENT,

with one or several chiefs.

Characteristics of the three forms. Ignorance......force.

Opinion.........religion.

Reason......... philosophy..

width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px
{{#if:|

—{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}}

}}

}}

พิจารณาจากลำดับขั้นตอนของยุคสมัยซึ่งปรากฏในคอลัมน์ทางซ้ายมือบนสุด จะพบว่า เทรซีได้แบ่งอารยธรรมในประวัติศาสตร์มนุษยชาติออกเป็นสามยุคสมัยดังกล่าวไปแล้ว นั่นคือ อารยธรรมยุคแรก ยุคที่สอง และยุคที่สามซึ่งเป็นยุคร่วมสมัยของตัวเขาเอง ส่วนคอลัมน์ทางขวาที่ขนานไปกับอารยธรรมยุคสมัยต่างๆคือ รูปแบบการปกครองที่เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขของยุคสมัยของอารยธรรม เห็นได้ว่า ในช่วงอารยธรรมยุคแรกเริ่มที่มนุษย์ยังไม่พัฒนาก้าวหน้า และใช้ชีวิตในแบบบรรพกาล เทรซีเห็นว่า ระบอบการปกครองที่เป็นผลผลิตของคนยุคนั้นคือ ระบอบประชาธิปไตย (democracy) และระบอบเผด็จการทรราชย์ (despostism) หลังจากนั้น เมื่ออารยธรรมมนุษย์ได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง หรืออารยธรรมขั้นที่สอง (Second degree of civilization) ตามที่เขาเรียกนั้น ระบอบการปกครองได้เปลี่ยนจากประชาธิปไตยและระบอบเผด็จการทรราชย์ไปสู่ระบอบอภิชนาธิปไตยภายใต้กลุ่มคนหรือคนๆเดียวที่มีอำนาจสูงสุด (Aristocracy under one or several chiefs) และเมื่อพัฒนามาจนถึงศตวรรษที่สิบแปดในสมัยของเขา หรืออารยธรรมขั้นที่สาม (Third degree of civilization) ระบอบการปกครองที่เหมาะสมกับยุคสมัยแห่งอารยธรรมคือ ระบอบการปกครองแบบตัวแทนที่มีผู้มีอำนาจสูงสุดหลายคนหรือคนเดียวก็ได้ (Representative Government with one or several chiefs) จากข้อความข้างต้น เทรซีได้อธิบายต่อไปว่า

  1. if:
{{#if:|
border: 1px solid #AAAAAA;

}}" class="cquote"

width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px

“ประชาธิปไตย (democracy) หรือการปกครองที่ฉ้อฉล ( despotism) เป็นการปกครองแรกเริ่มที่คนเราจะจินตนา

การได้ และถือเป็นเครื่องหมายของอารยธรรมยุคแรก

ซึ่งต่อมาถูกแทนที่ด้วยระบอบอภิชนาธิปไตยภายใต้คนๆ

เดียวหรือหลายคน และไม่ว่าจะขนานนามแตกต่างไป

อย่างไรก็ตาม อภิชนาธิปไตยถือว่าเป็นระบอบที่ก่อตัว

ในอารยธรรมยุคที่สอง และต่อมา ประชาธิปไตยตัว

แทนภายใต้คณะตัวแทนหนึ่งหรือมากกว่านั้น

ซึ่งถือเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ได้ก่อตัวและสถาปนาอารย-

ธรรมยุคที่สามขึ้น ข้าพเจ้าขอกล่าวเพิ่มเติมว่าในยุคแรก

ด้วยความความโง่เขลาของมนุษย์ จึงปกครองด้วยการช้

กำลังสั่งบังคับ ในยุคที่สอง ความคิดเห็น (opinions)

ก่อตัวขึ้นแทนที่ความโง่เขลาและเป็นช่วงเวลาที่ศาสนา

มีอำนาจยิ่งใหญ่ที่สุด ในยุคที่สาม ผู้คนทั่วไปเริ่มรับและ

ยึดถือเหตุผล (reason) และปรัชญาเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้น

ในยุคนี้”

width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px
{{#if:|

—{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}}

}}

}}

จากข้อความดังกล่าว ในความคิดของเทรซี รูปแบบการปกครองแรกเริ่มที่กำเนิดขึ้นในบริบทของอารยธรรมมนุษย์ยุคแรกหรือในสภาพที่ยังไม่พัฒนาคือการปกครองแบบประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครองขั้นพื้นฐานที่สุดสำหรับมนุษย์ คำว่า “พื้นฐาน” ในที่นี้น่าจะหมายถึงความเป็นบรรพกาล เพราะเทรซีเห็นว่า มนุษย์บรรพกาลนั้นยังโง่เขลาและป่าเถื่อนหยาบช้า (ignorant and rude men) ซึ่งไม่สามารถเข้าใจหรือมีหลักการในการจัดระเบียบสังคมได้ ขณะเดียวกัน ประชาธิปไตยทางตรงหรือประชาธิปไตยบรรพกาลนี้ยังแบ่งออกได้เป็นสองแบบ นั่นคือ ประชาธิปไตยแบบพื้นฐาน (simple democracy) และประชาธิปไตยบริสุทธ์ (pure democracy)

“ประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน” (simple democracy) เป็นการปกครองที่คนทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดการกิจการของพวกเขา โดยที่แต่ละคนมีความทะยานอยากเพื่อตัวของเขาอย่างไม่หยุดยั้ง (restless activity) และมุ่งมั่นในความเป็นอิสระของตน (independence) ประชาธิปไตยแบบพื้นฐานนี้เป็นรูปแบบการปกครองที่ถือกำเนิดขึ้นท่ามกลางฝูงชนคนป่าเถื่อน (among hordes of savages) ด้วยภายใต้ข้อจำกัดที่ยังไม่พัฒนาก้าวหน้าของอารยธรรมขั้นแรกเริ่มหรือขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ทำให้มนุษย์ในสมัยนั้นไม่สามารถคิดหรือจินตนาการรูปแบบการปกครองอื่นใดได้นอกเหนือไปจากประชาธิปไตยแบบพื้นฐานนี้ และเนื่องจากผู้คนยังโง่เขลาขาดพัฒนาการความรู้ ไม่สามารถใช้ความเชื่อหรือเหตุผลในการโน้มน้าวและสร้างความเข้าใจระหว่างกันและกันได้ การปกครองแบบประชาธิปไตยพื้นฐานจึงจำเป็นต้องใช้กำลังบังคับ (force)

ขณะเดียวกัน การปกครองในแบบประชาธิปไตยพื้นฐานนี้ยังปรากฏให้เห็นในสังคมที่มีอารยธรรมที่พัฒนาก้าวหน้าขึ้นกว่าขั้นพื้นฐานได้ แต่มักจะเป็นดินแดนที่ขาดการติดต่อกับสังคมอื่นๆ มีลักษณะที่ปิดกั้นตัวเอง (insulated) ต่อโลกภายนอก ดินแดนหรือชุมชนดังกล่าว แม้ว่าจะมีอารยธรรมที่พัฒนาขึ้นแล้วก็ตาม แต่ด้วยความที่เป็นสังคมปิด ทำให้สายสัมพันธ์ของสังคม (bonds of society) ยังเป็นในลักษณะของเครือญาติแบบบรรพกาล หรือที่เรียกว่า “ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นในแบบของคนป่า (savages)” ประชาธิปไตยแบบพื้นฐานนี้เป็นการปกครองที่เทรซีเห็นว่าปฏิบัติจริงได้ยาก (almost impractical) และดำรงอยู่ได้เพียงระยะเวลาอันสั้น โดยมากจะผันแปรไปสู่ประชาธิปไตยแบบบริสุทธิ์ ประชาธิปไตยแบบบริสุทธิ์ (pure democracy) ต่างจากประชาธิปไตยแบบพื้นฐานตรงที่ ผู้คนส่วนใหญ่มีลักษณะ (predominant passions) ของความเฉื่อยชา (idleness) และมีความโน้มเอียงที่จะโอนอ่อนยอมตาม โดยฝูงคนป่า (a horde of savages) ที่มีลักษณะดังกล่าวมักจะเลือกหัวหน้าสูงสุดของพวกเขาขึ้นมาเพื่อให้เป็นผู้นำในการรบ โดยฝูงชนเหล่านั้นยอมตามและเชื่อฟังผู้เป็นหัวหน้าของพวกเขา แต่อย่างไรก็ตามประชาธิปไตยบรรพกาลนี้ก็จะไม่สามารถดำรงอยู่ได้อีกต่อไป เพราะ “ในไม่ช้าก็จะต้องลงเอยด้วยอนาธิปไตย ซึ่งนำมาซึ่งอภิชนาธิปไตยหรือทรราชย์ (tyranny) ด้วยความจำเป็นที่จะได้มาซึ่งความสงบและความวางใจ”

ต่อจากอภิชนาธิปไตยซึ่งเป็นรูปแบบการปกครองของมนุษย์ที่พัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปอีกขึ้นหนึ่งภายใต้บริบทอารยธรรมขั้นที่สอง (Second degree civilization) คือการปกครองแบบตัวแทนหรือประชาธิปไตยแบบตัวแทน (representative government or democracy) ภายใต้บริบทอารยธรรมขั้นที่สาม (Third degree civilization) ตามคำอธิบายของเทรซี

จากประชาธิปไตยแบบพื้นฐาน (simple democracy) ไปสู่ประชาธิปไตยแบบตัวแทน เทรซีอธิบายเทียบเคียงทั้งสองรูปแบบว่า


"ประชาธิปไตยแบบธรรมดาเป็นสภาวะธรรมชาติที่แท้จริง ( the true state of nature) ประชาธิปไตยแบบตัวแทน คือรูป

แบบการปกครองของรัฐที่สมบูรณ์แบบ (a perfect state)

การเป็นตัวแทน (representation) หรือรัฐบาลตัวแทน

(representative government) อาจจะถูกมองหรือพิจาร- - ณาได้ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ (a new invention) ซึ่งยัง

ไม่เคยเป็นที่รู้จักในสมัยของมองเตสกิเออ (1689-1755)”

อย่างที่กล่าวไปแล้ว เทรซีเห็นว่า ประชาธิปไตยแบบพื้นฐานเป็นรูปแบบการปกครองที่เกิดขึ้นในบริบทแรกเริ่มของมนุษย์ และเป็นรูปแบบการปกครองที่เกิดขึ้นในสภาวะตามธรรมชาติที่แท้จริง (the true state of nature) ของมนุษย์ คำว่าสภาวะธรรมชาติที่แท้จริงที่เทรซีใช้ย่อมมีนัยความหมายที่ไม่แตกต่างไปจาก “สภาวะธรรมชาติ” (state of nature) ที่ปรากฏในข้อเขียนของนักคิดทางการเมืองสำนักสัญญาประชาคม (social contract) อย่างทอมัส ฮอบส์ จอห์น ล็อก และ ฌอง ฌาค รุสโซ ซึ่งผลงานความคิดทางการเมืองของนักคิดทั้งสามนี้ย่อมผ่านสายตาของเทรซีไม่มากก็น้อย ทั้งนี้จากเหตุผลที่ผลงานของนักคิดทั้งสามถือกำเนิดมาก่อนหน้าสมัยของเทรซี อีกทั้งแนวความคิด (concept) และคำศัพท์ต่างๆที่ปรากฏในข้อเขียนของเทรซีก็ดูจะเป็นคำศัพท์และแนวความคิดที่ผู้ที่อ่านผลงานของสามนักคิดสัญญาประชาคมคุ้นเคยดีอยู่บ้างแล้ว เช่น เจตน์จำนงทั่วไป (general will) และอำนาจอธิปไตยปวงชน (people sovereignty) ดังนั้น ข้อความข้างต้นของเทรซีจึงเป็นการตอกย้ำความเชื่อของเขาที่เห็นว่ารูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยพื้นฐานจึงเป็นรูปแบบการปกครองสำหรับมนุษย์ในช่วงเริ่มต้นอารยธรรม

ขณะเดียวกัน ประชาธิปไตยแบบตัวแทนคือพัฒนาการของประชาธิปไตยแบบพื้นฐาน และเป็นรูปแบบการปกครองที่เป็นผลผลิตของการเปลี่ยนแปลงยุคสมัยแห่งอารยธรรม และการที่เขากล่าวว่า “ประชาธิปไตยแบบตัวแทนเป็นรูปแบบการปกครองของรัฐที่สมบูรณ์แบบ (a perfect state)” นั้นย่อมบ่งบอกถึงนัยที่รัฐได้ผ่านพัฒนาการทางประวัติศาสตร์จนมาถึงจุดที่สมบูรณ์แบบ และเป็นบริบทที่สำคัญในการกำเนิดระบอบการปกครองรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องเหมาะสมกับรัฐสมัยใหม่นั่นเอง และรูปแบบการปกครองใหม่ที่ว่านี้คือรูปแบบการปกครองแบบตัวแทน (representative government)

เทรซีได้กล่าวถึงการเป็นตัวแทน (representation) ไว้ว่า “การเป็นตัวแทน (representation) หรือรัฐบาลตัวแทน (representative government) อาจถือได้ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ (a new invention) ซึ่งยังไม่เคยเป็นที่รู้จักในสมัยของมองเตสกิเออ” แม้ว่าจะประชาธิปไตยตัวแทนจะยังไม่เกิดขึ้นในสมัยของมองเตสกิเออ แต่เงื่อนไขทางวิทยาการอันเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการของอารยธรรมที่แผ้วทางไปสู่การเกิดรูปแบบการปกครองดังกล่าวนี้ได้เริ่มมาก่อนหน้านี้แล้ว เทรซียืนยันว่า รูปแบบการปกครองหนึ่งๆ ซึ่งในที่นี้คือระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน จะถือกำเนิดเกิดขึ้นได้ต้องสัมพันธ์กับเงื่อนไขบริบทอารยธรรมหรือความเจริญก้าวหน้าของศิลปะวิทยาการนั้นๆ เขากล่าวว่า

  1. if:
{{#if:|
border: 1px solid #AAAAAA;

}}" class="cquote"

width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px

“มันไม่ใช่เรื่องน่าแปลกที่ประชาธิปไตยแบบตัว

แทนเป็นสิ่งไม่มีใครค้นพบรู้จัก จนกระทั่งหลังจาก

สามร้อยปีผ่านไป (ค.ศ.1500) จากการค้นพบ

ศิลปะวิทยาการที่เปลี่ยนโฉมหน้าของจักรวาล มันจำเป็น

อย่างยิ่งที่ผลพวงอันยิ่งใหญ่จะเกิดหรือถูกผลิตขึ้นตาม

มา ก่อนที่จะแนวความคิดเรื่องประชาธิปไตยแบบตัว

แทนจะถึงจุดที่พัฒนาสุกงอมได้ที่”

width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px
{{#if:|

—{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}}

}}

}}

และการค้นพบศิลปะวิทยาการที่ว่านี้ก็คือ “การประดิษฐ์คิดค้นเครื่องพิมพ์ (printing) ขึ้น ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกอย่างยิ่งในการสื่อสารระหว่างผู้คน” อันเป็นปัจจัยเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้ประชาธิปไตยตัวแทนสามารถเกิดขึ้นจริงและปฏิบัติได้

นั่นคือ เทรซีได้ชี้ให้เห็นว่า อารยธรรมขั้นที่สาม (Third degree of civilization) ได้มอบวิทยาการการพิมพ์ให้มนุษย์ และนำมาซึ่งสิ่งที่เรียกว่า “สื่อสิ่งพิมพ์” (the press) ในเวลาต่อมา อันอำนวยให้ผู้คนสามารถสื่อสารความคิดเห็น ข้อเสนอและข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆระหว่างกันได้ในจำนวนทีละมากๆ และรวดเร็วกว่าวิธีการสื่อสารแบบดั้งเดิม ซึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ที่ว่านี้ อเล็กซี เดอ ทอคเคอวิลล์ (Alexis de Tocquerville นักคิดชาวฝรั่งเศส (1805-1836) เจ้าของหนังสือ Democracy in America อันโด่งดัง ผู้เป็นนักคิดรุ่นหลังเทรซีได้ขานรับอิทธิพลและวิสัยทัศน์ที่เทรซีได้กล่าวไว้ก่อนแล้วข้างต้น โดยเขาได้กล่าวว่า “การกำเนิดสื่อสิ่ง พิมพ์ (the press) ซึ่งต่อไปจะพัฒนาไปเป็นเครื่องมืออันทรงพลังของระบอบประชาธิปไตย” เพราะนอกจากจะช่วยพัฒนาเรื่องการสื่อสารโดยทั่วไประหว่างผู้คนแล้ว เทรซียังได้กล่าวไว้ก่อนทอคเคอวิลล์ด้วยว่า วิทยาการการพิมพ์จะช่วยให้การสื่อสารสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพอันจะทำให้

  1. if:
{{#if:|
border: 1px solid #AAAAAA;

}}" class="cquote"

width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px

“ผู้คนที่มีสิทธิออกเสียงสามารถแสดงความคิดเห็นและ

ควบคุมตัวแทนของได้ง่าย และขณะเดียวกันตัวผู้แทนเอง

ก็สามารถแสดงความรับผิดชอบและให้เหตุผลต่อการกระ

ทำของเขาได้อีกด้วย”

width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px
{{#if:|

—{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}}

}}

}}


แน่นอนว่า ในสายตาของเทรซี วิทยาการการสื่อสารกับระบบตัวแทนช่วยแก้ ปัญหาการสื่อสารระหว่างผู้คนเกี่ยวกับกิจการสาธารณะในรัฐสมัยใหม่ที่มีขนาดพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาลและประชากรจำนวนมาก อีกทั้งยังสามารถแก้ปัญหาความสับสนวุ่นวายที่เคยเกิดขึ้นในระบอบประชาธิปไตยพื้นฐานที่มหาชนพลเมืองที่เข้าประชุมสภาเกิดความไร้ระเบียบหรือเกิดพฤติ กรรมแบบฝูงชนบ้าคลั่ง (mob) ได้อีกด้วย ดังที่เทรซีได้อธิบายว่า

  1. if:
{{#if:|
border: 1px solid #AAAAAA;

}}" class="cquote"

width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px

“เหนือสิ่งอื่นใด การสื่อสารผ่านการพิมพ์ช่วย

ป้องกันพายุฝูงชนที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ซึ่ง

มักเกิดขึ้นบ่อยครั้งจากการปลุกเร้าโดยพลัง

วาทศิลป์ในการอภิปรายที่พยายามเอาใจฝูงชนอัน

เต็มไปด้วยอารมณ์ (the force of an impassioned

and popular eloquence)”

width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px
{{#if:|

—{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}}

}}

}}


ข้อสังเกตเบื้องต้น: เทรซีและปรัชญาการเมืองก่อนหน้าเขา

เราควรให้ความสนใจประเด็นในย่อหน้าล่าสุดนี้เป็นพิเศษ เพราะดูเหมือนว่า ปัญหาสำคัญที่เทรซีเล็งเห็นในการติดต่อสื่อสารโดยตรงระหว่างผู้คนจำนวนมาก คืออาการบ้าคลั่งหรือการเฮโลตามกันของคนหมู่มากที่มารวมตัวกันตามหลักจิตวิทยาฝูงชน (mass psychology) โดยการปลุกเร้าของนักปลุกระดมที่มีวาทศิลป์และจิตวิทยาในการขับเคลื่อนฝูงชน ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้ก็เป็นปัญหาร่วมที่พบในความคิดของเพลโตและอาริสโตเติล เพียงแต่สำหรับเพลโตสาเหตุของปัญหาอยู่ที่ธรรมชาติของมหาชนที่จิตใจถูกครอบงำด้วยกิเลสตัณหาเหนือปัญญาและเหตุผล ส่วนอาริสโตเติลนั้น สาเหตุของปัญหาอยู่ที่ธรรมชาติของมหาชนคนส่วนใหญ่ที่เป็นคนจนหรือ “demos” ตามที่ได้เคยกล่าวไว้แล้ว

เทรซีเคยกล่าวไว้ว่า ประชาธิปไตยแบบพื้นฐานเป็นรูปแบบการปกครองของคนเถื่อน (savages) และภายใต้เงื่อนไขบริบทของอารยธรรมแรกเริ่มที่ยังไม่พัฒนา ทำให้ผู้คนยังโง่เขลาป่าเถื่อนและไร้เหตุผล ต่อเมื่ออารยธรรมได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้น ผู้คนรู้จักใช้เหตุผลมากขึ้น ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนจึงถือกำเนิดขึ้นมารองรับมนุษย์ในเงื่อนไขดังกล่าว แต่จากมุมมองที่มีต่อปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมฝูงชนที่เขาคิดว่าจะสามารถแก้ไขได้ด้วยวิทยาการสื่อสิ่งพิมพ์และระบบตัวแทนกลับแสดงให้เห็นว่า ปัญหาดังกล่าวนี้ยังคงอยู่ แม้ในอารยธรรมขั้นที่สาม ฝูงชนมิได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเท่าไรในเรื่องของการง่ายต่อการถูกปลุกเร้าทางอารมณ์และจิตวิทยา เพียงแต่ปัญหาดังกล่าวนี้ถูกลดทอนหรือป้องกันโดยการตัดการสื่อสารโดยตรงออกไปโดยแทนที่ด้วยการสื่อสารทางสิ่งพิมพ์ และระบบตัวแทนที่ไม่เปิดโอกาสให้มหาชนได้เข้ามารวมตัวกันอยู่ในเงื่อนไขที่อ่อนไหวง่ายต่อการปลุกเร้าดังกล่าว

ต่อประเด็นปัญหาเรื่องพฤติกรรมหรือธรรมชาติของฝูงชนหรือมหาชน ซึ่งสุดแล้วแต่ใครจะเรียกตามจุดยืนทางความคิดของแต่ละคน เจมส์ เมดิสัน (James Madison: 1751-1836) หนึ่งใน “บิดาผู้ก่อตั้ง” สร้างชาติของสหรัฐอเมริกา (the Amercian Founding Fathers) ก็ตระหนักในปัญหาดังกล่าวนี้ และจากข้อเขียนที่เขาแสดงออกในสาธารณะ ชี้ให้เห็นว่า ตามความคิดความเข้าใขของเขา สาเหตุสำคัญของปัญหาอยู่มิได้อยู่ที่ธรรมชาติของมหาชนที่มีกิเลสตัณหาขาดซึ่งปัญญาและเหตุผลตามคำอธิบายของเพลโตเข้าใจ และก็หาใช่ธรรมชาติของมหาชนคนส่วนใหญ่ที่เป็นคนจนตามความคิดของอาริสโตเติล แต่ประเด็นอยู่ที่การรวมตัวกันของคนหมู่มาก ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะแสนดีมีคุณธรรมเพียงไร หากมารวมตัวกันเป็นจำนวนมากแล้ว โอกาสที่จะเกิดความสับสนวุ่นวายย่อมเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย จากความกริ่งเกรงในภยันตรายจากพฤติกรรมการรวมตัวของคนจำนวนมากนี้ เมดิสันจึงเรียกร้องให้จำกัดจำนวนของผู้แทนในสภาให้เหมาะ ไม่มากเกินไป เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนและการทำอะไรตามอำเภอใจของมหาชน (to avoid the confusion and intemperance of a multitude) ทั้งที่คงมิต้องพูดถึงการมีสภาประชาชนที่ให้พลเมืองทั้งหลายเข้ามามีส่วนร่วมในกำหนดกำหนดกิจการสาธารณะ โดยที่เมดิสันชี้เจาะจงลงไปที่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในระบอบประชาธิปไตยทางตรงโบราณอย่างเอเธนส์ เพราะเมดิสันเชื่อว่า “ในการประชุมใดๆก็ตาม และไม่ว่าองค์ประชุมจะประกอบไปด้วยผู้คนแบบใดก็ตาม ความทะยานอยาก (passion) ไม่เคยลดละที่จะต่อสู้กับอำนาจของเหตุผล ถ้าพลเมืองเอเธนส์ทุกคนเป็นคนอย่างโสกราติส กระนั้น ทุกองค์ประชุมของเอเธนส์ก็ยังคงจะเป็นฝูงชนที่ไร้ระเบียบอยู่ดีนั่นเอง (Had every Athenian citizen been a Socrates; every Athenian assembly would still have been a mob.)”

จากการประเมินทรรศนะความคิดที่มีต่อปัญหาเรื่องพฤติกรรมฝูงชนของนักคิดที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่า การใช้เหตุผลในการอธิบายปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาของเทรซีดูจะขาดความชัดเจนและมีความขัดแย้งในตัวเอง เพราะเขาอธิบายว่า ประชาธิปไตยแบบตัวแทนเป็นรูปแบบการปกครองที่เหมาะสมกับมนุษย์ในอารยธรรมขั้นที่สาม แต่กระนั้น ปัญหาความไร้เหตุผลของผู้คนที่ดำรงอยู่ตั้งแต่ในประชาธิปไตยพื้นฐานในเงื่อนไขอารยธรรมแรกเริ่มขั้นที่หนึ่งก็ยังคงอยู่ แต่สามารถแก้ไขป้องกันได้ด้วยวิทยาการสมัยใหม่ อันได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ และนวัตรกรรมของการปกครองแบบตัวแทน และสิ่งที่น่าจะเป็นที่สุดในกรณีนี้ก็คือ เทรซีน่าจะมีความคิดเห็นโน้มเอียงไปในทางเดียวกันกับเมดิสัน นั่นคือ การเล็งเห็นภยันตรายจากการรวมตัวของคนหมู่มาก ไม่ว่าจะเป็นคนดีมีคุณธรรมมีการศึกษาหรือไม่ก็ตาม

นอกเหนือไปจากประเด็นเรื่องมหาชนแล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจเปรียบเทียบกับนักคิดทางการเมืองก่อนหน้าเขาคือ สาเหตุความแตกต่างของระบอบการเมือง เทรซีอธิบายสาเหตุของความแตกต่างของประชาธิปไตยทั้งสองรูปแบบว่าเกิดจากลักษณะที่แตกต่างทางอารมณ์จิตใจของคน โดยปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดความแตกต่างของผู้คนในยุคบรรพกาลนี้คือ อิทธิพลของสภาพดินฟ้าอากาศ (climate) ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการกำหนดลักษณะอารมณ์จิตใจ (dispositions) ของมนุษย์ เทรซีเชื่อว่า ประชาธิปไตยทั้งสองรูปแบบนี้เป็นรูปแบบการปกครองพื้นฐานทั่วไปที่พบเห็นได้ในสังคมมนุษย์ในยุคบรรพกาล ตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือจนถึงอาฟริกาและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิค อาจจะเป็นประชาธิปไตยแบบพื้นฐานหรือแบบบริสุทธิ์ แล้วแต่เงื่อนไขสภาพแวดล้อม แต่ไม่ว่าที่ใดก็ตาม สังคมมนุษย์ในยุคบรรพกาลต่างอยู่ในวิถีของการจัดระเบียบดังกล่าวนี้ทั้งสิ้น และประชาธิปไตยแบบพื้นฐานมักจะไม่สามารถดำรงอยู่ได้นาน เพราะในที่สุดก็จะผันแปรไปเป็นประชาธิปไตยแบบบริสุทธิ์ อย่างไรก็ตาม เทรซีเห็นว่า ประชาธิปไตยบรรพกาล ไม่ว่าจะรูปแบบใดไม่สามารถมีอายุยืนนานได้ กล่าวได้ว่า ประชาธิปไตยบรรพกาลนี้ถือ “ถือเป็นเพียงสังคมมนุษย์ขั้นแรกเริ่มเท่านั้น (the infant state of society)” แต่ก็ “เป็นพื้นฐานจำเป็นสำหรับทุกชาติ (all nations) ในตอนก่อตัวแรกเริ่ม”

เมื่อสังคมพัฒนาไปสู่สภาวะที่ความสัมพันธ์ทางสังคมมีความใกล้ชิดและมีรูปแบบหลาก หลายมากกว่าในแบบของความเป็นพลเมืองมากกว่าความเป็นเครือญาติ ประชาธิปไตยบรรพกาลนี้ก็จะไม่สามารถดำรงอยู่ได้อีกต่อไป เพราะ “ในไม่ช้าก็จะต้องลงเอยด้วยอนาธิปไตย ซึ่งนำมาซึ่งอภิชนาธิปไตยหรือทรราชย์ ด้วยความจำเป็นที่จะได้มาซึ่งความสงบและความวางใจ” ซึ่งประ เด็นดังกล่าวนี้ของเทรซี ดูจะทำให้นึกถึงความจำเป็นต้องมีองค์อธิปัตย์ที่มีอำนาจสูงสุดในความคิดของทอมัส ฮอบส์ และประชาธิปไตยแบบบรรพกาลของเทรซีก็ดูจะมีความคล้ายคลึงกับสภาวะธรรมชาติของฮอบส์ ซึ่งทำให้ในที่สุดแล้ว เราอาจจะพิจารณาได้ว่า รูปแบบการปกครองที่ต้องมีผู้มีอำนาจสมบูรณ์เด็ดขาดของฮอบส์เป็นเพียงแต่ขั้นตอนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติเท่านั้นเอง

จะเห็นได้ว่า สิ่งที่ปรากฏชัดเจนที่สุดในย่อหน้าที่เพิ่งกล่าวไปนี้คือ ความเป็นนักคิดสมัยใหม่ (modern thinker) ขอเทรซี จากการที่เขาเห็นว่า ประชาธิปไตยพื้นฐาน (simple democracy) หรือประชาธิปไตยทางตรงว่าเป็นประชาธิปไตยของหมู่คนป่า (hordes of savages) ที่ยังไม่พัฒนาก้าวหน้าในทางอารยธรรม แต่เพื่อการตีความที่เป็นธรรมต่อเทรซี เราต้องไม่คิดว่า การที่เขานำเสนอภาพเช่นนั้นคือการปฏิเสธหรือดูถูกดูแคลนประชาธิปไตยแบบพื้นฐานของฝูงคนป่าในยุคบรรพกาลเหล่านั้น เพราะเขาได้ออกตัวไว้แล้วว่า ประชาธิปไตยพื้นฐานเป็นรูปแบบการปกครองแรกเริ่มเท่าที่คนในยุคนั้นจะจินตนาการได้ ซึ่งเราต้องไม่ลืมจุดยืนทางญาณวิทยาและปรัชญาประวัติศาสตร์ของเขาที่กล่าวไว้ในตอนต้นๆที่เน้นว่าองค์ความรู้และศาสตร์ของมนุษย์นั้นต้องเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าผันแปรไปตามบริบทเส้นทางแห่งพัฒนาการประวัติศาสตร์ของมนุษย- ชาติ แม้ว่าเขาจะไม่ได้ปฏิเสธหรือมองประชาธิปไตยพื้นฐานในแง่ลบ แต่แน่นอนว่า เขาย่อมไม่เห็นด้วยกับผู้คนที่สรรเสริญยกย่องให้รูปแบบการปกครองแบบทางตรงโบราณ่าเป็นรูปแบบการปกครองที่ดีอันเป็นแม่แบบอุดมคติที่ต้องลอกเลียน เพราะนอกจากคำนิยมยกย่องดังกล่าวจะเป็นเรื่องผิดยุคผิดสมัย (anarchronism) แล้ว มันย่อมเป็นเรื่องแปลกประหลาดและตลกอย่างยิ่งที่จะเข้าใจว่าประชาธิปไตยบรรพากาลเป็นประชาธิปไตยของพลเมืองที่อารยะมีจิตใจและคุณธรรมทางการเมืองสูงส่งอย่างที่ผู้คนจำนวนไม่น้อยเชื่อและเข้าใจ (eulogiums of pedantry) เพราะมันเป็นเพียงการปกครองที่พื้นฐาน (simple) อย่างยิ่ง และเหมาะสมกับสมัยของมันเท่านั้น ไม่สามารถนำมาใช้ในบริบทที่อารยธรรมพัฒนาก้าวหน้าไปมากแล้วได้

นอกจากนี้ การอธิบายและวิเคราะห์ประชาธิปไตยแบบพื้นฐานของเทรซียังมีความพิเศษแตกต่างจากที่ผ่านมาก่อนหน้าเขา เพราะในขณะที่นักคิดทางการเมืองโบราณอย่างเพลโต-อาริสโตเติลและผู้ที่สืบสานในเวลาต่อมาเห็นว่า ข้อบกพร่องของประชาธิปไตยอยู่ที่การที่ “demos” อันได้แก่มหาชนคนส่วนใหญ่ที่ยากจนมีอำนาจทางการเมือง และใช้อำนาจทางการเมืองดังกล่าวไปอย่างเห็นแก่ตัวและโง่เขลา และด้วยเหตุนี้นี่เองที่อาริสโตเติลจึงเสนอว่า รูปแบบการปกครองที่อำนาจอยู่ในมือของมหาชนจะเป็นรูปแบบการปกครองที่ดีได้ก็ต่อเมือมหาชนคนส่วนใหญ่ไม่ใช้คนยากจน แต่เป็นชนในระดับกลาง ซึ่งจะทำให้ได้รูปแบบการปกครองที่อำนาจอยู่ในมือคนส่วนใหญ่ในแบบที่ดีที่เขาเรียกว่า “polity” ส่วนรูปแบบที่ไม่ดีคือ “democracy” อาริสโตเติลและนักคิดในสกุลความคิดเดียวกับเขาล้วนแต่มีความเชื่อว่ามหาชนหรือคนส่วนใหญ่ที่ยากจน (demos) ย่อมมีลักษณะเหมือนกันหมดไม่ว่าในยุคใดสมัยใด นั่นคือ เห็นแต่ประโยชน์เฉพาะหน้า มีความละโมบ ขาดความอดกลั้น และไร้วิสัยทัศน์

แต่ลักษณะดังกล่าวของคนส่วนใหญ่ในความคิดของเทรซีนั้นเป็นลักษณะเฉพาะของคนป่า (savages) หรือคนที่อยู่ภายใต้บริบทของอารยธรรมที่ยังไม่เจริญ ลักษณะที่ ไม่ดี ดังกล่าวหาได้เป็นลักษณะที่เป็นธรรมชาติติดตัวถาวรไม่ แต่มันเป็นลักษณะเฉพาะของคนภายใต้บริบทหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น ความคิดความเชื่อดังกล่าวของอาริสโตเติลและนักคิดในสกุลเดียวกันจึงเป็นเพียงลักษณะไม่ดีที่เราไปติดป้ายตายตัวให้กับคนกลุ่มหนึ่งๆเท่านั้น ซึ่งถ้าเป็นชนที่ต่างเผ่าพันธุ์ ก็คงจัดได้ว่าเป็นทรรศนะความคิดที่ยึดเอากลุ่มหรือเผ่าพันธุ์ของตนเป็นศูนย์กลาง ดังที่นักมานุษยวิทยาเรียกว่า “ethnocentrism” และเมื่อสังคมได้พัฒนาและอารยธรรมได้ขยับขยายก้าวหน้ามากขึ้น ลักษณะดังกล่าวก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเทรซีในฐานะนักคิดสมัยใหม่ก็มีความคิดเห็นเช่นนี้มาตั้งแต่ในศตวรรษที่สิบแปดแล้ว แต่ถ้าไม่ใช่เป็นประเด็นเรื่องเผ่าพันธุ์ แต่เน้นไปที่เงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคมของคนบางกลุ่มในสังคม ทรรศนะดังกล่าวของเพลโตและอาริสโตเติลก็ถือได้ว่าเป็นอุมการทางชนชั้นที่สะท้อนหรือเป็นปฏิกิริยาของการต่อสู้และความขัดแย้งทางชนชั้นที่ชนชั้นสูงมีต่อชนชั้นล่างในสังคมกรีกโบราณ

ที่กล่าวไปแล้วนั้น เป็นความแตกต่างระหว่างทรรศนะที่มีต่อประชาธิปไตยโบราณของเทรซีและของอาริสโตเติล แต่สิ่งที่น่าสังเกตอย่างยิ่งก็คือ ส่วนที่เหมือนกัน ! นั่นคือ ทั้งอาริสโตเติลและเทรซีต่างเห็นตรงกันว่า ประชาธิปไตยแบบพื้นฐานนั้นไม่สามารถมีอายุยืนยาวได้ และจะนำไปสู่สภาวะอนาธิปไตย และเปลี่ยนแปลงไปสู่อภิชนาธิปไตยหรือทรราชย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพียงแต่ประชาธิปไตยแบบพื้นฐานในความคิดของเทรซีจำต้องเดินไปสู่สภาวะดังกล่าวก็เพราะเงื่อนไขของสังคมเปลี่ยนแปลงไป ประชาธิปไตยพื้นฐานไม่สามารถทำหน้าที่ในฐานะรูปแบบการปกครองที่เหมาะสมได้อีกต่อไป

แต่สำหรับอาริสโตเติล เงื่อนไขของสังคมที่เปลี่ยนแปลงก้าวหน้าไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญของการล่มสลายของระบอบประชาธิปไตยพื้นฐานเท่ากับเงื่อนไขของธรรมชาติมนุษย์เอง โดย เฉพาะอย่างยิ่งคนส่วนใหญ่ที่ยากจน (demos) ที่เป็นเงื่อนไขทั่วไปในแทบทุกสังคมที่คนส่วนใหญ่มักจะยากจน และคนยากจนโดยทั่วไปแล้วเป็นคนส่วนใหญ่ มีสังคมเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ยากจน

กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เทรซีไม่เชื่อในเรื่องธรรมชาติมนุษย์อย่างที่อาริสโตเติลเชื่อ แต่เชื่อว่ามนุษย์สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามพัฒนาการอารยธรรมของสังคม ในขณะเดียวกัน อาริสโตเติลก็ไม่เชื่อในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีความสำคัญถึงขนาดจะเปลี่ยนธรรมชาติมนุษย์ได้ และนี่น่าจะเป็นประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความขัดแย้งแตกต่างกันระหว่างภูมิปัญญาความคิดทางการเมืองโบราณและภูมิปัญญาความคิดทางการเมืองสมัยใหม่ด้วย

ก่อนที่จะจบตอนสองนี้ อยากจะให้สังเกตและพิจารณาให้ดีว่า แม้ว่าเทรซีและอาริสโตเติลจะเห็นตรงกันว่า จากประชาธิปไตยจะนำไปสู่อนาธิปไตย และบังเกิดการปกครองแบบอภิชนาธิปไตยหรือทรราชย์เพื่อที่จะทำให้สังคมเกิดความสงบและมีความวางใจในการดำเนินชีวิต ซึ่งในสายตาของเทรซีเห็นว่าคือบันไดอีกขั้นหนึ่งของพัฒนาการทางประวัติศาสตร์อารยธรรม แต่สำหรับอาริสโตเติล ซึ่งได้รับอิทธิพลจากเพลโต ย่อมเห็นว่า การเปลี่ยนผ่านดังกล่าวนั้นเป็นวงจรหรือวัฎจักรของรูปแบบการปกครองที่ไม่สมบูรณ์ (imperfect polity) ซึ่งเพลโตและอาริสโตเติลเชื่อว่า จากประชาธิปไตยจะนำไปสู่อนาธิปไตยและลงเอยด้วยทรราชย์เสียมากกว่า และถ้าเปลี่ยนไปเป็นอภิชนาธิปไตยก็ถือว่าเป็นความสามารถในการย้อนศรความเสื่อมกลับไปสู่สภาวะที่ดีมากกว่าจะเป็นการก้าวหน้าต่อไปตามความคิดของเทรซี ดังนั้น ประชาธิปไตยในความเข้าใจของอาริสโตเติลเป็นเพียงประชาธิปไตยพื้นฐานของเทรซี และประชาธิปไตยพื้นฐานของเทรซีก็คือประชาธิปไตยที่ตายตัวเป็นหนึ่งเดียวไม่มีแบบอื่นสำหรับอาริสโตเติล พูดง่ายๆก็คือ สำหรับอาริสโตเติลแล้ว ประชาธิปไตยก็คือประชาธิปไตย ! ไม่มีที่เป็นแบบพื้นฐานหรือแบบก้าวหน้าที่ปรากฏออกมาในรูปแบบของประชาธิปไตยตัวแทน! และตัวแทนมาจากการเลือกตั้งระบอบนั้นก็ไม่ใช่ประชาธิปไตยแท้ๆ อีกต่อไป


อ้างอิง

  1. Robert A. Dahl and Edward R. Tuffe, Size and Democracy, (Standford: Standford University Press: 1973), pp. 7-9.
  2. Dahl and Tufte, Size and Democracy, ibid., p. 9.