ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เข็มตราศักดิเดชน์"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 8: บรรทัดที่ 8:
5.5 X 4.2  เซนติเมตร
5.5 X 4.2  เซนติเมตร


เป็นตรารูปโล่  มุมล่างมนกลางแหลม  กลัดอยู่บนโบว์สีชมพูและสีเขียว ภายในแบ่งเป็น 3 ช่อง คือ ครึ่งบน 2 ช่อง  ครึ่งล่าง 1 ช่อง ครึ่งบนของตราข้างขวา เป็นรูปจักรกับตรีอยู่บนพื้นสีเหลือง ข้างซ้ายเป็นรูปพระเกี้ยวบนพื้นสีชมพู ครึ่งล่างเป็นตราในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ เป็นพระแสงศร 3 องค์ บนพื้นสีเขียว อันเป็นสีของวันพุธ ซึ่งเป็นวันพระบรมราชสมภพ
เป็นตรารูปโล่  มุมล่างมนกลางแหลม  กลัดอยู่บนโบว์สีชมพูและสีเขียว ภายในแบ่งเป็น 3 ช่อง คือ ครึ่งบน 2 ช่อง  ครึ่งล่าง 1 ช่อง ครึ่งบนของตราข้างขวา เป็นรูปจักรกับตรีอยู่บนพื้นสีเหลือง ข้างซ้ายเป็นรูปพระเกี้ยวบนพื้นสีชมพู ครึ่งล่างเป็นตราในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ [[เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์]] เป็นพระแสงศร 3 องค์ บนพื้นสีเขียว อันเป็นสีของวันพุธ ซึ่งเป็นวันพระบรมราชสมภพ


== ประวัติความเป็นมา ==
== ประวัติความเป็นมา ==


ตราศักดิเดชน์เป็นตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นตรารูปโล่ ขนาดใหญ่ ภายในแบ่งเป็น 3 ช่อง คือ ครึ่งบน 2 ช่อง ครึ่งล่าง 1 ช่อง รูปสัญลักษณ์ซึ่งปรากฏบนดวงตรา มีความหมายดังนี้
ตราศักดิเดชน์เป็นตราประจำพระองค์[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เป็นตรารูปโล่ ขนาดใหญ่ ภายในแบ่งเป็น 3 ช่อง คือ ครึ่งบน 2 ช่อง ครึ่งล่าง 1 ช่อง รูปสัญลักษณ์ซึ่งปรากฏบนดวงตรา มีความหมายดังนี้


สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ (วันพระบรมราชสมภพตรงกับวันพุธ) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (วันพระบรมราชสมภพตรงกับวันอังคาร) แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ซึ่งมีสีเหลืองเป็นสีประจำพระบรมราชวงศ์  
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ (วันพระบรมราชสมภพตรงกับวันพุธ) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (วันพระบรมราชสมภพตรงกับวันอังคาร) แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ซึ่งมีสีเหลืองเป็นสีประจำพระบรมราชวงศ์  
บรรทัดที่ 18: บรรทัดที่ 18:
ครึ่งบนของตราข้างขวา เป็นเครื่องหมายของพระบรมราชวงศ์จักรี คือ รูปจักรกับตรีอยู่บนพื้นสีเหลือง
ครึ่งบนของตราข้างขวา เป็นเครื่องหมายของพระบรมราชวงศ์จักรี คือ รูปจักรกับตรีอยู่บนพื้นสีเหลือง


ข้างซ้ายเป็นรูปพระเกี้ยว เป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบนพื้นชมพู อันเป็นสีของวันพระบรมราชสมภพของพระองค์ ที่เห็นชินตามากที่สุด ได้แก่ ตราประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<ref>นายสุจินดา (นามแฝง),  พระปกเกล้าฯ กษัตริย์นักประชาธิปไตย,  (กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์สยาม, 2519)</ref>  
ข้างซ้ายเป็นรูปพระเกี้ยว เป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์ใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]บนพื้นชมพู อันเป็นสีของวันพระบรมราชสมภพของพระองค์ ที่เห็นชินตามากที่สุด ได้แก่ ตราประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<ref>นายสุจินดา (นามแฝง),  พระปกเกล้าฯ กษัตริย์นักประชาธิปไตย,  (กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์สยาม, 2519)</ref>  
    
    
ครึ่งล่างของตราศักดิเดชน์ ประกอบด้วยพระแสงศร 3 องค์ บนพื้นสีเขียว อันเป็นสีของวันพุธ ซึ่งเป็นวันพระบรมราชสมภพ ประกอบกับตราครึ่งบนดังกล่าวเป็นตราประจำพระองค์ โดยเหตุที่ “เดชน์” แปลว่า ลูกศร ดังนั้น คำว่า “ศักดิเดชน์” คือ ผู้ทรงศร หรือผู้ทรงอำนาจด้วยศร ความหมายดังนี้เป็นการรับกันอย่างเหมาะสมกับการที่ได้ทรงพระราชสมภพมาในพระบรมราชวงศ์จักรี ด้วยสัญลักษณ์ของพระบรมราชวงศ์จักรี คือ จักรกับตรีนั้นเป็นหนึ่งในอาวุธประจำองค์ของพระนารายณ์เทพเจ้าแห่งศาสนาพราหมณ์ และเชื่อกันว่าเมื่อพระนารายณ์ได้เสด็จอวตารมาปราบยุคเข็ญในโลกมนุษย์นั้น มีปางหนึ่งได้อวตารมาบังเกิดเป็นพระราม ผู้มีศร 3 เล่ม เป็นราชศาสตราวุธประจำพระองค์ อันได้แก่  พระแสงศรพรหมมาสตร์ พระแสงศรประลัยวาต และพระแสงศรอัคนีวาต <ref>รายงานกิจการของมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, 2544,  หน้า 11.</ref>
ครึ่งล่างของตราศักดิเดชน์ ประกอบด้วยพระแสงศร 3 องค์ บนพื้นสีเขียว อันเป็นสีของวันพุธ ซึ่งเป็นวันพระบรมราชสมภพ ประกอบกับตราครึ่งบนดังกล่าวเป็นตราประจำพระองค์ โดยเหตุที่ “เดชน์” แปลว่า ลูกศร ดังนั้น คำว่า “ศักดิเดชน์” คือ ผู้ทรงศร หรือผู้ทรงอำนาจด้วยศร ความหมายดังนี้เป็นการรับกันอย่างเหมาะสมกับการที่ได้ทรงพระราชสมภพมาในพระบรมราชวงศ์จักรี ด้วยสัญลักษณ์ของพระบรมราชวงศ์จักรี คือ จักรกับตรีนั้นเป็นหนึ่งในอาวุธประจำองค์ของพระนารายณ์เทพเจ้าแห่งศาสนาพราหมณ์ และเชื่อกันว่าเมื่อพระนารายณ์ได้เสด็จอวตารมาปราบยุคเข็ญในโลกมนุษย์นั้น มีปางหนึ่งได้อวตารมาบังเกิดเป็นพระราม ผู้มีศร 3 เล่ม เป็นราชศาสตราวุธประจำพระองค์ อันได้แก่  พระแสงศรพรหมมาสตร์ พระแสงศรประลัยวาต และพระแสงศรอัคนีวาต <ref>รายงานกิจการของมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, 2544,  หน้า 11.</ref>


ส่วนบนของตรานั้น บรรดาพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงใช้เป็นตราประจำพระองค์ และนำเครื่องหมายอันเป็นสัญลักษณ์ประจำของแต่ละพระองค์มาประกอบเข้าไว้ในครึ่งล่างของตรา  เช่น ตราประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ส่วนบนของตรานั้น บรรดาพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงใช้เป็นตราประจำพระองค์ และนำเครื่องหมายอันเป็นสัญลักษณ์ประจำของแต่ละพระองค์มาประกอบเข้าไว้ในครึ่งล่างของตรา  เช่น ตราประจำพระองค์ใน[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]


<center>[[ภาพ:เข็มตราศักดิเดชน์3.png]]</center>
<center>[[ภาพ:เข็มตราศักดิเดชน์3.png]]</center>


ในเวลาหลัง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 มีพระราชเสาวนีย์โปรดเกล้าฯ ให้ทำเข็มตราศักดิเดชน์ไว้พระราชทานแก่คณะกรรมการผู้จัดงานประเภทต่างๆ เพื่อหารายได้ทูลเกล้าฯ โดยเสด็จพระราชกุศลสมทบทุน “ประชาธิปก” และโปรดเกล้าฯ ให้ทำโล่ตราศักดิเดชน์ไว้พระราชทานเป็นที่ระลึกแก่ผู้ทูลเกล้าฯ ถวายเงินสมทบทุน “ประชาธิปก” นี้ด้วย <ref>เรื่องเดียวกัน.</ref>
ในเวลาหลัง [[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี]] พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 มีพระราชเสาวนีย์โปรดเกล้าฯ ให้ทำเข็มตราศักดิเดชน์ไว้พระราชทานแก่คณะกรรมการผู้จัดงานประเภทต่างๆ เพื่อหารายได้ทูลเกล้าฯ โดยเสด็จพระราชกุศลสมทบทุน “ประชาธิปก” และโปรดเกล้าฯ ให้ทำโล่ตราศักดิเดชน์ไว้พระราชทานเป็นที่ระลึกแก่ผู้ทูลเกล้าฯ ถวายเงินสมทบทุน “ประชาธิปก” นี้ด้วย <ref>เรื่องเดียวกัน.</ref>


'''''ข้อสังเกต'''''
'''''ข้อสังเกต'''''
บรรทัดที่ 48: บรรทัดที่ 48:
<references/>
<references/>
[[หมวดหมู่:วัตถุชิ้นเอก|ขเข็มตราศักดิเดชน์]]
[[หมวดหมู่:วัตถุชิ้นเอก|ขเข็มตราศักดิเดชน์]]
[[หมวดหมู่:พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว|ข]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:35, 6 ตุลาคม 2554

ผู้เรียบเรียง พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว


ลักษณะ

โลหะ

5.5 X 4.2 เซนติเมตร

เป็นตรารูปโล่ มุมล่างมนกลางแหลม กลัดอยู่บนโบว์สีชมพูและสีเขียว ภายในแบ่งเป็น 3 ช่อง คือ ครึ่งบน 2 ช่อง ครึ่งล่าง 1 ช่อง ครึ่งบนของตราข้างขวา เป็นรูปจักรกับตรีอยู่บนพื้นสีเหลือง ข้างซ้ายเป็นรูปพระเกี้ยวบนพื้นสีชมพู ครึ่งล่างเป็นตราในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ เป็นพระแสงศร 3 องค์ บนพื้นสีเขียว อันเป็นสีของวันพุธ ซึ่งเป็นวันพระบรมราชสมภพ

ประวัติความเป็นมา

ตราศักดิเดชน์เป็นตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นตรารูปโล่ ขนาดใหญ่ ภายในแบ่งเป็น 3 ช่อง คือ ครึ่งบน 2 ช่อง ครึ่งล่าง 1 ช่อง รูปสัญลักษณ์ซึ่งปรากฏบนดวงตรา มีความหมายดังนี้

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ (วันพระบรมราชสมภพตรงกับวันพุธ) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (วันพระบรมราชสมภพตรงกับวันอังคาร) แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ซึ่งมีสีเหลืองเป็นสีประจำพระบรมราชวงศ์

ครึ่งบนของตราข้างขวา เป็นเครื่องหมายของพระบรมราชวงศ์จักรี คือ รูปจักรกับตรีอยู่บนพื้นสีเหลือง

ข้างซ้ายเป็นรูปพระเกี้ยว เป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบนพื้นชมพู อันเป็นสีของวันพระบรมราชสมภพของพระองค์ ที่เห็นชินตามากที่สุด ได้แก่ ตราประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1]

ครึ่งล่างของตราศักดิเดชน์ ประกอบด้วยพระแสงศร 3 องค์ บนพื้นสีเขียว อันเป็นสีของวันพุธ ซึ่งเป็นวันพระบรมราชสมภพ ประกอบกับตราครึ่งบนดังกล่าวเป็นตราประจำพระองค์ โดยเหตุที่ “เดชน์” แปลว่า ลูกศร ดังนั้น คำว่า “ศักดิเดชน์” คือ ผู้ทรงศร หรือผู้ทรงอำนาจด้วยศร ความหมายดังนี้เป็นการรับกันอย่างเหมาะสมกับการที่ได้ทรงพระราชสมภพมาในพระบรมราชวงศ์จักรี ด้วยสัญลักษณ์ของพระบรมราชวงศ์จักรี คือ จักรกับตรีนั้นเป็นหนึ่งในอาวุธประจำองค์ของพระนารายณ์เทพเจ้าแห่งศาสนาพราหมณ์ และเชื่อกันว่าเมื่อพระนารายณ์ได้เสด็จอวตารมาปราบยุคเข็ญในโลกมนุษย์นั้น มีปางหนึ่งได้อวตารมาบังเกิดเป็นพระราม ผู้มีศร 3 เล่ม เป็นราชศาสตราวุธประจำพระองค์ อันได้แก่ พระแสงศรพรหมมาสตร์ พระแสงศรประลัยวาต และพระแสงศรอัคนีวาต [2]

ส่วนบนของตรานั้น บรรดาพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงใช้เป็นตราประจำพระองค์ และนำเครื่องหมายอันเป็นสัญลักษณ์ประจำของแต่ละพระองค์มาประกอบเข้าไว้ในครึ่งล่างของตรา เช่น ตราประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในเวลาหลัง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 มีพระราชเสาวนีย์โปรดเกล้าฯ ให้ทำเข็มตราศักดิเดชน์ไว้พระราชทานแก่คณะกรรมการผู้จัดงานประเภทต่างๆ เพื่อหารายได้ทูลเกล้าฯ โดยเสด็จพระราชกุศลสมทบทุน “ประชาธิปก” และโปรดเกล้าฯ ให้ทำโล่ตราศักดิเดชน์ไว้พระราชทานเป็นที่ระลึกแก่ผู้ทูลเกล้าฯ ถวายเงินสมทบทุน “ประชาธิปก” นี้ด้วย [3]

ข้อสังเกต

องค์ประกอบของเข็มตราศักดิเดชน์ที่นำมาศึกษานี้ มีลักษณะที่แตกต่างจากเข็มตราศักดิเดชน์หรือตราศักดิเดชน์อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งภายในแบ่งเป็น 3 ช่อง คือ ครึ่งบน 2 ช่อง ครึ่งล่าง 1 ช่อง ครึ่งบนของตราข้างซ้ายเป็นเครื่องหมายของพระบรมราชวงศ์จักรี คือ รูปจักรกับตรี อยู่บนพื้นสีเหลือง ตราข้างขวา เป็นรูปพระเกี้ยว อันเป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบนพื้นสีชมพู อันเป็นสีของวันพระบรมราชสมภพของพระองค์

เข็มตราศักดิเดชน์ของพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ( ภาพซ้าย ) เปรียบเทียบกับตราศักดิเดชน์ ( ภาพขวา )

เข็มที่นำมาศึกษานั้นพบว่าวางสลับกัน คือ ตราข้างซ้ายเป็นรูปพระเกี้ยว ตราข้างขวาเป็น เครื่องหมายพระบรมราชวงศ์จักรี คือจักรกับตรี จึงสันนิษฐานว่า เป็นชุดที่ทำผิดจากแบบเดิม[4]

อ้างอิง

  1. นายสุจินดา (นามแฝง), พระปกเกล้าฯ กษัตริย์นักประชาธิปไตย, (กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์สยาม, 2519)
  2. รายงานกิจการของมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, 2544, หน้า 11.
  3. เรื่องเดียวกัน.
  4. วิสันธนี โพธิสุนทร และประพิศ พงศ์มาศ, เรื่องเดียวกัน, หน้า 161-162.