ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานะความเป็นพลเมืองในประชาธิปไตยเอเธนส์ (ตอนที่สอง): สิทธิและหน้าที่"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' ไชยันต์ ไชยพร ---- '''วารสารสถาบันพระ...' |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 40: | บรรทัดที่ 40: | ||
เหตุที่ใช้ผลผลิตทางการเกษตรอันได้แก่ ข้าวโพด ไวน์ น้ำมันมะกอก เป็นเกณฑ์ เพราะในช่วงเวลาที่โซลอนทำการปฏิรูปนั้นเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ชาวไร่ชาวนาในเอเธนส์ปลูกพืชเหล่านี้เป็นหลัก ในการตั้งเกณฑ์ด้วยผลผลิตดังกล่าวนี้ มิได้คิดในลักษณะของการแลกเป็นเงิน เพราะถ้าคิดในลักษณะของการแลกเป็นเงินแล้ว ค่าของพืชเหล่านี้อาจจะแตกต่างกันและเราก็ไม่ทราบว่าการใช้พืชเหล่านี้จะเป็นเกณฑ์ที่ใช้ไปตลอดหรือไม่ และเราก็ไม่สามารถจะสรุปในประเด็นปัญหาเรื่องที่ดินที่ใช้ปลูกพืชต่างๆ เหล่านี้ได้แน่ชัดอีกด้วย | เหตุที่ใช้ผลผลิตทางการเกษตรอันได้แก่ ข้าวโพด ไวน์ น้ำมันมะกอก เป็นเกณฑ์ เพราะในช่วงเวลาที่โซลอนทำการปฏิรูปนั้นเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ชาวไร่ชาวนาในเอเธนส์ปลูกพืชเหล่านี้เป็นหลัก ในการตั้งเกณฑ์ด้วยผลผลิตดังกล่าวนี้ มิได้คิดในลักษณะของการแลกเป็นเงิน เพราะถ้าคิดในลักษณะของการแลกเป็นเงินแล้ว ค่าของพืชเหล่านี้อาจจะแตกต่างกันและเราก็ไม่ทราบว่าการใช้พืชเหล่านี้จะเป็นเกณฑ์ที่ใช้ไปตลอดหรือไม่ และเราก็ไม่สามารถจะสรุปในประเด็นปัญหาเรื่องที่ดินที่ใช้ปลูกพืชต่างๆ เหล่านี้ได้แน่ชัดอีกด้วย | ||
และจากเกณฑ์การแบ่งชนชั้นดังกล่าว นำมาซึ่งการที่พลเมืองทุกคนยกเว้นชนชั้นล่างสุดซึ่งเป็นพวกแรงงานเร่ร่อน (thetes) จะต้องเป็นทหารในกองทหารราบหรือกองทหารม้า ส่วนพวกแรงงานเร่ร่อนจะต้องไปเป็นทหารเรือ และในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่สี่ พลเมืองเอเธนส์ที่มีอายุระหว่างสิบแปดถึงยี่สิบปีจะต้องผ่านการฝึกทหารเป็นเวลาสองปี และการฝึกจะจบสมบูรณ์ได้ โดยผู้เข้ารับการฝึกจะต้องจัดหาอุปกรณ์และอาวุธที่จำเป็นสำหรับการเป็นทหารของเขา ซึ่งอุปกรณ์และอาวุธเหล่านี้มักจะมีราคาค่อนข้างแพง ส่วนพวกชนชั้นล่างจะต้องไปเป็นทหารเรือ โดยปรกติจะแล้วแต่สมัครใจ แต่ก็มีบางครั้งที่เป็นการเกณฑ์ | และจากเกณฑ์การแบ่งชนชั้นดังกล่าว นำมาซึ่งการที่พลเมืองทุกคนยกเว้นชนชั้นล่างสุดซึ่งเป็นพวกแรงงานเร่ร่อน (thetes) จะต้องเป็นทหารในกองทหารราบหรือกองทหารม้า ส่วนพวกแรงงานเร่ร่อนจะต้องไปเป็นทหารเรือ และในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่สี่ พลเมืองเอเธนส์ที่มีอายุระหว่างสิบแปดถึงยี่สิบปีจะต้องผ่านการฝึกทหารเป็นเวลาสองปี และการฝึกจะจบสมบูรณ์ได้ โดยผู้เข้ารับการฝึกจะต้องจัดหาอุปกรณ์และอาวุธที่จำเป็นสำหรับการเป็นทหารของเขา ซึ่งอุปกรณ์และอาวุธเหล่านี้มักจะมีราคาค่อนข้างแพง ส่วนพวกชนชั้นล่างจะต้องไปเป็นทหารเรือ โดยปรกติจะแล้วแต่สมัครใจ แต่ก็มีบางครั้งที่เป็นการเกณฑ์ | ||
บรรทัดที่ 86: | บรรทัดที่ 87: | ||
บางตอนในสุนทรพจน์ที่มีการกล่าวถึงมากที่สุดคือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตสาธารณะและชีวิตส่วนตัว โดยมีกล่าวแยกให้เห็นชัดเจนถึงความแตกต่างระหว่างพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนตัว โดยประเด็นหลักของคำกล่าวคือ การรับรู้ของชาวเอเธนส์ถึง ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ทั้งสองและความสมัครใจของพลเมืองที่จะออกจากพื้นที่ส่วนตัวไปสู่พื้นที่สาธารณะ อันเป็นกิจกรรมของโพลิส: | บางตอนในสุนทรพจน์ที่มีการกล่าวถึงมากที่สุดคือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตสาธารณะและชีวิตส่วนตัว โดยมีกล่าวแยกให้เห็นชัดเจนถึงความแตกต่างระหว่างพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนตัว โดยประเด็นหลักของคำกล่าวคือ การรับรู้ของชาวเอเธนส์ถึง ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ทั้งสองและความสมัครใจของพลเมืองที่จะออกจากพื้นที่ส่วนตัวไปสู่พื้นที่สาธารณะ อันเป็นกิจกรรมของโพลิส: | ||
“ท่านจะพบว่าในคนๆเดียวนั้น เขามีความสนใจทั้งในเรื่องส่วนตัว | |||
และเรื่องสาธารณะและแม้ว่าคนที่สนใจเรื่องส่วนตัวมากๆก็ยังรู้ | {{Cquote| | ||
เรื่องการเมืองสาธารณะอย่างดีด้วย พลเมืองเอเธนส์อย่างเราเท่านั้นที่จะ | “ท่านจะพบว่าในคนๆเดียวนั้น เขามีความสนใจทั้งในเรื่องส่วนตัว | ||
ไม่เรียก คนที่ไม่สนใจเรื่องการเมืองและเรื่องสาธารณะนั้น ว่าเป็นคนที่ | |||
ไม่ยุ่งเรื่องชาวบ้าน หรือเป็นคนที่ชอบยุ่งแต่เรื่องตัวเอง (apragmona) | และเรื่องสาธารณะและแม้ว่าคนที่สนใจเรื่องส่วนตัวมากๆก็ยังรู้ | ||
แต่เราถือว่า เขาเหล่านั้นเป็นคนที่ไม่ได้ทำอะไรเลยต่างหาก” | |||
เรื่องการเมืองสาธารณะอย่างดีด้วย พลเมืองเอเธนส์อย่างเราเท่านั้นที่จะ | |||
ไม่เรียก คนที่ไม่สนใจเรื่องการเมืองและเรื่องสาธารณะนั้น ว่าเป็นคนที่ | |||
ไม่ยุ่งเรื่องชาวบ้าน หรือเป็นคนที่ชอบยุ่งแต่เรื่องตัวเอง (apragmona) | |||
แต่เราถือว่า เขาเหล่านั้นเป็นคนที่ไม่ได้ทำอะไรเลยต่างหาก” |}} | |||
กล่าวได้ว่า ความเป็นพลเมืองเอเธนส์ได้หลอมรวมพื้นที่สาธารณะและส่วนตัวเข้าเป็นหนึ่งเดียว และการยืนยันในความสำคัญเหนืออื่นใดของกิจกรรมของโพลิสในชีวิตประจำวันของเอเธนส์ | กล่าวได้ว่า ความเป็นพลเมืองเอเธนส์ได้หลอมรวมพื้นที่สาธารณะและส่วนตัวเข้าเป็นหนึ่งเดียว และการยืนยันในความสำคัญเหนืออื่นใดของกิจกรรมของโพลิสในชีวิตประจำวันของเอเธนส์ | ||
บรรทัดที่ 99: | บรรทัดที่ 107: | ||
==อ้างอิง== | ==อ้างอิง== | ||
<references/> | <references/> | ||
---- | |||
*[http://www.kpi.ac.th/kpith/pdf/%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3/53/01/52-03%2002.%20%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%8A%E0%B8%95.%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%8C%202%20-%20%E0%B8%AD.%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C.pdf สถานะความเป็นพลเมืองในประชาธิปไตยเอเธนส์ (ตอนที่สอง): สิทธิและหน้าที่'''(PDF Download)'''] | |||
[[หมวดหมู่:วารสารปีที่ 7 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม 2552]] | [[หมวดหมู่:วารสารปีที่ 7 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม 2552]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:52, 5 กรกฎาคม 2555
ผู้เรียบเรียง ไชยันต์ ไชยพร
วารสารสถาบันพระปกเกล้า ปี 2552 ฉบับที่ 3
สถานะความเป็นพลเมืองในประชาธิปไตยเอเธนส์ (ตอนที่สอง) : สิทธิและหน้าที่
ประวัติศาสตร์การเมืองเอเธนส์ได้บันทึกไว้ว่า ในปี ๕๐๘/๕๐๙ ก่อนคริสตกาล เอเธนส์ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบการปกครองที่อำนาจอยู่ในมือของ demos และในราวปี ๔๔๐ ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส (Herodotus) ได้บันทึกไว้ว่า ไคลอีสธีนิสเป็นบิดาแห่งประชาธิปไตยเอเธนส์[1]
หลังจากไคลอีสธีนิสและมวลชน (demos) ได้ชัยชนะในทางการเมืองในปี ๕๐๘/๕๐๗ ก่อนคริสตกาลแล้ว เขาได้ลดทอนเงื่อนไขของความเป็นพลเมืองจากที่เคยยึดติดอยู่กับภูมิหลังทางครอบครัวหรืออีกนัยหนึ่งคือความเป็นชนชั้นสูง (the old aristocratic families)----หรือที่เรียกในศัพท์วิชาการปัจจุบันว่าสถานะทางเศรษฐกิจสังคมสูง-----มาเป็นเพียงเงื่อนไขที่ว่า เสรีชนชาวเอเธนส์เพศชายทุกคนในทุกชุมชุนหรือหมู่บ้าน (the demes or local communities) มีสถานะเป็นพลเมืองแห่งนครโพลิสเอเธนส์ ด้วยเหตุนี้ สถานะความเป็นพลเมืองเอเธนส์จึงมีลักษณะผสมผสานรวมทุกชนชั้นเข้าด้วยกัน นั่นคือ ชนชั้นสูงและมวลชนชนชั้นล่าง เงื่อนไขสำคัญของการเป็นพลเมืองจึงไม่ได้อยู่ที่สถานะทางชนชั้นอีกต่อไป แต่อยู่ที่การเป็นคนในพื้นที่ มีถิ่นฐานรากเหง้าอยู่ในเอเธนส์ อันทำให้ชาวเอเธนส์มีความเท่าเทียม (isonomia) กันในสถานะของความเป็นพลเมืองหรือเท่าเทียมกันตามกฎหมายนั่นเอง[2]
แม้ว่า เงื่อนไขของความเป็นพลเมืองจะเปิดกว้างขึ้น แต่เมื่อพิจารณาถึงจำนวนของผู้ที่เป็นพลเมืองจริงๆ จะพบว่า พลเมืองเอเธนส์ถือว่าเป็นคนจำนวนน้อยเมื่อคิดถึงจำนวนประชากรทั้งหมดในเอเธนส์ เนื่องจาก แม้ว่าเงื่อนไขจะเปิดกว้างก็จริง แต่ก็จำกัดสิทธิความเป็นพลเมืองให้เฉพาะผู้ชายอายุสิบแปดปีขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งตัวเลขของพลเมืองเอเธนส์ในปี ๔๕๐ ก่อนคริสตกาลมีประมาณราวๆสามหมื่นคน
ในนัยทางการเมือง พลเมืองของเอเธนส์คือ demos หรือชาวบ้านชาวเอเธนส์ เพราะคำว่า demos มีความหมายที่ไม่ชัดเจนคลุมเครือ ไม่ต่างจากคำว่า “ประชาชน” (people) ในปัจจุบัน demos มีความหมายหลายนัย นัยแรกเป็นนัยในทางเทคนิค โดยหมายถึงองค์พลเมืองของเอเธนส์ทั้งหมด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกล่าวถึงองค์ประชุมของสภาประชาชน demos ใช้เป็นคำที่เรียกแทนสภาประชาชนได้ด้วย อย่างไรก็ตาม สำหรับชาวเอเธนส์บางกลุ่มอันได้แก่พวกชนชั้นสูง คำว่า demos หมายถึง “มวลชน” (masses) หรือ “ประชาชนธรรมดา” (the common people) ด้วย เพราะ demos ถือเป็นคนส่วนใหญ่ข้างมาก (the many or the majority/ hoi polloi) ในที่ประชุมสภาประชาชนเสมอ อย่างไรก็ตาม คำว่า demos สำหรับพลเมืองเอเธนส์ที่เป็นชนชั้นสูงมีนัยความหมายในแง่ลบ เพราะ demos มีความหมายเดียวกันกับคำว่า “ฝูงชนไร้ระเบียบ” (mob/okhlos) รวมทั้งความหมายที่บ่งบอกถึงความเป็น “คนจน คนชั้นล่าง คนหยาบถ่อย” ซึ่งมีนัยตรงกันข้ามกับ “คนรวย คนชั้นสูง คนที่มีอำนาจ ผู้ดี”
ภายใต้กรอบที่ชาวเอเธนส์ทุกคนมีสิทธิ์เป็นพลเมือง กระบวนการสู่ความเป็นพลเมือง (citizenship) ในสังคมเอเธนส์ เริ่มตั้งแต่แรกเกิด นั่นคือ หลังจากทารกมีอายุได้หนึ่งสัปดาห์ ผู้เป็นบิดาจะเป็นผู้นำการเฉลิมฉลองของพิธีกรรมที่เรียกว่า “เดินหรือวิ่งไปรอบๆ” (walking or running around---amphidromia) ซึ่งผู้เป็นบิดาจะอุ้มทารกแรกเกิดของตนวิ่งไปรอบๆบ้าน (household hearth) ในสภาพเปล่าเปลือย ตามมาด้วยการบูชายัญและงานเลี้ยง โดยมิตรสหายจะนำอาหารและเครื่องดื่มและของขวัญสำหรับทารกน้อยผู้เป็นสมาชิกใหม่ของชุมชน นอกจากพิธีกรรมดังกล่าวจะถูกจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองความปิติยินดีแล้ว ยังเป็นไปเพื่อการแนะนำทารกแรกให้ชุมชุนได้รับทราบด้วย นอกจากนี้ วัตถุประสงค์อีกประการหนึ่งของพิธีดังกล่าวคือ การรับรู้ถึงทางเลือก (the knowledge of the alternative) นั่นคือ ผู้เป็นบิดามีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธทารกว่าเป็นบุตรที่ไม่ชอบธรรม (illegitimate) ได้ ซึ่งในกรณีนี้หมายความว่า บิดามีสิทธิ์อันชอบธรรมที่จะนำทารกไปทิ้ง ณ ที่ใดที่หนึ่งได้ ซึ่งทารกนั้นอาจจะตาย หรือถูกเก็บไปเลี้ยง หรือถูกขายไปเป็นทาส ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของบิดาที่มีต่อบุตรของตนในกระบวนการให้ความชอบธรรมต่อบุตร ไม่ว่าจะในฐานะที่เป็นสมาชิกใหม่ของครอบครัวและสมาชิกใหม่ของชุมชุนและโพลิสด้วย และเมื่อทารกได้รับการยอมรับว่าเป็นบุตรอันชอบธรรม ก็จะมีการตั้งชื่อให้ อาจจะตั้งในงานฉลองดังกล่าวหรือในงานที่จัดขึ้นในอีกสิบวันต่อมา
จะเห็นได้ว่า จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดของพิธีดังกล่าวคือ การทำให้ตัวตนของทารกผู้นั้นเป็นที่รู้จักและรับรู้ของผู้คนในหมู่บ้านว่าลูกใคร บิดามารดาเป็นชาวเมืองเอเธนส์ทั้งคู่หรือไม่ หากไม่ใช่ทั้งคู่ เส้นทางสู่สถานะความเป็นพลเมืองเอเธนส์ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ (ในบางช่วง ยอมให้บุตรที่มารดาไม่ใช่ชาวเอเธนส์สามารถเป็นพลเมืองได้--จักได้กล่าวต่อไป) ดังนั้นจุดหมายของพิธีกรรมดังกล่าวนี้คือ การพิสูจน์และรับรองความเป็นคนเอเธนส์ที่แท้โดยผู้เป็นบิดาและสมาชิกในชุมชุนหรือหมู่บ้าน (deme)
หลังจากนั้นต่อมาอีกสิบแปดปี บุคคลผู้นั้นก็จะเข้าสู่พิธีการสำคัญของการเข้าสู่สถานะของความเป็นพลเมืองเอเธนส์เต็มตัว หากบิดายังมีชีวิตอยู่ ทั้งบุตรและบิดาจะถูกเรียกมายังองค์ประชุมของหมู่บ้าน (deme assembly) ในการลงทะเบียนพลเมืองใหม่ประจำปี บิดาจะเป็นผู้รับรองการขอความเป็นพลเมืองของบุตรของตน และยืนยันความแน่นอนของคุณสมบัติของบุตรของตน นั่นคือ การมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์ เป็นเสรีชน และเกิดจากบิดามารดาที่เป็นชาวเอเธนส์ทั้งคู่ สมาชิกขององค์ประชุมหมู่บ้านจะเป็นพยานและออกเสียงภายใต้สัตย์ปฏิญาณอันศักดิ์สิทธิ์ (solemn) ในการรับหรือไม่รับผู้ขอเป็นพลเมือง หลังจากที่ได้มีการตรวจสอบอย่างเคร่งครัดหลายกระบวนการแล้ว หากผู้สมัครถูกร้องคัดค้าน เรื่องก็จะเข้าสู่การอุทธรณ์ต่อศาล แต่อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้วจะต้องได้รับการตรวจสอบและผ่านการรับรองโดยสภาห้าร้อยของเอเธนส์อีกครั้งถึงจะครบกระ บวนการในการรับรองความเป็นพลเมือง
หลังจากนั้น โดยสิทธิตามกฎหมายแห่งโพลิสเอเธนส์ พลเมืองใหม่นี้ก็จะมีสถานะที่เป็นอิสระจากการควบคุมดูแลของผู้เป็นบิดา และมีสิทธิ์ที่จะเป็นตัวแทนปกป้องตัวเขาเองในศาลได้ นอกจากจะมีสิทธิ์เสรีในตัวของตัวเองแล้ว ยังถือว่าได้เข้าสู่ความเป็นชายอย่างเต็มตัว (manhood) อีกด้วย (ซึ่งประเด็นดังกล่าวนี้เป็นประเด็นที่น่าตั้งข้อสังเกตอย่างยิ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีการเข้าสู่ความเป็นพลเมืองโดยการมีสิทธิ์เลือกตั้งเมื่ออายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ของไทย โดยจะได้กล่าวในส่วนของบทสรุป) ส่วนในกรณีของคนที่บิดาของเขาเสียชีวิตจากการต่อสู้ในศึกสงคราม เยาวชนอายุ ๑๘ ปีผู้นั้นจะถือว่า “กำพร้า” (orphanos) แม้ว่าจะมีมารดาอยู่ก็ตาม และจะต้องเข้าสู่อีกพิธีกรรมหนึ่ง นั่นคือ พิธีบูชาเทพดีโอนีซุส หรือที่เรียกว่า พิธี Dionysia ซึ่งเป็นพิธีที่เฉลิมฉลองกันทุกปี โดยโพลิสจะทำหน้าที่เป็นผู้รับรองเยาวชนผู้นั้นในการเข้าสู่สถานะความเป็นพลเมืองแทนบิดาของเขา เยาวชนผู้นั้นจะต้องไปปรากฏตัวต่อพลเมืองในพิธีดังกล่าว และต้องใส่ชุดนักรบเต็มตัวในการเข้าสู่การยอมรับให้มีสถานะพลเมืองของเอเธนส์ เพื่อระลึกถึงการให้ความสำคัญต่อการเป็นทหารและการพลีชีพเพื่อบ้านเมืองของผู้เป็นบิดาอันเป็นหน้าที่สำคัญของพลเมืองที่ดี และชี้ให้เห็นว่า หากเป็นทหารผู้พลีชีพเพื่อบ้านเมืองแล้ว โพลิสก็จะทำหน้าที่เป็น “บิดา” ผู้อุปถัมภ์สนับสนุนลูกหลานชาวเอเธนส์
เมื่อได้ผ่านการรับรองสถานะความเป็นพลเมืองแล้ว ชื่อของพลเมืองใหม่จะได้รับการบันทึกเก็บไว้ในบัญชีของหมู่บ้าน และเขาผู้นั้นก็จะมีสิทธิสำคัญหลายประการ อาทิ สิทธิที่จะเข้าร่วมในพิธีบูชา เทศกาลเฉลิมฉลอง และพิธีบูชาเทพเจ้าต่างๆของเอเธนส์ และหากชื่อของเขาได้รับการจับฉลาก เขาก็จะมีสิทธิ์ในการเข้าร่วมประชุมในสภาประชาชนโดยสามารถอภิปรายและลงคะแนนเสียงได้ และเมื่อพลเมืองผู้นั้นอายุครบสามสิบ ก็จะมีสิทธิ์เข้าไปเป็นองค์ประชุมทำงานของสภาห้าร้อย มีสิทธิ์เข้าเป็นคณะลูกขุนในศาลประชาชน มีสิทธิ์ลงคะแนนเลือกหรือรับเลือกเป็นเจ้าหน้าที่โพลิส ทั้งนี้การมีส่วนร่วมในสภาห้าร้อย ศาลประชาชนและการเป็นเจ้าหน้าที่โพลิสกระทำผ่านกระบวนการจับฉลาก นอกจากนี้ ยังมีสิทธิ์ที่จะได้รับการชดใช้ความเสียหายและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายด้วย และมีสิทธิ์ในการครอบครองที่ดินเป็นของตัวเองในแอทติกกา (Attica) รวมทั้งมีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยช่วยเหลือในกรณีที่ได้ทำงานให้โพลิสและการช่วยเหลือกิจกรรมสาธารณะต่างๆ รวมทั้งได้รับเบี้ยเลี้ยงสำหรับความยากลำบากเดือดร้อนที่เกิดขึ้นจากการทำงานเหล่านั้น และท้ายที่สุด สำหรับพลเมืองเอเธนส์ที่สร้างคุณงามความดีให้แก่โพลิส โพลิสจะให้เกียรติโดยเป็นผู้รับผิดชอบจัดงานศพอย่างเป็นทางการ ซึ่งถือเป็นงานสาธารณะ โดยเฉพาะหากเขาผู้นั้นเสียสละชีวิตของเขาเพื่อโพลิส (polis)
นอกจากนี้ จากหลักแห่งความเสมอภาค (isonomia) ผู้ที่เป็นพลเมืองทุกคนมีสิทธิ์ในการปกครองหมุนเวียนกันไป โดยทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเลือกบุคคลเข้าไปทำงานในตำแหน่งที่ต้องอาศัยความชำนาญพิเศษ เช่น ตำแหน่งแม่ทัพ ขณะเดียวกัน ผู้ที่ได้รับเลือกผ่านการลงคะแนนเสียงก็มีสิทธิ์ที่จะไม่รับตำแหน่ง หากมีเหตุผลเพียงพอและเป็นที่ยอมรับของสภาประชาชน ส่วนตำแหน่งอื่นๆนั้น พลเมืองทุกคนมิสิทธิ์ที่จะได้รับการจับฉลากให้เข้าไปทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ของโพลิสโดยไม่คำนึงถึงสถานะทางเศรษฐกิจ และประสบการณ์ทักษะใดๆ ส่วนในการใช้อำนาจตุลาการ พลเมืองทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับการคัดสรรเข้าไปมีส่วนร่วมในการพิพากษาทุกคดีความ แต่ท้ายที่สุด สภาประชาชนมีอำนาจสูงสุดในการตัดสินใจเรื่องราวต่างๆทั้งหมด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญแก่อำนาจการตัดสินใจขององค์ประชุมแห่งพลเมืองส่วนใหญ่ และที่สำคัญคือ พลเมืองคนหนึ่งไม่สามารถดำรงตำแหน่งใดๆเกินหนึ่งครั้ง ยกเว้นตำแหน่งทางการทหาร เพื่อให้มีการหมุนเวียนเปลี่ยนผ่านไปมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากสิทธิต่างๆข้างต้นแล้ว ผู้มีสถานะพลเมืองเอเธนส์ยังมีหน้าที่สำคัญที่ต้องยึดถือปฏิบัติ นั่นคือ การเคารพเชื่อฟังกฎหมายของโพลิส ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยนั้นชี้ให้เห็นว่า บ่อยครั้งที่โทษสำหรับการฝ่าฝืนกฎหมายคือการสูญเสียสิทธิ์ทางการเมืองและอภิสิทธิ์ต่างๆตามกฎหมาย นอกจากนี้ การเป็นทหารและการเสียภาษีก็ถือเป็นหน้าที่สำคัญของพลเมืองเอเธนส์ด้วย แม้ว่า อาจจะมีอภิสิทธิ์บางอย่างที่พลเมืองแต่ละคนจะมีไม่เหมือนกันหรือไม่เท่ากัน อันขึ้นอยู่กับสถานะทางเศรษฐกิจสังคม (census rank) ของพลเมืองแต่ละคน
คงจะมีผู้สงสัยว่า เมื่อเอเธนส์เป็นประชาธิปไตยแล้ว ยังมีความไม่เท่าเทียมอยู่อีกหรือ ? คำตอบคือ ความเท่าเทียมกันของพลเมืองเอเธนส์นั้นเป็นความเท่าเทียมกันในทางกฎหมายและโดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียมในการเป็นผู้ใช้อำนาจทางการเมือง นั่นคือ นิติบัญญัติ ตุลาการและบริหาร แต่สถานะทางเศรษฐกิจยังคงแตกต่างกันอยู่ เพียงแต่ความแตกต่างทางฐานะมิได้มีผลทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในทางการเมือง แต่กระนั้น ก็มีสิทธิ์บางอย่างที่แตกต่างกันในหมู่พลเมืองที่มีฐานะแตกต่างกัน ซึ่งจักกล่าวต่อไป แต่จะขออธิบายถึงความแตกต่างทางเศรษฐกิจสังคมในโพลิสเอเธนส์ก่อน
ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานะทางเศรษฐกิจสังคมหรือชนชั้นในเอเธนส์ เราคงต้องย้อนกลับไปที่การปฏิรูปของโซลอน หลังการปฏิรูปดังกล่าว ทำให้เกิดการแบ่งช่วงชั้นของคนในเอเธนส์ ซึ่งแต่เดิมนั้น กล่าวได้ว่ามีเพียงสองกลุ่มเท่านั้น นั่นคือ ชนชั้นสูงหรือ Eupatridai และพวกหนึ่งในหกหรือ hektamoroi มาเป็นสี่ชนชั้น โดยมีเกณฑ์พิจารณาจากการครอบครองทรัพย์สิน (property classes) แต่ทรัพย์สินที่ถือเป็นเกณฑ์นี้ไม่ใช่ทุนในลักษณะของเงินตราหรือที่ดิน แต่เป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีจำนวนตามที่ตั้งเกณฑ์ไว้ ผลผลิตที่ว่านี้ ได้แก่ ข้าวโพด ไวน์ น้ำมันมะกอก ชนชั้นทั้งสี่นี้ได้แก่
ชนชั้นสูงสุด หรือ pentakosimodimnoi คือชนชั้นที่มีผลผลิตตั้งแต่ ๕๐๐ มาตรวัด (measures หรือ metra) ขึ้นไป
ชนชั้นที่สอง หรือ hippeis หรือพวกที่อริสโตเติลอธิบายไว้ว่า คำว่า hippeis นั้นหมายถึงผู้ที่มีม้า เพราะคำว่า hippeis นั้นมีรากศัพท์ของคำว่า ม้า ดังนั้น ชนชั้นนี้จึงหมายถึงชนชั้นที่มีฐานะดีพอที่จะเลี้ยงม้าหรือมีม้าในครอบครองได้ เพราะการเลี้ยงม้านั้นเป็นสิ่งที่ต้องสิ้น เปลืองมาก พวกชนชั้นนี้คือพวกที่มีผลผลิตทางการเกษตรตั้งแต่ ๓๐๐-๕๐๐ มาตรวัด
ชนชั้นที่สาม หรือ zeugitai คำว่า zeugitai มาจากคำว่า zeugos ซึ่งหมายถึงฝูงวัว zeugitai จึงหมายถึงชนชั้นที่สามารถมีวัวในครอบครอง ชนชั้นนี้มีผลผลิตตั้งแต่ ๒๐๐-๓๐๐ มาตราวัด
ชนชั้นที่สี่หรือ thetes คือพวกที่มีผลผลิตต่ำกว่า ๒๐๐ มาตราวัด และเป็นพวกที่ใช้แรงงานแบบวันต่อวัน
เหตุที่ใช้ผลผลิตทางการเกษตรอันได้แก่ ข้าวโพด ไวน์ น้ำมันมะกอก เป็นเกณฑ์ เพราะในช่วงเวลาที่โซลอนทำการปฏิรูปนั้นเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ชาวไร่ชาวนาในเอเธนส์ปลูกพืชเหล่านี้เป็นหลัก ในการตั้งเกณฑ์ด้วยผลผลิตดังกล่าวนี้ มิได้คิดในลักษณะของการแลกเป็นเงิน เพราะถ้าคิดในลักษณะของการแลกเป็นเงินแล้ว ค่าของพืชเหล่านี้อาจจะแตกต่างกันและเราก็ไม่ทราบว่าการใช้พืชเหล่านี้จะเป็นเกณฑ์ที่ใช้ไปตลอดหรือไม่ และเราก็ไม่สามารถจะสรุปในประเด็นปัญหาเรื่องที่ดินที่ใช้ปลูกพืชต่างๆ เหล่านี้ได้แน่ชัดอีกด้วย
และจากเกณฑ์การแบ่งชนชั้นดังกล่าว นำมาซึ่งการที่พลเมืองทุกคนยกเว้นชนชั้นล่างสุดซึ่งเป็นพวกแรงงานเร่ร่อน (thetes) จะต้องเป็นทหารในกองทหารราบหรือกองทหารม้า ส่วนพวกแรงงานเร่ร่อนจะต้องไปเป็นทหารเรือ และในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่สี่ พลเมืองเอเธนส์ที่มีอายุระหว่างสิบแปดถึงยี่สิบปีจะต้องผ่านการฝึกทหารเป็นเวลาสองปี และการฝึกจะจบสมบูรณ์ได้ โดยผู้เข้ารับการฝึกจะต้องจัดหาอุปกรณ์และอาวุธที่จำเป็นสำหรับการเป็นทหารของเขา ซึ่งอุปกรณ์และอาวุธเหล่านี้มักจะมีราคาค่อนข้างแพง ส่วนพวกชนชั้นล่างจะต้องไปเป็นทหารเรือ โดยปรกติจะแล้วแต่สมัครใจ แต่ก็มีบางครั้งที่เป็นการเกณฑ์
สำหรับหน้าที่ในการเสียภาษีให้แก่โพลิส การเก็บภาษีของเอเธนส์ ส่วนใหญ่จะเป็นการเก็บทางอ้อม อย่างเช่น พลเมืองทุกคนมักจะต้องเสียภาษีการท่า (harbor dues) และภาษีนำเข้า ส่วนภาษีที่เก็บโดยตรงจะมีการจัดเก็บในบางครั้งบางคราว อย่างไรก็ตาม กฎหมายกำหนดไว้ว่า พลเมืองที่มีทรัพย์ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้จะต้องเสียภาษีให้โพลิส ส่วนพลเมืองที่มั่งคั่งจะต้องรับผิดชอบค่างานพิธีหลายอย่าง หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ถูกบังคับให้รับผิดชอบต่อภาระค่าใช้จ่ายสำหรับงานสาธารณะ อย่างเช่น การบังคับบัญชาและการบำรุงรักษาเรือรบหรือการให้ทุนจัดงานเฉลิมฉลองสำหรับโพลิส
ยิ่งกว่านั้น พลเมืองที่ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่โพลิส (public office) จะต้องได้รับการประเมินผลการทำงานและตรวจสอบบัญชีการเงินของเขาอย่างละเอียดภายหลังที่เขาได้ทำงานครบวาระแล้ว รวมทั้งพลเมืองที่ใช้อำนาจหน้าที่ของเขาไปในเรื่องราวต่างๆจะต้องถูกตรวจสอบทางกฎหมาย และจะต้องรับผิดชอบตลอดการปฏิบัติงานของเขาด้วย นอกจากอภิสิทธิ์และภาระหน้าที่ๆแตกต่างกันไปตามตำแหน่งหน้าที่ (rank) แล้ว สถานะความเป็นพลเมืองเอเธนส์ยังบ่งบอกถึงขอบเขตสถานะทางกฎหมายด้วย ขอบเขตสถานะทางกฎ หมายดังกล่าวนี้จะเห็นได้ชัดเจนมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสถานะความเป็นพลเมืองกับกลุ่มที่ไม่ได้เป็นพลเมืองต่างๆในสังคมแอตติก (Attica) กฎหมายเอเธนส์ได้แบ่งแยกพลเมืองเอเธนส์ออกจากคนที่ไม่ใช่พลเมืองอย่างชัดเจน คนที่ไม่มีสถานะพลเมืองในอเธนส์ได้แก่ หนึ่ง คนต่างด้าวที่ไม่ได้มีถิ่นพำนักในเอเธนส์ สอง คนต่างด้าวที่พำนักอยู่ในเอเธนส์และสาม ทาส ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ คนต่างด้าวไม่สามารถดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ของโพลิสได้ ไม่สามารถครอบครองที่ดิน หรือแต่งงานกับผู้หญิงชาวเอเธนส์ได้ หากเขาต้องการค้าขายในตลาดสาธารณะ เขาจะต้องเสียภาษีพิเศษ นั่นคือ ภาษีคนต่างด้าว (xenika) สิทธิ์และการได้รับการคุ้มครอง (access to justice) จากศาลเอเธนส์ของคนต่างด้าวนั้นจำกัดมาก
สำหรับคนต่างด้าวที่ต้องการจะพำนักอยู่ในแอทติกกาเป็นการถาวรหรือที่เรียกว่า metoikos จะต้องได้รับการสนับสนุนรับรองจากผู้ที่เป็นพลเมืองเอเธนส์ และเขาจะต้องยอมจ่ายภาษีรายปีสำหรับสถานภาพดังกล่าว (metoikos) ซึ่งเป็นสถานภาพที่ด้อยกว่าพลเมืองทั่วไป หลังจากได้รับการลงทะเบียนแล้ว metoikos จะได้รับสิทธิทางกฎหมายที่เหนือกว่าคนต่างด้าวทั่วไป แม้ว่าจะยังด้อยสิทธิ์ในเรื่องต่างๆเหมือนคนต่างด้าวอยู่ เช่น การถูกห้ามมิให้แต่งงานกับหญิงชาวเอเธนส์ ยิ่งกว่านั้น metoikoi จะต้องรับผิดชอบในหน้าที่สำคัญสองอย่างของความเป็นพลเมืองด้วย นั่นคือ การเป็นทหาร และถ้าหากมีฐานะดีพอ ก็จะมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในงานพิธีต่างๆเหมือนพลเมืองเอเธนส์ที่มีฐานะดีอีกด้วย สำหรับสิทธิในกระบวนการยุติธรรม metoikos มีสถานะที่ด้อยสิทธิ์กว่าพลเมืองเอเธนส์ นอกจากด้อยสิทธิ์ในกระบวนการต่างๆแล้ว เช่น ไม่สามารถเป็นผู้ฟ้องร้องในการกล่าวหาสาธารณะ หรือ graphai ออกกฎหมาย ! metoikoi อาจจะต้องเผชิญกับสิ่งที่พลเมืองเอเธนส์ไม่ต้องเผชิญ นั่นคือ การถูกทรมานเพื่อหาให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐานในศาล
ในประชาธิปไตยเอเธนส์ การที่ทาสถูกทรมานในการสอบปากคำไม่ใช่เรื่องแปลก หากพิจารณาถึงสถานะอันต่ำต้อยของพวกเขาภายใต้กฎหมายเอเธนส์ ทาสมีสถานะไม่ต่างจากทรัพย์สมบัติข้าวของของผู้เป็นนาย ผู้เป็นนายทาสสามารถขาย ซื้อ หรือเช่า หรือสืบทอด หรือยกให้ทาสของตนให้ใครก็ได้ จะมียกเว้นก็น้อยมาก ดังนั้น ทางจึงไม่มีเอกลักษณ์ที่เป็นทางการของตัวเอง
ยิ่งกว่านั้น เราจะตระหนักถึงสถานะอันเหนือกว่าของผู้ที่เป็นพลเมืองเต็มตัวของโพลิสชัดเจนยิ่งในกรณีของกฎหมายฆาตกรรม กฎหมายฆาตกรรมของเอเธนส์ได้กำหนดบทลงโทษไว้ว่า การฆ่าคนที่ไม่ใช่พลเมืองเอเธนส์นั้นมีโทษน้อยกว่าการฆ่าผู้ที่เป็นพลเมืองเอเธนส์ ใครที่ฆ่าผู้ที่เป็นพลเมือง (หรือลูกสาวหรือเมียของเขา) จะถูกดำเนินคดีต่อศาลสูง (Areopagos ซึ่งเป็นศาลที่พิจารณาคดีความที่เกี่ยวกับการฆาตกรรมหรือการกระทำผิดร้ายแรง) และอาจจะได้รับโทษประหารชีวิตด้วย ส่วนคนที่ฆ่า “คนต่างด้าว (xenos) คนต่างด้าวที่ขอพำนักในเอเธนส์ (metoikos) หรือทาส (doulos) จะไปขึ้นศาลที่รองลงมา (the Palladium) และอาจจะถูกตัดสินโทษเพียงถูกเนรเทศออกไปเท่านั้น กฎหมายเอเธนส์ให้ความสำคัญต่อชีวิตพลเมืองเอเธนส์มากกว่าคนที่ไม่ได้เป็นพลเมือง และยืนยันการแบ่งแยกแตกต่างระหว่างคนที่เป็นสมาชิกและผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกของโพลิสอย่างหนักแน่น ความรู้สึก (sentiments) เบื้องหลังพรมแดนแบ่งแยกนี้ปรากฏชัดเจนในคำกล่าวของพลเมืองเอเธนส์คนหนึ่ง (Euxitheos) ในการต่อสู้คดีเพื่อปกป้องสถานะพลเมืองของเขาในปี ๓๔๕ ก่อนคริสตกาล:
“ในความเห็นของข้าพเจ้า ท่านคณะลูกขุน ท่านต้องตัดสินลงโทษ อย่างรุนแรงต่อคนต่างด้าว (xenos) ที่ลักลอบเข้ามาในงานพิธีอัน ศักดิ์สิทธิ์ของเอเธนส์ และได้ใช้อภิสิทธิ์สาธารณะต่างๆของพลเมือง เอเธนส์ โดยไม่ได้ขออนุญาต แต่ใช้อุบายฉ้อฉลแอบเข้ามา และใน ทำนองเดียวกัน ท่านจะต้องให้ความช่วยเหลือและปลดปล่อยแก่ บรรดาผู้ซึ่งต้องเผชิญกับความทุกข์ยาก แต่สามารถพิสูจน์ความเป็น พลเมืองของเขาได้ (Dem. 57.3) ส่วนกลุ่มคนในเอเธนส์อื่นๆอีกสองกลุ่ม ได้แก่ ผู้หญิงและเด็ก มีสถานะที่คลุมเครือในสังคม ผู้หญิงชาวเอเธนส์เป็นสมาชิกของชุมชนเอเธนส์ นับเป็นส่วนหนึ่งของโพลิสตามกฎหมายแต่ในลักษณะทางอ้อม นั่นคือ ผู้หญิงและเด็กถูกนับเป็นสมาชิกของโพลิสเอเธนส์โดยผ่านความสัมพันธ์ที่พวกเขามีกับบิดา สามี และญาติผู้ชายอื่นๆ ผู้ซึ่งทำหน้าที่เป็นนายหรือผู้ปกครอง (kyrios) ของพวกเขาเหล่านั้น และดูแลพวกเขาในเรื่องสำคัญๆทั้งหมด หญิงชาวเอเธนส์และรวมทั้งหญิงที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นชาวเอเธนส์ (a fortiori Athenian girls) จะไม่มีสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือมรดก ไม่สามารถทำสัญญา หรือกระทำการใดๆโดยอิสระ เช่น การแต่งงานหรือหย่าร้าง แต่ต้องกระทำโดยผ่านผู้ที่เป็นผู้ปกครอง (kyrios) ของเธอ กระนั้น พวกเธอสามารถได้รับการคุ้มครองเต็มที่เทียบเท่าพลเมืองภายใต้กฎหมายโดยผ่านผู้ชายที่มีสถานะเป็นผู้ปกครองดูแลของเธอ เด็กผู้ชายมีสถานะทางกฎหมายเหมือนกับผู้หญิง จนกว่าพวกเขาจะมีอายุถึงเกณฑ์และเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ เด็กชายชาวเอเธนส์จะต้องขึ้นอยู่กับผู้ปกครองในทุกเรื่อง ซึ่งปรกติคือ บิดาของเขา สำหรับการมีตัวตนและสถานะทางกฎหมายในโพลิส
ความสำคัญของสถานะพลเมืองเอเธนส์ปรากฏในสุนทรพจน์ของเพอริคลิส รัฐบรุษของเอเนส์ที่กล่าวในพิธีไว้อาลัยผู้เสียชีวิตในสงครามเพโลโพนีสในปี ๔๓๑ ก่อนคริสตกาล สุนทรพจน์ ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของสถานะพลเมืองในประชาธิปไตยเอเธนส์ ดังใจความส่วนหนึ่งที่ว่า
“การปกครองของเราเรียกว่า ประชาธิปไตย เพราะมันอยู่ในมือของ
คนส่วนใหญ่ (the many) ไม่ใช่เพียงคนกลุ่มหนึ่ง มันมีความเสมอภาค
สำหรับคนทั้งหลายภายใต้กฎหมายที่เป็นกลไกในการจัดการกับความขัด
แย้งของผู้คนในสังคม.....เมื่อใครก็ตามถูกมอบหมายให้มีหน้าที่ความรับ
ชอบสาธารณะ เราจะดูที่คุณสมบัติความสามารถส่วนตัวมากกว่าชน
ชั้นทางสังคม ความยากจนหาได้เป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้คนเข้ามี
ส่วนร่วมในบ้านเมืองของเขา ตราบเท่าที่เขาคนนั้นสามารถทำคุณประ
โยชน์ให้บ้านเมืองของเขาได้ ”
ขณะเดียวกัน คุณธรรมแห่งความเป็นพลเมืองของเอเธนส์ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่เพอริคลิสกล่าวชื่นชม นั่นคือ พลเมืองเอเธนส์มีความเคารพต่อชีวิตส่วนตัวของกันและกัน ขณะเดียวกันก็มีความกล้าหาญในการสู้รบ ความรักในสุนทรียะและปัญญาความรู้ และที่สำคัญคือ การเคารพเชื่อฟังกฎหมายของบ้านเมือง เพอริคลิสกล่าวไว้ว่า
“ขณะที่ในชีวิตส่วนตัวของพลเมือง ก็สามารถดำเนินไปได้โดยไม่ มีใครละเมิดกันและกัน ส่วนชีวิตสาธารณะ พลเมืองต่างก็เคารพและ ให้ความสำคัญต่อกฎหมาย กฎหมายมีไว้เพื่อช่วยเหลือพลเมือง ผู้ซึ่งถูกละเมิด ส่วนจารีตประเพณีนั้น แม้ว่าจะไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ก็จะนำความละอายมาสู่ผู้ซึ่งละเมิด ด้วยคนทุกคนต่างตระหนักใน ความสำคัญของมัน”
บางตอนในสุนทรพจน์ที่มีการกล่าวถึงมากที่สุดคือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตสาธารณะและชีวิตส่วนตัว โดยมีกล่าวแยกให้เห็นชัดเจนถึงความแตกต่างระหว่างพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนตัว โดยประเด็นหลักของคำกล่าวคือ การรับรู้ของชาวเอเธนส์ถึง ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ทั้งสองและความสมัครใจของพลเมืองที่จะออกจากพื้นที่ส่วนตัวไปสู่พื้นที่สาธารณะ อันเป็นกิจกรรมของโพลิส:
- if:
border: 1px solid #AAAAAA;
}}" class="cquote" |
width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | “ |
“ท่านจะพบว่าในคนๆเดียวนั้น เขามีความสนใจทั้งในเรื่องส่วนตัว และเรื่องสาธารณะและแม้ว่าคนที่สนใจเรื่องส่วนตัวมากๆก็ยังรู้ เรื่องการเมืองสาธารณะอย่างดีด้วย พลเมืองเอเธนส์อย่างเราเท่านั้นที่จะ ไม่เรียก คนที่ไม่สนใจเรื่องการเมืองและเรื่องสาธารณะนั้น ว่าเป็นคนที่ ไม่ยุ่งเรื่องชาวบ้าน หรือเป็นคนที่ชอบยุ่งแต่เรื่องตัวเอง (apragmona) แต่เราถือว่า เขาเหล่านั้นเป็นคนที่ไม่ได้ทำอะไรเลยต่างหาก” |
width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | ” |
{{#if:| —{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}} }}}} |
กล่าวได้ว่า ความเป็นพลเมืองเอเธนส์ได้หลอมรวมพื้นที่สาธารณะและส่วนตัวเข้าเป็นหนึ่งเดียว และการยืนยันในความสำคัญเหนืออื่นใดของกิจกรรมของโพลิสในชีวิตประจำวันของเอเธนส์
สิ่งที่บ่งชี้ความเป็นพลเมือง (citizenship) ของเอเธนส์คือการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกิจการสาธารณะ และด้วยเหตุนี้เองกระมังที่ อริสโตเติลจึงกล่าวว่า มนุษย์โดยธรรมชาติเป็นสัตว์การเมือง และมนุษย์จะบรรลุความสมบูรณ์ของความเป็นมนุษย์ได้ก็ต่อเมื่อใช้ชีวิตอย่างพลเมืองในโพลิส
อ้างอิง
- ↑ Herodotus, The Histories, A. de Selincourt trans., ( Harmonsworth : Penguin: 1986), Book VI, 128-133.
- ↑ R.K. Sinclair, Democracy and Participaton in Athens (Cambridge: Cambridge University Press: 1988), pp. 3-4. มีผู้ตีความความหมายของคำว่า “isonomia” ไว้แตกต่างกัน ฝ่ายแรกเชื่อว่า คำว่า nomia มาจาก nemein ซึ่งหมายถึง การแบ่ง (distribute) ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งเชื่อว่า nomia มาจากคำว่า nomos ซึ่งแปลว่า กฎหมาย ดู Gregory Vlastos, Studies in Greek Philosophy Volume I: The Presocratics edited by Daniel W. Graham, (Princeton, New Jersey: Princeton University Press: 1993), Chapter 4, “ISONOMIA”, p. 97.