ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิติรัฐ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
'''ผู้เรียบเรียง''' รศ.ดร.กมลชัย  รัตนสกาววงศ์
'''ผู้เรียบเรียง''' รศ.ดร.กมลชัย  รัตนสกาววงศ์
 
----
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รศ.ดร.กำชัย จงจักรพันธ์
----
----


บรรทัดที่ 6: บรรทัดที่ 7:


หลักการแบ่งแยกอำนาจดังกล่าวนำไปสู่การกำเนิดหลัก[[กฎหมายมหาชน]]ที่สำคัญๆ เช่น  กฎหมายที่ตราโดย[[รัฐสภา]]หรือ[[พระราชกำหนด]]ตราโดยฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญ  การกระทำทางปกครองจะต้องชอบด้วยกฎหมาย  ประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของรัฐมีสิทธิที่จะนำคดีไปสู่การพิจารณาคดีขององค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการได้เสมอ องค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการจะต้องมีความเป็นอิสระ  ประชาชนผู้สุจริตที่เชื่อในความถูกต้องของการกระทำของรัฐย่อมได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกัน
หลักการแบ่งแยกอำนาจดังกล่าวนำไปสู่การกำเนิดหลัก[[กฎหมายมหาชน]]ที่สำคัญๆ เช่น  กฎหมายที่ตราโดย[[รัฐสภา]]หรือ[[พระราชกำหนด]]ตราโดยฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญ  การกระทำทางปกครองจะต้องชอบด้วยกฎหมาย  ประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของรัฐมีสิทธิที่จะนำคดีไปสู่การพิจารณาคดีขององค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการได้เสมอ องค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการจะต้องมีความเป็นอิสระ  ประชาชนผู้สุจริตที่เชื่อในความถูกต้องของการกระทำของรัฐย่อมได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกัน
[[หมวดหมู่:สารานุกรมการเมืองไทย]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:57, 28 พฤษภาคม 2555

ผู้เรียบเรียง รศ.ดร.กมลชัย รัตนสกาววงศ์


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รศ.ดร.กำชัย จงจักรพันธ์


ประเทศที่ปกครองโดยยึดหลักกฎหมายที่มีความเป็นธรรมมีความชัดเจนแน่นอน มีความมั่นคงและมีผลบังคับต่อเนื่องโดยความเห็นชอบของประชาชนผ่านทางรัฐสภา และองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐ ซึ่งประกอบไปด้วย อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการนั้น จะต้องไม่รวมอยู่ในองค์กรผู้ใช้อำนาจเดียวกัน เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน มิให้มีการใช้อำนาจตามอำเภอใจ อำนาจรัฐทั้งสามหน้าที่ดังกล่าวจะต้องถ่วงดุลซึ่งกันและกัน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ จะถูกตรวจสอบได้ กฎหมายที่ตราโดยฝ่ายนิติบัญญัติจะถูกตรวจสอบโดยฝ่ายตุลาการ กฎหมายลำดับรองที่ตราโดยฝ่ายบริหาร จะตราได้ก็แต่เฉพาะที่มีกฎหมายให้อำนาจไว้และถูกตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายโดยฝ่ายตุลาการ การกระทำของฝ่ายบริหารในทางการเมืองถูกตรวจสอบได้โดยการตั้งกระทู้ถามโดยฝ่ายนิติบัญญัติ การกระทำของฝ่ายปกครองในรูปของคำสั่งทางปกครอง สัญญาทางปกครองถูกตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายโดยฝ่ายตุลาการ คำพิพากษาของศาลถูกตรวจสอบโดยศาลสูงและตุลาการในศาลสูงอาจถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งได้โดยกระบวนการตามรัฐธรรมนูญ

หลักการแบ่งแยกอำนาจดังกล่าวนำไปสู่การกำเนิดหลักกฎหมายมหาชนที่สำคัญๆ เช่น กฎหมายที่ตราโดยรัฐสภาหรือพระราชกำหนดตราโดยฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญ การกระทำทางปกครองจะต้องชอบด้วยกฎหมาย ประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของรัฐมีสิทธิที่จะนำคดีไปสู่การพิจารณาคดีขององค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการได้เสมอ องค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการจะต้องมีความเป็นอิสระ ประชาชนผู้สุจริตที่เชื่อในความถูกต้องของการกระทำของรัฐย่อมได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกัน