ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บทเรียนและความท้าทายของประชานิยมกับการพัฒนาประชาธิปไตยและเศรษฐกิจของไทย"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง''' ''':''' อนุสรณ์ ธรรมใจ<sup>[1]</sup> | '''ผู้เรียบเรียง''' ''':''' รองศาสตราจารย์ ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ<sup>[1]</sup> | ||
== '''บทคัดย่อ''' == | == '''บทคัดย่อ''' == | ||
บทความทางวิชาการนี้ได้สังเคราะห์ความรู้และศึกษาพัฒนาการของประชานิยม บทเรียนและความท้าทายของประชานิยมในประเทศต่าง ๆ และผลของการดำเนินนโยบายประชานิยมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและประชาธิปไตยของไทย บทความทางวิชาการนี้ใช้การประเมินสถานภาพทางความรู้ สำรวจองค์ความรู้ งานวิจัย งานวิชาการเกี่ยวกับประชานิยมและใช้การศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) เป็นข้อมูลที่จัดทำขึ้นโดยอาศัยข้อมูลชั้นต้น ประชานิยมนั้นมีความหลากหลายในความหมายและแนวทางศึกษา สามารถนำไปหลอมรวมกับอุดมการณ์หลากหลายได้ ประชานิยมในฐานะอุดมการณ์ จึงมีแก่นสารบางเบา (thin-centered ideology) ปัญหาความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในทางเศรษฐกิจและสังคมในหลายประเทศรวมทั้งไทยเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เกิดการขยายตัวของนโยบายและแนวทางทางการเมืองแบบประชานิยมได้ ประชานิยมอาจช่วยบรรเทาปัญหาความเหลื่อมล้ำและความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจเฉพาะหน้าได้บ้างแต่ไม่สามารถแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้างได้ | บทความทางวิชาการนี้ได้สังเคราะห์ความรู้และศึกษาพัฒนาการของประชานิยม บทเรียนและความท้าทายของประชานิยมในประเทศต่าง ๆ และผลของการดำเนินนโยบายประชานิยมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและประชาธิปไตยของไทย บทความทางวิชาการนี้ใช้การประเมินสถานภาพทางความรู้ สำรวจองค์ความรู้ งานวิจัย งานวิชาการเกี่ยวกับประชานิยมและใช้การศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) เป็นข้อมูลที่จัดทำขึ้นโดยอาศัยข้อมูลชั้นต้น ประชานิยมนั้นมีความหลากหลายในความหมายและแนวทางศึกษา สามารถนำไปหลอมรวมกับอุดมการณ์หลากหลายได้ ประชานิยมในฐานะอุดมการณ์ จึงมีแก่นสารบางเบา (thin-centered ideology) ปัญหาความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในทางเศรษฐกิจและสังคมในหลายประเทศรวมทั้งไทยเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เกิดการขยายตัวของนโยบายและแนวทางทางการเมืองแบบประชานิยมได้ ประชานิยมอาจช่วยบรรเทาปัญหาความเหลื่อมล้ำและความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจเฉพาะหน้าได้บ้างแต่ไม่สามารถแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้างได้ | ||
ข้อค้นพบในเบื้องต้น กรณีของประเทศไทย ตัวเลขเชิงประจักษ์สะท้อนว่า การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี การขาดดุลงบประมาณ อัตราเงินเฟ้อ | ข้อค้นพบในเบื้องต้น กรณีของประเทศไทย ตัวเลขเชิงประจักษ์สะท้อนว่า การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี การขาดดุลงบประมาณ อัตราเงินเฟ้อ เป็นผลจากตัวแปรอื่น ๆ หรือปัจจัยอื่น ๆ มากกว่าปัจจัยจากนโยบายประชานิยม | ||
อย่างไรก็ตาม หลังปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา เมื่อพรรคการเมืองต่างแข่งขันในการใช้นโยบายประชานิยมมากขึ้นและเมื่อได้เข้ามาบริหารประเทศ | อย่างไรก็ตาม หลังปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา เมื่อพรรคการเมืองต่างแข่งขันในการใช้นโยบายประชานิยมมากขึ้นและเมื่อได้เข้ามาบริหารประเทศ ได้ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของการจัดทำงบประมาณขาดดุลเพื่อสนับสนุนมาตรการประชานิยมต่าง ๆ ที่หาเสียงไว้กับประชาชน สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีก็ทะยอยเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะปีที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำ | ||
กรณีของไทย ผลจากนโยบายและแนวทางประชานิยมทำให้สำนึกทางชนชั้นมีความแหลมคมมากขึ้น ประชานิยมและประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์ในทางบวกต่อกัน และประชานิยมส่งผลบวกมากกว่าผลลบต่อประชาธิปไตย แต่ไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนนักต่อพัฒนาการของเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democracy) หรือ อาจกล่าวได้ว่า ประชานิยม สามารถปรับเปลี่ยนให้ “เสรีประชาธิปไตย (Liberal Democracy) | กรณีของไทย ผลจากนโยบายและแนวทางประชานิยมทำให้สำนึกทางชนชั้นมีความแหลมคมมากขึ้น ประชานิยมและประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์ในทางบวกต่อกัน และประชานิยมส่งผลบวกมากกว่าผลลบต่อประชาธิปไตย แต่ไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนนักต่อพัฒนาการของเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democracy) หรือ อาจกล่าวได้ว่า ประชานิยม สามารถปรับเปลี่ยนให้ “เสรีประชาธิปไตย (Liberal Democracy) มีคุณภาพดียิ่งขึ้นหรือเป็นภัยคุกคามต่อเสรีประชาธิปไตยก็ได้ | ||
นโยบายประชานิยมบางนโยบายได้เป็นส่วนหนึ่งในการปรับเปลี่ยน “พฤติกรรมซื้อสิทธิขายเสียง” ในการเลือกตั้ง เป็น การแข่งขันในเชิงนโยบายที่สร้างความพึงพอใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง วัฒนธรรมในทางการเมืองแบบอุปถัมภ์ลดบทบาทลงระดับหนึ่ง การดำเนินการทางการเมืองแนวประชานิยมใช้ความพยายามในการสถาปนาความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์โดยมีผู้นำทางการเมืองเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับประชาชนโดยตรง ก้าวข้ามผ่านองค์กร กลไก หรือกลุ่มคนที่เป็นตัวกลาง อาจมีผลทำให้สถาบันภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอ่อนแอได้ในระยะยาว | นโยบายประชานิยมบางนโยบายได้เป็นส่วนหนึ่งในการปรับเปลี่ยน “พฤติกรรมซื้อสิทธิขายเสียง” ในการเลือกตั้ง เป็น การแข่งขันในเชิงนโยบายที่สร้างความพึงพอใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง วัฒนธรรมในทางการเมืองแบบอุปถัมภ์ลดบทบาทลงระดับหนึ่ง การดำเนินการทางการเมืองแนวประชานิยมใช้ความพยายามในการสถาปนาความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์โดยมีผู้นำทางการเมืองเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับประชาชนโดยตรง ก้าวข้ามผ่านองค์กร กลไก หรือกลุ่มคนที่เป็นตัวกลาง อาจมีผลทำให้สถาบันภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอ่อนแอได้ในระยะยาว | ||
บรรทัดที่ 15: | บรรทัดที่ 15: | ||
== '''บทนำ''' == | == '''บทนำ''' == | ||
นโยบายแบบประชานิยมได้กลายเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลต่าง ๆ ในหลายภูมิภาคของโลกในท่ามกลางปัญหาความเหลื่อมล้ำของระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ขณะเดียวกัน “[[ประชานิยม]]” | นโยบายแบบประชานิยมได้กลายเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลต่าง ๆ ในหลายภูมิภาคของโลกในท่ามกลางปัญหาความเหลื่อมล้ำของระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ขณะเดียวกัน “[[ประชานิยม]]” กลายเป็นยุทธศาสตร์และกลยุทธทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองและพรรคการเมืองต่าง ๆ ในการเอาชนะการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย แต่ก็ใช่ว่า “แนวทางแบบประชานิยม” จะเกิดขึ้นในประเทศที่มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีระบบการเลือกตั้งเท่านั้น ในระบอบอำนาจนิยมเอง ไม่ว่าจะเป็นระบอบอำนาจนิยมแบบเผด็จการทหาร หรือ ระบอบอำนาจนิยมภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์ล้วนมีแนวโน้มในการดำเนินการทางการเมืองแบบประชานิยม เนื่องจากโลกในศตวรรษที่ 21 ไม่ว่าจะเป็นระบอบการปกครองแบบไหน หากไม่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนเลยหรือไม่ได้รับการสนับสนุนจากมวลชนยากที่จะดำรงอยู่ได้อย่างมีเสถียรภาพ ยกเว้นต้องใช้รูปแบบการปกครองควบคุมแบบเบ็ดเสร็จ ปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร และใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ กดทับและกดขี่สิทธิมนุษยชนเท่านั้น ปรากฎการณ์เหล่านี้ เราเห็นอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก เช่น ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จทหารของเมียนมา ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จแอบอ้างลัทธิคอมมิวนิสต์ของเกาหลีเหนือ ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จแอบอ้างความเชื่อทางศาสนาแบบสุดโต่งแบบอิหร่าน ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จในรัสเซียที่มาจากการเลือกตั้งกำมะลอ เป็นต้น | ||
อย่างไรก็ตาม เกิดคำถามในทางวิชาการว่า แนวคิดแบบประชานิยมนั้นอยู่บนฐานความคิด ความเชื่อของลัทธิเศรษฐกิจการเมืองแบบใด? หรือ เป็นเพียงยุทธศาสตร์หรือกลยุทธทางการเมืองเพื่อเอาชนะในการเลือกตั้งหรือรักษาอำนาจการปกครองของผู้นำทางการเมือง | อย่างไรก็ตาม เกิดคำถามในทางวิชาการว่า แนวคิดแบบประชานิยมนั้นอยู่บนฐานความคิด ความเชื่อของลัทธิเศรษฐกิจการเมืองแบบใด? หรือ เป็นเพียงยุทธศาสตร์หรือกลยุทธทางการเมืองเพื่อเอาชนะในการเลือกตั้งหรือรักษาอำนาจการปกครองของผู้นำทางการเมือง พรรคการเมืองหรือระบอบการปกครองใด ๆ หรือเป็นเพียงพฤติกรรมทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองที่สร้างการเมืองที่ให้เกิดขั้วตรงกันข้ามกันระหว่าง “ประชาชน” กับ “อภิสิทธิ์ชนชั้นนำ” ในบางกรณีหรือบางประเทศเป็นเพียง “วาทกรรม” เพื่อการต่อสู้แย่งชิงผลประโยชน์ทางการเมือง เศรษฐกิจเท่านั้น รวมทั้งทำให้เกิดความสับสนระหว่าง “นโยบายประชานิยม” กับ “นโยบายสาธารณะ” ในรูปแบบต่างๆและนโยบายสวัสดิการสังคม การสำรวจงานศึกษา งานวิจัย และการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจ “ประชานิยม” เป็นเรื่องที่มีความสำคัญในยุคสมัยที่นโยบายแบบประชานิยมแพร่หลายในหลายประเทศทั่วโลก ประชานิยมฝ่ายขวาหรือฝ่ายซ้ายต่างเป็นปัจจัยท้าทายต่อระบอบเสรีประชาธิปไตยในหลายภูมิภาคของโลก นอกจากนี้ การศึกษาผลกระทบและความท้าทายของประชานิยมทั่วโลกให้ “บทเรียน” อย่างไรต่อการดำเนินนโยบายประชานิยมอันส่งผลต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจและประชาธิปไตยในประเทศไทย | ||
''' วัตถุประสงค์''' | ''' วัตถุประสงค์''' | ||
บรรทัดที่ 23: | บรรทัดที่ 23: | ||
1. ศึกษาพัฒนาการและความหลากหลายของประชานิยม | 1. ศึกษาพัฒนาการและความหลากหลายของประชานิยม | ||
2. ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดประชานิยม กับ | 2. ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดประชานิยม กับ แนวคิดทางเศรษฐกิจต่าง ๆ | ||
3. ศึกษาบทเรียนและความท้าทายของประชานิยมของประเทศต่าง ๆ | 3. ศึกษาบทเรียนและความท้าทายของประชานิยมของประเทศต่าง ๆ | ||
บรรทัดที่ 35: | บรรทัดที่ 35: | ||
''' นโยบายประชานิยม''' มักหมายถึง นโยบายที่เน้นการกระจายรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ มุ่งเป้าไปที่ประชาชนฐานล่างเพื่อสร้างความนิยมและมักไม่ค่อยสนใจต่อวินัยทางการเงินการคลังมากนัก มักนำไปสู่ปัญหาหนี้สาธารณะ ปัญหาทางด้านเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจและเงินเฟ้อสูง โดยประชานิยมคลาสสิกแบบละตินอเมริกามักมีความแนวเอียงไปทางสังคมนิยมหรือเป็นประชานิยมฝ่ายซ้าย ขณะที่นโยบายประชานิยมฝ่ายขวาได้รับอิทธิพลจากลัทธิเสรีนิยมใหม่และลัทธิชาตินิยม | ''' นโยบายประชานิยม''' มักหมายถึง นโยบายที่เน้นการกระจายรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ มุ่งเป้าไปที่ประชาชนฐานล่างเพื่อสร้างความนิยมและมักไม่ค่อยสนใจต่อวินัยทางการเงินการคลังมากนัก มักนำไปสู่ปัญหาหนี้สาธารณะ ปัญหาทางด้านเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจและเงินเฟ้อสูง โดยประชานิยมคลาสสิกแบบละตินอเมริกามักมีความแนวเอียงไปทางสังคมนิยมหรือเป็นประชานิยมฝ่ายซ้าย ขณะที่นโยบายประชานิยมฝ่ายขวาได้รับอิทธิพลจากลัทธิเสรีนิยมใหม่และลัทธิชาตินิยม | ||
''' การพัฒนาประชาธิปไตย''' หมายถึง การพัฒนาโครงสร้าง กลไก รูปแบบ เนื้อหา วัฒนธรรม ค่านิยม การเมืองการปกครองให้สอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน | ''' การพัฒนาประชาธิปไตย''' หมายถึง การพัฒนาโครงสร้าง กลไก รูปแบบ เนื้อหา วัฒนธรรม ค่านิยม การเมืองการปกครองให้สอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน และเป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย โดยหลักการสำคัญของประชาธิปไตย (Principles of Democracy) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ หลักการสำคัญข้อที่หนึ่ง หลักการอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน หลักการที่สอง หลักเสรีภาพ เป็น หลักการที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของประชาธิปไตย คือ สิทธิ (Right) เสรีภาพ (Liberty) และ อิสรภาพ (Freedom) หลักการที่สาม หลักเสมอภาค หลักการที่สี่ หลักภราดรภาพ คือหลักการว่ามนุษย์เราทั้งหลายล้วนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน | ||
''' การพัฒนาเศรษฐกิจ''' การพัฒนาเศรษฐกิจมีนิยามหลากหลาย ในความหมายแคบ การพัฒนาเศรษฐกิจ คือ การพัฒนาที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลัก คือ เน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) คำนิยามนี้เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1945) เป็นต้นมา การเติบโตทางเศรษฐกิจจะ วัดจากการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product) และการเพิ่มขึ้นของรายได้ต่อหัวของประชาชน (Income/GDP per capita) ในช่วงศตวรรษที่ 16 ถึง 19 การพัฒนาทางเศรษฐกิจมักหมายถึง การใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือในสร้างความมั่งคั่งและพัฒนาชาติอันเป็นอิทธิพลทางความคิดของลัทธิพาณิชยนิยม (Mercantilism) ต่อมา อิทธิพลทางความคิดแบบเสรีนิยมทางเศรษฐกิจและการค้าเสรีของนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษนาม “อดัม สมิธ” ได้ยุติอิทธิพลของลัทธิพาณิชยนิยมและลัทธิกีดกันทางการค้า การอธิบายการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความมั่งคั่งแห่งชาติจึงมุ่งไปที่ การพัฒนาตลาดเสรี การเปิดกว้างทางเศรษฐกิจ การแบ่งงานกันทำและผลิตภาพของปัจจัยการผลิต | ''' การพัฒนาเศรษฐกิจ''' การพัฒนาเศรษฐกิจมีนิยามหลากหลาย ในความหมายแคบ การพัฒนาเศรษฐกิจ คือ การพัฒนาที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลัก คือ เน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) คำนิยามนี้เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1945) เป็นต้นมา การเติบโตทางเศรษฐกิจจะ วัดจากการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product) และการเพิ่มขึ้นของรายได้ต่อหัวของประชาชน (Income/GDP per capita) ในช่วงศตวรรษที่ 16 ถึง 19 การพัฒนาทางเศรษฐกิจมักหมายถึง การใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือในสร้างความมั่งคั่งและพัฒนาชาติอันเป็นอิทธิพลทางความคิดของลัทธิพาณิชยนิยม (Mercantilism) ต่อมา อิทธิพลทางความคิดแบบเสรีนิยมทางเศรษฐกิจและการค้าเสรีของนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษนาม “อดัม สมิธ” ได้ยุติอิทธิพลของลัทธิพาณิชยนิยมและลัทธิกีดกันทางการค้า การอธิบายการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความมั่งคั่งแห่งชาติจึงมุ่งไปที่ การพัฒนาตลาดเสรี การเปิดกว้างทางเศรษฐกิจ การแบ่งงานกันทำและผลิตภาพของปัจจัยการผลิต | ||
บรรทัดที่ 52: | บรรทัดที่ 52: | ||
ประชานิยมนั้นมีความหลากหลายในความหมายและแนวทางการศึกษา มีการศึกษา “ประชานิยม” ในฐานะอุดมการณ์ การศึกษาแนวทางนี้นำโดย คาส มุดเด (Cas Mudde) องค์ประกอบสำคัญของประชานิยมในฐานะอุดมการณ์ คือ ประการแรก หัวใจสำคัญของประชานิยม คือ ประชาชน ประชาชนมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การเมืองต้องสะท้อนเจตจำนงของประชาชน และ คำว่า “ประชาชน” นี้สามารถนำไปหลอมรวมกับอุดมการณ์หลากหลายได้ ตั้งแต่ อนุรักษ์นิยมขวาจัด สังคมนิยมหรือชาตินิยม คาส มุดเด จึงมอง “ประชานิยม” ในฐานะอุดมการณ์ที่มีแก่นสารบางเบา (thin-centered ideology) โดยมองสังคมแยกออกเป็นสองฝ่ายชัดเจนระหว่าง “ประชาชน” กับ “ชนชั้นนำ” ประการที่สอง ประชาชนและชนชั้นนำเป็นฝ่ายตรงข้ามกัน ประการที่สาม ความสัมพันธ์ขั้วตรงกันข้ามระหว่างประชาชนกับชนชั้นนำอยู่บนฐานเชิงศีลธรรม ในลักษณะที่ประชาชนเป็นผู้ชอบธรรม ผู้นำเป็นอภิสิทธิ์ชนที่เอาเปรียบและฉ้อฉล อย่างไรก็ตาม คำว่า “ประชาชน” และ “ชนชั้นนำ” ถูกนิยามอย่างหลากหลายขึ้นกับบริบทของประชานิยมในแต่ละประเทศ | ประชานิยมนั้นมีความหลากหลายในความหมายและแนวทางการศึกษา มีการศึกษา “ประชานิยม” ในฐานะอุดมการณ์ การศึกษาแนวทางนี้นำโดย คาส มุดเด (Cas Mudde) องค์ประกอบสำคัญของประชานิยมในฐานะอุดมการณ์ คือ ประการแรก หัวใจสำคัญของประชานิยม คือ ประชาชน ประชาชนมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การเมืองต้องสะท้อนเจตจำนงของประชาชน และ คำว่า “ประชาชน” นี้สามารถนำไปหลอมรวมกับอุดมการณ์หลากหลายได้ ตั้งแต่ อนุรักษ์นิยมขวาจัด สังคมนิยมหรือชาตินิยม คาส มุดเด จึงมอง “ประชานิยม” ในฐานะอุดมการณ์ที่มีแก่นสารบางเบา (thin-centered ideology) โดยมองสังคมแยกออกเป็นสองฝ่ายชัดเจนระหว่าง “ประชาชน” กับ “ชนชั้นนำ” ประการที่สอง ประชาชนและชนชั้นนำเป็นฝ่ายตรงข้ามกัน ประการที่สาม ความสัมพันธ์ขั้วตรงกันข้ามระหว่างประชาชนกับชนชั้นนำอยู่บนฐานเชิงศีลธรรม ในลักษณะที่ประชาชนเป็นผู้ชอบธรรม ผู้นำเป็นอภิสิทธิ์ชนที่เอาเปรียบและฉ้อฉล อย่างไรก็ตาม คำว่า “ประชาชน” และ “ชนชั้นนำ” ถูกนิยามอย่างหลากหลายขึ้นกับบริบทของประชานิยมในแต่ละประเทศ | ||
ประชานิยมอาจหมายถึง วาทกรรม และมีการศึกษา “ประชานิยม” มุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้าง “วาทกรรม” หรือ รูปแบบการแสดงออกทางการเมือง มีการสร้างวาทกรรมโดยใช้ข้ออ้างในเชิงศีลธรรมที่ขีดเส้นระหว่าง “ประชาชน” ซึ่งเป็นฐานมวลชนสนับสนุนของผู้นำประชานิยม และ “ชนชั้นนำ” ที่เป็นขั้วตรงข้ามทางการเมืองของผู้นำประชานิยม | ประชานิยมอาจหมายถึง วาทกรรม และมีการศึกษา “ประชานิยม” มุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้าง “วาทกรรม” หรือ รูปแบบการแสดงออกทางการเมือง มีการสร้างวาทกรรมโดยใช้ข้ออ้างในเชิงศีลธรรมที่ขีดเส้นระหว่าง “ประชาชน” ซึ่งเป็นฐานมวลชนสนับสนุนของผู้นำประชานิยม และ “ชนชั้นนำ” ที่เป็นขั้วตรงข้ามทางการเมืองของผู้นำประชานิยม วาทกรรมนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะของผู้นำแปรเปลี่ยนไปตามสถานการณ์โดยมีแกนอุดมการณ์แบบหลวม ๆ บางครั้งผู้นำอาจใช้วาทกรรมแบบประชานิยม แม้ตัวเองจะไม่ได้มีอุดมการณ์แบบประชานิยมก็ได้ เราได้เห็นผู้นำฟิลิปปินส์อย่าง โรดริโก ดูแตร์เต นายกรัฐมนตรีของไทยอย่าง ดร. ทักษิณ ชินวัตร ประธานาธิบดีบราซิลผู้นำประชานิยมฝ่ายขวาอย่าง ฌาอีร์ โบลโซนารู หรือ ประธานาธิบดีบราซิลผู้นำประชานิยมฝ่ายซ้าย อย่าง ลูอิซ อินาชิโอ ลูลา ดา ซิลวา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาอย่างบิล คลินตัน บารัค โอบามา จากพรรคแดโมแครต ริชาร์ด นิกสัน และ โดนัล ทรัมป์ จาก พรรครีพับรีกัน ล้วนใช้วาทกรรมแบบประชานิยมเพื่อเรียกคะแนนเสียงจากมวลชน แนวทางการศึกษาประชานิยมโดยนำเรื่อง “วาทกรรม” มาเป็นแกนกลางในศึกษาจึงมีปัญหาในทางวิชาการไม่น้อย | ||
ประชานิยมอาจหมายถึง ยุทธศาสตร์ทางการเมือง เป็นยุทธศาสตร์ วิธีการของผู้นำทางการเมือง หรือ ขบวนการทางการเมืองเพื่อระดมความสนับสนุนทางการเมืองจากมวลชน ยุทธศาสตร์ทางการเมืองนี้มุ่งสร้างความสัมพันธ์โดยตรงระหว่าง ผู้นำทางการเมือง หรือ ขบวนการทางการเมือง กับ ประชาชน หรือ มวลชนผู้สนับสนุน เป็นปฏิสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์ทางการเมือง มีงานทางวิชาการบางส่วนศึกษาถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาคประชาสังคมกับพรรคการเมือง ประชานิยม อาจหมายถึงกลยุทธหรือนโยบายทางการเมืองเพื่อมุ่งสร้างคู่ตรงข้ามในทางการเมืองเพื่อเอาชนะในทางการเมือง โดยสร้างสภาวะให้เกิดขัดแย้งระหว่าง “ประชาชน” กับ “ชนชั้นนำ” | ประชานิยมอาจหมายถึง ยุทธศาสตร์ทางการเมือง เป็นยุทธศาสตร์ วิธีการของผู้นำทางการเมือง หรือ ขบวนการทางการเมืองเพื่อระดมความสนับสนุนทางการเมืองจากมวลชน ยุทธศาสตร์ทางการเมืองนี้มุ่งสร้างความสัมพันธ์โดยตรงระหว่าง ผู้นำทางการเมือง หรือ ขบวนการทางการเมือง กับ ประชาชน หรือ มวลชนผู้สนับสนุน เป็นปฏิสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์ทางการเมือง มีงานทางวิชาการบางส่วนศึกษาถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาคประชาสังคมกับพรรคการเมือง ประชานิยม อาจหมายถึงกลยุทธหรือนโยบายทางการเมืองเพื่อมุ่งสร้างคู่ตรงข้ามในทางการเมืองเพื่อเอาชนะในทางการเมือง โดยสร้างสภาวะให้เกิดขัดแย้งระหว่าง “ประชาชน” กับ “ชนชั้นนำ” | ||
บรรทัดที่ 61: | บรรทัดที่ 61: | ||
ประชานิยมฝ่ายซ้ายนั้นมีลักษณะร่วมบางประการกับแนวคิดสังคมนิยม โดยเฉพาะแนวคิดแบบลัทธิสังคมนิยมประชาธิปไตย แนวคิดนี้จะจัดอยู่ในกลุ่มความคิดแบบสังคมนิยมแต่ก็มีความแตกต่างจากสังคมนิยมมาร์กซิสม์ พรรคการเมืองในยุโรปที่ได้รับความนิยมและจัดตั้งรัฐบาลส่วนหนึ่งเป็นพรรคการเมืองแนวทางแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย ลัทธินี้มีนักคิดคนสำคัญ คือ เอ็ดเวิร์ด เบิร์นสไตน์ มีความแตกต่างจากพวกมาร์กซิสต์ สังคมนิยมประชาธิปไตยแบบเฟเบี้ยนเชื่อว่าจริยธรรม (Ethics) มีจริงและสังคมนิยมเป็นสิ่งที่ดี ฉะนั้นสังคมมนุษย์จึงควรเปลี่ยนไปสู่ระบบสังคมนิยมไม่เหมือนกับความคิดของมาร์กซ์ ซึ่งไม่ได้กล่าวว่าสังคมนิยมเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี แต่กล่าวว่าสังคมมนุษย์จะเปลี่ยนไปสู่ระบบสังคมนิยมและระบบคอมมิวนิสต์ในท้ายที่สุด เพราะว่าเป็นกฎของประวัติศาสตร์ ในทางปรัชญาแล้วพวกเฟเบี้ยนเชื่อตามพวกประโยชน์นิยม (Utilitarianism) ของเบนแทม ซึ่งต้องการนำความสุขมากที่สุดมาสู่คนจำนวนมากที่สุด (The Greatest Happiness for The Greatest number) สังคมนิยมประชาธิปไตยแบบเฟเบี้ยนหรือลัทธิเฟเบี้ยนนั้นต้องการระบบสังคมนิยมพร้อมกับระบบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพทางการเมืองและเน้นว่าเส้นทางไปสู่อุดมคติของลัทธิสังคมนิยมจะต้องดำเนินการผ่านกลไกรัฐสภา ไม่ใช่ก่อตั้งขบวนการปฏิวัติที่ใช้กองกำลังติดอาวุธโค่นล้มอำนาจรัฐเดิม แต่ลัทธิเฟเบี้ยนเน้นการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป (Gradualism) ยิ่งกว่าลัทธิเบิร์นสไตน์ | ประชานิยมฝ่ายซ้ายนั้นมีลักษณะร่วมบางประการกับแนวคิดสังคมนิยม โดยเฉพาะแนวคิดแบบลัทธิสังคมนิยมประชาธิปไตย แนวคิดนี้จะจัดอยู่ในกลุ่มความคิดแบบสังคมนิยมแต่ก็มีความแตกต่างจากสังคมนิยมมาร์กซิสม์ พรรคการเมืองในยุโรปที่ได้รับความนิยมและจัดตั้งรัฐบาลส่วนหนึ่งเป็นพรรคการเมืองแนวทางแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย ลัทธินี้มีนักคิดคนสำคัญ คือ เอ็ดเวิร์ด เบิร์นสไตน์ มีความแตกต่างจากพวกมาร์กซิสต์ สังคมนิยมประชาธิปไตยแบบเฟเบี้ยนเชื่อว่าจริยธรรม (Ethics) มีจริงและสังคมนิยมเป็นสิ่งที่ดี ฉะนั้นสังคมมนุษย์จึงควรเปลี่ยนไปสู่ระบบสังคมนิยมไม่เหมือนกับความคิดของมาร์กซ์ ซึ่งไม่ได้กล่าวว่าสังคมนิยมเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี แต่กล่าวว่าสังคมมนุษย์จะเปลี่ยนไปสู่ระบบสังคมนิยมและระบบคอมมิวนิสต์ในท้ายที่สุด เพราะว่าเป็นกฎของประวัติศาสตร์ ในทางปรัชญาแล้วพวกเฟเบี้ยนเชื่อตามพวกประโยชน์นิยม (Utilitarianism) ของเบนแทม ซึ่งต้องการนำความสุขมากที่สุดมาสู่คนจำนวนมากที่สุด (The Greatest Happiness for The Greatest number) สังคมนิยมประชาธิปไตยแบบเฟเบี้ยนหรือลัทธิเฟเบี้ยนนั้นต้องการระบบสังคมนิยมพร้อมกับระบบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพทางการเมืองและเน้นว่าเส้นทางไปสู่อุดมคติของลัทธิสังคมนิยมจะต้องดำเนินการผ่านกลไกรัฐสภา ไม่ใช่ก่อตั้งขบวนการปฏิวัติที่ใช้กองกำลังติดอาวุธโค่นล้มอำนาจรัฐเดิม แต่ลัทธิเฟเบี้ยนเน้นการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป (Gradualism) ยิ่งกว่าลัทธิเบิร์นสไตน์ | ||
ส่วน ลัทธิสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ หรือ ลัทธิมาร์กซิสม์เคยเป็นลัทธิเศรษฐกิจการเมืองที่มีอิทธิพล เป็นที่นิยมและนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองและระบบเศรษฐกิจในหลายประเทศ ในศตวรรษที่ 20 เช่น สงครามกลางเมืองและเหตุการณ์ปฏิวัติบอลเชวิค ในจักรวรรดิรัสเซียในปี ค.ศ.1917 (พ.ศ. 2460) เหตุการณ์สงครามกลางเมืองและการปฏิวัติโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในปี ค.ศ. 1949 (พ.ศ. 2492) หรือการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบอบในกลุ่มประเทศอินโดจีน ละตินอเมริกา เป็นต้น อิทธิพลของสำนักคิดแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ได้ลดลงอย่างมากหลังการสิ้นสุดของยุคสงครามเย็น การล่มสลายลงของกำแพงเบอร์ลิน การเปลี่ยนแปลงนโยบายมาใช้แนวทางระบบเศรษฐกิจแบบตลาดของจีน ตั้งแต่ยุคเติ้งเสี่ยวผิงเป็นต้นมา การเริ่มต้นปฏิรูปการเมือง (กลาสน็อค) และ การปฏิรูปเศรษฐกิจ (เปเรสตรอยก้า) ของประธานาธิบดีกอร์บาชอฟ ผู้นำคนสุดท้ายของสหภาพโซเวียตรัสเซีย “การมองประวัติศาสตร์แบบวัตถุนิยม (the materialist conception of history)” หรือ วัตถุนิยมแบบประวัติศาสตร์ (historical materialism) มาร์กซ์สรุปการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ลักษณะนี้ไว้ในคำนำหนังสือ A Contribution to the Critique of Political Economy (1859) “ในการผลิตของสังคมซึ่งมนุษย์กระทำไปนั้น มนุษย์จะเข้าสู่ความสัมพันธ์ที่แน่นอนซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้และเป็นอิสระจากความปรารถนาของมนุษย์ ความสัมพันธ์ในการผลิต (relations of production) นี้จะสอดคล้องกับลำดับขั้นพัฒนาการเฉพาะของพลังการผลิตทางวัตถุและโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (economic structure) ของสังคมเป็นพื้นฐานที่แท้จริงซึ่งบนพื้นฐานนี้มีโครงสร้างส่วนบนด้านกฎหมายและการเมือง (legal and political superstructure) ผุดขึ้นและมีจิตสำนึกของสังคม (social consciousness) หรือระบบวัฒนธรรมและระบบการศึกษา วิถีการผลิต (mode of production) ของชีวิตวัตถุกำหนดกระบวนการทางสังคม ไม่ใช่จิตสำนึกของมนุษย์ที่กำหนด เมื่อพลังทางการผลิตเปลี่ยนไปย่อมทำให้ความสัมพันธ์ทางการผลิตเปลี่ยนไป หากโครงสร้างส่วนบนหรือระบบการเมืองไม่เปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องจะนำไปสู่การปฏิวัติทางสังคม (social revolution) | ส่วน ลัทธิสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ หรือ ลัทธิมาร์กซิสม์เคยเป็นลัทธิเศรษฐกิจการเมืองที่มีอิทธิพล เป็นที่นิยมและนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองและระบบเศรษฐกิจในหลายประเทศ ในศตวรรษที่ 20 เช่น สงครามกลางเมืองและเหตุการณ์ปฏิวัติบอลเชวิค ในจักรวรรดิรัสเซียในปี ค.ศ. 1917 (พ.ศ. 2460) เหตุการณ์สงครามกลางเมืองและการปฏิวัติโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในปี ค.ศ. 1949 (พ.ศ. 2492) หรือการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบอบในกลุ่มประเทศอินโดจีน ละตินอเมริกา เป็นต้น อิทธิพลของสำนักคิดแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ได้ลดลงอย่างมากหลังการสิ้นสุดของยุคสงครามเย็น การล่มสลายลงของกำแพงเบอร์ลิน การเปลี่ยนแปลงนโยบายมาใช้แนวทางระบบเศรษฐกิจแบบตลาดของจีน ตั้งแต่ยุคเติ้งเสี่ยวผิงเป็นต้นมา การเริ่มต้นปฏิรูปการเมือง (กลาสน็อค) และ การปฏิรูปเศรษฐกิจ (เปเรสตรอยก้า) ของประธานาธิบดีกอร์บาชอฟ ผู้นำคนสุดท้ายของสหภาพโซเวียตรัสเซีย “การมองประวัติศาสตร์แบบวัตถุนิยม (the materialist conception of history)” หรือ วัตถุนิยมแบบประวัติศาสตร์ (historical materialism) มาร์กซ์สรุปการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ลักษณะนี้ไว้ในคำนำหนังสือ A Contribution to the Critique of Political Economy (1859) “ในการผลิตของสังคมซึ่งมนุษย์กระทำไปนั้น มนุษย์จะเข้าสู่ความสัมพันธ์ที่แน่นอนซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้และเป็นอิสระจากความปรารถนาของมนุษย์ ความสัมพันธ์ในการผลิต (relations of production) นี้จะสอดคล้องกับลำดับขั้นพัฒนาการเฉพาะของพลังการผลิตทางวัตถุและโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (economic structure) ของสังคมเป็นพื้นฐานที่แท้จริงซึ่งบนพื้นฐานนี้มีโครงสร้างส่วนบนด้านกฎหมายและการเมือง (legal and political superstructure) ผุดขึ้นและมีจิตสำนึกของสังคม (social consciousness) หรือระบบวัฒนธรรมและระบบการศึกษา วิถีการผลิต (mode of production) ของชีวิตวัตถุกำหนดกระบวนการทางสังคม ไม่ใช่จิตสำนึกของมนุษย์ที่กำหนด เมื่อพลังทางการผลิตเปลี่ยนไปย่อมทำให้ความสัมพันธ์ทางการผลิตเปลี่ยนไป หากโครงสร้างส่วนบนหรือระบบการเมืองไม่เปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องจะนำไปสู่การปฏิวัติทางสังคม (social revolution) | ||
ประชานิยมฝ่ายซ้ายแม้นมี “ผู้ใช้แรงงาน” “เกษตรรายย่อย” และ “ประชาชนฐานราก” เป็นผู้สนับสนุนทางการเมือง แต่อุดมการณ์ประชานิยมฝ่ายซ้ายมิได้ก้าวข้ามการเอาชนะทางการเมืองไปสู่การเน้นไปที่ความขัดแย้งทางชนชั้นและการปฏิวัติทางสังคม อย่างเช่น ความสำเร็จของพรรค MAS ของโบลิเวียจากนโยบายและโครงการประชานิยมที่มีฐานความคิดในเชิงอุดมการณ์แบบสังคมนิยมบวกชาตินิยม โดย นายอีโว โมลาเรส ได้โจมตีการดำเนินนโยบายแบบเสรีนิยมใหม่ของรัฐบาลก่อนหน้าด้วยนโยบายที่เน้นการกระจายรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำภายใต้กรอบความคิดแบบสังคมนิยมผสานชาตินิยม และ สร้างภาพให้พรรคการเมืองเป็นตัวแทนของชนชั้นล่างและชนพื้นเมือง | ประชานิยมฝ่ายซ้ายแม้นมี “ผู้ใช้แรงงาน” “เกษตรรายย่อย” และ “ประชาชนฐานราก” เป็นผู้สนับสนุนทางการเมือง แต่อุดมการณ์ประชานิยมฝ่ายซ้ายมิได้ก้าวข้ามการเอาชนะทางการเมืองไปสู่การเน้นไปที่ความขัดแย้งทางชนชั้นและการปฏิวัติทางสังคม อย่างเช่น ความสำเร็จของพรรค MAS ของโบลิเวียจากนโยบายและโครงการประชานิยมที่มีฐานความคิดในเชิงอุดมการณ์แบบสังคมนิยมบวกชาตินิยม โดย นายอีโว โมลาเรส ได้โจมตีการดำเนินนโยบายแบบเสรีนิยมใหม่ของรัฐบาลก่อนหน้าด้วยนโยบายที่เน้นการกระจายรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำภายใต้กรอบความคิดแบบสังคมนิยมผสานชาตินิยม และ สร้างภาพให้พรรคการเมืองเป็นตัวแทนของชนชั้นล่างและชนพื้นเมือง ประชานิยมฝ่ายซ้ายของเวเนซูเอลาแบบ ฮูโก ชาเวซ ก็ดำเนินการด้วยกลยุทธอย่างเดียวกัน โดยไม่ได้นำไปสู่การปฏิวัติทางสังคมตามแนวคิดของสังคมนิยมคอมมิวนิสต์แต่อย่างใด | ||
== '''ประชานิยม กับ แนวคิดเสรีนิยม''' == | == '''ประชานิยม กับ แนวคิดเสรีนิยม''' == | ||
บรรทัดที่ 70: | บรรทัดที่ 70: | ||
ลัทธิเศรษฐกิจเสรีนิยมที่ อดัม สมิธ นำเสนอนี้เป็นปฏิปักษ์โดยตรงต่อระบอบเศรษฐกิจแบบศักดินาที่ปัจเจกบุคคลไม่มีเสรีภาพในการประกอบการ อย่างไรก็ตามแนวคิดของลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจนี้มักถูกโต้แย้งว่า การแลกเปลี่ยนอย่างเสรีไม่มีอยู่จริง ตลาดเสรีเป็นโลกในอุดมคติ การแลกเปลี่ยนบางครั้งเกิดจากอำนาจที่เหนือกว่าบังคับให้ส่งมอบสินค้า ทำให้ไม่ใช่การแลกเปลี่ยนที่เสรีจริง ขณะเดียวกันก็มีการตีความในภายหลังว่า ลัทธิเสรีนิยมหรือทุนนิยมของ อดัม สมิธ สนใจแต่เรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งก็ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงนัก | ลัทธิเศรษฐกิจเสรีนิยมที่ อดัม สมิธ นำเสนอนี้เป็นปฏิปักษ์โดยตรงต่อระบอบเศรษฐกิจแบบศักดินาที่ปัจเจกบุคคลไม่มีเสรีภาพในการประกอบการ อย่างไรก็ตามแนวคิดของลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจนี้มักถูกโต้แย้งว่า การแลกเปลี่ยนอย่างเสรีไม่มีอยู่จริง ตลาดเสรีเป็นโลกในอุดมคติ การแลกเปลี่ยนบางครั้งเกิดจากอำนาจที่เหนือกว่าบังคับให้ส่งมอบสินค้า ทำให้ไม่ใช่การแลกเปลี่ยนที่เสรีจริง ขณะเดียวกันก็มีการตีความในภายหลังว่า ลัทธิเสรีนิยมหรือทุนนิยมของ อดัม สมิธ สนใจแต่เรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งก็ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงนัก | ||
ลัทธิเสรีนิยมใหม่ที่พัฒนาต่อยอดมาจากลัทธิเสรีนิยม จึงส่งเสริมการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจอันครอบคลุมการเปิดเสรีการค้า | ลัทธิเสรีนิยมใหม่ที่พัฒนาต่อยอดมาจากลัทธิเสรีนิยม จึงส่งเสริมการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจอันครอบคลุมการเปิดเสรีการค้า การเปิดเสรีภาคการเงินและภาคบริการต่าง ๆ การลดบทบาทของรัฐและเพิ่มบทบาทเอกชนจึงสนับสนุนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ให้ความสำคัญกับการผ่อนคลายกฎระเบียบและเน้นย้ำระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ประชานิยมฝ่ายขวาที่อยู่ฐานคิดแบบเสรีนิยมใหม่จึงย้อนแย้งกับลักษณะของประชานิยมที่มักจะให้ความสำคัญกับสวัสดิการของคนฐานราก การผลักดันแปรรูปรัฐวิสาหกิจย่อมทำให้การบริการของรัฐต่อประชาชนบางด้านลดลง แต่ประชานิยมฝ่ายขวามักจะสร้างระบบความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจโดยการใช้วิธีสังคมสงเคราะห์รวมทั้งสร้างความนิยมทางการเมืองผ่านนโยบายเงินโอนสงเคราะห์ตามความต้องการของผู้นำ | ||
== '''ประชานิยม กับ แนวคิดชาตินิยม''' == | == '''ประชานิยม กับ แนวคิดชาตินิยม''' == | ||
บรรทัดที่ 96: | บรรทัดที่ 96: | ||
การใช้นโยบายประชานิยมอย่างไม่ระมัดระวังจะนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจ หากมีการใช้นโยบายประชานิยมอย่างไม่ระมัดระวังจนเกินเลยไปทำลายกรอบนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ผลที่ตามมาจะเป็นวงจรอุบาทว์ (Vicious Circle) ซึ่งจะฉุดดึงให้ระบบเศรษฐกิจโดยรวมจมดิ่งไปสู่หายนะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้วงจรอุบาทว์จะมีลักษณะดังนี้เริ่มต้นจากการขาดดุลงบประมาณภาครัฐโดยการที่รัฐต้องกู้ยืมเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในโครงการประชานิยม แล้วประชาชนก็จะใช้จ่ายเกินตัวเนื่องจากการสนับสนุนของรัฐบาล เกิดการขาดดุลการค้าระหว่างประเทศ(บัญชีเดินสะพัด)เนื่องจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนใช้จ่ายบริโภคมากกว่าที่ตนผลิตได้จึงต้องนำสินค้าเข้าจากต่างประเทศเพื่อสนองการบริโภคที่เกินตัว ต้องกู้เงินจากต่างประเทศเข้ามาเพื่อใช้จ่ายในการนำเข้าสินค้าเพื่อการบริโภคที่เกินตัว การขาดดุลทั้งสามภาคส่วน (ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการค้าระหว่างประเทศ) จะสะสมและเพิ่มปริมาณจนมีขนาดทำให้ระบบเศรษฐกิจแกว่งตัวหลุดจากดุลยภาพจนเกิด วิกฤตการเงินเช่นที่เคยเกิดมาแล้วในกรณีวิกฤตหนี้สาธารณะของประเทศแถบลาตินอเมริกาในช่วงทศวรรษ 2530 วิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ปี 2551-2552 วิกฤตหนี้สาธารณะของกรีซ สเปน อิตาลี ปี 2552-2553 | การใช้นโยบายประชานิยมอย่างไม่ระมัดระวังจะนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจ หากมีการใช้นโยบายประชานิยมอย่างไม่ระมัดระวังจนเกินเลยไปทำลายกรอบนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ผลที่ตามมาจะเป็นวงจรอุบาทว์ (Vicious Circle) ซึ่งจะฉุดดึงให้ระบบเศรษฐกิจโดยรวมจมดิ่งไปสู่หายนะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้วงจรอุบาทว์จะมีลักษณะดังนี้เริ่มต้นจากการขาดดุลงบประมาณภาครัฐโดยการที่รัฐต้องกู้ยืมเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในโครงการประชานิยม แล้วประชาชนก็จะใช้จ่ายเกินตัวเนื่องจากการสนับสนุนของรัฐบาล เกิดการขาดดุลการค้าระหว่างประเทศ(บัญชีเดินสะพัด)เนื่องจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนใช้จ่ายบริโภคมากกว่าที่ตนผลิตได้จึงต้องนำสินค้าเข้าจากต่างประเทศเพื่อสนองการบริโภคที่เกินตัว ต้องกู้เงินจากต่างประเทศเข้ามาเพื่อใช้จ่ายในการนำเข้าสินค้าเพื่อการบริโภคที่เกินตัว การขาดดุลทั้งสามภาคส่วน (ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการค้าระหว่างประเทศ) จะสะสมและเพิ่มปริมาณจนมีขนาดทำให้ระบบเศรษฐกิจแกว่งตัวหลุดจากดุลยภาพจนเกิด วิกฤตการเงินเช่นที่เคยเกิดมาแล้วในกรณีวิกฤตหนี้สาธารณะของประเทศแถบลาตินอเมริกาในช่วงทศวรรษ 2530 วิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ปี 2551-2552 วิกฤตหนี้สาธารณะของกรีซ สเปน อิตาลี ปี 2552-2553 | ||
โครงการประชานิยมอาจทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้เสียประโยชน์ (ผู้เสียภาษี) กับผู้รับประโยชน์ โดยผู้เสียประโยชน์จะต่อต้านโดยลดการผลิตลงทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมลดลง ภาษีที่รัฐจัดเก็บได้จะลดลงตามไปด้วยทำให้รัฐบาลต้องกู้ยืมมากขึ้น หากมาตรการประชานิยมเป็นมาตรการโอนเงินหรือแจกเงินให้ประชาชนอย่างไร้หลักการ จะนำมาสู่ปัญหาวินัยทางการคลังและประชาชนผู้รับประโยชน์จะรอรับความช่วยเหลือจากรัฐและทำงานน้อยลงเนื่องจากไม่ทำงานก็ไม่เป็นไร รอรับผลประโยชน์ฟรีจากรัฐได้ เป็นผลให้ผลผลิตโดยรวมของชาติลดลง อัตราการขยายทางเศรษฐกิจในระยะยาวจะเติบโตต่ำ รัฐบาลต้องเพิ่มผลประโยชน์ตามโครงการประชานิยมขึ้นไปเรื่อยๆเพื่อคงไว้ (หรือเพิ่ม) ฐานคะแนนเสียงของพรรคการเมืองที่ตนสังกัดในขณะที่ประชาชนก็จะอ่อนแอลง ผลผลิตลดลง | โครงการประชานิยมอาจทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้เสียประโยชน์ (ผู้เสียภาษี) กับผู้รับประโยชน์ โดยผู้เสียประโยชน์จะต่อต้านโดยลดการผลิตลงทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมลดลง ภาษีที่รัฐจัดเก็บได้จะลดลงตามไปด้วยทำให้รัฐบาลต้องกู้ยืมมากขึ้น หากมาตรการประชานิยมเป็นมาตรการโอนเงินหรือแจกเงินให้ประชาชนอย่างไร้หลักการ จะนำมาสู่ปัญหาวินัยทางการคลังและประชาชนผู้รับประโยชน์จะรอรับความช่วยเหลือจากรัฐและทำงานน้อยลงเนื่องจากไม่ทำงานก็ไม่เป็นไร รอรับผลประโยชน์ฟรีจากรัฐได้ เป็นผลให้ผลผลิตโดยรวมของชาติลดลง อัตราการขยายทางเศรษฐกิจในระยะยาวจะเติบโตต่ำ รัฐบาลต้องเพิ่มผลประโยชน์ตามโครงการประชานิยมขึ้นไปเรื่อยๆเพื่อคงไว้ (หรือเพิ่ม) ฐานคะแนนเสียงของพรรคการเมืองที่ตนสังกัดในขณะที่ประชาชนก็จะอ่อนแอลง ผลผลิตลดลง ภาษีที่จัดเก็บได้ก็ลดลงรัฐบาลจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากกู้ยืมเงินจากทั้งภายในและนอกประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โครงการประชานิยมในบางลักษณะทำให้มีการจัดสรรทรัพยากรใหม่ โดยการโอนทรัพยากรจากหน่วยผลิตที่มีประสิทธิภาพไปสู่หน่วยบริโภคทำให้การบริโภคโดยรวมเพิ่มขึ้น แต่การลงทุนโดยรวมลดลง (เนื่องจากเงินออมลดลง)ซึ่ งจะทำให้การผลิตในอนาคตลดลงทำให้การจัดสรรทรัพยากรด้อยประสิทธิภาพลงกว่าสถานะเดิม และอาจนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจได้ ขณะเดียวกัน มาตรการประชานิยมบางประเภทจะช่วยจัดสรรผลประโยชน์ใหม่และลดความเหลื่อมล้ำลง หากมีการโอนผลประโยชน์จากลุ่มมั่งคั่งในสังคมไปยังกลุ่มคนยากจนอย่างมีประสิทธิภาพ | ||
การก้าวข้ามพ้นประชานิยมแบบละตินอเมริกาจึงไม่ใช่เรื่องง่าย หากประชาชนเสพติดประชานิยมแล้ว | การก้าวข้ามพ้นประชานิยมแบบละตินอเมริกาจึงไม่ใช่เรื่องง่าย หากประชาชนเสพติดประชานิยมแล้ว ขณะเดียวกันเราต้องแยกความแตกต่างระหว่างโครงการประชานิยมที่เป็นเรื่องการช่วยเหลือเป็นครั้งคราว กับ โครงการที่เป็นสวัสดิการของรัฐดูแลกลุ่มประชาชนรายได้น้อยหรือระบบรัฐสวัสดิการที่เป็นนโยบายที่สร้างระบบขึ้นมาดูแลประชาชนที่มีความยั่งยืนกว่า | ||
== '''กรณีประเทศไทย: ประชานิยมและพัฒนาการของเศรษฐกิจไทย''' == | == '''กรณีประเทศไทย: ประชานิยมและพัฒนาการของเศรษฐกิจไทย''' == | ||
บรรทัดที่ 105: | บรรทัดที่ 105: | ||
การศึกษาประชานิยมในไทยไม่สามารถนำเอา “นโยบาย” เพียงตัวแปรเดียวมาพิจารณาเนื่องจาก รัฐบาลถูกมองเป็นประชานิยมต่างมีชุดนโยบายที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในหลายกรณีทั่วโลก ขณะเดียวกัน หากใช้เพียง “นโยบาย” เป็นตัวหลักในการศึกษาก็พบอีกว่า รัฐบาลของคณะรัฐประหาร รัฐบาลอภิสิทธิ์จัดตั้งในค่ายทหาร ต่างมีนโยบายสาธารณะหลายนโยบายคล้ายนโยบายพรรคไทยรักไทย หรือ บางนโยบายมีลักษณะประชานิยมมากยิ่งกว่ารัฐบาลไทยรักไทย การกำหนดองค์ประกอบประชานิยมว่า ต้องยึดโยงกับประชาชน และ สร้างคู่ตรงข้ามทางศีลธรรมระหว่างประชาชนกับชนชั้นนำผู้ฉ้อฉล จะทำให้สามารถพิจารณาความเป็น “ประชานิยม” ได้ชัดเจนขึ้น จากการศึกษายังไม่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า นโยบายประชานิยมในไทยนำมาสู่ความขัดแย้งอย่างรุนแรงในสังคม และนำมาสู่การรัฐประหารและการปกครองของระบอบเผด็จการทหาร หรือ สร้างความถดถอยในเศรษฐกิจไทย ซึ่งควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2544-2567 นอกจากนี้ ควรศึกษาถึง ความขัดแย้งระหว่างพรรคการเมืองและประชาชนกลุ่มต่าง ๆ อันเป็นผลจากนโยบายประชานิยมอีกด้วย | การศึกษาประชานิยมในไทยไม่สามารถนำเอา “นโยบาย” เพียงตัวแปรเดียวมาพิจารณาเนื่องจาก รัฐบาลถูกมองเป็นประชานิยมต่างมีชุดนโยบายที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในหลายกรณีทั่วโลก ขณะเดียวกัน หากใช้เพียง “นโยบาย” เป็นตัวหลักในการศึกษาก็พบอีกว่า รัฐบาลของคณะรัฐประหาร รัฐบาลอภิสิทธิ์จัดตั้งในค่ายทหาร ต่างมีนโยบายสาธารณะหลายนโยบายคล้ายนโยบายพรรคไทยรักไทย หรือ บางนโยบายมีลักษณะประชานิยมมากยิ่งกว่ารัฐบาลไทยรักไทย การกำหนดองค์ประกอบประชานิยมว่า ต้องยึดโยงกับประชาชน และ สร้างคู่ตรงข้ามทางศีลธรรมระหว่างประชาชนกับชนชั้นนำผู้ฉ้อฉล จะทำให้สามารถพิจารณาความเป็น “ประชานิยม” ได้ชัดเจนขึ้น จากการศึกษายังไม่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า นโยบายประชานิยมในไทยนำมาสู่ความขัดแย้งอย่างรุนแรงในสังคม และนำมาสู่การรัฐประหารและการปกครองของระบอบเผด็จการทหาร หรือ สร้างความถดถอยในเศรษฐกิจไทย ซึ่งควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2544-2567 นอกจากนี้ ควรศึกษาถึง ความขัดแย้งระหว่างพรรคการเมืองและประชาชนกลุ่มต่าง ๆ อันเป็นผลจากนโยบายประชานิยมอีกด้วย | ||
อย่างไรก็ตาม นโยบายสาธารณะบางนโยบายมีลักษณะเป็นนโยบายประชานิยม และ สามารถจัดเข้าอยู่ในกลุ่มนโยบายประชานิยมตามเกณฑ์ที่ได้ให้คำนิยามไว้ในบทความนี้ นโยบายประชานิยมที่ได้ดำเนินการในหลายรัฐบาลที่ผ่านมาโดยเฉพาะภายใต้รัฐบาลไทยรักไทยและพรรคการเมืองสืบเนื่องจากพรรคไทยรักไทย (พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย) นโยบายเศรษฐกิจที่ถูกเป็นเป้าโจมตีว่าเป็นนโยบายที่มุ่งเอาใจฐานเสียงโดยขาดความรับผิดชอบต่อภาระทางการคลัง นโยบายประชานิยมในละตินอเมริกาที่มักถูกอ้างอิงว่าคล้ายนโยบายของรัฐบาลไทยรักไทยอยู่บ่อยครั้ง หากพิจารณาในรายละเอียดก็พบว่า ไม่ได้เหมือนกันแต่อย่างใด | อย่างไรก็ตาม นโยบายสาธารณะบางนโยบายมีลักษณะเป็นนโยบายประชานิยม และ สามารถจัดเข้าอยู่ในกลุ่มนโยบายประชานิยมตามเกณฑ์ที่ได้ให้คำนิยามไว้ในบทความนี้ นโยบายประชานิยมที่ได้ดำเนินการในหลายรัฐบาลที่ผ่านมาโดยเฉพาะภายใต้รัฐบาลไทยรักไทยและพรรคการเมืองสืบเนื่องจากพรรคไทยรักไทย (พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย) นโยบายเศรษฐกิจที่ถูกเป็นเป้าโจมตีว่าเป็นนโยบายที่มุ่งเอาใจฐานเสียงโดยขาดความรับผิดชอบต่อภาระทางการคลัง นโยบายประชานิยมในละตินอเมริกาที่มักถูกอ้างอิงว่าคล้ายนโยบายของรัฐบาลไทยรักไทยอยู่บ่อยครั้ง หากพิจารณาในรายละเอียดก็พบว่า ไม่ได้เหมือนกันแต่อย่างใด และไม่อาจเหมารวมเรียกนโยบายสมัยรัฐบาลไทยรักไทยว่าเป็น “นโยบายประชานิยม” ได้เต็มปาก มีบางเพียงนโยบายเท่านั้นที่เป็นประชานิยมแบบอ่อนๆ แต่นโยบายส่วนใหญ่ก็เป็นแนวนโยบายเพื่อการแข่งขันในการชนะการเลือกตั้งเท่านั้น | ||
'''ตาราง 1 :''' ตารางเปรียบเทียบ ดัชนีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ หนี้สาธารณะต่อจีดีพี งบประมาณขาดดุล ก่อนและหลังใช้นโยบายประชานิยม พ.ศ. 2540-2567 | '''ตาราง 1 :''' ตารางเปรียบเทียบ ดัชนีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ หนี้สาธารณะต่อจีดีพี งบประมาณขาดดุล ก่อนและหลังใช้นโยบายประชานิยม พ.ศ. 2540-2567 | ||
บรรทัดที่ 291: | บรรทัดที่ 291: | ||
''' '''แหล่งที่มา สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ, สำนักงบประมาณ, สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรียบเรียงโดย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัลฯ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย | ''' '''แหล่งที่มา สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ, สำนักงบประมาณ, สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรียบเรียงโดย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัลฯ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย | ||
หลังวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ในพ.ศ. 2540 สถานการณ์ความยากจน ความยากลำบากทางเศรษฐกิจ การล้มละลายของธุรกิจและสถาบันการเงิน เป็นเงื่อนไขให้เกิดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เศรษฐกิจและการเมือง รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ออกแบบให้รัฐบาลมีความเข้มแข็งและเสถียรภาพพร้อมกับการมีระบบตรวจสอบถ่วงดุลเพิ่มขึ้น พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล รัฐบาลไทยรักไทยได้ดำเนินนโยบายหลายนโยบายซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น “[[นโยบายประชานิยม]]” ต่อมาคำว่า “ประชานิยม” “นโยบายประชานิยม” จึงถูกใช้เป็นวาทกรรมทางการเมืองแพร่หลายมากขึ้น | |||
หากพิจารณาจากตัวเลขดัชนีเศรษฐกิจจากตารางที่ 1 ข้างต้น พบข้อสรุปเบื้องต้นว่า ช่วงหลังวิกฤตการณ์เศรษฐกิจใน พ.ศ. 2540 (พ.ศ. 2540-2543) อัตราเงินเฟ้อสูงเพิ่มขึ้นเป็นผลจากการอ่อนตัวของค่าเงินบาทอย่างรุนแรงและรวดเร็วเป็นสำคัญ หนี้สาธารณะต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากระดับ 40.18% ในพ.ศ. 2540 เป็น 59.98% ในพ.ศ. 2543 เป็นผลจากหดตัวของเศรษฐกิจสองปีต่อเนื่อง คือ ในพ.ศ. 2540-2541 รายได้ภาษีลดลงเพราะมีธุรกิจต่าง ๆ ปิดกิจการจำนวนมาก อัตราการว่างงานพุ่งขึ้น รัฐบาลมีความจำเป็นต้องเพิ่มการใช้จ่ายเพื่อแก้ปัญหาและกระตุ้นเศรษฐกิจทำให้ต้องใช้งบประมาณขาดดุลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ช่วงเวลาที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีการใช้นโยบายประชานิยมในช่วงรัฐบาลไทยรักไทย กลับปรากฎว่า สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ใน พ.ศ. 2544-2549 การขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นในบางปีในช่วงเวลาดังกล่าวและสามารถจัดทำงบประมาณสมดุลได้ใน พ.ศ. 2548-2549 และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยช่วงพ.ศ. 2544-2549 ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาอื่น ๆ ในระหว่างปี พ.ศ. 2540-2567 ข้อค้นพบในเบื้องต้น กรณีของประเทศไทย ตัวเลขเชิงประจักษ์สะท้อนว่า การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี การขาดดุลงบประมาณ อัตราเงินเฟ้อ เป็นผลจากตัวแปรอื่น ๆ หรือปัจจัยอื่น ๆ มากกว่า ปัจจัยจากนโยบายประชานิยม | |||
หากพิจารณาจากตัวเลขดัชนีเศรษฐกิจจากตารางที่ 1 ข้างต้น พบข้อสรุปเบื้องต้นว่า | |||
อย่างไรก็ตาม หลังปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา เมื่อพรรคการเมืองต่างแข่งขันในการใช้นโยบายประชานิยมมากขึ้นและเมื่อได้เข้ามาบริหารประเทศ ได้ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของการจัดทำงบประมาณขาดดุลเพื่อสนับสนุนมาตรการประชานิยมต่างๆที่หาเสียงไว้กับประชาชน สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีก็ทะยอยเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะปีที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำ แต่ การขาดดุลงบประมาณและสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิดและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจติดลบมากกว่า 6% และ รัฐบาลต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการเยียวยาธุรกิจและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์และต้องหยุดทำงานสูญเสียรายได้ มีการใช้มาตรการแจกเงินและโอนเงินให้กับประชาชนจำนวนมากที่ประสบความยากลำบากทางเศรษฐกิจ การแจกเงินหรือโอนเงินช่วยเหลือในลักษณะนื้ถือเป็นมาตรการประชานิยมหรือไม่เป็นสิ่งที่ต้องมีการนิยามให้ชัดเจน | อย่างไรก็ตาม หลังปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา เมื่อพรรคการเมืองต่างแข่งขันในการใช้นโยบายประชานิยมมากขึ้นและเมื่อได้เข้ามาบริหารประเทศ ได้ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของการจัดทำงบประมาณขาดดุลเพื่อสนับสนุนมาตรการประชานิยมต่างๆที่หาเสียงไว้กับประชาชน สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีก็ทะยอยเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะปีที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำ แต่ การขาดดุลงบประมาณและสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิดและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจติดลบมากกว่า 6% และ รัฐบาลต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการเยียวยาธุรกิจและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์และต้องหยุดทำงานสูญเสียรายได้ มีการใช้มาตรการแจกเงินและโอนเงินให้กับประชาชนจำนวนมากที่ประสบความยากลำบากทางเศรษฐกิจ การแจกเงินหรือโอนเงินช่วยเหลือในลักษณะนื้ถือเป็นมาตรการประชานิยมหรือไม่เป็นสิ่งที่ต้องมีการนิยามให้ชัดเจน | ||
บรรทัดที่ 311: | บรรทัดที่ 309: | ||
ประชานิยมและประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์ในทางบวกต่อกัน และประชานิยมส่งผลบวกมากกว่าผลลบต่อประชาธิปไตย แต่ไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนนักต่อพัฒนาการของเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democracy) หรือ อาจกล่าวได้ว่า ประชานิยม สามารถปรับเปลี่ยนให้ “เสรีประชาธิปไตย (Liberal Democracy) มีคุณภาพดียิ่งขึ้น หรือ เป็นภัยคุกคามต่อเสรีประชาธิปไตยก็ได้ บทความนี้ได้ศึกษาและสำรวจผลบวกและผลลบของประชานิยมที่มีต่อประชาธิปไตยและเสรีประชาธิปไตย พร้อมทำความเข้าใจปัจจัยหรือภาวะที่ทำให้เกิดผลในลักษณะดังกล่าวโดยสังเขป | ประชานิยมและประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์ในทางบวกต่อกัน และประชานิยมส่งผลบวกมากกว่าผลลบต่อประชาธิปไตย แต่ไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนนักต่อพัฒนาการของเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democracy) หรือ อาจกล่าวได้ว่า ประชานิยม สามารถปรับเปลี่ยนให้ “เสรีประชาธิปไตย (Liberal Democracy) มีคุณภาพดียิ่งขึ้น หรือ เป็นภัยคุกคามต่อเสรีประชาธิปไตยก็ได้ บทความนี้ได้ศึกษาและสำรวจผลบวกและผลลบของประชานิยมที่มีต่อประชาธิปไตยและเสรีประชาธิปไตย พร้อมทำความเข้าใจปัจจัยหรือภาวะที่ทำให้เกิดผลในลักษณะดังกล่าวโดยสังเขป | ||
จากประเมินสถานะองค์ความรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง “ประชานิยม” และ “ประชาธิปไตย” พบว่า เมื่อประชานิยม สามารถปรับเปลี่ยนให้คุณภาพประชาธิปไตยดีขึ้น (Corrective to the quality of democracy) มักจะเน้นไปที่ผลของ “ประชานิยม” ผนึกรวมประชาชนผู้ด้อยโอกาสและประชาชนฐานรากชายขอบเข้าสู่ระบบการช่วยเหลือหรือระบบสวัสดิการโดยรัฐ ข้อแรก ประชานิยมทำให้ “เสียง” ของกลุ่มคนที่ชนชั้นนำไม่ได้ใส่ใจและนำประเด็นปัญหาต่างๆของประชาชนเสียงข้างมากผู้เงียบเฉยสู่ความสนใจของสาธารณชน ข้อสอง “ประชานิยม” สามารถขับเคลื่อน และบูรณาการ “กลุ่มคน” หรือ “ภาคส่วน” ที่ถูกทอดทิ้งให้เข้ามาอยู่ในระบบการเมือง และนำเสนอนโยบายที่กลุ่มคนเหล่านี้พึงพอใจและได้ประโยชน์ ข้อสาม “ประชานิยม” สามารถสร้างความเชื่อมโยงทางด้าน “แนวคิด” และ “อุดมการณ์” สร้างพันธมิตรและแนวร่วมทางการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญต่อพลวัตของระบบพรรคการเมืองและการเป็นตัวแทนทางการเมือง ข้อสี่ “ประชานิยม” สร้างความรับผิดชอบทางประชาธิปไตย (Democratic Accountability) | จากประเมินสถานะองค์ความรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง “ประชานิยม” และ “ประชาธิปไตย” พบว่า เมื่อประชานิยม สามารถปรับเปลี่ยนให้คุณภาพประชาธิปไตยดีขึ้น (Corrective to the quality of democracy) มักจะเน้นไปที่ผลของ “ประชานิยม” ผนึกรวมประชาชนผู้ด้อยโอกาสและประชาชนฐานรากชายขอบเข้าสู่ระบบการช่วยเหลือหรือระบบสวัสดิการโดยรัฐ ข้อแรก ประชานิยมทำให้ “เสียง” ของกลุ่มคนที่ชนชั้นนำไม่ได้ใส่ใจและนำประเด็นปัญหาต่างๆของประชาชนเสียงข้างมากผู้เงียบเฉยสู่ความสนใจของสาธารณชน ข้อสอง “ประชานิยม” สามารถขับเคลื่อน และบูรณาการ “กลุ่มคน” หรือ “ภาคส่วน” ที่ถูกทอดทิ้งให้เข้ามาอยู่ในระบบการเมือง และนำเสนอนโยบายที่กลุ่มคนเหล่านี้พึงพอใจและได้ประโยชน์ ข้อสาม “ประชานิยม” สามารถสร้างความเชื่อมโยงทางด้าน “แนวคิด” และ “อุดมการณ์” สร้างพันธมิตรและแนวร่วมทางการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญต่อพลวัตของระบบพรรคการเมืองและการเป็นตัวแทนทางการเมือง ข้อสี่ “ประชานิยม” สร้างความรับผิดชอบทางประชาธิปไตย (Democratic Accountability) โดยทำให้นโยบายและประเด็นต่าง ๆ อยู่ในปริมณฑลทางการเมือง มากกว่า ปริมณฑลทางด้านเศรษฐกิจหรือทางด้านตุลาการ ข้อห้า “ประชานิยม” สามารถนำมิติความขัดแย้งทางการเมือง (Conflictive Dimension of Politics) เกิดความคึกคักขึ้นผ่านการสร้างความคิดเห็นสาธารณะและการเคลื่อนไหวอันนำไปสู่กระบวนการสร้างประชาธิปไตย | ||
ส่วนการประเมินผลกระทบของ “ประชานิยม” ในทางลบนั้นมักจะมุ่งความสนใจไปที่ความอ่อนแอของสถาบันทางการเมือง การบ่อนทำลายสิทธิและผลประโยชน์ของคนกลุ่มน้อย ข้อแรก “ประชานิยม” อ้างแนวความคิด หรือ แนวปฏิบัติ เรื่อง อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน เพื่อโต้แย้งต่อ ระบบตรวจสอบถ่วงดุลและการแบ่งแยกอำนาจในระบบเสรีประชาธิปไตย ข้อสอง อาจมีการหลบหลีกและเพิกเฉยต่อสิทธิของเสียงข้างน้อยด้วยการอ้างหลักการเสียงข้างมาก ข้อสาม อาจก่อให้เกิดการแตกแยกทางการเมืองระหว่างผู้สนับสนุนและผู้ต่อต้านประชานิยม และ เป็นอุปสรรคต่อความมีเสถียรภาพทางการเมือง ข้อสี่ เกิดภาวะแบ่งแยกคนออกเป็น “คนดี” หรือ “คนชั่ว” โดยพิจารณาจากว่าเขาเหล่านี้เห็นด้วยกับเราหรือไม่ ทำให้การเมืองแห่งการประนีประนอมและสร้างฉันทามติร่วมเป็นไปได้ยากขึ้นด้วยการ Moralization of Politics ข้อสี่ ประชานิยมอาจเปลี่ยนผ่านการเมืองไปสู่อำนาจของประชามติเป็นใหญ่ซึ่งบางครั้งอาจทำให้ความชอบธรรมและอำนาจของสถาบันการเมืองและองค์กรของรัฐที่ไม่ผ่านระบบเลือกตั้งที่ยึดถือธรรมาภิบาลอ่อนแอลงได้ ข้อห้า การเปิดพื้นที่ให้กับผู้นำจากเสียงข้างมากที่ไม่ใช่ชนชั้นนำอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันรุนแรงอันก่อให้เกิดปัญหาทางเสถียรภาพของระบอบประชาธิปไตยได้ | ส่วนการประเมินผลกระทบของ “ประชานิยม” ในทางลบนั้นมักจะมุ่งความสนใจไปที่ความอ่อนแอของสถาบันทางการเมือง การบ่อนทำลายสิทธิและผลประโยชน์ของคนกลุ่มน้อย ข้อแรก “ประชานิยม” อ้างแนวความคิด หรือ แนวปฏิบัติ เรื่อง อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน เพื่อโต้แย้งต่อ ระบบตรวจสอบถ่วงดุลและการแบ่งแยกอำนาจในระบบเสรีประชาธิปไตย ข้อสอง อาจมีการหลบหลีกและเพิกเฉยต่อสิทธิของเสียงข้างน้อยด้วยการอ้างหลักการเสียงข้างมาก ข้อสาม อาจก่อให้เกิดการแตกแยกทางการเมืองระหว่างผู้สนับสนุนและผู้ต่อต้านประชานิยม และ เป็นอุปสรรคต่อความมีเสถียรภาพทางการเมือง ข้อสี่ เกิดภาวะแบ่งแยกคนออกเป็น “คนดี” หรือ “คนชั่ว” โดยพิจารณาจากว่าเขาเหล่านี้เห็นด้วยกับเราหรือไม่ ทำให้การเมืองแห่งการประนีประนอมและสร้างฉันทามติร่วมเป็นไปได้ยากขึ้นด้วยการ Moralization of Politics ข้อสี่ ประชานิยมอาจเปลี่ยนผ่านการเมืองไปสู่อำนาจของประชามติเป็นใหญ่ซึ่งบางครั้งอาจทำให้ความชอบธรรมและอำนาจของสถาบันการเมืองและองค์กรของรัฐที่ไม่ผ่านระบบเลือกตั้งที่ยึดถือธรรมาภิบาลอ่อนแอลงได้ ข้อห้า การเปิดพื้นที่ให้กับผู้นำจากเสียงข้างมากที่ไม่ใช่ชนชั้นนำอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันรุนแรงอันก่อให้เกิดปัญหาทางเสถียรภาพของระบอบประชาธิปไตยได้ | ||
งานวิจัยในเชิงประจักษ์หลายกรณียืนยันผลบวกและผลลบที่มีต่อพัฒนาการของเสรีประชาธิปไตย แม้นงานวิชาการเหล่านี้อาจใช้คำนิยาม “ประชานิยม” แตกต่างกันบ้างและไม่ได้แยกแยะผลกระทบเกิดจาก | งานวิจัยในเชิงประจักษ์หลายกรณียืนยันผลบวกและผลลบที่มีต่อพัฒนาการของเสรีประชาธิปไตย แม้นงานวิชาการเหล่านี้อาจใช้คำนิยาม “ประชานิยม” แตกต่างกันบ้างและไม่ได้แยกแยะผลกระทบเกิดจาก นโยบายประชานิยมโดยตรงหรือแกนอุดมการณ์ของนโยบายประชานิยม นั้น ๆ กรณีเชิงประจักษ์ในหลายประเทศและหลายช่วงเวลา รัฐบาลประชานิยมจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อประชาธิปไตยอ่อนแอในประเทศละตินอเมริกาหลายประเทศ และผลกระทบทางลบของประชานิยมจะแสดงผลอย่างชัดเจน เช่น กรณี Hugo Chavez เวเนซูเอลา กรณี Alberto Fujimori เปรู ขณะที่ รัฐบาลประชานิยมในประเทศที่มีประชาธิปไตยมีความเข้มแข็งแบบในยุโรปบางประเทศ ประชานิยมจะมีผลทั้งในทางบวกและทางลบปานกลาง เพราะประชานิยมจะถูกถ่วงดุลโดยเสรีประชาธิปไตยอันเข้มแข็ง และ เสรีประชาธิปไตยถูกถ่วงดุลโดยประชานิยมที่ให้น้ำหนักกับคนฐานรากและพุ่งเป้าความช่วยเหลือให้ประชาชนด้อยโอกาส เช่น กรณี รัฐบาล Schussel ออสเตรีย พรรคการเมืองประชานิยมฝ่ายค้านในประเทศประชาธิปไตยเข้มแข็งจะไม่มีบทบาทมากนักเนื่องจากมีสภาพสังคมเศรษฐกิจมีความก้าวหน้าเป็นธรรมอยู่แล้ว ส่วนพรรคการเมืองแนวประชานิยมที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจรัฐในประเทศประชาธิปไตยอ่อนแอจะเป็นพลังปรับเปลี่ยนเสรีประชาธิปไตยให้ดีขึ้นมากกว่าเป็นภัยคุกคามต่อประชาธิปไตย | ||
กระแสประชานิยมฝ่ายขวาเกิดขึ้นในยุโรปเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อปัญหาทางเศรษฐกิจตกต่ำปัญหาฐานะทางการคลัง ปัญหาการว่างงานในอัตราสูง ผลกระทบจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ (Economic Integration) ประกอบกับการที่ยุโรปต้องเผชิญคลื่นผู้อพยพจำนวนมาก กระแสต่อต้านต่างชาติ ต่อต้านผู้อพยพจึงเกิดขึ้น พรรคการเมืองฝ่ายขวาได้ชูแนวทางการเมืองแบบชาตินิยม ต่อต้านโลกาภิวัตน์ ต่อต้านสหภาพยุโรป และมุ่งหาฐานสนับสนุนจากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโลกาภิวัตน์และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป | กระแสประชานิยมฝ่ายขวาเกิดขึ้นในยุโรปเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อปัญหาทางเศรษฐกิจตกต่ำปัญหาฐานะทางการคลัง ปัญหาการว่างงานในอัตราสูง ผลกระทบจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ (Economic Integration) ประกอบกับการที่ยุโรปต้องเผชิญคลื่นผู้อพยพจำนวนมาก กระแสต่อต้านต่างชาติ ต่อต้านผู้อพยพจึงเกิดขึ้น พรรคการเมืองฝ่ายขวาได้ชูแนวทางการเมืองแบบชาตินิยม ต่อต้านโลกาภิวัตน์ ต่อต้านสหภาพยุโรป และมุ่งหาฐานสนับสนุนจากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโลกาภิวัตน์และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป | ||
== '''กรณีประเทศไทย บทบาทของประชานิยมต่อพัฒนาการประชาธิปไตยในประเทศไทย''' == | == '''กรณีประเทศไทย บทบาทของประชานิยมต่อพัฒนาการประชาธิปไตยในประเทศไทย''' == | ||
การเกิดประชานิยมในไทยเป็นผลจากสถานการณ์แวดล้อมหลังวิกฤตการณ์เศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 (ปัจจัยเฉพาะหน้า) | การเกิดประชานิยมในไทยเป็นผลจากสถานการณ์แวดล้อมหลังวิกฤตการณ์เศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 (ปัจจัยเฉพาะหน้า) และยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในเชิงพื้นที่ระหว่างเมืองใหญ่และชนบทอย่างมากและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มคนต่าง ๆ (ปัจจัยเชิงโครงสร้างระยะยาว) สภาพความเหลื่อมล้ำ ภาวะความเดือนร้อนและยากลำบากของประชาชนและกิจการขนาดเล็กขนาดกลางได้สร้างบริบทแวดล้อมนำมาสู่การออกแบบนโยบายทางเศรษฐกิจที่มีลักษณะประชานิยม ประกอบกับ การเป็นผู้นำที่เข้มแข็งและการสร้างความเชื่อมโยงกับ “ประชาชน” ของ ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย รัฐบาลไทยรักไทย มีความจริงจังในการแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำ ผลจากนโยบายและแนวทางประชานิยมทำให้สำนึกทางชนชั้นมีความแหลมคมมากขึ้น ประชาชนรากหญ้าตระหนักถึงคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยที่สามารถนำมาซึ่งผลประโยชน์จากนโยบายที่พวกเขาเลือกได้ พรรคการเมืองต่างๆได้เริ่มเห็นถึงภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปของการเมืองไทย เริ่มนำเสนอนโยบายแนวประชานิยมเพื่อแรงสนับสนุนทางการเมืองและเล็งเห็นประโยชน์จากการเชื่อมโยงกับมวลชนโดยตรง วาทกรรม และ แนวทางแบบประชานิยมเริ่มขยายใหญ่มากขึ้นหลังการรัฐประหารปี พ.ศ. 2549 และกระแสสูงของความขัดแย้งและวิกฤตการณ์ทางการเมือง ฝ่ายหนึ่งต้องการใช้ “ประชานิยม” เพื่อสร้างฐานทางการเมืองเชื่อมโยงกับประชาชนเพื่อต่อสู้กับขั้วทางการเมืองตรงกันข้าม อีกฝ่ายหนึ่งใช้วาทกรรม “ประชานิยม” โจมตีฝ่ายตรงกันข้ามว่า ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจและภาระทางการคลังจำนวนมาก | ||
นโยบายประชานิยมบางนโยบายได้เป็นส่วนหนึ่งในการปรับเปลี่ยน “พฤติกรรมซื้อสิทธิขายเสียง” ในการเลือกตั้ง เป็น การแข่งขันในเชิงนโยบายที่สร้างความพึงพอใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งวัฒนธรรมในทางการเมืองแบบอุปถัมภ์ลดบทบาทลงระดับหนึ่ง ทำให้เสียงของประชาชนผ่านการเลือกตั้งมีความหมายในการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ดีขึ้น สิ่งนี้ทำให้ค่านิยมประชาธิปไตยพัฒนาก้าวหน้าขึ้น หากไม่มีการสะดุดลงจากความขัดแย้งทางการเมืองจนนำมาสู่วิกฤตการณ์ทางการเมือง และ จบลงด้วยการรัฐประหารถึงสองครั้ง คือ รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และ รัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตยจะดีขึ้นและประชาธิไตยไทยก็จะพัฒนาต่อไป ขณะเดียวกัน การดำเนินการทางการเมืองแนวประชานิยมใช้ความพยายามในการสถาปนาความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์โดยมีผู้นำทางการเมืองเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับประชาชนโดยตรง ข้ามผ่านองค์กร กลไก หรือกลุ่มคนที่เป็นตัวกลาง อาจมีผลทำให้สถาบันภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอ่อนแอได้ในระยะยาว | นโยบายประชานิยมบางนโยบายได้เป็นส่วนหนึ่งในการปรับเปลี่ยน “พฤติกรรมซื้อสิทธิขายเสียง” ในการเลือกตั้ง เป็น การแข่งขันในเชิงนโยบายที่สร้างความพึงพอใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งวัฒนธรรมในทางการเมืองแบบอุปถัมภ์ลดบทบาทลงระดับหนึ่ง ทำให้เสียงของประชาชนผ่านการเลือกตั้งมีความหมายในการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ดีขึ้น สิ่งนี้ทำให้ค่านิยมประชาธิปไตยพัฒนาก้าวหน้าขึ้น หากไม่มีการสะดุดลงจากความขัดแย้งทางการเมืองจนนำมาสู่วิกฤตการณ์ทางการเมือง และ จบลงด้วยการรัฐประหารถึงสองครั้ง คือ รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และ รัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตยจะดีขึ้นและประชาธิไตยไทยก็จะพัฒนาต่อไป ขณะเดียวกัน การดำเนินการทางการเมืองแนวประชานิยมใช้ความพยายามในการสถาปนาความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์โดยมีผู้นำทางการเมืองเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับประชาชนโดยตรง ข้ามผ่านองค์กร กลไก หรือกลุ่มคนที่เป็นตัวกลาง อาจมีผลทำให้สถาบันภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอ่อนแอได้ในระยะยาว | ||
บรรทัดที่ 326: | บรรทัดที่ 324: | ||
การเมืองแนวประชานิยมทำให้การเคลื่อนไหวและเสียงของขบวนการภาคประชาสังคมได้รับความสนใจมากขึ้นในกระบวนการทางการเมืองและกลไกประชาธิปไตย ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ความสนใจต่อนโยบายที่พรรคการเมืองนำเสนอมากขึ้น ทำให้ “นโยบาย” โดยเฉพาะ “นโยบายประชานิยม” กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการเอาชนะการเลือกตั้งและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางการเมือง ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยได้ทำให้เกิดสภาวะที่ทำให้นโยบายประชานิยมและรัฐบาลแนวประชานิยมเกิดขึ้น ประชานิยมทำให้เกิดพลวัตต่อการเมืองไทยและเกิดพัฒนาการความขัดแย้งที่ดำรงอยู่มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 มาจนถึงปัจจุบัน ประชานิยมในไทยเป็นประชานิยมแบบอ่อน ๆ | การเมืองแนวประชานิยมทำให้การเคลื่อนไหวและเสียงของขบวนการภาคประชาสังคมได้รับความสนใจมากขึ้นในกระบวนการทางการเมืองและกลไกประชาธิปไตย ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ความสนใจต่อนโยบายที่พรรคการเมืองนำเสนอมากขึ้น ทำให้ “นโยบาย” โดยเฉพาะ “นโยบายประชานิยม” กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการเอาชนะการเลือกตั้งและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางการเมือง ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยได้ทำให้เกิดสภาวะที่ทำให้นโยบายประชานิยมและรัฐบาลแนวประชานิยมเกิดขึ้น ประชานิยมทำให้เกิดพลวัตต่อการเมืองไทยและเกิดพัฒนาการความขัดแย้งที่ดำรงอยู่มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 มาจนถึงปัจจุบัน ประชานิยมในไทยเป็นประชานิยมแบบอ่อน ๆ | ||
การดำเนินนโยบายประชานิยมในไทยไม่ได้ส่งผลต่อการจัดสรรและกระจายทรัพยากร ความมั่งคั่ง รายได้ที่กระทบต่อผลประโยชน์ชนชั้นนำรุนแรงนัก รัฐบาลไทยรักไทยไม่มีการปฏิรูปภาษีและการจัดการทรัพย์สินอย่างจริงจังแต่อย่างใด มีเพียงการขยายโอกาสทางด้านต่างๆ รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งทุนผ่านกองทุนหมู่บ้าน มาตรการพักชำระหนี้และมาตรการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร นโยบายเหล่านี้ไม่ได้กระทบต่อผลประโยชน์ อำนาจและอภิสิทธิ์ของชนชั้นนำแต่อย่างใด แต่ความพยายามสร้าง เครือข่ายอำนาจ ของรัฐบาลทักษิณ โดยเครือข่ายนี้ไปทับซ้อน เครือข่ายอำนาจเดิมเป็นปัจจัยที่ทำให้เครือข่ายอำนาจเดิมต้องการโค่นล้ม นอกจากนี้ กลุ่มต่อต้านรัฐบาลทักษิณอย่างพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังกล่าวหารัฐบาลทักษิณ และ ดร. ทักษิณ ชินวัตรว่ามีพฤติกรรมท้าทายอำนาจเดิม การชุมนุมต่อต้านของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เป็นเงื่อนไขนำมาสู่การรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 หลังการรัฐประหารได้เกิด “ขบวนการคนเสื้อแดง” ขึ้นและหลังจากนั้นเมื่อรัฐบาลในเครือข่ายของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้เข้าบริหารประเทศได้มีนโยบายประชานิยมมุ่งไปที่ “ชนชั้นระดับล่าง” และ แรงงานนอกระบบ ที่เป็นฐานทางการเมืองของพรรคไทยรักไทย แม้นหลังการรัฐประหารแล้ว มีการร่างรัฐธรรมนูญ มีการยุบพรรคไทยรักไทย มีการตัดสิทธิคณะกรรมการบริหารพรรค มีการสร้างองค์กรและกลไกในการสกัดกั้นการขึ้นสู่อำนาจทางการเมืองของพรรคการเมืองที่อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรให้การสนับสนุนแต่ไม่สำเร็จ พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทยยังคงชนะการเลือกตั้ง ความเข้มข้นของการดำเนินนโยบายแบบประชานิยมและการสร้างขบวนการทางการเมืองแบบประชานิยมก็มากขึ้นตามลำดับ ประชาชนถูกปลุกให้ลุกขึ้นเพื่อเคลื่อนไหว ต่อต้านคณะรัฐประหารและเครือข่าย ผู้เป็นชนชั้นนำที่ปล้นอำนาจและผลประโยชน์จากประชาชนด้วยการรัฐประหาร วาทกรรมการต่อสู้ระหว่าง “ไพร่” กับ “อำมาตย์” กลายเป็นสิ่งที่ครอบงำความคิดและนำมาสู่ความขัดแย้งทางการเมืองสีเสื้อเหลืองแดงมามากกว่า 10 | การดำเนินนโยบายประชานิยมในไทยไม่ได้ส่งผลต่อการจัดสรรและกระจายทรัพยากร ความมั่งคั่ง รายได้ที่กระทบต่อผลประโยชน์ชนชั้นนำรุนแรงนัก รัฐบาลไทยรักไทยไม่มีการปฏิรูปภาษีและการจัดการทรัพย์สินอย่างจริงจังแต่อย่างใด มีเพียงการขยายโอกาสทางด้านต่างๆ รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งทุนผ่านกองทุนหมู่บ้าน มาตรการพักชำระหนี้และมาตรการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร นโยบายเหล่านี้ไม่ได้กระทบต่อผลประโยชน์ อำนาจและอภิสิทธิ์ของชนชั้นนำแต่อย่างใด แต่ความพยายามสร้าง เครือข่ายอำนาจ ของรัฐบาลทักษิณ โดยเครือข่ายนี้ไปทับซ้อน เครือข่ายอำนาจเดิมเป็นปัจจัยที่ทำให้เครือข่ายอำนาจเดิมต้องการโค่นล้ม นอกจากนี้ กลุ่มต่อต้านรัฐบาลทักษิณอย่างพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังกล่าวหารัฐบาลทักษิณ และ ดร. ทักษิณ ชินวัตรว่ามีพฤติกรรมท้าทายอำนาจเดิม การชุมนุมต่อต้านของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เป็นเงื่อนไขนำมาสู่การรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 หลังการรัฐประหารได้เกิด “ขบวนการคนเสื้อแดง” ขึ้นและหลังจากนั้นเมื่อรัฐบาลในเครือข่ายของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้เข้าบริหารประเทศได้มีนโยบายประชานิยมมุ่งไปที่ “ชนชั้นระดับล่าง” และ แรงงานนอกระบบ ที่เป็นฐานทางการเมืองของพรรคไทยรักไทย แม้นหลังการรัฐประหารแล้ว มีการร่างรัฐธรรมนูญ มีการยุบพรรคไทยรักไทย มีการตัดสิทธิคณะกรรมการบริหารพรรค มีการสร้างองค์กรและกลไกในการสกัดกั้นการขึ้นสู่อำนาจทางการเมืองของพรรคการเมืองที่อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรให้การสนับสนุนแต่ไม่สำเร็จ พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทยยังคงชนะการเลือกตั้ง ความเข้มข้นของการดำเนินนโยบายแบบประชานิยมและการสร้างขบวนการทางการเมืองแบบประชานิยมก็มากขึ้นตามลำดับ ประชาชนถูกปลุกให้ลุกขึ้นเพื่อเคลื่อนไหว ต่อต้านคณะรัฐประหารและเครือข่าย ผู้เป็นชนชั้นนำที่ปล้นอำนาจและผลประโยชน์จากประชาชนด้วยการรัฐประหาร วาทกรรมการต่อสู้ระหว่าง “ไพร่” กับ “อำมาตย์” กลายเป็นสิ่งที่ครอบงำความคิดและนำมาสู่ความขัดแย้งทางการเมืองสีเสื้อเหลืองแดงมามากกว่า 10 ปี หลังการรัฐประหาร 2549 ตามด้วยรัฐประหาร 2557 | ||
ความขัดแย้งทางการเมืองหลังการรัฐประหารปี พ.ศ. 2549 | ความขัดแย้งทางการเมืองหลังการรัฐประหารปี พ.ศ. 2549 ยังคงดำรงอยู่ต่อเนื่องระหว่างขั้วรัฐประหารและอนุรักษ์นิยม และขั้วพรรคไทยรักไทยและฝ่ายประชาธิปไตย ทั้งสองขั้วต้องการดึงมวลชนมาเป็นฐานการสนับสนุน จึงแข่งขันกันใช้มาตรการหรือนโยบายประชานิยมในการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการเมืองและภาคชนบทไทย พัฒนาการทางประชาธิปไตยไทยได้พัฒนาไปอีกขั้นหนึ่งภายหลังการใช้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 มาได้ระยะหนึ่ง ประชาชนยากจนในชนบทที่เคยอยู่ภายใต้ระบอบอุปถัมภ์และมักถูกซื้อด้วยเงินเวลาเลือกตั้งได้เปลี่ยนไปแล้ว การเกิดขึ้นของพรรคไทยรักไทยที่นำเสนอนโยบายให้คนชนบท ทำให้การเมืองไทยเป็นเรื่องการแข่งขันทางนโยบายมากขึ้น และสิ่งนี้ได้ดำเนินต่อเนื่องมายังการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 ปี พ.ศ. 2562 และ ปี พ.ศ. 2566 พรรคการเมืองต่าง ๆ ต่างแข่งขันกันในทางนโยบายเพื่อให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง นโยบายที่นำเสนอมีทั้งที่ออกแนวนโยบายประชานิยมและเป็นนโยบายสาธารณะทั่วไป ในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พรรคเพื่อไทยได้ดำเนินนโยบายสืบเนื่องต่อจากนโยบายของพรรคพลังประชาชน (ถูกยุบ) และ พรรคไทยรักไทย (ถูกยุบ) เช่น นโยบายปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท เงินเดือนปริญญาตรีขั้นต่ำ 15,000 บาท นโยบายรับจำนำข้าว 15,000 บาทต่อเกวียน โครงการรับบจำนำข้าวเปลือกส่งผลให้สามารถยกระดับรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายข้าวเปลือกได้ในราคาสูงเฉลี่ย 4,000 บาทต่อตัน เกษตรกรที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการได้รับประโยชน์จากราคาตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ย 2,500 บาทต่อตัน สามารถประเมินเป็นมูลค่าได้ประมาณ 200,000 ล้านบาท ทำให้เกษตรกรมีรายได้ มีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตดีขึ้น อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ก็ได้สร้างภาระทางการคลังจำนวนมากเช่นเดียวกันและเกิดการทุจริตขึ้น นอกจากนี้ยังมีนโยบายส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชน นโยบายกองทุนหมู่บ้านมีส่วนในการพัฒนาประชาธิปไตยในระดับหมู่บ้านโดยเฉพาะชุมชนที่เปิดให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารกองทุน | ||
การเลือกตั้งไม่เพียงพอที่จะบอกได้ว่าประชาธิปไตยมีความมั่นคงแล้ว ในกรณีของไทยมีการเลือกตั้งแล้วรัฐบาลที่มาจากเสียงของประชาชนยังไม่มีอำนาจอย่างชัดเจน และถูกให้ออกจากตำแหน่งโดยอำนาจขององค์กรภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งองค์กรอิสระเหล่านี้มักมาจากแต่งตั้งของอำนาจคณะรัฐประหาร ในรอบ 18 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการรัฐประหารถึงสองครั้ง และยังมีกลุ่มการเมืองที่พยายามโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งหลายครั้งจากความผิดพลาดในการบริหารประเทศ การทุจริตคอร์รัปชันหรือกล่าวหาว่านโยบายของรัฐบาลสร้างความเสียหายต่อประเทศ ประเทศไทยไม่ได้สร้างวัฒนธรรมหรือธรรมเนียมปฏิบัติทางการเมืองให้ Democracy is the only game in town อันเป็นกรณีที่สังคมและประชาชนทั้งหมดเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจะต้องเกิดขึ้นในบริบทหรือในวิถีของประชาธิปไตย ซึ่ง | การเลือกตั้งไม่เพียงพอที่จะบอกได้ว่าประชาธิปไตยมีความมั่นคงแล้ว ในกรณีของไทยมีการเลือกตั้งแล้วรัฐบาลที่มาจากเสียงของประชาชนยังไม่มีอำนาจอย่างชัดเจน และถูกให้ออกจากตำแหน่งโดยอำนาจขององค์กรภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งองค์กรอิสระเหล่านี้มักมาจากแต่งตั้งของอำนาจคณะรัฐประหาร ในรอบ 18 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการรัฐประหารถึงสองครั้ง และยังมีกลุ่มการเมืองที่พยายามโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งหลายครั้งจากความผิดพลาดในการบริหารประเทศ การทุจริตคอร์รัปชันหรือกล่าวหาว่านโยบายของรัฐบาลสร้างความเสียหายต่อประเทศ ประเทศไทยไม่ได้สร้างวัฒนธรรมหรือธรรมเนียมปฏิบัติทางการเมืองให้ Democracy is the only game in town อันเป็นกรณีที่สังคมและประชาชนทั้งหมดเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจะต้องเกิดขึ้นในบริบทหรือในวิถีของประชาธิปไตย ซึ่ง รวมถึงกลุ่มการเมืองในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของประเทศต้องยึดถือวิถีทางประชาธิปไตยและระบอบการปกครองโดยกฎหมายที่ยึดหลักนิติรัฐนิติธรรมเท่านั้น พัฒนาการทางการเมืองที่จะนำไปสู่ประชาธิปไตยที่มั่นคงนั้น จะต้องไม่มีพฤติกรรมของกลุ่มบุคคล กลุ่มการเมือง โดยเฉพาะกลุ่มผลประโยชน์ในกองทัพพยายามจัดตั้งรัฐบาลที่ไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตยหรือหลักนิติธรรม (Rule of Law) | ||
ประชานิยมไม่ได้ทำให้เกิดความเป็นสถาบันของประชาธิปไตย และผลของนโยบายประชานิยมไม่ชัดเจนว่าทำให้เสรีประชาธิปไตยเข้มแข็งหรือไม่ในประเทศไทย แต่ “ประชานิยม” ได้สร้างสภาวะทางการเมืองที่เสียงของประชาชนฐานรากส่วนใหญ่มีบทบาทมากขึ้นในการกำหนดนโยบาย อีกด้านหนึ่ง นโยบายประชานิยมได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากว่าละเมิดต่อกรอบวินัยการเงินการคลังและอาจสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจได้ โดยข้อกล่าวหาเหล่านี้ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าเป็นเช่นนั้นจริง แต่ข้อกล่าวหาเหล่านี้ได้ถูกใช้ในกระบวนการหยุดยั้งพัฒนาการประชาธิปไตยไทยด้วยเป็นข้ออ้างในการรัฐประหารยึดอำนาจในปี พ.ศ. 2557 | ประชานิยมไม่ได้ทำให้เกิดความเป็นสถาบันของประชาธิปไตย และผลของนโยบายประชานิยมไม่ชัดเจนว่าทำให้เสรีประชาธิปไตยเข้มแข็งหรือไม่ในประเทศไทย แต่ “ประชานิยม” ได้สร้างสภาวะทางการเมืองที่เสียงของประชาชนฐานรากส่วนใหญ่มีบทบาทมากขึ้นในการกำหนดนโยบาย อีกด้านหนึ่ง นโยบายประชานิยมได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากว่าละเมิดต่อกรอบวินัยการเงินการคลังและอาจสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจได้ โดยข้อกล่าวหาเหล่านี้ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าเป็นเช่นนั้นจริง แต่ข้อกล่าวหาเหล่านี้ได้ถูกใช้ในกระบวนการหยุดยั้งพัฒนาการประชาธิปไตยไทยด้วยเป็นข้ออ้างในการรัฐประหารยึดอำนาจในปี พ.ศ. 2557 |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:38, 15 กรกฎาคม 2568
ผู้เรียบเรียง : รองศาสตราจารย์ ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ[1]
บทคัดย่อ
บทความทางวิชาการนี้ได้สังเคราะห์ความรู้และศึกษาพัฒนาการของประชานิยม บทเรียนและความท้าทายของประชานิยมในประเทศต่าง ๆ และผลของการดำเนินนโยบายประชานิยมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและประชาธิปไตยของไทย บทความทางวิชาการนี้ใช้การประเมินสถานภาพทางความรู้ สำรวจองค์ความรู้ งานวิจัย งานวิชาการเกี่ยวกับประชานิยมและใช้การศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) เป็นข้อมูลที่จัดทำขึ้นโดยอาศัยข้อมูลชั้นต้น ประชานิยมนั้นมีความหลากหลายในความหมายและแนวทางศึกษา สามารถนำไปหลอมรวมกับอุดมการณ์หลากหลายได้ ประชานิยมในฐานะอุดมการณ์ จึงมีแก่นสารบางเบา (thin-centered ideology) ปัญหาความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในทางเศรษฐกิจและสังคมในหลายประเทศรวมทั้งไทยเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เกิดการขยายตัวของนโยบายและแนวทางทางการเมืองแบบประชานิยมได้ ประชานิยมอาจช่วยบรรเทาปัญหาความเหลื่อมล้ำและความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจเฉพาะหน้าได้บ้างแต่ไม่สามารถแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้างได้
ข้อค้นพบในเบื้องต้น กรณีของประเทศไทย ตัวเลขเชิงประจักษ์สะท้อนว่า การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี การขาดดุลงบประมาณ อัตราเงินเฟ้อ เป็นผลจากตัวแปรอื่น ๆ หรือปัจจัยอื่น ๆ มากกว่าปัจจัยจากนโยบายประชานิยม
อย่างไรก็ตาม หลังปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา เมื่อพรรคการเมืองต่างแข่งขันในการใช้นโยบายประชานิยมมากขึ้นและเมื่อได้เข้ามาบริหารประเทศ ได้ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของการจัดทำงบประมาณขาดดุลเพื่อสนับสนุนมาตรการประชานิยมต่าง ๆ ที่หาเสียงไว้กับประชาชน สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีก็ทะยอยเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะปีที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำ
กรณีของไทย ผลจากนโยบายและแนวทางประชานิยมทำให้สำนึกทางชนชั้นมีความแหลมคมมากขึ้น ประชานิยมและประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์ในทางบวกต่อกัน และประชานิยมส่งผลบวกมากกว่าผลลบต่อประชาธิปไตย แต่ไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนนักต่อพัฒนาการของเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democracy) หรือ อาจกล่าวได้ว่า ประชานิยม สามารถปรับเปลี่ยนให้ “เสรีประชาธิปไตย (Liberal Democracy) มีคุณภาพดียิ่งขึ้นหรือเป็นภัยคุกคามต่อเสรีประชาธิปไตยก็ได้
นโยบายประชานิยมบางนโยบายได้เป็นส่วนหนึ่งในการปรับเปลี่ยน “พฤติกรรมซื้อสิทธิขายเสียง” ในการเลือกตั้ง เป็น การแข่งขันในเชิงนโยบายที่สร้างความพึงพอใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง วัฒนธรรมในทางการเมืองแบบอุปถัมภ์ลดบทบาทลงระดับหนึ่ง การดำเนินการทางการเมืองแนวประชานิยมใช้ความพยายามในการสถาปนาความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์โดยมีผู้นำทางการเมืองเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับประชาชนโดยตรง ก้าวข้ามผ่านองค์กร กลไก หรือกลุ่มคนที่เป็นตัวกลาง อาจมีผลทำให้สถาบันภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอ่อนแอได้ในระยะยาว
การเมืองแนวประชานิยมทำให้การเคลื่อนไหวและเสียงของขบวนการภาคประชาสังคมได้รับความสนใจมากขึ้นในกระบวนการทางการเมืองและกลไกประชาธิปไตย ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ความสนใจต่อนโยบายที่พรรคการเมืองนำเสนอมากขึ้น ทำให้ “นโยบาย” โดยเฉพาะ “นโยบายประชานิยม” กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการเอาชนะการเลือกตั้งและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางการเมือง
บทนำ
นโยบายแบบประชานิยมได้กลายเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลต่าง ๆ ในหลายภูมิภาคของโลกในท่ามกลางปัญหาความเหลื่อมล้ำของระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ขณะเดียวกัน “ประชานิยม” กลายเป็นยุทธศาสตร์และกลยุทธทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองและพรรคการเมืองต่าง ๆ ในการเอาชนะการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย แต่ก็ใช่ว่า “แนวทางแบบประชานิยม” จะเกิดขึ้นในประเทศที่มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีระบบการเลือกตั้งเท่านั้น ในระบอบอำนาจนิยมเอง ไม่ว่าจะเป็นระบอบอำนาจนิยมแบบเผด็จการทหาร หรือ ระบอบอำนาจนิยมภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์ล้วนมีแนวโน้มในการดำเนินการทางการเมืองแบบประชานิยม เนื่องจากโลกในศตวรรษที่ 21 ไม่ว่าจะเป็นระบอบการปกครองแบบไหน หากไม่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนเลยหรือไม่ได้รับการสนับสนุนจากมวลชนยากที่จะดำรงอยู่ได้อย่างมีเสถียรภาพ ยกเว้นต้องใช้รูปแบบการปกครองควบคุมแบบเบ็ดเสร็จ ปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร และใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ กดทับและกดขี่สิทธิมนุษยชนเท่านั้น ปรากฎการณ์เหล่านี้ เราเห็นอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก เช่น ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จทหารของเมียนมา ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จแอบอ้างลัทธิคอมมิวนิสต์ของเกาหลีเหนือ ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จแอบอ้างความเชื่อทางศาสนาแบบสุดโต่งแบบอิหร่าน ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จในรัสเซียที่มาจากการเลือกตั้งกำมะลอ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เกิดคำถามในทางวิชาการว่า แนวคิดแบบประชานิยมนั้นอยู่บนฐานความคิด ความเชื่อของลัทธิเศรษฐกิจการเมืองแบบใด? หรือ เป็นเพียงยุทธศาสตร์หรือกลยุทธทางการเมืองเพื่อเอาชนะในการเลือกตั้งหรือรักษาอำนาจการปกครองของผู้นำทางการเมือง พรรคการเมืองหรือระบอบการปกครองใด ๆ หรือเป็นเพียงพฤติกรรมทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองที่สร้างการเมืองที่ให้เกิดขั้วตรงกันข้ามกันระหว่าง “ประชาชน” กับ “อภิสิทธิ์ชนชั้นนำ” ในบางกรณีหรือบางประเทศเป็นเพียง “วาทกรรม” เพื่อการต่อสู้แย่งชิงผลประโยชน์ทางการเมือง เศรษฐกิจเท่านั้น รวมทั้งทำให้เกิดความสับสนระหว่าง “นโยบายประชานิยม” กับ “นโยบายสาธารณะ” ในรูปแบบต่างๆและนโยบายสวัสดิการสังคม การสำรวจงานศึกษา งานวิจัย และการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจ “ประชานิยม” เป็นเรื่องที่มีความสำคัญในยุคสมัยที่นโยบายแบบประชานิยมแพร่หลายในหลายประเทศทั่วโลก ประชานิยมฝ่ายขวาหรือฝ่ายซ้ายต่างเป็นปัจจัยท้าทายต่อระบอบเสรีประชาธิปไตยในหลายภูมิภาคของโลก นอกจากนี้ การศึกษาผลกระทบและความท้าทายของประชานิยมทั่วโลกให้ “บทเรียน” อย่างไรต่อการดำเนินนโยบายประชานิยมอันส่งผลต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจและประชาธิปไตยในประเทศไทย
วัตถุประสงค์
1. ศึกษาพัฒนาการและความหลากหลายของประชานิยม
2. ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดประชานิยม กับ แนวคิดทางเศรษฐกิจต่าง ๆ
3. ศึกษาบทเรียนและความท้าทายของประชานิยมของประเทศต่าง ๆ
4. ทำความเข้าใจบทบาทของประชานิยมต่อพัฒนาการประชาธิปไตยและเศรษฐกิจของไทย
นิยามศัพท์
ประชานิยม มักหมายถึง ลัทธิทางการเมืองและเศรษฐกิจ หรือ ขบวนการที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและเนื้อหาได้อย่างหลากหลาย แต่มีลักษณะยึดโยงกับประชาชน การยึดโยงนี้มักเกิดขึ้นพร้อมกับการต่อต้านกลุ่มชนชั้นนำ (Anti-elitist) ต่อต้านกลุ่มผู้มีอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ (Anti-establishment) เป็นวาทกรรมหรือขบวนการทางการเมืองที่สร้างคู่ตรงข้ามของประชาชน คือ ชนชั้นนำ
นโยบายประชานิยม มักหมายถึง นโยบายที่เน้นการกระจายรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ มุ่งเป้าไปที่ประชาชนฐานล่างเพื่อสร้างความนิยมและมักไม่ค่อยสนใจต่อวินัยทางการเงินการคลังมากนัก มักนำไปสู่ปัญหาหนี้สาธารณะ ปัญหาทางด้านเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจและเงินเฟ้อสูง โดยประชานิยมคลาสสิกแบบละตินอเมริกามักมีความแนวเอียงไปทางสังคมนิยมหรือเป็นประชานิยมฝ่ายซ้าย ขณะที่นโยบายประชานิยมฝ่ายขวาได้รับอิทธิพลจากลัทธิเสรีนิยมใหม่และลัทธิชาตินิยม
การพัฒนาประชาธิปไตย หมายถึง การพัฒนาโครงสร้าง กลไก รูปแบบ เนื้อหา วัฒนธรรม ค่านิยม การเมืองการปกครองให้สอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน และเป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย โดยหลักการสำคัญของประชาธิปไตย (Principles of Democracy) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ หลักการสำคัญข้อที่หนึ่ง หลักการอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน หลักการที่สอง หลักเสรีภาพ เป็น หลักการที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของประชาธิปไตย คือ สิทธิ (Right) เสรีภาพ (Liberty) และ อิสรภาพ (Freedom) หลักการที่สาม หลักเสมอภาค หลักการที่สี่ หลักภราดรภาพ คือหลักการว่ามนุษย์เราทั้งหลายล้วนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจมีนิยามหลากหลาย ในความหมายแคบ การพัฒนาเศรษฐกิจ คือ การพัฒนาที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลัก คือ เน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) คำนิยามนี้เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1945) เป็นต้นมา การเติบโตทางเศรษฐกิจจะ วัดจากการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product) และการเพิ่มขึ้นของรายได้ต่อหัวของประชาชน (Income/GDP per capita) ในช่วงศตวรรษที่ 16 ถึง 19 การพัฒนาทางเศรษฐกิจมักหมายถึง การใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือในสร้างความมั่งคั่งและพัฒนาชาติอันเป็นอิทธิพลทางความคิดของลัทธิพาณิชยนิยม (Mercantilism) ต่อมา อิทธิพลทางความคิดแบบเสรีนิยมทางเศรษฐกิจและการค้าเสรีของนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษนาม “อดัม สมิธ” ได้ยุติอิทธิพลของลัทธิพาณิชยนิยมและลัทธิกีดกันทางการค้า การอธิบายการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความมั่งคั่งแห่งชาติจึงมุ่งไปที่ การพัฒนาตลาดเสรี การเปิดกว้างทางเศรษฐกิจ การแบ่งงานกันทำและผลิตภาพของปัจจัยการผลิต
ขอบเขตการศึกษา
ศึกษาพัฒนาการของประชานิยม บทเรียนและความท้าทายของประชานิยมในประเทศต่าง ๆ และผลของการดำเนินนโยบายประชานิยมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและประชาธิปไตยของไทย
วิธีการดำเนินการศึกษา
บทความทางวิชาการนี้ใช้การประเมินสถานภาพทางความรู้ สำรวจองค์ความรู้ งานวิจัย งานวิชาการเกี่ยวกับประชานิยมและใช้การศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) เป็นข้อมูลที่จัดทำขึ้นโดยอาศัยข้อมูลชั้นต้น และ ประเมินช่วงว่างของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประชานิยมและผลกระทบของนโยบายประชานิยม การวิเคราะห์และสังเคราะห์นโยบายประชานิยมและผลของนโยบายที่เกิดขึ้นในหลายภูมิภาคของโลก รวมทั้งในประเทศไทย โดยสังเขป
พัฒนาการและความหลากหลายของประชานิยม
ประชานิยมนั้นมีหลากหลายความหมายและคำนิยาม คำว่า “ประชานิยม” ถูกนำมาใช้เรียกพรรคและสมาชิกของพรรคประชาชนที่มีฐานจากเกษตรกรรายย่อยทางตะวันตกและทางภาคใต้ในสหรัฐอเมริกา ขบวนการของเกษตรรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากความไม่เป็นธรรมในระบบทุนนิยมได้รวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มกดดันเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหา ไม่ได้ปฏิเสธระบบทุนนิยมและต่อมาได้มีการพัฒนาไปสู่การจัดตั้งพรรคการเมืองที่เรียกว่า People Party ในช่วงทศวรรษ 1890 ขณะที่ ขบวนการประชานิยมได้เกิดขึ้นในจักรวรรดิรัสเซียโดยกลุ่มปัญญาชน ในช่วงทศวรรษที่ 1860-1880 ขบวนการ Narodniki คือ ขบวนการประชานิยมที่เกิดขึ้นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่ หากย้อนกลับไปในยุคปลายของจักรวรรดิโรมัน มีการแบ่งขั้วทางการเมืองระหว่าง กลุ่ม Populares ที่ให้ความสำคัญกับประชาชน กับ กลุ่ม Optimates ที่ให้ความสำคัญกับกลุ่มชนชั้นนำผู้ปกครอง ขบวนการประชานิยมแบบ Narodniki นี้ปฏิเสธทุนนิยมและต้องการกลับไปใช้ชีวิตแบบวิถีชีวิตดั้งเดิม ต่างจากขบวนการประชานิยมแบบ People Party ที่ไม่ได้ปฏิเสธทุนนิยม ขบวนการประชานิยมที่มีรากฐานของชาวนาของสหรัฐอเมริกานี้ต้องการให้รัฐและสังคมได้มีบทบาทในการกำกับการทำงานของทุนนิยมไม่ให้เอาเปรียบชาวนา จากขบวนการเคลื่อนไหวประชานิยมในจักรวรรดิรัสเซียและสหรัฐอเมริกาช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ก็เกิดขบวนการประชานิยมระลอกใหม่ในละตินอเมริกาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยขบวนการประชานิยมในละตินอเมริกาเกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนานในท่ามกลางโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูงยิ่ง ขบวนการประชานิยมในละตินอเมริกานี้เป็นภาพจำของประชานิยมที่ก่อให้เกิดผลกระทบวิกฤตการณ์ทางการเงินการคลัง ประชานิยมละตินอเมริกาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มักจะถูกเชื่อมโยงกับการดำเนินนโยบายเพื่อดูแลประชาชนระดับฐานรากโดยไม่สนใจวินัยทางการเงินการคลัง นำไปสู่เงินเฟ้อรุนแรง และปัญหาเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาค การขึ้นค่าแรงอย่างรวดเร็วจำนวนมาก การเพิ่มสวัสดิการจำนวนมากจนเกิดปัญหา การขาดดุลงบประมาณมหาศาล นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นต่อฐานะทางการเงินการคลังของประเทศ นำมาสู่การถอนการลงทุนและเทขายสินทรัพย์ทางการเงินจำนวนมาก การศึกษาแนวคิดประชานิยมเพื่อเชื่อมโยงระหว่างชุดนโยบายกับปัญหาวิกฤติทางการคลังและเศรษฐกิจอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ และ การศึกษาในแนวทางนี้ไม่ว่าจะเป็นผลงานของ (Sachs, 1889) ของ (Dornbusch and Edwards, 1991) ที่สรุปว่า ประชานิยม คือ ชุดของนโยบายทางเศรษฐกิจที่ไม่สนใจวินัยและฐานะทางคลังของประเทศกลายเป็นคำอธิบายที่มีข้อจำกัดและไม่สอดคล้องกับพลวัตของประชานิยม รัฐบาลประชานิยมในละตินอเมริกายุคทศวรรษที่ 1990 ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายประชานิยมโดยใช้แนวคิดแบบเสรีนิยมใหม่มาเป็นรากฐาน การศึกษารัฐบาลประชานิยมในบางพื้นที่หรือในบางช่วงเวลาอาจทำให้เกิด “อคติ” ในเชิงลบเหมาสรุปว่า “นโยบายประชานิยม” คือ นโยบายที่สร้างความนิยมโดยขาดความรับผิดชอบไม่สนใจต่อวินัยการเงินการคลัง หรือ “อคติ” ในเชิงบวก มองว่า นโยบายประชานิยมช่วยลดความเหลื่อมล้ำและมุ่งเป้าช่วยเหลือกลุ่มประชาชนยากจนด้อยโอกาส
ประชานิยมนั้นมีความหลากหลายในความหมายและแนวทางการศึกษา มีการศึกษา “ประชานิยม” ในฐานะอุดมการณ์ การศึกษาแนวทางนี้นำโดย คาส มุดเด (Cas Mudde) องค์ประกอบสำคัญของประชานิยมในฐานะอุดมการณ์ คือ ประการแรก หัวใจสำคัญของประชานิยม คือ ประชาชน ประชาชนมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การเมืองต้องสะท้อนเจตจำนงของประชาชน และ คำว่า “ประชาชน” นี้สามารถนำไปหลอมรวมกับอุดมการณ์หลากหลายได้ ตั้งแต่ อนุรักษ์นิยมขวาจัด สังคมนิยมหรือชาตินิยม คาส มุดเด จึงมอง “ประชานิยม” ในฐานะอุดมการณ์ที่มีแก่นสารบางเบา (thin-centered ideology) โดยมองสังคมแยกออกเป็นสองฝ่ายชัดเจนระหว่าง “ประชาชน” กับ “ชนชั้นนำ” ประการที่สอง ประชาชนและชนชั้นนำเป็นฝ่ายตรงข้ามกัน ประการที่สาม ความสัมพันธ์ขั้วตรงกันข้ามระหว่างประชาชนกับชนชั้นนำอยู่บนฐานเชิงศีลธรรม ในลักษณะที่ประชาชนเป็นผู้ชอบธรรม ผู้นำเป็นอภิสิทธิ์ชนที่เอาเปรียบและฉ้อฉล อย่างไรก็ตาม คำว่า “ประชาชน” และ “ชนชั้นนำ” ถูกนิยามอย่างหลากหลายขึ้นกับบริบทของประชานิยมในแต่ละประเทศ
ประชานิยมอาจหมายถึง วาทกรรม และมีการศึกษา “ประชานิยม” มุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้าง “วาทกรรม” หรือ รูปแบบการแสดงออกทางการเมือง มีการสร้างวาทกรรมโดยใช้ข้ออ้างในเชิงศีลธรรมที่ขีดเส้นระหว่าง “ประชาชน” ซึ่งเป็นฐานมวลชนสนับสนุนของผู้นำประชานิยม และ “ชนชั้นนำ” ที่เป็นขั้วตรงข้ามทางการเมืองของผู้นำประชานิยม วาทกรรมนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะของผู้นำแปรเปลี่ยนไปตามสถานการณ์โดยมีแกนอุดมการณ์แบบหลวม ๆ บางครั้งผู้นำอาจใช้วาทกรรมแบบประชานิยม แม้ตัวเองจะไม่ได้มีอุดมการณ์แบบประชานิยมก็ได้ เราได้เห็นผู้นำฟิลิปปินส์อย่าง โรดริโก ดูแตร์เต นายกรัฐมนตรีของไทยอย่าง ดร. ทักษิณ ชินวัตร ประธานาธิบดีบราซิลผู้นำประชานิยมฝ่ายขวาอย่าง ฌาอีร์ โบลโซนารู หรือ ประธานาธิบดีบราซิลผู้นำประชานิยมฝ่ายซ้าย อย่าง ลูอิซ อินาชิโอ ลูลา ดา ซิลวา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาอย่างบิล คลินตัน บารัค โอบามา จากพรรคแดโมแครต ริชาร์ด นิกสัน และ โดนัล ทรัมป์ จาก พรรครีพับรีกัน ล้วนใช้วาทกรรมแบบประชานิยมเพื่อเรียกคะแนนเสียงจากมวลชน แนวทางการศึกษาประชานิยมโดยนำเรื่อง “วาทกรรม” มาเป็นแกนกลางในศึกษาจึงมีปัญหาในทางวิชาการไม่น้อย
ประชานิยมอาจหมายถึง ยุทธศาสตร์ทางการเมือง เป็นยุทธศาสตร์ วิธีการของผู้นำทางการเมือง หรือ ขบวนการทางการเมืองเพื่อระดมความสนับสนุนทางการเมืองจากมวลชน ยุทธศาสตร์ทางการเมืองนี้มุ่งสร้างความสัมพันธ์โดยตรงระหว่าง ผู้นำทางการเมือง หรือ ขบวนการทางการเมือง กับ ประชาชน หรือ มวลชนผู้สนับสนุน เป็นปฏิสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์ทางการเมือง มีงานทางวิชาการบางส่วนศึกษาถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาคประชาสังคมกับพรรคการเมือง ประชานิยม อาจหมายถึงกลยุทธหรือนโยบายทางการเมืองเพื่อมุ่งสร้างคู่ตรงข้ามในทางการเมืองเพื่อเอาชนะในทางการเมือง โดยสร้างสภาวะให้เกิดขัดแย้งระหว่าง “ประชาชน” กับ “ชนชั้นนำ”
นอกจากนี้ กลุ่มปัญญาชนภายใต้ Asia Democracy Research Network ได้ศึกษา “ประชานิยมในเอเชีย” ในหนังสือ Populism in Asian Democracies: Features, Structures and Impacts. และ ได้แบ่งเนื้อหาในหนังสือออกเป็น Progressive Populism, Authoritarian Populism, Redistributive Populism ตามลักษณะของประชานิยมของประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย ได้การจัดกลุ่มประชานิยมดังกล่าว ยังลื่นไหลในแง่ของคำนิยามอย่างยิ่ง
ประชานิยม กับ แนวคิดสังคมนิยม
ประชานิยมฝ่ายซ้ายนั้นมีลักษณะร่วมบางประการกับแนวคิดสังคมนิยม โดยเฉพาะแนวคิดแบบลัทธิสังคมนิยมประชาธิปไตย แนวคิดนี้จะจัดอยู่ในกลุ่มความคิดแบบสังคมนิยมแต่ก็มีความแตกต่างจากสังคมนิยมมาร์กซิสม์ พรรคการเมืองในยุโรปที่ได้รับความนิยมและจัดตั้งรัฐบาลส่วนหนึ่งเป็นพรรคการเมืองแนวทางแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย ลัทธินี้มีนักคิดคนสำคัญ คือ เอ็ดเวิร์ด เบิร์นสไตน์ มีความแตกต่างจากพวกมาร์กซิสต์ สังคมนิยมประชาธิปไตยแบบเฟเบี้ยนเชื่อว่าจริยธรรม (Ethics) มีจริงและสังคมนิยมเป็นสิ่งที่ดี ฉะนั้นสังคมมนุษย์จึงควรเปลี่ยนไปสู่ระบบสังคมนิยมไม่เหมือนกับความคิดของมาร์กซ์ ซึ่งไม่ได้กล่าวว่าสังคมนิยมเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี แต่กล่าวว่าสังคมมนุษย์จะเปลี่ยนไปสู่ระบบสังคมนิยมและระบบคอมมิวนิสต์ในท้ายที่สุด เพราะว่าเป็นกฎของประวัติศาสตร์ ในทางปรัชญาแล้วพวกเฟเบี้ยนเชื่อตามพวกประโยชน์นิยม (Utilitarianism) ของเบนแทม ซึ่งต้องการนำความสุขมากที่สุดมาสู่คนจำนวนมากที่สุด (The Greatest Happiness for The Greatest number) สังคมนิยมประชาธิปไตยแบบเฟเบี้ยนหรือลัทธิเฟเบี้ยนนั้นต้องการระบบสังคมนิยมพร้อมกับระบบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพทางการเมืองและเน้นว่าเส้นทางไปสู่อุดมคติของลัทธิสังคมนิยมจะต้องดำเนินการผ่านกลไกรัฐสภา ไม่ใช่ก่อตั้งขบวนการปฏิวัติที่ใช้กองกำลังติดอาวุธโค่นล้มอำนาจรัฐเดิม แต่ลัทธิเฟเบี้ยนเน้นการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป (Gradualism) ยิ่งกว่าลัทธิเบิร์นสไตน์
ส่วน ลัทธิสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ หรือ ลัทธิมาร์กซิสม์เคยเป็นลัทธิเศรษฐกิจการเมืองที่มีอิทธิพล เป็นที่นิยมและนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองและระบบเศรษฐกิจในหลายประเทศ ในศตวรรษที่ 20 เช่น สงครามกลางเมืองและเหตุการณ์ปฏิวัติบอลเชวิค ในจักรวรรดิรัสเซียในปี ค.ศ. 1917 (พ.ศ. 2460) เหตุการณ์สงครามกลางเมืองและการปฏิวัติโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในปี ค.ศ. 1949 (พ.ศ. 2492) หรือการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบอบในกลุ่มประเทศอินโดจีน ละตินอเมริกา เป็นต้น อิทธิพลของสำนักคิดแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ได้ลดลงอย่างมากหลังการสิ้นสุดของยุคสงครามเย็น การล่มสลายลงของกำแพงเบอร์ลิน การเปลี่ยนแปลงนโยบายมาใช้แนวทางระบบเศรษฐกิจแบบตลาดของจีน ตั้งแต่ยุคเติ้งเสี่ยวผิงเป็นต้นมา การเริ่มต้นปฏิรูปการเมือง (กลาสน็อค) และ การปฏิรูปเศรษฐกิจ (เปเรสตรอยก้า) ของประธานาธิบดีกอร์บาชอฟ ผู้นำคนสุดท้ายของสหภาพโซเวียตรัสเซีย “การมองประวัติศาสตร์แบบวัตถุนิยม (the materialist conception of history)” หรือ วัตถุนิยมแบบประวัติศาสตร์ (historical materialism) มาร์กซ์สรุปการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ลักษณะนี้ไว้ในคำนำหนังสือ A Contribution to the Critique of Political Economy (1859) “ในการผลิตของสังคมซึ่งมนุษย์กระทำไปนั้น มนุษย์จะเข้าสู่ความสัมพันธ์ที่แน่นอนซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้และเป็นอิสระจากความปรารถนาของมนุษย์ ความสัมพันธ์ในการผลิต (relations of production) นี้จะสอดคล้องกับลำดับขั้นพัฒนาการเฉพาะของพลังการผลิตทางวัตถุและโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (economic structure) ของสังคมเป็นพื้นฐานที่แท้จริงซึ่งบนพื้นฐานนี้มีโครงสร้างส่วนบนด้านกฎหมายและการเมือง (legal and political superstructure) ผุดขึ้นและมีจิตสำนึกของสังคม (social consciousness) หรือระบบวัฒนธรรมและระบบการศึกษา วิถีการผลิต (mode of production) ของชีวิตวัตถุกำหนดกระบวนการทางสังคม ไม่ใช่จิตสำนึกของมนุษย์ที่กำหนด เมื่อพลังทางการผลิตเปลี่ยนไปย่อมทำให้ความสัมพันธ์ทางการผลิตเปลี่ยนไป หากโครงสร้างส่วนบนหรือระบบการเมืองไม่เปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องจะนำไปสู่การปฏิวัติทางสังคม (social revolution)
ประชานิยมฝ่ายซ้ายแม้นมี “ผู้ใช้แรงงาน” “เกษตรรายย่อย” และ “ประชาชนฐานราก” เป็นผู้สนับสนุนทางการเมือง แต่อุดมการณ์ประชานิยมฝ่ายซ้ายมิได้ก้าวข้ามการเอาชนะทางการเมืองไปสู่การเน้นไปที่ความขัดแย้งทางชนชั้นและการปฏิวัติทางสังคม อย่างเช่น ความสำเร็จของพรรค MAS ของโบลิเวียจากนโยบายและโครงการประชานิยมที่มีฐานความคิดในเชิงอุดมการณ์แบบสังคมนิยมบวกชาตินิยม โดย นายอีโว โมลาเรส ได้โจมตีการดำเนินนโยบายแบบเสรีนิยมใหม่ของรัฐบาลก่อนหน้าด้วยนโยบายที่เน้นการกระจายรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำภายใต้กรอบความคิดแบบสังคมนิยมผสานชาตินิยม และ สร้างภาพให้พรรคการเมืองเป็นตัวแทนของชนชั้นล่างและชนพื้นเมือง ประชานิยมฝ่ายซ้ายของเวเนซูเอลาแบบ ฮูโก ชาเวซ ก็ดำเนินการด้วยกลยุทธอย่างเดียวกัน โดยไม่ได้นำไปสู่การปฏิวัติทางสังคมตามแนวคิดของสังคมนิยมคอมมิวนิสต์แต่อย่างใด
ประชานิยม กับ แนวคิดเสรีนิยม
เราได้เห็นพัฒนาการของประชานิยมที่อยู่บนฐานคิดแบบเสรีนิยมใหม่ พรรคการเมืองและขบวนการทางการเมืองในยุโรป ละตินอเมริกาแนวประชานิยมบางส่วนได้ปรับตัวให้เข้ากับแนวคิดแบบเสรีนิยมใหม่ แนวคิดแบบเสรีนิยมอันเป็นฐานความคิดของเสรีนิยมใหม่นั้นมองว่า หากการแข่งขันดำเนินไปตามกลไกของตลาดก็จะทำให้ราคาที่เกิดขึ้นในตลาดเป็นราคาที่ให้ผลตอบแทนอย่างเป็นธรรมต่อที่ดิน แรงงาน และทุน เป็นที่พอใจทั้งฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขาย และมีผลดีต่อส่วนรวมในแง่ของการจัดสรรทรัพยากร ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต่างไม่มีอิทธิพลเหนือตลาด
ลัทธิเศรษฐกิจเสรีนิยมที่ อดัม สมิธ นำเสนอนี้เป็นปฏิปักษ์โดยตรงต่อระบอบเศรษฐกิจแบบศักดินาที่ปัจเจกบุคคลไม่มีเสรีภาพในการประกอบการ อย่างไรก็ตามแนวคิดของลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจนี้มักถูกโต้แย้งว่า การแลกเปลี่ยนอย่างเสรีไม่มีอยู่จริง ตลาดเสรีเป็นโลกในอุดมคติ การแลกเปลี่ยนบางครั้งเกิดจากอำนาจที่เหนือกว่าบังคับให้ส่งมอบสินค้า ทำให้ไม่ใช่การแลกเปลี่ยนที่เสรีจริง ขณะเดียวกันก็มีการตีความในภายหลังว่า ลัทธิเสรีนิยมหรือทุนนิยมของ อดัม สมิธ สนใจแต่เรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งก็ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงนัก
ลัทธิเสรีนิยมใหม่ที่พัฒนาต่อยอดมาจากลัทธิเสรีนิยม จึงส่งเสริมการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจอันครอบคลุมการเปิดเสรีการค้า การเปิดเสรีภาคการเงินและภาคบริการต่าง ๆ การลดบทบาทของรัฐและเพิ่มบทบาทเอกชนจึงสนับสนุนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ให้ความสำคัญกับการผ่อนคลายกฎระเบียบและเน้นย้ำระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ประชานิยมฝ่ายขวาที่อยู่ฐานคิดแบบเสรีนิยมใหม่จึงย้อนแย้งกับลักษณะของประชานิยมที่มักจะให้ความสำคัญกับสวัสดิการของคนฐานราก การผลักดันแปรรูปรัฐวิสาหกิจย่อมทำให้การบริการของรัฐต่อประชาชนบางด้านลดลง แต่ประชานิยมฝ่ายขวามักจะสร้างระบบความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจโดยการใช้วิธีสังคมสงเคราะห์รวมทั้งสร้างความนิยมทางการเมืองผ่านนโยบายเงินโอนสงเคราะห์ตามความต้องการของผู้นำ
ประชานิยม กับ แนวคิดชาตินิยม
ประชานิยมฝ่ายขวามักใช้ แนวคิดแบบชาตินิยมสุดขั้ว หลอมรวมมวลชนให้มาสนับสนุนกลุ่มการเมืองหรือพรรคการเมือง ปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นหลายประเทศในยุโรป ความเคลื่อนไหวเหล่านี้นำมาสู่การต่อต้านโลกาภิวัตน์และการเปิดเสรี ส่วนแนวคิดแบบเสรีนิยม วิพากษ์ลัทธิพาณิชยนิยมและลัทธิปกป้องการค้า (protectionism) อย่างรุนแรงไม่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้ใช้แรงงานและอุตสาหกรรมภายในที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจและการเปิดเสรี พรรคการเมืองแนวประชานิยมหันมาชื่นชม ลัทธิพาณิชยนิยมนี้ ได้ให้สิทธิพิเศษแก่บางประเทศหรือกลุ่มคนเป็นจำนวนน้อยที่แสวงหาผลประโยชน์เฉพาะหน้าจะทำให้ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของทั้งโลกลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม หลังเกิดวิกฤตการณ์ทุนนิยมโลกในปี ค.ศ. 2008 หรือที่รู้จักกันดีในนาม “วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์หรือวิกฤติสินเชื่อซับไพร์ม” ได้ทำให้ลัทธิหรือแนวคิดแบบปกป้องทางการค้าได้รับความนิยมมากขึ้น ชาตินิยมทางเศรษฐกิจได้รับความนิยมมากขึ้น สิ่งนี้สะท้อนมายัง ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่ โดนัล ทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง การลงประชามติถอนจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร
ประชานิยม : การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำและความเป็นธรรม วินัยการเงินการคลัง และ หนี้สาธารณะ
ปัญหาความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในทางเศรษฐกิจและสังคมในหลายประเทศรวมทั้งไทยเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เกิดการขยายตัวของนโยบายและแนวทางทางการเมืองแบบประชานิยมได้ ประชานิยมมักก่อตัวขึ้นหลังวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและหลายกรณีประชานิยมทำให้เกิดวิกฤตการณ์รอบใหม่จากปัญหาวิกฤตการณ์ทางการคลัง นโยบายและแนวทางแบบประชานิยมอาจช่วยบรรเทาปัญหาความเหลื่อมล้ำและความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจเฉพาะหน้าได้บ้างแต่ไม่สามารถแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้างได้ การเกิดขึ้นของรัฐบาลประชานิยมในหลายประเทศไม่ได้ส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจจากปัญหาในเชิงโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจแต่อย่างใด นอกจากนี้ ผู้นำประชานิยมมักจะดำเนินบทบาทของ “ผู้อุปถัมภ์” ทำให้ในหลายกรณีไปขยายช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจให้มากขึ้นระหว่างกลุ่มคนที่อยู่ภายใต้ระบอบอุปถัมภ์ของผู้นำ กับ กลุ่มคนที่อยู่นอกระบอบอุปถัมภ์
อย่างไรก็ตาม แม้ความเหลื่อมล้ำจะสามารถสร้างเงื่อนไขที่สุกงอมสำหรับประชานิยมในการก่อตัวขึ้นมา แต่ประชานิยมไม่จำเป็นว่าจะต้องนำไปสู่การลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเสมอไป กุญแจสำคัญในการต่อสู้กับปัญหาความเหลื่อมล้ำอย่างมีประสิทธิผล คือ การพัฒนาขีดความสามารถของรัฐ ทั้งในแง่อำนาจ ในแง่ของอำนาจในการดึงทรัพยากร โดยเฉพาะการเก็บภาษี และ ศักยภาพในการนำเอานโยบายการพัฒนาและการกระจายทรัพยากรไปปฏิบัติโดยอยู่เหนือจากอิทธิพลของผลประโยชน์ทางการเมืองในระยะสั้น (นิธิ เนื่องจำนงค์, 2563)
ในหลายกรณีผู้นำประชานิยม หรือ ระบอบประชานิยม ได้เปิดพื้นที่ทางการเมืองให้กลุ่มคนชายขอบ กลุ่มคนยากจน มากขึ้น ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำในทางการเมืองและสังคมลดลงได้ ผู้นำแบบประชานิยมฝ่ายซ้ายในละตินอเมริกามักถูกโค่นล้มด้วยการรัฐประหารที่มีกลุ่มชนชั้นนำหรือกลุ่มทุนข้ามชาติอยู่เบื้องหลัง เนื่องจากแนวทางแบบประชานิยมได้สั่นคลอนอำนาจและผลประโยชน์ของกลุ่มชนชั้นนำอภิสิทธิ์ชนและบรรษัทข้ามชาติที่ได้รับสัมปทานผูกขาดทรัพยากร
บทความเรื่อง “Macroeconomics Populism”[2] ได้วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการใช้นโยบายประชานิยมเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ (และเพื่อหวังผลทางการเมือง)ว่า นโยบายประชานิยมสามารถนำมาใช้ร่วมกับนโยบายเศรษฐกิจมหภาคได้โดยไม่นำประเทศไปสู่ความหายนะ หากนโยบายประชานิยมนั้นไม่ทำลายกรอบนโยบายหลักของเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1) นโยบายประชานิยมที่ดีจะต้องไม่ทำลายกรอบของนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งประกอบด้วยกรอบเป้าหมายความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กรอบเป้าหมายความมีเสถียรภาพ อันได้แก่ เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) เสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนระดับเงินสำรองเงินตราต่างประเทศและการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ เพดานหนี้สาธารณะ การกู้ยืมของภาคเอกชน ทั้งจากภายในและต่างประเทศ เพดานการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นต้น
2) โครงการประชานิยมต้องไม่สร้างความขัดแย้งใหม่ให้เกิดขึ้นระหว่างผู้เสียประโยชน์และผู้รับประโยชน์ นั่นคือควรจะเป็นลักษณะ win-win
3) โครงการประชานิยมไม่ควรทำให้เกิดการบิดเบือนทรัพยากรมากเกินไปนั่นคือไม่ควรฝืนกลไกตลาดโดยเฉพาะกลไกราคาซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ถือว่ากลไกราคาเป็นกลไกที่ทำให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
4) โครงการประชานิยมไม่ควรจัดให้มีผลประโยชน์แก่ผู้รับมากเกินไปจนผู้รับประโยชน์เกิดความเกียจคร้าน หรือกล้าเสี่ยงมากเกินไปและไม่เตรียมภูมิคุ้มกันสำหรับตนเอง (เช่น การออมเงิน การรักษาสุขภาพการฝึกฝนหาความรู้ความชำนาญ) เนื่องจากฝากอนาคตไว้กับภาครัฐทั้งหมด (ในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เรียกว่าเป็นกรณีอันตรายจากการมีประกันของรัฐบาล หรือ Moral Hazard of Government Insurance ซึ่งจะมีผลทางลบต่อสังคมโดยรวมดังนั้นการค้ำประกันใดๆจึงไม่ควรค้ำประกันแบบ 100% แต่ควรให้ผู้เอาประโยชน์จากการประกันร่วมรับผิดชอบด้วย
5) โครงการประชานิยมควรใช้มาตรการที่ใช้แรงจูงใจ (Incentives) เพื่อกระตุ้นให้มีผู้มาเข้าร่วมโครงการ ไม่ใช่เป็นการบังคับ (เช่นการให้ผลประโยชน์โดยการประหยัดภาษีสำหรับเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการประชานิยม ตามความสมัครใจ) การใช้กลไกแรงจูงใจนี้จะไม่ทำลายกลไกตลาด
การใช้นโยบายประชานิยมอย่างไม่ระมัดระวังจะนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจ หากมีการใช้นโยบายประชานิยมอย่างไม่ระมัดระวังจนเกินเลยไปทำลายกรอบนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ผลที่ตามมาจะเป็นวงจรอุบาทว์ (Vicious Circle) ซึ่งจะฉุดดึงให้ระบบเศรษฐกิจโดยรวมจมดิ่งไปสู่หายนะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้วงจรอุบาทว์จะมีลักษณะดังนี้เริ่มต้นจากการขาดดุลงบประมาณภาครัฐโดยการที่รัฐต้องกู้ยืมเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในโครงการประชานิยม แล้วประชาชนก็จะใช้จ่ายเกินตัวเนื่องจากการสนับสนุนของรัฐบาล เกิดการขาดดุลการค้าระหว่างประเทศ(บัญชีเดินสะพัด)เนื่องจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนใช้จ่ายบริโภคมากกว่าที่ตนผลิตได้จึงต้องนำสินค้าเข้าจากต่างประเทศเพื่อสนองการบริโภคที่เกินตัว ต้องกู้เงินจากต่างประเทศเข้ามาเพื่อใช้จ่ายในการนำเข้าสินค้าเพื่อการบริโภคที่เกินตัว การขาดดุลทั้งสามภาคส่วน (ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการค้าระหว่างประเทศ) จะสะสมและเพิ่มปริมาณจนมีขนาดทำให้ระบบเศรษฐกิจแกว่งตัวหลุดจากดุลยภาพจนเกิด วิกฤตการเงินเช่นที่เคยเกิดมาแล้วในกรณีวิกฤตหนี้สาธารณะของประเทศแถบลาตินอเมริกาในช่วงทศวรรษ 2530 วิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ปี 2551-2552 วิกฤตหนี้สาธารณะของกรีซ สเปน อิตาลี ปี 2552-2553
โครงการประชานิยมอาจทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้เสียประโยชน์ (ผู้เสียภาษี) กับผู้รับประโยชน์ โดยผู้เสียประโยชน์จะต่อต้านโดยลดการผลิตลงทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมลดลง ภาษีที่รัฐจัดเก็บได้จะลดลงตามไปด้วยทำให้รัฐบาลต้องกู้ยืมมากขึ้น หากมาตรการประชานิยมเป็นมาตรการโอนเงินหรือแจกเงินให้ประชาชนอย่างไร้หลักการ จะนำมาสู่ปัญหาวินัยทางการคลังและประชาชนผู้รับประโยชน์จะรอรับความช่วยเหลือจากรัฐและทำงานน้อยลงเนื่องจากไม่ทำงานก็ไม่เป็นไร รอรับผลประโยชน์ฟรีจากรัฐได้ เป็นผลให้ผลผลิตโดยรวมของชาติลดลง อัตราการขยายทางเศรษฐกิจในระยะยาวจะเติบโตต่ำ รัฐบาลต้องเพิ่มผลประโยชน์ตามโครงการประชานิยมขึ้นไปเรื่อยๆเพื่อคงไว้ (หรือเพิ่ม) ฐานคะแนนเสียงของพรรคการเมืองที่ตนสังกัดในขณะที่ประชาชนก็จะอ่อนแอลง ผลผลิตลดลง ภาษีที่จัดเก็บได้ก็ลดลงรัฐบาลจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากกู้ยืมเงินจากทั้งภายในและนอกประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โครงการประชานิยมในบางลักษณะทำให้มีการจัดสรรทรัพยากรใหม่ โดยการโอนทรัพยากรจากหน่วยผลิตที่มีประสิทธิภาพไปสู่หน่วยบริโภคทำให้การบริโภคโดยรวมเพิ่มขึ้น แต่การลงทุนโดยรวมลดลง (เนื่องจากเงินออมลดลง)ซึ่ งจะทำให้การผลิตในอนาคตลดลงทำให้การจัดสรรทรัพยากรด้อยประสิทธิภาพลงกว่าสถานะเดิม และอาจนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจได้ ขณะเดียวกัน มาตรการประชานิยมบางประเภทจะช่วยจัดสรรผลประโยชน์ใหม่และลดความเหลื่อมล้ำลง หากมีการโอนผลประโยชน์จากลุ่มมั่งคั่งในสังคมไปยังกลุ่มคนยากจนอย่างมีประสิทธิภาพ
การก้าวข้ามพ้นประชานิยมแบบละตินอเมริกาจึงไม่ใช่เรื่องง่าย หากประชาชนเสพติดประชานิยมแล้ว ขณะเดียวกันเราต้องแยกความแตกต่างระหว่างโครงการประชานิยมที่เป็นเรื่องการช่วยเหลือเป็นครั้งคราว กับ โครงการที่เป็นสวัสดิการของรัฐดูแลกลุ่มประชาชนรายได้น้อยหรือระบบรัฐสวัสดิการที่เป็นนโยบายที่สร้างระบบขึ้นมาดูแลประชาชนที่มีความยั่งยืนกว่า
กรณีประเทศไทย: ประชานิยมและพัฒนาการของเศรษฐกิจไทย
นักวิชาการจำนวนไม่น้อยมักยึดถือเอาการดำเนินนโยบายของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 เป็นจุดเริ่มต้นของประชานิยมในประเทศไทย และ นักวิชาการจำนวนหนึ่งเหมารวมเอาการดำเนินการนโยบายสาธารณะจำนวนมากของรัฐบาลหลายรัฐบาลรวมทั้งรัฐบาลพรรคไทยรักไทยเป็นนโยบายประชานิยมทั้งหมด นอกจากนี้ยังเกิดวาทกรรมว่า การดำเนินนโยบายประชานิยมส่งผลเสียหายต่อเศรษฐกิจ ฐานะทางการคลัง ก่อหนี้สาธารณะเกินตัว มีผลกระทบทางลบต่อประเทศชาติในระยะยาว ทั้งที่ นโยบายที่เข้าเกณฑ์พิจารณาว่าเป็น “ประชานิยม” ก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย ประเด็นการเหมารวมนโยบายสาธารณะหลายนโยบายทั้งนโยบายสวัสดิการรักษาพยาบาล นโยบายแก้ปัญหาความยากจนลดความเหลื่อมล้ำ นโยบายสวัสดิการด้านการศึกษา มาตรการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรก่อให้เกิดความสับสนในทางวิชาการและการให้คำนิยามความหมายของ “ประชานิยม” และ “นโยบายประชานิยม” อย่างมาก
การศึกษาประชานิยมในไทยไม่สามารถนำเอา “นโยบาย” เพียงตัวแปรเดียวมาพิจารณาเนื่องจาก รัฐบาลถูกมองเป็นประชานิยมต่างมีชุดนโยบายที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในหลายกรณีทั่วโลก ขณะเดียวกัน หากใช้เพียง “นโยบาย” เป็นตัวหลักในการศึกษาก็พบอีกว่า รัฐบาลของคณะรัฐประหาร รัฐบาลอภิสิทธิ์จัดตั้งในค่ายทหาร ต่างมีนโยบายสาธารณะหลายนโยบายคล้ายนโยบายพรรคไทยรักไทย หรือ บางนโยบายมีลักษณะประชานิยมมากยิ่งกว่ารัฐบาลไทยรักไทย การกำหนดองค์ประกอบประชานิยมว่า ต้องยึดโยงกับประชาชน และ สร้างคู่ตรงข้ามทางศีลธรรมระหว่างประชาชนกับชนชั้นนำผู้ฉ้อฉล จะทำให้สามารถพิจารณาความเป็น “ประชานิยม” ได้ชัดเจนขึ้น จากการศึกษายังไม่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า นโยบายประชานิยมในไทยนำมาสู่ความขัดแย้งอย่างรุนแรงในสังคม และนำมาสู่การรัฐประหารและการปกครองของระบอบเผด็จการทหาร หรือ สร้างความถดถอยในเศรษฐกิจไทย ซึ่งควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2544-2567 นอกจากนี้ ควรศึกษาถึง ความขัดแย้งระหว่างพรรคการเมืองและประชาชนกลุ่มต่าง ๆ อันเป็นผลจากนโยบายประชานิยมอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม นโยบายสาธารณะบางนโยบายมีลักษณะเป็นนโยบายประชานิยม และ สามารถจัดเข้าอยู่ในกลุ่มนโยบายประชานิยมตามเกณฑ์ที่ได้ให้คำนิยามไว้ในบทความนี้ นโยบายประชานิยมที่ได้ดำเนินการในหลายรัฐบาลที่ผ่านมาโดยเฉพาะภายใต้รัฐบาลไทยรักไทยและพรรคการเมืองสืบเนื่องจากพรรคไทยรักไทย (พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย) นโยบายเศรษฐกิจที่ถูกเป็นเป้าโจมตีว่าเป็นนโยบายที่มุ่งเอาใจฐานเสียงโดยขาดความรับผิดชอบต่อภาระทางการคลัง นโยบายประชานิยมในละตินอเมริกาที่มักถูกอ้างอิงว่าคล้ายนโยบายของรัฐบาลไทยรักไทยอยู่บ่อยครั้ง หากพิจารณาในรายละเอียดก็พบว่า ไม่ได้เหมือนกันแต่อย่างใด และไม่อาจเหมารวมเรียกนโยบายสมัยรัฐบาลไทยรักไทยว่าเป็น “นโยบายประชานิยม” ได้เต็มปาก มีบางเพียงนโยบายเท่านั้นที่เป็นประชานิยมแบบอ่อนๆ แต่นโยบายส่วนใหญ่ก็เป็นแนวนโยบายเพื่อการแข่งขันในการชนะการเลือกตั้งเท่านั้น
ตาราง 1 : ตารางเปรียบเทียบ ดัชนีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ หนี้สาธารณะต่อจีดีพี งบประมาณขาดดุล ก่อนและหลังใช้นโยบายประชานิยม พ.ศ. 2540-2567
ปี | GDP * | อัตราเงินเฟ้อ (%) | หนี้สาธารณะ
ต่อ GDP (%) |
งบประมาณขาดดุล
ในแต่ละปีงบประมาณ (ล้านบาท) | |
---|---|---|---|---|---|
2540 | -2.80 | 5.61 | - | -19,000.0 | |
2541 | -7.60 | 7.89 | - | -17,980.0 | |
2542 | 4.60 | 0.30 | - | -25,000.0 | |
2543 | 4.50 | 1.60 | - | -110,000.0 | |
2544 | 3.40 | 1.60 | - | -105,000.0 | |
2545 | 6.10 | 0.70 | - | -200,000.0 | |
2546 | 7.20 | 1.80 | - | -174,900.0 | |
2547 | 6.30 | 2.70 | - | -99,900.0 | |
2548 | 4.20 | 4.50 | 45.46 | 0.0 | |
2549 | 5.00 | 4.70 | 39.18 | 0.0 | |
2550 | 5.40 | 2.30 | 35.99 | -146,200.0 | |
2551 | 1.70 | 5.50 | 34.95 | -165,000.0 | |
2552 | -0.70 | -0.90 | 42.36 | -249,500.0 | |
2553 | 7.50 | 3.30 | 39.83 | -350,000.0 | |
2554 | 0.80 | 3.81 | 39.12 | -420,000.0 | |
2555 | 7.20 | 3.01 | 41.93 | -400,000.0 | |
2556 | 2.70 | 2.18 | 42.19 | -300,000.0 | |
2557 | 1.00 | 1.90 | 43.33 | -250,000.0 | |
2558 | 3.10 | -0.90 | 42.56 | -250,000.0 | |
2559 | 3.40 | 0.18 | 41.75 | -390,000.0 | |
2560 | 4.20 | 0.67 | 41.78 | -390,000.0 | |
2561 | 4.20 | 1.07 | 41.94 | -450,000.0 | |
2562 | 2.10 | 0.70 | 41.06 | -450,000.0 | |
2563 | -6.10 | -0.85 | 49.42 | -469,000.0 | |
2564 | 1.60 | 1.23 | 58.34 | -608,962.5 | |
2565 | 2.50 | 6.08 | 60.52 | -700,000.0 | |
2566 | 1.90 | 1.20 | 62.44 | -695,000.0 | |
2567F | 2.50 | -693,000.0 |
* หมายเหตุ ปี 2567 เป็นค่าประมาณการเศรษฐกิจจาก สศช.
แหล่งที่มา สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ, สำนักงบประมาณ, สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรียบเรียงโดย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัลฯ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
หลังวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ในพ.ศ. 2540 สถานการณ์ความยากจน ความยากลำบากทางเศรษฐกิจ การล้มละลายของธุรกิจและสถาบันการเงิน เป็นเงื่อนไขให้เกิดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เศรษฐกิจและการเมือง รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ออกแบบให้รัฐบาลมีความเข้มแข็งและเสถียรภาพพร้อมกับการมีระบบตรวจสอบถ่วงดุลเพิ่มขึ้น พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล รัฐบาลไทยรักไทยได้ดำเนินนโยบายหลายนโยบายซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น “นโยบายประชานิยม” ต่อมาคำว่า “ประชานิยม” “นโยบายประชานิยม” จึงถูกใช้เป็นวาทกรรมทางการเมืองแพร่หลายมากขึ้น
หากพิจารณาจากตัวเลขดัชนีเศรษฐกิจจากตารางที่ 1 ข้างต้น พบข้อสรุปเบื้องต้นว่า ช่วงหลังวิกฤตการณ์เศรษฐกิจใน พ.ศ. 2540 (พ.ศ. 2540-2543) อัตราเงินเฟ้อสูงเพิ่มขึ้นเป็นผลจากการอ่อนตัวของค่าเงินบาทอย่างรุนแรงและรวดเร็วเป็นสำคัญ หนี้สาธารณะต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากระดับ 40.18% ในพ.ศ. 2540 เป็น 59.98% ในพ.ศ. 2543 เป็นผลจากหดตัวของเศรษฐกิจสองปีต่อเนื่อง คือ ในพ.ศ. 2540-2541 รายได้ภาษีลดลงเพราะมีธุรกิจต่าง ๆ ปิดกิจการจำนวนมาก อัตราการว่างงานพุ่งขึ้น รัฐบาลมีความจำเป็นต้องเพิ่มการใช้จ่ายเพื่อแก้ปัญหาและกระตุ้นเศรษฐกิจทำให้ต้องใช้งบประมาณขาดดุลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ช่วงเวลาที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีการใช้นโยบายประชานิยมในช่วงรัฐบาลไทยรักไทย กลับปรากฎว่า สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ใน พ.ศ. 2544-2549 การขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นในบางปีในช่วงเวลาดังกล่าวและสามารถจัดทำงบประมาณสมดุลได้ใน พ.ศ. 2548-2549 และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยช่วงพ.ศ. 2544-2549 ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาอื่น ๆ ในระหว่างปี พ.ศ. 2540-2567 ข้อค้นพบในเบื้องต้น กรณีของประเทศไทย ตัวเลขเชิงประจักษ์สะท้อนว่า การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี การขาดดุลงบประมาณ อัตราเงินเฟ้อ เป็นผลจากตัวแปรอื่น ๆ หรือปัจจัยอื่น ๆ มากกว่า ปัจจัยจากนโยบายประชานิยม
อย่างไรก็ตาม หลังปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา เมื่อพรรคการเมืองต่างแข่งขันในการใช้นโยบายประชานิยมมากขึ้นและเมื่อได้เข้ามาบริหารประเทศ ได้ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของการจัดทำงบประมาณขาดดุลเพื่อสนับสนุนมาตรการประชานิยมต่างๆที่หาเสียงไว้กับประชาชน สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีก็ทะยอยเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะปีที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำ แต่ การขาดดุลงบประมาณและสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิดและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจติดลบมากกว่า 6% และ รัฐบาลต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการเยียวยาธุรกิจและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์และต้องหยุดทำงานสูญเสียรายได้ มีการใช้มาตรการแจกเงินและโอนเงินให้กับประชาชนจำนวนมากที่ประสบความยากลำบากทางเศรษฐกิจ การแจกเงินหรือโอนเงินช่วยเหลือในลักษณะนื้ถือเป็นมาตรการประชานิยมหรือไม่เป็นสิ่งที่ต้องมีการนิยามให้ชัดเจน
นโยบายที่ถูกเรียกอย่างเหมารวมว่าเป็นนโยบายประชานิยมในช่วงรัฐบาลไทยรักไทย มีบทบาทในการทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสวัสดิการพื้นฐานทางด้านสาธารณสุข ลดความเหลื่อมล้ำ อย่างนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค (ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในสมัยรัฐบาลสุรยุทธ์) นโยบายทางด้านสวัสดิการรักษาพยาบาลและสาธารณสุขดังกล่าวทำให้รายจ่ายทางด้านสาธารณสุขของครัวเรือนไทยลดลงอย่างมาก และทำให้ประชาชนจำนวนมากสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ดีขึ้น นโยบายดังกล่าวมีส่วนสำคัญทำให้ ประชาชนชาวไทยมากกว่า 1 ล้านคน ได้พ้นจากเส้นความยากจน
(United Nations Development Program, 2010) ลดผลกระทบของการจ่ายค่ารักษาพยาบาลจำนวนมากจนส่งผลต่อสถานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือน กลายเป็นคนยากจนอันเป็นผลจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาลจำนวนมาก ลดลงจาก 2.71% ของกลุ่มคนยากจนในปี พ.ศ. 2500 เหลือ 0.49% ในปี พ.ศ. 2552 คิดเป็นลดลง 2.9 แสนครัวเรือน นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ได้ถูกพัฒนาให้เป็นหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในสมัยรัฐบาลสุรยุทธ์ และ รัฐบาลอภิสิทธิ์ ในเวลาต่อมา
(วิโรจน์ ณ. ระนอง และคณะ, 2548) งานวิจัยเรื่อง ผลกระทบของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและโครงการ 30 บาทที่มีต่อค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชน เป็นงานวิจัยเพื่อประเมินนโยบายดังกล่าวในระยะแรกของโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค มีผลสรุปของการศึกษาสัดส่วนของคนจนจากการรักษาพยาบาลที่มีหลักประกันสุขภาพลดลงประมาณ ร้อยละ 1.44 ของครัวเรือนทั้งหมด ซึ่งคิดเป็นจำนวนประชากรก็ลดลงประมาณ 1 ล้านคนหรือลดลงประมาณ ร้อยละ 16.7% ของคนจนทั้งหมด ซึ่งสถิติชี้ให้เห็นว่าโครงการหลักประกันสุขภาพมีส่วนอย่างมากในการลดจำนวนคนจนลงได้มากถึง ร้อยละ 14 ซึ่งเป็นจำนวนที่บ่งบอกว่าเป็นโครงการที่สามารถช่วยแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนในประเทศได้ จึงถือว่าโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค) ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการทำให้ประชาชนในประเทศลดความยากจนและมีสุขภาพดีขึ้น
โครงการพักหนี้เกษตรกร โครงการรับจำนำข้าวและมาตรการแทรกแซงสินค้าเกษตรต่าง ๆ โครงการกองทุนหมู่บ้าน โครงการบ้านเอื้ออาทร โครงการเหล่านี้ล้วนทำให้ปัญหาความยากจนลดลง แต่ก็ทำให้ภาระทางการคลังเพิ่มขึ้น หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น ส่วนสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยสำคัญ เพราะเศรษฐกิจยังขยายตัวดีอยู่ บางโครงการมีปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันนำไปสู่การดำเนินคดีในเวลาต่อมา หนี้สาธารณะต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงปี พ.ศ. 2563-2565 ในสมัยรัฐบาลประยุทธ์ซึ่งเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจอันเป็นผลจากการล็อกดาวน์และการแพร่ระบาดของโควิด 19 และก่อหนี้สาธารณะเพื่อใช้ในมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจ มาตรการช่วยเหลือประชาชนด้วยการโอนเงินหรือแจกเงินให้ประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ ได้มีส่วนช่วยให้อัตราความยากจนไม่เพิ่มขึ้น
ประชานิยม: การพัฒนาประชาธิปไตยในต่างประเทศและไทย
ประชานิยมและประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์ในทางบวกต่อกัน และประชานิยมส่งผลบวกมากกว่าผลลบต่อประชาธิปไตย แต่ไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนนักต่อพัฒนาการของเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democracy) หรือ อาจกล่าวได้ว่า ประชานิยม สามารถปรับเปลี่ยนให้ “เสรีประชาธิปไตย (Liberal Democracy) มีคุณภาพดียิ่งขึ้น หรือ เป็นภัยคุกคามต่อเสรีประชาธิปไตยก็ได้ บทความนี้ได้ศึกษาและสำรวจผลบวกและผลลบของประชานิยมที่มีต่อประชาธิปไตยและเสรีประชาธิปไตย พร้อมทำความเข้าใจปัจจัยหรือภาวะที่ทำให้เกิดผลในลักษณะดังกล่าวโดยสังเขป
จากประเมินสถานะองค์ความรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง “ประชานิยม” และ “ประชาธิปไตย” พบว่า เมื่อประชานิยม สามารถปรับเปลี่ยนให้คุณภาพประชาธิปไตยดีขึ้น (Corrective to the quality of democracy) มักจะเน้นไปที่ผลของ “ประชานิยม” ผนึกรวมประชาชนผู้ด้อยโอกาสและประชาชนฐานรากชายขอบเข้าสู่ระบบการช่วยเหลือหรือระบบสวัสดิการโดยรัฐ ข้อแรก ประชานิยมทำให้ “เสียง” ของกลุ่มคนที่ชนชั้นนำไม่ได้ใส่ใจและนำประเด็นปัญหาต่างๆของประชาชนเสียงข้างมากผู้เงียบเฉยสู่ความสนใจของสาธารณชน ข้อสอง “ประชานิยม” สามารถขับเคลื่อน และบูรณาการ “กลุ่มคน” หรือ “ภาคส่วน” ที่ถูกทอดทิ้งให้เข้ามาอยู่ในระบบการเมือง และนำเสนอนโยบายที่กลุ่มคนเหล่านี้พึงพอใจและได้ประโยชน์ ข้อสาม “ประชานิยม” สามารถสร้างความเชื่อมโยงทางด้าน “แนวคิด” และ “อุดมการณ์” สร้างพันธมิตรและแนวร่วมทางการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญต่อพลวัตของระบบพรรคการเมืองและการเป็นตัวแทนทางการเมือง ข้อสี่ “ประชานิยม” สร้างความรับผิดชอบทางประชาธิปไตย (Democratic Accountability) โดยทำให้นโยบายและประเด็นต่าง ๆ อยู่ในปริมณฑลทางการเมือง มากกว่า ปริมณฑลทางด้านเศรษฐกิจหรือทางด้านตุลาการ ข้อห้า “ประชานิยม” สามารถนำมิติความขัดแย้งทางการเมือง (Conflictive Dimension of Politics) เกิดความคึกคักขึ้นผ่านการสร้างความคิดเห็นสาธารณะและการเคลื่อนไหวอันนำไปสู่กระบวนการสร้างประชาธิปไตย
ส่วนการประเมินผลกระทบของ “ประชานิยม” ในทางลบนั้นมักจะมุ่งความสนใจไปที่ความอ่อนแอของสถาบันทางการเมือง การบ่อนทำลายสิทธิและผลประโยชน์ของคนกลุ่มน้อย ข้อแรก “ประชานิยม” อ้างแนวความคิด หรือ แนวปฏิบัติ เรื่อง อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน เพื่อโต้แย้งต่อ ระบบตรวจสอบถ่วงดุลและการแบ่งแยกอำนาจในระบบเสรีประชาธิปไตย ข้อสอง อาจมีการหลบหลีกและเพิกเฉยต่อสิทธิของเสียงข้างน้อยด้วยการอ้างหลักการเสียงข้างมาก ข้อสาม อาจก่อให้เกิดการแตกแยกทางการเมืองระหว่างผู้สนับสนุนและผู้ต่อต้านประชานิยม และ เป็นอุปสรรคต่อความมีเสถียรภาพทางการเมือง ข้อสี่ เกิดภาวะแบ่งแยกคนออกเป็น “คนดี” หรือ “คนชั่ว” โดยพิจารณาจากว่าเขาเหล่านี้เห็นด้วยกับเราหรือไม่ ทำให้การเมืองแห่งการประนีประนอมและสร้างฉันทามติร่วมเป็นไปได้ยากขึ้นด้วยการ Moralization of Politics ข้อสี่ ประชานิยมอาจเปลี่ยนผ่านการเมืองไปสู่อำนาจของประชามติเป็นใหญ่ซึ่งบางครั้งอาจทำให้ความชอบธรรมและอำนาจของสถาบันการเมืองและองค์กรของรัฐที่ไม่ผ่านระบบเลือกตั้งที่ยึดถือธรรมาภิบาลอ่อนแอลงได้ ข้อห้า การเปิดพื้นที่ให้กับผู้นำจากเสียงข้างมากที่ไม่ใช่ชนชั้นนำอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันรุนแรงอันก่อให้เกิดปัญหาทางเสถียรภาพของระบอบประชาธิปไตยได้
งานวิจัยในเชิงประจักษ์หลายกรณียืนยันผลบวกและผลลบที่มีต่อพัฒนาการของเสรีประชาธิปไตย แม้นงานวิชาการเหล่านี้อาจใช้คำนิยาม “ประชานิยม” แตกต่างกันบ้างและไม่ได้แยกแยะผลกระทบเกิดจาก นโยบายประชานิยมโดยตรงหรือแกนอุดมการณ์ของนโยบายประชานิยม นั้น ๆ กรณีเชิงประจักษ์ในหลายประเทศและหลายช่วงเวลา รัฐบาลประชานิยมจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อประชาธิปไตยอ่อนแอในประเทศละตินอเมริกาหลายประเทศ และผลกระทบทางลบของประชานิยมจะแสดงผลอย่างชัดเจน เช่น กรณี Hugo Chavez เวเนซูเอลา กรณี Alberto Fujimori เปรู ขณะที่ รัฐบาลประชานิยมในประเทศที่มีประชาธิปไตยมีความเข้มแข็งแบบในยุโรปบางประเทศ ประชานิยมจะมีผลทั้งในทางบวกและทางลบปานกลาง เพราะประชานิยมจะถูกถ่วงดุลโดยเสรีประชาธิปไตยอันเข้มแข็ง และ เสรีประชาธิปไตยถูกถ่วงดุลโดยประชานิยมที่ให้น้ำหนักกับคนฐานรากและพุ่งเป้าความช่วยเหลือให้ประชาชนด้อยโอกาส เช่น กรณี รัฐบาล Schussel ออสเตรีย พรรคการเมืองประชานิยมฝ่ายค้านในประเทศประชาธิปไตยเข้มแข็งจะไม่มีบทบาทมากนักเนื่องจากมีสภาพสังคมเศรษฐกิจมีความก้าวหน้าเป็นธรรมอยู่แล้ว ส่วนพรรคการเมืองแนวประชานิยมที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจรัฐในประเทศประชาธิปไตยอ่อนแอจะเป็นพลังปรับเปลี่ยนเสรีประชาธิปไตยให้ดีขึ้นมากกว่าเป็นภัยคุกคามต่อประชาธิปไตย
กระแสประชานิยมฝ่ายขวาเกิดขึ้นในยุโรปเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อปัญหาทางเศรษฐกิจตกต่ำปัญหาฐานะทางการคลัง ปัญหาการว่างงานในอัตราสูง ผลกระทบจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ (Economic Integration) ประกอบกับการที่ยุโรปต้องเผชิญคลื่นผู้อพยพจำนวนมาก กระแสต่อต้านต่างชาติ ต่อต้านผู้อพยพจึงเกิดขึ้น พรรคการเมืองฝ่ายขวาได้ชูแนวทางการเมืองแบบชาตินิยม ต่อต้านโลกาภิวัตน์ ต่อต้านสหภาพยุโรป และมุ่งหาฐานสนับสนุนจากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโลกาภิวัตน์และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป
กรณีประเทศไทย บทบาทของประชานิยมต่อพัฒนาการประชาธิปไตยในประเทศไทย
การเกิดประชานิยมในไทยเป็นผลจากสถานการณ์แวดล้อมหลังวิกฤตการณ์เศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 (ปัจจัยเฉพาะหน้า) และยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในเชิงพื้นที่ระหว่างเมืองใหญ่และชนบทอย่างมากและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มคนต่าง ๆ (ปัจจัยเชิงโครงสร้างระยะยาว) สภาพความเหลื่อมล้ำ ภาวะความเดือนร้อนและยากลำบากของประชาชนและกิจการขนาดเล็กขนาดกลางได้สร้างบริบทแวดล้อมนำมาสู่การออกแบบนโยบายทางเศรษฐกิจที่มีลักษณะประชานิยม ประกอบกับ การเป็นผู้นำที่เข้มแข็งและการสร้างความเชื่อมโยงกับ “ประชาชน” ของ ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย รัฐบาลไทยรักไทย มีความจริงจังในการแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำ ผลจากนโยบายและแนวทางประชานิยมทำให้สำนึกทางชนชั้นมีความแหลมคมมากขึ้น ประชาชนรากหญ้าตระหนักถึงคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยที่สามารถนำมาซึ่งผลประโยชน์จากนโยบายที่พวกเขาเลือกได้ พรรคการเมืองต่างๆได้เริ่มเห็นถึงภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปของการเมืองไทย เริ่มนำเสนอนโยบายแนวประชานิยมเพื่อแรงสนับสนุนทางการเมืองและเล็งเห็นประโยชน์จากการเชื่อมโยงกับมวลชนโดยตรง วาทกรรม และ แนวทางแบบประชานิยมเริ่มขยายใหญ่มากขึ้นหลังการรัฐประหารปี พ.ศ. 2549 และกระแสสูงของความขัดแย้งและวิกฤตการณ์ทางการเมือง ฝ่ายหนึ่งต้องการใช้ “ประชานิยม” เพื่อสร้างฐานทางการเมืองเชื่อมโยงกับประชาชนเพื่อต่อสู้กับขั้วทางการเมืองตรงกันข้าม อีกฝ่ายหนึ่งใช้วาทกรรม “ประชานิยม” โจมตีฝ่ายตรงกันข้ามว่า ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจและภาระทางการคลังจำนวนมาก
นโยบายประชานิยมบางนโยบายได้เป็นส่วนหนึ่งในการปรับเปลี่ยน “พฤติกรรมซื้อสิทธิขายเสียง” ในการเลือกตั้ง เป็น การแข่งขันในเชิงนโยบายที่สร้างความพึงพอใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งวัฒนธรรมในทางการเมืองแบบอุปถัมภ์ลดบทบาทลงระดับหนึ่ง ทำให้เสียงของประชาชนผ่านการเลือกตั้งมีความหมายในการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ดีขึ้น สิ่งนี้ทำให้ค่านิยมประชาธิปไตยพัฒนาก้าวหน้าขึ้น หากไม่มีการสะดุดลงจากความขัดแย้งทางการเมืองจนนำมาสู่วิกฤตการณ์ทางการเมือง และ จบลงด้วยการรัฐประหารถึงสองครั้ง คือ รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และ รัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตยจะดีขึ้นและประชาธิไตยไทยก็จะพัฒนาต่อไป ขณะเดียวกัน การดำเนินการทางการเมืองแนวประชานิยมใช้ความพยายามในการสถาปนาความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์โดยมีผู้นำทางการเมืองเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับประชาชนโดยตรง ข้ามผ่านองค์กร กลไก หรือกลุ่มคนที่เป็นตัวกลาง อาจมีผลทำให้สถาบันภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอ่อนแอได้ในระยะยาว
การเมืองแนวประชานิยมทำให้การเคลื่อนไหวและเสียงของขบวนการภาคประชาสังคมได้รับความสนใจมากขึ้นในกระบวนการทางการเมืองและกลไกประชาธิปไตย ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ความสนใจต่อนโยบายที่พรรคการเมืองนำเสนอมากขึ้น ทำให้ “นโยบาย” โดยเฉพาะ “นโยบายประชานิยม” กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการเอาชนะการเลือกตั้งและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางการเมือง ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยได้ทำให้เกิดสภาวะที่ทำให้นโยบายประชานิยมและรัฐบาลแนวประชานิยมเกิดขึ้น ประชานิยมทำให้เกิดพลวัตต่อการเมืองไทยและเกิดพัฒนาการความขัดแย้งที่ดำรงอยู่มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 มาจนถึงปัจจุบัน ประชานิยมในไทยเป็นประชานิยมแบบอ่อน ๆ
การดำเนินนโยบายประชานิยมในไทยไม่ได้ส่งผลต่อการจัดสรรและกระจายทรัพยากร ความมั่งคั่ง รายได้ที่กระทบต่อผลประโยชน์ชนชั้นนำรุนแรงนัก รัฐบาลไทยรักไทยไม่มีการปฏิรูปภาษีและการจัดการทรัพย์สินอย่างจริงจังแต่อย่างใด มีเพียงการขยายโอกาสทางด้านต่างๆ รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งทุนผ่านกองทุนหมู่บ้าน มาตรการพักชำระหนี้และมาตรการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร นโยบายเหล่านี้ไม่ได้กระทบต่อผลประโยชน์ อำนาจและอภิสิทธิ์ของชนชั้นนำแต่อย่างใด แต่ความพยายามสร้าง เครือข่ายอำนาจ ของรัฐบาลทักษิณ โดยเครือข่ายนี้ไปทับซ้อน เครือข่ายอำนาจเดิมเป็นปัจจัยที่ทำให้เครือข่ายอำนาจเดิมต้องการโค่นล้ม นอกจากนี้ กลุ่มต่อต้านรัฐบาลทักษิณอย่างพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังกล่าวหารัฐบาลทักษิณ และ ดร. ทักษิณ ชินวัตรว่ามีพฤติกรรมท้าทายอำนาจเดิม การชุมนุมต่อต้านของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เป็นเงื่อนไขนำมาสู่การรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 หลังการรัฐประหารได้เกิด “ขบวนการคนเสื้อแดง” ขึ้นและหลังจากนั้นเมื่อรัฐบาลในเครือข่ายของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้เข้าบริหารประเทศได้มีนโยบายประชานิยมมุ่งไปที่ “ชนชั้นระดับล่าง” และ แรงงานนอกระบบ ที่เป็นฐานทางการเมืองของพรรคไทยรักไทย แม้นหลังการรัฐประหารแล้ว มีการร่างรัฐธรรมนูญ มีการยุบพรรคไทยรักไทย มีการตัดสิทธิคณะกรรมการบริหารพรรค มีการสร้างองค์กรและกลไกในการสกัดกั้นการขึ้นสู่อำนาจทางการเมืองของพรรคการเมืองที่อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรให้การสนับสนุนแต่ไม่สำเร็จ พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทยยังคงชนะการเลือกตั้ง ความเข้มข้นของการดำเนินนโยบายแบบประชานิยมและการสร้างขบวนการทางการเมืองแบบประชานิยมก็มากขึ้นตามลำดับ ประชาชนถูกปลุกให้ลุกขึ้นเพื่อเคลื่อนไหว ต่อต้านคณะรัฐประหารและเครือข่าย ผู้เป็นชนชั้นนำที่ปล้นอำนาจและผลประโยชน์จากประชาชนด้วยการรัฐประหาร วาทกรรมการต่อสู้ระหว่าง “ไพร่” กับ “อำมาตย์” กลายเป็นสิ่งที่ครอบงำความคิดและนำมาสู่ความขัดแย้งทางการเมืองสีเสื้อเหลืองแดงมามากกว่า 10 ปี หลังการรัฐประหาร 2549 ตามด้วยรัฐประหาร 2557
ความขัดแย้งทางการเมืองหลังการรัฐประหารปี พ.ศ. 2549 ยังคงดำรงอยู่ต่อเนื่องระหว่างขั้วรัฐประหารและอนุรักษ์นิยม และขั้วพรรคไทยรักไทยและฝ่ายประชาธิปไตย ทั้งสองขั้วต้องการดึงมวลชนมาเป็นฐานการสนับสนุน จึงแข่งขันกันใช้มาตรการหรือนโยบายประชานิยมในการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการเมืองและภาคชนบทไทย พัฒนาการทางประชาธิปไตยไทยได้พัฒนาไปอีกขั้นหนึ่งภายหลังการใช้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 มาได้ระยะหนึ่ง ประชาชนยากจนในชนบทที่เคยอยู่ภายใต้ระบอบอุปถัมภ์และมักถูกซื้อด้วยเงินเวลาเลือกตั้งได้เปลี่ยนไปแล้ว การเกิดขึ้นของพรรคไทยรักไทยที่นำเสนอนโยบายให้คนชนบท ทำให้การเมืองไทยเป็นเรื่องการแข่งขันทางนโยบายมากขึ้น และสิ่งนี้ได้ดำเนินต่อเนื่องมายังการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 ปี พ.ศ. 2562 และ ปี พ.ศ. 2566 พรรคการเมืองต่าง ๆ ต่างแข่งขันกันในทางนโยบายเพื่อให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง นโยบายที่นำเสนอมีทั้งที่ออกแนวนโยบายประชานิยมและเป็นนโยบายสาธารณะทั่วไป ในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พรรคเพื่อไทยได้ดำเนินนโยบายสืบเนื่องต่อจากนโยบายของพรรคพลังประชาชน (ถูกยุบ) และ พรรคไทยรักไทย (ถูกยุบ) เช่น นโยบายปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท เงินเดือนปริญญาตรีขั้นต่ำ 15,000 บาท นโยบายรับจำนำข้าว 15,000 บาทต่อเกวียน โครงการรับบจำนำข้าวเปลือกส่งผลให้สามารถยกระดับรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายข้าวเปลือกได้ในราคาสูงเฉลี่ย 4,000 บาทต่อตัน เกษตรกรที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการได้รับประโยชน์จากราคาตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ย 2,500 บาทต่อตัน สามารถประเมินเป็นมูลค่าได้ประมาณ 200,000 ล้านบาท ทำให้เกษตรกรมีรายได้ มีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตดีขึ้น อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ก็ได้สร้างภาระทางการคลังจำนวนมากเช่นเดียวกันและเกิดการทุจริตขึ้น นอกจากนี้ยังมีนโยบายส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชน นโยบายกองทุนหมู่บ้านมีส่วนในการพัฒนาประชาธิปไตยในระดับหมู่บ้านโดยเฉพาะชุมชนที่เปิดให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารกองทุน
การเลือกตั้งไม่เพียงพอที่จะบอกได้ว่าประชาธิปไตยมีความมั่นคงแล้ว ในกรณีของไทยมีการเลือกตั้งแล้วรัฐบาลที่มาจากเสียงของประชาชนยังไม่มีอำนาจอย่างชัดเจน และถูกให้ออกจากตำแหน่งโดยอำนาจขององค์กรภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งองค์กรอิสระเหล่านี้มักมาจากแต่งตั้งของอำนาจคณะรัฐประหาร ในรอบ 18 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการรัฐประหารถึงสองครั้ง และยังมีกลุ่มการเมืองที่พยายามโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งหลายครั้งจากความผิดพลาดในการบริหารประเทศ การทุจริตคอร์รัปชันหรือกล่าวหาว่านโยบายของรัฐบาลสร้างความเสียหายต่อประเทศ ประเทศไทยไม่ได้สร้างวัฒนธรรมหรือธรรมเนียมปฏิบัติทางการเมืองให้ Democracy is the only game in town อันเป็นกรณีที่สังคมและประชาชนทั้งหมดเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจะต้องเกิดขึ้นในบริบทหรือในวิถีของประชาธิปไตย ซึ่ง รวมถึงกลุ่มการเมืองในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของประเทศต้องยึดถือวิถีทางประชาธิปไตยและระบอบการปกครองโดยกฎหมายที่ยึดหลักนิติรัฐนิติธรรมเท่านั้น พัฒนาการทางการเมืองที่จะนำไปสู่ประชาธิปไตยที่มั่นคงนั้น จะต้องไม่มีพฤติกรรมของกลุ่มบุคคล กลุ่มการเมือง โดยเฉพาะกลุ่มผลประโยชน์ในกองทัพพยายามจัดตั้งรัฐบาลที่ไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตยหรือหลักนิติธรรม (Rule of Law)
ประชานิยมไม่ได้ทำให้เกิดความเป็นสถาบันของประชาธิปไตย และผลของนโยบายประชานิยมไม่ชัดเจนว่าทำให้เสรีประชาธิปไตยเข้มแข็งหรือไม่ในประเทศไทย แต่ “ประชานิยม” ได้สร้างสภาวะทางการเมืองที่เสียงของประชาชนฐานรากส่วนใหญ่มีบทบาทมากขึ้นในการกำหนดนโยบาย อีกด้านหนึ่ง นโยบายประชานิยมได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากว่าละเมิดต่อกรอบวินัยการเงินการคลังและอาจสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจได้ โดยข้อกล่าวหาเหล่านี้ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าเป็นเช่นนั้นจริง แต่ข้อกล่าวหาเหล่านี้ได้ถูกใช้ในกระบวนการหยุดยั้งพัฒนาการประชาธิปไตยไทยด้วยเป็นข้ออ้างในการรัฐประหารยึดอำนาจในปี พ.ศ. 2557
เมื่อคณะรัฐประหารได้เข้ามาปกครองประเทศและมีการยกเลิกนโยบายรับจำนำข้าวที่ถูกกล่าวหาว่า เป็น หนึ่งในนโยบายประชานิยม รัฐบาลของคณะรัฐประหารเองก็มีการใช้มาตรการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการประกันรายได้เกษตรกรซึ่งก็มีลักษณะเป็นประชานิยมเช่นเดียวกัน มีมาตรการหรือนโยบายหลายอย่าง เช่น สวัสดิการประชารัฐ บัตรสวัสดิการคนจน ที่ก็เข้าข่ายนโยบายประชานิยมเช่นเดียวกัน
เวลาเราต้องการทำให้เกิดประชาธิปไตยที่มั่นคง (Democratic Consolidation) นั้น เราไม่ได้ต้องการเพียงรัฐบาลจากการเลือกตั้งเท่านั้น เราต้องการรัฐธรรมนูญกติกาสูงสุดที่เป็นประชาธิปไตย ระบบการเลือกตั้งที่เปิดเผย เป็นกลางและเที่ยงธรรม เราต้องการระบบราชการและระบบการเมืองที่มีธรรมภิบาล มีประสิทธิภาพ รวมทั้ง ความมีระเบียบและเสถียรภาพอีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
ภาษาไทย
ธัญณ์ณภัทร์ เจริญพานิช. (2565). การเมืองไทยร่วมสมัย พ.ศ. 2540-2563 พัฒนาการทางการเมืองความขัดแย้งและประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิธิ เนื่องจำนงค์. (2563). ประชานิยมในโลกที่เหลื่อมล้ำ. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
วิโรจน์ ณ. ระนองและคณะ. (2548). ผลกระทบของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและโครงการ 30 บาทที่มีต่อค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชน. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
ไสว บุญมา. (2546). ประชานิยม : หายนะจากอาร์เจนตินาถึงไทย. กรุงเทพฯ : เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป.
เอื้อมพร พิชัยสนิธ. (2552). นโยบายเศรษฐกิจว่าด้วยสวัสดิการสังคม: บทวิเคราะห์ประสบการณ์ในประเทศตะวันตก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อนุสรณ์ ธรรมใจ. (2551). ฝ่าพายุเศรษฐกิจ วิกฤติไทย วิกฤติโลก. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์.
อนุสรณ์ ธรรมใจ. (2559). เศรษฐกิจประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.
อนุสรณ์ ธรรมใจ. (2567). เศรษฐศาสตร์การเมือง ว่าด้วย พัฒนาการประชาธิปไตย เศรษฐกิจและสังคมจาก สยามยุคปฏิรูป สู่ ไทยยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อนุสรณ์ ธรรมใจ และคณะ. (2554). บทวิเคราะห์ ประชานิยม ประชาวิวัฒน์: ผลต่อความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและฐานะทางการคลัง. ปทุมธานี : คณะเศรษฐศาสตร์และศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป มหาวิทยาลัยรังสิต.
ภาษาอังกฤษ
Axford, Barrie and Huggins, Richard. (1998). Anti-politics or the Triumph of Postmodern Populism in Promotional Cultures?. Oxford: Telematics and Informatics.
Berezin, Mabel. (2009). Illiberal Politics in Neoliberal Times: Culture, security and populism in the New Europe. Cambridge: Cambridge University Press.
Bloom, Peter and Sancino, Alessandro. (2019). Disruptive Democracy: The Clash Between Techno-Populism and Techno-Democracy. Los Angeles: SAGE Publications.
Bugaric, Bojan. (2008). Populism, liberal democracy, and the rule of law in Central and Eastern Europe. Slovenia: Communist and Post-Communist Studies.
Daniels, Ronald J. and Trebilcock, Michael J. (2005). Rethinking The Welfare State : The Prospects for Government by Voucher. USA : Routledge.
Dornbusch, Rudiger and Edwards, Sebastian. (1990). Macroeconomics Populism. Journal of Development Economics, 32(2), 247-277.
Lee, Jong Lee. Wu, Chin-en. (2015). Populism in Asian Democracies. Asia Democracy Research Network. เติมสถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์. ไม่แน่ใจว่า Print force. ที่ใส่มาใช่สำนักพิมพ์ป่าว ดูใน google ยังไงๆ ก็ไม่เจอเรื่องนี้
Lee, S J. et al. (2021). Populism in Asian Democracies; Features, Structures, and Impacts. Printforce. The Netherlands: Brill.
Leonard, Peter. (1997). Postmodern Welfare: Reconstructing an Emancipatory Project. London: Redwood Books.
Mudde, Cas and Kaltwasser, Cristobal Rovira. (Eds.). (2012). Populism in Europe and the Americas. Cambridge: Cambridge University Press.
UNDP (United Nations Development Programme). 2010. Human Development Report 2010: The Real Wealth of Nations: Pathways to Human Development. New York.
Sachs, J. 1989. "A Simple Macroeconomic Model of Populist Dynamics." Harvard University. Mimeo.
[1]Dean and Associate Professor, School of Economics and Director of Digital Economy, Investment and International Trade Research Center. The Thai Chamber of Commerce (UTCC). Email: anusorn_tam@utcc.ac.th, Anusorn4reform@gmail.com, คณบดี และ รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรรมการหลักสูตร ปรม., ปศส. สถาบันพระปกเกล้า. Email: anusorn_tam@utcc.ac.th, Anusorn4reform@gmail.com
[2]Dornbusch, Rudiger and Edwards, Sebastian. (1990). Macroeconomics Populism. Journal of Development Economics, 32(2), 247-277.