ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธานินทร์ กรัยวิเชียร"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าใหม่: {{รอผู้ทรง}} '''ผู้เรียบเรียง''' ธนินทร พูนศรีสวัสดิ์ ---- == ประว...
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 3 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
{{รอผู้ทรง}}


'''ผู้เรียบเรียง''' ธนินทร พูนศรีสวัสดิ์
'''ผู้เรียบเรียง''' ธนินทร พูนศรีสวัสดิ์


----
----
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
----


== ประวัติและการศึกษา ==
== ประวัติและการศึกษา ==


นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2470 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายแหกับนางผะอบ  กรัยวิเชียร  สมรสกับคุณหญิงคาเรน กรัยวิเชียร (นามเดิม นางสาวคาเรน แอนเดอเซ่น)
นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2470 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายแหกับนางผะอบ  กรัยวิเชียร  สมรสกับคุณหญิงคาเรน กรัยวิเชียร (นามเดิม นางสาวคาเรน แอนเดอเซ่น)
นายธานินทร์ กรัยวิเชียร สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2484 และศึกษาวิชากฎหมาย ที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง  สำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิตในปี พ.ศ . 2490  จากนั้นจึงเดินทางไปศึกษาวิชากฎหมายต่อ ณ มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้รับปริญญานิติศาสตรบัณฑิตเมื่อปี พ.ศ. 2496  และสำเร็จเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ จากสำนักอบรมศึกษากฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา สำนักเกรยส์อินน์ ประเทศอังกฤษในปีต่อมา[1]


นายธานินทร์ กรัยวิเชียร สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2484 และศึกษาวิชากฎหมาย ที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง  สำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิตในปี พ.ศ . 2490  จากนั้นจึงเดินทางไปศึกษาวิชากฎหมายต่อ ณ มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้รับปริญญานิติศาสตรบัณฑิตเมื่อปี พ.ศ. 2496  และสำเร็จเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ จากสำนักอบรมศึกษากฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา สำนักเกรยส์อินน์ ประเทศอังกฤษในปีต่อมา<ref>ธานินทร์ กรัยวิเชียร, ภาษากฎหมายไทย (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2538), 188.</ref>


== การทำงาน ==
== การทำงาน ==


เริ่มเข้ารับราชการเมื่อ พ.ศ. 2491 ประจำแผนกบัญชี สำนักงานเลขานุการกรมเกษตร กระทรวงเกษตร  ในปี พ.ศ. 2498  ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษากระทรวงยุติธรรม และเป็นผู้พิพากษาประจำกระทรวงระหว่างปี พ.ศ. 2499-2501  เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปีพ.ศ. 2506 ต่อมาได้เป็นหัวหน้ากองการคดี สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม  และได้ลาออกจากตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เพื่อเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2519[2]  เมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการตุลาการ และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2520 จนถึงปัจจุบัน
เริ่มเข้ารับราชการเมื่อ พ.ศ. 2491 ประจำแผนกบัญชี สำนักงานเลขานุการกรมเกษตร กระทรวงเกษตร  ในปี พ.ศ. 2498  ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษากระทรวงยุติธรรม และเป็นผู้พิพากษาประจำกระทรวงระหว่างปี พ.ศ. 2499-2501  เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปีพ.ศ. 2506 ต่อมาได้เป็นหัวหน้ากองการคดี สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม  และได้ลาออกจากตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เพื่อเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2519<ref>เรื่องเดียวกัน.</ref>เมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการตุลาการ และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2520 จนถึงปัจจุบัน


นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นผู้เชี่ยวชาญกฎหมายหลายสาขาวิชา โดยเป็นผู้บรรยายวิชานิติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยรามคำแหง และเป็นอาจารย์พิเศษอีกหลายสถาบัน เช่น สำนักอบรมเนติบัณฑิตยสภา มหาวิทยาลัยมหิดล  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ทำหน้าที่ผู้แทนไทยไปประชุมด้านกฎหมาย  ณ ต่างประเทศหลายครั้ง [3] นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรีคนที่ 14
นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นผู้เชี่ยวชาญกฎหมายหลายสาขาวิชา โดยเป็นผู้บรรยายวิชานิติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยรามคำแหง และเป็นอาจารย์พิเศษอีกหลายสถาบัน เช่น สำนักอบรมเนติบัณฑิตยสภา มหาวิทยาลัยมหิดล  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ทำหน้าที่ผู้แทนไทยไปประชุมด้านกฎหมาย  ณ ต่างประเทศหลายครั้ง <ref>ธานินทร์ กรัยวิเชียร, ภาษากฎหมายไทย, 189. </ref> นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรีคนที่ 14


นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ภายหลังจากที่คณะปฎิรูปการปกครองแผ่นดิน ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช โดยมีพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ อดีต ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารเรือเป็นหัวหน้า    พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นเลขาธิการคณะปฏิรูปฯ และยังมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่สำคัญร่วมด้วย  เช่น พลเอก เสริม ณ นคร     พลเอก บุญชัย     บำรุงพงษ์ เป็นต้น   
นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ภายหลังจากที่คณะปฎิรูปการปกครองแผ่นดิน ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช โดยมีพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ อดีต ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารเรือเป็นหัวหน้า    พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นเลขาธิการคณะปฏิรูปฯ และยังมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่สำคัญร่วมด้วย  เช่น พลเอก เสริม ณ นคร   พลเอก บุญชัย   บำรุงพงษ์ เป็นต้น   


การเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร นับว่าอยู่นอกเหนือความคาดหมาย ว่ากันว่าตั้งแต่การเตรียมการยึดอำนาจ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ มีบุคคลอยู่ในใจหลายคน เช่น นายประกอบ หุตะสิงห์  นายประภาศน์  อวยชัย  นายเชาว์ ณ ศิลวันต์ แต่แล้วก็ตัดสินใจเลือกนายธานินทร์ในที่สุด[4]    นอกจากนั้นก่อนที่นายธานินทร์ กรัยวิเชียร จะได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี  มีคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2519 ระบุให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียรเป็นหนึ่งใน  คณะที่ปรึกษาฝ่ายสาธารณสุข ศึกษาธิการ ยุติธรรม และมหาวิทยาลัย ซึ่งหน้าที่ของคณะที่ปรึกษาคณะ     ดังกล่าวคือ เสนอความคิดริเริ่ม  ให้ความเห็นในการแก้ไขปรับปรุง  พิจารณาแก้ไขปัญหาต่างๆ ตามที่หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินมอบหมาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า นายธานินทร์ กรัยวิเชียร                 มีความสัมพันธ์ที่ดีไม่น้อยกับพลเรือเอกสงัด ชลออยู่   จนนำมาซึ่งการผลักดันให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี [5]
การเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร นับว่าอยู่นอกเหนือความคาดหมาย ว่ากันว่าตั้งแต่การเตรียมการยึดอำนาจ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ มีบุคคลอยู่ในใจหลายคน เช่น นายประกอบ หุตะสิงห์  นายประภาศน์  อวยชัย  นายเชาว์ ณ ศิลวันต์ แต่แล้วก็ตัดสินใจเลือกนายธานินทร์ในที่สุด<ref>วีรชาติ ชุ่มสนิท, 24 นายกรัฐมนตรีไทย (กรุงเทพฯ : บริษัทออลบุ๊คส์พับลิชชิ่ง จำกัด, 2549), 128.</ref>  นอกจากนั้นก่อนที่นายธานินทร์ กรัยวิเชียร จะได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี  มีคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2519 ระบุให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียรเป็นหนึ่งใน  คณะที่ปรึกษาฝ่ายสาธารณสุข ศึกษาธิการ ยุติธรรม และมหาวิทยาลัย ซึ่งหน้าที่ของคณะที่ปรึกษาคณะ   ดังกล่าวคือ เสนอความคิดริเริ่ม  ให้ความเห็นในการแก้ไขปรับปรุง  พิจารณาแก้ไขปัญหาต่างๆ ตามที่หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินมอบหมาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า นายธานินทร์ กรัยวิเชียร มีความสัมพันธ์ที่ดีไม่น้อยกับพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ จนนำมาซึ่งการผลักดันให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี <ref>จีรวัฒน์ ครองแก้ว, องคมนตรี ศักดิ์ศรีแผ่นดิน (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ดี ฟอร์ ไลฟ์, 2550), 41.</ref>


นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ของประเทศ โดยมีประกาศ      พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2519  โดยมีพลเรือเอก สงัด ชลออยู่  หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ[6]
นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ของประเทศ โดยมีประกาศ      พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2519  โดยมีพลเรือเอก สงัด ชลออยู่  หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ<ref>The Secretariat of the Cabinet, Thailand. คณะรัฐมนตรี คณะที่ 39 [Online]. Access 7 September 2009. Available from http://www.cabinetthaigov.go.th/cab_39.htm</ref>


คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเมื่อแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีแล้ว  ในวันที่ 22 ตุลาคม 2519  มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519  ซึ่งมีสาระสำคัญเช่น  กำหนดให้มี    สภาที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่นายกรัฐมนตรีและสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน      ทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ ตามลำดับ  ให้อำนาจพิเศษแก่นายกรัฐมนตรี ตามมาตรา  21  ในการลงโทษผู้กระทำการอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร  ราชบัลลังก์และความสงบเรียบร้อยของประชาชน เช่นเดียวกับมาตรา 17 ในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 และพุทธศักราช 2515รวมทั้งให้มีแผนพัฒนาการปกครองระบอบประชาธิปไตย เป็นต้น[7]
คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเมื่อแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีแล้ว  ในวันที่ 22 ตุลาคม 2519  มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519  ซึ่งมีสาระสำคัญเช่น  กำหนดให้มี    สภาที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่นายกรัฐมนตรีและสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน      ทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ ตามลำดับ  ให้อำนาจพิเศษแก่นายกรัฐมนตรี ตามมาตรา  21  ในการลงโทษผู้กระทำการอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร  ราชบัลลังก์และความสงบเรียบร้อยของประชาชน เช่นเดียวกับมาตรา 17 ในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 และพุทธศักราช 2515รวมทั้งให้มีแผนพัฒนาการปกครองระบอบประชาธิปไตย เป็นต้น<ref>คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สรรสาระรัฐธรรมนูญไทย (กรุงเทพฯ : บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์, 2548), 523-524.</ref>


และในวันที่ 22 ตุลาคม มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นคณะรัฐมนตรีชุดที่ 39 มีจำนวน 17 คน  อาทิ  พลเอก บุญชัย บำรุงพงศ์ และ นายอัมพร จันทรวิจิตร เป็นรองนายกรัฐมนตรี  นายอุปดิศร์ ปาจรียางกูร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ  นายสมัคร สุนทรเวช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  คุณหญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม  พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม [8] ต่อมาวันที่ 29 ตุลาคม 2519  นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายรัฐบาล โดยการประกาศต่อที่ประชุมสภาที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ซึ่ง        ทำหน้าที่สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน โดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องในด้านเศรษฐกิจ  สังคม การศึกษา การต่างประเทศและความมั่นคงของประเทศ รวมทั้งสิ้น 11 ข้อ[9] ตัวอย่างเช่น  การให้ความสำคัญของ      การกินดีอยู่ดีของประชาชนเป็นนโยบายหลัก  คำนึงถึงเสถียรภาพทางการคลังและความมั่งคงของประเทศในการเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม    ป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์อย่างจริงจังและเด็ดขาด    ปรับปรุงระบบและกระบวนการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท  รวมถึงการจัดการศึกษาภาคบังคับให้อย่างเสมอภาค เป็นต้น
และในวันที่ 22 ตุลาคม มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นคณะรัฐมนตรีชุดที่ 39 มีจำนวน 17 คน  อาทิ  พลเอก บุญชัย บำรุงพงศ์ และ นายอัมพร จันทรวิจิตร เป็นรองนายกรัฐมนตรี  นายอุปดิศร์ ปาจรียางกูร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ  นายสมัคร สุนทรเวช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  คุณหญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม  พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม <ref>The Secretariat of the Cabinet, Thailand. คณะรัฐมนตรี คณะที่ 39 [Online]. Access 7 September 2009. Available from http://www.cabinetthaigov.go.th/cab_39.htm</ref> ต่อมาวันที่ 29 ตุลาคม 2519  นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายรัฐบาล โดยการประกาศต่อที่ประชุมสภาที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ซึ่ง        ทำหน้าที่สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน โดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องในด้านเศรษฐกิจ  สังคม การศึกษา การต่างประเทศและความมั่นคงของประเทศ รวมทั้งสิ้น 11 ข้อ <ref>สำนักนายกรัฐมนตรี , คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ซึ่งนายธานินทร์ กรัยวิเชียรเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งคำปราศรัยของนายกรัฐมนตรี (กรุงเทพ : โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, 2521),ก-ฐ.</ref> ตัวอย่างเช่น  การให้ความสำคัญของ      การกินดีอยู่ดีของประชาชนเป็นนโยบายหลัก  คำนึงถึงเสถียรภาพทางการคลังและความมั่งคงของประเทศในการเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม    ป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์อย่างจริงจังและเด็ดขาด    ปรับปรุงระบบและกระบวนการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท  รวมถึงการจัดการศึกษาภาคบังคับให้อย่างเสมอภาค เป็นต้น


รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร มีสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินที่ประกอบด้วยสมาชิก 340 คน ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติให้การสนับสนุน  รัฐบาลชุดนี้ได้รับการเปรียบเทียบว่าเป็นรัฐบาลหอย    ซึ่งอุปมาอุปมัยนี้เป็นของนายธานินทร์ กรัยวิเชียรที่กล่าวทางโทรทัศน์[10]ว่า “รัฐบาลเสมือนหอยที่อยู่ในเปลือก โดยมีนัยถึงเป็นรัฐบาลที่คณะนายทหารคอยให้ความคุ้มกัน”   
รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร มีสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินที่ประกอบด้วยสมาชิก 340 คน ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติให้การสนับสนุน  รัฐบาลชุดนี้ได้รับการเปรียบเทียบว่าเป็นรัฐบาลหอย    ซึ่งอุปมาอุปมัยนี้เป็นของนายธานินทร์ กรัยวิเชียรที่กล่าวทางโทรทัศน์<ref>ลิขิต  ธีรเวคิน, วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย (กรุงเทพฯ :  โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541),206.</ref> ว่า “รัฐบาลเสมือนหอยที่อยู่ในเปลือก โดยมีนัยถึงเป็นรัฐบาลที่คณะนายทหารคอยให้ความคุ้มกัน”   


คณะรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้ดำเนินการตามแผนการพัฒนาประชาธิปไตยซึ่งกำหนดในรัฐธรรมนูญ โดยแบ่งเป็น 3 ช่วง ๆ ละ 4 ปี  มีนโยบายที่เด่นที่สุดคือ การต่อต้านคอมมิวนิสต์ โดยมีการอบรมข้าราชการกรมกองต่างๆ ให้ตระหนักถึงภัยคอมมิวนิสต์  ในระดับระหว่างประเทศก็มี    การต่อต้านลัทธิและการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์[11]  ซึ่งการดำเนินงานของคณะรัฐบาลของ              นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ก็ประสบกับปัญหา มากมาย ตลอดทั้งเหตุการณ์การก่อการร้ายโดยคอมมิวนิสต์  และปัญหาภายในของรัฐบาล[12] เช่น  การร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นไปด้วยความล่าช้า แผนพัฒนาประชาธิปไตย 3 ขั้น ที่ไม่ทันการกับสถานการณ์ปัจจุบัน  การเกิดเหตุการณ์กบฏ 26 มีนาคม  2520[13] การจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น  ควบคุมเสรีภาพสื่อมวลชน  สั่งปิดหนังสือพิมพ์ ซึ่งในระยะเวลา 1 ปี      มีคำสั่งปิดหนังสือพิมพ์ถึง 22 ครั้ง[14] รวมถึงมีนักศึกษา ปัญญาชนจำนวนมากที่มีความคิดทางการเมืองแตกต่างจากรัฐบาลต้องหลบหนีเข้าป่าเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) [15]     
คณะรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้ดำเนินการตามแผนการพัฒนาประชาธิปไตยซึ่งกำหนดในรัฐธรรมนูญ โดยแบ่งเป็น 3 ช่วง ๆ ละ 4 ปี  มีนโยบายที่เด่นที่สุดคือ การต่อต้านคอมมิวนิสต์ โดยมีการอบรมข้าราชการกรมกองต่างๆ ให้ตระหนักถึงภัยคอมมิวนิสต์  ในระดับระหว่างประเทศก็มี    การต่อต้านลัทธิและการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์<ref>วิกิพีเดีย สารนุกรมเสรี.รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519 [Online]. Access  25 สิงหาคม 2552. </ref> ซึ่งการดำเนินงานของคณะรัฐบาลของ              นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ก็ประสบกับปัญหา มากมาย ตลอดทั้งเหตุการณ์การก่อการร้ายโดยคอมมิวนิสต์  และปัญหาภายในของรัฐบาล<ref>เรื่องเดียวกัน.</ref>เช่น  การร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นไปด้วยความล่าช้า แผนพัฒนาประชาธิปไตย 3 ขั้น ที่ไม่ทันการกับสถานการณ์ปัจจุบัน  การเกิดเหตุการณ์กบฏ 26 มีนาคม  2520<ref>คณะทหารกลุ่มหนึ่งนำโดย พลเอกฉลาด  หิรัญศิริ  ได้ทำการปฏิวัติเนื่องจากไม่พอใจการบริหารประเทศของรัฐบาล  โดยอ้างความเสื่อมทรามของภาวะด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ แต่ในที่สุดรัฐบาลเป็นฝ่ายชนะสามารถปราบปรามได้สำเร็จ  ฝ่ายปฏิวัติจึงกลายเป็นกบฏ  พลเอกฉลาด  หิรัญศิริถูกรัฐบาลส่งถอดยศและลงโทษประหารชีวิตในฐานะที่เป็นหัวหน้าก่อการกบฏ ส่วนผู้ร่วมก่อการหลายคนถูกจำคุก แต่ในเวลาต่อมาได้รับนิรโทษกรรม</ref> การจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น  ควบคุมเสรีภาพสื่อมวลชน  สั่งปิดหนังสือพิมพ์ ซึ่งในระยะเวลา 1 ปี      มีคำสั่งปิดหนังสือพิมพ์ถึง 22 ครั้ง<ref>นรนิติ เศรษฐบุตรและสุรชัย ศิริไกร, เอกสารทางวิชาการ หมายเลข 32 ชีวประวัตินายกรัฐมนตรีไทยตั้งแต่พ.ศ. 2475-2529 (มปท.,2529),275.</ref> รวมถึงมีนักศึกษา ปัญญาชนจำนวนมากที่มีความคิดทางการเมืองแตกต่างจากรัฐบาลต้องหลบหนีเข้าป่าเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) <ref>วิกิพีเดีย สารนุกรมเสรี.รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519 [Online]. Access  25 สิงหาคม 2552. </ref>      


แม้ว่ารัฐบาลจะดำเนินนโยบายต่างๆ เพื่อคลี่คลายปัญหาแต่ก็ยังเกิดความเดือดร้อนวุ่นวายในบ้านเมือง  ในที่สุดคณะนายทหารในสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินชุดเดิมที่นำโดยพลเรือเอก สงัด      ชลออยู่ จึงกระทำการรัฐประหารอีกครั้งในวันที่ 20 ตุลาคม 2520 ซึ่งนักประวัติศาสตร์ทางการเมือง    บางท่านได้ให้ข้อคิดเชิงเปรียบเทียบไว้ว่าเป็นการปฏิวัติโดย “เปลือกหอย” คือสภาที่ปรึกษาฯเขี่ย “เนื้อหอย” คณะรัฐมนตรีออกไป หรือเปลือกหอยงับเนื้อหอย โดยคนอื่นๆ ไม่ได้เกี่ยวอะไรด้วยกับการปฎิวัติในครั้งนี้เลย[16]
แม้ว่ารัฐบาลจะดำเนินนโยบายต่างๆ เพื่อคลี่คลายปัญหาแต่ก็ยังเกิดความเดือดร้อนวุ่นวายในบ้านเมือง  ในที่สุดคณะนายทหารในสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินชุดเดิมที่นำโดยพลเรือเอก สงัด      ชลออยู่ จึงกระทำการรัฐประหารอีกครั้งในวันที่ 20 ตุลาคม 2520 ซึ่งนักประวัติศาสตร์ทางการเมือง    บางท่านได้ให้ข้อคิดเชิงเปรียบเทียบไว้ว่าเป็นการปฏิวัติโดย “เปลือกหอย” คือสภาที่ปรึกษาฯเขี่ย “เนื้อหอย” คณะรัฐมนตรีออกไป หรือเปลือกหอยงับเนื้อหอย โดยคนอื่นๆ ไม่ได้เกี่ยวอะไรด้วยกับการปฎิวัติในครั้งนี้เลย<ref>ธนากิต, ประวัตินายกรัฐมนตรีไทย (กรุงเทพฯ : ปิรามิด,2545),292.</ref>


อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร จะเผชิญกับความกดดันต่างๆ  รวมถึงการบริหารประเทศที่ไม่เป็นอิสระ  แต่รัฐบาลก็ได้ดำเนินงานที่สำคัญ ๆ ตามนโยบายที่แถลงไว้และตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4[17] ตัวอย่างเช่น จัดให้มีการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม จำนวนมากกว่า 1,000,000 ไร่ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นที่ดินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน    การจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรเพิ่มขึ้นอีก 102 สหกรณ์ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถช่วยตนเองให้มีฐานะพอกินพออยู่  การกำหนดโครงการปลูกป่าในฤดูฝนทดแทน    ป่าไม้ที่ถูกลักลอบตัดและบุกรุกป่าสงวน    โครงการอาสาพัฒนาท้องถิ่นของตนเองในฤดูแล้ง ในการสร้างความร่วมมือของรัฐบาลและประชาชนทั่วประเทศเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น เช่น การซ่อมสร้างถนน  สะพาน  ชลประทานขนาดเล็ก  เป็นต้น  การตรวจสอบ เร่งรัดการก่อสร้างและบูรณะทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัด และเริ่มมีการก่อสร้างทางด่วนสายดินแดง ท่าเรือ การสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชในท้องถิ่นทุรกันดาร 20 แห่ง เพื่อทูลเกล้าฯถวาย  เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงอภิเษกสมรส    นอกจากนี้ในด้านการศึกษา มีการกำหนดแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2520  พร้อมปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอน    และมีหน่วยงานที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลนี้
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร จะเผชิญกับความกดดันต่างๆ  รวมถึงการบริหารประเทศที่ไม่เป็นอิสระ  แต่รัฐบาลก็ได้ดำเนินงานที่สำคัญ ๆ ตามนโยบายที่แถลงไว้และตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4<ref>สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ,  ผลงานของรัฐบาลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2520. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ข่าวพาณิชย์, 2521),7-21.</ref> ตัวอย่างเช่น จัดให้มีการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม จำนวนมากกว่า 1,000,000 ไร่ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นที่ดินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน    การจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรเพิ่มขึ้นอีก 102 สหกรณ์ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถช่วยตนเองให้มีฐานะพอกินพออยู่  การกำหนดโครงการปลูกป่าในฤดูฝนทดแทน    ป่าไม้ที่ถูกลักลอบตัดและบุกรุกป่าสงวน    โครงการอาสาพัฒนาท้องถิ่นของตนเองในฤดูแล้ง ในการสร้างความร่วมมือของรัฐบาลและประชาชนทั่วประเทศเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น เช่น การซ่อมสร้างถนน  สะพาน  ชลประทานขนาดเล็ก  เป็นต้น  การตรวจสอบ เร่งรัดการก่อสร้างและบูรณะทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัด และเริ่มมีการก่อสร้างทางด่วนสายดินแดง ท่าเรือ การสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชในท้องถิ่นทุรกันดาร 20 แห่ง เพื่อทูลเกล้าฯถวาย  เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงอภิเษกสมรส    นอกจากนี้ในด้านการศึกษา มีการกำหนดแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2520  พร้อมปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอน    และมีหน่วยงานที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลนี้


ที่สำคัญๆ คือ  องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)  เป็นต้น[18] รวมทั้งการปรับปรุงระเบียบบริหารกรุงเทพมหานคร  อันเป็นที่มาของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา   
ที่สำคัญๆ คือ  องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)  เป็นต้น<ref>ธนากิต, ประวัตินายกรัฐมนตรีไทย (กรุงเทพฯ : ปิรามิด,2545),293.</ref> รวมทั้งการปรับปรุงระเบียบบริหารกรุงเทพมหานคร  อันเป็นที่มาของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา   


== นายธานินทร์ กรัยวิเชียรกับตำแหน่งสำคัญอื่นๆ ==
== นายธานินทร์ กรัยวิเชียรกับตำแหน่งสำคัญอื่นๆ ==


นอกจากงานองคมนตรี ซึ่งองคมนตรีแต่ละท่านจะได้รับมอบหมายราชกิจพิเศษ  มีโครงการตามพระราชดำริต่างๆ[19]    นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ยังดำรงตำแหน่งสำคัญอื่นๆ  ได้แก่  รองประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  ประธานกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร      กรรมการมูลนิธิอานันทมหิดล  ประธานกรรมการมูลนิธิศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียแปซิฟิค  ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี      ประธานที่ปรึกษาพิเศษ  ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (ศ.ศ.ป.) เป็นต้น
นอกจากงานองคมนตรี ซึ่งองคมนตรีแต่ละท่านจะได้รับมอบหมายราชกิจพิเศษ  มีโครงการตามพระราชดำริต่างๆ<ref>สินีพร มฤคพิทักษ์, “สัมภาษณ์พิเศษ” เนชั่นสุดสัปดาห์ 18,902 (กันยายน 2552) : 28.</ref>  นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ยังดำรงตำแหน่งสำคัญอื่นๆ  ได้แก่  รองประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  ประธานกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร      กรรมการมูลนิธิอานันทมหิดล  ประธานกรรมการมูลนิธิศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียแปซิฟิค  ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี      ประธานที่ปรึกษาพิเศษ  ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (ศ.ศ.ป.) เป็นต้น


นายธานินทร์ กรัยวิเชียรได้ให้สัมภาษณ์ถึงงานที่ต้องรับผิดชอบในบทสัมภาษณ์พิเศษ วารสารเนชั่นสุดสัปดาห์ เกี่ยวกับบางตำแหน่งไว้เช่น รองประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  โดยรับผิดชอบดูแลโครงการศิลปาชีพที่ศูนย์ศิลปาชีพ  บางไทรฯ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งจะต้องเข้าไปตรวจงานทุกสัปดาห์  สัปดาห์ละ 2 วัน ปัจจุบันศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ มี 30 แผนก มีผู้ผ่านการฝึกอบรมแล้วมากกว่า 19,000 คน จำนวนหนึ่งได้กลับไปสร้างอาชีพที่บ้านเกิด  ของตน  บางคนเดินทางไปประกอบอาชีพสร้างรายได้ดำรงชีพอยู่ในหลายจังหวัดของประเทศไทย[20]   สำหรับตำแหน่ง ประธานที่ปรึกษาพิเศษ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (ศ.ศ.ป.) เป็น    ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศเป็นองค์กรมหาชน มีสามฝ่ายร่วมกัน คือภาครัฐบาล  ภาคเอกชน โดย  สภาหอการค้าไทยและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ซึ่งเหตุที่ต้องมี  ศูนย์ดังกล่าว เพื่อต้องการส่งเสริมการผลิตในประเทศในแง่ปริมาณและคุณภาพ  และขยายตลาดในเรื่องของศิลปาชีพไปทั่วโลก [21]
นายธานินทร์ กรัยวิเชียรได้ให้สัมภาษณ์ถึงงานที่ต้องรับผิดชอบในบทสัมภาษณ์พิเศษ วารสารเนชั่นสุดสัปดาห์ เกี่ยวกับบางตำแหน่งไว้เช่น รองประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  โดยรับผิดชอบดูแลโครงการศิลปาชีพที่ศูนย์ศิลปาชีพ  บางไทรฯ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งจะต้องเข้าไปตรวจงานทุกสัปดาห์  สัปดาห์ละ 2 วัน ปัจจุบันศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ มี 30 แผนก มีผู้ผ่านการฝึกอบรมแล้วมากกว่า 19,000 คน จำนวนหนึ่งได้กลับไปสร้างอาชีพที่บ้านเกิด  ของตน  บางคนเดินทางไปประกอบอาชีพสร้างรายได้ดำรงชีพอยู่ในหลายจังหวัดของประเทศไทย<ref>เรื่องเดียวกัน, 29.</ref>   สำหรับตำแหน่ง ประธานที่ปรึกษาพิเศษ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (ศ.ศ.ป.) เป็น    ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศเป็นองค์กรมหาชน มีสามฝ่ายร่วมกัน คือภาครัฐบาล  ภาคเอกชน โดย  สภาหอการค้าไทยและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ซึ่งเหตุที่ต้องมี  ศูนย์ดังกล่าว เพื่อต้องการส่งเสริมการผลิตในประเทศในแง่ปริมาณและคุณภาพ  และขยายตลาดในเรื่องของศิลปาชีพไปทั่วโลก <ref>เรื่องเดียวกัน.</ref>


== นายธานินทร์ กรัยวิเชียรกับงานเขียน ==
== นายธานินทร์ กรัยวิเชียรกับงานเขียน ==


นายธานินทร์ กรัยวิเชียร สนใจงานเขียนและงานหนังสือพิมพ์มาตั้งแต่ยังเป็นนักเรียน  เมื่อเข้ารับราชการ ก็ได้รับเลือกให้เป็นบรรณาธิการนิตยสารวิชากฎหมาย คือ  “ดุลพาห” ของกระทรวงยุติธรรม และ “บทบัณฑิตย์” ของเนติบัณฑิตยสภา[22] 
นายธานินทร์ กรัยวิเชียร สนใจงานเขียนและงานหนังสือพิมพ์มาตั้งแต่ยังเป็นนักเรียน  เมื่อเข้ารับราชการ ก็ได้รับเลือกให้เป็นบรรณาธิการนิตยสารวิชากฎหมาย คือ  “ดุลพาห” ของกระทรวงยุติธรรม และ “บทบัณฑิตย์” ของเนติบัณฑิตยสภา<ref>ธานินทร์ กรัยวิเชียร, ภาษากฎหมายไทย (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2538), 189.</ref>
นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ยังมีความสนใจในเรื่องภาษาของกฎหมายไทยเป็นพิเศษ  และได้เรียบเรียงหนังสือ บทความเกี่ยวกับภาษากฎหมาย เผยแพร่มากมาย สำหรับหนังสือที่ได้รับการยกย่อง คือหนังสือ “ภาษากฎหมายไทย” ซึ่งได้รับรางวัลประเภทสารคดีดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2511 จากองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) และได้ใช้เป็นตำราในการศึกษาวิชานิติศาสตร์ของทุกสถาบันการศึกษา  หนังสือ “การตีความกฎหมาย” ก็ได้นำไปใช้อ้างอิงอย่างกว้างขวางในด้านความหมายของถ้อยคำและข้อความในภาษากฎหมายไทย  สำหรับงานเขียนด้านกฎหมายอื่นๆ ได้แก่ คำแนะนำนักศึกษากฎหมาย  คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  ศาลกับพยานบุคคล  การชี้สองสถาน  กฎหมายเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายไทยกับกฎหมายของประเทศแองโกลแซกซอน  การปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น[23]
 
นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ยังมีความสนใจในเรื่องภาษาของกฎหมายไทยเป็นพิเศษ  และได้เรียบเรียงหนังสือ บทความเกี่ยวกับภาษากฎหมาย เผยแพร่มากมาย สำหรับหนังสือที่ได้รับการยกย่อง คือหนังสือ “ภาษากฎหมายไทย” ซึ่งได้รับรางวัลประเภทสารคดีดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2511 จากองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) และได้ใช้เป็นตำราในการศึกษาวิชานิติศาสตร์ของทุกสถาบันการศึกษา  หนังสือ “การตีความกฎหมาย” ก็ได้นำไปใช้อ้างอิงอย่างกว้างขวางในด้านความหมายของถ้อยคำและข้อความในภาษากฎหมายไทย  สำหรับงานเขียนด้านกฎหมายอื่นๆ ได้แก่ คำแนะนำนักศึกษากฎหมาย  คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  ศาลกับพยานบุคคล  การชี้สองสถาน  กฎหมายเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายไทยกับกฎหมายของประเทศแองโกลแซกซอน  การปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น<ref>เรื่องเดียวกัน.</ref>


นอกจากงานเขียนด้านกฎหมาย  นายธานินทร์ กรัยวิเชียรยังมีงานเขียนที่เกี่ยวกับด้านอื่นๆ ด้วย เช่น พระมหากษัตริย์ไทยในระบอบประชาธิปไตย  ครูกับทางอยู่รอดของสังคมไทย    ศาสนากับความมั่นคงของชาติ  ลัทธิและวิธีการของคอมมิวนิสต์  เป็นต้น
นอกจากงานเขียนด้านกฎหมาย  นายธานินทร์ กรัยวิเชียรยังมีงานเขียนที่เกี่ยวกับด้านอื่นๆ ด้วย เช่น พระมหากษัตริย์ไทยในระบอบประชาธิปไตย  ครูกับทางอยู่รอดของสังคมไทย    ศาสนากับความมั่นคงของชาติ  ลัทธิและวิธีการของคอมมิวนิสต์  เป็นต้น
บรรทัดที่ 54: บรรทัดที่ 59:
== สรุป ==
== สรุป ==


จากนักกฎหมายผู้มีความสามารถและได้รับการยอมรับ  นายธานินทร์ กรัยวิเชียรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 14 เพื่อเข้ามาบริหารบ้านเมืองจากการเกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองในวันที่ 6 ตุลาคม 2519  ซึ่งเป็นช่วงเวลาหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองของไทย  และภายหลังการพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายธานินทร์ กรัยวิเชียรได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี  เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2520  นายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี ยังคงมีภารกิจทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับงานกลั่นกรองพระราชกรณียกิจต่างๆ ในเบื้องต้นถวายแด่พระมหากษัตริย์ เพื่อประกอบพระบรมราชวินิจฉัย  งานจัดการและดูแลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการหลวง มูลนิธิ ฯลฯ  ต่างพระเนตรพระกรรณ และการปฏิบัติงานผู้แทนพระองค์หรือสนองพระราชกระแสเฉพาะเรื่องนั้นๆ  เป็นการแบ่งเบาพระราชกรณียกิจ[24]  รวมทั้งยังได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายหรือปาฐกถาพิเศษในโอกาสต่างๆ   
จากนักกฎหมายผู้มีความสามารถและได้รับการยอมรับ  นายธานินทร์ กรัยวิเชียรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 14 เพื่อเข้ามาบริหารบ้านเมืองจากการเกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองในวันที่ 6 ตุลาคม 2519  ซึ่งเป็นช่วงเวลาหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองของไทย  และภายหลังการพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายธานินทร์ กรัยวิเชียรได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี  เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2520  นายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี ยังคงมีภารกิจทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับงานกลั่นกรองพระราชกรณียกิจต่างๆ ในเบื้องต้นถวายแด่พระมหากษัตริย์ เพื่อประกอบพระบรมราชวินิจฉัย  งานจัดการและดูแลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการหลวง มูลนิธิ ฯลฯ  ต่างพระเนตรพระกรรณ และการปฏิบัติงานผู้แทนพระองค์หรือสนองพระราชกระแสเฉพาะเรื่องนั้นๆ  เป็นการแบ่งเบาพระราชกรณียกิจ<ref>คณะองคมนตรี  ภารกิจของคณะองคมนตรี [Online]. Access  20 กันยายน 2553. Available from http://www.ohmpps.go.th/privy/content.php?cg_name=%C0%D2%C3%A1%D4%A8%A2%CD%A7%A4%B3%D0%CD%A7%A4%C1%B9%B5%C3%D5.</ref> รวมทั้งยังได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายหรือปาฐกถาพิเศษในโอกาสต่างๆ   


== ที่มา ==
== ที่มา ==
   
   
คณะกรรมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา  5 ธ.ค. 2550 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ธ ทรงเป็นร่มฉัตรรัฐสภา.  กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2550.
คณะกรรมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา  5 ธ.ค. 2550 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. '''ธ ทรงเป็นร่มฉัตรรัฐสภา.''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2550.


คณะองคมนตรี  ภารกิจของคณะองคมนตรี [Online]. Access  20 กันยายน 2553. Available from  http://www.ohmpps.go.th/privy/content.php?cg_name=%C0%D2%C3%A1%D4%A8%A2%CD%A7%A4%B3%D0%CD%A7%A4%C1%B9%B5%C3%D5.
คณะองคมนตรี  ภารกิจของคณะองคมนตรี [Online]. Access  20 กันยายน 2553. Available from  http://www.ohmpps.go.th/privy/content.php?cg_name=%C0%D2%C3%A1%D4%A8%A2%CD%A7%A4%B3%D0%CD%A7%A4%C1%B9%B5%C3%D5.


คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สรรสาระรัฐธรรมนูญไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์, 2548.
คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. '''สรรสาระรัฐธรรมนูญไทย.''' กรุงเทพฯ : บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์, 2548.


จีรวัฒน์ ครองแก้ว.''' องคมนตรี ศักดิ์ศรีแผ่นดิน.''' กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ดี ฟอร์ ไลฟ์, 2550.   
จีรวัฒน์ ครองแก้ว.''' องคมนตรี ศักดิ์ศรีแผ่นดิน.''' กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ดี ฟอร์ ไลฟ์, 2550.   
บรรทัดที่ 82: บรรทัดที่ 87:
สินีพร มฤคพิทักษ์, “สัมภาษณ์พิเศษ” '''เนชั่นสุดสัปดาห์ 18''',902 (กันยายน 2552) : 28.
สินีพร มฤคพิทักษ์, “สัมภาษณ์พิเศษ” '''เนชั่นสุดสัปดาห์ 18''',902 (กันยายน 2552) : 28.


The Secretariat of the Cabinet, Thailand. คณะรัฐมนตรี คณะที่ 39 [Online]. Access 7 September 2009. Available from http://www.cabinetthaigov.go.th/cab_39.htm
The Secretariat of the Cabinet, Thailand. คณะรัฐมนตรี คณะที่ 39 [Online]. Access 7 September 2009. Available from http://www.cabinetthaigov.go.th/cab_39.htm


== ดูเพิ่มเติม ==
== ดูเพิ่มเติม ==


ประกอบ โชประการ สมบูรณ์  คนฉลาด และประยุทธ สิทธิพันธ์. ปฏิวัติสามสมัย.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ รวมการพิมพ์, 2522.
ประกอบ โชประการ สมบูรณ์  คนฉลาด และประยุทธ สิทธิพันธ์. '''ปฏิวัติสามสมัย.''' กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ รวมการพิมพ์, 2522.
นรนิติ เศรษฐบุตรและสุรชัย  ศิริไกร. เอกสารทางวิชาการ หมายเลข 32 ชีวประวัตินายกรัฐมนตรีไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2475-2529. มปท.,2529
 
ลิขิต  ธีรเวคิน. วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพฯ :  โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541.
นรนิติ เศรษฐบุตรและสุรชัย  ศิริไกร. '''เอกสารทางวิชาการ หมายเลข 32 ชีวประวัตินายกรัฐมนตรีไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2475-2529.''' มปท.,2529
 
ลิขิต  ธีรเวคิน. '''วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย.''' กรุงเทพฯ :  โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541.
 
วิกิพีเดีย สารนุกรมเสรี.รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519 [Online]. Access  25 สิงหาคม 2552.  
วิกิพีเดีย สารนุกรมเสรี.รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519 [Online]. Access  25 สิงหาคม 2552.  
เสนีย์  ปราโมช.  ชีวลิขิต. กรุงเทพฯ : บริษัทนานมีบุ๊คส์ จำกัด, 2548.
 
สำนักนายกรัฐมนตรี.  คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ซึ่งนายธานินทร์ กรัยวิเชียรเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งคำปราศรัยของนายกรัฐมนตรี.     กรุงเทพ : โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, 2521.
เสนีย์  ปราโมช.  '''ชีวลิขิต.''' กรุงเทพฯ : บริษัทนานมีบุ๊คส์ จำกัด, 2548.
สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ.  ผลงานของรัฐบาลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2520. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ข่าวพาณิชย์, 2521.
 
สินีพร  มฤคพิทักษ์. “สัมภาษณ์พิเศษ.” เนชั่นสุดสัปดาห์ 18, 109(11-17 กันยายน 2552 : 28-29.  
สำนักนายกรัฐมนตรี.  '''คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ซึ่งนายธานินทร์ กรัยวิเชียรเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งคำปราศรัยของนายกรัฐมนตรี.''' กรุงเทพ : โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, 2521.
 
สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ.  '''ผลงานของรัฐบาลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2520.''' กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ข่าวพาณิชย์, 2521.
 
สินีพร  มฤคพิทักษ์. “สัมภาษณ์พิเศษ.”''' เนชั่นสุดสัปดาห์ 18''', 109(11-17 กันยายน 2552 : 28-29.  


==อ้างอิง==
==อ้างอิง==
<references/>
<references/>
[[หมวดหมู่:นายกรัฐมนตรี]]
[[หมวดหมู่:นายกรัฐมนตรี]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:43, 4 ตุลาคม 2554

ผู้เรียบเรียง ธนินทร พูนศรีสวัสดิ์


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต



ประวัติและการศึกษา

นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2470 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายแหกับนางผะอบ กรัยวิเชียร สมรสกับคุณหญิงคาเรน กรัยวิเชียร (นามเดิม นางสาวคาเรน แอนเดอเซ่น)

นายธานินทร์ กรัยวิเชียร สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2484 และศึกษาวิชากฎหมาย ที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง สำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิตในปี พ.ศ . 2490 จากนั้นจึงเดินทางไปศึกษาวิชากฎหมายต่อ ณ มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้รับปริญญานิติศาสตรบัณฑิตเมื่อปี พ.ศ. 2496 และสำเร็จเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ จากสำนักอบรมศึกษากฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา สำนักเกรยส์อินน์ ประเทศอังกฤษในปีต่อมา[1]

การทำงาน

เริ่มเข้ารับราชการเมื่อ พ.ศ. 2491 ประจำแผนกบัญชี สำนักงานเลขานุการกรมเกษตร กระทรวงเกษตร ในปี พ.ศ. 2498 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษากระทรวงยุติธรรม และเป็นผู้พิพากษาประจำกระทรวงระหว่างปี พ.ศ. 2499-2501 เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปีพ.ศ. 2506 ต่อมาได้เป็นหัวหน้ากองการคดี สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม และได้ลาออกจากตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เพื่อเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2519[2]เมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการตุลาการ และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2520 จนถึงปัจจุบัน

นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นผู้เชี่ยวชาญกฎหมายหลายสาขาวิชา โดยเป็นผู้บรรยายวิชานิติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยรามคำแหง และเป็นอาจารย์พิเศษอีกหลายสถาบัน เช่น สำนักอบรมเนติบัณฑิตยสภา มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ทำหน้าที่ผู้แทนไทยไปประชุมด้านกฎหมาย ณ ต่างประเทศหลายครั้ง [3] นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรีคนที่ 14

นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ภายหลังจากที่คณะปฎิรูปการปกครองแผ่นดิน ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช โดยมีพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ อดีต ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารเรือเป็นหัวหน้า พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นเลขาธิการคณะปฏิรูปฯ และยังมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่สำคัญร่วมด้วย เช่น พลเอก เสริม ณ นคร พลเอก บุญชัย บำรุงพงษ์ เป็นต้น

การเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร นับว่าอยู่นอกเหนือความคาดหมาย ว่ากันว่าตั้งแต่การเตรียมการยึดอำนาจ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ มีบุคคลอยู่ในใจหลายคน เช่น นายประกอบ หุตะสิงห์ นายประภาศน์ อวยชัย นายเชาว์ ณ ศิลวันต์ แต่แล้วก็ตัดสินใจเลือกนายธานินทร์ในที่สุด[4] นอกจากนั้นก่อนที่นายธานินทร์ กรัยวิเชียร จะได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี มีคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2519 ระบุให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียรเป็นหนึ่งใน คณะที่ปรึกษาฝ่ายสาธารณสุข ศึกษาธิการ ยุติธรรม และมหาวิทยาลัย ซึ่งหน้าที่ของคณะที่ปรึกษาคณะ ดังกล่าวคือ เสนอความคิดริเริ่ม ให้ความเห็นในการแก้ไขปรับปรุง พิจารณาแก้ไขปัญหาต่างๆ ตามที่หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินมอบหมาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า นายธานินทร์ กรัยวิเชียร มีความสัมพันธ์ที่ดีไม่น้อยกับพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ จนนำมาซึ่งการผลักดันให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี [5]

นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ของประเทศ โดยมีประกาศ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2519 โดยมีพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ[6]

คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเมื่อแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีแล้ว ในวันที่ 22 ตุลาคม 2519 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 ซึ่งมีสาระสำคัญเช่น กำหนดให้มี สภาที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่นายกรัฐมนตรีและสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ ตามลำดับ ให้อำนาจพิเศษแก่นายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 21 ในการลงโทษผู้กระทำการอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์และความสงบเรียบร้อยของประชาชน เช่นเดียวกับมาตรา 17 ในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 และพุทธศักราช 2515รวมทั้งให้มีแผนพัฒนาการปกครองระบอบประชาธิปไตย เป็นต้น[7]

และในวันที่ 22 ตุลาคม มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นคณะรัฐมนตรีชุดที่ 39 มีจำนวน 17 คน อาทิ พลเอก บุญชัย บำรุงพงศ์ และ นายอัมพร จันทรวิจิตร เป็นรองนายกรัฐมนตรี นายอุปดิศร์ ปาจรียางกูร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายสมัคร สุนทรเวช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย คุณหญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม [8] ต่อมาวันที่ 29 ตุลาคม 2519 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายรัฐบาล โดยการประกาศต่อที่ประชุมสภาที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ซึ่ง ทำหน้าที่สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน โดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องในด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา การต่างประเทศและความมั่นคงของประเทศ รวมทั้งสิ้น 11 ข้อ [9] ตัวอย่างเช่น การให้ความสำคัญของ การกินดีอยู่ดีของประชาชนเป็นนโยบายหลัก คำนึงถึงเสถียรภาพทางการคลังและความมั่งคงของประเทศในการเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์อย่างจริงจังและเด็ดขาด ปรับปรุงระบบและกระบวนการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท รวมถึงการจัดการศึกษาภาคบังคับให้อย่างเสมอภาค เป็นต้น

รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร มีสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินที่ประกอบด้วยสมาชิก 340 คน ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติให้การสนับสนุน รัฐบาลชุดนี้ได้รับการเปรียบเทียบว่าเป็นรัฐบาลหอย ซึ่งอุปมาอุปมัยนี้เป็นของนายธานินทร์ กรัยวิเชียรที่กล่าวทางโทรทัศน์[10] ว่า “รัฐบาลเสมือนหอยที่อยู่ในเปลือก โดยมีนัยถึงเป็นรัฐบาลที่คณะนายทหารคอยให้ความคุ้มกัน”

คณะรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้ดำเนินการตามแผนการพัฒนาประชาธิปไตยซึ่งกำหนดในรัฐธรรมนูญ โดยแบ่งเป็น 3 ช่วง ๆ ละ 4 ปี มีนโยบายที่เด่นที่สุดคือ การต่อต้านคอมมิวนิสต์ โดยมีการอบรมข้าราชการกรมกองต่างๆ ให้ตระหนักถึงภัยคอมมิวนิสต์ ในระดับระหว่างประเทศก็มี การต่อต้านลัทธิและการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์[11] ซึ่งการดำเนินงานของคณะรัฐบาลของ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ก็ประสบกับปัญหา มากมาย ตลอดทั้งเหตุการณ์การก่อการร้ายโดยคอมมิวนิสต์ และปัญหาภายในของรัฐบาล[12]เช่น การร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นไปด้วยความล่าช้า แผนพัฒนาประชาธิปไตย 3 ขั้น ที่ไม่ทันการกับสถานการณ์ปัจจุบัน การเกิดเหตุการณ์กบฏ 26 มีนาคม 2520[13] การจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ควบคุมเสรีภาพสื่อมวลชน สั่งปิดหนังสือพิมพ์ ซึ่งในระยะเวลา 1 ปี มีคำสั่งปิดหนังสือพิมพ์ถึง 22 ครั้ง[14] รวมถึงมีนักศึกษา ปัญญาชนจำนวนมากที่มีความคิดทางการเมืองแตกต่างจากรัฐบาลต้องหลบหนีเข้าป่าเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) [15]

แม้ว่ารัฐบาลจะดำเนินนโยบายต่างๆ เพื่อคลี่คลายปัญหาแต่ก็ยังเกิดความเดือดร้อนวุ่นวายในบ้านเมือง ในที่สุดคณะนายทหารในสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินชุดเดิมที่นำโดยพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ จึงกระทำการรัฐประหารอีกครั้งในวันที่ 20 ตุลาคม 2520 ซึ่งนักประวัติศาสตร์ทางการเมือง บางท่านได้ให้ข้อคิดเชิงเปรียบเทียบไว้ว่าเป็นการปฏิวัติโดย “เปลือกหอย” คือสภาที่ปรึกษาฯเขี่ย “เนื้อหอย” คณะรัฐมนตรีออกไป หรือเปลือกหอยงับเนื้อหอย โดยคนอื่นๆ ไม่ได้เกี่ยวอะไรด้วยกับการปฎิวัติในครั้งนี้เลย[16]

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร จะเผชิญกับความกดดันต่างๆ รวมถึงการบริหารประเทศที่ไม่เป็นอิสระ แต่รัฐบาลก็ได้ดำเนินงานที่สำคัญ ๆ ตามนโยบายที่แถลงไว้และตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4[17] ตัวอย่างเช่น จัดให้มีการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม จำนวนมากกว่า 1,000,000 ไร่ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นที่ดินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน การจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรเพิ่มขึ้นอีก 102 สหกรณ์ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถช่วยตนเองให้มีฐานะพอกินพออยู่ การกำหนดโครงการปลูกป่าในฤดูฝนทดแทน ป่าไม้ที่ถูกลักลอบตัดและบุกรุกป่าสงวน โครงการอาสาพัฒนาท้องถิ่นของตนเองในฤดูแล้ง ในการสร้างความร่วมมือของรัฐบาลและประชาชนทั่วประเทศเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น เช่น การซ่อมสร้างถนน สะพาน ชลประทานขนาดเล็ก เป็นต้น การตรวจสอบ เร่งรัดการก่อสร้างและบูรณะทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัด และเริ่มมีการก่อสร้างทางด่วนสายดินแดง ท่าเรือ การสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชในท้องถิ่นทุรกันดาร 20 แห่ง เพื่อทูลเกล้าฯถวาย เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงอภิเษกสมรส นอกจากนี้ในด้านการศึกษา มีการกำหนดแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2520 พร้อมปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอน และมีหน่วยงานที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลนี้

ที่สำคัญๆ คือ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เป็นต้น[18] รวมทั้งการปรับปรุงระเบียบบริหารกรุงเทพมหานคร อันเป็นที่มาของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา

นายธานินทร์ กรัยวิเชียรกับตำแหน่งสำคัญอื่นๆ

นอกจากงานองคมนตรี ซึ่งองคมนตรีแต่ละท่านจะได้รับมอบหมายราชกิจพิเศษ มีโครงการตามพระราชดำริต่างๆ[19] นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ยังดำรงตำแหน่งสำคัญอื่นๆ ได้แก่ รองประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ประธานกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร กรรมการมูลนิธิอานันทมหิดล ประธานกรรมการมูลนิธิศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียแปซิฟิค ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประธานที่ปรึกษาพิเศษ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (ศ.ศ.ป.) เป็นต้น

นายธานินทร์ กรัยวิเชียรได้ให้สัมภาษณ์ถึงงานที่ต้องรับผิดชอบในบทสัมภาษณ์พิเศษ วารสารเนชั่นสุดสัปดาห์ เกี่ยวกับบางตำแหน่งไว้เช่น รองประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยรับผิดชอบดูแลโครงการศิลปาชีพที่ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งจะต้องเข้าไปตรวจงานทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน ปัจจุบันศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ มี 30 แผนก มีผู้ผ่านการฝึกอบรมแล้วมากกว่า 19,000 คน จำนวนหนึ่งได้กลับไปสร้างอาชีพที่บ้านเกิด ของตน บางคนเดินทางไปประกอบอาชีพสร้างรายได้ดำรงชีพอยู่ในหลายจังหวัดของประเทศไทย[20] สำหรับตำแหน่ง ประธานที่ปรึกษาพิเศษ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (ศ.ศ.ป.) เป็น ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศเป็นองค์กรมหาชน มีสามฝ่ายร่วมกัน คือภาครัฐบาล ภาคเอกชน โดย สภาหอการค้าไทยและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ซึ่งเหตุที่ต้องมี ศูนย์ดังกล่าว เพื่อต้องการส่งเสริมการผลิตในประเทศในแง่ปริมาณและคุณภาพ และขยายตลาดในเรื่องของศิลปาชีพไปทั่วโลก [21]

นายธานินทร์ กรัยวิเชียรกับงานเขียน

นายธานินทร์ กรัยวิเชียร สนใจงานเขียนและงานหนังสือพิมพ์มาตั้งแต่ยังเป็นนักเรียน เมื่อเข้ารับราชการ ก็ได้รับเลือกให้เป็นบรรณาธิการนิตยสารวิชากฎหมาย คือ “ดุลพาห” ของกระทรวงยุติธรรม และ “บทบัณฑิตย์” ของเนติบัณฑิตยสภา[22]

นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ยังมีความสนใจในเรื่องภาษาของกฎหมายไทยเป็นพิเศษ และได้เรียบเรียงหนังสือ บทความเกี่ยวกับภาษากฎหมาย เผยแพร่มากมาย สำหรับหนังสือที่ได้รับการยกย่อง คือหนังสือ “ภาษากฎหมายไทย” ซึ่งได้รับรางวัลประเภทสารคดีดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2511 จากองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) และได้ใช้เป็นตำราในการศึกษาวิชานิติศาสตร์ของทุกสถาบันการศึกษา หนังสือ “การตีความกฎหมาย” ก็ได้นำไปใช้อ้างอิงอย่างกว้างขวางในด้านความหมายของถ้อยคำและข้อความในภาษากฎหมายไทย สำหรับงานเขียนด้านกฎหมายอื่นๆ ได้แก่ คำแนะนำนักศึกษากฎหมาย คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลกับพยานบุคคล การชี้สองสถาน กฎหมายเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายไทยกับกฎหมายของประเทศแองโกลแซกซอน การปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น[23]

นอกจากงานเขียนด้านกฎหมาย นายธานินทร์ กรัยวิเชียรยังมีงานเขียนที่เกี่ยวกับด้านอื่นๆ ด้วย เช่น พระมหากษัตริย์ไทยในระบอบประชาธิปไตย ครูกับทางอยู่รอดของสังคมไทย ศาสนากับความมั่นคงของชาติ ลัทธิและวิธีการของคอมมิวนิสต์ เป็นต้น

ปัจจุบันนายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรียังคงมีงานเขียน บทความเกี่ยวกับกฎหมาย คุณธรรม จริยธรรมด้านต่างๆ เช่น หนังสือคุณธรรม จริยธรรมกับปัญหาเยาวชนในสังคมไทย เป็นต้น

สรุป

จากนักกฎหมายผู้มีความสามารถและได้รับการยอมรับ นายธานินทร์ กรัยวิเชียรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 14 เพื่อเข้ามาบริหารบ้านเมืองจากการเกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นช่วงเวลาหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองของไทย และภายหลังการพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายธานินทร์ กรัยวิเชียรได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2520 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี ยังคงมีภารกิจทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับงานกลั่นกรองพระราชกรณียกิจต่างๆ ในเบื้องต้นถวายแด่พระมหากษัตริย์ เพื่อประกอบพระบรมราชวินิจฉัย งานจัดการและดูแลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการหลวง มูลนิธิ ฯลฯ ต่างพระเนตรพระกรรณ และการปฏิบัติงานผู้แทนพระองค์หรือสนองพระราชกระแสเฉพาะเรื่องนั้นๆ เป็นการแบ่งเบาพระราชกรณียกิจ[24] รวมทั้งยังได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายหรือปาฐกถาพิเศษในโอกาสต่างๆ

ที่มา

คณะกรรมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธ.ค. 2550 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ธ ทรงเป็นร่มฉัตรรัฐสภา. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2550.

คณะองคมนตรี ภารกิจของคณะองคมนตรี [Online]. Access 20 กันยายน 2553. Available from http://www.ohmpps.go.th/privy/content.php?cg_name=%C0%D2%C3%A1%D4%A8%A2%CD%A7%A4%B3%D0%CD%A7%A4%C1%B9%B5%C3%D5.

คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สรรสาระรัฐธรรมนูญไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์, 2548.

จีรวัฒน์ ครองแก้ว. องคมนตรี ศักดิ์ศรีแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ดี ฟอร์ ไลฟ์, 2550.

ธนากิต. ประวัตินายกรัฐมนตรีไทย. กรุงเทพฯ : ปิรามิด, 2545.

ธานินทร์ กรัยวิเชียร. ภาษากฎหมายไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2538.

นรนิติ เศรษฐบุตรและสุรชัย ศิริไกร. เอกสารทางวิชาการ หมายเลข 32 ชีวประวัตินายกรัฐมนตรีไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2475-2529. มปท.,2529.

วิกิพีเดีย สารนุกรมเสรี. รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519 [Online]. Access 25 สิงหาคม 2552.

วีรชาติ ชุ่มสนิท. 24 นายกรัฐมนตรีไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทออลบุ๊คส์พับลิชชิ่ง จำกัด, 2549.

สำนักนายกรัฐมนตรี. คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ซึ่งนายธานินทร์ กรัยวิเชียรเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งคำปราศรัยของนายกรัฐมนตรี. กรุงเทพ : โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, 2521.

สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ. ผลงานของรัฐบาลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2520. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ข่าวพาณิชย์, 2521.

สินีพร มฤคพิทักษ์, “สัมภาษณ์พิเศษ” เนชั่นสุดสัปดาห์ 18,902 (กันยายน 2552) : 28.

The Secretariat of the Cabinet, Thailand. คณะรัฐมนตรี คณะที่ 39 [Online]. Access 7 September 2009. Available from http://www.cabinetthaigov.go.th/cab_39.htm

ดูเพิ่มเติม

ประกอบ โชประการ สมบูรณ์ คนฉลาด และประยุทธ สิทธิพันธ์. ปฏิวัติสามสมัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ รวมการพิมพ์, 2522.

นรนิติ เศรษฐบุตรและสุรชัย ศิริไกร. เอกสารทางวิชาการ หมายเลข 32 ชีวประวัตินายกรัฐมนตรีไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2475-2529. มปท.,2529

ลิขิต ธีรเวคิน. วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541.

วิกิพีเดีย สารนุกรมเสรี.รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519 [Online]. Access 25 สิงหาคม 2552.

เสนีย์ ปราโมช. ชีวลิขิต. กรุงเทพฯ : บริษัทนานมีบุ๊คส์ จำกัด, 2548.

สำนักนายกรัฐมนตรี. คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ซึ่งนายธานินทร์ กรัยวิเชียรเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งคำปราศรัยของนายกรัฐมนตรี. กรุงเทพ : โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, 2521.

สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ. ผลงานของรัฐบาลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2520. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ข่าวพาณิชย์, 2521.

สินีพร มฤคพิทักษ์. “สัมภาษณ์พิเศษ.” เนชั่นสุดสัปดาห์ 18, 109(11-17 กันยายน 2552 : 28-29.

อ้างอิง

  1. ธานินทร์ กรัยวิเชียร, ภาษากฎหมายไทย (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2538), 188.
  2. เรื่องเดียวกัน.
  3. ธานินทร์ กรัยวิเชียร, ภาษากฎหมายไทย, 189.
  4. วีรชาติ ชุ่มสนิท, 24 นายกรัฐมนตรีไทย (กรุงเทพฯ : บริษัทออลบุ๊คส์พับลิชชิ่ง จำกัด, 2549), 128.
  5. จีรวัฒน์ ครองแก้ว, องคมนตรี ศักดิ์ศรีแผ่นดิน (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ดี ฟอร์ ไลฟ์, 2550), 41.
  6. The Secretariat of the Cabinet, Thailand. คณะรัฐมนตรี คณะที่ 39 [Online]. Access 7 September 2009. Available from http://www.cabinetthaigov.go.th/cab_39.htm
  7. คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สรรสาระรัฐธรรมนูญไทย (กรุงเทพฯ : บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์, 2548), 523-524.
  8. The Secretariat of the Cabinet, Thailand. คณะรัฐมนตรี คณะที่ 39 [Online]. Access 7 September 2009. Available from http://www.cabinetthaigov.go.th/cab_39.htm
  9. สำนักนายกรัฐมนตรี , คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ซึ่งนายธานินทร์ กรัยวิเชียรเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งคำปราศรัยของนายกรัฐมนตรี (กรุงเทพ : โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, 2521),ก-ฐ.
  10. ลิขิต ธีรเวคิน, วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541),206.
  11. วิกิพีเดีย สารนุกรมเสรี.รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519 [Online]. Access 25 สิงหาคม 2552.
  12. เรื่องเดียวกัน.
  13. คณะทหารกลุ่มหนึ่งนำโดย พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ได้ทำการปฏิวัติเนื่องจากไม่พอใจการบริหารประเทศของรัฐบาล โดยอ้างความเสื่อมทรามของภาวะด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ แต่ในที่สุดรัฐบาลเป็นฝ่ายชนะสามารถปราบปรามได้สำเร็จ ฝ่ายปฏิวัติจึงกลายเป็นกบฏ พลเอกฉลาด หิรัญศิริถูกรัฐบาลส่งถอดยศและลงโทษประหารชีวิตในฐานะที่เป็นหัวหน้าก่อการกบฏ ส่วนผู้ร่วมก่อการหลายคนถูกจำคุก แต่ในเวลาต่อมาได้รับนิรโทษกรรม
  14. นรนิติ เศรษฐบุตรและสุรชัย ศิริไกร, เอกสารทางวิชาการ หมายเลข 32 ชีวประวัตินายกรัฐมนตรีไทยตั้งแต่พ.ศ. 2475-2529 (มปท.,2529),275.
  15. วิกิพีเดีย สารนุกรมเสรี.รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519 [Online]. Access 25 สิงหาคม 2552.
  16. ธนากิต, ประวัตินายกรัฐมนตรีไทย (กรุงเทพฯ : ปิรามิด,2545),292.
  17. สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ, ผลงานของรัฐบาลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2520. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ข่าวพาณิชย์, 2521),7-21.
  18. ธนากิต, ประวัตินายกรัฐมนตรีไทย (กรุงเทพฯ : ปิรามิด,2545),293.
  19. สินีพร มฤคพิทักษ์, “สัมภาษณ์พิเศษ” เนชั่นสุดสัปดาห์ 18,902 (กันยายน 2552) : 28.
  20. เรื่องเดียวกัน, 29.
  21. เรื่องเดียวกัน.
  22. ธานินทร์ กรัยวิเชียร, ภาษากฎหมายไทย (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2538), 189.
  23. เรื่องเดียวกัน.
  24. คณะองคมนตรี ภารกิจของคณะองคมนตรี [Online]. Access 20 กันยายน 2553. Available from http://www.ohmpps.go.th/privy/content.php?cg_name=%C0%D2%C3%A1%D4%A8%A2%CD%A7%A4%B3%D0%CD%A7%A4%C1%B9%B5%C3%D5.